การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557
ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1201 พื้นฐานวัฒนธรรมไทย
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
1. ถํ้าตาด้วง อยู่จังหวัดอะไร
(1) ราชบุรี (2) อุทัยธานี (3) กาญจนบุรี (4) อุดรธานี
ตอบ 3 หน้า 7 ถํ้าตาด้วง อ.เมือง จ.กาญจนบุรี เป็นถํ้าที่พบหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นภาพเขียนสี ซึ่งแสดงขบวนแห่กลองมโหระทึก มีอายุประมาณ 2,000 – 2,500 ปี
2. ลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมทวารวดีคืออะไร
(1) นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท
(2) ใช้ภาษาสันสกฤต (3) รับวัฒนธรรมเขมร (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 13-14 ลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมทวารวดี คือ การนับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาท เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งรับผ่านมาจากมอญ แต่พุทธศาสนานิกายมหายานและศาสนาพราหมณ์ก็เป็น ที่ยอมรับด้วยแต่ไม่มากนัก โดยภาษาที่ใช้มีทั้งภาษามอญ สันสกฤต และบาลี ลักษณะตัวอักษร เป็นแบบอินเดียใต้ ทั้งนี้วัฒนธรรมทวารวดียังปรากฏอยู่ทั้งในเขตภาคเหนือ ภาคใต้ และ ภาคอีสานตอนบนของไทย ซึ่งนักวิชาการเชื่อว่าอิทธิพลของเขมรทั้งทางการเมืองและวัฒนธรรม ยังมาไม่ถึงแว่นแคว้นบริเวณนี้
3. ภาพสลักกองกำลัง “เสียมกุก” ปรากฏอยู่ที่ใด
(1) ปราสาทบายน ประเทศกัมพูชา (2) ปราสาทนครวัด ประเทศกัมพูชา
(3) วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ประเทศไทย (4) วัดพระศรีสรรเพชญ ประเทศไทย
ตอบ 2 หน้า 17 ภาพสลักนูนตํ่าที่ระเบียงปราสาทนครวัด ประเทศกัมพูชา เป็นภาพที่แสดงกองทัพ “สยกุก” หรือเสียมกุก ซึ่งเป็นกองกำลังส่วนหนึ่งในกองทัพของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1656 – 1693) แห่งกัมพูชา ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าพวกทหารเสียมเหล่านี้ถูกเกณฑ์ ไปจากบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา
4. กษัตริย์พระองค์แรกของกรุงสุโขทัยคือใคร
(1) พ่อขุนผาเมือง
(2) พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (3) พ่อขุนศรีนาวนำถม (4) พ่อขุนรามคำแหง
ตอบ 3 หน้า 23, (คำบรรยาย) หลักฐานสุโขทัยเท่าที่มีปรากฏ ได้กล่าวถึงกษัตริย์พระองค์แรกของกรุงสุโขทัย คือ พ่อขุนศรีนาวนำถม ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพ่อขุนผาเมือง ผู้ปกครองเมืองราด ส่วนกษัตริย์สุโขทัยพระองค์ต่อมา คือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ หรือมีพระนามเดิมว่า พ่อขุนบางกลางหาว ซึ่งเป็นพระสหายของพ่อขุนผาเมือง
5. ราชวงศ์ลาวจก สถาปนาอาณาจักรใด
(1) หริภุญไชย
(2) หิรัญนครเงินยาง (3) นครศรีธรรมราช (4) ทวารวดี
ตอบ 2 หน้า 20 แคว้นเงินยางเชียงแสน หรือหิรัญนครเงินยาง สถาปนาขึ้นโดยราชวงศ์ลาวจกในพุทธศตวรรษที่ 17 ซึ่งในสมัยของพระยาเจื๋อง ขอบข่ายของแคว้นเงินยางได้ขยายขึ้นไป ถึงสิบสองปันนา หลวงพระบาง และเวียงจันทน์ ต่อมาลูกหลานของพระยาเจื๋องได้ปกครอง อีก 4 – 5 คน ก็ถึงสมัยของพระยามังราย
6. ข้อใดคือความหมายของผู้นำที่มีฤทธิ์อำนาจของชุมชนไทในบริเวณภาคใต้ของจีน
(1) ผู้นำที่เป็นองค์อวตารของเทพเจ้า
(2) ผู้นำที่อ้างว่ามีความสัมพันธ์กับอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่ชุมชนนับถือ
(3) ผู้นำที่เป็นพระจักรพรรดิราช (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 80-81 ลักษณะผู้นำของชุมชนไทใบบริเวณภาคใต้ของจีนประการหนึ่ง คือ ผู้นำจะ อ้างที่มาจากสวรรค์ และยังอ้างว่ามีความสัมพันธ์กับอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชุมชนนับถือ เช่น สามารถติดต่อกับวิญญาณของอดีตผู้นำคนก่อนๆ ได้ ซึ่งนักวิชาการจะเรียกผู้นำในลักษณะนี้ว่า “ผู้นำที่มีฤทธิ์อำนาจ” (Bi§ Men or Men of Prowess) และเมื่อผู้นำนี้ตายไปก็จะได้รับ การนับถือบูชาว่าเป็นบรรพบุรุษคนหนึ่งด้วย
7. หลักการเรื่องผู้นำที่เป็นมหาชนสมมุติ ปรากฏในหลักฐานใด
(1) ไตรภูมิพระร่วง (2) พระไตรปิฎก ตอนอัคคัญสูตร
(3) ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ (4) ศิลาจารึกหลักที่ 1
ตอบ 2 หน้า 92 ผู้นำที่ดีควรเป็น “มหาชนสมมุติ” เป็นหลักการของพุทธคาสนาที่ปรากฏอยูในพระไตรปิฎก ตอนอัคคัญสูตร ซึ่งได้กล่าวถึงผู้นำที่ดีว่า ผู้นำหรือกษัตริย์ควรเป็นมนุษย์เหมือน ประชาชนมิใช่เทพเจ้า โดยต้องเป็นมนุษย์ที่ได้รับการยอมรับและเลือกสรรจากประชาชน ให้เป็นผู้นำ เพราะมีคุณธรรมสูงกว่าผู้อื่น จึงจะเรียกว่าเป็นมหาชนสมมุติ
8. พระจักรพรรดิราชหรือจักรวาทิน มีคุณสมบัติอย่างไร
(1) มีพระบรมเดชานุภาพจากชัยชนะในสงคราม (2) มีพระราชฐานะต่ำกว่า “มหาชนสมมุติ”
(3) ได้ปฏิบัติธรรมสั่งสมบารมีจนเต็มเปี่ยม (4) มีคุณสมบัติตรงตามศาสนาพราหมณ์กำหนด
ตอบ 3 หน้า 93 พระไตรปิฎกในส่วนสุตตันตปิฎก จักกวัติสูตร ได้ระบุว่า ผู้นำที่มีคุณสมบัติเป็นเลิศ จะได้รับการยกย่องว่าเป็นพระจักรพรรดิราชหรือจักรวาทิน ซึ่งหมายถึง กษัตริย์แห่งจักรวาล หรือพระราชาที่ยิ่งใหญ่กว่าพระราชาทั้งปวง โดยคุณสมบัติของผู้ที่จะได้เป็นพระจักรพรรดิราช ก็คือ ต้องเป็นผู้ที่ได้ปฏิบัติธรรมสั่งสมบารมีมาเต็มเปี่ยม
9. ลักษณะของสถาบันกษัตริย์ล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 มีส่วนที่แตกต่างจากสถาบันกษัตริย์สุโขทัย คือ
(1) ไม่เน้นความสูงส่งของพระจักรพรรดิราช (2) ไม่อ้างบทบาทของผู้ปกครองดุจดังพระโพธิสัตว์
(3) ไม่มีการใช้ราชาศัพท์กับกษัตริย์ (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 98 ลักษณะของสถาบันกษัตริย์ล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 จะมีส่วนที่แตกต่าง จากสถาบันกษัตริย์สุโขทัย คือ ไม่มีการเน้นความสูงส่งของพระจักรพรรดิราช หรือไม่มีการ อ้างบทบาทของผู้ปกครองดุจดังพระโพธิสัตว์ และไม่มีการใช้คำราชาศัพท์กับกษัตริย์เหมือนดังทางสุโขทัย ส่วนหลักการของธรรมราชาอื่น ๆ นั้น ทางล้านนาก็ใช้คล้ายคลึงกับสุโขทัย เช่น การเน้นความสำคัญของหลักทคพิธราชธรรม การทำสงครามธรรมยุทธ ฯลฯ
10. ข้อใดถูกเกี่ยวกับสมัยสุโขทัย
(1) ไม่ปรากฏอิทธิพลลัทธิเทวราชาในสมัยสุโขทัย
(2) สุโขทัยนำลัทธิเทวราชาเต็มรูปแบบมาใช้
(3) สุโขทัยนำลัทธิเทวราชามาใช้ในยามที่อาณาจักรแตกแยก หรือมีการแย่งชิงอำนาจ
(4) ลัทธิเทวราชามีความสำคัญที่สุดในสมัยสุโขทัย
ตอบ2 หน้า 100 สถาบันกษัตริย์สุโขทัยในสมัยพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา คงมีการนำคติบางอย่าง ของลัทธิเทวราชามาใช้ แต่อาจใช้ไม่เต็มรูปแบบหรือตลอดเวลา เช่น อาจนำลัทธิเทวราชามาใช้ ในยามที่อาณาจักรแตกแยกและต้องรวบรวมดินแดนขึ้นใหม่ หรือใช้ในยามที่มีการทำรัฐประหาร แย่งชิงอำนาจกษัตริย์พระองค์ก่อน
11. ข้อใดหมายถึงการปกครองแบบทหาร
(1) ข้าราชการและประชาชนทุกคนต้องออกรบได้ยามมีศึก
(2) ข้าราชการและประชาชนทุกคนต้องเป็นทหารทั้งในยามสงบและสงคราม
(3) สมุหกลาโหมมีอำนาจสูงสุด
(4) ใช้การปกครองแบบเข้มงวดและเด็ดขาด
ตอบ 1 หน้า 102 การปกครองแบบทหาร หมายถึง ลักษณะการปกครองที่ข้าราชการและประชาชนทุกคนต้องออกรบได้ยามมีศึกสงคราม ซึ่งถือเป็นประเพณีการปกครองของชุมชนไทยมาแต่ดั้งเดิม โดยมีรากฐานมาจากประชากรของชุมชนยังมีจำนวนจำกัด ไม่เพียงพอที่จะจัดแบ่งออกเป็น ทหารประจำการและพลเรือนได้
12. ข้อใดคือจุดมุ่งหมายของกฎมณเฑียรบาล
(1) เป็นระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(2) เป็นการจัดทำเนียบศักดินา
(3) เป็นหมวดหนึ่งของกฎหมายตราสามดวง
(4) เพื่อกำหนดหลักปฏิบัติที่บุคคลทั้งหลายต้องกระทำต่อพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์
ตอบ 4 หน้า 124 กฎหมายสำคัญที่รองรับสถานะอันสูงส่งดุจเทวะของพระมหากษัตริย์อยุธยาก็คือ “กฎมณเฑียรบาล” ที่ตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งถือเป็นเอกสารฉบับแรกที่บันทึกเกี่ยวกับสถานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์อยุธยาลงไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดหลักปฏิบัติที่บุคคลทั้งหลายต้องกระทำต่อพระมหากษัตริย์และพระราชวงค์ จึงถือเป็นหลักฐานที่แสดงถึงการเป็นเทวราชาของกษัตริย์อยุธยาได้อย่างดี
13. พระราชพิธีใดที่ข้าราชการต้องทำความเคารพพระเชษฐบิดรก่อนพระรัตนตรัย
(1) พระราชพิธีบรมราชาภิเษก (2) พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
(3) พระราชพีธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (4) พระราชพิธิฟันนา
ตอบ 2 หน้กํ 126, 140 ในสมัยอยุธยา พระมหากษัตริย์ทรงถือว่าอยู่ในสถานะที่สูงกว่าพระรัตนตรัย ดังหลักฐานจากพระราชพิธีถือนํ้าพระพิพัฒน์สัตยาที่กำหนดให้ข้าราชการต้องถวายสักการะ หรือทำความเคารพพระเชษฐบิดรก่อนพระรัตนตรัย (พระเชษฐบิดร คือ เทวรูปของสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง และถือว่าเป็นสัญลักษณ์แทนพระมหากษัตริย์ที่สวรรคตไปแล้วทุกพระองค์)โดยจะต้องกระทำปีละ 2 ครั้ง
14. ข้อใดถูกต้อง
(1) พระราชศาสตร์ คือ พระราชกำหนดหรือพระราชบัญญัติ
(2) ราชศาสตร์ยกเลิกไม่ได้ (3) ธรรมศาสตร์เป็นหมวดหนึ่งของราชศาสตร์
(4) กฎหมายธรรมศาสตร์สามารถครอบคลุมกรณีพิพาทที่เกิดขึ้นในอาณาจักรอยุธยาได้ทั้งหมด
ตอบ1 หน้า 134 – 135 กฎหมายที่ใช้ตัดสินคดีในสมัยอยุธยา ได้แก่ พระธรรมศาสตร์และพระราชศาสตร์ ซึ่งมีลักษณะดังนี้
1. พระธรรมศาสตร์เป็นกฎหมายหลักอันศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญที่สุด และยกเลิกไม่ได้
2. พระธรรมศาสตร์ไม่สามารถครอบคลุมกรณีพิพาทที่เกิดขึ้นในอาณาจักรอยุธยาได้ทั้งหมด
3. พระราชศาสตร์ คือ พระราชกำหนดหรือพระราชบัญญัติ ซึ่งเป็นสาขาคดีของพระธรรมศาสตร์
4. กษัตริย์ทรงเป็นผู้ตราพระราชศาสตร์ เพื่อใช้ในกรณีที่มิได้มีข้อตัดสินระบุไว้ในพระธรรมศาสตร์
