การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2553
ข้อสอบกระบวนวิชา HIS1201 พื้นฐานวัฒนธรรมไทย
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
1. เพราะเหตุใดทฤษฏีเกี่ยวกับถิ่นฐานเดิมของชนชาติไทยส่วนใหญ่จึงเชื่อว่า คนไทยมาจากทางตอนใต้ของจีน
1. เพราะนักวิชาการส่วนใหญ่ศึกษาจากภาษาและวัฒนธรรม
2. เพราะมีการศึกษาจากหมู่เลือด
3. เพราะมีการศึกษาจากหลักฐานทางโบราณคดี
4. เพราะมีตำนานเล่าขาน
ตอบ 1 หน้า 4-5 นักวิชาการที่สนับสนุนทฤษฎีคนไทยมาจากทางตอนใต้ของจีน ได้ใช้หลักฐานจากการศึกษาลักษณะภาษาและวัฒนธรรมของชนชาติไทย ตลอดจนเอกสารโบราณของจีนที่ได้กล่าวถึงชนกลุ่มน้อยต่างๆ โดยพวกเขาเชื่อว่าชนชาติไทจัดอยู่ในกลุ่มชนที่เรียกว่า “เยว่” (Yueh) ซึ่งอยู่กันหนาแน่นในเขตภาคใต้ของจีนตั้งแต่ยูนนานไปทางตะวันออกถึงกวางตุ้ง กวางสี
2. การทำกลองมโหระทึก เป็นวัฒนธรรมของคนกลุ่มใด
1. มอญ
2. เขมร
3. จ้วง
4. พม่า
ตอบ 3 หน้า 5-7 จ้วง จัดอยู่ในกลุ่มชนที่พูดภาษาไทย และรวมอยู่ในชนเผ่าต่างๆ ที่จีนเรียกรวมกันว่า “เยว่” ซึ่งเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมเยว่ ได้แก่ การสักตามร่างกาย ทาฟันดำทำกลองมโหระทึก ปลูกข้าวนาดำ ใช้ช้างเป็นพาหนะ และอยู่บ้านใต้ถุนสูง
3. ข้อใดคือวัฒนธรรมอินเดียที่เข้ามาในสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์
1. การปลูกข้าว
2. การนับถือผี
3. การสร้างบ้าน
4. พระพุทธศาสนา
ตอบ 4 หน้า 11-13 วัฒนธรรมอินเดีย ถือเป็นวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณมากที่สุด ซึ่งวัฒนธรรมอินเดียที่รับเข้ามาใช้ผสมผสานกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทยในสมัย แรกเริ่มประวัติศาสตร์ ได้แก่ 1. วัฒนธรรมทางด้านศาสนาพุทธและพราหมณ์ 2. วัฒนธรรมทางด้านภาษาและวรรณคดี 3. วัฒนธรรมทางด้านการปกครอง 4. วัฒนธรรมทางด้านศิลปกรรม
4. “ทวารวดี” มีศูนย์กลางอยู่ที่ใด
1. ภาคเหนือตอนบน
2. ภาคอีสาน
3. ภาคกลาง
4. ภาคใต้
ตอบ 3 หน้า 684, (คำบรรยาย) วัฒนธรรมทวารวดีเจริญขึ้นในบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยเชื่อกันว่าศูนย์กลางอาณาจักรทวารวดีอยู่ในภาคกลางที่จังหวัดนครปฐม เนื่องจากเป็นแหล่งที่มีการค้นพบโบราณวัตถุสถานและประติมากรรมสมัยทวารวดี เป็นจำนวนมากกว่าจังหวัดใดๆ
5. ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14-15 เวียงจันทน์เคยเป็นศูนย์กลางของแคว้นใด
1. ศรีจนาศะ
2. อีสานปุระ
3. ศรีโคตรบูร
4. หริภุญไชย
ตอบ 3 หน้า 14 แคว้นศรีโคตรบูรหรือแคว้นโคตรบอง เจริญขึ้นมาในเขตแอ่งสกลนคร ราวช่วงพุทธศตวรรษที่ 14-15 โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เวียงจันทน์ ซึ่งนักวิชาการเชื่อว่าแคว้นนี้เป็นแคว้นของคนไทย
6. พุทธศาสนานิกายมหายาน เจริญรุ่งเรืองในแคว้นใด
1. ทวารวดี
2. ศรีวิชัย
3. อีสานปุระ
4. หริภุญไชย
ตอบ 2 หน้า 15 แคว้นศรีวิชัย เจริญขึ้นตั้งแต่ประมารพุทธศตวรรษที่ 12-18 ในบริเวณที่เป็นจง สุราษฎร์ ธานี และนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน โดยมีฐานะเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญที่สุดในช่วงเวลานี้ ทำหน้าที่เป็นคนกลางติดต่อระหว่างอินเดียและจีน ทำให้รับวัฒนธรรมอินเดียเอาไว้หลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพุทธสาสนานิกายมหายานเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมากสวนศาสนา ฮินดูก็มีผู้นับถือเช่นกัน
