การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2550

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW1001 หลักกฎหมายมหาชน 

Advertisement

ข้อ 1  กฎหมายมหาชนคืออะไร  มีความสัมพันธ์กับรัฐศาสตร์อย่างไร  และนักศึกษามีความเข้าใจคำว่า  “อำนาจ”  คือธรรม  กับ “ธรรม”  คืออำนาจ  อย่างไร  จงอธิบาย

ธงคำตอบ

กฎหมายมหาชน  คือ  กฎหมายที่กล่าวกำหนดถึงกฎเกณฑ์ทางกฎหมายทั้งหลายเกี่ยวข้องกับ  สถานะและอำนาจ  ของรัฐและ ผู้ปกครอง  รวมทั้งเป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและ  ผู้ปกครองกับพลเมือง  ผู้อยู่ใต้ปกครองในฐานะที่รัฐและผู้ปกครองมีเอกสิทธิ์ทางปกครองเหนือพลเมืองซึ่งอยู่ในฐานะเป็นเอกชน

ส่วนรัฐศาสตร์นั้น  คือ  ศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของรัฐ  อำนาจ  และการปกครอง  รัฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรัฐ  กำเนิด  และวิวัฒนาการของรัฐ  รัฐในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  และยังศึกษาถึงองค์การทางการเมือง  สถาบันทางการปกครอง  ตลอดจนอำนาจในการปกครองรัฐ  วิธีการดำเนินการต่างๆของรัฐ  รวมทั้งแนงความคิดทางการปกครองและทางการเมืองในรัฐด้วย

กฎหมายมหาชนและรัฐศาสตร์เป็นศาสตร์  2  ศาสตร์  ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก  เพราะกฎหมายมหาชนจะศึกษาเรื่องรัฐ  อำนาจรัฐ  รัฐธรรมนูญ  และศึกษาสถาบันการเมืองของรัฐ  ซึ่งก็ต้องเกี่ยวข้องกับรัฐศาสตร์  แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายมหาชนยังต้องศึกษาในด้านนิติศาสตร์อยู่อีกมาก  ศึกษาบทบัญญัติของกฎหมายมิใช่เป็น  การศึกษาทางรัฐศาสตร์ล้วนๆกฎหมายมหาชนสัมพันธ์กับปรัชญา  กล่าวคือ  กฎหมายแต่ละอย่างจะมีปรัชญาที่แตกต่างกัน  ปรัชญาของกฎหมายเอกชน  ปรัชญาของกฎหมายอาญา  ปรัชญากฎหมายมหาชน  เป็นต้น

ดังนั้น   ปรัชญา  ซึ่งเป็น ศาสตร์แห่งการวิเคราะห์ความรู้ยอดสรุปของวิชากฎหมายมหาชน  เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับรัฐ  อำนาจรัฐ  การปกครองของรัฐ  กฎหมายมหาชน  จึงสัมพันธ์กับปรัชญาสาธารณะประโยชน์  หรือประโยชน์สาธารณะ  และการประสานดุลยภาพระหว่างประโยชน์สาธารณะ  กับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของเอกชน

ส่วนประเด็น  อำนาจ  คือ  ธรรม  กับ ธรรม คือ  อำนาจ  อธิบายได้ดังนี้คือ

กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายเกี่ยวกับรัฐ  รัฐธรรมนูญ  อำนาจรัฐ  การปกครองของรัฐ  และการควบคุมตรวจสอบภายใน  อำนาจรัฐ  โดยเฉพาะในรัฐเสรีนิยมประชาธิปไตย  ดังนั้น  การใช้อำนาจรัฐจึงเป็นสาระสำคัญของผู้ปกครองประเทศที่จะดำเนินการ ปกครองในการใช้อำนาจเพื่อความถูกต้องเป็นธรรมและเหตุผลเพื่อให้เกิดประโยชน์ สุขกับประชาชน  หากใช้อำนาจตามอำเภอใจหรือตามความต้องการของผู้ปกครองคือให้  อำนาจ  คือ  ธรรม ซึ่งก็คือความต้องการของผู้ปกครองเป็นสิ่งที่ถูกต้องแม้จะไม่ชอบด้วยธรรมะ  และเหตุผล  กฎหมายจะไม่มีความแน่นอน  ซึ่งการใช้อำนาจในลักษณะนี้จะเป็นการใช้อำนาจในระบอบการปกครองแบบเผด็จการนั่นเอง  กฎหมายเป็น  Will  เจตนาของผู้ปกครองที่จะต้องการใช้อำนาจอย่างไรก็ได้ตามอำเภอใจ

