การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 1106 ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ
ข้อ 1. หลักการ “The King Can Do No Wrong” ซึ่งปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 มาตรา 6 แสดงให้เห็นถึงหลักการที่สําคัญว่า “พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือ กฎหมาย แต่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ” ในฐานะที่ท่านเป็นนักประวัติศาสตร์ด้านกฎหมาย ขอให้ อธิบายหลักการดังกล่าวมีภูมิหลัง บ่อเกิด และความหมายอย่างไร
ธงคําตอบ
หลักการว่าด้วยกษัตริย์ทรงอยู่เหนือกฎหมาย (The King Can Do No Wrong) ดังที่ปรากฏใน รัฐธรรมนูญนั้น มีวิวัฒนาการและภูมิหลังมาจากแนวคิดแบบ “เทวสิทธิ์” หรือ “เทวราชา” (Divine Right of King) ซึ่งเป็นหลักความเชื่อทางการเมืองและทางศาสนาของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
แนวคิดตามทฤษฎีเทวสิทธิ์ เชื่อว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้างรัฐหรือเป็นผู้ก่อให้เกิดชาติขึ้นมา ดังนั้น พระมหากษัตริย์จึงมีความชอบธรรมที่จะปกครองไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ เพราะได้รับมอบอํานาจมาจากพระเจ้า
โดยตรง
ส่วนแนวคิดตามทฤษฎีสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เชื่อว่า อํานาจเด็ดขาดในองค์กรเดียวจะก่อให้เกิด ความมั่นคงและสันติภาพ ซึ่งนักทฤษฎีสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่สําคัญ คือ โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) สนับสนุนให้ผู้ปกครองมีอํานาจเด็ดขาด เป็นแนวอธิบายใหม่ของศักดินานิยมที่ยังคงสนับสนุนให้อํานาจเด็ดขาด อยู่กับพระมหากษัตริย์ แต่เปลี่ยนข้ออ้างจากพระเจ้ามาเป็นความมั่นคงและสันติภาพของชุมชน ซึ่งทฤษฎี สมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น นอกจากจะให้ความชอบธรรมแก่ระบบกษัตริย์แล้ว ยังเน้นการรวมศูนย์ยิ่งกว่าทฤษฎี เทวสิทธิ์ ซึ่งโทมัส ฮอบส์ ยังได้กล่าวว่า สภาพธรรมชาติที่ปราศจากอํานาจศูนย์กลางที่ทําให้ทุกคนเกรงกลัว เป็น สภาพสงครามที่ทุกคนต้องต่อสู้กันเอง คนทุกคนเป็นศัตรูกัน ไม่มีความมั่นคง มนุษย์จึงแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดย ทําสัญญาตั้งองค์อธิปัตย์ที่มีอํานาจเด็ดขาดบังคับให้มีการปฏิบัติตามสัญญา องค์อธิปัตย์จึงทําหน้าที่ตรวจตรา ดูแลและลงโทษผู้ไม่ปฏิบัติตามสัญญาสังคม โดยองค์อธิปัตย์จะอยู่เหนือสัญญา ประชาชนไม่มีสิทธิเรียกร้องใด ๆต่อองค์อธิปัตย์ อํานาจขององค์อธิปัตย์จึงเด็ดขาดสูงสุด
แนวคิดและหลักความเชื่อดังกล่าวที่ว่าพระเจ้าทรงมอบอํานาจทางโลกให้แก่พระมหากษัตริย์เช่นเดียวกับที่ทรงมอบอํานาจทางธรรมให้แก่สถาบันศาสนาโดยมีประมุขเป็นพระสันตะปาปา และเมื่อมีการ ขยายตัวของรัฐอิสระต่าง ๆ และการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์มีอิทธิพลมากขึ้น ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” ก็ กลายมาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสนับสนุนในการให้เหตุผลในเอกสิทธิ์ในการปกครองของพระมหากษัตริย์ทั้งใน