7. แคว้นใดในเขตภาคกลางของประเทศไทยที่รับอิทธิพลวัฒนธรรมเขมรอย่างชัดเจนที่สุด
1. ละโว้
2. ทวารวดี
3. เชลียง
4. สุพรรณภูมิ
ตอบ 1 หน้า 15 แคว้นละโว้หรือกัมโพช มีศูนย์กลางสำคัญอยู่ในเขตภาคกลางที่เมืองละโว้หรือลพบุรีโดยเชื่อกันว่า กัมโพชอยู่ใต้อำนาจทางการเมืองของอาณาจักรกัมพูชาแห่งเมืองพระนคร ในสมัยที่กัมพูชามีกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ขึ้นมาปกครอง ทำให้วัฒนธรรมและศิลปกรรมและแบบเขมรเข้ามามีอิทธิพลอย่างชัดเจนที่สุด ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า ศิลปะลพบุรี
8. เพราะเหตุใดแคว้นเชลียงจึงเจริญขึ้นมาในราวพุทธศตวรรษที่ 17
1. เพราะเป็นศูนย์กลางการค้าทางทะเล มีสำเภามาจอดเทียบท่าจำนวนมาก
2. เพราะเป็นที่ชุมนุมเส้นทางการค้าในดินแดนตอนในของประเทศไทยในปัจจุบัน
3. เพราะเป็นศูนย์กลางพระพุทธสาสนาที่สำคัญ
4. เพราะสามารถโจมตีแว่นแคว้นโดยรอบเอาไว้ได้
ตอบ 2 หน้า 18 แคว้นเชลียงในเขตลุ่มน้ำยม เจริญขึ้นมาในราวพุทธศตวรรษที่ 17 ในฐานะเป็นที่ชุมนุมเส้นทางคมนาคมเพื่อการค้าขายในดินแดนตอนในของประเทศไทย ปัจจุบัน ซึ่งจากหลักฐานทางโบราณคดีได้ชี้ให้เห็นว่าเชลียงมีการติดต่อค้าขายกับ อาณาจักรต่างๆ อย่างกว้างขวาและเครื่องถ้วยเชลียงเริ่มส่งเป็นสินค้าออกตั้งแต่ราวพุทธ ศตวรรษที่ 19
9. ข้อใดหมายถึงพระยามังราย
1. เป็นผู้สร้างเมืองเชียงใหม่
2. มีบรรพบุรุษคือ ลาวจก
3. เป็นสหายกับพ่อขุนรามคำแหง
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 20, 31, (คำบรรยาย) พระยามังราย มีบรรพบุรุษ คือ ราชวงศ์ลาวจก ผู้ซึ่งสถาปนาแคว้นเงินยางเชียงแสน โดยในสมัยของพระยามังรายได้ตั้งอาณาจักรล้านนาขึ้น และมีนโยบายเป็นพันธมิตรกับพ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย รวมทั้งพะเยา เพื่อต่อต้านการคุกคามของมองโกลจนสามารถสร้างเมืองเชียงใหม่ได้ใน พ.ศ. 1339 แต่เชียงใหม่จะอยู่ในฐานะเมืองหลวงของล้านนาได้ก็ตั้งแต่ พ.ศ. 1879 เป็นต้นไป
10. ช่วงเวลาใดที่สุโขทัยมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคง
1. สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
2. สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
3. สมัยพญาลิไทย
4. ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 27, 29 ช่วงเวลาที่สุโขทัยมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงมีอยู่ 2 สมัย ได้แก่
1. สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งสุโขทัยขยายอำนาจออกไปอย่างกว้างขวางในเวลา อันรวมเร็ว โดยมีความเจริญสูงทั้งทางด้านศาสนาและเศรษฐกิจ
2. สมัย พญาลิไทย ซึ่งสุโขทัยได้รวบรวมอาราจักรและสร้างความเข้มแข็งขึ้นมาใหม่แม้อาณาเขตจะ ไม่กว้างขวางเท่าสมัยพ่อขุนรามคำแหง แต่ก็มีความรุ่งเรืองทางศาสนาและวรรณกรรม
11. ข้อใดหมายถึงการปกครองแบบทหาร
1. ใช้การปกครองแบบเข้มงวดและเด็ดขาด
2. ข้าราชการทุกคนต้องเป็นทหารทั้งในยามสงบและสงคราม
3. ข้าราชการและประชาชนทุกคนต้องออกรบได้ยามมีศึก
4. สมุหกลาโหมมีอำนาจสูงสุด
ตอบ 3 หน้า 102 การปกครองแบบทหาร หมายถึง ลักษณะการปกครองที่ข้าราชการและประชาชนทุกคนต้องออกราบได้ยามมีศึก ซึ่งถือเป็นประเพณีการปกครองของชุมชนไทยมาแต่ดั้งเดิม โดยมีรากฐานมาจากประชากรของชุมชนยังมีจำนวนจำกัด ไม่เพียงพอที่จะจัดแบ่งออกเป็นทหารประจำการและพลเรือนได้
