การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2553
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW2005
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้


คำแนะนำ
 ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี 3 ข้อ

Advertisement

ข้อ 1
(ก) หากท่านต้องการซื้อแม่หมู 1 ตัว จากฟาร์มเลี้ยงหมูของนายแดงและประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์ในแม่หมูตั้งแต่ขณะทำ สัญญา ท่านมีหลักเกณฑ์อย่างไร

(ข) นายจันทร์ขายรถยนต์ของตนคันหนึ่งให้นายอังคารในราคา 300,000 บาท นายอังคารตอบตกลงซื้อ นายจันทร์ส่งมอบรถยนต์ให้นายอังคารแล้ว แต่นายอังคารไม่ยอมชำระราคา นายจันทร์ขอให้นายอังคารคืนรถยนต์ นายอังคารไม่ยอมคืน นายจันทร์ฟ้องขอให้ศาลบังคับนายอังคารให้นายอังคารคืนรถยนต์ นายอังคารได้รับสำเนาฟ้องแล้ว นายอังคารมาถามท่านว่า คดีนี้นายอังคารจะมีทางชนะคดีหรือไม่

ดังนี้ ท่านจะให้คำตอบแก่นายอังคารอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

(ก) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 458 กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายนั้น ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกัน


มาตรา 460 ในการซื้อขายทรัพย์สินซึ่งมิได้กำหนดลงไว้แน่นอนนั้น ท่านว่ากรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปจนกว่าจะได้หมาย หรือนับ ชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือก หรือทำโดยวิธีอื่นเพื่อให้บ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นแน่นอนแล้ว
ใน การซื้อขายทรัพย์สินเฉพาะสิ่ง ถ้าผู้ขายยังจะต้องนับ ชั่ง ตวง วัด หรือทำการอย่างอื่นหรือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินเพื่อให้รู้ กำหนดราคาทรัพย์สินนั้นแน่นอน ท่านว่ากรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อจนกว่าการหรือสิ่งนั้นได้ทำแล้วจาก หลักกฎหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ถ้าข้าพเจ้าต้องการซื้อแม่หมู 1 ตัว จากฟาร์มเลี้ยงหมูของนายแดง และประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์ในแม่หมูตั้งแต่ขณะทำสัญญาซื้อขายกันตามมาตรา 458 นั้น สัญญาซื้อขายแม่หมูซึ่งเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดนั้น จะต้องได้กระทำถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 460 ด้วย ได้แก่(1) ทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันจะต้องเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง หรือทรัพย์ซึ่งได้กำหนดไว้เป็นที่แน่นอนแล้ว และ
(2) มีการกำหนดราคาทรัพย์สินนั้นเป็นที่แน่นอนแล้ว(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 453 อันว่าซื้อขายนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขายมาตรา 458 กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายนั้น ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกัน

วินิจฉัย

กรณี ตามอุทาหรณ์ การที่นายจันทร์ขายรถยนต์ให้นายอังคารในราคา 300,000 บาท และนายอังคารตอบตกลงซื้อนั้น ถือว่านายจันทร์และนายอังคารได้ทำสัญญาซื้อขายกันแล้ว และโดยผลของกฎหมายตามมาตรา 458 กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ซื้อขายกัน ย่อมโอนไปเป็นของผู้ซื้อคือนายอังคารแล้วตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขาย กัน และเมื่อนายจันทร์ได้ส่งมอบรถยนต์ให้นายอังคารแล้ว แต่นายอังคารไม่ยอมชำระราคาซึ่งเป็นการผิดสัญญานั้น นายจันทร์ก็ชอบที่จะฟ้องให้นายอังคารชำระราคาค่ารถยนต์ได้ตามมาตรา 453 แต่จะฟ้องให้นายอังคารคืนรถยนต์ให้แก่ตนไม่ได้ เพราะกรรมสิทธิ์ในรถยนต์นั้นได้ตกเป็นของนายอังคารผู้ซื้อแล้ว หาใช่ของนายจันทร์ไม่ ดังนั้นเมื่อนายจันทร์ฟ้องขอให้ศาลบังคับให้นายอังคารคืนรถยนต์ นายอังคารย่อมมีทางชนะคดีโดยการต่อสู้ว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์นั้นเป้นของนาย อังคารแล้วตามมาตรา 458

สรุป คดีนี้นายอังคารมีสิทธิชนะคดีโดยการต่อสู้ว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์นั้นเป็นของนายอังคารแล้ว