ด้านการเมืองและทางด้านศาสนา
และความเชื่อดังกล่าวนี้ได้แพร่หลายในกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการปกครองของราชวงศ์ทิวดอร์และต้นราชวงศ์สจ๊วตในบริเตน และคริสต์ศาสนาปรัชญาของกลุ่มนักปรัชญาคาโรไลน์ ผู้มีอิทธิพลและมีตําแหน่งหน้าที่สูงในรัชสมัยของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 พระเจ้าชาร์ลที่ 1 และสมเด็จพระเจ้าชาร์ลที่ 2 แห่งอังกฤษ
ในยุคสมัยของการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อํานาจในการบริหารราชการ ทุกประเภทรวมศูนย์อยู่ที่สถาบันกษัตริย์ผู้ดํารงฐานะเป็นประมุขของรัฐ จึงทําให้เข้าใจว่ากษัตริย์เป็นแหล่งกําเนิด อํานาจอธิปไตย อํานาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์ กษัตริย์เป็นผู้ตรากฎหมายและบังคับใช้กฎหมายโดยพระองค์เอง อํานาจต่าง ๆ ในทางการปกครองรวมทั้งการชําระคดีความล้วนมีที่มาหรือได้รับมอบหมายมาจากกษัตริย์ทั้งสิ้น ดังนั้นองค์กษัตริย์จึงไม่อาจมีความรับผิดใด ๆ ได้ เพราะกษัตริย์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองและผู้ใช้อํานาจอธิปไตย เสียเอง จะถูกบังคับให้อยู่ภายใต้อํานาจของตนเองได้อย่างไร จึงมีหลักความคุ้มครองไม่ให้ฟ้องร้องดําเนินคดีใด ๆ ต่อกษัตริย์ที่เรียกว่า “The King Can Do No Wrong” เกิดขึ้นในระบบกฎหมาย Common Law ของอังกฤษ และเป็นที่ยอมรับในหลาย ๆ ประเทศในทวีปยุโรป
ภายหลังจากที่หลายประเทศได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็น ระบอบประชาธิปไตย แต่ละประเทศอาจจะเลือกการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่คงไว้ซึ่งสถาบันกษัตริย์เป็น ประมุขของรัฐที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ หรือระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นผู้เลือกประธานาธิบดีเป็น ประมุขโดยตรง ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่ประวัติศาสตร์ความผูกพันและทัศนคติหรือมุมมองที่มีต่อสถาบันกษัตริย์ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ
สําหรับประเทศไทย ได้เลือกระบอบประชาธิปไตยที่คงไว้ซึ่งสถาบันกษัตริย์เป็นประมุขของรัฐ ที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 3 ได้บัญญัติรับรองหลักการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยไว้ว่า อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อํานาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล เมื่อรัฐธรรมนูญบัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ทรงใช้อํานาจ อธิปไตย