การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 1101 (LAW 1001) หลักกฎหมายมหาชน

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (

ข้อ 1 จงอธิบายและหยิบยกพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้อํานาจรัฐมาสัก 3 – 4 พระราชบัญญัติ เพื่อให้เข้าใจถึงกลไกการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาพอสังเขป พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

ธงคําตอบ

การควบคุมการใช้อํานาจรัฐ หมายถึง การควบคุมการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรของรัฐ และเหตุที่ต้องมีการควบคุมการใช้อํานาจรัฐดังกล่าวก็เพราะกฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายและหน่วยงานของรัฐนั่นเองที่ไม่เสมอภาค รัฐ หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีอํานาจเหนือประชาชน หากไม่มีการควบคุม เจ้าหน้าที่ของ รัฐหรือหน่วยงานของรัฐอาจใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ ซึ่งการใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คือ การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรของรัฐ และหน่วยงานของรัฐ กระทําการหรืองดเว้นกระทําการใช้อํานาจที่มีอยู่ตามกฎหมาย หรือใช้อํานาจนอกวัตถุประสงค์ของกฎหมาย อันก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน

สําหรับพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้อํานาจรัฐนั้น มีหลายฉบับ เช่น

1 พระราชบัญญัติความรับผิดในทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ พ.ศ. 2539

พระราชบัญญัติฉบับนี้จะใช้บังคับแก่การกระทําละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐต่อบุคคลภายนอกหรือต่อหน่วยงานของรัฐ โดยจะกําหนดให้เจ้าหน้าที่รัฐผู้กระทําละเมิดจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบใน ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ว่าการกระทําละเมิดนั้นจะเกิดขึ้นเนื่องจากการกระทําโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก็ตาม

2 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เป็นพระราชบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์ในการวางมาตรฐานการปฏิบัติงานราชการแผ่นดินของหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการออกกฎหรือคําสั่งทางปกครอง ให้มีหลักเกณฑ์ และขั้นตอนที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นธรรมแก่ประชาชน เช่น การวางกรอบวิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ของรัฐในการออกกฎหรือคําสั่งทางปกครอง รูปแบบและผลของคําสั่ง การอุทธรณ์คําสั่ง การเพิกถอนคําสั่ง วิธีการแจ้งคําสั่ง ระยะเวลาและอายุความ เป็นต้น

3 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

เป็นพระราชบัญญัติที่ใช้ควบคุมการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐให้เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งถ้าหากเจ้าหน้าที่รัฐใช้อํานาจทางปกครองหรือใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการ ออกกฎ หรือคําสั่ง หรือการกระทําใด ๆ เอกชนผู้ได้รับความเสียหายก็สามารถฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาลปกครองได้ โดยอาศัยกลไกของกฎหมายฉบับนี้

4 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขจนถึงปัจจุบัน)

เป็นพระราชบัญญัติในการควบคุมการใช้อํานาจรัฐในลักษณะของการวางความสัมพันธ์ของหน่วยงานราชการทั้ง 3 ส่วน คือ ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหาร ส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นการควบคุมการใช้อํานาจรัฐของเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานราชการต่าง ๆ ในลักษณะของ การควบคุมบังคับบัญชา และการกํากับดูแลในระหว่างแต่ละส่วนราชการ เช่น ราชการบริหารส่วนกลางจะควบคุม บังคับบัญชาราชการบริหารส่วนภูมิภาค แต่จะกํากับดูแลราชการบริหารส่วนท้องถิ่น เป็นต้น

ข้อ 2 จงอธิบายถึงปรัชญากฎหมายมหาชนที่สําคัญเกี่ยวกับ “การสร้างดุลยภาพ” (Equilibrium) ว่ามีหลักการสําคัญอย่างไร และมีความสัมพันธ์กับหลักนิติรัฐอย่างไร

