การสอบซ่อมภาค 2 ปีการศึกษา 2548
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW1001 หลักกฎหมายมหาชน
แนวคำตอบศาสตราจารย์ยอร์ช บูร์โด ได้อธิบาย ความหมายของคำว่า รัฐ หมายถึง อำนาจที่ถูกจัดเป็นสถาบัน รัฐ หมายถึง ผู้ถืออำนาจที่เป็นนามธรรมและถาวร โดยมีผู้ปกครองซึ่งเป็นแต่เพืยงเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการอันสำคัญที่ผ่านไป เท่านั้นเนื่องจาก รัฐ เป็นสิ่งที่มนุษย์ได้สมมุติให้มีขึ้น ดังนั้นรัฐจึงเป็นนามธรรมในแนวทางการอรรถาธิบายองค์ประกอบของรัฐแบบดั้งเดิมนั้น มี 4ประการ คือ ดินแดน ประชากร อำนาจอธิปไตย และรัฐบาล
โดยทั่วไป รัฐจะเป็นสถาบันการเมืองที่มีความสลับซับซ้อน (complex) และจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบต่าง ๆจำนวนมาก ดังนี้
1. ดินแดน (territory)
2. ประชากร (popuIation)
3. รัฐบาล (government)
4. อำนาจอธิปไตย (sovereignty)
5. ความต่อเนื่อง (continuity)
6. การดำเนินการทางด้านความมั่นคง (security)
7. การรักษาความสงบเรียบร้อย (order)
8. การอำนวยความยุติธรรม (justice)
9. การสวัสดิการสังคม (welfare)
นอกจากนี้ รัฐต้องประกอบไปด้วยสิ่งที่เป็นสารัตถะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ ทรัพยากร (resources) การคลัง(flnance) ระบบราชการ(bureaucracy) และการดำรงอยู่ในสังคมแห่งรัฐต่าง ๆ หรือสังคมโลก (existence as part of a society of states)แนวคิดในการสถาปนารัฐขึ้นมานั้น กล่าวได้โดยสรุป คือ ในช่วงปลายยุคกลาง (middle age) สังคมมนุษย์ยังไม่มีสภาพเป็นรัฐ ตามความหมายในปัจจุบันนี้อำนาจในการปกครองจืงเป็นอำนาจของบุคคลซึ่งเป็นผู้ปกครอง เมื่อสังคมวิวัฒนาการขึ้น จึงทำให้เกิดชนชั้นใหม่ ๆ ขึ้นมานอกเหนือไปจากชนชั้นผู้ปกครอง ไพร่ และทาส ตามระบอบศักดินาแบบเดิมสภาพดังกล่าว
รวม ทั้งความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้สังคมมาถึงจุดวิกฤติของ การปกครองระบอบศักดินา จึงเกิดความคิดขึ้นมาว่า อำนาจในการปกครองดังกล่าวไม่ควรจะอยู่กับตัวบุคคล แต่ก็ต้องยอมรับว่าต้องมีอำนาจในการปกครองสังคมมนุษย์จึงต้องประดิษฐ์ เครื่องค้ำจุนอำนาจขึ้นมาใหม่เพื่อทดแทนตัวบุคคลและเครื่องค้ำจุนอำนาจใหม่ นี้ จักต้องเป็นอิสระแยกจากตัวบุคคลด้วย เครื่องค้ำจุนอำนาจดังกล่าวก็คือรัฐนั่นเองทั้งนี้ เพื่อให้ รัฐ เป็นเจ้าของอำนาจรัฐ ไม่ใช่ให้บุคคลเป็นเจ้าของอำนาจรัฐ
แต่อย่างไรก็ตาม รัฐเป็นสิ่งที่มนุษย์ได้สมมุติให้มีขึ้น ดังนั้น รัฐจึงเป็นนามธรรม ตามที่ศาสตราจารย์ยอร์ช บูร์โด ได้อธิบายความหมายของรัฐ ดังได้กล่าวไว้ข้างต้น
ในเมื่อรัฐเป็นนามธรรม แต่จะต้องมีการใช้อำนาจรัฐเพื่อการปกครองรัฐจึงต้องมีบุคคลธรรมดา ซึ่งอาจจะเป็น
บุคคลเพียงคนเดียวหรือคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจนั้นแทนรัฐในนามของรัฐ อำนาจรัฐนั้น โดยหลักการแล้วจะแบ่งออกเป็น 3 สาขา ซึ่งมีองค์กรบริหารหรือใช้อำนาจรัฐที่แยกต่างหากจากกันแล้วแต่บทบาทและอำนาจหน้าที่หลัก กล่าวคืออำนาจนิติบัญญัติ อันมีรัฐสภาเป็นองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐส่วนนี้