5. พระราชศาสตร์อาจถูกยกเลิกโดยกษัตริย์ในรัชกาลต่อ ๆ ไปได้ ฯลฯ
15. ข้อใดคือนโยบายการปฏิรูประบบราชการของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
(1) แบ่งงานบริหารออกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือน (2) แบ่งการปกครองออกเป็นภูมิภาค
(3) กระจายอำนาจออกจากศูนย์กลาง (4) จัดตั้งเมืองลูกหลวงในเขตเมืองชั้นใน
ตอบ 1 หน้า 148 นโยบายการปฏิรูประบบบริหารราชการของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีดังนี้
1. แบ่งแยกงานบริหารออกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือน รวมทั้งตั้งกรมสำคัญขึ้นใหม่ 2 กรม คือ กรมกลาโหมทำหน้าที่ดูแลฝ่ายทหาร และกรมมหาดไทยทำหน้าที่ดูแลฝ่ายพลเรือน
2. จัดการปกครองในรูปรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง และยกเลิกระบบเมืองลูกหลวง (แต่มิได้ ยกเลิกเด็ดขาด) โดยจัดให้เขตเมืองชั้นในเป็นเขตมณฑลราชธานี ซึ่งเมืองหลวงเข้าไป ควบคุมโดยตรง
16. เหตุใดการแบ่งงานตามลักษณะหน้าที่ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงไม่สมบูรณ์
(1) กรมใหญ่มีงานในความรับผิดชอบหลายประเภท
(2) เวลาเกิดศึกสงคราม ข้าราชการทุกกรมกองต้องออกไปรบได้เหมือนกันหมด
(3) กรมที่มีลักษณะงานเป็นแบบทหารถูกจัดไว้ฝ่ายพลเรือน
(4) ถูกทุกข้อ ตอบ 4 หน้า 155 – 156 สาเหตุที่ทำให้ระบบแบ่งงานตามลักษณะหน้าที่เฉพาะอย่างในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถไม่สมบูรณ์ มีดังนี้
1. กรมใหญ่ เช่น กรมพระคลังมีงานในความรับผิดชอบหลายประเภทในเวลาเดียวกัน
2. เวลาเกิดศึกสงคราม ข้าราชการทุกกรมกองต้องออกไปรบได้เหมือนกันหมดถ้าได้รับคำสั่ง
3. กรมที่มีลักษณะงานเป็นแบบทหารถูกจัดไว้ในฝ่ายพลเรือน ส่วนกรมที่มีลักษณะงาน เป็นพลเรือนกลับถูกจัดไว้ในฝ่ายทหาร
17. การเปลี่ยนแปลงระบบบริหารราชการส่วนกลางในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีลักษณะแบบใด
(1) แบ่งงานตามหน้าที่โดยเคร่งครัด (2) ยกเลิกกรมสำคัญ 6 กรม
(3) แบ่งหน้าที่บริหารราชการออกเป็นภูมิภาค (4) กระจายอำนาจออกจากศูนย์กลาง
ตอบ 3 หน้า 157 – 158 การเปลี่ยนแปลงระบบบริหารราชการส่วนกลางในสมัยอยุธยาตอนปลาย คือ ระบบแบ่งงานตามหน้าที่เฉพาะอย่าง (Functional Basis) ออกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือน สลายไป กลายเป็นระบบแบ่งหน้าที่บริหารราชการออกเป็นส่วนภูมิภาคหรือเขตแดน (Territorial Basis) แทน ดังนี้
1. กรมกลาโหมปกครองทหารและพลเรือนในหัวเมืองภาคใต้
2. กรมมหาดไทยปกครองทหารและพลเรือนในหัวเมืองภาคเหนือ
3. กรมพระคลังปกครองทหารและพลเรือนในหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก
18. เขตมณฑลราชธานี จัดตั้งขึ้นในรัชกาลใด
(1) สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (2) สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
(3) สมเด็จพระนเรศวร (4) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 15. ประกอบ
19. ข้อใดไม่ใช่แนวทางการปกครองแบบธรรมราชา
(1) กษัตริย์ต้องเป็นผู้บวงสรวงผีบรรพบุรุษ
(2) ผู้น้ำที่ดีควรเป็นมหาชนสมมุติ
(3) กษัตริย์ต้องปกครองตามหลักธรรมสำหรับพผู้ปกครอง
(4) กษัตริย์ต้องบำรุงประชาชนให้อยู่ดีกินดี
ตอบ 1 หน้า 92 – 95 แนวทางการปกครองแบบธรรมราชา ซึ่งเป็นอุดมการณ์การปกครอง ตามหลักพุทธศาสนา มีดังนี้
1. ผู้นำที่ดีควรเป็นมหาชนสมมุติ (ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ)
2. ผู้นำที่มีคุณสมบัติเป็นเลิศจะได้รับยกย่องเป็นพระจักรพรรดิราชหริอจักรวาทิน (ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ)
3. ผู้นำหรือกษัตริย์ต้องปกครองตามหลักธรรมสำหรับผู้ปกครอง และต้องเอาใจใส่ทำนุบำรุง ประชาชนให้อยู่ดีกินดี มิให้ถูกกดขี่ข่มเหง ฯลฯ
20. ข้อใดที่แสดงว่าพระมหากษัตริย์ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ยึดอุดมการณ์ธรรมราชา
(1) การตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรม (2) การสังคายนาพระไตรปิฎก
(3) การลดเวลาเกณฑ์แรงงานราษฎร (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 183 – 186 พระมหากษัตริย์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นทรงยึดอุดมการณ์ธรรมราชา เป็นหลักสำคัญที่สุด โดยมีแนวทางดังนี้
1. ทรงตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรม ซึ่งมิได้เกียวกับราชการบ้านเมืองโดยตรงแต่อย่างใด
2. ทรงส่งเสริมพระพุทธศาสนา โดยการสังคายนาพระไตรปิฎก ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามและ พระพุทธรูปจำนวนมาก
3. ทรงปกป้องคุ้มครองประชาชน โดยการลดเวลาเกณฑ์แรงงานราษฎร และดูแลมิให้มูลนาย ข่มเหงรังแกราษฎร ฯลฯ
21. ข้อใดคือลักษณะสำคัญของสถาบันกษัตริย์ในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย
(1) ลักษณะเทวราชามีความสำคัญมากขึ้น (2) ลดความเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์
(3) ลดความสำคัญในเรื่องผู้นำที่มีบารมีสูง (4) เน้นคติธรรมราชาและพ่อปกครองลูก
ตอบ 4 หน้า 197, 202 – 204 ลักษณะสำคัญของสถาบันกษัตริย์ในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย มีดังนี้
1. การเน้นคติธรรมราชาและพ่อปกครองลูก
2. ความเชื่อในเรื่องบารมีของพระมหากษัตริย์ยังคงมีอยู่
3. ความเสื่อมของลักษณะเทวราชา
4. ความเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างสมบูรณ์
22. ราชกิจจานุเบกษามีการพิมพ์เผยแพร่ในสมัยรัชกาลใด
(1) รัชกาลที่ 4 (2) รัชกาลที่ 5 (3) รัชกาลที่ 6 (4) รัชกาลที่ 7
ตอบ 1 หน้า 199 – 200 รัชกาลที่ 4 ทรงจัดพิมพ์หนังสือทางราชการออกเผยแพร่เป็นรายสัปดาห์ เรียกว่า “ราชกิจจานุเบกษา” โดยได้ความคิดและแบบอย่างมาจากตะวันตก ทั้งนี้เพื่อให้ข้อมูลแก่ประชาชนเกี่ยวกับประกาศราชการและกฎหมายต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และ ปิดหนทางที่ขุนนางจะทำดวงตราปลอมเพื่ออ้างรับสั่งกับราษฎร
23. ข้อใดคือผลงานสำคัญในการปฏิรูประบบบริหารส่วนกลางในระยะแรก
(1) การจัดตั้งกระทรวงแบบใหม่ 12 กระทรวง (2) ระบบทาสถูกยกเลิกโดยเด็ดขาด
(3) มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน 2 สภา (4) มีการปฏิรูประบบการศาลอย่างแท้จริง
ตอบ 3 หน้า 227 – 228 รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูประบบบริหารส่วนกลางในระยะแรก (พ.ศ. 2417 – 2418) โดยมีผลงานที่สำคัญ คือ การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินขึ้นมา 2 สภา ได้แก่
1. สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (State Council or Council of State)
2. สภาองคมนตรี (Privy Council)
24. เมื่อรัชกาลที่ 5 เสด็จขึ้นปกครองประเทศด้วยพระองค์เอง ทรงปฏิรูปประเทศด้านใดเป็นอันดับแรก
(1) การคลัง (2) การปกครอง (3) การบริหารราชการ (4) สังคม
ตอบ 1 หน้า 205 เมื่อรัชกาลที่ 5 เสด็จขึ้นปกครองประเทศด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงเร่งปฏิรูปประเทศ ด้านการคลังก่อนด้านอื่นเป็นอันดับแรก จากนั้นการปฏิรูประบบบริหารราชการและระบบสังคม ก็ตามมา เพื่อสร้างความมั่นคงเข้มแข็งให้แก่อาณาจักรไทยในช่วงที่จักรวรรดินิยมตะวันตก กำลังมีความรุนแรงถึงขีดสุด ซึ่งส่งผลให้อำนาจบริหารมารวมศูนย์ที่องค์พระมหากษัตริย์มากขึ้น
25. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับระบบมณฑลเทศาภิบาล
(1) จัดตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 (2) เป็นการบริหารราชการส่วนภูมิภาค
(3) ได้รับแนวทางจากการปกครองของฝรั่งเศสที่ปกครองอินโดจีน
(4) เป็นระบบที่เมืองหลวงสามารถควบคุมบริเวณทั้งหมดของอาณาจักรและประเทศราชได้อย่างทั่วถึง
ตอบ 3 หน้า 56, 234 – 236 ระบบมณฑลเทศาภิบาลที่จัดตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 มีลักษณะดังนี้
1. เป็นการบริหารราชการส่วนภูมิภาคแบบรวมศูนย์อำนาจ เพื่อให้เมืองหลวงควบคุมบริเวณ ทั้งหมดของอาณาจักรและเขตประเทศราชได้อย่างทั่วถึง
2. ได้รับแนวทางจากการปกครองของอังกฤษในพม่าและมลายู
3. ข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นคนในสังกัดกระทรวงมหาดไทยในกรุงเทพฯ ที่ได้รับแต่งตั้งโดยตรง ออกไปจากเมืองหลวง
4. ระบบมณฑลเทศาภิบาลจัดตั้งตามความพร้อมในแต่ละภูมิภาค มิได้จัดทีเดียวทั่วประเทศ
5. ผลสำเร็จในการปฏิรูปทำให้ประเทศไทยสามารถผนวกดินแดนในเขตชั้นนอกและเขต ประเทศราชให้เป็นปึกแผ่นอันหนึ่งอันเดียวกับส่วนกลางในลักษณะรัฐประชาชาติ (National state) ได้สำเร็จ
26. ข้อใดคืออุปสรรคที่ทำให้การปฏิรูปราชการแผ่นดินในช่วงแรกของรัชกาลที่ 5 ต้องหยุดชะงัก
(1) การขัดขวางจากพวกอนุรักษนิยม (2) การแทรกแซงของมหาอำนาจตะวันตก
(3) การขาดประสบการณ์ของกลุ่มสยามหนุ่ม (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 227 – 229 อุปสรรคที่ทำให้การปฏิรูปราชการแผนดินในระยะแรกของรัชกาลที่ 5 ต้องหยุดชะงักลง ได้แก่
1. การขัดขวางจากฝ่ายอนุรักษนิยมทั้งในลักษณะของการดื้อแพ่งและการต่อต้านด้วยกำลังอาวุธ
2. การแทรกแซงของมหาอำนาจตะวันตก
3. การขาดประสบการณ์ของกลุ่มสยามหนุ่ม โดยเฉพาะบรรดาสมาชิกสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ซึ่งยังไม่คุ้นเคยกับการแสดงความคิดเห็น และยังเกรงกลัวต่ออิทธิพลของฝ่ายอนุรักษนิยมอยู่
27. ผลสำเร็จในการปฏิรูประบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคในสมัยรัชกาลที่ 5 เกิดจากข้อใด
(1) การใช้ระบบ “กินเมือง” (2) การเพิ่มอำนาจให้เมืองประเทศราช
(3) การจัดตั้งระบบมณฑลเทศาภิบาล (4) การฟื้นฟูระบบเมืองลูกหลวง
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ
28. ช่องทางที่สำคัญที่สุดในการเผยแพร่อุดมการณ์ตะวันตกเข้าสู่คนไทยคือข้อใด
(1) การขยายตัวทางการศึกษาแผนใหม่ (2) การจัดทำราชกิจจานุเบกษา