ธงคําตอบ

ปรัชญาของกฎหมายมหาชนที่สําคัญ คือ การสร้างดุลยภาพระหว่างประโยชน์สาธารณะกับสิทธิ เสรีภาพของประชาชน (เอกชน) ซึ่งเป็นเรื่องที่นักกฎหมายมหาชนทุกคนจะต้องระลึกอยู่เสมอไม่ว่านักกฎหมาย มหาชนผู้นั้นจะอยู่ในฐานะใดหรืออยู่ในอาชีพใด กฎหมายมหาชนที่ดีหรือที่ประสบผลสําเร็จนั้น จะต้องเป็น กฎหมายมหาชนที่มีการประสานทั้งสองอย่างนี้ให้ดําเนินไปด้วยกันได้ โดยไม่ให้ข้างใดข้างหนึ่งมีความสําคัญกว่า อีกข้างหนึ่งมากจนเกินไป เพราะหากเป็นเช่นนั้นก็จะเกิดความเสียหายติดตามมา กล่าวคือ ถ้าให้ความสําคัญกับ ประโยชน์สาธารณะมากเกินไป แม้ว่าจะเพื่อความมีประสิทธิภาพในการปกครอง หรือเพื่อความรวดเร็วในการ ดําเนินการของฝ่ายปกครองก็ตาม แต่ผลที่จะเกิดตามมา คือจะทําให้กฎหมายมหาชนกลายเป็นกฎหมายเอกสิทธิ์ ของฝ่ายปกครองที่ทําให้ฝ่ายปกครองมีอํานาจเพิ่มมากขึ้นและสภาพของ “นิติรัฐ” ก็จะลดลง สิทธิเสรีภาพ ของเอกชนก็จะถูกควบคุมจนหมดไปได้ในที่สุด แต่ถ้าให้ความสําคัญกับสิทธิเสรีภาพของเอกชนมากเกินไป

การบริหารงานของรัฐหรือการดําเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะก็จะเกิดการติดขัด หรือดําเนินไปได้อย่างยากลําบาก หรือต้องใช้ค่าใช้จ่ายเป็นจํานวนมาก เพราะเมื่อสิทธิเสรีภาพของเอกชนมีมากเกินก็จะทําให้ฐานะ ของรัฐหรือฝ่ายปกครองเท่ากันกับฐานะของเอกชน

ซึ่งจุดมุ่งหมายหลักของการประสานประโยชน์สาธารณะกับสิทธิเสรีภาพของเอกชนข้างต้นจะ บรรลุผลสําเร็จที่ประสงค์ได้ก็ด้วย คุณสมบัติ ความรู้ ความตระหนักในความสําคัญ และทัศนะของนักกฎหมาย มหาชนที่จะใช้สิ่งที่กล่าวมานี้ ในการตีความเพื่อสร้างกฎหมายมหาชนขึ้นมาบนพื้นฐานของดุลยภาพระหว่างประโยชน์สาธารณะกับสิทธิเสรีภาพของเอกชน

ส่วนประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างดุลยภาพกับหลักนิติรัฐนั้น เมื่อฝ่ายปกครองเข้าไปมีนิติสัมพันธ์กับประชาชน ฝ่ายปกครองก็ไม่สามารถจะฝ่าฝืนหรือหลีกเลี่ยงกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นได้

ยิ่งไปกว่านั้นถ้าเป็นนิติรัฐที่มีการพัฒนาก้าวหน้าอย่างสมบูรณ์แล้ว กรณีก็จะเข้มงวดถึงกับว่าถ้าไม่มีกฎหมายที่ รัฐสภาตราขึ้นให้อํานาจฝ่ายปกครองไว้ ฝ่ายปกครองก็ไม่อาจจะกระทําการใดๆ อันเป็นการบังคับประชาชนได้เลย ถ้าประชาชนไม่สมัครใจ ซึ่งหมายความว่า ถ้าไม่มีกฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้นให้อํานาจฝ่ายปกครองไว้โดยตรง หรือโดยปริยาย ฝ่ายปกครองก็จะไม่สามารถใช้มาตรการอย่างใดๆ ต่อประชาชนผู้อยู่ใต้ปกครองได้เลยใน “นิติรัฐ” แม้จะมีกฎหมายให้อํานาจฝ่ายปกครองไว้ ฝ่ายปกครองก็ยังต้องดําเนินการตามที่ กฎหมายให้อํานาจไว้นั้นด้วย “วิธีการ” และตาม “ขั้นตอน” ที่กฎหมายกําหนด หรืออาจจะกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า “ฝ่ายปกครองซึ่งเป็นองค์กรใช้อํานาจรัฐจะกระทําอย่างใด ๆ ต่อประชาชนได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อํานาจไว้ และด้วยวิธีการที่ระบบกฎหมายในขณะนั้นได้กําหนดไว้เท่านั้น”

หากฝ่ายปกครองละเมิดหลักการแห่ง “นิติรัฐ” ดังกล่าว ประชาชนก็สามารถดําเนินคดีกับการ กระทําที่มิชอบทุกประเภทของฝ่ายปกครองโดยการร้องขอต่อผู้มีอํานาจวินิจฉัย ขอให้ “ยกเลิก” หรือขอให้ “เพิกถอน” หรือขอให้ “เปลี่ยนแปลงแก้ไข” การกระทําหรือคําสั่งอันมิชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายปกครองนั้นได้

