การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2547
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW1001 หลักกฎหมายมหาชน
ธงคำตอบ
กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่ ในทางปกครองแก่รัฐ แก่หน่วยงานของรัฐ และหน้าที่ของรัฐ และเมื่อรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจทางปกครองตามบทบัญญัติของกฎหมายนั้นแล้ว เกิดความเสียหาย หรือเดือดร้อนแก่ประชาชน เรียกว่ากรณีพิพาททางปกครอง คดีปกครอง
คดีปกครองเป็นคดีที่เกิดขึ้นระหว่างหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ กับเอกชนหรือประชาชน และเมื่อเกิดคดีปกครองขึ้น จะต้องนำคดีนั้นไปฟ้องศาลปกครอง ไม่นำไปฟ้องศาลแพ่ง หรือศาลอาญา
หน่วยงาน ของ รัฐ ได้แก่ หน่วยงานบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นตลอดถึงรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็นหน่วยงานทางปกครอง
เจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้แก่ บุคคลและคณะบุคคล ที่ใช้อำนาจหรือได้รับมอบให้ใช้อำนาจทางปกครองการบริการสาธารณะ หมายถึง กิจการที่อยู่ในความอำนวยการหรือความควบคุมของฝ่ายปกครอง ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชน กิจการเหล่านี้โดยสภาพแล้วไม่อาจทำให้บรรลุสำเร็จได้ หาปราศจากอำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมายมหาชน
ศาลปกครอง เป็นศาลที่ใช้พิจารณาคดีปกครองคือ คดีที่เกิดขึ้นระหว่างหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานทางปกครอง การใช้อำนาจหน้าที่ ตามกฎหมายมหาชนแล้วเกิดกรณีพิพาททางปกครอง ต้องนำคดีไปพิจารณาในศาลปกครอง
ข้อ.2 กฎหมายมหาชนนั้น ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวกำหนดถึงเกณฑ์ทางกฎหมายทั้งหลายที่เกี่ยวกับสถานะและอำนาจของ รัฐและผู้ปกครอง รวมทั้งเป็นเกณฑ์ทางกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและผู้ปกครอง กับพลเมืองผู้อยู่ใต้การปกครอง ในฐานะที่รัฐและผู้ปกครองมีเอกสิทธิ์ทางปกครองเหนือพลเมือง ซึ่งอยู่ในฐานะ เอกชนความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและผู้ปกครอง กับพลเมืองตามกฎหมายมหาชนดังกล่าว เป็นความสัมพันธ์ในลักษณะที่รัฐและผู้ปกครอง มีเอกสิทธิ์ทางปกครอง เหนือพลเมือง
ส่วนกฎหมายเอกชนนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความเสมอภาค และความเท่าเทียมกันของคู่กรณี และตั้งอยู่บนหลักความศักดิ์สิทธิ์ของเจตนา และเสรีภาพการทำสัญญา จึงให้นักศึกษาอธิบายถึงข้อแตกต่างระหว่าง กฎหมายมหาชน กับกฎหมายเอกชนทั้ง 6 ประการ มาให้เป็นที่เข้าใจอย่างชัดเจน อีกทั้งขอให้นักศึกษา อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายมหาชน กับรัฐศาสตร์มาพอสังเขปด้วย
กฎหมาย มหาชน คือ กฎหมายที่กล่าวถึง กำหนดกฎเกณฑ์ทางกฎหมายทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับสถานะและอำนาจ ของรัฐและผู้ปกครอง รวมทั้งเป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและผู้ปกครองกับ พลเมืองผู้อยู่ใต้ปกครอง ในฐานะที่รัฐเป็นผู้ปกครอง มีเอกสิทธิ์ทางปกครองเหนือพลเมือง ซึ่งอยู่ในฐานะเอกชน
กฎหมาย มหาชนกับ กฎหมายเอกชนจึงแตกต่างกัน ในข้อสำคัญคือกฎหมายมหาชนนั้น อยู่บนพื้นฐานของความไม่เท่าเทียมกัน ระหว่างรัฐและผู้ปกครองกับพลเมือง ส่วนกฎหมายเอกชนนั้น จะตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน และบนพื้นฐานของหลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งเจตนา หรืออยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นอิสระของการ แสดง เจตนาในส่วนประเด็นความแตกต่างระหว่างกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน ทั้ง 6 ประการ มีดังนี้ความแตกต่างระหว่างกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน1. ความแตกต่างขององค์กร หรือตัวบุคคลที่เข้าไปมีนิติสัมพันธ์กล่าวคือ กฎหมายมหาชน องค์การหรือบุคคลที่เข้าไปมีนิติสัมพันธ์ คือรัฐหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายหนึ่ง กับเอกชนอีกฝ่ายหนึ่ง แต่กรณีของกฎหมายเอกชน ตัวบุคคลที่เข้าไปมีนิติสัมพันธ์ คือ เอกชนกับเอกชน2. ความแตกต่างทางด้านเนื้อหาและความมุ่งหมาย (BUT)กฎหมายมหาชน มีจุดมุ่งหมายเพื่อสาธารณะ