12. ประชากรมีจำนวนจำกัด มีผลต่อการปกครองอย่างไร
1. ทำให้เกิดการเกณฑ์แรงงาน
2. ทำให้มีการปกครองแบบทหาร
3. ทำให้มีกรมทหารอาสา
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 102, 154, 336-377 ในสมัยสุโขทัย อยุธยา และต้นรัตนโกสินทร์ ประชากรของอาณาจักรมีจำนวนจำกัด ทำให้เกิดการปกครองเพื่อให้รัฐสามารถใช้แรงงานประชากรได้อย่างเต็มที่และทัน ต่อเวลา ได้แก่ 1. การปกครองแบบทหาร 2. ระบบไพร่ ซึ่งเป็นระบบการควบคุมและเกณฑ์แรงงานที่มีประสิทธิภาพ 3. กรมทหารอาสา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ
13. การปกครองแบบนครรัฐมีความหมายตรงกับคำตอบข้อใด
1. มีการรวมศูนย์อำนาจที่นครรัฐใหญ่
2. แว่นแคว้นมีการรวมตัวอย่างเหนียวแน่นเข้าด้วยกัน
3. เมืองต่างๆ มีลักษณะเป็นอิสระดุจเป็นรัฐๆ หนึ่ง
4. เมืองหลวงสนับสนุนให้เมืองเล็กแยกตัวออกไปตั้งเป็นรัฐ
ตอบ 3 หน้า 104-105, 160, (คำบรรยาย การปกครองแบบนครรัฐ (City State) คือ การที่เมืองหรือนครต่างๆ มีลักษณะเป็นอิสระดุจเป็นรัฐของตัวเอง แว่นแคว้นจึงมีการรวมตัวกันแต่เพียงหลวมๆ ในลักษณะสมาพันธรัฐ ทำให้การรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางไม่มีประสิทธิภาพซึ่งจะส่งผลให้เจ้าเมือง ชั้นนอก (เมืองลูกหลวง) มีอิสระเป็นอย่างมากจากเมืองหลวง และอาจแยกตัวเป็นอิสระหรือเข้ามาแย่งชิงอำนาจเมื่อเมืองเหลวงอ่อนแอ เช่น การปกครองส่วนภูมิภาคของสุโขทัย ล้านนา และอยุธยาตอนต้น
14. หลักปฏิบัติที่บุคคลทั้งหลายต้องกระทำต่อพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ เรียกว่าอะไร
1. ทำเนียบศักดินา
2. กฎมณเฑียรบาล
3. พระราชกำหนด
4. พระไยการตำแหน่งนาพลเรือน
ตอบ 2 หน้า 124 กฎหมายสำคัญที่รองรับสถานะอันสูงสุดดุจเทวะของพระมหากษัตริย์อยุธยาก็คือ “กฎมณเฑียรบาล” ที่ตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งถือเป็นเอกสารฉบับแรกที่บันทึกเกี่ยวกับสถานะและพระราชอำนาจของพระมหา กษัตริยือยุธยาลงไว้เป็นลายลักษณ์อักษรโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดหลัก ปฏิบัติที่บุคคลทั้งหลายต้องกระทำต่อพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์
15. ในสมัยอยุธยา พระราชพิธีใดที่ข้าราชการต้องถวายสักการะพระเชษฐบิดรก่อนพระรัตนตรัย
1. บรมราชาภิเษก
2. ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
3. ฟันน้ำ
4. จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
ตอบ 2 หน้า 126 ในสมัยอยุธยา พระมหากษัตริย์ทรงถือว่าอยู่ในสถานะที่สูงกว่าพระรัตนตรัยดังหลักฐานจากพระ ราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาที่กำหนดให้ ข้าราชการต้องถวายสักการะพระเชษฐบิดรก่อนพระรัตนตรัย (พระเชษฐบิดร คือ เทวรูปของสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง และถือว่าเป็นสัญลักษณ์แทนพระมหากษัตริย์ที่สวรรคตไปแล้วทุกพระองค์)
16. ปัจจัยสำคัญข้อใดที่ทำให้อยุธยาสามารถเจริญก้าวหน้าเหนืออาณาจักรไทยอื่นๆ
1. เพราะกษัตริย์อยุธยานิยมทำสงครามธรรมยุทธ์
2. เพราะราษฎรมีอิสระจากการถูกเกณฑ์แรงงาน
3. มีชัยภูมิที่เหมาะสม
4. เพราะมีนโยบายกระจายอำนาจออกจากศูนย์กลาง