ข้อ 2 นายไก่นำรถยนต์โบราณซึ่งตนสะสมไว้ออกขายทอดตลาด ในการขายทอดตลาดครั้งนี้นายไก่ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า ถ้าเกิดชำรุดบกพร่องหรือรอนสิทธิอย่างใดๆขึ้น นายไก่จะไม่รับผิดชอบอย่างใดๆทั้งสิ้น ทั้งๆที่นายไก่ทราบดีว่ารยนต์คันไหนชำรุดบกพร่อง คันไหนอาจจะถูกรอนสิทธิเพราะเป็นรถยนต์ที่ขโมยมาขายแก่ตน นายไข่และนายขวดประมูลรถได้คนละคัน หลังส่งมอบรถยนต์ซึ่งนายไข่ได้ไป เครื่องยนต์บกพร่องติดๆดับๆ ส่วนรถยนต์ซึ่งนายขวดซื้อทอดตลาดไปนายดำเจ้าของแท้จริงมาติดตามเอาคืนเพราะ เป็นรถยนต์ของตนที่ถูกขโมยไปนายข่ นายขวด จะฟ้องให้นายไก่รับผิดกรณีชำรุดบกพร่องรอนสิทธิได้หรือไม่ เพราะเหตุใดธงคำตอบหลักฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 472 ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชำรุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นเหตุให้ เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดี ท่านว่า ผู้ขายต้องรับผิดมาตรา 473 ผู้ขายย่อมไม่ต้องรับผิดในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) ถ้าผู้ซื้อได้รู้อยู่แล้วแต่ในเวลาซื้อขายว่ามีความชำรุดบกพร่องหรือควรจะ ได้รู้เช่นนั้นหากได้ใช้ความระมัดระวังอันจะพึงคาดหมายได้แต่วิญญูชน
(2) ถ้าความชำรุดบกพร่องนั้นเป็นอันเห็นประจักษ์แล้วในเวลาส่งมอบ และผู้ซื้อรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้โดยมิได้อิดเอื้อน
(3) ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด

มาตรา 475 หากว่ามีบุคคลผู้ใดมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สินโดย ปกติสุข เพราะบุคคลผู้นั้นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันนั้นอยู่ในเวลาซื้อ ขายก็ดี เพราะความผิดของผู้ขายก็ดี ท่านว่าผู้ขายจะต้องรับผิดในผลอันนั้น

มาตรา 483 คู่สัญญาซื้อขายจะตกลงกันว่าผู้ขายไม่ต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องหรือเพื่อการรอนสิทธิก็ได้

มาตรา 485 ข้อสัญญาว่าจะไม่ต้องรับผิดนั้น ไม่อาจคุ้มความรับผิดของผู้ขายในผลของการอันผู้ขายได้กระทำไปเอง หรือผลแห่งข้อความจริงอันผู้ขายได้รู้อยู่แล้วและปกปิดเสีย

วินิจฉัย

ความ รับผิดในความชำรุดบกพร่องของทรัพย์สินที่ขายตามมาตรา 472 นั้น ผู้ขายต้องรับผิดถ้าทรัพย์สินที่ขายชำรุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นเหตุ ให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมอย่างใดอย่างหนึ่งและต้องเกิดขึ้นก่อน ที่กรรมสิทธิ์จะตกเป้นของผู้ซื้อ

อย่างไรก็ดี ผู้ขายก็ไม่จำต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องนั้น หากเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 473 เช่น ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด เป็นต้น

กรณีตาม อุทาหรณ์ การที่นายไข่ได้รับมอบรถยนต์ซึ่งได้ซื้อจากนายไก่ และปรากฏว่ารถยนต์คันดังกล่าว เครื่องยนต์บกพร่องติดๆดับๆ ซึ่งถือว่ารถยนต์ที่ตกลงซื้อขายกันนั้นมีความชำรุดบกพร่อง เป็นเหตุให้เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติ ซึ่งโดยหลักนายไก่ผู้ขายจะต้องรับผิดต่อนายไข่ผู้ซื้อตามมาตรา 472 แต่อย่างไรก็ตาม กรณีนี้นายไข่จะฟ้องให้นายไก่รับผิดในความชำรุดบกพร่องไม่ได้ เนื่องจากรถยนต์ที่นายไข่ซื้อจากนายไก่นั้นเป็นการซื้อขายจากการขายทอดตลาด จึงเข้าข้อยกเว้นที่ผู้ขายไม่ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องตามมาตรา 473(3)

ส่วนความรับผิดในการรอนสิทธิตามมาตรา 475 นั้น เป็นกรณีที่บุคคลภายนอกซึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันอยู่ใน เวลาซื้อขาย ได้เข้ามารบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อ ทำให้ผู้ซื้อไม่สามารถครอบครองทรัพย์สินนั้นโดยปกติสุข ซึ่งโดยหลักแล้วผู้ขายจะต้องรับผิดต่อผู้ซื้อ เว้นแต่ผู้ขายและผู้ซื้อจะได้ตกลงกันไว้ว่าผู้ขายไม่ต้องรับผิดเพราะการรอน สิทธินั้นตามมาตรา 483

แต่อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงที่ว่าผู้ขายไม่ต้องรับผิดนั้น ไม่อาจคุ้มครองผู้ขายถ้าการรอนสิทธินั้นได้เกิดขึ้นจากการกระทำของผู้ขาย หรือในกรณีที่ผู้ขายได้รู้ถึงการรอนสิทธินั้น แต่ได้ปกปิดไม่บอกให้ผู้ซื้อได้รู้ตามมาตรา 485