ส่วนที่ว่า  ธรรมคืออำนาจ  หมายถึง  การใช้อำนาจโดยดูจากความถูกต้อง  เหตุและผล  ความเหมาะสม  ใช้กฎหมายโดยคำนึงถึงความ

เป็นธรรม  กฎหมายต้องเป็นกฎหมายที่ดี  (Good  Law)  ถ้าเป็นกฎหมายที่ไม่ดี  ก็ออกกฎหมายยกเลิกได้  เช่น  ประกาศของคณะปฏิวัติ  หรือประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองฉบับใดที่ไม่มีความเป็นธรรมก็ออกกฎหมายใหม่มายกเลิกกฎหมายเก่าซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกในยุคเผด็จการได้

ฉะนั้น  การที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยซึ่งเป็นการได้อำนาจรัฐมาจากตัวบทกฎหมาย  คือ  รัฐธรรมนูญ  ดังนั้นรัฐบาลหรือรัฐสภาออกกฎหมายใหม่  หรือแก้ไขกฎหมายที่ไม่ดีจึงเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว

เพราะกฎหมายคือเจตน์จำนงร่วมกันของประชาชนทั้งชาติ  ซึ่งเป็น  General (ไม่ใช่ Will ) แบบกฎหมายในระบอบเผด็จการซึ่งออกตามอำเภอใจ  กฎหมายจะมีความแน่นอนมากกว่าเพราะผ่านการพิจารณาจากตัวแทนของประชาชนบนพื้นฐานของประโยชน์สาธารณะและความต้องการของประชาชนในรัฐ

 

ข้อ  2  จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบให้ชัดเจนว่า  กฎหมายมหาชนปัจจุบันมีความสัมพันธ์กับการเมืองการปกครองอย่างไร

ธงคำตอบ

กฎหมายมหาชน  ปัจจุบันได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครอง

กฎหมายรัฐธรรมนูญ  บัญญัติอำนาจในการปกครองประเทศไว้สามอำนาจ  คือ  อำนาจนิติบัญญัติ  รัฐสภาเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจ  และอำนาจตุลาการ  ศาลเป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการ

กฎหมายปกครอง  เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจหน้าที่ในทางปกครองแก่หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ  หน่วยงานทางปกครอง  เช่น  หน่วยงานในการบริหารราชการส่วนกลาง  ส่วนภูมิภาค  ส่วนท้องถิ่น  รัฐวิสาหกิจ  และ  หน่วยงานอื่นๆของรัฐที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน่วยงานทางปกครอง

 

ข้อ  3  ระบบกฎหมายแบบใดที่เน้นหลักในเรื่องการควบคุมการใช้อำนาจรัฐ  และที่ว่าควบคุมการใช้อำนาจรัฐควบคุมเรื่องใด  อย่างไร  จงอธิบาย

ธงคำตอบ

ระบบกฎหมายที่เน้นลายลักษณ์อักษร  ( Civil  law)  จะเห็นได้ว่า  จากพัฒนาการของการควบคุม

การใช้อำนาจรัฐนั้น  เป็นพื้นฐานที่สำคัญของหลักกฎหมายมหาชน  ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการจัดทำบริการสาธารณะ  การคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม  และพัฒนาการเหล่านี้มีการเจริญเติบโตได้ดีในประเทศแถบยุโรป  ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมาย Civil  law

การควบคุมการใช้อำนาจรัฐ  คือ  การควบคุมการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ  องค์กรของรัฐ  หน่วยงานของรัฐ  การใช้

ดุลยพินิจ  มี  2  รูปแบบ  ดังนี้ คือ

1         ดุลยพินิจทั่วไป  ( Discretionary  Power)

2         ดุลยพินิจที่เป็นอำนาจผูกพัน  (Mandatory  Power)1         ดุลยพินิจทั่วไป  หรือเรียกว่า  อำนาจดุลยพินิจ

อำนาจดุลยพินิจ  คือ  เสรีภาพที่กฎหมายให้แก่องค์กรของรัฐฝ่ายปกครองในอันที่จะตัดสินใจว่าในกรณีเฉพาะเรื่องกรณีใดกรณีหนึ่ง  สมควรเลือกคำสั่งใดในบรรดาคำสั่งหลายๆอย่างที่มีความแตกต่างกันออกไป  และดำเนินการออกคำสั่งตามที่ได้ตัดสินใจเลือกไว้

