การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 1101 (LAW 1001) หลักกฎหมายมหาชน

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบาย และให้รายละเอียดของเรื่องต่อไปนี้

กฎหมายจารีตนครบาล

การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินสมัยรัชกาลที่ 5

ระบบมณฑลเทศาภิบาล

การใช้อํานาจรัฐ และการควบคุมการใช้อํานาจรัฐ

ระบบศาลคู่

ธงคําตอบ

1 กฎหมายจารีตนครบาล

เป็นวิธีการสอบสวนที่ใช้เฉพาะในคดีโจรผู้ร้ายและผู้กระทําความผิดอันมีโทษหลวง (เทียบได้กับคดีอาญาแผ่นดินในปัจจุบัน) เท่านั้น และใช้ในบางกรณีดังปรากฏในพระไอยกาลักษณะโจรบางมาตรา เช่น ต้องเป็นกรณีที่โจรให้การมีพิรุธจึงถูกใช้วิธีการทรมานต่าง ๆ เช่น มัดโยง ตบปาก จําคา จําขื่อ เฆี่ยน เพื่อถามเอาหลักฐาน จากตัวผู้ต้องหาเอง เช่น ให้รับสารภาพ ให้บอกที่ซ่อนทรัพย์ที่ลักหรือปล้นไป ทั้งนี้เพื่อสอบสวนให้ได้ความจริง หากผู้ต้องหาสามารถนําพยานหลักฐานมานําสืบพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนได้ก็จะรอดพ้นคดีไป แต่ถ้าผู้ต้องหาให้การหาพิรุธไม่ได้ก็มิให้เฆี่ยนตามจารีตนครบาล และให้เจ้าพนักงานนครบาลผู้สอบสวนพิเคราะห์อย่างเป็นธรรมด้วย

ในทางปฏิบัติเจ้าพนักงานมักใช้จารีตนครบาลอย่างไม่เหมาะสม ทําให้ภาพลักษณ์ของการ สอบสวนคดีดูเป็นการป่าเถื่อนโหดร้าย ซึ่งวิธีการสอบสวนในสมัยโบราณดังกล่าว คือในสมัยอยุธยารวมถึงสมัย ต้นรัตนโกสินทร์นั้น เมื่อมีการฟ้องร้องคดีอาญากันขึ้น จําเลยจะถูกสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้กระทําผิด และจําเลยมีหน้าที่ในการนําพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง ซึ่งเป็นหลักการที่ตรงกันข้ามกับ วิธีพิจารณาความอาญาในปัจจุบันที่ว่า ในคดีอาญาต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจําเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ และภาระการพิสูจน์เป็นของโจทย์ (ซึ่งการพิจารณาคดีโจรผู้ร้ายตามจารีตนครบาลได้ถูกยกเลิกไปแล้ว)

2 การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5 ในระบบการปกครองของกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นจะมีรูปแบบที่เหมือนกับสมัยกรุงศรีอยุธยา คือ มีอัครมหาเสนาบดี 2 ตําแหน่ง ได้แก่ สมุหนายก และสมุหกลาโหม และมีจัตุสดมภ์ทั้ง 4 ได้แก่ เวียง วัง คลัง นา เมื่อในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวบ้านเมืองเจริญมากขึ้น อารยธรรมแบบตะวันตกหลาย ๆ ด้านเริ่มเข้ามาในสังคมไทย การปกครองและการบริหารราชการแบบเดิมไม่เหมาะสมกับกาลสมัย พระองค์จึงทรงปฏิรูปการปกครองเพื่อ “สร้างรัฐชาติ” โดยทรงจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางเสียใหม่ โดยได้ทรง เปลี่ยนแปลงจากการปกครองแบบ “จัตุสดมภ์” แบบเดิม มาเป็นแบ่งส่วนราชการออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม ซึ่งทําให้กระทรวง ทบวง กรม เป็นหน่วยงานของราชการบริหารส่วนกลางตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน

และนอกจากนั้นพระองค์ได้ทรงปฏิรูปการปกครองในส่วนภูมิภาคด้วย เนื่องจากพระองค์ต้องการ ให้มีการรวมอํานาจการปกครองหัวเมืองเข้ามาไว้ที่ศูนย์กลางเพียงแห่งเดียวแทนการปกครองหัวเมืองแบบเดิมที่ เป็นไปอย่างหลวม ๆ จึงทรงให้ยกเลิกระบบ “กินเมือง” และจัดให้มีการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้น ซึ่งเป็นระบบ การบริหารราชการที่ประกอบด้วยข้าราชการของพระมหากษัตริย์ไปทําหน้าที่แทนรัฐบาลกลางในส่วนภูมิภาค