จึงเท่ากับว่าพระมหากษัตริย์ทรงใช้อํานาจอธิปไตยแทนประชาชน แต่เนื่องจากพระมหากษัตริย์ไม่ได้ บริหารราชการแผ่นดิน เพียงแต่พระองค์ทรงทําตามคําแนะนําของรัฐบาลจึงไม่ต้องมีความรับผิดชอบใด ๆ อัน เกิดจากการกระทําของฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ จึงต้องนําหลัก “The King Can Do No Wrong มาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 6 ว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้” ซึ่งหลักการนี้ได้รับการยอมรับ ในรัฐธรรมนูญของหลายประเทศ เช่น เดนมาร์ก เบลเยี่ยม และนอร์เวย์
ข้อ 2. คัมภีร์พระธรรมศาสตร์คืออะไร ในประมวลกฎหมายตราสามดวงได้มีการกล่าวถึงการกําเนิดของ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ไว้ว่าอย่างไร อธิบาย
ธงคําตอบ
คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ คือ คัมภีร์ที่ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์หรือผู้มีอํานาจเหนือบุคคลธรรมดาแต่ง เรียบเรียงขึ้น เป็นชุมนุมข้อบังคับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามความยุติธรรม กฎเกณฑ์เหล่านี้อยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง ดังนั้น จึงย่อมใช้แก่มนุษย์ทั้งหลายที่อยู่ใต้อํานาจการปกครองของกษัตริย์ และกษัตริย์เองก็อยู่ภายใต้กฎหมาย ของพระธรรมศาสตร์ด้วย โดยลักษณะเช่นนี้คัมภีร์พระธรรมศาสตร์จึงมีศักดิ์เทียบเท่ากฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งกษัตริย์ของราชอาณาจักรไทยได้นําเอาคัมภีร์พระธรรมศาสตร์มาจากมอญมาเป็นหลักในการบัญญัติกฎหมายที่เรียกว่าพระราชศาสตร์มาตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัยแล้ว
ในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ได้กล่าวถึงกําเนิดของพระคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ไว้ว่า เกิดจากการที่มีท้าวมหาพรหมองค์หนึ่งชื่อ พรหมเทวะ จุติจากพรหมโลกแล้วมาปฏิสนธิกําเนิดในตระกูลมหาอํามาตย์ซึ่งเป็นข้าบาท พระเจ้ามหาสมมุติราช ครั้นอายุได้ 15 ปี ก็เข้าแทนที่บิดา ต่อมาเห็นสัตว์โลกทั้งหลายได้รับความทุกข์ยากต่าง ๆ จึงมีความปรารถนาที่จะให้พระเจ้าสมมุติราชตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม จึงถวายบังคมลาออกไปบวชเป็นฤาษีอยู่ใน ป่าหิมพานต์ ต่อมาพระเทวฤๅษีได้เสียเป็นผัวเมียกับกินรีนางหนึ่งจนเกิดบุตร 2 คน คนแรกชื่อ ภัทธระกุมาร คนที่ 2 ชื่อ มโนสารกุมาร เมื่อบุตรทั้ง 2 เจริญเติบโต บิดาก็ให้บวชเป็นฤๅษีจําศีลภาวนา และรับใช้ปรนนิบัติบิดามารดา จนกระทั่งบิดามารดาได้ตายจากไป ภัทธระดาบสจึงได้ละเพศฤๅษีไปรับราชการเป็นปุโรหิตสั่งสอนพระเจ้าสมมุติราช ส่วนมโนสารฤๅษีก็ตามพี่ชายออกไปทําราชการด้วย พระเจ้าสมมุติราชจึงตั้งมโนสารให้เป็นผู้พิพากษา
