การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2556
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2032 ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. กฎหมายตราสามดวงคืออะไร เพราะเหตุใดจึงมีการบัญญัติกฎหมายตราสามดวงขึ้นมา จงอธิบาย

Advertisement

ธงคําตอบ

กฎหมายตราสามดวง คือ กฎหมายที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงให้บัญญัติมา เพื่อใช้ปกครองบ้านเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2347 (จ.ศ. 1166) เหตุที่มีการบัญญัติกฎหมายตราสามดวงขึ้นมาก็เนื่องจาก มีการร้องทุกข์ของนายบุญศรี ช่างเหล็กหลวง ว่าภรรยาของตนเองซึ่งมีชื่อว่าอําแดงป้อม ไปทําชู้กับราชาอรรถ แล้วมาฟ้องหย่านายบุญศรี นายบุญศรีไม่ยอมหย่า แต่ศาลตัดรับให้หย่ากันได้ เพราะตามกฎหมายในขณะนั้น บัญญัติว่า เป็นหญิงหย่าชายหย่าได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเห็นว่า หญิงนอกใจชายแล้วมา ฟ้องหย่า ลูกขุนปรึกษาให้หย่ากันนั้นหายุติธรรมไม่ จึงทรงให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งรวม 11 คน ให้ จัดการชําระบทกฎหมายทั้งหมด ตั้งแต่พระธรรมศาสตร์เป็นต้นมาให้ถูกต้องตามความยุติธรรม และให้อาลักษณ์ เขียนเป็นฉบับหลวงจํานวน 3 ชุด ประทับตราคชสีห์ ราชสีห์ และบัวแก้ว อันตราของสมุหพระกลาโหม สมุหนายก และเจ้าพระยาพระคลังไว้เป็นสําคัญ จึงได้เรียกในภายหลังว่ากฎหมายตราสามดวง

 

ข้อ 2. คัมภีร์พระธรรมศาสตร์คืออะไร ในประมวลกฎหมายตราสามดวงได้มีการกล่าวถึงการกําเนิดของ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ไว้ว่าอย่างไร อธิบาย

ธงคําตอบ

คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ คือ คัมภีร์ที่ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์หรือผู้มีอํานาจเหนือบุคคลธรรมดาแต่ง เรียบเรียงขึ้น เป็นชุมนุมข้อบังคับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามความยุติธรรม กฎเกณฑ์เหล่านี้อยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง ดังนั้น จึงย่อมใช้แก่มนุษย์ทั้งหลายที่อยู่ใต้อํานาจการปกครองของกษัตริย์ และกษัตริย์เองก็อยู่ภายใต้กฎหมาย ของพระธรรมศาสตร์ด้วย โดยลักษณะเช่นนี้คัมภีร์พระธรรมศาสตร์จึงมีศักดิ์เทียบเท่ากฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งกษัตริย์ของราชอาณาจักรไทยได้นําเอาคัมภีร์พระธรรมศาสตร์มาจากมอญมาเป็นหลักในการบัญญัติกฎหมายที่เรียกว่าพระราชศาสตร์มาตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัยแล้ว

ในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ได้กล่าวถึงกําเนิดของพระคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ไว้ว่า เกิดจากการที่มีท้าวมหาพรหมองค์หนึ่งชื่อ พรหมเทวะ จุติจากพรหมโลกแล้วมาปฏิสนธิกําเนิดในตระกูลมหาอํามาตย์ซึ่งเป็นข้าบาท พระเจ้ามหาสมมุติราช ครั้นอายุได้ 15 ปี ก็เข้าแทนที่บิดา ต่อมาเห็นสัตว์โลกทั้งหลายได้รับความทุกข์ยากต่าง ๆ จึงมีความปรารถนาที่จะให้พระเจ้าสมมุติราชตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม จึงถวายบังคมลาออกไปบวชเป็นฤาษีอยู่ใน ป่าหิมพานต์ ต่อมาพระเทวฤๅษีได้เสียเป็นผัวเมียกับกินรีนางหนึ่งจนเกิดบุตร 2 คน คนแรกชื่อ ภัทธระกุมาร คนที่ 2 ชื่อ มโนสารกุมาร เมื่อบุตรทั้ง 2 เจริญเติบโต บิดาก็ให้บวชเป็นฤๅษีจําศีลภาวนา และรับใช้ปรนนิบัติบิดามารดา จนกระทั่งบิดามารดาได้ตายจากไป ภัทธระดาบสจึงได้ละเพศฤๅษีไปรับราชการเป็นปุโรหิตสั่งสอนพระเจ้าสมมุติราช ส่วนมโนสารฤๅษีก็ตามพี่ชายออกไปทําราชการด้วย พระเจ้าสมมุติราชจึงตั้งมโนสารให้เป็นผู้พิพากษา