(3) การจัดทำหนังสือพิมพ์ (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 239 – 240 ช่องทางที่สำคัญที่สุดในการเผยแพร่อุดมการณ์ตะวันตกเข้าสู่คนไทย คือ การขยายตัวทางการศึกษาแผนใหม่ ซึ่งเริ่มอย่างจริงจังในสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะเมื่อผู้มีการศึกษาดี และมีสำนึกทางการเมืองสูงเข้าสู่ระบบราชการแล้ว บุคคลเหล่านี้ก็ต้องการพัฒนาประเทศ ให้เจริญตามแบบตะวันตก จึงพยายามล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เนื่องจากเชื่อมั่นว่า ระบอบประชาธิปไตยจะนำมาซึ่งความเจริญของประเทศ
29. ข้อใดคือยุคทองของหนังสือพิมพ์ในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย
(1) สมัยรัชกาลที่ 4 (2) สมัยรัชกาลที่ 5 (3) สมัยรัชกาลที่ 6 (4) สมัยรัชกาลที่ 7
ตอบ 3 หน้า 240 หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ ดร.บรัดเลย์ได้จัดพิมพ์ หนังสือพิมพ์ “Bangkok Recorder” ขึ้นในปี พ.ศ. 2387 หลังจากนั้นในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ซึ่งเริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ก็มีผู้จัดทำหนังสือพิมพ์เรื่อยมาจนถึงยุคทองของหนังสือพิมพ์ ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทำให้ข่าวสารทางการเมืองเริ่มเป็นที่น่าสนใจของประชาชนมากขึ้น
30. ขบถผู้มีบุญ คือ การต่อต้านอำนาจส่วนกลาง เกิดขึ้นในมณฑลใด
(1) พายัพ (2) อีสาน (3) ภูเก็ต (4) ปัตตานี
ตอบ 2 หน้า 236 – 237 การปฏิรูปส่วนภูมิภาคในสมัยรัชกาลที่ 5 ต้องเผชิญกับปัญหาการต่อต้าน อำนาจส่วนกลางจากฝ่ายอนุรักษนิยมในหัวเมือง ซึ่งได้แก่ พวกเจ้าเมืองและเจ้าประเทศราชเดิม โดยการต่อต้านจะเกิดขึ้นทั้งในมณฑลอีสาน พายัพ และปัตตานี ดังนี้
1. ในมณฑลอีสานเกิด “ขบถผีบุญ หรือขบถผู้มีบุญ” ขึ้นในปลายปี พ.ศ. 2444
2. ในมณฑลพายัพหรือภาคเหนือเกิด “ขบถเงี้ยวเมืองแพร่” ขึ้นในปี พ.ศ. 2445
3. ในมณฑลปัตตานีเกิด “ขบถพระยาแขกเจ็ดหัวเมือง” ขึ้นในปลายปี พ.ศ. 2444
31. เมืองสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่นํ้าใด
(1) เจ้าพระยา (2) ปิง (3) ยม (4) น่าน
ตอบ 3 หน้า 23 – 24. (คำบรรยาย) บริเวณที่ตั้งของอาณาจักรสุโขทัยอยู่ในเขตภาคกลางตอนบนของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยเมืองสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่บบที่ราบลุ่มแม่น้ำยม ซึ่งอยู่ ทางด้านทิศตะวันออกของตัวเมือง และมีศูนย์กลางของชุมชนเมื่อแรกตั้งอยู่ที่เมืองเก่าสุโขทัย บริเวณวัดพระพายหลวง หลังจากนั้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงจึงย้ายศูนย์กลางของราชธานี มาอยู่ในตัวเมืองสุโขทัยปัจจุบัน บริเวณวัดมหาธาตุ
32. ชุมชนแห่งแรกของสุโขทัย มีศูนย์กลางอยู่ที่วัดใด
(1) วัดพระพายหลวง (2) วัดมหาธาตุ (3) วัดศรีสวาย (4) วัดศรีชุม
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 31. ประกอบ
33. “เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้มีกุฎีพิหาร ปู่ครูอยู่ มีสรีดภงส์…” ถามว่าเบื้องหัวนอนในศิลาจารึกหลักที่ 1 นี้ หมายถึงทิศใด
(1) ทิศตะวันออก (2) ทิศตะวันตก (3) ทิศเหนือ (4) ทิศใต้
ตอบ 4 หน้า 589, (คำบรรยาย) ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 หรือจารึกพ่อขุนรามคำแหง ได้กล่าวถึงทิศทั้ง 4 ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างจากปัจจฺบัน กล่าวคือ เบื้องต้นนอน (ทิศเหนือ), เบื้องหัวนอน (ทิศใต้), เบื้องตะวันออก (ทิศตะวันออก) และเบื้องตะวันตก (ทิศตะวันตก)
34. “ผู้ปกครองที่อธรรม เบียดเบียนประชาชน กินสินบนจากลูกความ ตายไปต้องตกนรก หรือเกิดเป็นเปรต ได้รับความทรมานอย่างมาก” เป็นข้อความที่ปรากฏอยู่ในเอกสารใด
(1) ไตรภูมิพระร่วง (2) มังรายศาสตร์ (3) มหาชาติคำหลวง (4) กฎหมายตราสามดวง
ตอบ 1 หน้า 277 หนังสือเรื่องไตรภูมิกถาหรือไตรภูมิพระร่วง ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระราชนิพนธ์ของพระมหาธรรมราชาลิไทย ได้มีการปลูกฝังความเชื่อว่าลูกเจ้าลูกขุนที่เป็นขุนธรรมย่อมมีผลให้ ดินฟ้าอากาศเป็นปกติตามฤดูกาล และย่อมเป็นที่รักของเทวดา ส่วนผู้ปกครองที่อธรรม เบียดเบียนประชาชน กินสินบนจากลูกความ ตายไปต้องตกนรก หรือเกิดเป็นเปรต ได้รับความทรมานอย่างมาก
35. ข้อใดถูกต้องในอาณาจักรสุโขทัย
(1) ไพร่มีจำนวนน้อยกว่ากลุ่มอื่น (2) ไพร่มีจำนวนมากเกินความต้องการของรัฐ
(3) ประชากรมีจำนวนจำกัด (4) ไม่มีทาสวัด
ตอบ 3 หน้า 270 – 271, 281, 289 – 290, 293, (คำบรรยาย) สังคมไทยสมัยอาณาจักรสุโขทัย และล้านนาในพุทธศตวรรษที่ 19 – 21 จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันมากที่สุด ดังนี้
1. จำนวนของประชากรมีจำกัด 2. มีการแบ่งลักษณะชนชั้นแบบไม่ถาวร
3. ประชากรส่วนใหญ่เป็นชนชั้นไพร่หรือสามัญชน ซึ่งถือเป็นชนชั้นที่มีจำนวนมากที่สุด แต่ก็ยังมีจำนวนที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการแรงงานของรัฐ
4. เป็นสังคมที่มีข้าหรือทาส ซึ่งจัดเป็นชนชั้นตํ่าสุดของสังคม ได้แก่ ทาสเชลย ทาสวัดหรือ ข้าพระอาราม ฯลฯ
5. มีการจัดระเบียบและควบคุมสังคมด้วยการกำหนดความสัมพันธ์แบบผู้อุปถัมภ์-บริวาร (Patron-client Relationship) ฯลฯ
36. พระราชนิพนธ์ของพญาลิไทยเรื่องไตรภูมิพระร่วง สะท้อนให้เห็นความสามารถของลูกเจ้าลูกขุนในด้านใด
(1) ด้านการปกครองและสงคราม (2) ด้านการปกครองและอักษรศาสตร์
(3) ด้านการปกครองและด้านศาสนา (4) ด้านอักษรศาสตร์และด้านศาสนา
ตอบ 4 หน้า 96, 105, 272, 584, (คำบรรยาย) หนังสือเรื่องไตรภูมิกถาหรือไตรภูมิพระร่วงของพระมหาธรรมราชาลิไทย (พญาลิไทย) ได้สะท้อนให้เห็นความสามารถของลูกเจ้าลูกขุนในด้าน อักษรศาสตร์และด้านศาสนา เพราะพระราชนิพนธ์เรื่องนี้ถือเป็นผลงานสำคัญทางอักษรศาสตร์ และยังมีเนื้อหาเป็นคัมภีร์ทางพุทธศาสนาโดยตรง จึงถือเป็นหลักฐานที่ทำให้รู้ถึงความเจริญรุ่งเรือง ของพระพุทธศาสนาในกรุงสุโขทัยได้เป็นอย่างดี
37. หน้าที่ในการสร้างป้อม กำแพงเมือง คูเมือง บ่อนํ้า อ่างเก็บนํ้า เป็นหน้าที่ของชนกลุ่มใด
(1) ลูกเจ้าลูกขุน (2) ขุนนางชั้นผู้น้อย (3) ไพร่ (4) ทาส
ตอบ 3 หน้า 283 – 285, (คำบรรยาย) ไพร่ในสมัยสุโขทัยมีหน้าที่ให้แรงงานกับรัฐทั้งในด้านการสงคราม และการก่อสร้างนานาประการ เช่น ป้อม กำแพงเมือง คูเมือง บ่อนา อ่างเก็บน้ำ วัดวาอาราม ถนนหนทางต่าง ๆ ฯลฯ นอกจากนี้ยังต้องให้แรงงานในด้านการเพาะปลูก และการทำอุตสาหกรรม แต่แรงงานก็มีอยู่อย่างจำกัด
38. ในศิลาจารึกสุโขทัยมีข้อความเกี่ยวกับไพร่อยู่หลายคำ ถามว่าไพร่ในข้อใดหมายถึงทาส
(1) ไพร่ฟ้าหน้าใส (2) ไพร่ฟ้าหน้าปก (3) ไพร่ไท (4) ไพร่ฟ้าข้าไท
ตอบ 4 หน้า 271, 289 – 290, (คำบรรยาย) ในศิลาจารึกสุโขทัย คำว่า “ไพร่” หมายถึง สามัญชน โดยทั่วๆ ไป ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ ส่วนสร้อยที่ต่อท้ายคำว่าไพร่จะมีความหมายเฉพาะตัว ที่บ่งบอกถึงลักษณะของไพร่ที่แตกต่างกันไป เช่น ไพร่ฟ้าหน้าใส/ไพร่ไท (ประชาชนทั่วไป),ไพร่ฟ้าหน้าปก (ประชาชนที่มีทุกข์ร้อน), ไพร่ฟ้าข้าไท (ทาส ซึ่งมีสถานะตํ่าสุดในสังคม) เป็นต้น
39. “เข้า 10 วัน ออก 10 วัน” เป็นการเกณฑ์แรงงานในสมัยใด
(1) สุโขทัย (2) ล้านนา (3) อยุธยา (4) รัตนโกสินทร์
ตอบ 2 หน้า 284 เอกสารของล้านนาได้ระบุถึงการเกณฑ์แรงงานไพรในสมัยล้านนาว่า รัฐบาลจะเกณฑ์แรงงานไพร่ 10 วัน และปล่อยไปทำไร่นาของตนได้ 10 วัน สลับกันไป เรียกว่า “เข้า 10 วัน ออก 10วัน” รวมแล้วจะเท่ากับถูกเกณฑ์แรงงาน6 เดือนใน 1 ปีซึ่งเท่ากับเวลาที่ไพร่ของ อาณาจักรอยุธยาถูกเกณฑ์เช่นกัน
40. สังคมสมัยใดที่มีความคล้ายคลึงกันมากที่สุด
(1) สุโขทัย-ล้านนา
(2) สุโขทัย-อยุธยา (3) ล้านนา-อยุธยา (4) สุโขทัย-รัตนโกสินทร์ตอนต้น
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 35. ประกอบ
41. ขุนนางในสมัยอยุธยาไม่มีสิทธิทำสิ่งใด
(1) เป็นเจ้าเมือง
(2) เป็นเสนาบดี (3) เข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ (4) ไปมาหาสู่กันอย่างเสรี
ตอบ 4 หน้า 310, 323 – 324, 326, 329, 332 พระมหากษัตริย์ทรงคานอำนาจขุนนางสมัยอยุธยา ดังนี้
1. กำหนดให้ความเป็นขุนนางอยู่ในพระราชอำนาจของกษัตริย์
2. กำหนดโครงสร้างของระบบราชการให้มีลักษณะลิดรอนอำนาจขุนนางมิให้รวมตัวกันได้
3. ตรากฎหมายควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของขุนนางไว้อย่างเข้มงวด
4. ควบคุมการเคลื่อนไหวของขุนนาง มิให้ขุนนางไปมาหาสู่กันเอง หรือไปติดต่อกับเจ้านาย อย่างเสรี ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นสิทธิของขุนนางในสมัยอยุธยา)
42. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับขุนนางสมัยอยุธยา
(1) รายได้สำคัญของขุนนาง คือ เงินเดือน (2) ขุนนางยกยศให้เป็นมรดกของลูกได้
(3) เจ้านายทุกองค์มีศักดินาสูงกว่าขุนนาง (4) ขุนนางมีศักดินาตั้งแต่ 400 ไร่ขึ้นไป ตอบ 4 หน้า 314, 322, 328 ข้อสังเกตเกี่ยวกับความสูงศักดิ์ของขุนนางในสมัยอยุธยา มีดังนี้
1. ขุนนางต้องมีศักดินาตั้งแต่400ไร่ขึ้นไปส่วนข้าราชการที่มีศักดินาต่ำกว่า400ไร่ จะเป็นเพียงขุนหมื่น
2. ยศ ราชทินนาม ตำแหน่ง และศักดินา มิใช่ของสืบตระกูลจะยกเป็นมรดกต่อไปให้ลูกหลานมิได้
3. ไม่สามารถกล่าวได้ว่าเจ้านายเป็นกลุ่มที่มีความสูงศักดิ์หรือมีศักดินาสูงกว่าขุนนาง
4. ขุนนางสมัยอยุธยาไม่มีเงินเดือน แต่มีรายได้หลักจากการกินตำแหน่งและกินเมือง ฯลฯ
43. การเป็นเจ้านายในสมัยอยุธยากำหนดไว้กี่ชั่วคน
(1) 2 ชั่วคน (2) 3 ชั่วคน (3) 4 ชั่วคน (4) ตลอดชีพ
ตอบ 2 หน้า 141, 305, 308, 313 – 314 พระมหากษัตริย์อยุธยาทรงควบคุมอำนาจของเจ้านาย ดังนี้
1. กำหนดความสูงศักดิ์ของเจ้านายให้มีอยู่เพียง 3 ชั่วอายุคน และลดความสูงศักดิ์ของเจ้านายลง ทุกชั่วอายุคน
2. ลิดรอนอำนาจเจ้านายไม่ให้มีมากเกินไป เช่น ไม่ให้เจ้านายดำรงตำแหน่งเสนาบดี และเจ้าเมือง
3. ให้เจ้านายอยู่ในเมืองหลวงและปกครองกรมย่อย ๆ