3 ระบบมณฑลเทศาภิบาล

ระบบมณฑลเทศาภิบาล คือ ระบบแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาคในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ เป็นการปกครองโดยลักษณะที่จัดให้มีหน่วยราชการบริหารอันประกอบด้วยตําแหน่งพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ข้าราชการต่างพระเนตรพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเป็นที่ไว้วางใจของรัฐบาลของพระองค์ รับแบ่งภาระของรัฐบาลซึ่งประจําอยู่แต่เฉพาะในราชธานี (ส่วนกลาง) นั้นออกไปดําเนินการ (ไปทํา หน้าที่แทนรัฐบาลกลาง) ในส่วนภูมิภาคของประเทศซึ่งอยู่ห่างไกลจากรัฐบาลซึ่งอยู่ในราชธานีให้ได้ใกล้ชิดกับอาณาประชากร เพื่อให้เขาได้รับความร่มเย็นเป็นสุขและเกิดความเจริญทั่วถึงกัน โดยมีระเบียบแบบแผนอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ จึงแบ่งเขตปกครองโดยขนาดลดหลั่นกันเป็นชั้นอันดับดังนี้คือ ใหญ่ที่สุดเป็น มณฑล รองถัดลงไปเป็นเมือง (หรือจังหวัด) รองไปอีกเป็นอําเภอ ตําบล และหมู่บ้าน มีการจัดแบ่งหน้าที่ราชการเป็นส่วนสัดแผนกงานให้สอดคล้องกับทํานองการของกระทรวง ทบวง กรม ในราชธานี และจัดสรรข้าราชการที่ มีความรู้สติปัญญา ความประพฤติดี ให้ไปประจําทํางานตามตําแหน่งหน้าที่ มิให้มีการก้าวก่ายสับสนกันดังที่ เป็นมาแต่ก่อน โดยมีการกําหนดข้าราชการผู้รับผิดชอบ ดังนี้คือ

(1) มณฑล ให้ข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้รับผิดชอบ

(2) เมือง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบ

(3) อําเภอ ให้นายอําเภอเป็นผู้รับผิดชอบ

(4) ตําบล ให้กํานันเป็นผู้รับผิดชอบ

(5) หมู่บ้าน ให้ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบ

4 การใช้อํานาจรัฐ และการควบคุมการใช้อํานาจรัฐ

การใช้อํานาจรัฐ หมายถึง การใช้ดุลพินิจในการวินิจฉัยสั่งการ หรือการกระทําทางปกครองของ เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือฝ่ายปกครอง การควบคุมการใช้อํานาจรัฐ หมายถึง การควบคุมการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กร ของรัฐ และหน่วยงานของรัฐนั่นเอง และเหตุที่ต้องมีการควบคุมการใช้อํานาจรัฐดังกล่าวก็เพราะกฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่ไม่เสมอภาครัฐ หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีอํานาจเหนือประชาชน หากไม่มีการควบคุม เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐอาจใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ ซึ่งการใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คือ การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรของรัฐ และหน่วยงานของรัฐ กระทําการหรืองดเว้นกระทําการใช้อํานาจที่มีอยู่ ตามกฎหมาย หรือใช้อํานาจนอกวัตถุประสงค์ของกฎหมาย อันก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน

5 ระบบศาลคู่

ระบบศาลคู่ หมายถึง ระบบการควบคุมฝ่ายปกครองทางศาลที่มีศาลพิเศษแยกต่างหากจากศาล ยุติธรรม กล่าวคือ เป็นระบบการควบคุมฝ่ายปกครองที่ให้ศาลยุติธรรมมีอํานาจหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดเฉพาะคดี แพ่งและคดีอาญาเท่านั้น ส่วนการวินิจฉัยชี้ขาดคดีปกครองนั้นให้อยู่ในอํานาจหน้าที่ของศาลปกครอง ซึ่งมีระบบ ศาลและระบบผู้พิพากษาแยกต่างหากจากระบบศาลยุติธรรม ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบศาลคู่ เช่น ประเทศ ฝรั่งเศส เบลเยียม สวีเดน ฟินแลนด์ ไทย เป็นต้น