ครั้นอยู่มาวันหนึ่งมีชาย 2 คน ทําไร่แตงใกล้กัน เมื่อปลูกแล้วเอาดินมาปูเป็นถนนกั้นกลาง เถาแตง จึงเลื้อยพาดผ่านข้ามถนนพันจนเป็นต้นเดียวกัน เมื่อแตงเป็นผล ชายทั้งสองต่างก็มาเก็บแตงจึงเกิดการทะเลาะวิวาท ด้วยต่างอ้างเป็นเจ้าของผลแตง ชายทั้งสองจึงพากันมาหาพระมโนสารให้เป็นผู้ชี้ขาด พระมโนสารตัดสินว่า แตงอยู่ในไร่ผู้ใดผู้นั้นเป็นเจ้าของผลแตง ชายผู้หนึ่งไม่พอใจในคําตัดสินของพระมโนสาร จึงอุทธรณ์คําตัดสิน ไปยังพระเจ้าสมมุติราช พระองค์จึงตรัสใช้อํามาตย์ผู้หนึ่งให้ไปพิจารณาคดีใหม่ อํามาตย์ผู้นั้นจึงเลิกต้นแตงขึ้นดู ตามปลายยอด เอายอดแตงกลับมาไว้ตามต้น ชายทั้งสองต่างพอใจในคําตัดสินของอํามาตย์ผู้นี้ และประชาชน ทั้งหลายต่างพากันตําหนิว่าพระมโนสารตัดสินคดีไม่เป็นธรรม พระมโนสารมีความเสียใจจึงหนีไปออกบวชเป็น ฤๅษีจําเริญภาวนาได้อภิญญา 5 และอรรฐสมบัติ 8 แล้วมีความประสงค์จะให้พระเจ้าสมมุติราชทรงไว้ด้วย ทศพิธราชธรรม 10 ประการ จึงเหาะไปยังกําแพงจักรวาลเห็นบาลีคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นลายลักษณ์อักษร ปรากฏอยู่ในกําแพงจักรวาลมีปริมณฑลเท่ากายคชสาร พระมโนสารก็จดจําและนํามาแต่งเรียบเรียงขึ้นเป็นคัมภีร์ พระธรรมศาสตร์ เพื่อมาสั่งสอนพระเจ้าสมมุติราช

 

ข้อ 3. จงอธิบายกฎหมายอาญาสมัยบาบิโลน

ธงคําตอบ

กฎหมายอาญาสมัยบาบิโลน คือ ประมวลกฎหมายพระเจ้าฮัมมูราบี ที่ได้จัดทําขึ้นเป็นลายลักษณ์ อักษร ในส่วนที่เกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาและกฎหมายว่าด้วยโทษนั้น ยึดหลักการแก้แค้นตอบที่รุนแรงมาก หลักการดังกล่าวนี้เป็นหลักการของกฎหมายดั้งเดิมที่เรียกว่า “Lex Tationis” หรือที่มีคํากล่าวกันว่า “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” (An eye for an eye, and a tooth for a tooth) จะเห็นได้จากข้อความที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย
ดังนี้คือ

(1) ถ้าบุคคลใดทําลายดวงตาของอีกผู้หนึ่ง ดวงตาของบุคคลนั้นจะถูกทําลายเช่นกัน

(2) ถ้าขายคนหนึ่งเป็นเหตุให้ชายอีกคนสูญเสียลูกนัยน์ตา ลูกนัยน์ตาของชายคนนั้นต้องถูกควักออกมา

(3) บุคคลใดทําให้บุตรสาวของผู้อื่นถึงแก่ความตาย บุตรสาวของตนก็จะถูกลงโทษให้ถึงแก่ความตายด้วย

(4) ถ้าบ้านพังตกลงมาทับเจ้าของบ้านตาย ผู้สร้างต้องรับผิดชดใช้ด้วยชีวิต

(5) ช่างก่อสร้างบ้านเรือนที่ทําให้บุตรของเจ้าของบ้านถึงแก่ความตายโดยประมาท บุตรของตน จะถูกลงโทษให้ถึงแก่ความตายเช่นกัน

