การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2548
ข้อสอบกระบวนวิชา LW 203 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและสัญญา
คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี 4 ข้อ
พอวันที่ 5 พฤษภาคม 2549 นายก้านได้ตอบตกลงซื้อบ้านไปยังนายกิ่ง วันที่ 6 พฤษภาคม 2549 นายก้านได้ทราบข่าวการตายของนายกิ่ง วันที่ 7 พฤษภาคม 2549 ทายาทของนายกิ่งได้รับจดหมายตอบตกลงซื้อบ้านของนายก้าน ดังนี้อยากทราบว่า
(1) การแสดงเจตนาเสนอขายบ้านของนายกิ่งมีผลในกฎหมายประการใด เพราะเหตุใด
(2) สัญญาซื้อขายบ้านระหว่างทายาทของนายกิ่งกับนายก้านเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคำตอบ
มาตรา 169 วรรคสอง การแสดงเจตนาที่ได้ส่งออกไปแล้วย่อมไม่เสื่อมเสียไป แม้ภายหลังการแสดงเจตนานั้นผู้แสดงเจตนาจะถึงแก่ความตาย
มาตรา 360 บทบัญญัติแห่งมาตรา 169 วรรคสองนั้น ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าหากว่า…ก่อนจะสนองรับนั้น คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่า ผู้เสนอตาย
วินิจฉัย
(ก) นายกิ่งได้แสดงเจตนาโดยส่งจดหมายเสนอขายบ้าน 1 หลัง ราคา 2 ล้านบาทให้แก่นายก้าน เมื่อนายกิ่งได้ส่งจดหมายซึ่งเป็นการแสดงเจตนาไปแล้ว ถึงแม้หลังจากนั้นนายกิ่งได้ถึงแก่ความตาย การแสดงเจตนาขายบ้านของนายกิ่งก็ยังมีผลสมบูรณ์ไม่เสื่อมเสียไป ตามมาตรา 169 วรรคสอง
ข้อ 2 นายแดงเป็นหนี้เงินกู้นายดำจำนวน 200,000 บาท เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ นายแดงก็ไม่นำเงินไปชำระ นายดำได้ทวงถามให้ชำระหลายครั้ง นายแดงก็ยังผิดนัดชำระหนี้ตลอดมา นายดำจึงขู่นายแดงว่าถ้าไม่หาทรัพย์มาเป็นหลักประกันจะฟ้องเรียกเงินกู้ต่อศาล นายแดงกลัวถูกฟ้องจึงได้นำสร้อยคอทองคำหนักหนึ่งบาทมาให้นายดำยึดไว้เป็นหลักประกัน กรณีนี้นายแดงอ้างว่าการที่ตนนำสร้อยคอทองคำมาให้นายดำยึดไว้เป็นเพราะการข่มขู่ของนายดำจึงตกเป็นโมฆียะ ดังนี้อยากทราบว่า ข้ออ้างของนายแดงฟังขึ้นหรือไม่ เพราเหตุใดธงคำตอบมาตรา 165 การขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่วินิจฉัยนายแดงเป็นหนี้เงินกู้นายดำ จำนวน 200,000 บาท เมื่อหนี้ถึงกำหนดนายแดงไม่นำเงินไปชำระ นายดำจึงขู่นายแดงว่าถ้าไม่หาทรัพย์มาเป็นหลักประกันจะฟ้องเรียกเงินกู้ต่อศาล นายแดงกลัวถูกฟ้องจึงได้นำสร้อยคอทองคำหนักหนึ่งบาทมาให้นายดำยึดไว้เป็นหลักประกัน เช่นนี้นายแดงจะอ้างว่าการที่ตนนำสร้อยคอทองคำมาให้นายดำยึดไว้เป็นเพราะการข่มขู่ของนายดำจึงตกเป็นโมฆียะหาได้ไม่ เพราะนายดำมีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่จะฟ้องนายแดงต่อศาลได้อยู่แล้ว เป็นการใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่สรุป ข้ออ้างของนายแดงฟังไม่ขึ้น
ข้อ 3 นายเอกได้ยืมรถยนต์จากนายโท 1 คัน เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2549 โดยจะไปทำธุระที่จังหวัดเชียงใหม่กำหนดระยะเวลา 1 เดือนแล้วจะนำมาคืน ปรากฏว่านายเอกทำธุระไม่เสร็จเมื่อถึงวันครบกำหนดจึงขอขยายระยะเวลาออกไปอีก 7 วัน โดยมิได้มีการกำหนดวันเริ่มต้นแห่งระยะเวลาที่ขยายออกไป นายโทตกลงยินยอมให้ขยายได้ ดังนี้อยากทราบว่า
(ก) กำหนดระยะเวลา 1 เดือน ที่นายเอกจะต้องนำรถยนต์มาคืนให้แก่นายโท จะครบกำหนดเมื่อใด จงอธิบาย
(ข) ระยะเวลาที่ขยายออกไปอีก 7 วัน จะตรงกับวันใด จงอธิบายธงคำตอบ
มาตรา 193/3 วรรคสอง ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็น…เดือน…มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน…