ตอบ 2 หน้า 47 ปัจจัยสำคัญในด้านอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจที่ทำให้อยุธยาเจริญก้าวหน้าเหนืออาณาจักรไทยอื่นๆ มีดังนี้ 1. มีที่ตั้งเป็นชัยภูมิที่เหมาะสมทางเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ 2. ความสามารถของพระมหากษัตริย์ที่เป็นผู้นำในการสงครามและการปกครอง 3. มีระบบการเกณฑ์แรงงานประชาชนอย่างรัดกุม 4. อาณาจักรโดยรอบอยุธยาอยู่ในสภาพอ่อนแอ ทำให้อยุธยาไม่มีศัตรูที่จะเข้ามาคุกคาม
17. ข้อใดคือความสำคัญของธรรมศาสตร์
1. เป็นกฎมณเฑียรบาลสมัยอยุธยา
2. เป็นแม่บทของการปกครองแบบจตุสดมภ์
3. เป็นแม่บทของราชศาสตร์
4. เป็นหลักกฎหมายที่ลอกเลียนจากราชศาสตร์
ตอบ 3 หน้า 134-135 กฎหมายที่ใช้ตัดสินคดีในสมัยอยุธยา ได้แก่
1. พระ ธรรมศาสตร์ ถือเป็นกฎหมายหลักอันศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญที่สุด แต่กฎหมายธรรมศาสตร์ก็ไม่สามารถครอบคลุมกรณีพิพาทที่เกิดขึ้นในอาณาจักร อยุธยาได้ทั้งหมด
2. พระ ราชศาสตร์ คือ พระราชกำหนดและพระราชบัญญัติ ซึ่งเป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นผู้ตราขึ้นโดยใช้พระธรรมศาสตร์เป็นแม่บท จะใช้เมื่อมีกรณีที่มิได้มีข้อตัดสินระบุไว้ในพระธรรมศาสตร์ ด้วยเหตุนี้จึงถือว่าราชศาสตร์เป็นสาขาคดีของธรรมศาสตร์
18. การปกครองแบบทหารยกเลิกไปเพราะเหตุใด
1. เพราะรัฐมีนโยบายกระจายอำนาจออกจากศูนย์กลาง
2. เพราะมีพลเมืองจำนวนจำกัด
3. เพราะมีกำลังทหารอาสาต่างชาติ
4. เพราะมีการปฏิรูปการปกครองในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ
ตอบ 4 หน้า 224, 426-427 การปกครองแบบทหารยกเลิกไปเมื่อมีการปฏิรูปการปกครองในสมัยพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าฯ (รัชกาลที่ 5) โดยมีการออก พ.ร.บ. เกณฑ์ทหาร ร.ศ. 124 ขึ้นใน พ.ศ. 2448 เพื่อกำหนดให้ชายฉกรรจ์ทุกคนที่มีอายุครบ 18 ปี ยกเว้นคนจีนและคนป่าคนดอย ต้องเข้ามาเกณฑ์ทหารรับราชการในกองทัพ ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยมีกองทัพประจำการหรือทหารอาชีพแทนการเกณฑ์ไพร่เข้ากอง ทัพนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
19. ระบบเมืองพระยามหานครถูกยกเลิกไปในรัชกาลใด
1. พระบรมไตรโลกนาถ
2. พระนเรศวร
3. พระเพทราชา
4. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ
ตอบ 2 หน้า 162-164 การปรับปรุงระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมีดังนี้ 1. รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง เพื่อเพิ่มอำนาจให้เมืองหลวงควบคุมเขตภูมิภาคได้มั่นคงขึ้น (แต่มิได้มีผลถาวร) 2. ยกเลิกระบบเมืองลูกหลวงและเมืองพระยามหานครในเขตเมืองชั้นนอก และจัดแบ่งหัวเมืองในเขตชั้นนอกเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี ตามลำดับ 3. จัดส่งขุนนางออกไปเป็นเจ้าเมืองเหล่านี้ และให้แต่ละเมืองขึ้นตรงต่อเมืองหลวง ฯลฯ
20. เหตุใดเจ้าเมืองในสมัยอยุธยาจึงมีอำนาจมาก
1. เพาะเป็นตำแหน่งสืบสกุล
2. เพราะการแต่งตั้งถอดถอนเจ้าเมืองขึ้นกับคระกรมการเมือง
3. เพราะเจ้าเมืองมีอำนาจแต่งตั้งกรมการเมืองในหัวเมืองส่วนภูมิภาค
4. เพราะเจ้าเมืองเป็นผู้สอดแนมการปฏิบัติหน้าที่ของยกระบัตร
ตอบ 3 หน้า 167, 195 ในสมัยอยุธยา เจ้าเมืองจะมีอำนาจมาก เพราะพระมหากษัตริย์ยินยอมให้เจ้าเมืองมีอำนาจแต่งตั้งกรมการเมืองระดับ ต่างๆ ในหัวเมืองส่วนภูมิภาคได้ ยกเว้นตำแหน่งยกกระบัตรที่ทางเมืองหลวงจะเป็นผู้แต่งตั้งเอง ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ได้มีการลดอำนาจของเจ้าเมืองลง โดยใช้นโยบายแบ่งแยกความจงรักภักดีออกเป็นสองทาง (Dual Allegiance) กล่าวคือ ให้ขุนนางในเมืองหลวงเป็นผู้แต่งตั้งกรมการเมืองหรือขุนนางหัวเมืองตำแหน่ง ต่างๆ แทนเจ้าเมือง เพื่อให้เมืองหลวงควบคมอำนาจเจ้าเมืองในเขตหัวเมืองชั้นนอกได้มากขึ้น