(6) เจ้าหนี้ทําให้บุตรของลูกหนี้ซึ่งมาอยู่กับตนในฐานะเป็นผู้ขัดหนี้ (Mancipium) ถึงแก่ความตาย บุตรของเจ้าหนี้จะถูกลงโทษให้ถึงแก่ความตายด้วย

เมื่อพิจารณาหลักการลงโทษดังกล่าว จะเห็นว่าเป็นการลงโทษแก่บุตรหรือธิดาของผู้กระทําผิด ซึ่งบุคคลดังกล่าวไม่ได้กระทําความผิด อันเป็นวิธีการลงโทษที่มีวัตถุประสงค์ในการแก้แค้นหรือตอบแทนผู้ที่กระทําความผิด วิธีการลงโทษดังกล่าวจึงแตกต่างกับกฎหมายอาญาในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ในประมวลกฎหมายนี้ไม่มีการลงโทษจําคุกแก่ผู้กระทําผิด เพราะโทษที่ลงแก่ ผู้กระทําผิดร้ายแรงที่ผู้กระทําผิดมีเจตนา เช่น ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ลักทรัพย์ คือ โทษประหารชีวิต แต่ความผิด อื่น ๆ ที่ไม่ร้ายแรง โทษที่ผู้กระทําความผิดได้รับ คือ โทษปรับ เช่น การฆ่าคนตายโดยเจตนาต้องถูกลงโทษ ประหารชีวิต แต่ถ้าจําเลยสาบานว่าฆ่าคนจริงแต่ไม่เจตนา โทษที่จําเลยได้รับ คือ โทษปรับ โดยคํานึงถึงชั้น
วรรณะของผู้ซึ่งถึงแก่ความตายเป็นหลัก

นอกจากนี้ลูกทําร้ายร่างกายพ่อ จะถูกลงโทษให้ตัดมือทิ้งเสีย

วิธีพิสูจน์ความผิดฐานมีชู้ ให้นําภรรยาไปโยนลงในแม่น้ำ ถ้าลอยน้ำถือว่าบริสุทธิ์ ถ้าจมน้ำถือว่ามีความผิด

 

ข้อ 4. การเรียนกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์ มีความแตกต่างจากระบบชีวิลลอว์ อย่างไร

ธงคําตอบ

การศึกษากฎหมายในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์นั้น นักศึกษากฎหมายจําเป็นต้องศึกษาจากคําพิพากษาที่ศาลได้ตัดสินไว้เป็นบรรทัดฐาน ดังนั้นนักศึกษาจึงได้รับการฝึกหัดให้วิเคราะห์คําพิพากษาจากข้อเท็จจริงในคดีที่เกิดขึ้นเพื่อแยกแยะเอาหลักเกณฑ์ที่ถือเป็นบรรทัดฐานของคําพิพากษาที่จะนําไปใช้เป็น แบบอย่างสําหรับคดีต่อ ๆ มา ตํารากฎหมายของประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ จึงมีลักษณะเป็นการ รวบรวมเอาจากคําพิพากษาที่สําคัญ ๆ ที่ได้ตัดสินไปแล้ว นํามาวิเคราะห์ (Analyse) โดยจะมุ่งแสดงให้เห็นถึง หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏในคําพิพากษาเหล่านั้น มีการจําแนกออกเป็นเรื่อง ๆ เพื่อสะดวกแก่การศึกษา

ส่วนประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ ความสําคัญอยู่ที่ตัวบทกฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่ก็ได้แก่ ประมวลกฎหมายต่าง ๆ นั่นเอง นักศึกษาจึงต้องศึกษาจากตัวบทกฎหมายเหล่านั้น หรือค้นคว้าจากคําอธิบาย เพื่อให้เข้าใจความหมายของตัวบทกฎหมายดังกล่าว ตํารากฎหมายของประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ จึงมีลักษณะที่เป็นการอธิบายความหมายของตัวบทกฎหมาย ซึ่งประกอบด้วยหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เป็นแนวคิด ของนักนิติศาสตร์หรือนักปราชญ์ทางกฎหมาย ตลอดจนคําพิพากษาของศาลสูงซึ่งถือว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของ
การใช้กฎหมายอีกด้วย

Advertisement