การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2548
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 1003 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและสัญญา
คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี 4 ข้อ
ข. นายแดงซึ่งเป็นผู้เยาว์ซื้อรถจักรยานยนต์คันหนึ่งจากนายเขียวราคา 30,000 บาท โดยได้รับความยินยอมจากนายดำซึ่งเป็นบิดาของนายแดงแล้ว ในวันทำสัญญาซื้อขาย นายเขียวได้ส่งมอบรถจักรยานยนต์ให้แก่นายแดง และนายแดงได้วางมัดจำให้ไว้แก่นายเขียว 5,000 บาท กำหนดชำระราคาส่วนที่ยังค้างอยู่ในวันที่ 15 มีนาคม 2549
ธงคำตอบ
ก.
มาตรา 170 การแสดงเจตนาซึ่งกระทำต่อผู้เยาว์ หรือผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ผู้รับการแสดงเจตนาไม่ได้ เว้นแต่ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณีของผู้รับการแสดงเจตนานั้นได้รู้ด้วย หรือได้ให้ความยินยอมไว้ก่อนแล้ว
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับ ถ้าการแสดงเจตนานั้นเกี่ยวกับการที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้เยาว์หรือคนเสมือนไร้ความสามารถกระทำได้เองโยลำพัง
วินิจฉัย
จากหลักกฎหมายดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การแสดงเจตนาซึ่งกระทำต่อผู้เยาว์หรือผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถมีผลในกฎหมายดังนี้
หลักทั่วไป ผู้แสดงเจตนาจะยกเอาการแสดงเจตนานั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้ผู้รับการแสดงเจตนาซึ่งเป็นผู้เยาว์หรือคนไร้ความสามารถนั้นไม่ได้
เว้นแต่
(1) ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณีของผู้รับการแสดงเจตนานั้นได้รู้ด้วยหรือได้ให้ความยินยอมไว้ก่อนแล้ว คำว่า “ได้รู้ด้วย” หมายถึง ได้รู้เนื้อความแห่งการแสดงเจตนานั้นด้วย
(2) การแสดงเจตนานั้นเกี่ยวกับการที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้เยาว์หรือคนเสมือนไร้ความสามารถกระทำได้เองโดยลำพังข วินิจฉัย
นายเขียวแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาซื้อขายรถจักรยานยนต์ไปยังนายแดง ซึ่งเป็นผู้เยาว์โดยนายดำซึ่งเป็นบิดาของนายแดงไม่ทราบเรื่องการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวนี้ จึงเป็นกรณีแสดงเจตนาต่อผู้เยาว์โดยผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์มิได้รู้ด้วยและมิได้ให้ความยินยอมไว้ก่อนแล้วแต่อย่างใด กรณีจึงต้องตามหลักทั่วไปของหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ดังนั้น นายเขียวจะยกเอาการบอกเลิกสัญญาซื้อขายรถจักรยานยนต์ขึ้นต่อสู้นายแดงไม่ได้
ข้อ 2 จากสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน ส่งผลให้ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์หลายๆบริษัทตกอย่างต่อเนื่อง รวมถึงบริษัทที่นาย ก. มีหุ้นอยู่ด้วยจำนวนหนึ่ง ด้วยความสำคัญผิดคิดว่า บริษัทกำลังประสบปัญหาการขาดทุนกิจการไม่ดี นาย ก. จึงบอกขายหุ้นของตนทั้งหมดให้แก่นาย ข. ในราคาถูก นาย ข. รู้ความจริงว่าบริษัทกำลังเจริญก้าวหน้าและมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อนำบริษัทไปสู่ระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่สุดแต่ไม่บอกให้นาย ก. รู้ และได้ตกลงซื้อหุ้นของนาย ก. ไว้