 

ข้อ 2 จงอธิบายความหมายของกฎหมายมหาชนมาให้เข้าใจ และกฎหมายมหาชนมีลักษณะทาง กฎหมายแตกต่างจากกฎหมายเอกชนอย่างไร

ธงคําตอบ

กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่กําหนดถึงกฎเกณฑ์ทางกฎหมายทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับ “สถานะและอํานาจของรัฐและผู้ปกครอง” รวมทั้งเป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่กําหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ และผู้ปกครองกับพลเมืองผู้อยู่ใต้การปกครอง ในฐานะที่รัฐและผู้ปกครองมีเอกสิทธิทางปกครองเหนือพลเมือง ซึ่งอยู่ในฐานะเป็นเอกชน

สาขาของกฎหมายมหาชน ได้แก่ รัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง และกฎหมายการคลัง ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและผู้ปกครองกับพลเมืองตามกฎหมายมหาชนนั้น เป็นความสัมพันธ์ในลักษณะที่รัฐและผู้ปกครองมีเอกสิทธิ์ทางปกครองเหนือพลเมือง ซึ่งจะแตกต่างกับกฎหมายเอกชนที่ตั้งอยู่บน พื้นฐานแห่งความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันของคู่กรณี และตั้งอยู่บนหลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนาและเสรีภาพในการทําสัญญา

สําหรับความแตกต่างระหว่างหลักกฎหมายมหาชนกับหลักกฎหมายเอกชนนั้น สามารถแยกออกเป็นหัวข้อที่สําคัญ ๆ ได้ดังนี้

1 ความแตกต่างทางด้านองค์กรหรือบุคคลที่เข้าไปสร้างหรือทํานิติสัมพันธ์ (ทฤษฎีตัวการ) กฎหมายมหาชน คู่กรณี คือ องค์กรหรือบุคคลที่เข้าไปสร้างหรือทํานิติสัมพันธ์ ได้แก่ รัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายหนึ่งกับเอกชนที่เป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง

กฎหมายเอกชน คู่กรณี คือ องค์กรหรือบุคคลที่เข้าไปสร้างหรือทํานิติสัมพันธ์ ได้แก่ เอกชน ที่เป็นคู่กรณีฝ่ายหนึ่งกับเอกชนที่เป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง

2 ความแตกต่างทางด้านเนื้อหาและความมุ่งหมาย (ทฤษฎีผลประโยชน์)

กฎหมายมหาชน มีวัตถุประสงค์ในการดําเนินงานเพื่อประโยชน์สาธารณะและการให้บริการ สาธารณะ โดยมิได้มีความมุ่งหมายถึงผลกําไรเป็นตัวเงินหรือทรัพย์สิน แต่มุ่งหวังถึงความพึงพอใจและการตอบสนองความต้องการของประชาชนส่วนรวมเป็นสําคัญ

กฎหมายเอกชน มีวัตถุประสงค์ในการดําเนินงานเพื่อประโยชน์ของเอกชนแต่ละบุคคล โดยมีความมุ่งหมายถึงผลกําไรเป็นตัวเงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์ในลักษณะอื่นใดเพื่อประโยชน์ของปัจเจกบุคคล เป็นสําคัญ ทั้งนี้ มีข้อยกเว้นกรณีที่เป็นเอกชนบางประเภทที่อาจดําเนินงานเพื่อประโยชน์สาธารณะ ดังเช่น มูลนิธิ หรือสมาคมการกุศล เป็นต้น

3 ความแตกต่างทางด้านรูปแบบของนิติสัมพันธ์ (ทฤษฎีความไม่เท่าเทียมกัน)