อำนาจ ดุลยพินิจย่อมเกิดขึ้นทุกครั้งที่องค์กรของรัฐฝ่าปกครองกระทำการอย่างอิสระ โดยที่กฎหมายมิได้บัญญัติกำหนดสิ่งอันตนจักต้องทำการไว้ล่วงหน้า

อำนาจดุลยพินิจหากพิเคราะห์โดยถ่องแท้แล้วก็คือ  ความสามารถอันกฎหมายให้อำนาจแก่องค์กรของรัฐฝ่ายปกครองในอันที่จะเลือกว่าในบรรดาสรรพคำสั่ง  ซึ่งตามกฎหมายแล้วล้วนแต่สามารถออกได้ทั้งสิ้น  คำสั่งที่พิจารณาแล้วเห็นว่าสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามความมุ่งหมายแห่งอำนาจหน้าที่ของตนได้ดีที่สุด  ก็พึงทำการออกคำสั่งนั้น

อำนาจดุลยพินิจ  คือ  อำนาจที่กฎหมายมอบให้องค์กรของรัฐฝ่ายปกครองสามารถกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยอิสระ  แต่ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องตามกฎหมาย  และชอบด้วยเหตุผล  ก่อให้เกิดอรรถประโยชน์มากที่สุดแก่สังคมส่วนรวมเป็นสำคัญ

2         ดุลยพินิจที่เป็นอำนาจผูกพันหรืออำนาจผูกพันอำนาจผูกพันเป็นอำนาจที่กฎหมายมอบให้แก่องค์กรของรัฐฝ่ายปกครอง  องค์กรใดองค์กรหนึ่ง  โดยบัญญัติบังคับไว้ล่วงหน้าว่า  เมื่อมีข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กำหนดไว้เกิดขึ้น  องค์กรของรัฐฝ่ายปกครององค์กรนั้น  จักต้องออกคำสั่ง  และต้องออกคำสั่งที่มีเนื้อความตามที่ได้กำหนดไว้นั้น

ดังนั้น  จึงเห็นได้ว่าลักษณะของการใช้อำนาจผูกพันนั้น  หมายความว่า  การจะตัดสินใจในทางกฎหมายได้  ต้องมีข้อเท็จจริงปรากฏขึ้นมาก่อน  ถ้าข้อเท็จจริงอย่างนี้เกิดขึ้น  เจ้าหน้าที่ก็ผูกพันที่ว่าต้องตัดสินใจไปในทางนี้เท่านั้น  คือ  ตามที่กฎหมายกำหนดไว้  จะตัดสินใจเป็นอย่างอื่นหาได้ไม่  เช่น การร้องขอจดทะเบียนสมรสชายและหญิง  มีคุณสมบัติและเงื่อนไขครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์สมัครใจสมรสกัน  ต้องการจดทะเบียนสมรสกัน  เจ้าหน้าที่ต้องรับจดทะเบียนสมรสให้ตาพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว  จะปฏิเสธไม่จดทะเบียนไม่ได้  แต่ถ้าชายและหญิงมีอายุ  15  กับ  14  ปีตามลำดับ  ต้องการจดทะเบียนสมรส  กรณีข้อเท็จจริงในเรื่องอายุไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดให้สมรสกันได้  กรณีเช่นนี้  นายทะเบียนครอบครัวสามารถปฏิเสธการจดทะเบียนสมรสได้  เจ้าหน้าที่มาสามารถเลือกใช้ดุลยพินิจเพื่อที่จะรับจดทะเบียนให้ตามความประสงค์ของชายและหญิง  โดยพิจารณาเห็นว่าชายหญิงทั้งสองนี้มีความปรารถนาต้องการใช้ชีวิตร่วมกันฉันสามีภรรยา  เช่นนี้ย่อมทำไม่ได้

ความแตกต่างระหว่างอำนาจดุลยพินิจ  และอำนาจผูกพัน

1         อำนาจดุลยพินิจ  หมายถึง  อำนาจที่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ  หรือองค์กรฝ่ายปกครองของรัฐสามารถเลือกตัดสินใจออกคำสั่งหรือเลือกสั่งการอย่างใดๆได้ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้  เพื่อให้บรรลุผลตามความมุ่งหมาย  หรือตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย  กล่าวอีกนัยหนึ่ง  อำนาจดุลยพินิจ  ก็คือ  อำนาจที่กฎหมายเปิดช่องให้ องค์กรฝ่ายปกครองของรัฐมีอิสระในการตัดสินใจเมื่อมีเหตุการณ์หรือมีข้อเท็จจริงใดๆที่กฎหมายกำหนดไว้เกิดขึ้น