ครั้นอยู่มาวันหนึ่งมีชาย 2 คน ทําไร่แตงใกล้กัน เมื่อปลูกแล้วเอาดินมาปูเป็นถนนกั้นกลาง เถาแตง จึงเลื้อยพาดผ่านข้ามถนนพันจนเป็นต้นเดียวกัน เมื่อแตงเป็นผล ชายทั้งสองต่างก็มาเก็บแต่งจึงเกิดการทะเลาะวิวาท ด้วยต่างอ้างเป็นเจ้าของผลแตง ชายทั้งสองจึงพากันมาหาพระมโนสารให้เป็นผู้ชี้ขาด พระมโนสารตัดสินว่า แตงอยู่ในไร่ผู้ใดผู้นั้นเป็นเจ้าของผลแตง ชายผู้หนึ่งไม่พอใจในคําตัดสินของพระมโนสาร จึงอุทธรณ์คําตัดสิน ไปยังพระเจ้าสมมุติราช พระองค์จึงตรัสใช้อํามาตย์ผู้หนึ่งให้ไปพิจารณาคดีใหม่ อํามาตย์ผู้นั้นจึงเลิกต้นแตงขึ้นดู ตามปลายยอด เอายอดแตงกลับมาไว้ตามต้น ชายทั้งสองต่างพอใจในคําตัดสินของอํามาตย์ผู้นี้ และประชาชน ทั้งหลายต่างพากันตําหนิว่าพระมโนสารตัดสินคดีไม่เป็นธรรม พระมโนสารมีความเสียใจจึงหนีไปออกบวชเป็น ฤๅษีจําเริญภาวนาได้อภิญญา 5 และอรรฐสมบัติ 8 แล้วมีความประสงค์จะให้พระเจ้าสมมุติราชทรงไว้ด้วย ทศพิธราชธรรม 10 ประการ จึงเหาะไปยังกําแพงจักรวาลเห็นบาลีคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นลายลักษณ์อักษร ปรากฏอยู่ในกําแพงจักรวาลมีปริมณฑลเท่ากายคชสาร พระมโนสารก็จดจําและนํามาแต่งเรียบเรียงขึ้นเป็นคัมภีร์ พระธรรมศาสตร์ เพื่อมาสั่งสอนพระเจ้าสมมุติราช
ข้อ 3. จงอธิบายถึงความเหมือนและความแตกต่างระหว่างกฎหมายของ Draco กับกฎหมายของ Solon และจงอธิบายว่ากฎหมายดังกล่าวของทั้งสองมีอิทธิพลต่อกฎหมายโรมันอย่างไร
ธงคําตอบ
สืบเนื่องจากในตอนกลางของศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสต์ศักราช เอเธนส์ (Athens) ปกครองโดยกษัตริย์ ประชาชนในสมัยนั้นแบ่งออกเป็น 2 พวกคือ ขุนนางกับพ่อค้า ได้แก่ เจ้าของที่ดินหรือพ่อค้าชาวเมืองที่เป็น ชนชั้นกลาง หรือชาวนาที่มีที่ดินแปลงเล็ก ๆ เป็นของตนเอง ต่อมาสมัยศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช สภาขุนนาง ได้ลดอํานาจของกษัตริย์ลง เนื่องจากเจ้าของที่ดินที่มั่งคั่งจากการทําเกษตรเริ่มมีอํานาจมากขึ้น แต่ชาวนารายย่อย ที่ทําการเกษตรไม่ได้ผล ต้องกู้ยืมเงินจากผู้มั่งคั่งจนดอกเบี้ยเพิ่มพูนมากขึ้น เมื่อไม่สามารถชําระดอกเบี้ยได้ก็ต้อง ยอมเอาที่ดินของตนไปจํานอง โดยหวังว่าจะไถ่คืนได้ในอนาคต แต่ก็ไม่สามารถไถ่คืนได้ พวกนี้จึงได้กลายเป็นทาส ในที่สุด นอกจากนี้เกษตรกรที่ไม่มีที่นาเป็นของตนเอง แต่รับจ้างแรงงานในที่นาของผู้อื่นโดยได้รับค่าจ้างเพียง หนึ่งส่วนหกของผลผลิตที่ได้จากแรงงานของตน มีความเป็นอยู่อย่างฝืดเคือง ทําให้ปัญหาระหว่างพวกคนยากจน กับพวกคนรวยทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น อีกทั้งได้มีการจํากัดสิทธิผู้ซึ่งเข้าประจําการในกองทหารอาวุธหนักคือ พลเมืองที่มั่งคั่งเท่านั้น เพราะทหารเหล่านี้ต้องจัดหาอาวุธด้วยตนเอง สามัญชนจึงเรียกร้องให้มีการสร้างกฎหมายลายลักษณ์อักษรขึ้นเพื่อให้ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน
ผู้ซึ่งมีบทบาทในการร่างประมวลกฎหมาย และพัฒนารูปแบบการปกครองประชาธิปไตย คือ
