การสอบไล่ซ่อมภาค 2 ปีการศึกษา 2546

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW1001 (LA 101),(LW 101) หลักกฎหมายมหาชน

Advertisement

ข้อ 1 พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2545 เป็นกฎหมายปกครองและเป็นกฎหมายมหาชนเพราะเป็นกฎหมายที่บัญญัติอำนาจหน้าที่ในทางปกคองแก่หน่วยงานของรัฐ และแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ จงอธิบายอย่างละเอียดว่าการแบ่งส่วนราชการตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2535 ดังกล่าวแบ่งอย่างไร และมีสถานภาพทางกฎหมายอย่างไร 

ธงคำตอบการบริหารราชการแผ่นดินของไทยเป็นตามบทบัญญัติของกฎหมายมหาชน คือ รัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2543 บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่ในทางปกครอง

ได้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินเป็น 3 ส่วน คือ

1. การจัดระเบียบราชการส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย

2. การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัดและอำเภอกฎหมายบัญญัติให้จังหวัดเป็นนิติบุคคล ส่วนอำเภอไม่เป็นนิติบุคคล

3. การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่
องค์การบริหารส่วนจังหวัด

เทศบาล
องค์การบริหารส่วนตำบล
เมืองพัทยา

การจัดทะเบียนบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็นการกระจายอำนาจทางปกครองให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองตนเองตามความประสงค์ของประชาชนเอง และการเกิดขึ้นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนี้เกิดขึ้นจากบทบัญญัติของกฎหมาย และกฎหมายที่ทำให้เกิดองค์กรดังกล่าวเป็นกฎหมายมหาชน ชึ่งได้แก่

พ.ร บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด
พ.ร.บ เทศบาล
พ.ร.บ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ร.บ. บริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ร.บ.บริหารราชการเมืองพัทยา

พระราชบัญญัติดังกล่าวนั้น เป็นกฎหมายมหาชนที่บัญญัติให้อำนาจหน้าที่ในทางปกครองและบริการ
สาธารณะแก่องค์กรดังกล่าว ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามบทบัญญัติของกฎหมาย

 

ข้อ 2. รัฐคืออะไร องค์ประกอบของรัฐมีอะไรบ้าง และรัฐกับรัฐบาลเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ธงคำตอบ

 รัฐ เป็นสถาบันหรือเป็นเครื่องค้ำจุนอำนาจที่มนุษย์ได้สมมติให้มีขึ้น ดังนั้นรัฐจึงเป็นนามธรรม
ศาสตราจารย์ ยอร์ช บูรโด ได้อธิบายความหมายของ รัฐ ไว้ว่า รัฐ คืออำนาจที่ถูกจัดเป็นสถาบัน รัฐคือ ผู้ถืออำนาจที่เป็นนามธรรมและถาวรโดยมีผู้ปกครองชึ่งเป็นแต่เพียงเจ้า หน้าที่ผู้ดำเนินการอันสำคัญที่ผ่านไปเท่านั้น
รัฐ นั้นกล่าวโดยสรุปคือ ในช่วงปลายยุคกลางสังคมมนุษ์ย์ไม่มีสภาพเป็น รัฐ ตามความหนายในปัจจุบันนี้
อำนาจในการปกครองจึงเป็นอำนาจของบุคคลซึ่งเป็นผู้ปกครอง เมื่อสังคมพัฒนามากขึ้น จึงทำให้เกิดชนชั้นใหม่ ๆ ขึ้นมานอกเหนือไปจากชนชั้นผู้ปกครอง ไพร่ และทาส ตามระบอบศักดินาแบบเดิม

องค์ประกอบของรัฐนั้นกล่าวโดยสรุปได้ 3 ประการ คือ ดินแดน อำนาจอธิปไตย ประชากรรัฐ เป็นนามธรรม แต่จะต้องมีการใช้อำนาจรัฐเพื่อการปกครอง รัฐจึงต้องมีบุคคลธรรมดาซึ่งอาจจะเป็นบุคคลเพียงคนเดียวหรือคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจนั้นเเทน รัฐ ในนามของ รัฐในขณะที่ รัฐบาลนั้น คือ ตัวแทนของรัฐที่ใช้อำนาจปกครองและใช้อำนาจในการให้บริการสาธารณะแต่ก็ยอมรับ ว่าต้องมีอำนาจในการปกครองสังคม มนุษย์จึงต้องประดิษฐ์เครื่องค้ำจุนอำนาจขึ้นมาใหม่เพื่อทดแทนตัวบุคคลและ เครื่องค้ำจุนอำนาจใหม่นี้จะต้องเป็นอิสระที่แยกออกจากตัวบุคคลด้วยทั้งนี้ เพื่อให้ รัฐ เป็นเจ้าของอำนาจรัฐ มิใช่ให้ บุคคลเป็นเจ้าของอำนาจรัฐ

 

ข้อ 3. การควบคุมฝ่ายปกครองโดยศาลปกครอง นักศึกษาเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
ธงคำตอบ

การควบคุมฝ่ายปกครองโดยทางศาล หมายถึง การควบคุม โดยองค์กรที่เป็นอิสระจากอำนาจทางการเมืองหรืออำนาจของฝ่ายบริหารและมีวิธีพิจารณา มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้เสร็จเด็ดขาดที่ศาลสูงของศาลนั้นเองโดยปกติศาล จะควบคุมได้เฉพาะความชอบด้วยกฎหมายศาลจะไม่ก้าวล่วงเข้าไปควบคุมความเหมาะ สมในการใช้ดุลพินิจที่แท้จริงของฝ่ายปกครองได้

การควบคุมโดยทางศาลอาจจะควบคุมโดยศาลยุติธรรม ระบบศาลเดี่ยว หรือการควบคุมโดยศาลปกครองระบบศาลคู่ การควบคุมโดยศาลยุติธรรมมักใช้ในประเทศ แองโกแซกซอน เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และประเทศที่ได้รับอิทธิพลจาก2 ประเทศดังกล่าว โดยในประเทศเหล่านี้ ศาลยุติธรรมจะพิจารณาคดีข้อพิพาทระหว่างเอกชนด้วยกันเองและระหว่างเอกชนกับฝ่ายปกครองด้วยกันเอง โดยศาลยุติธรรมจะนำหลักกฎหมายธรรมดามาใช้บังคับยกเว้นในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ

การควบคุมโดยศาลปกครองมักใช้ในประเทศระบบประมวลกฎหมายในภาคพื้นยุโรป โดยมีฝรั่งเศสเป็นต้น
แบบในประเทศที่มีศาลปกครอง ศาลยุติธรรมจะมีอำนาจพิจารณาคดีระหว่างเอกชนด้วยกัน และมีศาลปกครองที่มีอำนาจพิจารณาคดีปกครองโดยเฉพาะ และใช้หลักกฎหมายพิเศษหรือระบบกฎหมายปกครองโดยเฉพาะมาใช้ปรับกับคดีในประเทศ ไทยในปัจจุบันมีการนำระบบศาลปกครองมาใช้แล้วในปัจจุบัน

Advertisement