การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2555
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2032 ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. กฎหมายตราสามดวงคืออะไร เพราะเหตุใดจึงมีการบัญญัติกฎหมายตราสามดวงขึ้นมา จงอธิบาย

Advertisement

ธงคําตอบ

กฎหมายตราสามดวง คือ กฎหมายที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงให้บัญญัติมา เพื่อใช้ปกครองบ้านเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2347 (จ.ศ. 1166) เหตุที่มีการบัญญัติกฎหมายตราสามดวงขึ้นมาก็เนื่องจาก มีการร้องทุกข์ของนายบุญศรี ช่างเหล็กหลวง ว่าภรรยาของตนเองซึ่งมีชื่อว่าอําแดงป้อม ไปทําชู้กับราชาอรรถ แล้วมาฟ้องหย่านายบุญศรี นายบุญศรีไม่ยอมหย่า แต่ศาลตัดรับให้หย่ากันได้ เพราะตามกฎหมายในขณะนั้น บัญญัติว่า เป็นหญิงหย่าชายหย่าได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเห็นว่า หญิงนอกใจชายแล้วมา ฟ้องหย่า ลูกขุนปรึกษาให้หย่ากันนั้นหายุติธรรมไม่ จึงทรงให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งรวม 11 คน ให้ จัดการชําระบทกฎหมายทั้งหมด ตั้งแต่พระธรรมศาสตร์เป็นต้นมาให้ถูกต้องตามความยุติธรรม และให้อาลักษณ์ เขียนเป็นฉบับหลวงจํานวน 3 ชุด ประทับตราคชสีห์ ราชสีห์ และบัวแก้ว อันตราของสมุหพระกลาโหม สมุหนายก และเจ้าพระยาพระคลังไว้เป็นสําคัญ จึงได้เรียกในภายหลังว่ากฎหมายตราสามดวง

 

ข้อ 2. คัมภีร์พระธรรมศาสตร์คืออะไร ในประมวลกฎหมายตราสามดวงได้มีการกล่าวถึงการกําเนิดของ
คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ไว้ว่าอย่างไร อธิบาย

ธงคําตอบ

คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ คือ คัมภีร์ที่ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์หรือผู้มีอํานาจเหนือบุคคลธรรมดาแต่ง เรียบเรียงขึ้น เป็นชุมนุมข้อบังคับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามความยุติธรรม กฎเกณฑ์เหล่านี้อยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง ดังนั้น จึงย่อมใช้แก่มนุษย์ทั้งหลายที่อยู่ใต้อํานาจการปกครองของกษัตริย์ และกษัตริย์เองก็อยู่ภายใต้กฎหมาย ของพระธรรมศาสตร์ด้วย โดยลักษณะเช่นนี้คัมภีร์พระธรรมศาสตร์จึงมีศักดิ์เทียบเท่ากฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งกษัตริย์ของราชอาณาจักรไทยได้นําเอาคัมภีร์พระธรรมศาสตร์มาจากมอญมาเป็นหลักในการบัญญัติกฎหมายที่เรียกว่าพระราชศาสตร์มาตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัยแล้ว

ในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ได้กล่าวถึงกําเนิดของพระคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ไว้ว่า เกิดจากการที่มีท้าวมหาพรหมองค์หนึ่งชื่อ พรหมเทวะ จุติจากพรหมโลกแล้วมาปฏิสนธิกําเนิดในตระกูลมหาอํามาตย์ซึ่งเป็นข้าบาท พระเจ้ามหาสมมุติราช ครั้นอายุได้ 15 ปี ก็เข้าแทนที่บิดา ต่อมาเห็นสัตว์โลกทั้งหลายได้รับความทุกข์ยากต่าง ๆ จึงมีความปรารถนาที่จะให้พระเจ้าสมมุติราชตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม จึงถวายบังคมลาออกไปบวชเป็นฤาษีอยู่ใน ป่าหิมพานต์ ต่อมาพระเทวฤๅษีได้เสียเป็นผัวเมียกับกินรีนางหนึ่งจนเกิดบุตร 2 คน คนแรกชื่อ ภัทธระกุมาร คนที่ 2 ชื่อ มโนสารกุมาร เมื่อบุตรทั้ง 2 เจริญเติบโต บิดาก็ให้บวชเป็นฤๅษีจําศีลภาวนา และรับใช้ปรนนิบัติบิดามารดา จนกระทั่งบิดามารดาได้ตายจากไป ภัทธระดาบสจึงได้ละเพศฤๅษีไปรับราชการเป็นปุโรหิตสั่งสอนพระเจ้าสมมุติราช ส่วนมโนสารฤๅษีก็ตามพี่ชายออกไปทําราชการด้วย พระเจ้าสมมุติราชจึงตั้งมโนสารให้เป็นผู้พิพากษา

