ข้อสอบกระบวนวิชา LAW1001 (LA 101),(LW 101) หลักกฎหมายมหาชน
ธงคำตอบ กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่บัญญัติ ให้อำนาจและหน้าที่แก่รัฐ แก่หน่วยงานของรัฐ และแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ในทางปกครองและการบริการสาธารณะ ซึ่งการปกครองและการบริการสาธารณะไม่อาจทาให้ประสบผลสำเร็จได้หากปราศจากกฎหมายมหาชนเจ้าหน้าที่ของรัฐ หมายถึง บุคคลซึ่งใช้อำนาจ หรือได้รับมอบให้ใช้อำนาจทางปกครองของรัฐ ในการดำเนินการหรือย่างหนึ่งอย่างใดตามกฎหมายมหาชนการบริการสาธารณะ หมายถึง กิจการที่อยู่ในความอำนวยการ หรือในความควบคุมของฝ่ายปกครอง ที่จัดทำขึ้นเพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชนเช่น หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
การใช้อำนาจตามกฎหมายมหาชนของเจ้าหน้าที่ของรัฐในทางปกครองและการบริการสาธารณะนั้น อาจทำให้เกิดความเสียหายหรือรบกวนสิทธิเสรีภาพเเละผลประโยชน์ของประชาชนได้ เมื่อเกิดกรณีพิพาทดังกล่าวจึงเรียกว่า กรณีพิพาททางปกครอง ก็ต้องใช้ศาลปกครองในการพิจารณาคดี
ศาลปกครอง หมายถึง ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทีเป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชา หรือให้กำกับดูแลของรัฐบาลกับเอกชน ซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำหรือละเว้นการกระทำที่หน่ายราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
ดังนั้น กฎหมายมหาชนมีความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ การบริการสาธารณะและศาลปกครองดังกล่าวข้างต้น
ข้อ 2. กฎหมายมหาชนนั้น ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวกำหนดถึงกฎเกณฑ์ทางกฎหมายทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับสถานะและอำนาจของรัฐและผู้ปกครองรวมทั้งเป็นกฎเกณฑ์ทาง กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและผู้ปกครองกับพลเมืองผู้อยู่ใต้การ ปกครอง
ในฐานะที่รัฐและผู้ปกครองกับพลเมืองตามกฎหมายมหาชนดังกล่าวเป็นความสัมพันธ์ ในลักษณะที่รัฐและผู้ปกครองมีเอกสิทธิ์ทางปกครองเหนือพลเมืองซึ่งอยู่ในฐานะ เป็นเอกชน ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและผู้ปกครองกับพลเมืองตามกฎหมายมหาชนดังกล่าวเป็น ความสัมพันธ์ในลักษณะที่รัฐและผู้ปกครองมีเอกสิทธิ์ทางปกครองเหนือพลเมือง
ส่วนกฎหมายเอกชนนั้นจะตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันของคู่กรณี และตั้งอยู่
บนหลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งเจตนาและเสรีภาพในการ ทำ สัญญา
จงอธิบาย ข้อแตกต่างระหว่างกฎหมายมหาชนกับกฎหมายเอกชน มาโดย ละเอียด
ธงคำตอบ
ความแตกต่างของกฎหมายมหาชนกับกฎหมายเอกชน มีดังต่อไปนี้
1. ความแตกต่างขององค์กรหรือตัวบุคคลที่เข้าไปมีนิติสัมพันธ์ ในกฎหมายมหาชนองค์กรหรือบุคคลที่เข้าไปมีนิติสัมพันธ์ คือ รัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายหนึ่ง กับเอกชนอีกฝ่ายหนึ่ง แต่กรณีของกฎหมายเอกชนตัวบุคคลที่เข้าไปมีนิติสัมพันธ์ คือ เอกชน กับเอกชน2. ความแตกต่างทางด้านเนื้อหาและความมุ่งหมาย กฎหมายมหาชนมีจุดมุ่งหมายเพื่อสาธารณประโยชน์
และการให้บริการสาธารณะ โดยมิได้มุ่งหวังในเรื่องกำไร ส่วนกฎหมายเอกชนนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ของเอกชนแต่ละคนหรือเฉพาะบุคคล แต่มีบางกรณีที่เอกชนอาจทำเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมก็ได้ เช่น การตั้งมูลนิธิหรือสมาคมเพื่อการกุศลและสาธารณะประโยชน์