ประโยชน์ และการให้บริการสาธารณะโดยไม่ได้มุ่งหวังในเรื่องกำไร ส่วนกฎหมายเอกชนนั้นมีจุดมุ่งหมายและเพื่อประโยชน์ของเอกชนแต่ละคน แต่บางกรณีซึ่งเป็นข้อยกเว้น เอกชนก็อาจทำเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมได้ เช่น การตั้งมูลนิธิหรือสมาคมเพื่อการกุศลและการสาธารณะประโยชน์3. ความแตกต่างทางด้านรูปแบบของนิติสัมพันธ์กล่าวคือ กฎหมายมหาชนมีลักษณะเป็นการบังคับและหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงออกมาเป็นรูปคำสั่งหรือข้อห้ามที่เรียกว่าการกระทำฝ่ายเดียวกล่าวคือ เป็นการกระทำซึ่งฝ่ายหนึ่งสามารถกำหนดหน้าที่ทางกฎหมายให้กับอีกฝ่ายหนึ่ง โดยที่ฝ่ายหลังมิได้ตกลงยินยอมด้วย เช่น การออกกฎหมายต่าง ๆ (พระราชบัญญัติ) เป็นต้น ส่วนกฎหมายเอกชนนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความอิสระในการแสดงเจตนา ความเสมอภาค และเสรีภาพในการทำสัญญา คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะบังคับคู่สัญญาอีกฝายหนึ่งไม่ได้4. ความแตกต่างทางด้านนิติวิธีกล่าวคือ แนวความคิดวิเคราะห์ในทางกฎหมายเอกชน และกฎหมายมหาชนจะแตกต่างกับนิติวิธีของกฎหมายมหาชนจะไม่นำหลักกฎหมายเอกชนมา ใช้กับปัญหาที่เกิดขึ้นของกฎหมายมหาชนจะสร้างหลักของกฎหมายมหาชนขึ้นมาใช้ เอง ส่วนนิติวิธีทางกฎหมาย เอกชนนั้นจะเน้นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเอกชน และมุ่งรักษาประโยชน์ของเอกชนด้วยกัน
5. ความแตกต่างทางด้านนิติปรัชญากล่าวคือ นิติปรัชญากฎหมายมหาชนนั้นมุ่งประสานประโยชน์
สาธารณะ กับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของส่วนบุคคลแต่นิติปรัชญาของกฎหมายเอกชนเน้น ความยุติธรรมที่เท่าเทียมกันและอยู่บนสภาพสมัครใจของคู่กรณี
6. ความแตกต่างในเรื่องขงเขตอำนาจศาลกล่าวคือ ปัญหาทางด้านกฎหมายมหาชน จะขึ้นสู่ศาลพิเศษได้แก่ ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ส่วนปัญหาตามกฎหมายเอกชนนั้น ขึ้นสู่ศาลยุติธรรม ได้แก่ศาลแพ่ง ศาลอาญา
ประเด็นความสำคัญระหว่างกฎหมายมหาชนกับรัฐศาสตร์นั้น เป็นศาสตร์ 2 ศาสตร์ที่สัมพันธ์กันอย่างมาก
กล่าวคือ กฎหมายมหาชนเป็นเกณฑ์ทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐ อำนาจรัฐ และผู้ปกครอง รวมทั้งการปกครองของรัฐ
ส่วน รัฐศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับรัฐ กำเนิดรัฐ วิวัฒนาการของรัฐ ในอดีตจนปัจจุบัน ศึกษาถึงสถาบันทางการเมืองภายในรัฐ ศึกษาถึงอำนาจรัฐ ในแง่ของข้อเท็จจริง
กฎหมายมหาชน เกี่ยวข้องกับรัฐศาสตร์ กฎหมายมหาชนเป็นกฎเกณฑ์ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจรัฐ
ซึ่งเป็นอำนาจทางการเมือง รวมทั้งการจัดองค์กรและเกี่ยวกับสถาบันทางการเมือง
ข้อ 3 เหตุใดจึงมีระบบการควบคุมการใช้อำนาจรัฐ และระบบการควบคุมการใช้อำนาจรัฐที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
ธงคำตอบ
ระบบการควบคุมการใช้อำนาจรัฐ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ เป็นหลักประกันให้กับประชาชนว่าจะไม่ถูกรัฐใช้อำนาจอันจะกระทบกระเทือนถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ นอกจากนี้ ก็ยังเป็นการเสริมสร้างการทำงานของภาครัฐ(ราชการ) ให้มีประสิทธิภาพระบบการควบคุมการใช้อำนาจรัฐที่ดี ประกอบด้วย
1. ต้องครอบคลุมกิจการของรัฐทุกด้าน ให้เป็นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้อย่างทั่วถึง
2. เหมาะสมกับสภาพของกิจกรรมของรัฐ ที่ถูกควบคุม (มีสมดุล)
3. องค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบนั้น ๆ ต้องอิสระ และองค์กรนั้น ๆต้องถูกตรวจสอบ ได้ เช่นกัน
4. การเข้าถึงระบบการตรวจสอบควบคุมนี้ ต้องเป็นไปโดยกว้างขวาง