2         อำนาจผูกพัน  อำนาจผูกพันมีความแตกต่างกับอำนาจดุลยพินิจข้างต้น  กล่าวคือ  อำนาจผูกพันเป็นอำนาจหน้าที่ ที่องค์กรฝ่ายปกครองของรัฐต้องปฏิบัติเมื่อมีข้อเท็จจริงอย่างใดๆเกิดขึ้นตามที่กฎหมายซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ  ได้บัญญัติกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว  ดังนี้  องค์กรฝ่ายปกครองของรัฐจะต้องออกคำสั่ง  และคำสั่งนั้นต้องมีเนื้อความเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้  เช่น  เรื่องการร้องขอจดทะเบียนสมรสเมื่อชายและหญิงผู้ร้องขอมีคุณสมบัติครบถ้วน  และปฏิบัติเงื่อนไขแห่งการสมรสที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว  นายทะเบียนครอบครัวจะต้องทำการจดทะเบียนสมรสให้แก่ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนสมรสเสมอ  เป็นต้นเหตุที่เรียก  อำนาจหน้าที่ว่าเป็นอำนาจผูกพันก็เพราะคำวินิจฉัยสั่งการดังกล่าว  เป็นผลมาจากการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรฝ่ายปกครองของรัฐ  ซึ่งกฎหมายยอมรับว่า  การปฏิบัติหน้าที่นั้น  มีผลใช้บังคับได้สมบูรณ์  นั่นเอง

ทั้งอำนาจดุลยพินิจ  และอำนาจผูกพันนี้  ส่วนใหญ่แล้วกฎหมายจะกำหนดให้ใช้ทั้งสองอำนาจนี้ไปด้วยกัน  กล่าวคือ  เมื่อมีข้อเท็จจริงอย่างใดเกิดขึ้นแล้ว  องค์กรฝ่ายปกครองของรัฐจะต้องออกคำสั่งในเรื่องนั้นๆ  (อำนาจผูกพัน)  แต่จะออกคำสั่งอย่างไรนั้น  สามารถตัดสินใจได้อย่างมีอิสระตามที่กฎหมายเปิดช่องไว้ (อำนาจดุลยพินิจ)  เช่น  กรณีข้าราชการกระทำผิดวินัยร้ายแรงกฎหมายบังคับใช้ไว้อย่างชัดเจนว่า  ผู้บังคับบัญชา  ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้งต้องมีคำสั่งตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยกับข้าราชการผู้นั้น  แต่ผู้บังคับบัญชา  ก็มีอิสระในการตัดสินใจว่าจะสั่งลงโทษข้าราชการผู้นั้นสถานใด  กล่าวคือ  จะสั่งปลดออก  หรือไล่ออกจากราชการ  เป็นต้น

เหตุที่ต้องมีการควบคุมการใช้อำนาจรัฐ  เพราะว่าหากปราศจากการควบคุมการใช้อำนาจรัฐ  จะเป็นช่องทางไปสู่การใช้ดุลยพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  เช่น  ข้ามขั้นตอนหรือวิธีการที่มีการกำหนดไว้  ปราศจากอำนาจทำผิดแบบ  นอกกรอบวัตถูประสงค์ของกฎหมาย  สร้างภาระให้ประชาชนเกินสมควร  สั่งโดยมีอคติหรือไม่สุจริต  เป็นต้น

การใช้ดุลยพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  หมายถึง  การใช้ดุลยพินิจที่ไม่มีวิญญูชนคนใดจะวินิจฉัยเช่นนั้น  หรือใช้ดุลยพินิจเช่นนั้น  และเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ในการธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมของกฎหมาย  และไม่ชอบด้วยเหตุผล

วิธีการควบคุมการใช้อำนาจรัฐที่ดีที่สุดคือ  การควบคุมแบบแก้ไข (ภายหลัง)  ที่รียกว่า  ใช้ระบบตุลาการ  (ศาลคู่)

