ข้อสอบกระบวนวิชา LAW1001 หลักกฎหมายมหาชน
ข้อ 1. จงอธิบายอย่างละเอียดว่า กฎหมายมหาชนปัจจุบันมีหลักการและแนวคิดเหมือนหรือแตกต่างจากระบอบประชาธิปไตย และหลักนิติรัฐอย่างไร
ธงคำตอบ
1. กฎหมายมหาชนปัจจุบันเกิดจากปัญหาทางการปกครอง ซึ่งในอดีตลักษณะของการใช้อำนาจทางปกครองดังนี้ คือ
– อำนาจสูงสุดอยู่ที่ผู้ปกครองเพียงผู้เดียว
– ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการปกครอง
– ไม่สามารถควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้ปกครองให้อยู่ในความพอเหมาะพอดีได้ จากหลักการปกครองดังกล่าวทำให้เกิดหลักการแบ่งแยกอำนาจเป็น
– อำนาจนิติบัญญัติ
– อำนาจบริหาร
– อำนาจตุลาการ.
การเเบ่งแยกอำนาจทางปกครองเป็นการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน เพื่อรักษาสิทธิเสรีภาพและประโยชน์ของประชาชน เเละจากหลักการแบ่งแยกทางปกครองดังกล่าวทำให้เกิดระบอบประชาธิปไตย มีหลักการสำคัญว่า
– ประชาชนทุกคนมีความเท่าเทียมกันเสมอภาคกัน
– ผู้ที่จะเขัาไปใช้อำนาจทางปกครองจะต้อง ได้รับความเห็นชอบจากประขาขน ส่วนใหญ่เป็นสำคัญจึงทำให้เกิดกระบวนการเลือกตั้ง
– ผู้ใช้อำนาจทางปกครองจะต้องใช้อำนาจ เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทชิเสรีภาพและประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ
จากหลักการดังกล่าวเป็นที่มาของนิติรัฐ คือ หลักการปกครองโดยกฎหมาย หมายความว่า การใช้อำนาจทาง
ปกครองในทุกระดับต้องมีกฎหมายบัญญัติ ให้อำนาจไว้ และการใช้อำนาจทางปกครองนั้นจะต้องสามารถควบคุมและตรวจ
สอบให้อยู่ในความพอเหมาะพอดีได้ ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของกฎหมายมหาชน ปัจจุบันข้อ
ธงคำตอบ
กฎหมายมหาชนปัจจุบันได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครอง ดังนั้น กฎหมายมหาชน ได้แก่
– กฎหมายรัฐธรรมนูญ
– กฎหมายปกครอง
– พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
– พ.ร.บ. องค์กรบริหารส่วนจังหวัด
– พ.ร.บ. เทศบาล
– พ.ร.บ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
– พ.ร.บ. บริหารราชการกรุงเทพมหานคร
– หรือ พ.ร.บ.อื่น ๆ ที่เมื่อเกิดกรณีพิพาทจะต้องนำคดีไปขึ้นศาจปกครอง ซึ่งกฎหมายดังกล่าวนี้จะเป็นกฎหมายที่บัญญัติให้ อำนาจและหน้าที่ในทางปกครอง แก่รัฐ แก่หน่วยงานของรัฐและแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐเหมือนกัน
– หน่วยงานของรัฐ ได้แก่ หน่วยงานในราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น ตลอดจนรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นๆ ที่จัดตั้งขึ้นมา ฯลฯ
– เจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้แก่ ที่บุคคลหรือคณะบุคคล ที่ใช้อำนาจในทางปกครองของรัฐ ซึ่งได้แก่ ข้าราชการพนักงาน ลูกจ้าง คณะบุคคล หรือผู้ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานทางปกครอง ฯลฯ
– การบริการสาธารณะ คือ กิจการที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจัดทำขึ้นเพื่อบริการประชาชน ซึ่งโดยสภาพแล้ว ไม่อาจทำให้สำเร็จได้เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้
– ศาลปกครอง ได้แก่ ศาลที่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง คือ คดีที่เกิดขึ้นจากการใช้อำนาจทางปกครองตามบทบัญญัติของกฎหมายปกครอง ซึ่งได้แก่กรณีพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างสองฝ่ายที่มีสถานะภาพทางกฎหมายไม่เท่ากันคือ ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายปกครองมีอำนาจที่เหนือกว่า อีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ถูกปกครอง
สรุปได้ว่า กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่ในทางปกครอง แก่หน่วยงานของรัฐ
แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อทำหน้าที่ในทางปกครองหรือบริการสาธารณสุขและการใช้อำนาจหน้าที่ตาม กฎหมายที่ให้อำนาจไว้อาจจะทำให้เกิดกรณีพิพาทได้เรียกว่า กรณีพิพาททางปกครอง และเมื่อเกิดกรณีพิพาททางปกครองต้องนำคดีไปขึ้นศาลปกครอง
ข้อ 3 การควบคุมตรวจสอบอำนาจทางปกครองของหน่วยงานของรัฐ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำได้ทั้งก่อนและหลังการใช้อำนาจจงอธิบายว่าการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจแบบแก้ไขเป็นอย่างไรและมีวิธีการใดบ้าง
ธงคำตอบ
การควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจทางปกครอง หลังการใช้อำนาจทางปกครองไปแล้ว เรียกว่า
เป็นการควบคุมแบบแก้ไข ซึ่งกระทำได้หลายวิธีดังนี้
– การควบคุมโดยองค์กรภายในของฝ่ายบริหารเอง เช่น
– การร้องทุกข์
– การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง
– การควบคุมโดยองค์กรภายนอกของฝ่ายบริหาร เช่น
– การควบคุมโดยทางการเมือง ได้แก่ การตั้งกระทู้ถาม การเปิดอภิปรายไม่ ไว้วางใจ
– การควบคุมโดยองค์กรพิเศษได้แก่ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
– การควบคุมโดยศาลปกครอง
การควบคุมแบบแก้ไขนี้เป็นการใช้อำนาจทางปกครองไปแล้ว และเกิดปัญหาจากการใช้อำนาจทางการ
ปกครองนั้นขึ้น จึงต้องแก้ไขปัญหาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้