กฎหมายมหาชน มีลักษณะเป็นการใช้บังคับอํานาจที่มีอยู่เหนือนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือกับปัจเจกบุคคล โดยวิธีการที่เป็น “การกระทําฝ่ายเดียว” และปรากฏออกมาในรูปแบบ “คําสั่ง” กล่าวคือ เป็นการกระทําที่ฝ่ายหนึ่ง (รัฐและผู้ปกครอง) สามารถกําหนดหน้าที่ทางกฎหมายให้กับอีกฝ่ายหนึ่ง (รัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือปัจเจกบุคคล) กระทําตาม โดยฝ่ายที่มีหน้าที่ต้องกระทําตามอาจไม่ได้ตกลงยินยอมด้วยก็ตาม กฎหมายเอกชน มีลักษณะที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักความเป็นอิสระในการแสดงเจตนา หลักความเสมอภาค และหลักเสรีภาพในการทําสัญญา โดยคู่กรณีต้องมีความสมัครใจ (เจตนาเสนอสนองตรงกัน สัญญาจึงจะเกิด) และคู่กรณีฝ่ายหนึ่งไม่มีอํานาจเหนือคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง โดยจะทําการบังคับอีกฝ่ายหนึ่งโดย ปราศจากความยินยอมมิได้

4 ความแตกต่างทางด้านนิติวิธี

กฎหมายมหาชน มีลักษณะเป็นการนํานิติวิธีทางกฎหมาย โดยการนําแนวความคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหาทางกฎหมายมหาชน โดยการสร้างหลักกฎหมายมหาชนขึ้นมาใช้บังคับ (โดยปฏิเสธการนําแนวความคิดวิเคราะห์ตามหลักกฎหมายเอกชนมาใช้บังคับโดยตรง)

กฎหมายเอกชน มีลักษณะเป็นการนํานิติวิธีทางกฎหมาย โดยการนําความคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเอกชนที่มุ่งเน้นถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลด้วยกันเอง และมุ่งเน้นถึงการรักษาผลประโยชน์ของเอกชนด้วยกัน

5 ความแตกต่างทางด้านนิติปรัชญา

กฎหมายมหาชน มีลักษณะเป็นการมุ่งเน้นถึงการประสานและสร้างความสมดุลระหว่างผลประโยชน์สาธารณะหรือผลประโยชน์ของส่วนรวมกับผลประโยชน์ของปัจเจกบุคคลหรือเอกชน ที่มุ่งถึงการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลตามที่กฎหมายให้อํานาจหรือกําหนดไว้

กฎหมายเอกชน มีลักษณะเป็นการมุ่งเน้นถึงความยุติธรรมที่เท่าเทียมกัน และตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความสมัครใจของคู่กรณี

6 ความแตกต่างทางด้านเขตอํานาจศาล

กฎหมายมหาชน หากเป็นข้อพิพาทระหว่างรัฐกับรัฐ หรือข้อพิพาทระหว่างรัฐกับปัจเจกบุคคล หรือเอกชนในทางกฎหมายมหาชนแล้ว คดีข้อพิพาทจะขึ้นสู่การพิจารณาของศาลเฉพาะหรือศาลพิเศษในทาง มหาชน เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง เป็นต้น

กฎหมายเอกชน หากเป็นข้อพิพาทระหว่างปัจเจกบุคคล หรือเอกชนต่อปัจเจกบุคคลหรือ เอกชนในทางกฎหมายเอกชนแล้ว คดีข้อพิพาทจะขึ้นสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรม ดังเช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง หรือศาลภาษี เป็นต้น

 

ข้อ 3 จงอธิบายหลักการแบ่งแยกอํานาจ

ธงคําตอบ

หลักการแบ่งแยกอํานาจนั้น แบ่งออกได้เป็น 2 ทฤษฎี คือ

1 หลักการแบ่งแยกลักษณะการใช้อํานาจรัฐของอริสโตเติล (Aristotle) และการแบ่งแยก ภารกิจของรัฐของจอห์น ล็อค (John Locke)

อริสโตเติลได้แบ่งแยกลักษณะการใช้อํานาจรัฐออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่

(1) การประชุม คือมีบุคคลหลายคนมาร่วมประชุมกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน แล้วมีการลงมติกัน

(2) การสั่งการ คือ มีการสั่งการให้บุคคลอื่นไปกระทําการตามลําดับบังคับบัญชา

(3) การวินิจฉัยชี้ขาด หรือการตัดสิน

แต่อริสโตเติลก็มิได้แสดงความคิดเห็นว่าองค์กรใดหรือหน่วยงานใดเป็นผู้ใช้อํานาจใด เพียงแต่ ชี้ให้เห็นว่าลักษณะการใช้อํานาจรัฐไม่ว่าด้วยองค์กรใด ก็จะมีลักษณะการใช้อํานาจ 3 รูปแบบดังกล่าว