ข้อ 3 จงอธิบายลักษณะสําคัญของสมาพันธรัฐและสหพันธรัฐ และเปรียบเทียบความแตกต่างของรัฐ ทั้งสองรูปแบบ

ธงคําตอบ

“รัฐรวม” ในปัจจุบัน จะแบ่งแยกออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ “สมาพันธรัฐ” และ “สหพันธรัฐ”

สมาพันธรัฐ เป็นรูปแบบของรัฐรวมที่เกิดจากการรวมตัวของรัฐที่ค่อนข้างพบได้ยากในอดีต และ ในปัจจุบันก็ไม่ปรากฏรูปแบบดังกล่าวแล้ว และแม้แต่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์จะใช้ชื่อเต็มว่า “สมาพันธรัฐสวิส” ก็ตาม แต่กลับไม่ได้มีรูปแบบเป็นสมาพันธรัฐนับแต่ปี ค.ศ. 1848 เป็นต้นมา หรือสมาพันธรัฐอื่น ๆ ในอดีต เช่น ประเทศเยอรมนี (ระหว่างปี ค.ศ. 1815 – 1866), ประเทศสหรัฐอเมริกา (ระหว่างปี ค.ศ. 1776 – 1787) เป็นต้น และแม้สมาพันธรัฐจะไม่ปรากฏแล้วในปัจจุบัน แต่การศึกษารูปแบบของรัฐยังคงไม่อาจละเลยข้อความคิดว่าด้วย สมาพันธรัฐได้ เนื่องจากในแง่มุมหนึ่ง สมาพันธรัฐนับว่าเป็นรูปแบบของรัฐที่จะนําไปสู่การก่อตั้งสหพันธรัฐได้

สหพันธรัฐ คือ รัฐอันประกอบไปด้วยรัฐสมาชิกจํานวนหนึ่งซึ่งอาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปใน แต่ละสหพันธรัฐ โดยรัฐสมาชิกนั้นมีลักษณะคล้ายรัฐเดี่ยวพอสมควร กล่าวคือ รัฐสมาชิกแต่ละรัฐจะมีรัฐธรรมนูญ และสถาบันการเมือง (ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ) เป็นของตนเอง เพียงแต่จะถูกจํากัดอํานาจ อธิปไตยภายนอก คือ รัฐสมาชิกไม่อาจดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับรัฐอื่น ๆ ได้อย่างเต็มที่เหมือนกับ รัฐเดี่ยว นอกจากนั้น อํานาจอธิปไตยภายในของรัฐสมาชิกก็ถูกจํากัดเช่นกัน เนื่องจากอํานาจทั้งหลายของรัฐสมาชิกจะต้องอยู่ในบังคับของรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐ

ความแตกต่างระหว่างสมาพันธรัฐและสหพันธรัฐ ได้แก่

1 บ่อเกิด สหพันธ์รัฐ คือ รัฐที่เกิดจากการรวมตัวกันของรัฐหลายรัฐโดยการลงนามร่วมกันใน สนธิสัญญา ส่วนสหพันธรัฐ คือ รัฐที่เกิดจากการรวมตัวกันของรัฐหลายรัฐโดยมีการสถาปนารัฐธรรมนูญร่วมกัน

2 องค์กร สมาพันธรัฐ มีการก่อตั้งสภาเพื่อใช้อํานาจบางประการร่วมกัน (มติ กฎหมาย หรือ นโยบาย) โดยสมาชิกของสภาจะมาจากการส่งตัวแทนเข้าร่วมโดยรัฐสมาชิก (ไม่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาของ สมาพันธรัฐ) และการใช้อํานาจของสภาจะต้องได้รับสัตยาบันจากรัฐสมาชิก

ส่วนสหพันธรัฐ มีการก่อตั้งสภา คณะรัฐมนตรี และศาลร่วมกัน โดยสมาชิกสภาของสหพันธรัฐ มาจากการเลือกตั้ง และกฎหมายที่ได้รับการเคราโดยสภามีผลบังคับใช้โดยตรงต่อรัฐสมาชิก

3 อํานาจอธิปไตยของรัฐสมาชิก รัฐสมาชิกของสมาพันธรัฐมีอํานาจอธิปไตยโดยสมบูรณ์เช่นเดิม และสามารถถอนตัวจากการเป็นสมาชิกได้

ส่วนรัฐสมาชิกของสหพันธรัฐมีอํานาจอธิปไตยเพียงบางส่วน คือ มีเพียงเท่าที่รัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐได้กําหนดไว้ และไม่อาจถอนตัวได้

Advertisement