การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา  2551

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW 2006  กฎหมายอาญา 1

Advertisement

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  4  ข้อ

ข้อ 1.     นายแดงต้องการฆ่านายดำ   วันหนึ่งเมื่อทั้งคู่ได้ไปล่าสัตว์ด้วยกันกลางป่าลึก  นายแดงฉวยโอกาสที่นายดำเผลอ  นายแดงได้ชักปืนออกมาจากกระเป๋ากางเกงโดยยังไม่ทันจะจ้องเล็งไปที่นายดำ  นายฟ้าบิดาของนายดำรู้ถึงเจตนาของนายแดงจึงตามมาด้วยและได้เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวพอดี จึงเข้าช่วยเหลือนายดำด้วยการปัดปืนออกไป  ปรากฏว่าปืนได้ลั่นขึ้น  และกระสุนไปถูกนายม่วงที่ยืนอยู่ห่างไกลออกไปถึงแก่ความตาย  จงวินิจฉัยความรับผิดทางอาญาของนายแดงและนายฟ้า 

แนวคำตอบที่เชิดชัยขับ คมสันเห็นผู้โดยสารตกจากรถ แต่ไม่สามารถหลบได้ทันเพราะเด็กชายป๋องจับพว   หลักกฎหมาย  ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59, 60

วินิจฉัย  นายแดงไม่มีเจตนาฆ่านายม่วงโดยพลาด เพราะนายแดงยังมิได้กระทำความผิดต่อนายดำถึงขั้นลงมือ

นายฟ้าไม่ประมาทเพราะตามภาวะวิสัยและพฤติการณ์ดังกล่าวนายฟ้าไม่อาจใช้ความระมัดระวังได้ดีกว่านั้น

 

ข้อ 2.     สุชาติแค้นใจที่สมเดชเพื่อนรักมาแย่งสมหญิงแฟนของตนไป  จึงคิดจะฆ่าสมเดช  เมื่อสุชาติเห็นเดชานั่งอยู่กับเอมวลีในร้านอาหาร  สุชาติคิดว่าเป็นสมเดช  สุชาติจึงใช้ปืนลูกซองยิงไปที่เดชา  กระสุนถูกเดชาได้รับบาดเจ็บสาหัสและยังแผ่กระจายไปถูกเอมวลีซึ่งนั่งอยู่ข้าง ๆ เดชา ถึงแก่ความตาย  นอกจากนี้บางส่วนของกระสุนยังกระเด็นไปถูกลูกสุนัขพุดเดิ้ลของนางไก่ซึ่งเป็นเจ้าของร้านอาหารตายอีกด้วย  จงวินิจฉัยความรับผิดทางอาญาของนายสุชาติ                              

แนวคำตอบ  หลักกฎหมาย  ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59, 60, 61, 80 

วินิจฉัย  สุชาติรับผิดต่อเดชาฐานพยายามฆ่าเดชา โดยสำคัญผิดในตัวบุคคล ตามมาตรา 59, 61, 80

สุชาติรับผิดต่อเอมวลีฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ย่อมเล็งเห็นผลตามมาตรา 59 วรรค 1 และ 2

สุชาติไม่ต้องรับผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ของนางไก่ เพราะไม่ใช่การกระทำโดยพลาด และแม้จะประมาท แต่ประมาททำให้เสียทรัพย์ไม่มี กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด

 

ข้อ 3.     ปานใจใช้ให้ธีรชัยไปฆ่าธำรง  ธีรชัยตกลงทำตาม  เมื่อธีรชัยพบกับธำรง  ธีรชัยเกิดความกลัวขึ้นมาจึงไม่กล้าฆ่าธำรง ธีรชัยจึงไปว่าจ้างนพพลให้ไปฆ่าธำรง โดยธีรชัยได้มอบปืนของตนให้กับนพพลไปด้วยและสั่งให้นพพลใช้ปืนกระบอกนั้นไปยิงธำรง  เมื่อนพพลพบกับธำรง  นพพลจึงใช้ปืนของธีรชัยยิงธำรงจนถึงแก่ความตาย  จงวินิจฉัยความรับผิดทางอาญาของปานใจ และธีรชัย            

แนวคำตอบ  หลักกฎหมาย  ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84, 86

วินิจฉัย  ปานใจเป็นผู้ใช้ในความผิดฐานเจตนาฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เพราะผู้ใช้ของผู้ใช้ก็เท่ากับผู้ใช้ของผู้ลงมือ

ธีรชัย เป็นผู้ใช้ให้นพพลไปฆ่าผู้อื่นโดยการว่าจ้าง ซึ่งถือเป็นการ ก่อ ให้นพพลกระทำความผิด เมื่อความผิดที่ใช้ได้กระทำลง ผู้ใช้รับโทษเสมือนเป็นตัวการ ตามมาตรา 84 วรรค 2 แต่ไม่ต้องรับผิดฐานผู้สนับสนุนในกรณีให้ยืมปืนอีก คงผิดแต่ฐานผู้ใช้เพียงฐานเดียวเท่านั้น 

 

ข้อ 4.  นายแดงเป็นเพื่อนกับนายดำ  วันเกิดเหตุทั้งสองคนได้เข้าป่าไปหาสัตว์ และได้ค้างคืนในป่าด้วยกัน  ปรากฏว่า ด้วยความเหนื่อยล้า นายแดงจึงนอนหลับและนอนละเมอ  ฝันไปว่ากำลังสู้กับเสือ  นายแดงได้บีบคอนายดำ  ด้วยความตกใจ นายดำตื่นขึ้นมาจึงชกนายแดงหน้าบวม  ให้นักศึกษาวินิจฉัยว่า นายแดงและนายดำมีความรับผิดในทางอาญาหรือไม่  เพราะเหตุใด

แนวคำตอบ หลักกฎหมาย  ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสอง  มาตรา 67(2) และมาตรา 68

วินิจฉัย  การกระทำ หมายถึงการเคลื่อนไหว หรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สำนึก ซึ่งการนอนละเมอ เป็นการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยไม่รู้สำนึกในการกระทำ เพราะผู้นอนละเมอไม่ได้มีการคิด ตกลงใจ และลงมือกระทำการตามที่คิดและตกลงใจนั้น ดังนั้น การที่นายแดงนอนละเมอ บีบคอนายดำ จึงไม่มี การกระทำแม้จะทำให้นายดำได้รับบาดเจ็บ นายแดงก็หามีความผิดในทางอาญาไม่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสอง

เมื่อการนอนละเมอของนายแดง ไม่เป็นการกระทำ จึงไม่มีความผิดในทางอาญา และความรับผิดในทางแพ่ง แต่ถือว่ากำลังมีภยันตรายเกิดขึ้นแก่นายดำที่ทำให้นายดำจำต้องกระทำความผิดเพื่อให้ตนเองพ้นจากภยันตรายนั้น เมื่อภยันตรายนั้นนายดำมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน การกระทำของนายดำจึงเป็นการกระทำความผิดด้วยความจำเป็น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67(2) หาใช่เป็นการป้องกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ไม่ เพราะการจะเป็นการป้องกัน จะต้องมีภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายแก่ผู้อื่น ผู้นั้นจึงจะใช้สิทธิในการป้องกัน ดังนั้น เมื่อการกระทำของนายดำเป็นการกระทำความผิดด้วยความจำเป็น จึงไม่ต้องรับโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67(2)

สรุป  นายแดง ไม่มีความรับผิดในทางอาญา

 นายดำ    มีความผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ

Advertisement