ต่อมาจอห์น ล็อค นักปรัชญาชาวอังกฤษ ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ทฤษฎีของเขา โดยเขาเห็นว่า การใช้ อํานาจรัฐจะแบ่งออกเป็น 3 ภารกิจ ได้แก่

(1) การบัญญัติกฎหมายหรือการตรากฎหมาย คือการบัญญัติกฎเกณฑ์ที่มีลักษณะเป็นนามธรรม และมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไปไปบังคับใช้

(2) การบังคับใช้ คืออํานาจในการบังคับใช้กฎหมาย หรือการเอากฎหมายที่บัญญัติขึ้นมา

(3) การดําเนินกิจการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ซึ่งจอห์น ล็อค มีความเห็นว่า ภารกิจต่าง ๆ สามารถแบ่งแยกออกเป็นระบบ และกําหนดให้ แต่ละภารกิจอยู่ภายใต้องค์กรใดองค์กรหนึ่งโดยเฉพาะแยกต่างหากจากองค์กรและภารกิจอื่น ๆ แต่ไม่ได้กล่าวถึงการถ่วงดุลอํานาจแต่อย่างใด

2 หลักการแบ่งแยกอํานาจของมองเตสกิเออ (Montesquieu)

หลักการแบ่งแยกอํานาจของมองเตสกิเออ นักปรัชญาการเมืองชาวฝรั่งเศส ถือเป็นหลักการที่ เพราะเป็นผู้ค้นหาระบบการปกครองที่สามารถป้องกันมิให้อํานาจตกอยู่ในมือสําคัญที่สุดในการปกครองสมัยใหม่ ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

หลักการแบ่งแยกอํานาจของมองเตสกิเออ ประกอบด้วยเงื่อนไข 2 ประการคือ

ประการที่ 1 ภารกิจของรัฐจะต้องถูกแบ่งแยกออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ อํานาจนิติบัญญัติ อํานาจบริหาร และอํานาจตุลาการ

ประการที่ 2 ภารกิจทั้ง 3 ประเภท จะต้องอยู่ภายใต้อํานาจของ 3 องค์กรหลักของรัฐ ซึ่ง แต่ละองค์กรเป็นอิสระต่อกันอย่างชัดเจน คือไม่มีองค์กรใดอยู่ภายใต้อํานาจของอีกองค์กรหนึ่ง

โดยมองเตสกิเออได้แบ่งแยกการใช้อํานาจรัฐและองค์กรผู้ใช้อํานาจออกเป็น 3 อํานาจ ดังนี้คือ

(1) อํานาจนิติบัญญัติ เป็นอํานาจในการบัญญัติกฎหมายหรือตรากฎหมายขึ้นมาเพื่อใช้บังคับ กับประชาชน และให้องค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) เป็นผู้ใช้อํานาจดังกล่าว

(2) อํานาจบริหาร เป็นอํานาจในการจัดให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย รวมทั้งอํานาจควบคุม นโยบายทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งองค์กรผู้ใช้อํานาจดังกล่าวได้แก่รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี

(3) อํานาจตุลาการ เป็นอํานาจในการตัดสินและการพิพากษาคดีเพื่อลงโทษผู้กระทําความผิด หรือวินิจฉัยข้อพิพาทต่าง ๆ ซึ่งองค์กรผู้ใช้อํานาจดังกล่าวคือศาล

ซึ่งเมื่อครบเงื่อนไขทั้ง 2 ประการ จะทําให้อํานาจรัฐไม่อยู่ในมือของบุคคลใดบุคคลหนึ่งอันเป็นการประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนไปในตัว และจะมีการถ่วงดุลอํานาจกัน เพียงแต่ในสมัยมองเตสกิเออนั้น จะมีการถ่วงดุลกันเฉพาะองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติกับองค์กรฝ่ายบริหารเท่านั้น ส่วนองค์กรฝ่ายตุลากรจะไม่มีบทบาทในเรื่องการถ่วงดุลอํานาจแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะในสมัยมองเตสกิเออนั้นจะไม่มีศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองแต่อย่างใด ซึ่งจะแตกต่างกับหลักการแบ่งแยกอํานาจในสมัยปัจจุบัน ซึ่งองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ องค์กรฝ่ายบริหาร และองค์กรฝ่ายตุลาการ ต่างฝ่ายต่างสามารถถ่วงดุลอํานาจซึ่งกันและกันได้

 

Advertisement