4. ให้เจ้านายเป็นมูลนายบังคับบัญขาไพร่สม แต่มีการควบคุมจำนวนไพร่สมไม่ให้มีมากเกินไป
5. ออกกฎหมายควบคุมการเคลื่อนไหวของเจ้านาย ฯลฯ
44. กษัตริย์อยุธยาทรงควบคุมอำนาจเจ้านายอย่างไร
(1) ไม่ยอมให้เจ้านายได้ปกครองกรม (2) ไม่ยอมให้เจ้านายเป็นมูลนายของไพร่
(3) ไม่ยอมให้เจ้านายอยู่ในเมืองหลวง (4) ไม่ยอมให้เจ้านายมีอำนาจมากเกินไป
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 43. ประกอบ
45. เจ้าพระยาจักรี เป็นยศและราชทินนามประจำกรมใด
(1) มหาดไทย (2) กลาโหม (3) คลัง (4) นครบาล
ตอบ 1 หน้า 150 – 152, 319 – 320, (คำบรรยาย) หน้าที่ในตำแหน่งของกรมกองต่าง ๆ จะมียศ และราชทินนามกำกับไว้โดยเฉพาะ ดังนี้
1. เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ฯ เป็นยศและราชทินนามของขุนนางกรมมหาดไทย
2. เจ้าพระยามหาเสนาบดีวิริยภักดีฯ เป็นยศและราชทินนามของขุนนางกรมกลาโหม
3. เจ้าพระยาพระคลัง หรือเจ้าพระยาโกษาธิบดี เป็นยศและราชทินนามของขุนนางกรมพระคลัง หรือโกษาธิบดี
4. พระยายมราชอินทราธิบดีฯ เป็นยศและราชเทินนามของขุนนางกรมเวียงหรือนครบาล ฯลฯ
46. ไพร่หลวงไม่มีสิทธิทำสิ่งใด
(1) ยกมรดกให้ลูก (2)แต่งงานกับไพร่สม (3) ย้ายไปเป็นไพร่สม (4)ถวายฎีกา
ตอบ 3 หน้า 339, 342, 345 กษัตริย์อยุธยาทรงมีนโยบายลดจำนวนไพร่สม เพื่อลิดรอนอำนาจของ เจ้านายที่เป็นมูลนายของไพร่สมส่วนใหญ่ และเพิ่มจำนวนไพร่หลวงเพื่อความมั่นคงของกษัตริย์ จึงมีการออกกฎหมายห้ามจดทะเบียนลูกหลานของไพร่หลวงย้ายไปเป็นไพร่สม ส่วนไพร่สม สามารถย้ายไปเป็นไพร่หลวงได้เสมอ แต่เนื่องจากสภาพความเป็นอยู่ของไพร่สมที่สุขสบายกว่า จึงส่งผลให้ไพร่หลวงนิยมหนีไปเป็นไพร่สม ทำให้การควบคุมจำนวนไพร่สมไม่ได้ผลนัก (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นสิทธิของไพร่หลวงในสมัยอยุธยา)
47. ผู้ใดมีศักดินาสูงสุดในสมัยอยุธยา
(1) พระเจ้าแผ่นดิน (2) วังหน้า (3) เจ้าพระยากลาโหม (4) เจ้าพระยาจักรี
ตอบ 2 หน้า 309, 357 กฎหมายอยุธยากำหนดให้ประชาชนทุกคนยกเว้นพระมหากษัตริย์ จะได้รับ พระราชทานศักดินาประจำตัวเป็นจำนวนเลขลดหลั่นกันไปตามยศและตำแหนง โดยผู้ที่มีศักดินา สูงสุดในสมัยอยุธยา คือ เจ้านายระดับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) มีศักดินา 100,000 ไร่ ส่วนผู้ที่มีศักดินาต่ำสุด คือ ยาจก วณิพก ทาส และลูกทาส มีศักดินา 5 ไร่
48. การกำหนดศักดินามีประโยชน์อย่างไร
(1) ใช้กำหนดความสูงศักดิ์ของบุคคล (2) ใช้กำหนดบทลงโทษของบุคคล
(3) ใช้กำหนดไพร่ในสังกัดของบุคคล (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 309, 359 – 360 ระบบศักดินามีประโยชน์ในการกำหนดฐานะบุคคลในทางสังคมและ กำหนดระเบียบในการปกครองด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. เป็นเครื่องมือกำหนดความสูงศักดิ์ของบุคคล อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคคลต่าง ๆ เพื่อจัดระเบียบของสังคม
2. เป็นเครื่องกำหนดบทลงโทษของบุคคลที่มีความผิด 3. เป็นเครื่องวัดและกำหนดไพร่พลในสังกัดของบุคคลที่เป็นมูลนาย 4. เป็นเครื่องกำหนดอภิสิทธิ์และสิทธิพิเศษบางอย่างให้แก่บุคคล
49. ทาสในสมัยอยุธยามีกี่ชนิด
(1) 3 ชนิด (2) 4 ชนิด (3) 5 ชนิด (4) 7 ชนิด
ตอบ 4 หน้า351 พระไอยการทาสในกฎหมายตราสามดวงได้กล่าวถึงทาสในสมัยอยุธยาไว้7ชนิด ได้แก่
1. ทาสที่ไถ่มาด้วยทรัพย์ (แบ่งย่อยออกได้เป็นทาสสินไถ่ประเภทขายขาด และขายฝาก)
2. ลูกทาสเกิดในเรือนเบี้ย (เด็กที่เกิดจากทาส) 3. ทาสที่ได้แต่บิดามารดา
4. ทาสที่มีผู้ยกให้ 5. ทาสที่ช่วยไว้ให้พ้นจากโทษปรับ
6. ทาสที่ได้เลี้ยงไว้ในยามข้าวยากหมากแพง 7. ทาสเชลย
50. “ข้อยมาเป็นข้า” เป็นทาสชนิดหนึ่งของล้านนา เทียบได้กับทาสชนิดใดของสมัยอยุธยา
(1) ทาสสินไถ่ (2) ทาสในเรือนเบี้ย (3) ทาสเชลย (4) ทาสที่ได้มาจากการช่วยให้พ้นโทษ
ตอบ 3 หน้า 290, 351, (คำบรรยาย) ข้าหรือทาสของล้านนามี 5 ชนิด คือ 1. ข้าที่ซื้อด้วยข้าวของ ซึ่งตรงกับทาสสินไถ่ของอยุธยา 2. ลูกช้าหญิง ซึ่งตรงกับทาสในเรือนเบี้ยของอยุธยา
3. มอบตัวเป็นข้า ซึ่งตรงกับทาสที่เลี้ยงไว้ในยามข้าวยากหมากแพงของอยุธยา
4. ฉิบหายด้วยความผิดจึงเข้าเป็นข้า ซึ่งตรงกับทาสที่ได้มาด้วยการช่วยให้พ้นโทษปรับของอยุธยา
5. ข้อยมาเป็นข้า ซึ่งตรงกับทาสเชลยของอยุธยา
51. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับไพร่สม
(1) กษัตริย์มีนโยบายลดจำนวนไพร่สม (2) กษัตริย์มีนโยบายเพิ่มจำนวนไพร่สม
(3) มีสภาพความเป็นอยู่ลำบากกว่าไพร่หลวง (4) นิยมหนีไปเป็นไพร่หลวง
ตอบ1 ดูคำอธิบายข้อ 46. ประกอบ
52. การสักข้อมือไพร่ เพื่อวัตถุประสงค์ใดเป็นสำคัญ
(1) เพื่อป้องกันไพร่หลบหนี
(2) เพื่อรู้ชื่อมูลนาย (3) เพื่อรู้จำนวนไพร่ (4) เพื่อรู้ภูมิลำเนาไพร่
ตอบ 1 หน้า 392, 417, (คำบรรยาย) การสักข้อมือไพร่เป็นตัวอักษรเริ่มทำขึ้นครั้งแรกตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินแห่งกรุงธนบุรี และใช้ต่อมาจนถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยได้กำหนดให้ สักข้อมือไพร่ไว้ที่ด้านใน ระบุชื่อมูลนายและชื่อเมืองอันเป็นภูมิลำเนาเพื่อป้องกันไพร่หลบหนี สับเปลี่ยนมูลนาย หรือหนีไปหลบซ่อนอยู่ต่างเมืองและตามป่าเขาอีก จึงเป็นทางป้องกันไม่ให้ ไพร่หลวงสูญหาย หรือไม่ให้ไพรหลวงหนีไปเป็นไพร่สมของมูลนายได้ง่ายอย่างแต่ก่อน
53. เหตุใดไพร่จึงถูกเกณฑ์แรงงานลดลงในสมัยรัตนโกสินทร์
(1) มีแรงงานชาวจีนเข้ามามาก (2) การเน้นการปกครองแบบธรรมราขา
(3) รัฐต้องการให้ไพร่มีเวลาปลูกข้าวมากขึ้น (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 416 – 424, (คำบรรยาย) ปัจจัยที่ทำให้ไพร่ถูกเกณฑ์แรงงานลดลงในสมัยรัตนโกสินทร์ จนกระทั่งมีการยกเลิกระบบไพร่อย่างสิ้นเชิงในสมัยรัชกาลที่ 5 มีดังนี้ 1. กษัตริย์เน้นอุดมการณ์ ปกครองแบบธรรมราชา 2. การคุกคามและการเผยแพร่แนวคิดของมหาอำนาจตะวันตก
3. การเปลี่ยนแปลงลักษณะเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้รัฐต้องการให้ไพร่มีเวลาปลูกข้าวมากขึ้น
4. มีกรรมกรชาวจีนเข้ามาเป็นแรงงานในไทยมากขึ้น
5. ภาวการณ์ทำสงครามและการถูกรุกรานโดยอาณาจักรใกล้เคียงกับไทยหมดไป
54. “สมเด็จเจ้าพระยา” เป็นยศสูงสุดของขุนนางในประวัติศาสตร์ไทย ถามว่าสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใด มีอำนาจมากที่สุด
(1) สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ (2) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์
(3) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (4) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
ตอบ 4 หน้า 405, (คำบรรยาย) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้รับสถาปนา เป็นสมเด็จเจ้าพระยาองค์ที่ 4 ซึ่งเป็นองค์สุดท้ายในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยตามประวัติท่านผู้นี้ เป็นบุตรชายของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิส บุนนาค หรือสมเด็จองค์ใหญ่) ต่อมาได้รับราชการเป็นสมุหกลาโหมในสมัยรัชกาลที่ 4 และเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงถือเป็นสมเด็จเจ้าพระยาองค์ที่มีอำนาจมากที่สุด
55. ข้อใดถูกต้องในสมัยรัตนโกสินทร์
(1) คณะเสนาบดีได้เลือกสรรพระมหากษัตริย์
(2) ขุนนางไม่นิยมส่งลูกหลานหญิงเข้ารับราชการฝ่ายใน
(3) ขุนนางไม่ได้ประโยชน์จากระบบภาษีนายอากรเลย
(4) ตำแหน่งสมเด็จเจ้าพระยากระจายไปให้แก่ขุนนางหลายตระกูล
ตอบ 1 หน้า 400 – 405 ปัจจัยที่ทำให้ขุนนางในสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีอำนาจเพิ่มมากขึ้น ได้แก่
1. ขุนนางมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระมหากษัตริย์ โดยนิยมส่งลูกหลานหญิงเข้ารับราชการฝ่ายใน ทำให้ขุนนางและพระราชวงศ์เกี่ยวดองเป็นญาติกัน
2. คณะเสนาบดีซึ่งส่วนใหญ่เป็นขุนนางได้เลือกสรรพระมหากษัตริย์
3. ขุนนางได้ประโยชน์จากระบบเจ้าภาษีนายอากร
4. ขุนนางตระกูลบุนนาคมีอำนาจโดดเด่นที่สุด โดยขุนนางตระกูลนี้ได้ดำรงยศสมเด็จเจ้าพระยา ทุกองค์ ซึ่งไม่มีขุนนางตระกูลอื่นใดได้ดำรงยศอันสูงสุดนี้เลย ฯลา
56. ในสมัยรัชกาลใดที่เปิดโอกาสให้ไพร่ได้เข้าถวายตัวเป็นขุนนางเป็นครั้งแรก เนื่องมาจากปัญหาขาดแคลนขุนนาง
(1) รัชกาลที่ 1 (2) รัชกาลที่ 2 (3) รัชกาลที่ 3 (4) รัชกาลที่ 4
ตอบ 1 หน้า 316, 408, (คำบรรยาย) ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การถวายตัวเป็น ขุนนางให้มาจากเชื้อสายไหนก็ได้ โดยไม่มีข้อขีดคั่นเรื่องชาติวุฒิ คือ ต้องเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจาก อัครมหาเสนาบดีเหมือนดังเช่นในสมัยอยุธยาอีก ทำให้ไพร่หรือสามัญชนที่มีความประพฤติดี มีความรู้ความสามารถ มีโอกาสเข้าถวายตัวเป็นขุนนางได้เป็นครั้งแรก เนื่องจากในสมัยนี้ เกิดปัญหาขาดแคลนขุนนาง แต่ไพร่ก็เข้ามาสู่ระบบขุนนางได้ยาก เพราะลูกหลานของขุนนาง ก็มักจะได้เป็นขุนนางต่อมานั่นเอง
57. การปฏิรูปในรัชกาลที่ 5 ก่อให้เกิดผลอย่างไรต่อขุนนาง
(1) ขุนนางตระกูลบุนนาคมีอิทธิพลเพิ่มมากขึ้น (2) ขุนนางตระกูลบุนนาคหมดบทบาทไปอย่างมาก
(3) ขุนนางมีรายได้หลักจากการ “กินตำแหน่ง” (4) ขุนนางไม่ได้เป็นข้าหลวงเทศาภิบาล
ตอบ 2 หน้า 398, 411 – 412 การปฏิรูประบบราชการและการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 มีผลต่อ ขุนนาง ดังนี้ 1. คณะเสนาบดีรุนเก่าที่มีขุนนางตระกูลบุนนาคเป็นผู้นำเสื่อมอิทธิพลลงและ หมดบทบาทไปอย่างมาก โดยเสนาบดีหรือข้าหลวงเทศาภิบาลรุ่นใหม่ส่วนใหญ่จะเป็นเจ้านาย แต่ถ้าเป็นขุนนางก็จะเป็นขุนนางตระกูลอื่น เช่น ตระกูลอมาตยกุล และกัลยาณมิตร
2. ข้าราชการมีเงินเดือน และการใช้เงินส่วนของรัฐเพื่อกิจการส่วนตัวนับเป็นของต้องห้าม
3. มีการเปิดรับสามัญชนที่มีการศึกษาดีเข้าสู่ระบบราชการ ฯลฯ
58. พ่อแม่หรือสามีจะขายลูกและภรรยาให้เป็นทาสโดยที่เจ้าตัวไม่ยินยอมจะกระทำไม่ได้ ถามว่า เริ่มประกาศใช้ครั้งแรกในรัชกาลใด