ดังนั้นกรณีตาม อุทาหรณ์ การที่นายขวดผู้ซื้อถูกรอนสิทธิ คือได้ถูกนายดำเจ้าของที่แท้จริงของรถยนต์คันที่นายขวดซื้อมาจากนายไก่ได้ ติดตามเอาคืนไป ดังนี้นายขวดย่อมสามารถฟ้องนายไก่ให้รับผิดกรณีที่ตนถูกรอนสิทธิได้ ทั้งนี้เพราะแม้จะมีข้อตกลงกันไว้ว่า นายไก่ผู้ขายไม่ต้องรับผิดก็ตาม แต่เมื่อนายไก่ผู้ขายได้ทราบดีอยู่แล้วว่ารถยนต์คันที่ขายให้แก่นายขวดนั้น เป็นรถยนต์ที่ถูกขโมยมา แต่ได้ปกปิดไม่แจ้งให้นายขวดทราบ ถือได้ว่านายไก่ไม่สุจริตจึงไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ดังนั้นนายไก่จึงต้องรับผิดตามมาตรา 475 483 และ485

สรุป
นายไข่ฟ้องให้นายไก่รับผิดในความชำรุดบกพร่องไม่ได้
นายขวดฟ้องให้นายไก่รับผิดในกรณีที่ตนถูกรอนสิทธิได้

 

ข้อ 3 นายจันทร์นำช้าง 2 เชือกไปทำเป็นหนังสือจดทะเบียนขายฝากนายอังคารไว้ในราคาเชือกละ 5 แสนบาท มีกำหนดไถ่คืนภายใน 1 ปี กำหนดสินไถ่ในราคา 6 แสนบาทต่อเชือก ก่อนครบ 1 ปี ช้างเชือกหนึ่งตกมันวิ่งออกนอกถนนถูกรถบรรทุกชนตาย เหลือเพียง 1 เชือก

(1) นายจันทร์จะฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนที่ช้างตาย 1 แสนบาท จากนายอังคารได้หรือไม่ โดยอ้างว่าตนไม่สามารถไถ่ช้างคืนได้
(2) ส่วนอีกเชือกนายจันทร์นำเงิน 5 แสน 7 หมื่น 5 พันบาทถ้วน ไปขอไถ่ช้างคืน นายอังคารปฏิเสธ คำปฏิเสธของนายอังคารรับฟังได้หรือไม่ว่าสินไถ่ไม่ครบ

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 499 สินไถ่นั้น ถ้าไม่ได้กำหนดกันไว้ว่าเท่าใดไซร้ ท่านให้ไถ่ตามราคาที่ขายฝาก

ถ้า ปรากฏในเวลาไถ่ว่าสินไถ่หรือราคาขายฝากที่กำหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่แท้ จริงเกินอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ให้ไถ่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละสิบห้าต่อปี

มาตรา 501 ทรัพย์สินซึ่งไถ่นั้น ท่านว่าต้องส่งคืนตามสภาพที่เป็นอยู่ในเวลาไถ่ แต่ถ้าหากว่าทรัพย์สินนั้นถูกทำลายหรือทำให้เสื่อมเสียไปเพราะความผิดของผู้ ซื้อไซร้ ท่านว่าผู้ซื้อจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ วินิจฉัยได้ดังนี้ คือ

(1) การที่ช้างเชือกหนึ่งตกมันวิ่งออกไปนอกถนนและถูกรถบรรทุกชนตายนั้น เป็นเหตุสุดวิสัย ซึ่งมิใช่ความผิดของนายอังคารผู้รับซื้อฝากตามมาตรา 501 ดังนั้นนายจันทร์จะฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนที่ช้างถูกรถบรรทุกชนตายจากนาย อังคารไม่ได้

(2) การที่นายจันทร์ได้นำเงินสินไถ่ 5 แสน 7 หมื่น 5 พันบาทถ้วนไปขอไถ่ช้างอีกเชือกหนึ่งคืน แต่นายอังคารปฏิเสธนั้น คำปฏิเสธของนายอังคารที่ว่าสินไถ่ไม่ครบนั้นรับฟังไม่ได้ ทั้งนี้เพราะตอนที่มีการทำสัญญาขายฝากและได้กำหนดสินไถ่ไว้ในราคา 6 แสนบาทนั้น ถือว่าสินไถ่ที่กำหนดไว้นั้นสูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งมาตรา 499 ได้กำหนดให้ไถ่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้นการที่นายจันทร์ได้นำเงินสินไถ่ 5 แสน 7 หมื่น 5 พันบาทถ้วนไปขอไถ่ ถือว่าสินไถ่นั้นครบถ้วนแล้วสรุป
(1) นายจันทร์จะฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนที่ช้างตาย 1 แสนบาทจากนายอังคารไม่ได้
(2) คำปฏิเสธของนายอังคารที่ว่าสินไถ่ไม่ครบนั้นรับฟังไม่ได้

Advertisement