3. ความแตกต่างทางด้านรูปแบบของนิติสัมพันธ์ กฎหมายมหาชนมีลักษณะเป็นการบังคับและหลีกเลี่ยงไม่
ได้ ซึ่งจะออกมาในรูปของคำสั่งหรือข้อห้าม ที่เรียกว่า การกระทำฝ่ายเดียว กล่าวคือ เป็นการกระทำชึ่งฝ่ายหนึ่ง (รัฐ)สามารถ ที่จะกำหนดหน้าที่ทางกฎหมายให้กับอีกฝ่ายหนึ่ง (เอกชนได้) โดยที่ฝ่ายหลังไม่ได้ตกลงยินยอมด้วย เช่น การออกกฎหมายต่าง ๆ ส่วนกฎหมายเอกชนนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นอิสระในการแสดงเจตนาความ เสมอภาคและเสรีภาพในการทำสัญญาคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะบังคับอีกฝ่ายหนึ่งให้ เข้าร่วมทำสัญญาโดยที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอมหรือไม่สมัครไม่ได้
4. ความแตกต่างในเรื่องเขตอำนาจศาล ปัญหาทางกฎหมายมหาชนจะขึ้นสู่ศาลพิเศษได้แก่ ศาลปกครอง
ศาลรัฐธรรมนูญ ส่วนปัญหาทางกฎหมายเอกชน นั้นจะขึ้นสู่ศาลยุติธรรม ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลอาญา
5. ความแตกต่างทางด้านนิติวิธี แนวความคิดวิเคราะห์ในทางกฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชนจะแตก
ต่างกัน กล่าวคือ นิติวิธีทางกฎหมายมหาชนจะไม่นำหลักกฎหมายเอกชนมาใช้กับปัญหาที่เกิดขึ้นตาม กฎหมายมหาชน แต่จะสร้างหลักกฎหมายมหาชนขึ้นมาใช้เอง ส่วนนิติวิธีทางกฎหมายเอกจนนั้นจะเน้นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนและ มุ่งรักษาประโยชน์ของเอกชนด้วยกัน
6. ความแตกต่างทางด้านนิติปรัชญา นิติปรัชญากฎหมายมหาชนมุ่งประสานประโยชน์สาธารณะกับ
ประโยชน์ของเอกชนและสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล แต่นิติปรัชญากฎหมายเอกชนเน้นความยุติธรรมที่เท่าเทียมกันและตั้งอยู่บนหลัก เสรีภาพแห่งความสมัครใจของคู่กรณี
ข้อ 3. จงอธิบายถึงการควบคุมฝ่ายปกครองโดยทางศาลมาโดยสังเขป
ธงคำตอบ
การควบคุมฝ่ายปกครองโดยทางศาล หมายถึง การควบคุมโดยองค์กรที่มีอิสระจากอำนาจการเมืองและจากฝ่ายปกครอง มีกระบวนพิจารณาที่แน่นอนและมีอำนาจที่จะตัดสินข้อขัดแย้งอย่างเด็ดขาด โดยหลักศาลจะไม่ล่วงล้ำเข้าไปควบคุมความเหมาะสมในการใช้ดุลพินิจของฝ่าย ปกครองหน้าที่หลักของการควบคุมทางศาล เพื่อประกันการคุ้มครองประชาชนจากฝ่ายปกครอง ดังนั้น การพัฒนาการควบคุมทางศาลจึงมีการพัฒนาโดยผูกพันอยู่กับความก้าวหน้าของลัทธิ เสรีภาพนิยมด้วย เพราะจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเรายอมรับหลักนิติรัฐ ว่าอำนาจการเมืองและฝ่ายปกครองที่ขึ้นต่อหลักกฎธรรมชาติหรือหลักกฎหมายทั่ว ไปแล้ว ความยุติธรรมในทางปกครองจึงจะเกิดขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากในประเทศเสรีนิยม ศาลสามารถที่จะนำหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เหล่านี้มาใช้ควบคุมฝ่ายปกครองได้ เช่น หลักความยุติธรรมตามธรรมชาติของอังกฤษ หลักกฎหมายทั่วไปของฝรั่งเศส และหลัก
Dueprocess of Law ในสหรัฐอเมริกา
การควบคุมฝ่ายปกครองโดยทางศาลมีระบบการควบคุมที่สำคัญ 2 ระบบ คือ
1. ระบบศาลเดี่ยว ศาลยุติธรรมเป็นผู้พิจารณาและวินิจฉัยคดีทุกประเภท รวมทั้งคดีปกครองด้วย
2. ระบบศาลคู่ ศาลปกครองเป็นผู้พิจารณาและพิพากษาคดีปกครองโดยทั่วไปมีคดีปกครองบางส่วนอันถือ
เป็นข้อยกเว้นเท่านั้น ที่กำหนดให้ศาลยุติธรรมเป็นผู้พิจารณาและวินิจฉัยได้ ศาลปกครองนั้นจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะแยกออกมาต่างหากจากศาลยุติธรรมมีการแบ่งแยกอำนาจศาลและวางระเบียบวิธีพิจารณาที่แตกต่างกันออกไปจาก ศาลยุติธรรม