(1) รัชกาลที่ 2 (2) รัชกาลที่ 3 (3) รัชกาลที่4 (4) รัชกาลที่ 5
ตอบ 3 หน้า 199 ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงช่วยยกฐานะสตรีและเด็ก โดยการเริ่มประกาศใช้กฎหมาย ห้ามบิดามารดาและสามีขายบุตรและภรรยาลงเป็นทาสโดยที่เจ้าตัวไม่สมัครใจ แต่ในกรณีที่บุตรและภรรยายอมให้ขาย การกำหนดค่าตัวต้องเป็นราคาที่เจ้าตัวยินยอมพร้อมใจด้วย
59. “เวลาหนึ่ง ข้าราชการเข้าเฝ้าที่โรงแสงพร้อมกัน ครั้งนั้นยังไม่มีธรรมเนียมที่จะสวมเสื้อเข้าเฝ้า จึงดำรัสว่า คนที่ไม่สวมเสื้อเหมือนเปลือยกาย ร่างกายจะเป็นกลากเกลื้อนก็ดี หรือเหงื่อออกมาก็ดี โสโครกนัก…” ตั้งแต่นั้นมาโปรดให้ขุนนางสวมเสื้อเข้าเฝ้า ถามว่าคือรัชกาลใด
(1) รัชกาลที่3 (2) รัชกาลที่ 4 (3) รัชกาลที่ 5 (4) รัชกาลที่ 6
ตอบ 2 (คำบรรยาย) ในปี พ.ศ. 2395 รัชกาลที่ 4 ทรงสั่งให้ยกเลิกการเข้าเผ้าแบบตัวเปล่าไม่สวมเสื้อ ตามแบบราชประเพณีโบราณ โดยพระองค์มีพระราชดำรัสให้เจ้านายและขุนนางสวมเสื้อ เวลาเข้าเฝ้าเป็นครั้งแรกตามแบบอารยธรรมตะวันตก ดังหลักฐานจากข้อความใน พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ข้างต้น
60. เหตุเกิดในเมืองไทยภายหลังการทำสนธิสัญญาบาวริ่งในรัชกาลที่ 4 กล่าวคือ คนจีนจดทะเบียนเป็นคน ในบังคับอังกฤษ ทำผิดกฎหมายไทย ถามว่าศาลใดเป็นผู้พิจารณาคดี
(1) ศาลไทย (2) ศาลจีน (3) ศาลอังกฤษ (4) ได้ทั้ง 3 ศาล
ตอบ 3 หน้า 439, 547 – 548, (คำบรรยาย) ภายหลังที่ไทยทำสนธิสัญญาบาวริ่งกับอังกฤษในสมัย รัชกาลที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2398 ประเทศไทยได้เสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (เสียเอกราชด้านการศาล) ให้กับประเทศอังกฤษเป็นชาติแรก คือ คนต่างชาติและคนในบังคับของต่างชาติเมื่อมีเรื่องกับคนไทยก็ดี หรือมีเรื่องในหมู่พวกตัวเองก็ดี จะต้องขึ้นศาลกงสุลของชาติตนหรือชาติ ที่ตนได้ไปขึ้นทะเบียนไว้ ทำให้ศาลไทยไม่สามารถเอาผิดกับคนต่างชาติที่อยู่ในเมืองไทยและ ทำผิดกฎหมายไทยได้ ซึ่งต่อมาตั้งแต่ พ.ศ. 2399 – 2442 ก็มีประเทศต่าง ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส โปรตุเกส สเปน ญี่ปุ่น ฯลฯ เข้ามาทำสัญญาในลักษณะเดียวกันนี้อีกหลายประเทศ
61. ระบบเศรษฐกิจไทยปัจจุบันสัมพันธ์กับข้อใดมากที่สุด
(1) การเกษตร (2) อุตสาหกรรม (3) การค้าส่งออก (4) เศรษฐกิจยังชีพ
ตอบ 3 หน้า 469 – 471, 558 พื้นฐานระบบเศรษฐกิจไทยมีวิวัฒนาการ ดังนี้
1. เริ่มต้นมาจากเศรษฐกิจแบบหมู่บ้านในสมัยสุโขทัย ซึ่งผลิตเพื่อการบริโภคและแลกเปลี่ยน
2. เศรษฐกิจแบบตลาดในสมัยอยุธยา ซึ่งผูกพันกับการแสวงหาตลาดการค้าทั้งภายในและ ภายนอกประเทศ
3. เศรษฐกิจแบบเงินตรา ซึ่งเริ่มปรากฏชัดในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ดังจะเห็นได้จากการที่ รัฐเก็บส่วยจากไพร่ในรูปแบบเงินตรา
4. เศรษฐกิจแบบทุนนิยม ซึ่งเป็นระบบการผลิตเพื่อการค้าส่งออกในปัจจุบัน
62. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการกสิกรรมสมัยสุโขทัย
(1) พื้นที่เพาะปลูกด้านเกษตรมีจำนวนมาก (2) พื้นที่เพาะปลูกมีจำกัด
(3) มีนํ้าพอเพียงต่อการทำเกษตรกรรม (4) ข้าวเป็นสินค้าออกสำคัญ
ตอบ 2 หน้า 473 – 474 การกสิกรรมในสมัยสุโขทัยจะมีข้อจำกัดในเรื่องผลผลิต โดยเฉพาะผลิตผล ที่สำคัญที่สุด คือ ข้าวนั้นคงจะกระทำกันได้ในปริมาณที่พอกินพอใช้ในอาณาจักรเท่านั้น เพราะพื้นที่เพาะปลูกมีจำกัด กำลังคนก็มีจำกัด และงานชลประทานก็ทำในปริมาณจำกัดเช่นกัน จึงเป็นเหตุให้ในบางครั้งบางคราวเกิดขาดแคลนข้าวขึ้นในสุโขทัย จนต้องสั่งซื้อข้าวมาจากอยุธยา
63. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับระบบชลประทานสมัยสุโขทัย
(1) ท่อปู่พระญาร่วง (2) ตริภังค์(3) สรีดภงส์ (4) ตระพัง
ตอบ 2 หน้า 474 ผู้ปกครองสุโขทัยได้ช่วยเหลือด้านระบบชลประทาน ดังนี้ 1. การสร้างสริดภงส์ คือ เขื่อนเก็บกักนํ้า ซึ่งเป็นทำนบเก็บกักนํ้าไว้ภายในหุบเขา 2. การขุดสระที่เรียกว่า“ตระพัง” 3 แห่ง คือ ตระพังทอง ตระพังเงิน และตระพังสอ 3. การสร้างเหมืองฝายดังหลักฐานที่กล่าวถึงการพบท่อระบายน้ำเพื่อนำนํ้าเข้ามาที่มีชื่อว่า “ท่อปู่พระญาร่วง”
64. การบริโภคข้าวในสมัยสุโขทัย ข้อใดถูกต้อง
(1) อยุธยาซื้อข้าวจากสุโขทัยมากที่สุด (2) จีนซื้อข้าวจากสุโขทัยมากที่สุด
(3) ลังกาซื้อข้าวจากสุโขทัยมากที่สุด (4) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 62. ประกอบ
65. ข้อใดคือลักษณะเศรษฐกิจสมัยสุโขทัย
(1) การตลาด (2) การค้าเสรี (3) ยังชีพ (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 287, 480 ลักษณะเศรษฐกิจสมัยสุโขทัยเป็นแบบการค้าเสรี โดยผู้ปกครองได้ส่งเสริม ให้ราษฎรสามารถค้าขายสินค้าต่างๆ ได้อย่างเสรีตามความต้องการ ดังข้อความในศิลาจาริก ที่ว่า “ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใครค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า…”
66. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับเศรษฐกิจสมัยสุโขทัย
(1) มีธนบัตรใช้ในการแลกเปลี่ยน (2) ใช้ระบบทองคำในการแลกเปลี่ยน
(3) ใช้เงินในการซื้อขายสินค้า (4) ยังไม่มีระบบเงินตรา
ตอบ3 หน้า 482 ในสมัยสุโขทัย เงินตราที่ใช้เป็นเครื่องแลกเปลี่ยนในการซื้อขายสินค้า มีดังนี้
1. เงินพดด้วง ซึ่งสันนิษฐานว่าพ่อขุนรามคำแหงเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้น โดยนำแร่เงินมาจาก ต่างประเทศ แล้วเอามาหล่อหลอมทำเป็นเงินตรา 2. เบี้ย (เปลือกหอย) นำมาจากชาวต่างประเทศที่เที่ยวเสาะหาตามชายทะเลแล้วเอามาขายในเมืองไทย
67. ปัจจัยสำคัญในการประกอบอาชีพของคนสมัยอยุธยา คือข้อใด
(1) ที่ดิน (2) สินทรัพย์ (3) เงินทุน (4) ตลาด
ตอบ 1 หน้า 487 – 488 ปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการประกอบอาชีพของคนสมัยอยุธยา ได้แก่ 1. กรรมสิทธิ์ที่ดิน 2. แรงงานไพร่และทาส
68. ราษฎรที่ต้องการใช้ประโยซนัจากที่ดินต้องปฏิบัติอย่างไร
(1) ให้เข้าไปใช้ที่ดินได้ทันที
(2) แจ้งเรื่องต่อกษัตริย์ (3) แจ้งเรืองต่อผู้ใหญ่บ้าน (4) แจ้งเรื่องต่อกรมนาเจ้าสัด
ตอบ 4 หน้า 488 – 489 การจับจองที่ดินทำนาในสมัยอยุธยานั้น ราษฎรที่ต้องการใช้ประโยชน์จากที่ดินต้องปฏิบัติตามระเบียบราชการ คือ ผู้ใดปรารถนาที่จะ “โก่นซ่าง เลิกรั้ง ทำนา” จะต้อง ไปแจ้งเรื่องแก่เจ้าหน้าที่บ้านเมือง ซึ่งได้แก่ กรมนาเจ้าสัด เพื่อไปตรวจสอบว่ามีนามากน้อยเพียงใด
69. ช้อใดไม่ใช่นโยบายของผู้ปกครองที่สนับสนุนการทำนาในสมัยอยุธยา
(1) ขยายพื้นที่การทำนา (2) การป้องกันภัยที่จะเกิดกับต้นข้าว เช่น การออกกฎหมาย
(3) มีพิธีกรรมเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ (4) รับประกันราคาข้าว
ตอบ 4 หน้า 489 – 491, (คำบรรยาย) ผู้ปกครองอยุธยามีนโยบายสนับสนุนการทำนาปลูกข้าว ดังนี้
1. ขยายพื้นที่ทำนาเพาะปลูก
2. คุ้มครองป้องกันภยันตรายที่จะเกิดกับต้นข้าว โดยมีกฎหมายลงโทษผู้ทำลายต้นข้าวอย่างรุนแรง
3. ให้กำลังใจแก่ชาวนา โดยอาศัยพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ
4. ส่งเสริมแรงงานในการเพาะปลูก
5. ขจัดปัดเป่าการทะเลาะวิวาท
6. การชลประทาน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่รัฐบาลอยุธยาให้ความสำคัญน้อยที่สุด
70. พืชไร่พืชสวนชนิดใดที่กฎหมายสมัยอยุธยาระบุให้ความคุ้มครองมากที่สุด
(1) มะม่วงมหาชนก (2) ทุเรียน (3) แก้วมังกร (4) หมาก
ตอบ 2 หน้า 493, (คำบรรยาย) ทุเรียน เป็นพืชมีผลที่กฎหมายสมัยอยุธยาให้ความคุ้มครองมากที่สุด และถือว่ามีคุณค่าทางกฎหมายสูงกว่าพืชมีผลชนิดอื่น ๆ เนื่องจากกฎหมายได้กำหนดค่าปรับ แก่ผู้ที่ลักตัดต้นทุเรียนไว้ด้วยอัตราที่สูงที่สุด คือ ถ้าลักตัดต้นใหญ่มีผล ปรับต้นละ 200,000 เบี้ย และถ้าลักตัดต้นใหญ่แต่โกร๋น ปรับต้นละ 100,000 เบี้ย เป็นต้น
71. เกี่ยวกับ “สัตว์มีคุณ” ข้อใดผิด
(1) ได้แก่ นกยูง ช้าง ม้า ควาย (2) ตัวเมียมีค่ามากกว่าตัวผู้
(3) ซื้อขายได้ (4) กฎหมายคุ้มครองผู้ที่รับจ้างเลี้ยงสัตว์มีคุณด้วย
ตอบ 1 หน้า 493 – 494, (คำบรรยาย) ในสมัยอยุธยา สัตว์ที่มีความสำคัญจนถึงกับระบุไว้ในกฎหมาย ว่าเป็น “สัตว์มีคุณ” ได้แก่ ช้าง ม้า โค และกระบือ ซึ่งมีข้อสังเกตดังนี้
1. มีกฎหมายคุ้มครองสัตว์มีคุณหลายมาตรา และมีกฎหมายคุ้มครองผู้ที่รับจ้างเลี้ยงสัตว์มีคุณด้วย
2. ค่าตัวของสัตว์มีคุณตัวเมียมีค่ามากกว่าตัวผู้
3. นิยมเลี้ยงโคและกระบือตัวผู้ไว้ไถนา ส่วนแม่โคนั้นสามารถซื้อขายได้ ฯลฯ
72. ข้อใดกล่าวถึง “การจับสัตว์นํ้า” ในสมัยอยุธยาได้ถูกต้องที่สุด
(1) สามารถจับได้ตลอดทั้งปี เพราะมีแหล่งน้ำมาก (2) ห้ามจับในวันเฉลิมพระชนม์ฯ
(3) ห้ามจับในวันพระ (4) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 3 หน้า 494 – 495 การจับสัตว์นํ้าในสมัยอยุธยา ได้มีประกาศของทางการที่กำหนดวันและเวลาที่ห้ามจับปลา แต่ก็เป็นนโยบายของกษัตริย์บางรัชกาล หาได้ยึดเป็นหลักปฏิบัติทุกรัชกาลไม่ เช่น ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้มีประกาศห้ามทำประมงในวันพระ 8 คํ่า และ 15 ค่ำ ทั้งในเขตเมืองและนอกเขต
73. “พระคลังสินค้า” ไม่ได้ทำหน้าที่ใด
(1) รวบรวมสินค้าที่หายากและมีน้อยทั้งหมด (2) ดำเนินการค้าผูกขาด
(3) กำหนดประเภทของสินค้าต้องห้าม (4) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 หน้า 504 – 505 ในระยะที่อยุธยามีชาวตะวันตกเข้ามาค้าขายกับไทย ทำให้ทางราชการไทย ต้องตั้ง “กรมพระคลังสินค้า” ซึ่งขึ้นกับกรมพระคลัง เพื่อทำหน้าที่ดังนี้ 1. ดำเนินการค้า แบบผูกขาด 2. รวบรวมสินค้าพื้นเมืองที่หายากและมีน้อยทั้งหมด 3. กำหนดประเภท
ของสินค้าต้องห้าม ซึ่งต้องซื้อขายกับกรมพระคลังสินค้าเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ฯลฯ
74. การอนุญาตให้ไพร่กลับไปทำนาเกิดขึ้นในสมัยใด
(1) รัชกาลที่ 2 (2) รัชกาลที่ 3 (3) รัชกาลที่ 4 (4) รัชกาลที่ 5