1. ดราโค (Draco)
ดราโคเป็นผู้ซึ่งมีบทบาทอยู่ในช่วงราวปีที่ 620 ก่อนคริสต์ศักราช ดราโคได้ทําการรวบรวม กฎหมายและตราให้เป็นระเบียบหมวดหมู่ เขาเป็นเจ้าของประมวลกฎหมายที่เข้มงวดมาก จนทําให้เกิดคําว่า “Draconic” หมายความว่า รุนแรงหรือเข้มงวด จนมีคํากล่าวว่ากฎหมายของเขาเขียนด้วยเลือด ไม่ใช่ด้วยหมึก เช่น ผู้ซึ่งเป็นหนี้คนอื่นแล้วไม่สามารถชําระหนี้ได้ตามกําหนดจะต้องตกเป็นทาสของเจ้าหนี้ หรือใครขโมย กะหล่ําปลีจะต้องถูกลงโทษประหารชีวิต กฎหมายฉบับนี้แม้จะให้ความยุติธรรม แต่การลงโทษที่รุนแรงเกินไป ไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจ ผู้มั่งคั่งยังร่ํารวยจนเหลือล้น ในขณะที่คนจนก็ยังยากจนอย่าง แสนสาหัส พวกขุนนางยังคงตัดสินคดีเข้าข้างตนเอง ความเข้มงวดของกฎหมายนี้เองเป็นเหตุให้เกิดความยุ่งยาก จนถึงขั้นจลาจลวุ่นวายขึ้นในปี 600 ก่อนคริสต์ศักราช อนึ่งประมวลกฎหมายของตราโคนั้นถือว่าเป็นกฎหมาย ลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของกรีก ผลดีของกฎหมายฉบับนี้มีเพียงประการเดียว คือ ทําให้ประชาชนมีโอกาส รู้กฎหมายบ้านเมือง ไม่ใช่ปล่อยให้ขุนนางเป็นผู้ตัดสินคดีตามใจตั้งแ
2. โซลอน (Solon)
โซลอนเป็นพ่อค้า ซึ่งเป็นชนชั้นที่มั่งคั่งที่สุดในนครรัฐเอเธนส์ โซลอนได้เข้ามาปฏิรูป การปกครอง ในราวปี 584 ก่อนคริสต์ศักราช เขาได้รับแต่งตั้งเป็นอาร์คอน มีอํานาจพิเศษในการตรากฎหมาย เมื่อเข้ามารับตําแหน่งแล้ว ได้ยกเลิกกฎหมายของดราโค โซลอนได้พยายามเลิกทาส และยกฐานะของบุคคลให้ เสมอภาคกัน ผลงานที่สําคัญ คือ
(ก) ประกาศยกเลิกบรรดาทรัพย์สินที่จํานอง และห้ามการจํานองที่ดิน
(ข) ยกเลิกหนี้สินต่าง ๆ ที่ลูกหนี้มีอยู่ รวมทั้งให้อิสรภาพแก่ผู้ที่ต้องกลายเป็นทาส เนื่องมาจากการติดหนี้สิน และห้ามการขายตัวเพื่อชดใช้หนี้สิน
(ค) จัดตั้งสภาสี่ร้อย (The Council of Four Hundred) เพื่อเตรียมงานด้านนิติบัญญัติ มีสมาชิก 400 คน เลือกมาจากพลเมืองทั้งสี่เผ่าพันธุ์ที่ประกอบเป็นชาวนครรัฐเอเธนส์ เผ่าพันธุ์ละ 100 คน โดย ให้สิทธิชนชั้นกลางและชนชั้นต่ําเข้าเป็นสมาชิกด้วย จุดมุ่งหมายของการจัดตั้งสภานี้ ก็เพื่อให้เกิดความสมดุล ทางการเมือง กล่าวคือ คนทั้ง 4 เผ่าพันธุ์ ต่างก็มีส่วนในการปกครองเท่า ๆ กัน ประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ในทางนิติบัญญัติและในสภา
(ง) จัดตั้งศาลยุติธรรม มีคณะผู้พิพากษาเรียกว่า เฮเลีย (Heliaca) เรียกศาลนี้ว่าศาลเฮเลีย ในระยะแรกศาลนี้ทําหน้าที่พิจารณาคดีเบื้องต้น โดยที่อํานาจผู้พิพากษาสูงสุดยังคงอยู่กับอาร์คอน ต่อมาภายหลัง ศาลเฮเลียทําหน้าที่เป็นทั้งศาลเบื้องต้นและศาลสูงสุด คณะผู้พิพากษาประกอบด้วย ประชาชนทั่วไป นอกจาก อํานาจในการพิจารณาคดีแล้ว ศาลนี้ยังมีอํานาจซักฟอกผู้บริหารงานที่ถูกกล่าวหาและถูกเชิญตัวมาในศาลด้วย