ครั้นอยู่มาวันหนึ่งมีชาย 2 คน ทําไร่แตงใกล้กัน เมื่อปลูกแล้วเอาดินมาปูเป็นถนนกั้นกลาง เถาแตง จึงเลื้อยพาดผ่านข้ามถนนพันจนเป็นต้นเดียวกัน เมื่อแตงเป็นผล ชายทั้งสองต่างก็มาเก็บแตงจึงเกิดการทะเลาะวิวาท ด้วยต่างอ้างเป็นเจ้าของผลแตง ชายทั้งสองจึงพากันมาหาพระมโนสารให้เป็นผู้ชี้ขาด พระมโนสารตัดสินว่า แตงอยู่ในไร่ผู้ใดผู้นั้นเป็นเจ้าของผลแตง ชายผู้หนึ่งไม่พอใจในคําตัดสินของพระมโนสาร จึงอุทธรณ์คําตัดสิน ไปยังพระเจ้าสมมุติราช พระองค์จึงตรัสใช้อํามาตย์ผู้หนึ่งให้ไปพิจารณาคดีใหม่ อํามาตย์ผู้นั้นจึงเลิกต้นแต่งขึ้นดู ตามปลายยอด เอายอดแตงกลับมาไว้ตามต้น ชายทั้งสองต่างพอใจในคําตัดสินของอํามาตย์ผู้นี้ และประชาชน ทั้งหลายต่างพากันตําหนิว่าพระมโนสารตัดสินคดีไม่เป็นธรรม พระมโนสารมีความเสียใจจึงหนีไปออกบวชเป็น ฤๅษีจําเริญภาวนาได้อภิญญา 5 และอรรฐสมบัติ 8 แล้วมีความประสงค์จะให้พระเจ้าสมมุติราชทรงไว้ด้วย ทศพิธราชธรรม 10 ประการ จึงเหาะไปยังกําแพงจักรวาลเห็นบาลีคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นลายลักษณ์อักษร ปรากฏอยู่ในกําแพงจักรวาลมีปริมณฑลเท่ากายคชสาร พระมโนสารก็จดจําและนํามาแต่งเรียบเรียงขึ้นเป็นคัมภีร์ พระธรรมศาสตร์ เพื่อมาสั่งสอนพระเจ้าสมมุติราช

 

ข้อ 3. จงอธิบายถึงสาเหตุของการเกิดกฎหมายสิบสองโต๊ะ

ธงคําตอบ

การแบ่งชนชั้นออกเป็น 2 พวก คือ แพทริเชียน (Patricians) และเพลเบียน (Plebeians) ทําให้ เกิดความเหลื่อมล้ําและไม่เสมอภาคทางสังคมและทางการเมือง พวกชนชั้นสูงหรือแพทริเซียนมีสิทธิเหนือกว่า ชนชั้นกลางหรือสามัญชนคือพวกเพลเบียน เช่น พวกเพลเบียนไม่มีสิทธิแต่งงาน (Conubium) การแต่งงานที่ ชอบด้วยกฎหมายระหว่างชนชั้นสูง จะมีผลทําให้บุตรที่เกิดจากคู่สมรสอยู่ในอํานาจปกครองของครอบครัวที่บิดา
สังกัดอยู่ การแต่งงานระหว่างพวกเพลเบียนและแพทริเซียนจึงเป็นของต้องห้ามอย่างเด็ดขาด ส่วนบุตรที่เกิดจาก การอยู่กินกันระหว่างพวกแพทริเซียนกับเพลเบียนจะอยู่ในอํานาจปกครองของครอบครัวของเพลเบียนนั้นต่อไปไม่เปลี่ยนสภาพกลายเป็นแพทริเชียน

สิทธิทางการเมืองในการดํารงตําแหน่ง เช่น ประมุขในการบริหารหรือปกครองที่เรียกว่ากงสุล ซึ่ง ถือว่าเป็นผู้มีอํานาจสูงสุด (Imperium) จํากัดเฉพาะพวกแพทริเซียน ส่วนตําแหน่งต่าง ๆ รองลงไปก็จํากัด เฉพาะพวก พวกชนชั้นสูงเท่านั้น พวกเพลเขียนไม่มีสิทธิดํารงตําแหน่งต่าง ๆ ทางการเมืองแต่อย่างใด

นอกจากนี้ในการออกกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย หรือการชี้ขาดตัดสินคดี เป็นอํานาจของ พวกแพทริเซียนทั้งสิ้น เช่น พวกเพลเบียนที่เป็นลูกหนี้พวกแพทริเซียน แล้วไม่ยอมชําระหนี้ การบังคับชําระหนี้ อาจนําไปสู่ความเป็นทาส หรือความตายของลูกหนี้และครอบครัวได้ เพราะผู้พิพากษาซึ่งทําหน้าที่บังคับชําระหนี้ ก็เป็นพวกเดียวกันกับพวกแพทริเชียน ความยุติธรรมจึงยากที่จะเกิดขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้เองทําให้เกิดความไม่พอใจ แก่พวกเพลเบียนเป็นอย่างมาก เพราะพวกนี้ไม่มีทางทราบได้เลยว่ากฎหมายที่ใช้มีอยู่อย่างไร จึงได้มีการเรียกร้องให้นํากฎหมายเหล่านั้นมาเขียนให้ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร

สรุป กําเนิดของกฎหมายสิบสองโต๊ะเกิดจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างชนชั้น 2 พวก คือ แพทริเชียน และเพลเบียนนั่นเอง

 

ข้อ 4. คอมมอนลอว์ เกิดขึ้นได้อย่างไร จงอธิบาย

ธงคําตอบ

คอมมอนลอว์ (Common Law) นั้นเกิดจากเกาะอังกฤษแต่เดิมจะมีชนเผ่าดั้งเดิม ซึ่งทําไร่ ไถนา เพาะปลูก เรียกว่า Briton แต่ถูกรุกรานจากชนเผ่าต่าง ๆ เช่น พวกไอบีเรียน (Iberian), พวกกาล (Gael) และ พวกเซลท์ (Celt) ที่มาจากสเปน โปรตุเกส และเยอรมัน เช่น เผ่าที่มีชื่อเรียกว่า แองโกลหรือแองเจิล (Anglo หรือ Angles) เป็นนักรบ ได้ยกกองทัพเรือขึ้นไปบนเกาะอังกฤษ เมื่อชนเผ่าดั้งเดิมสู้ไม่ได้จึงถูกยึดครอง อีกพวก คือพวกแซกซอน (Saxons) และมีอีกเผ่าหนึ่งที่เรียกว่า พวกจุ๊ทส์ (Jutes) ที่เข้าไปยึดครองเกาะอังกฤษ จะเห็น ได้ว่าเดิมนั้นเกาะอังกฤษจะหลากหลายด้วยชนเผ่า แต่ละชนเผ่าก็จะมีจารีตประเพณีของตนเองจนมีผู้กล่าวว่า “ถ้าขี่ม้าข้ามทุ่งนาต้องผ่านจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นนับเป็นสิบ ๆ อย่าง” และชนเผ่าสุดท้ายที่เป็นบรรพบุรุษ ของคนอังกฤษคือ ชาวนอร์แมน (Norman) นอกจากนี้ในสมัยที่กรุงโรมเรืองอํานาจ กรุงโรมได้ส่งกองทัพเรือ ยึดเกาะอังกฤษหลายร้อยปี จน ค.ศ. 1066 ชาวนอร์แมนมาจากแถบสแกนดิเนเวีย ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของ ยุโรปคือ ประเทศนอร์เวย์ บุกขึ้นเกาะอังกฤษแล้วตั้งราชวงศ์ มีกษัตริย์ปกครองทรงพระนามว่าพระเจ้าวิลเลียม แต่พระองค์ก็ประสบปัญหาในการปกครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของคดีความ เนื่องจากศาลท้องถิ่นได้ ตัดสินคดีโดยใช้จารีตประเพณีที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นจึงทําให้ผลของคําพิพากษาตรงกันข้ามกันในแต่ละศาล อีกทั้งจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของบางชนเผ่าเป็นจารีตประเพณีที่ล้าสมัย คําพิพากษาของศาลท้องถิ่นที่ตัดสินตาม จารีตประเพณีนั้นเป็นเหตุให้ฝ่ายที่แพ้คดีเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม รวมทั้งวิธีการพิสูจน์ความจริงก็ใช้ วิธีการดั้งเดิม เช่น การพิสูจน์น้ํา พิสูจน์ไฟ หรือให้คู่ความต่อสู้กันเอง ดังนั้นราษฎรฝ่ายที่แพ้คดีจึงมาร้องเรียนต่อ พระเจ้าวิลเลียม พระองค์จึงได้จัดตั้งศาลพระมหากษัตริย์ (King’s Court) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ศาลหลวง (Royal Court) ส่งผู้พิพากษานั่งรถม้าจากส่วนกลางเป็นศาลเคลื่อนที่หมุนเวียนออกไปพิจารณาคดี โดยศาลหลวง ไม่ใช้วิธีพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างศาลท้องถิ่น แต่ใช้วิธีการไต่สวนจากบุคคลที่รู้เหตุการณ์แทนการพิจารณาแบบดั้งเดิม ทําให้ประชาชนทั่วไปเห็นว่าศาลหลวงให้ความเป็นธรรมแก่ตนได้ จนในที่สุดศาลหลวงได้วางหลักเกณฑ์ที่ มีลักษณะเป็นสามัญ (Common) และใช้กันทั่วไป ทําให้กฎหมาย Common Law เริ่มเกิดขึ้นในประเทศ อังกฤษนับแต่นั้นเป็นต้นมา

Advertisement