ตอบ 3 หน้า 518 นโยบายการส่งเสริมการทำนาในสมัยรัชกาลที่ 4 มีดังนี้
1. ทรงส่งเสริมแรงงานในการทำนา โดยอนุญาตให้ไพร่หลวงขณะมารับราชการลากลับบ้าน ไปทำนาของตนในหน้านาได้
2. ทรงเปิดให้ขายข้าวออกนอกประเทศ เพื่อช่วยให้ชาวนาขายข้าวได้ราคาดีกว่าแต่ก่อน
3. ทรงแนะนำพันธ์ข้าวที่จะทำรายได้ให้กับชาวนา
4. ทรงขจัดอุปสรรคเรื่องน้ำและแก้ปัญหาคดีความต่างๆ ที่จะขัดขวางการทำนา
5. ทรงยินดีรับความรู้ความก้าวหน้าทางวิชาการของชาวตะวันตก
75. ข้อใดไม่ใช่นโยบายส่งเสริมการทำนาในสมัยรัชกาลที่ 5
(1) การอนุญาตให้ไพร่กลับไปทำนา (2) ขุดคลองขยายพื้นที่เพาะปลูก
(3) จัดหาพันธ์ข้าวที่มีคุณภาพ (4) นำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการปลูกข้าว
ตอบ 1 หน้า 519 – 521 นโยบายการส่งเสริมการทำนาในสมัยรัชกาลที่ 5 มีดังนี้
1. การขุดคลองขยายพื้นที่เพาะปลูก เพื่อเพิมผลผลิตข้าวให้มากขึ้น
2. การจัดหาพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ 3. การจัดหาเครื่องมือทำนาที่ทันสมัย ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการปลูกข้าว (ดูคำอธิบายข้อ 74. ประกอบ)
76. คลองใดไม่ได้ขุดในสมัยรัชกาลที่ 5
(1) คลองรังสิต
(2) คลองแสนแสบ (3) คลองประเวศบุรีรมย์ (4) คลองทวีวัฒนา
ตอบ 2 หน้า 519 – 520, (คำบรรยาย) การขุดคลองในสมัยรัชกาลที่ 5 มีทั้งที่รัฐบาลขุดเอง เช่นคลองนครเนื่องเขตร์ (พ.ศ. 2419) คลองประเวศบุรีรมย์และคลองทวีวัฒนา (พ.ศ. 2421) ฯลฯ และคลองที่พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ “บริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม” ขุดขึ้น เช่น คลองรังสิตประยูรศักดิ์ (พ.ศ. 2433) ฯลฯ รวมทั้งคลองที่พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ เอกชนขุดเป็นรายๆ ไป เช่น คลองหลวงแพ่ง (พ.ศ. 2431) คลองบางพลีใหญ่ (พ.ศ. 2441) ฯลฯ
77. องค์กรหรือหน่วยงานใดมีบทบาทในการขุดคลองสมัยรัชกาลที่ 5
(1) กรมพระคลังข้างที่
(2) บริษัทคูโบต้า (3) บริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม (4) บริษัทขุดคลองสยาม
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 76. ประกอบ
78. ข้อไดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมการทำนาสมัยรัชกาลที่ 6
(1) ขยายการถือครองที่ดินกว้างขวางขึ้น (2) ให้ชายฉกรรจ์ไม่ต้องรับราชการทหาร
(3) ออก พ.ร.บ. ชั่งตวงวัด (4) ใช้ระบบชักกันโฮในการชั่งตวงวัด
ตอบ 4 หน้า 521 – 522 นโยบายการส่งเสริมการทำนาในสมัยรัชกาลที่ 6 มีดังนี้
1. ขยายการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะที่มณฑลภาคใต้
2. แก้ปัญหาแรงงาน โดยให้ชายฉกรรจ์อายุ 25 – 30 ปี ไม่ต้องไปรับราชการทหาร
3. แก้ปัญหาพ่อค้าคนกลางเอาเปรียบในเรื่องความไม่เที่ยงตรงของเครื่องชั่งตวงวัด
โดยการออก พ.ร.บ. ชั่งตวงวัด พ.ศ. 2466 และให้ใช้มาตราเมตริกซ์แบบสากลแทน ฯลฯ
79. พืชที่ส่งออกมากที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือพืซชนิดใด
(1) ข้าว (2) หมาก (3) อ้อย (4) พริกไทย
ตอบ 3 หน้า 523 ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อ้อยเป็นพืชที่มีความสำคัญที่สุด และผู้ปกครองก็ให้ การสนับสนุนมากที่สุด เพราะน้ำตาลที่ทำจากอ้อยได้ทำกำไรงามให้กับประเทศ จนได้ชื่อว่า เป็นพืชส่งออกมากที่สุดและเป็นสินค้าออกอันดับ 1 ของไทย ดังปรากฏว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 และต้นรัชกาลที่ 4 ไทยส่งนํ้าตาลออกเฉลี่ยปีละ 50,000 – 90,000 หาบ
80. ตลาดค้าโคที่สำคัญของสยาม คือที่ใด
(1) จีน (2) ญี่ปุ่น (3) อินเดีย (4) สิงคโปร์
ตอบ 4 หน้า 526 ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการส่งโคกระบือไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งตลาดสินค้าโค ที่สำคัญ คือ สิงคโปร์โดยมีการส่งโคกระบือเป็นสินค้าออกใน ร.ศ. 116 เป็นจำนวน 4,891 ตัว และใน ร.ศ. 117 ส่งไปขายมากกว่าคือ 14,310 ตัว
81. ข้อใดเป็นความเชื่ออันดับแรกของมนุษย์และวิวัฒนาการขั้นสุดท้ายด้านความเชื่อของมนุษย์
(1) การบูชาธรรมชาติ –» ละจากความงมงายไปสู่ความคิดที่มีเหตุมีผล
(2) การบูชาบรรพบุรุษ –» การนับถือเทพเจ์า
(3) การบูชาเทพเจ้า –> การประกอบพิธีกรรม
(4) การบูชาธรรมชาติ –> การประกอบพิธีกรรม
ตอบ 1 หน้า 570 – 571 วิวัฒนาการด้านความเชื่อของมนุษย์มีลำดับขั้นตอน ดังนี้ 1. การบูชานับถือธรรมชาติ 2. การนับถือผีสางเทวดาหรือลัทธิวิญญาณนิยม 3. การบูชาบรรพบุรุษ4. การนับถือเทพเจ้าหลายองค์ 5. การนับถือเทพเจ้าหลายองค์ แต่แบ่งแยกหน้าที่ของ
เทพเจ้าแต่ละองค์ให้ต่างกัน 6. การนับถือพระเจ้าองค์เดียว 7. การละจากความงมงายไปสู่ความคิดที่มีเหตุมีผล ซึ่งทำให้เกิดพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ยิ่งใหญ่ศาสนาหนึ่งของโลก
82. พระพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิในสมัยใด
(1) พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช
(2) กุบไลข่าน (3) พระเจ้าอโศกมหาราช (4) พระเจ้าอชาตศัตรู
ตอบ 3 หน้า 574 ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชทรงมีพระประสงค์จะให้พระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาท แพร่หลายไปยังดินแดนต่าง ๆ จึงโปรดให้จัดภิกษุออกเป็น 9 คณะ โดยมีคณะที่สำคัญอยู่ 2 คณะ ได้แก่
1. คณะที่หนึ่ง มีพระมหินทรเถระโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นหัวหน้านำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานที่ลังกา
2. คณะที่สอง มีพระโสณะเถระกับพระอุดตระเถระ เป็นหัวหน้านำพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ยังสุวรรณภูมิเมื่อประมาณ พ.ศ. 300
83. คัมภีร์ฤคเวทและคัมภีร์สามเวท เป็นคัมภีร์เนื่องในศาสนาใด
(1) ศาสนาพุทธ (2) ศาสนาพราหมณ์ (3) ศาสนาคริสต์ (4) ศาสนาอิสลาม
ตอบ 2 หน้า 571 คำสาธยายร่ายมนต์อ้อนวอนขอให้อำนาจศักดิ์สิทธิ์ปกป้องคุ้มครองตน ได้แก่ คัมภีร์ฤคเวทและสามเวทของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งเป็นบทสวดแสดงพิธีการต่าง ๆ
84. ก่อนที่มนุษย์นับถือผีสางเทวดานั้น มีพื้นฐานความเชื่อในเรื่องใดมาก่อน
(1) นับถือวิญญาณ (2)นับถือเทพเจ้า (3) นับถือธรรมชาติ (4)นับถือศาสดา
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 81. ประกอบ
85. ในสุโขทัยมีการจารึกถึงการนับถือ “พระขะพุงผี” หมายถึงความเชื่อในเรื่องใด
(1) นับถือบรรพบุรุษ (2) นับถือไสยศาสตร์ (3) นับถือผี (4)นับถือศาสนา
ตอบ 3 หน้า 583 – 584 ในศิลาจารึกหลักที่ 1 มีการจารึกถึงพระขะพุงผี ซึ่งถือว่ามีความสำคัญที่สุดในเมืองสุโขทัย เพราะเป็นผู้ที่สามารถทำให้บ้านเมืองล่มจมและเจริญได้ แสดงให้เห็นชัด ถึงอิทธิพลความเชื่อถือเดิมในคติการนับถือผีสางเทวดาว่าฝังรากอย่างลึกซึ้ง แม้ว่าจะนับถือ พระพุทธศาสนาแล้วก็ตาม
86. หลักฐานในข้อใดที่ทำให้รู้ถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในสุโขทัย
(1) ไตรภูมิพระร่วง (2) พงศาวดาร (3) พระไตรปิฎก (4) ศิลาจารึก
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 36. ประกอบ
87. ก่อนที่สุโขทัยจะรับเอาพระพุทธศาสนามหายานเข้ามา ได้มีการนับถือลัทธิใด
(1) ลัทธิตันตระ (2) ลัทธิหินยาน (3) ลัทธิวัชรยาน (4) ลัทธิเชน
ตอบ 2 หน้า 576, 581 – 582, (คำบรรยาย) พระพุทธศาสนาสมัยสุโขทัยเมื่อแรกตั้งคงจะ มีทั้งลัทธิเถรวาทหรือหินยาน และลัทธิมหายานปะปนกัน ดังนั้นคนไทยสมัยสุโขทัยที่นับถือพระพุทธศาสนาจึงมีอยู่ 2 พวก คือ
1. พวกที่นับถือลัทธิหินยานซึ่งมีอยู่ก่อน
2. พวกที่นับถือลัทธิมหายานที่แพรหลายเข้าสู่สุโขทัยในภายหลัง โดยมาจากกัมพูชา (ขอมหรือเขมร) เผยแผ่เข้าสู่กรุงสุโขทัยทางหนึ่ง และมาจากกรุงศรีวิชัยในเกาะสุมาตรา เผยแผ่มาทางเมืองนครศรีธรรมราชเข้าสู่กรุงสุโขทัยอีกทางหนึง
88. ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทยมีศาสนาใดที่เข้ามาผสมผสานกับพระพุทธศาสนา จนก่อให้เกิดพิธีกรรม ในศาสนา
(1) ศาสนาฮินดู (2) ศาสนาคริสต์ (3) ศาสนาเชน (4) ศาสนาอิสลาม
ตอบ1 หน้า 584, (คำบรรยาย) ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย แม้ว่าพระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองมาก แต่กษัตริย์ก็มิได้ทรงกีดกันศาสนาอื่น ตรงกันข้ามกลับทรงอุปถัมภ์ศาสนา ต่าง ๆ ที่ประชาชนนับถือร่วมกับศาสนาพุทธ เช่น ศาสนาฮินดู ซึ่งจะเห็นได้จากพิธีกรรม ต่าง ๆ มักจะเอาศาสนาฮินดูเข้ามาผสมผสานกับพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี
89. พระสงฆ์ที่ชอบอยู่สันโดษ ไม่เข้ามาอยู่ในเมือง ได้แก่พระสงฆ์ในพวกใด
(1) คามวาสี (2) อรัญวาสี (3) ลังกาวงศ์ (4) คันถธุระ
ตอบ 2 หน้า 584 – 585 ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทยได้แบ่งคณะสงฆ์ออกเป็น 2 ผ่าย ดังนี้
1. คณะคามวาสี หรือฝ่ายคันถธุระ คือ พระสงฆ์ที่เรียนรู้ภาษาบาลี ศึกษาพระไตรปิฎก แล้วนำไปเทศนาสั่งสอนประชาชน มักอยู่ตามวัดในเมืองหรือในหมู่บ้าน
2. คณะอรัญวาสี หรือฝ่ายวิปัสนาธุระ คือ พระสงฆ์ที่ยึดถือการธุดงค์ท่องไปตามป่า ยึดมั่น การบำเพ็ญภาวนาหาความสงบ มักชอบอยู่สันโดษตามวัดในป่าเขา ไม่เข้ามาอยู่ในเมือง
90. พระพุทธศาสนามหายานแพร่หลายเข้าสู่สุโขทัยโดยทางใด
(1) จากอินเดียสู่ลังกาแล้วเข้าสู่กรุงสุโขทัย (2) จากอาณาจักรทมิฬสู่กรุงสุโขทัย
(3) จากเส้นทางสายไหม (4) จากขอมเผยแผ่เข้าสู่กรุงสุโขทัย
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 87. ประกอบ
91. คัมภีร์พระไตรปิฎกในพุทธศาสนาลังกาวงศ์ใช้ภาษาใดในการบันทึก
(1) ภาษาสันสกฤต (2) ภาษามอญโบราณ (3) ภาษาบาลี (4) ภาษาขอม
ตอบ 3 หน้า 581 – 582, (คำบรรยาย) พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์จะถือคติอย่างหินยาน และ คัมภีร์พระไตรปิฎกจะใช้ภาษามคธ (ภาษาบาลี) ซึ่งเมื่อไทยนับถือลัทธิลังกาวงศ์ พระสงฆ์ไทย จึงเลิกศึกษาพระธรรมวินัยในภาษาสันสกฤตอย่างแต่ก่อน และเปลี่ยนมาศึกษาภาษามคธ (ภาษาบาลี) นับตั้งแต่นั้นมา
