การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2547

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW1001 หลักกฎหมายมหาชน

Advertisement

ข้อ 1 ขอให้นักศึกษาอธิบายความแตกต่างระหว่างกฎหมายมหาชนกับกฎหมายเอกชน มาโดยละเอียด

ธงคำตอบ

ความแตกต่างของกฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน

1. ความแตกต่างขององค์กรหรือตัวบุคคลที่เข้าไปมีนิติสัมพันธ์กล่าวคือ ในกฎหมายมหาชน องค์กรหรือบุคคลที่เข้าไปมีนิติสัมพันธ์คือรัฐ หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ฝ่ายหนึ่งกับเอกชนอีกฝ่ายหนึ่งแต่กรณีของกฎหมายเอกชนตัวบุคคลที่เข้าไปมี นิติสัมพันธ์ คือ เอกชนกับเอกชน

2. ความแตกต่างของด้านเนื้อหาและความมุ่งหมาย (BUT)กฎหมายมหาชนมีจุดมุ่งหมายเพื่อสาธารณะประโยชน์ และการให้บริการสาธารณะ โดยไม่ได้มุ่งหวังในเรื่องกำไรส่วนกฎหมายเอกชนนั้นมุ่งหมาย เพื่อประโยชน์ของเอกชน แต่ละคนแต่บางกรณีซึ่งเป็นข้อยกเว้นเอกชนก็กระทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมได้ เช่น การตั้งมูลนิธิหรือสมาคมเพื่อการกุศลและสาธารณะประโยชน์

3. ความแตกต่างด้านรูปแบบและนิติสัมพันธ์ กล่าวคือ กฎหนายมหาชนเป็นรูปแบบบังคับและหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งออกมาเป็นรูปแบบคำสั่งหรือข้อห้ามที่เรียกว่า การกระทำฝ่ายเดียว กล่าวคือเป็นการกระทำซึ่งฝ่ายหนึ่งสามารถกำหนดหน้าที่ ทางกฎหมาย ให้กับอีกฝ่ายหนึ่งโดยที่ฝ่ายหลังไม่ตกลงยินยอมด้วย เช่น การออกกฎหมายต่าง ๆ (พ.ร.บ. เป็นต้น)ส่วนกฎหมายเอกชน นั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของควานเป็นอิสระในการแสดงความเสมอภาค และเสรีภาพในการทำสัญญา คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะบังคับอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้

4. ความแตกต่างทางด้านนิติวิธีกล่าวคือ แนวความคิดในทางกฎหมายเอกชนจะแตกต่างกับนิติวิธีของกฎหมายมหาชน โดยจะไม่นำหลักกฎหมายเอกชนมาใช้กับปัญหาที่เกิดขึ้นตามกฎหมายมหาชน แต่จะสร้างหลักกฎหมายมหาชนขึ้นมาใช้เองส่วนนิติวิธีของกฎหมายเอกชนนั้นจะ เน้นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนและมุ่งรักษาประโยชน์ของเอกชนด้วยกัน

5. ความแตกต่างด้านนิติปรัชญากล่าวคือ นิติปรัชญาของกฎหมายมหาชนนั้นมุ่งประสานประโยชน์สาธารณะกับการคุ้มครอง เสรีภาพส่วนบุคคลแต่นิติปรัชญาเอกชนเน้นความยุติธรรมที่เท่าเทียมกัน และอยู่บนความสมัครใจของคู่กรณี

6. ความแตกต่างในเรื่องเขตอำนาจศาล กล่าวคือ ปัญหาทางด้านกฎหมายมหาชนจะขึ้นสู่ศาลพิเศษ ได้แก่
ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ส่วนปัญหาตามกฎหมายเอกชนนั้นขึ้นศาลยุติธรรมได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลอาญา

ข้อ 2 จงยกตัวอย่างกฎหมายมหาชนมาสิบฉบับและอธิบายว่าเพราะเหตุใดกฎหมายเหล่านั้นจึงเป็นกฎหมายมหาชน

ธงคำตอบ

กฎหมายปกครอง (ซึ่งได้แก่ พ.ร.บ. ต่าง ๆ ประมาณ 700 ฉบับ) เช่น

2.1 พ.ร.บระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534
2.2 พ. ร. บ. อบจ.
2.3 พ.ร.บ. เทศบาล
2.4 พ.ร.บ.สภาตำบล และ อบต
2.5 พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพฯ
2.6 พ.ร.บ. ระเบียบราชการเมืองพัทยา
2.7 พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยรามคำแหง
2.8 พ.ร.บ. รัฐวิสาหกิจต่างๆ เช่น การไฟฟ้าแห่งประเทศไทยกฎหมายทั้งสิบฉบับเป็นกฎหมายมหาชน
เพราะ เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจในการปกครอง แก่หน่วยงานของรัฐแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และเมื่อมีกรณีพิพาทเกิดขึ้นจากการใช้อำนาจดังกล่าวจะต้องนำคดีไปพิจารณาใน ศาล รัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองแล้วแต่กรณีจะไม่นำคดีไปฟ้องยังศาลยุติธรรม

 

ข้อ 3. ศาลปกครองคืออะไร ต่างจากศาลยุติธรรมอย่างไร

ธงคำตอบ

ศาลปกครองคือ องค์กรทางศาล หรือองค์กรตุลาการที่ทำหน้าที่พิจารณาคดีปกครองและควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำของฝ่ายปกครอง โดยวิธีการในลักษณะข้อพิพาทผู้มีอำนาจวินิจฉัยคดีปกครองมีความเป็นอิสระ มีกระบวนการพิจารณาคดีที่แน่นอนเป็นระบบไต่สวนมีเงื่อนไขการฟ้องคดีและกำหนดอายุความและลักษณะสำคัญของการควบคุมโดยศาลปกครอง คือ

ศาล ปกครองจะใช้หลักกฎหมายมหาชน ซึ่งเป็นหลักกฎหมายที่แตกต่างไปจากหลักกฎหมายเอกชนได้แก่ หลักกฎหมายเอกชน เป็นหลักกฎหมายที่ใช้กับคดีการปกครอง ซึ่งคู่กรณีมีฐานะไม่เสมอภาคกัน กล่าวคือ กรณีพิพาทระหว่างฝ่ายปกครองซึ่งมีเอกสิทธิ์ทางปกครองกับเอกชนซึ่งอยู่ใต้ ปกครองเป็นกรณีพิพาทที่ไม่เสมอภาคกัน

ส่วน ศาลยุติธรรมคือ องค์กรวินิจฉัยในระบบกฎหมายเอกชนมีกระบวนพิจารณาเป็นระบบกล่าวหาที่คู่กรณี มีหน้าที่นำพยานหลักฐานพยานเอกสารมาสืบต่อศาลยุติธรรม พิจารณาคดีแพ่งคดีอาญาซึ่งเป็นองค์กรวินิจฉัยในระบบกฎหมายเอกชนและกระบวนการ ยุติธรรมทางอาญา

Advertisement