กล่าวคือ  ศาลปกครอง ( AdministrativeCourt)  เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นเพราะมีระบบการพิจารณาที่ใช้ศาล  และมีกฎหมายรองรับทำให้การพิจารณาพิพากษาเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างยิ่ง  เช่น  พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง  พ.ศ. 2542  พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการปกครอง พ.ศ. 2539  พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 เป็นต้น

วิธีการควบคุมการใช้อำนาจรัฐในปัจจุบัน  มีอยู่ด้วยกัน  2  ลักษณะ  คือ  การควบคุมแบบป้องกัน  และการควบคุมแบบแก้ไข

1         การควบคุมแบบป้องกัน  หมายความว่า  ก่อนที่ฝ่ายบริหารจะได้วินิจฉัยสั่งการหรือก่อนจะมี  “การกระทำในการปกครอง”  หรือที่บางท่านเรียกว่า “นิติกรรมในทางปกครอง”  ซึ่งหมายถึงการกระทำในทางกฎหมาย  หรือการวินิจฉัยสั่งการทั้งหลายทั้งปวงที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสถานะ ภาพทางกฎหมายของบุคลคลใดบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มคนก็ตามก่อนที่มีคำสั่งนั้นๆออก ไป  ควรจะมีระบบป้องกันเสียก่อนหรือไม่  เรื่องนี้ในต่างประเทศ  กลุ่มประเทศแองโกลแซกซอน  โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาหรือกลุ่มประเทศยุโรปภาคพื้นทวีป  ได้แก่  ออสเตรีย  เยอรมันนี  ประเทศเหล่านี้จะมีประมวลกฎหมายเกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีในทางปกครอง  โดยปกติแล้วศาลย่อมจะมีวิธีพิจารณาคดีประเภทต่างๆ  เช่น  ในคดีอาญาจะมีประมวลกฎหมายอาญาซึ่งบัญญัติในเรื่องของความผิดและโทษ  ศาลก็จะมีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาสำหรับดำเนินกระบวนพิจารณาอาญา  ส่วนกฎหมายแพ่ง  ศาลก็จะมีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งสำหรับการดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีแพ่ง  เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้เอง  การควบคุมแบบป้องกันจึงเป็นวิธีการที่ช่วยเสริมการควบคุมโดยศาลหรือที่เราเรียกว่า  “การควบคุมแบบแก้ไข”  เป็นที่เข้าใจแล้วว่าการควบคุมแบบป้องกันนั้น  คือ  กระบวนการก่อนจะมีคำสั่งวินิจฉัย  ดังนั้นข้อสำคัญก็คือทำอย่างไรจึงจะให้มีการโต้แย้ง  การคัดค้านได้ก่อนที่จะมีคำสั่งหรือคำวินิจฉัย  แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า  จะต้องไปทำตามที่มีผู้โต้แย้งคัดค้าน  โดยเฉพาะเรื่องที่คำสั่งหรือคำวินิจฉัยนั้นไปกระทบสิทธิของบุคคล  เช่นนี้ก็จะต้องแสดงเหตุผลในคำสั่ง  เช่น  การมีคำสั่งไม่อนุญาตในแบบที่มีผู้ยื่นขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร  ก็ต้องอธิบายว่า  เหตุที่ไม่อนุญาตนั้นเพราะผิดแบบตรงไหนหรือผิดจากกฎเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดตรงไหน  เช่น  ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร  หรือเทศบัญญัติกำหนดไว้ว่า  แบบที่ยื่นมานั้นไม่อนุญาตเพราะว่า

1         เว้นระยะห่างไม่พอ

2         ที่บริเวณส่วนนี้ห้ามทำเป็นหน้าต่างดังนั้นจึงไม่อนุญาต  ไม่อนุมัติแบบนั้นๆ เป็นต้น2  การควบคุมแบบแก้ไข  หมายถึง  มีคำสั่งวินิจฉัยสั่งการในเรื่องนั้นไปแล้ว  ฝ่ายประชาชนที่ถูกกระทบสิทธิเห็นว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย  เขาจำเป็นต้องไปหาองค์กรที่มีอำนาจให้มีคำสั่งชี้ขาดลงมาว่า  คำสั่งหรือคำวินิจฉัยนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย  และต้องถูกยกเลิกเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข  โดยองค์กรที่จะควบคุมนี้  มี  3  องค์กร  คือ  องค์กรภายในฝ่ายบริหาร  องค์กรภายนอก  และองค์กรศาล  (องค์กรตุลาการ)

Advertisement