ต่อมาภายหลังนาย ก. รู้ว่าบริษัทไม่ได้ประสบปัญหาดังที่สำคัญผิดแต่อย่างใด และรู้ว่านาย ข. ปกปิดไม่บอกความจริงเกี่ยวกับบริษัทแก่ตน นาย ก. จึงมาบอกล้างสัญญาซื้อขายหุ้นโดยอ้างว่า นาย ข. ใช้กลฉ้อฉลโดยการนิ่ง
ดังนี้ ข้ออ้างของนาย ก. ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคำตอบ
มาตรา 162 ในนิติกรรมสองฝ่าย การที่คู่กรณีฝ่ายหนึ่งจงใจนิ่งเสียไม่แจ้งข้อความจริงหรือคุณสมบัติอันคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งมิได้รู้ การนั้นจะเป็นกลฉ้อฉลหากพิสูจน์ได้ว่า ถ้ามิได้นิ่งเสียเช่นนั้น นิติกรรมนั้นก็คงจะมิได้กระทำขึ้น
วินิจฉัย
การที่นาย ก. ขายหุ้นให้นาย ข. ด้วยความสำคัญผิดคิดว่าบริษัทกำลังประสบปัญหาการขาดทุนและนาย ข. ซื้อไว้ แม้นาย ข. จะรู้ความจริงว่าบริษัทกำลังเจริญก้าวหน้ามิได้ประสบปัญหาดังกล่าวแล้วจงใจนิ่งเสียไม่แจ้งข้อความจริงนี้ให้นาย ก ได้รู้ ก็มิใช่หน้าที่ของนาย ข ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่ตามกฎหมายหรือหน้าที่ตามขนบธรรมเนียมประเพณีประกอบด้วยศีลธรรมอันดีในพฤติการณ์ที่จะต้องแจ้งความจริงแต่อย่างใด กรณีจึงมิใช่กลฉ้อฉลโยการนิ่ง
ดังนั้น ข้ออ้างของนาย ก จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อ 3 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2546 นายอาทิตย์ได้เข้ารักษาตัวด้วยโรคถุงลมโป่งพองที่โรงพยาบาลรามคำแหง เสียค่ารักษาพยาบาลเป็นเงินจำนวน 100,000 บาท นายอาทิตย์ออกจากโรงพยาบาลวันที่ 22 กันยายน 2546 โดยไม่มีเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาล ทางโรงพยาบาลจึงให้นายอาทิตย์ค้างชำระเงินค่ารักษาพยาบาลไว้ก่อน แต่หลังจากนั้นก็ได้ทวงถามตลอดมา แต่นายอาทิตย์ก็มิได้นำเงินมาชำระให้
จนกระทั่งวันที่ 18 กันยายน 2548 ซึ่งเหลือเวลาอีกเพียง 4 วันจะครบกำหนดอายุความ 2 ปี นายอาทิตย์ได้ให้สัญญาว่าจะนำสร้อยคอทองคำหนักสองสลึงราคาประมาณห้าพันบาทเศษมามอบให้กับทางโรงพยาบาลในวันที่ 20 กันยายน 2548 เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ แต่พอถึงกำหนดก็ไม่นำมามอบให้อีก ทางโรงพยาบาลจึงได้มอบให้นายจันทร์ทนายความของโรงพยาบาลนำคดีไปฟ้องศาลในวันที่ 13 มีนาคม 2549 นายอาทิตย์ต่อสู้คดีว่าคดีขาดอายุความแล้ว
อยากทราบว่าข้อต่อสู้ของนายอาทิตย์ฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด
หมายเหตุ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 บัญญัติว่า “สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ ให้มีกำหนดอายุความสองปี (11) เจ้าของ…สถานพยาบาล…เรียกเอาค่ารักษาพยาบาล…”
ธงคำตอบ
มาตรา 193/14 อายุความย่อมสะดุดหยุดลงในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ลูกหนี้…ให้ประกัน…
วินิจฉัย
นายอาทิตย์ได้เป็นหนี้ค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลรามคำแหง เป็นเงินจำนวน 100,000 บาทนายอาทิตย์จะต้องชำระค่ารักษาพยาบาลในวันที่ 22 กันยายน 2546 แต่ปรากฏว่านายอาทิตย์ไม่มีเงินชำระ ทางโรงพยาบาลจึลให้ค้างชำระค่ารักษาพยาบาลไว้ก่อน