มาตรา 193/5 วรรคสอง ถ้าระยะเวลามิได้กำหนดนับแต่วันต้นแห่ง…เดือน…ระยะเวลา ย่อมสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่ง…เดือน…สุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น…
มาตรา 193/7 ถ้ามีการขยายระยะเวลาออกไปโดยมิได้มีการกำหนดวันเริ่มต้นแห่งระยะ เวลาที่ขยายออกไปให้นับวันที่ต่อจากวันสุดท้ายของระยะเวลาเดิมเป็นวันเริ่ม ต้น
วินิจฉัย
(ก) นายเอกได้ยืมรถยนต์จากนายโท 1 คัน เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2549 มีกำหนดระยะเวลา 1 เดือน การเริ่มต้นนับระยะเวลามิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน ให้เริ่มนับหนึ่งในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 11 เมษายน 2549 ซึ่งวันที่ 11 เมษายน 2549 มิใช่วันต้นแห่งเดือน ดังนั้นระยะเวลา 1 เดือน ย่อมสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มคือวันที่ 10 พฤษภาคม 2549
ดังนั้น นายเอกจะต้องนำรถยนต์มาคืนให้แก่นายโท ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2549
(ข) เมื่อนายเอกต้องนำรถยนต์มาคืนให้แก่นายโทในวันที่ 10 พฤษภาคม 2549 แต่นายเอกได้ขอขยายระยะเวลาออกไปอีก 7 วัน โดยมิได้มีการกำหนดวันเริ่มต้นแห่งระยะเวลาที่ขยายออกไป ระยะเวลาที่ขยายออกไปจึงต้องเริ่มนับวันที่ต่อจากวันสุดท้ายของระยะเวลาเดิมเป็นวันเริ่มต้น คือวันที่ 11 พฤษภาคม 2549 ระยะเวลา 7 วันจึงสิ้นสุดลงในวันที่ 17 พฤษภาคม 2549
ดังนั้นระยะเวลาที่ขยายออกไปอีก 7 วัน จะตรงกับวันที่ 17 พฤษภาคม 2549
ข้อ 4 ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2549 นายอาทิตย์ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายม้าชื่อแก้ววิเศษจากนายพุธ 1 ตัว ราคา 3 แสนบาท โดยมีเงื่อนไขบังคับก่อนว่านายพุธจะส่งมอบม้า แก้ววิเศษให้แก่นายอาทิตย์พร้อมทั้งขอรับชำระเงินทั้งหมดต่อเมื่อนายอาทิตย์ ถูกสลากกินแบ่งรัฐบาล รางวัลที่ 2 ในงวดวันที่ 16 พฤษภาคม 2549 ต่อมาวันที่ 13 พฤษภาคม 2549 ได้เกิดฝนตกหนักฟ้าจึงผ่าคอกม้าของนายพุธ เป็นเหตุให้ม้าชื่อแก้ววิเศษโดนฟ้าผ่าถึงแก่ความตาย ดังนี้ อยากทราบว่า นายอาทิตย์จะต้องชำระเงินจำนวน 3 แสนบาท ให้แก่นายพุธหรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคำตอบ
มาตรา 371 วรรคแรก บทบัญญัติที่กล่าวมาในมาตราก่อนนั้น ท่าน มิให้ใช้บังคับถ้าเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนและทรัพย์อัน เป็นวัตถุแห่งสัญญานั้นสูญหายหรือทำลายลงในระหว่างที่เงื่อนไขยังไม่สำเร็จ
วินิจฉัย
ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2549 นายอาทิตย์ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายม้าชื้อแก้ววิเศษจากนายพุธ 1 ตัว ราคา 3 แสนบาท โดยมีเงื่อนไขบังคับก่อนว่านายพุธจะส่งมอบม้าให้แก่นายอาทิตย์พร้อมทั้งขอรับเงินทั้งหมด ต่อเมื่อนายอาทิตย์ถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลรางวัลที่ 2 ปรากฏว่าวันที่ 13 พฤษภาคม 2549 ฟ้าผ่าม้าแก้ววิเศษถึงแก่ความตาย ม้าซึ่งเป็นทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาได้สูญหรือทำลายไปในระหว่างที่เงื่อนไขยังไม่สำเร็จจึงมิให้นำมาตรา 370 มาใช้บังคับตาม มาตรา 371 แม้สัญญาซื้อขายม้าแก้ววิเศษจะเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง แต่ถ้าเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนและทรัพย์นั้นได้สูญหรือทำลายไปในระหว่างที่เงื่อนไขยังไม่สำเร็จ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นย่อมเป็นของผู้ขายคือนายพุธ ความเสียหายจึงตกเป็นพับแก่นายพุธ นายพุธจะเรียกให้นายอาทิตย์ชำระเงินค่าม้าแก้ววิเศษไม่ได้
สรุป นายอาทิตย์จึงไม่ต้องชำระเงินค่าม้าให้แก่นายพุธแต่อย่างใด