(จ) จัดให้มีการควบคุมเกี่ยวกับการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เพื่อป้องกันไม่ให้เอกชนคนใดมีที่ดินมากเกินไป
ข้อ 4. คอมมอนลอว์เกิดขึ้นได้อย่างไร จงอธิบาย
ธงคําตอบ
คอมมอนลอว์ (Common Law) นั้นเกิดจากเกาะอังกฤษแต่เดิมจะมีชนเผ่าดั้งเดิม ซึ่งทําไร่ ไถนา เพาะปลูก เรียกว่า Briton แต่ถูกรุกรานจากชนเผ่าต่าง ๆ เช่น พวกไอบีเรียน (Iberian), พวกกาล (Gael) และ พวกเซลท์ (Celt) ที่มาจากสเปน โปรตุเกส และเยอรมัน เช่น เผ่าที่มีชื่อเรียกว่า แองโกลหรือแองเจิล (Anglo หรือ Angles) เป็นนักรบ ได้ยกกองทัพเรือขึ้นไปบนเกาะอังกฤษ เมื่อชนเผ่าดั้งเดิมสู้ไม่ได้จึงถูกยึดครอง อีกพวก คือพวกแซกซอน (Saxons) และมีอีกเผ่าหนึ่งที่เรียกว่า พวกจุ๊ทส์ (Jutes) ที่เข้าไปยึดครองเกาะอังกฤษ จะเห็น ได้ว่าเดิมนั้นเกาะอังกฤษจะหลากหลายด้วยชนเผ่า แต่ละชนเผ่าก็จะมีจารีตประเพณีของตนเองจนมีผู้กล่าวว่า
“ถ้าขี่ม้าข้ามทุ่งนาต้องผ่านจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นนับเป็นสิบ ๆ อย่าง” และชนเผ่าสุดท้ายที่เป็นบรรพบุรุษ ของคนอังกฤษคือ ชาวนอร์แมน (Norman) นอกจากนี้ในสมัยที่กรุงโรมเรืองอํานาจ กรุงโรมได้ส่งกองทัพเรือ ยึดเกาะอังกฤษหลายร้อยปี จน ค.ศ. 1066 ชาวนอร์แมนมาจากแถบสแกนดิเนเวีย ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของ ยุโรปคือ ประเทศนอร์เวย์ บุกขึ้นเกาะอังกฤษแล้วตั้งราชวงศ์ มีกษัตริย์ปกครองทรงพระนามว่าพระเจ้าวิลเลียม แต่พระองค์ก็ประสบปัญหาในการปกครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของคดีความเนื่องจากศาลท้องถิ่นได้ ตัดสินคดีโดยใช้จารีตประเพณีที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นจึงทําให้ผลของคําพิพากษาตรงกันข้ามกันในแต่ละศาล
อีกทั้งจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของบางชนเผ่าเป็นจารีตประเพณีที่ล้าสมัย คําพิพากษาของศาลท้องถิ่นที่ตัดสินตาม จารีตประเพณีนั้นเป็นเหตุให้ฝ่ายที่แพ้คดีเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม รวมทั้งวิธีการพิสูจน์ความจริงก็ใช้ วิธีการดั้งเดิม เช่น การพิสูจน์น้ํา พิสูจน์ไฟ หรือให้คู่ความต่อสู้กันเอง ดังนั้นราษฎรฝ่ายที่แพ้คดีจึงมาร้องเรียนต่อ พระเจ้าวิลเลียม พระองค์จึงได้จัดตั้งศาลพระมหากษัตริย์ (King’s Court) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ศาลหลวง (Royal Court) ส่งผู้พิพากษานั่งรถม้าจากส่วนกลางเป็นศาลเคลื่อนที่หมุนเวียนออกไปพิจารณาคดี โดยศาลหลวง ไม่ใช้วิธีพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างศาลท้องถิ่น แต่ใช้วิธีการไต่สวนจากบุคคลที่รู้เหตุการณ์แทนการพิจารณาแบบดั้งเดิม ทําให้ประชาชนทั่วไปเห็นว่าศาลหลวงให้ความเป็นธรรมแก่ตนได้ จนในที่สุดศาลหลวงได้วางหลักเกณฑ์ที่ มีลักษณะเป็นสามัญ (Common) และใช้กันทั่วไป ทําให้กฎหมาย Common Law เริ่มเกิดขึ้นในประเทศ อังกฤษนับแต่นั้นเป็นต้นมา