อำนาจบริหาร องค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐส่วนนี้ คือ รัฐบาล และอำนาจตุลาการ องค์กรที่ใช้อำนาจรัฐส่วนนี้ ก็คือ องค์กรศาลผู้ที่มีบทบาทอำนาจหน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐในนามของรัฐ เรียกว่าองค์กรของรัฐ
รัฐมีลักษณะเป็นสถาบัน ที่มีความต่อเนื่องอยู่ตลอด แต่รัฐบาลนั้นเป็นกลุ่มบุคคลที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนตัว
บุคคลที่มาทำหน้าที่เป็นรัฐบาลไปตามวาระเมื่อพิเคราะห์แล้วจึงเห็นได้ว่า รัฐบาลก็คือ องค์กรหรือกลุ่มบุคคลที่กระทำการใช้อำนาจบริหาร ซึ่งเป็นอำนาจรัฐอย่างหนึ่งแทน รัฐ ในนามของรัฐเท่านั้นเอง
ข้อ 2. กฎหมายมหาชนปัจจุบัน ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครอง พระราชบัญญัติบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 พระราชบัญญัติเทศบาล พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหงฯ พระราชบัญญัติการไฟฟ้าฯต่างเป็นกฏหมายปกครองและเป็นกฎหมายมหาชน
จงอธิบายว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ การใช้อำนาจทางปกครองและศาลปกครองอย่างไร
ธงคำตอบ
กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจหน้าที่ในทางปกครองแก่รัฐ หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐหน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่บัญญัติไว้ในกฎหมายดังกล่าวจะใช้อำนาจทางปกครองได้ เท่าที่กฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้
การใช้อำนาจทางปกครอง คือ การใช้อำนาจตามที่กฎหมายกำหนด แล้วทำให้เกิดการ ก่อ เปลี่ยนแปลง โอน
สงวน หรือ ระงับต่อสถานภาพ หรือสิทธิทางปกครองของบุคคลไม่ว่าจะเป็นการออกกฏ คำสั่ง หรือการกระทำหรือหน้าที่และเมื่อหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ใช้อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไปแล้วเกิดกรณีพิพาทเรียกว่า กรณีพิพาทปกครอง.จะต้องนาคดีขึ้นสู่ศาลปกครองเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีต่อไป
ข้อ 3 จงอธิบายบทบาทและความสำคัญของกฎหมายมหาชนในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายหลังจากที่มีการประกาศใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับ (พ.ศ.2540) พร้อมยกตัวอย่างประกอบมาให้ชัดเจน
ธงคำตอบ
บทบาทที่สำคัญของกฎหมายมหาชน ได้แก่
– กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจหน้าที่ในการบริหารการปกครองและการบริการสาธารณะแก่รัฐ
แก่หน่วยงานของรัฐ และแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ
–กฎหมายมหาชนช่วยคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน
– กฎหมายมหาชนช่วยควบคุมการใช้อำนาจและหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
– กฎหมายมหาชนช่วยส่งเสริมการกระจายอำนาจ
การคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ ก็มีบทบัญญัติที่ตราไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญหลายประเด็น การให้ความเป็น
ธรรมกับข้าราชการก็มีศาลปกครอง มีการตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ อาทิเช่น พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ..2542 การส่งเสริมการกระจายอำนาจก็มีระบุไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญหมวดที่ว่าด้วยการกระจายอำนาจ อาทิเช่น มาตรา 284, 285, 286 เป็นต้น