จนกระทั่งวันที่ 18 กันยายน 2548 ซึ่งเหลือเวลาอีก 4 วัน จะครบกำหนดอายุความ 2 ปี นายอาทิตย์ได้สัญญาว่าจะนำสร้อยคอทองคำหนักสองสลึงราคาประมาณห้าพันบาทเศษมามอบให้กับโรงพยาบาลเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ในวันที่ 20 กันยายน 2548 แต่พอถึงกำหนดก็ไม่นำมามอบให้จึงไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง เพราะลูกหนี้ไม่ได้ให้ประกันแก้เจ้าหนี้จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม มาตรา 193/14(1) นายจันทร์จะต้องนำคดีมาฟ้องศาลภายในวันที่ 22 กันยายน 2548 เมื่อนายจันทร์นำคดีมาฟ้องศาลในวันที่ 13 มีนาคม 2549 คดีจึงขาดอายุความแล้ว
ดังนั้น ข้อต่อสู้ของนายอาทิตย์จึงฟังขึ้น
ข้อ 4 นายสมบัติอยู่ที่จังหวัดลพบุรีส่งจดหมายเสนอขายรถยนต์คันหนึ่งของตนให้แก่นายสุเทพซึ่งอยู่ที่กรุงเทพมหานครในราคา 400,000 บาท โดยระบุไปในจดหมายเสนอขายนั้นด้วยว่า “ถ้าท่านต้องการซื้อรถยนต์คันนี้ ขอให้ตอบไปยังข้าพเจ้าภายในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548”
นายสุเทพส่งจดหมายตอบตกลงซื้อรถยนต์คันนั้นตามราคาที่นายสมบัติเสนอ แต่จดหมายของนายสุเทพไปถึงนายสมบัติเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548
อย่างไรก็ตามเป็นที่เห็นได้ชัดเจนจากตราไปรษณีย์ซึ่งประทับบนซองจดหมายว่านายสุเทพส่งจดหมายฉบับนั้นตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เช่นนี้ จดหมายตอบตกลงซื้อรถยนต์ที่นายสุเทพส่งถึงนายสมบัติมีผลในกฎหมายประการใด
ธงคำตอบ
มาตรา 358 ถ้าคำบอกกล่าวสนองมาถึงล่วงเวลา แต่เป็นที่เห็นประจักษ์ว่าคำบอกกล่าวนั้นได้ส่งโดยทางการซึ่งตามปกติควรจะมาถึงภายในเวลากำหนดนั้นไซร้ ผู้เสนอต้องบอกกล่าวแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งโดยพลันว่าคำสนองนั้นมาถึงเนิ่นช้า เว้นแต่จะได้บอกกล่าวเช่นนั้นก่อนแล้ว
ถ้าผู้เสนอละเลยไม่บอกกล่าวดังว่ามาในวรรคต้น ท่านให้ถือว่าคำบอกกล่าวสนองนั้นมิได้ล่วงเวลา
วินิจฉัย
คำสนองของนายสุเทพไปถึงนายสมบัติล่าช้ากว่าเวลาที่นายสมบัติกำหนดไว้ แต่เป็นที่เห็นได้ชัดเจนจากตราไปรษณีย์ซึ่งประทับบนซองจดหมายว่านายสุเทพส่งจดหมายฉบับนั้นตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2548
ซึ่งตามปกติจดหมายฉบับนั้นควรจะไปถึงนายสมบัติก่อนวันที่ 10 พฤศจิกายน พ3.ศ.2548 อันเป็นเวลาที่นายสมบัติกำหนดไว้ ในกรณีเช่นนี้ คำสนองของนายสุเทพจะเป็นคำสนองล่วงเวลาหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่า นายสมบัติซึ่งเป็นผู้เสนอได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ ซึ่งในเรื่องนี้ กฎหมายกำหนดหน้าที่ของผู้เสนอไว้ว่าผู้เสนอต้องบอกกล่าวแก่ผู้สนองโดยพลันว่าคำสนองนั้นมาถึงเนิ่นช้า เว้นแต่จะได้บอกกล่าวเช่นนั้นไว้ก่อนแล้ว ดังนั้น
(1) ถ้านายสมบัติปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ดังกล่าว กฎหมายจึงจะถือว่าจดหมายคำสนองของนายสุเทพเป็นคำสนองล่วงเวลา
(2) แต่ถ้านายสมบัติละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ดังกล่าว กฎหมายให้ถือว่าจดหมายคำสนองของนายสุเทพเป็นคำสนองที่มิได้ล่วงเวลา ซึ่งมีผลให้สัญญาซื้อขายรถยนต์ระหว่างนายสมบัติกับนายสุเทพเกิดขึ้น