21. ระบบเมืองประเทศราชถูกยกเลิกไปในรัชกาลใด
1. พระบรมไตรโลกนาถ
2. พระนเรศวร
3. พระเพทราชา
4. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ
ตอบ 4 หน้า 56, 234-235 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ (รัชกาลที่ 5) ทรงปฏิรูประบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคในรูปรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยการจัดตั้งระบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้นเพื่อให้เมืองหลวงสามารถควบคุมอาณาจักร และประเทศราชได้อย่างทั่วถึง ส่งผลให้ระบบเมืองประเทศราชถูกยกเลิกเด็ดขาด และทำให้ประเทศไทยสามารถผนวกดินแดนในเขตชั้นนอกและเขตประเทศราชให้เป็นปึก แผ่นอันหนึ่งอันเดียวกับส่วนกลางในลักษณะรัฐประชาชาติ (national State) ได้สำเร็จ
22. กษัตริย์พระองค์ใดโปรดให้ยุบเมืองลูกหลวงเดิมและจัดตั้งเขตมณฑลราชธานี
1. พระบรมไตรโลกนาถ
2. พระนเรศวร
3. พระเพทราชา
4. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ
ตอบ 1 หน้า 148 นโยบายการปฏิรูประบบราชการของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีดังนี้
1. แบ่ง แยกงานบริหารออกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือน รวมทั้งตั้งกรมสำคัญขึ้นใหม่ 2 กรม คือ กรมกลาโหมทำหน้าที่ดูแลฝ่ายทหารและกรมมหาดไทยทำหน้าที่ดูแลฝ่ายพลเรือน
2. จัดการ ปกครองในรูปรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง และยกเลิกระบบเมืองลูกหลวง (แต่มิได้ยกเลิกเด็ดขาด) โดยจัดให้เขตเมืองชั้นในเป็นเขตมณฑลราชธานี ซึ่งเมืองหลวงเข้าไปควบคุมโดยตรง
23. เหตุใดรัชกาลที่ 5 จึงทรงปฏิรูปการปกครอง
1. เพื่อกระจายอำนาจออกจากศูนย์กลาง
2. เพื่อยกเลิกการแบ่งงานตามลักษณะหน้าที่
3. การบริหารราชการแผ่นดินสับสน รายได้ของรัฐรั่วไหล
4. เพื่อลดอำนาจชนชั้นเจ้านาย
ตอบ 3 หน้า 223-226 ปัญหาในระบบบริหารราชการที่ทำให้รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปการปกครอง มีดังนี้
1. ใน ส่วนกลาง หน่วยงานราชการมีงานในความรับผิดชอบไม่เสมอกัน ทำให้การบริหารราชการแผ่นดินก้าวก่าย สับสน รายได้ของรัฐรั่วไหล เพราะไม่มีการจัดสรรงบประมารให้แต่ละกรมกอง และไม่มีเงินเดือนให้ข้าราชการ
2. ใน ส่วนภูมิภาค เมืองหลวงควบคุมหัวเมืองชั้นนอกได้ไม่เต็มที่ เจ้าเมืองหารายได้จากการกินเมือง และไม่มีการกำหนดเขตแดนของไทยอย่างแน่ชัด จึงเปิดโอกาสให้มหาอำนาจเข้าแทรกแวงได้โดยง่าย
24. การบริหารราชการแผ่นดินสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีลักษณะแบบใด
1. การแบ่งงานตามลักษณะงานโดยไม่เคร่งครัด
2. แบ่งงานออกเป็นภูมิภาค
3. แบ่งงานแบบเคร่งครัด
4. แบ่งออกเป็นมณฑลต่างๆ
ตอบ 2 หน้า 158, 194-195 โครงสร้างระบบบริหารราชการแผ่นดินทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในสมัยรัตน โกสินทร์ตอนต้นยังเป็นเช่นเดียวกับสมัยอยุธยาตอนปลาย คือ จัดระบบบริหารราชการแผ่นดินแบบแบ่งงานออกเป็นเขตแดนหรือภูมิภาค (Territorial Basis) เพียงแต่จะมีการเพิ่มจำนวนหรือเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของกรมกองไปบ้าง
25. ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เจ้าเมืองถูกลดอำนาจโดยวิธีใด
1. ให้ขุนนางในเมืองหลวงเป็นผู้แต่งตั้งขุนนางหัวเมือง
2. จัดตั้งระบบเมืองพระยามหานคร
3. ให้เจ้านายกำกับราชการหัวเมือง
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 20. ประกอบ
26. เป้าหมายในการปฏิรูประบบราชการของรัชกาลที่ 5 คือข้อใด
1. จัดระบบงานให้เป็นแบบแบ่งหน้าที่โดยเคร่งครัด
2. แบ่งระบบงานออกเป็นภูมิภาค
3. เพิ่มอำนาจเจ้าเมือง
4. ให้คระกรรมการเมืองเป็นผู้เลือกสรรคณะเข้าหลวงเทศาภิบาล
ตอบ 1 หน้า 229-239, (คำบรรยาย) เป้าหมายในการปฏิรูประบบราชการของรัชกาลที่ 5 มีดังนี้ 1. ในส่วนกลาง เปลี่ยนแปลงระบบกรมกองใหม่ โดยจัดระบบงานให้เป็นแบบแบ่งงานตามหน้าที่ (Functional Basis) อย่างเคร่งครัดและแท้จริง ซึ่งส่งผลให้มีกระทรวงเพิ่มขึ้น แต่ละกระทรวงมีหน้าที่เฉพาะและข้าราชการมีเงินเดือนประจำ 2. ใน ส่วนภูมิภาค จัดการปกครองในรูปรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง คือ จัดการปกครองในรูปของมณฑลเทศาภิบาล ส่งผลให้เกิดรัฐประชาชาติอย่างแท้จริง และมีการจัดตั้งสุขาภิบาลตำบลขึ้นในส่วนท้องถิ่น
27. รัชกาลที่ 5 ทรงแก้ไขปัญหาการสืบสันตติวงศ์อย่างไร
1. ให้มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนในการสืบสันตติวงศ์ 2. ให้คณะเสนาบดีเป็นผู้เลือกเฟ้นพระมหากษัตริย์
3. โปรดฯ ให้ตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ 4. ให้คระเสนาบดีเป็นผู้เลือกสรรวังหน้า
ตอบ 1 หน้า 395, 401, (คำบรรยาย) รัชกาลที่ 5 ทรงแก้ไขปัญหาการสืบสันตติวงศ์ คือ โปรดฯให้ยกเลิกตำแหน่งวังหน้า และสถาปนาองค์รัชทายาทหรือตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิ-ราชสยามมกุฎราชกุมาร ขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรก นอกจากนี้ยังให้มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนเกี่ยวกับการสืบสันตติวงศ์ โดยที่ไม่ต้องให้คระเสนาบดีเป็นผู้พิจารณาเลือกเฟ้นกษัตริย์อีก (ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 จึงโปรดฯ ให้ตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ขึ้น)
28. หอรัษฎากรพิพัฒน์มีหน้าที่อะไร
1. ควบคุมการเกณฑ์แรงงาน
2 กำหนดศักดินาข้าราชการ
3. ควบคุมกรมกองต่างๆ ให้ส่งภาษีตามกำหนด
4. ควบคุมระบบพระคลังสินค้า
ตอบ 3 หน้า 205, 216, 228 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ดุจกรมบัญชีกลาง คอยตรวจสอบบัญชี และควบคุมกรมกองต่างๆ ให้ส่งภาษีตามกำหนดแล้วจึงส่งเข้าพระคลังหลวงต่อไป ทั้งนี้เพื่อให้เป็นสถานที่ที่จะรวบรวมงานจัดเก็บภาษีที่เคยกระจัดกระจาย อยู่ตามกรมต่างๆ มาไว้ในที่แห่งเดียวกัน ทำให้เงินภาษีอากรไม่รั่วไหลสูญหายไปดังแต่ก่อน
29. ข้อใดคือสาเหตุที่ทำให้การปฏิรูปการปกครองในระยะแรกของรัชกาลที่ 5 หยุดชะงัก
1. เกิดกบฏหัวเมือง
2. การต่อต้านของฝ่ายสยามหนุ่ม
3. การขัดขวางจากพวกอนุรักษนิยม
4. ระบบมณฑลเทศาภิบาลไม่มีประสิทธิภาพ
ตอบ 3 หน้า 228-229 อุปสรรคที่ทำให้การปฏิรูปราชการแผ่นดินในระยะแรกของรัชกาลที่ 5 ต้องหยุดชะงักลงได้แก่
1. การขัดขวางจากฝ่ายอนุรักษนิยมทั้งในลักษณะของการดื้อแพ่งและการต่อต้านด้วยกำลังอาวุธ
2. การแทรกแซงของมหาอำนาจตะวันตก
3. การ ขาดประสบการณ์ของกลุ่มสยามหนุ่ม โดยเฉพาะบรรดาสมาชิกสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินซึ่งยังไม่คุ้นเคยกับการแสดง ความคิดเห็น และยังเกรงกลัวต่ออิทธิพลของฝ่ายอนุรักษนิยมอยู่
