การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2552
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW2005
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้
คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี 3 ข้อ
(2) นายไข่จะฟ้องให้นายไก่ไปโอนบ้านและที่ดินให้ตนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 วรรคแรกและวรรคสอง การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย
สัญญาจะขายหรือจะซื้อหรือคำมั่นใน การซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับ ผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่วินิจฉัยโดย หลัก การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษนั้น จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะตามมาตรา 456 วรรคแรก แต่ถ้าเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิด พิเศษ กฎหมายไม่ได้บังคับให้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพียงแต่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด หรือวางมัดจำหรือชำระหนี้บางส่วนแล้ว ก็สามารถฟ้องร้องบังคับกันได้ตามมาตรา 456 วรรคสอง
กรณีตามอุทาหรณ์(1) การที่นายไก่ตกลงขายบ้านและที่ดินให้นายไข่ในราคา 1 ล้านบาท โดยมีข้อตกลงกันว่าให้นายไข่ผ่อนชำระค่าที่ดินเป็น 5 งวดๆละ 2 แสนบาท เป็นเวลา 5 เดือน เมื่อชำระเงินครบนายไก่ก็จะไปโอนบ้านและที่ดินให้ กรณีเช่นนี้ถือได้ว่า คู่สัญญาไม่มีเจตนาที่จะให้กรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินโอนไปในขณะทำสัญญาซื้อ ขาย แต่มีเจตนาจะไปทำเป็นหนังสือสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ กันในภายหลัง ดังนั้น สัญญาซื้อขายบ้านและที่ดินระหว่างนายไก่และนายไข่จึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย ตามมาตรา 456 วรรคสอง(2) ส่วนประเด็นที่ว่านายไข่จะฟ้องให้นายไก่ไปโอนบ้านและที่ดินให้ตนได้หรือไม่ นั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายไข่ได้ชำระเงินให้นายไก่ครบ 1 ล้านบาทแล้ว จึงถือว่า สัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินระหว่างนายไก่และนายไข่นั้น มีหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีคือได้มีการชำระหนี้กันบางส่วนแล้ว ดังนั้นเมื่อนายไก่ผิดสัญญาไม่ยอมไปจดทะเบียนโอนบ้านและที่ดินให้นายไข่ นายไข่จึงสามารถฟ้องร้องให้นายไก่ไปจดทะเบียนโอนบ้านและที่ดินให้ตนได้ตาม มาตรา 456 วรรคสอง
สรุป
(1) สัญญาซื้อบ้านและที่ดินระหว่างนายไก่และนายไข่ เป็นสัญญาจะซื้อจะขาย
(2) นายไข่สามารถฟ้องร้องให้นายไก่ไปจดทะเบียนโอนบ้านและที่ดินให้ตนได้
ข้อ 2 นายนกซื้อรถยนต์จากการขายทอดตลาดของนายมา 1 คัน ในราคา 1 แสนบาท ก่อนขายนายหนูทราบดีว่ารถยนต์คันดังกล่าวมีปัญหาเกี่ยวกับระบบเบรก หลังซื้อขายและส่งมอบ นายนกจึงพบว่ารถยนต์คันดังกล่าวมีข้อบกพร่องเกี่ยวกับสาบเบรก นายนกจะฟ้องนายหนูให้รับผิดในความชำรุดบกพร่องที่เกิดขึ้นได้หรือไม่
ธงคำตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 472 ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชำรุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นเหตุให้ เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดี ท่านว่า ผู้ขายต้องรับผิด
ความที่กล่าวมาในมาตรานี้ย่อมใช้ได้ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชำรุดบกพร่องมีอยู่
มาตรา 473 ผู้ขายย่อมไม่ต้องรับผิดในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(3) ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด
วินิจฉัย
โดย หลัก ผู้ขายมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในความชำรุดบกพร่อง ซึ่งเป็นเหตุให้ทรัพย์สินที่ขายนั้นเสื่อมราคา เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติ หรือเสื่อมประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญา ไม่ว่าผู้ขายจะรู้หรือไม่รู้ว่าทรัพย์สินที่ขายนั้นมีความชำรุดบกพร่องอยู่ (มาตรา 472)
กรณีตามอุทาหรณ์ นายนกซื้อรถยนต์ของนายหนูมา 1 คัน หลังจากซื้อขายและส่งมอบแล้ว นายนกได้พบว่ารถยนต์คันดังกล่าวมีข้อบกพร่องเกี่ยวกับสายเบรก ซึ่งโดยหลักแล้ว นายนกสามารถจะฟ้องนายหนูให้รับผิดในความชำรุดบกพร่องที่เกิดขึ้นได้ตามมาตรา 472 แต่อย่างไรก็ดี เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า การที่นายนกซื้อรถยนต์มาจากนายหนูนั้นเป็นการซื้อมาจากการขายทอดตลาดของนาย หนู ซึ่งตามมาตรา 473(3) ถือว่าเป็นข้อยกเว้นที่ผู้ขายไม่ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่อง ดังนั้น กรณีดังกล่าวเมื่อมีความชำรุดบกพร่องเกิดขึ้นกับรถยนต์ที่ซื้อขาย นายนกจะฟ้องให้นายหนูผู้ขายรับผิดในความชำรุดบกพร่องไม่ได้ตามมาตรา 472 ประกอบมาตรา 473(3) แม้นายหนูผู้ขายจะไม่สุจริตก็ตาม
สรุป นายนกจะฟ้องนายหนูให้รับผิดในความชำรุดบกพร่องที่เกิดขึ้นไม่ได้
ข้อ 3 นายช้างนำความ 2 ตัวไปทำเป็นหนังสือจดทะเบียนขายฝากไว้กับนายม้า ในราคาตัวละ 4 หมื่นบาท ไถ่คืนในราคาเดิมบวกประโยชน์15 เปอร์เซ็นต์ หลังรับซื้อฝากไว้แล้วนายม้าก็นำความ 1 ตัวที่รับซื้อฝากไปฆ่าเพื่อทำอาหารเลี้ยงแขกในงานขึ้นบ้านใหม่ เมื่อนายช้างมาขอไถ่ความคืน จึงเหลือความเพียง 1 ตัว นายช้างจะฟ้องเรียกราคาความที่ถูกฆ่าตายจากนายม้าเป็นเงิน 4 หมื่นบาท และเรียกค่าสินไหมทดแทนจากการไถ่ความคืนไม่ได้อีก 5 พันบาท ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคำตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 501 ทรัพย์สินซึ่งไถ่นั้น ท่านว่าต้องส่งคืนตามสภาพที่เป็นอยู่ในเวลาไถ่ แต่ถ้าหากว่าทรัพย์สินนั้นถูกทำลายหรือทำให้เสื่อมเสียไปเพราะความผิดของผู้ ซื้อไซร้ ท่านว่าผู้ซื้อจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
วินิจฉัย
โดย หลัก ผู้ซื้อฝากจะต้องสงวนรักษาทรัพย์สินที่ซื้อฝากอย่างวิญญูชนทั่วไปจะพึงสงวน รักษาและใช้ทรัพย์สินของตน และต้องส่งคืนตามสภาพที่เป็นอยู่ในเวลาไถ่ ถ้าหากว่าทรัพย์สินนั้นถูกทำลาย ทำให้เสื่อมเสียไปเพราะความผิดของผู้ซื้อฝาก ผู้ซื้อฝากก็จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน (มาตรา 501)
กรณีตามอุทาหรณ์ นายช้างนำควาย 2 ตัวไปทำเป็นหนังสือจดทะเบียนขายฝากไว้กับนายม้าในราคาตัวละ 4 หมื่นบาท โดยหลักแล้ว นายม้าซึ่งเป็นผู้ซื้อฝากก็มีหน้าที่จะต้องดูแลรักษาควาย 2 ตัวที่รับซื้อฝากอย่างเช่นวิญญูชนทั่วไปจะพึงกระทำ แต่จากข้อเท็จจริงปรากฏว่า หลังรับซื้อฝากไว้แล้วนายม้าได้นำควาย 1 ตัวที่รับซื้อฝากไปฆ่าเพื่อทำอาหารเลี้ยงแขกในงานขึ้นบ้านใหม่ กรณีนี้จึงถือได้ว่าทรัพย์สินที่ขายฝากถูกทำลายไปเพราะความผิดของผู้ซื้อฝาก เมื่อนายช้างมาขอไถ่ควายคืนแต่เหลือควายเพียงตัวเดียว นายช้างจึงสามารถฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากการไถ่ควายคืนไม่ได้เป็นจำนวน 5 พันบาทได้ตามมาตรา 501 แต่จะฟ้องเรียกราคาควายที่ถูกฆ่าตายจากนายม้าเป็นเงิน 4 หมื่นบาทไม่ได้ เพราะราคาควายที่ขายฝากนายช้างได้รับไปแล้วตั้งแต่เวลาขายฝาก
สรุป นายช้างจะฟ้องเรียกราคาควายที่ถูกฆ่าตายจากนายม้าเป็นเงิน 4 หมื่นบาทไม่ได้ แต่ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากการไถ่ควายคืนไม่ได้จำนวน 5 พันบาทได้