92. บุคคลในข้อใดเป็นผู้ก่อตั้งคณะสงฆ์นิกายใหม่ที่เรียกว่า “ธรรมยุตินิกาย”
(1) เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์
(2) กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ (3) เจ้าฟ้ามงกุฎ (4) กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ตอบ 3 หน้า 602 ในสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าฟ้ามงกุฎ (รัชกาลที่ 4 ในเวลาต่อมา) ทรงเป็นผู้นำในการปฏิรูปการพระพุทธศาสนา ซึ่งการปฏิรูปที่สำคัญ คือ การจัดตั้งคณะสงฆ์นิกายใหมที่เรียกว่า “ธรรมยุตินิกาย” ซึ่งเป็นคณะทีปฏิบัติตามพระวินัยเคร่งครัดมาก ดังนั้นจึงนับเป็นการเปลี่ยนแปลง ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์การพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
93. วรรณกรรมเรื่องใดแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนาในสมัยอยุธยา
(1) ไตรภูมิพระร่วง (2) มหาชาติคำหลวง (3) ไตรภูมิโลกวินิจฉัย (4) ปฐมสมโพธิ์
ตอบ 2 หน้า 594, (คำบรรยาย) สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนาในสมัยอยุธยา ประการหนึ่ง คือ เกิดวรรณคดีทางพุทธศาสนาขึ้นหลายเรื่อง เช่น เรื่องมหาชาติคำหลวง กาพย์มหาชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ นันโทปนันทสูตรคำหลวง พระมาลัยคำหลวง และ ปุณโณวาทคำฉันท์ เป็นต้น
94. การทำสังคายนาพระไตรปิฎกในสมัยรัตนโกสินทร์ กระทำขึ้นในรัชกาลใด
(1) รัชกาลที่ 1 (2) รัชกาลที่ 4 (3) รัชกาลที่ 5 (4) รัชกาลที่ 9
ตอบ 1 หน้า 597 – 598 ในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการทำสังคายนาพระไตรปิฎก ในปี พ.ศ. 2331 ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 9 เพราะนับตั้งแต่อยุธยาเสียกรุงให้แก่พม่าครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2310 บ้านเมืองก็ระส่ำระสาย และพระพุทธศาสนาในสมัยอยุธยาตอนปลายเสื่อมโทรมมาก จึงทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทำการสังคายนารวบรวมพระไตรปิฎกขึ้นไว้ให้สมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง เรียกว่า “พระไตรปิฎกฉบับทอง”
95. การแบ่งพระสงฆ์เป็นสามคณะ คือ คณะคามวาสี คณะอรัญวาสี และคณะป่าแก้ว เกิดขึ้นในสมัยใด
(1) สมัยสุโขทัย (2) สมัยอยุธยา (3) สมัยธนบุรี (4) สมัยรัตนโกสินทร์
ตอบ 2 หน้า 592 – 593, (คำบรรยาย) ในสมัยสมเด็จพระนครินทราธิราช (สมเด็จพระอินทรราชา)ได้มีพระสงฆ์ไทยกลุ่มหนึ่งเดินทางไปประเทศลังกาเพื่ออุปสมบทบวชแปลงเป็นนิกายวันรัตนวงศ์ ในสำนักพระวันรัตนิมหาเถระ และเมื่อกลับมายังกรุงศรีอยุธยาก็ได้จัดตั้งนิกายลังกาวงศ์ขึ้มอีกนิกายหนึ่ง เรียกว่า วันรัตนวงศ์ (คณะป่าแก้ว) ทำให้พระสงฆ์ในสมัยอยุธยาแบ่งออกเป็น 3 คณะ ได้แก่ 1. คณะคามวาสี 2. คณะอรัญวาสี 3. คณะป่าแก้ว (วันรัตนวงศ์)
96. พระราชพิธีฉัตรมงคล เริ่มครั้งแรกในรัชกาลใด
(1) รัชกาลที่ 3 (2) รัชกาลที่ 4 (3) รัชกาลที่ 5 (4) รัชกาลที่ 6
ตอบ 2 หน้า 669 พระราชพิธีฉัตรมงคล เริ่มปรากฏครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4 เพราะกษัตริย์ทรงเห็นว่า วันบรมราชาภิเษกเป็นมหามงคลสมัย ซึ่งประเทศที่มีพระเจ้าแผ่นดินปกครองย่อมถือว่าเป็น วันนักขัตฤกษ์มงคล จึงทรงเห็นสมควรที่จะมีการสมโภชพระมหาเศวตฉัตรให้เป็นสวัสดิมงคล แก่ราชสมบัติ และจัดการพระราชกุศลที่พระราชทานชื่อว่า “ฉัตรมงคล”
97. พิธีจรดพระนังคัลเป็นพิธีพราหมณ์ ต่อมารัชกาลที่ 4 ได้ทรงเพิ่มพิธีสงฆ์ขึ้นต่างหากเรียกว่าอะไร
(1) แรกนาขวัญ (2) พิรุณศาสตร์ (3) พืชมงคล (4) ทำขวัญเมล็ดพืช
ตอบ 3 หน้า 640, 668 พิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัล แต่เดิมมีเพียงพิธีพราหมณ์อย่างเดียว เรียกว่า “พิธีจรดพระนังคัล” เป็นพิธีเวลาเช้า คือ ลงมือไถ แต่ก่อนทำที่ทุ่งส้มป่อยนอกพระนคร ต่อมา รัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้เพิ่มพิธีสงฆ์ตามคติพระพุทธศาสนาขึ้นอีก เรียกว่า “พิธีพืชมงคล” คือ การทำขวัญพืช ซึ่งทำที่ท้องสนามหลวงในพระนคร โดยพิธีทั้งสองนี้จะทำพร้อมกันในคืนเดียว วันเดียวกัน จึงได้เรียกชื่อติดกันว่า พิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัล
98. วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย เริ่มมีขึ้นในสมัยใด
(1) สุโขทัย (2) อยุธยา (3) ธนบุรี (4) รัตนโกสินทร์
ตอบ 1 หน้า 662 วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีจนถึง พ.ศ. 2483 แต่ต่อมาทางราชการได้เปลี่ยนใหม่โดยกำหนดเอาวันที่ 1 มกราคมของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้เข้ากับหลักสากลที่นานาประเทศนิยมปฏิบัติกัน อย่างไรก็ตามแม้จะมีการเปลี่ยน วันขึ้นปีใหม่ แต่ประชาชนก็ยังยึดถือว่าวันสงกรานต์มีความสำคัญ
99. ข้อใดจัดเป็นประเพณีส่วนรวม
(1) โกนจุก (2) วันมาฆบูชา (3) การเผาศพ (4) ทำบุญเลี้ยงพระขึ้นบ้านใหม่
ตอบ 2 หน้า 655, 658 ประเพณีสวนรวม คือ ประเพณีที่ประชาชนทั่วไปนิยมปฏิบัติร่วมกัน ซึ่งมักจะ มีงานรื่นเริงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ได้แก่ ประเพณีทำบุญวันขึ้นปีใหม่, ประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล ต่าง ๆ เช่น เทศกาลเข้าพรรษา เทศกาลสารท, ประเพณีในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา เป็นต้น (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นประเพณีส่วนบุคคล หรือประเพณีเกี่ยวกับชีวิต อาจเรียกว่าประเพณีครอบครัวก็ได้)
100. ศาสนาใดมีอิทธิพลต่อศิลปกรรมไทยน้อยที่สุด
(1) ศาสนาพุทธ (2) ศาสนาพราหมณ์ (3) ศาสนาฮินดู (4) ศาสนาคริสต์
ตอบ 4 หน้า 683, 685, 691, (คำบรรยาย) ศิลปกรรมไทยเกิดจากแรงบันดาลใจของศาสนาพุทธมากที่สุด จึงปรากฏศิลปกรรมทางพุทธศาสนาทั้งแบบเถรวาทและมหายานอยู่อย่างมากมาย รองลงมาคือ ศิลปกรรมเนื่องในศาสนาพราหมณ์และฮินดู เพราะปรากฏว่ามีการสร้างเทวรูปพระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม ฯลฯ ตามสถานที่ต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย (ส่วนศาสนาคริสต์มีอิทธิพล ต่อศิลปกรรมไทยน้อยที่สุด)
101. ศิลปกรรมไทยมีประโยชน์ในการศึกษาพื้นฐานวัฒนธรรมไทย เพราะเหตุใด
(1) เป็นข้อมูลสนับสนุนทางประวัติศาสตร์
(2) ทำให้แยกวัฒนธรรมไทยแท้จริงออกจากวัฒนธรรมอื่นได้
(3) ศิลปกรรมไทยมีอัตลักษณ์ไม่รับรับอิทธิพลศิลปะสกุลช่างใด ๆ
(4) ศิลปะใช้อธิบายกำเนิดและที่มาของชนชาติไทยได้
ตอบ 2 หน้า 681, (คำบรรยาย) ศิลปกรรมไทยเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมที่สมบูรณ์กว่าด้านอื่น ๆ เพราะการแสดงออกทางศิลปกรรมของไทยแต่ละสมัยจะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็น ลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากศิลปะของเขมรหรือชวา ดังนั้นศิลปกรรมไทยจึงให้ประโยชน์ในการศึกษา พื้นฐานวัฒนธรรมไทย เนื่องจากทำให้แยกวัฒนธรรมไทยแท้จริงออกจากวัฒนธรรมอื่นๆ ได้
102. ลักษณะศิลปะแบบอุดมคติ เห็นได้ชัดเจนในยุคใด
(1) ทวารวดี (2) ลพบุรี (3) ศรีวิชัย (4) สุโขทัย
ตอบ 4 หน้า 711 – 712, (คำบรรยาย) ศิลปกรรมไทยเป็นศิลปะแบบอุดมคติ (Idealistic Arts) คือ ศิลปะที่มีความรู้สึกสูงกว่าธรรมชาติทั่วไปและหนักไปทางทิพย์สวรรค์ เป็นศิลปะที่มีแบบอย่าง แห่งความคิดคำนึงโดยเฉพาะ ซึ่งลักษณะศิลปะแบบอุดมคติของชนชาติไทยนี้จะเห็นได้ชัดเจนที่สุดในศิลปะยุคสุโขทัย โดยเฉพาะประติมากรรมพระพุทธรูปที่เจริญถึงขั้นสูงสุดและ แสดงความเป็นไทยแท้ได้มากกว่าสมัยใด ๆ จนได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของประติมากรรมไทย
103. การแบ่งยุคศิลปะ กำหนดด้วยอะไร
(1) สมัยอาณาจักร (2) ลักษณะของศิลปะ (3) สมัยประวัติศาสตร์ (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 683, (คำบรรยาย) ศิลปกรรมในประเทศไทยมิได้แบ่งยุคสมัยตามประวัติศาสตร์ไทยที่รู้จัก กันอย่างทั่วไป แต่การแบ่งยุคศิลปกรรมได้แบ่งย่อยออกเป็นสมัยต่าง ๆ โดยมีชื่อเรียกตามสมัย หรือราชวงศ์ ตลอดจนแบ่งตามรูปแบบและลักษณะของศิลปะ ระยะเวลา ถิ่นกำเนิดหรือสถานที่ ที่ค้นพบ ซึ่งเริ่มตั้งแต่โบราณสถานและโบราณวัตถุเก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบ
104. เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง พบในศิลปะใดต่อไปนี้มากเป็นพิเศษ
(1) อยุธยา, รัตนโกสินทร์ (2) สุโขทัย,เชียงแสน
(3)อู่ทอง, สุโขทัย (4) อยุธยา, เชียงแสน
ตอบ 1 หน้า 724, 730 ในสมัยอยุธยาตอนปลายจะนิยมสร้างพระเจดีย์เหลี่ยมเพิ่มมุม หรือเรียกว่า เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ต่อมานิยมเพิ่มรายละเอียดต่าง ๆ เข้าไป โดยประดับด้วยปูนปั้นตาม ส่วนต่าง ๆ ของเจดีย์ เพิ่มบัวทรงคลุ่มรองรับทรงระฆัง และทำทรงคลุ่มเถาแทนปล้องไฉน ซึ่งเรียกเจดีย์แบบนี้ว่า เจดีย์ทรงเครื่อง และความนิยมในการสร้างเจดีย์แบบนี้ก็สืบเนื่องมาถึง สมัยรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในช่วงรัชกาลที่ 1-3
105. จิตรกรรมสมัยรัตนโกสินทร์เกี่ยวข้องกับเรื่องอะไรบ้าง
(1) พุทธประวัติ (2)ชาดก (3)ไตรภูมิ (4)ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 733 แบบแผนของจิตรกรรมไทยบนฝาผนังโบสถ์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 – 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คือ ส่วนเหนือหน้าต่างเขียนภาพเทพชุมนุม ส่วนล่างในแนวเดียวกับหน้าต่าง เขียนภาพพุทธประวัติ (ชาดก) หรือทศชาติ ด้านหลังพระประธานเขียนภาพไตรภูมิ ด้านหน้า เขียนพุทธประวัติตอนมารวิชัย โดยภาพเขียนในช่วงนี้ใช้สีและปิดทองลงบนภาพทั้งสิ้น
106. พระที่นั่งองค์ใดมีแรงบันดาลใจมาจากสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา
(1) พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน (2) พระที่นั่งไพศาลทักษิณ