30. ผลการปฎิรูประเบียบราชการแผ่นดินของรัชกาลที่ 5 คือข้อใด
1. ผลการบริหารเป็นแบบแบ่งงานตามหน้าที่อย่างแท้จริง
2. เกิดรัฐประชาชาติอย่างแท้จริง
3. ข้าราชการมีเงินเดือนประจำ
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 21. และ 26. ประกอบ
31. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสังคมสุโขทัย
1. เป็นสังคมที่มีการแบ่งชนชั้นแบบไม่ถาวร
2. จำนวนประชากรมีน้อยเมื่อเทียบกับอาณาจักรของคนไทยอื่นๆ ในสมัยเดียวกัน
3. ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นอยู่ในระบบอุปถัมภ์-บริวาร
4. เป็นสังคมที่ยังไม่มีทาส
ตอบ 4 หน้า 270-272, 289-290, 293 ลักษณะของสังคมสุโขทัยและล้านนามีดังนี้
1. จำนวนของประชากรมีจำกัด เมื่อเทียบกับอาณาจักรของคนไทยอื่นๆ ในสมัยเดียวกัน
2. เป็นสังคมที่มีการแบ่งลักษณะชนชั้นแบบไม่ถาวร โดยชนชั้นต่างๆ สามารถเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงสถานะได้
3. มีการจัดระเบียบและควบคุมสังคมด้วยการกำหนดความสัมพันธ์แบบผู้อุปถัมภ์-บริวาร (Patron-client Relationship)
4. เป็นสังคมที่มีข้าหรือทาสซึ่งจัดเป็นชนชั้นต่ำสุดของสังคม ฯลฯ
32. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับลูกเจ้าลูกขุน
1. ลูกเจ้าลูกขุนไม่ต้องออกรบ
2. กลุ่มลูกเจ้าลูกขุนไม่รวมพวกขุนนาง
3. ลูกเจ้าลูกขุนมักก่อปัญหากบฏ
4. ลูกเจ้าลูกขุนต้องเสียภาษีมากกว่ากลุ่มอื่น
ตอบ 3 หน้า 273 ในสมัยสุโขทัยและล้านนา ลูกเจ้าลูกขุนที่พระมหากษัตริย์ไว้วางพระทัยจะได้ออกไปปกครองเมืองสำคัญใน ฐานะเจ้าเมืองลูกหลวง ซึ่งทำให้ลูกเจ้าลูกขุนมีอำนาจเป็นอิสระค่อนข้างสูงจางเมืองหวง และมักก่อปัญหากบฏขึ้นอยู่เสมอ ดังปรากฏในหลักฐานของสุโขทัยและล้านนาที่ต่างก็ระบุถึงปัญหาการกบฏของเจ้า เมืองลูกหลวงเอาไว้ โดยเฉพาะล้านนาจะกล่าวไว้อยู่บ่อยครั้ง
33. ลูกเจ้าลูกขุนมีหน้าที่อย่างไร
1. เป็นมูลนายของไพร่
2. เป็นเจ้าเมือง
3. ช่วยพระมหากษัตริย์ในการบริหารราชการ
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 273 หน้าที่ของลูกเจ้าลูกขุนมีดังนี้ 1. ช่วยพระมหากษัตริย์บริหารราชการสำคัญด้านต่างๆ ทั้งในการปกครองและการสงคราม 2. เป็นเจ้าเมืองลูกหลวงปกครองหัวเมืองสำคัญตามระบบนครรัฐ 3. เป็นมูลนายของไพร่ คอยดูแลไพร่ให้อยู่ในภูมิลำเนา คอยเกณฑ์ไพร่ให้มาทำงานตามกำหนดเวลา และเกณฑ์ไพร่เข้ากองทัพไปทำการรบด้วย ฯลฯ
34. ขุนนางชั้นผู้น้อย ผู้ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างประชาชนในเมืองหรือตำบลนั้นๆ กับผู้บังคับบัญชาได้แก่ตำแหน่งใด
1. ล่าม
2. กว้าน
3. นายสิบ
4. นายร้อย
ตอบ 1 หน้า 273, 277, (คำบรรยาย) จากการศึกษาเอกสารของล้านนา ก็พอจะได้เค้ามูลความหมายของคำว่า “ล่าม” ว่าคงหมายถึง ขุนนางชั้นผู้น้อย ผู้ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างประชาชนหรือไพร่ในเมืองหรือตำบลนั้นๆ กับผู้บังคับบัญชา (ส่วนคำว่า “กว้าน” คือ ผู้ช่วย, “นายสิบ” คือ ผู้ดูแลรับผิดชอบไพร่ 10 คน, “นายร้อย” คือ ผู้ดูแลรับผิดชอบไพร่ 100 คน)
35. บุคคลที่จัดว่าเป็นขุนนางชั้นผู้น้อยในสมัยสุโขทัย ควรจะนับตั้งแต่ตำแหน่งใดลงมา
1. เจ้าพัน
2. ล่ามพัน
3. ล่ามบ่าว
4. กว้าน