(3) พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท (4) พระที่นังดุสิตมหาปราสาท
ตอบ 4 หน้า 729, (คำบรรยาย) พระที่นังดุสิตมหาปราสาท เป็นสถาปัตยกรรมแบบประเพณีในพระบรมมหาราชวังที่รัชกาลที่ 1 โปรดฯ ให้สร้างตามแบบพระที่นั่งสุริยามรินทร์ในสมัยอยุธยา โดยนับเป็นพระที่นั่งองค์ที่ 2 ที่สร้างขึ้นแทนพระที่นั่งอินทราภิเษกมหาปราสาท ซึ่งได้รับ แบบอย่างมาจากพระที่นั่งสรรเพชญปราสาทในสมัยอยุธยา แต่มาถูกไฟไหม้ไปเมื่อ พ.ศ. 2332
107. หากจะศึกษาสถาปัตยกรรมอยุธยาในยุคกลางจะไปศึกษาที่วัดใด
(1) วัดราชบูรณะ (2) วัดพระราม (3) วัดพระศรีสรรเพชญ (4) วัดไชยวัฒนาราม
ตอบ 3 หน้า 724 เจดีย์ที่เป็นหลักของพระอารามในสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนกลาง มักจะสร้าง เป็นเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา หรือที่เรียกกันว่าเจดีย์ทรงระฆังตามแบบของสุโขทัย เช่น พระเจดีย์ใหญ่ 3 องค์ ในวัดพระศรีสรรเพชญ ซึ่งสร้างใน พ.ศ. 2035 ตรงกับรัชสมัย พระรามาธิบดีที่ 2
108. พุทธศิลป์อู่ทองมีลักษณะที่สังเกตได้จากข้อใด
(1) มักสลักจากศิลา (2) มีไรพระศก
(3) ขมวดพระเกศามีขนาดใหญ่ (4) นิยมสร้างพระพุทธรูปหลายองค์บนฐานเดียวกัน
ตอบ 2 หน้า 720, (คำบรรยาย) ลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูปสมัยอู่ทองควรสังเกตจากพระพักตร์ ที่ประดับด้วยไรพระศก (เส้นขอบหน้าผาก) และมีขมวดพระเกศาหรือเส้นพระศกที่เล็กแบบ หนามขนุน ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่เหมือนกันของพุทธศิลป์แบบอู่ทองทุกรุ่น
109. เครื่องสังคโลกในศิลปกรรมสุโขทัยใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง
(1) เป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน (2) เป็นเครื่องประดับสถาปัตยกรรม
(3) เป็นของเล่นเด็ก (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ.4 หน้า 479, 713,(คำบรรยาย) เครื่องสังคโลกในศิลปกรรมสมัยสุโขทัยจะมีทั้งที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น จาน ชาม ขวด ตลับ ฯลฯ และที่ใช้เป็นเครื่องประดับ สถาปัตยกรรม เช่น กระเบื้องเคลือบมุงหลังคา ช่อฟ้า บราลี พลสิงห์ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีเครื่องปั้นที่ใช้เป็นของเล่นเด็ก เช่น ตุ๊กตาสังคโลกหรือตุ๊กตาเสียกบาล รูปช้าง ทวารบาล ฯลฯ
110. พระพุทธรูปเอกลักษณ์พิเศษของสุโขทัยอยู่ในอิริยาบถใด
(1) นั่ง (2) นอน (3) ยืน (4) เดิน
ตอบ 4 หน้า 712, (คำบรรยาย) ในสมัยสุโขทัยศิลปินนิยมสร้างพระพุทธรูปครบทั้ง 4 อิริยาบถได้ เป็นครั้งแรก คือ นั่ง นอน ยืน และเดิน แต่ที่เด่นจนถือเป็นเอกลักษณ์พิเศษของสุโขทัย คือ ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปหล่อหรือสลัก แม้แต่พระพิมพ์ก็นิยมทำพระพุทธรูปปางลีลา (เดิน) เสียเป็นส่วนมาก ซึ่งพระพุทธรูปปางลีลานี้นับว่ามีลักษณะงดงามและเป็นฝีมือช่างที่วิเศษที่สุด จนถือได้ว่าเป็นลักษณะเฉพาะของสุโขทัย
111. ยุคใดต่อไปนี้ไม่มีตัวอย่างศิลปกรรมอิทธิพลศาสนาพุทธมหายานให้ศึกษาได้ในขณะนี้
(1) ทวารวดี (2) ศรีวิชัย (3) ลพบุรี (4) เชียงแสน
ตอบ 4 หน้า 685, 694, 699, 715, (คำบรรยาย) ศิลปะล้านนาหรือเชียงแสนในช่วงแรกนั้นได้รับ อิทธิพลหรือมีพื้นฐานมาจากศิลปะหริภุญไชย และมีการพัฒนาลักษณะรูปแบบโดยมีอิทธิพล ของศิลปะพม่าสมัยพุกามเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งศิลปกรรมล้านนาหรือเชียงแสนมักจะสะท้อน อิทธิพลของพุทธศาสนาลัทธิเถรวาท (หินยาน) แบบลังกาวงค์เป็นส่วนใหญ่ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่น ปรากฏตัวอย่างศิลปกรรมอิทธิพลศาสนาพุทธมหายาน)
112. ในภาพจำหลักลายเส้นที่วัดศรีชุม สุโขทัย เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
(1) ไตรภูมิ (2) ชาดก (3) รัตนตรัยมหายาน (4) พระอดีตพุทธเจ้า
ตอบ 2 หนา 713, (คำบรรยาย) จิตรกรรมเรื่องชาดกสมัยที่เก่าที่สุด ซึ่งถือกันว่าเป็นต้นเค้าของจิตรกรรมฝาผนังไทย คือ จิตรกรรมสมัยสุโขทัย โดยได้มีการค้นพบภาพจำหลักลายเส้นบนแผ่นหิน ที่วัดศรีชุม จ.สุโขทัย ซึ่งเป็นภาพเกี่ยวกับพุทธประวัติและชาดกเรื่องพระเจ้าห้าร้อยชาติ จารไว้บนหินชนวนกรุที่เพดานวัด ทั้งนี้ภาพดังกล่าวเป็นภาพชาดก 550 เรื่อง แต่นำมาเขียน เพียง 100 เรื่อง โดยมีจารึกสรุปตามชื่อเรื่อง
113. พระพุทธรูปแสดงการบรรลุโพธิญาณ เป็นพระพุทธรูปที่แสดงปางใด
(1) ปางสมาธิ (2) ปางลีลา (3) ปางมารวิชัย (4) ปางประทานพร
ตอบ 3 (คำบรรยาย) พระพุทธรูปปางมารวิชัย หรือปางตรัสรู้ เป็นปางของพระพุทธเจ้าตอนตรัสรู้ หรือบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณโดยลักษณะของพระพุทธองค์จะประทับนั่งขัดสมาธิใต้ต้นโพธิ์ พระหัตถ์ขวาคว่ำลงบนพระชงฆ์ขวา นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงยังแผ่นดิน ส่วนพระหัตถ์ซ้ายวางหงายอยู่ เหนือพระเพลา
114. ข้อความในข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) สมัยสุโขทัย เป็นยุคที่การสร้างพระพุทธรูปเจริญถึงขีดสูงสุด
(2) สมัยอยุธยา เป็นยุคที่การสร้างสถาปัตยกรรมเจริญถึงขีดสูงสุด
(3) สมัยสุโขทัย ขาดหลักฐานที่แสดงถึงการนับถือศาสนาพราหมณ์
(4) สมัยอยุธยา ศิลปกรรมขาดความสืบเนื่องจากสมัยอู่ทอง
ตอบ 3 หน้า 708 งานศิลปกรรมในช่วงแรกของสุโขทัย ยังคงปรากฏอิทธิพลของศิลปะขอมทั้งในงานสถาปัตยกรรมและประติมากรรม ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงถึงการนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และคาสนาพุทธผ่ายมหายาน เช่น ศาลตาผาแดงที่เมืองเก่าสุโขทัย รวมทั้งประติมากรรมรูปเทวดา และเทวนารีที่พบในบริเวณปราสาท จัดเป็นศิลปะขอมแบบนครวัดตอนปลายต่อบายน เป็นต้น
115. รูปแบบประติมากรรมที่ได้รับความนิยมเป็นพิเศษในสมัยลพบุรี คืออะไร
(1) พระพุทธรูปปางไสยาสน์ (2) พระพุทธรูปปางนาคปรก
(3) พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท (4) พระพุทธรูปก่อนการตรัสรู้
ตอบ 2 หน้า 700 – 701, (คำบรรยาย) รูปแบบประติมากรรมสมัยศิลปะลพบุรีที่ได้รับความนิยมมากเป็นพิเศษ คิอ พระพุทธรูปปางนาคปรก (มีนาคประกอบ หรือมีขนดนาคสอบลงเบื้องล่าง) ประทับนั่งปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ซึ่งมักจะสลักด้วยศิลาทราย ต่อมาในสมัยหลังประมาณ ปลายพุทธศตวรรษที่ 17 มักนิยมสลักเป็นพระพุทธรูปนาคปรกแบบทรงเครื่อง มีสีพระพักตร์ ค่อนข้างถมึงทึง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นศิลปะลพบุรีอย่างแท้จริง ไม่ใช่ศิลปะขอม
116. อะไรเป็นเหตุที่ทำให้มีการสร้างพระพิมพ์ในทุกสมัย
(1) การสืบอายุพระศาสนา (2) การระลึกถึงสังเวชนียสถาน
(3) การเผยแผ่พระพุทธศาสนา (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 688, 696, 705 – 706 การสร้างพระพิมพ์ในแต่ละสมัยจะมีวัตถุประสงค์แตกต่างกันไป ดังนี้
1. เพื่อเป็นของที่ระลึกถึงการได้ไปบูชาสังเวชนียสถาน 4 แห่งในอินเดีย
2. เพื่อเป็นที่เคารพบูชา และเผยแผ่พระพุทธศาสนา 3. เพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา
4. เพื่อปรมัตถประโยชน์ของผู้มรณภาพ 5. เพื่อแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา
117. ข้อใดเป็นการอธิบายลักษณะของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสมัยศรีวิชัย
(1) มีอิริยาบถครบทั้งสี่อิริยาบถ (2) หล่อจากสำริด มีการตกแต่งเครื่องประดับงดงาม
(3) พบจำนวนน้อยกว่าพระพุทธรูป (4) ลักษณะศิลปะเป็นแบบอินเดียผสมลังกา
ตอบ 2 หน้า 685, 694 – 695 ศิลปะศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 – 18) จะสร้างขึ้นตามคติพุทธศาสนามหายานทั้งสิ้น โดยเฉพาะความนิยมสร้างพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ประจำกัลป์ปัจจุบันและเป็นที่นิยมนับถือมาก ทั้งนี้ลักษณะพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรของศิลปะศรีวิชัย มักหล่อจากสำริด และมีการตกแต่งเครื่องประดับงดงาม ซึ่งที่สวยงามที่สุดแต่มีเพียงครึ่งองค์ คือ ประติมากรรมพระอวโลกิเตศวรสัมฤทธิ์ (สำริด) พบที่หน้าวัดพระบรมธาตุไชยา จ.สุราษฎร์ธานี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 14 – 15
118. ลักษณะในข้อใดปรากฏ ณ พระบรมธาตุไชยา
(1) มีประตูทางเข้าทั้งหมดรวม 3 ด้าน (2) มีเจดีย์จำลองเล็ก ๆ ประดับบนหลังคาแต่ละมุม
(3) ใช้ศิลาแลงกับอิฐขนาดใหญ่ในการสร้าง (4) มีพระพุทธรูปประจำทุกด้าน ด้านละ 3 องค์
ตอบ 2 หน้า 694 – 695, (คำบรรยาย) สถาปัตยกรรมที่สำคัญของศิลปะศรีวิชัย คือ พระบรมธาตุไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งมีรูปแบบลักษณะคล้ายคลึงกับบรรดาเจดีย์ในเกาะชวามาก กล่าวคือ เป็นเจดีย์ก่ออิฐทรงเหลี่ยมจัตุรมุขย่อมุม โดยมุขด้านหน้าเปิดให้มีทางเข้าได้ แต่อีก 3 ด้านจะทึบทั้งหมด องค์เจดีย์มักทำเป็นมณฑปเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป ซึ่งมีทั้งหมด 180 องค์ ส่วนบนมีเจดีย์จำลององค์เล็ก ๆ ประดับไว้บนหลังคาแต่ละมุม และเรือนยอดมียอดบริวาร และยอดประธานรวมกันได้ 5 ยอด จึงเรียกว่า เจดีย์ทรงปราสาทห้ายอด
119. ศิลปะใดสะท้อนถึงการนับถือคาสนาพุทธมหายานมากเป็นพิเศษในสมัยศิลปะศรีวิชัย
(1) พระคณปติ (2) พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
(3) ศิวลึงค์ (4) พระวิษณุสวมหมวกแขกทรงกระบอก
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 117. ประกอบ
120. พระพุทธรูปสมัยศรีวิชัยองค์ใหญ่ศิลปะชั้นเยี่ยม แสดงปางอะไร
(!) มารวิชัย (2) สมาธิ
(3) มารวิชัยนาคปรก (4) สมาธินาคปรก
ตอบ 3 หน้า 695, (คำบรรยาย) ประติมากรรมศรีวิชัยในระยะหลังเป็นสมัยอิทธิพลศิลปะขอมซึ่งมีการสร้างพระพุทธรูปด้วย โดยพระพุทธรูปสมัยศรีวิชัยองค์ใหญ่ที่สำคัญและนับเป็นศิลปะ ชั้นเยี่ยม ได้แก่ พระพุทธรูปนาคปรกสัมฤทธิ์ (สำริด) พบที่วัดเวียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งแสดงพระหัตถ์ทำปางมารวิชัยแปลกจากทั่วไปที่นิยมทำปางสมาธิ