ตอบ 1 หน้า 271, 277 บุคคลที่จัดว่าเป็นขุนนางชั้นผู้น้อยหรือข้าราชการระดับล่างในสมัยสุโขทัย ควรจะนับตั้งแต่ตำแหน่งผู้ช่วยของเจ้าพันลงมา ซึ่งได้แก่ ล่ามพัน พันน้อย ล่ามบ่าว นายร้อย นายห้าสิบ กว้าน เป็นต้น
36. ไพร่ในข้อใดที่นักวิชาการเชื่อว่า เป็นผู้ที่มีเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจมาสั่นกระดิ่งร้องทุกข์
1. ไพร่ฟ้าข้าไท
2. ไพร่ฟ้าหน้าปก
3. ไพร่ฟ้าหน้าใส
4. ไพร่ไทย
ตอบ 2 หน้า 90-91 , 271 มรส มัยสุโขทัย ประชาชนสามารถร้องทุกข์ได้โดยตรงต่อพระมหากษัตริย์ซึ่งมีหน้าที่ตัดสินข้อ พิพาทและให้ความยุติธรรม ดังข้อความตอนหนึ่งในศิลาจารึกได้ระบุไว้ว่า “…ไพร่ฟ้าหน้าปก กลางบ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่าวถึงกล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้ไปสั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียก เมื่อถามสวนความแก่มันด้วยชื่อไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึงชม…”
37. ระบบไพร่มีประโยชน์อย่างไร
1. รัฐได้เก็บภาษีจากไพร่
2. 2. รัฐได้เกณฑ์แรงงานไพร่ไปรบ
3. ไพร่ได้รับความคุ้มครองจากเจ้านาย
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 273, 283, (คำบรรยาย) ประโยชน์ของระบบไพร่มีดังนี้
1. เพื่อให้รัฐสามารถเกณฑ์แรงงานประชากรมาใช้ในเวลาจำเป็นทั้งยามสงบและยามสงคราม
2. เพื่อควบคุมให้ไพร่อยู่ในกฎหมาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
3. เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และการเก็บภาษีอากรจากไพร่หรือสามัญชน
4. เพื่อผลประโยชน์ของไพร่ในการได้รับความคุ้มครองจากมูลนาย
38. ข้อใดมิใช่สิทธิของไพร่สมัยสุโขทัย
1. ไม่ต้องเสียภาษี
2. ร้องทุกข์ได้ด้วยตนเอง
3. มีสิทธิในที่ดินที่ได้หักร้างถางพง
4. มีสิทธิสืบทอดมรดก
ตอบ 1 หน้า 287-288 ไพร่สุโขทัยมีสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคในการดำเนินชีวิตหลายด้าน ดังนี้
1. สิทธิในการร้องทุกข์ต่อพระมหากษัตริย์ได้ด้วยตนเองโดยตรง
2. สิทธิในการศาล
3. สิทธิในที่ดินที่ได้หักร้างถางพงไว้
4. สิทธิในการสืบทอดมรดกแก่ลูกหลาน
5. สิทธิในการค้าขายสินค้าได้ทุกชนิดอย่างเสรี
6. สิทธิในการได้รับยกเว้นภาษีผ่านด่านหรือจกอบ แต่ก็ต้องเสียภาษีชนิดอื่น เช่น ภาษีข้าว หรืออากรค่านา
7. สิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพ ฯลฯ
39. “พระขะพุงผี” ในสมัยสุโขทัย เทียบได้กับความเชื่อในข้อใดของชาวล้านนา
1. เสื้อเมือง
2. เสื้อเรียน
3. เสื้อนา
4. เสื้อข้าว
ตอบ 1 หน้า 293, 583, 589, (คำบรรยาย) สังคม ไทยในสมัยสุโขทัยและล้านนาจะมีความเชื่อเรื่องผีกล่าวคือ ชาวสุโขทัยจะมีความเชื่อเรื่อง “พระขะพุงผี” หรือเทพยดาประจำชาติที่เป็นใหญ่กว่าผีทุกผีในเมืองสุโขทัย ซึ่งอาจเทียบได้กับความเชื่อของชาวล้านนาที่ว่า มีเทวดาประจำเมืองล้านนาหรือที่เรียกว่า “เสื้อเมือง” (ส่วนคำว่า “เสื้อเรือน” คือ เทวดาประจำบ้าน, “เสื้อนา” คือเทวดาประจำนา, “เสื้อข้าว” คือ เทวดาในต้นข้าว)
40. “ข้อยมาเป็นข้า” เป็นทาสชนิดหนึ่งของล้านนา ถามว่าถ้าเทียบกับสมัยอยุธยาจะเทียบได้กับทาสชนิดใด
1. ทาสสินไถ่
2. ทาสที่ได้มาจากการช่วยให้พ้นโทษ
3. ทาสในเรือนเบี้ย
4. ทาสเชลย
ตอบ 4 หน้า 290, 351, (คำบรรยาย) ข้าหรือทาสของล้านนามี 5 ชนิด คือ
1. ข้าที่ซื้อด้วยข้าวของซึ่งตรงกับทาสสินไถ่ของอยุธยา
2. ลูกข้าหญิง ซึ่งตรงกับทาสในเรือนเบี้ยของอยุธยา
3. มอบตัวเป็นข้า ซึ่งตรงกับทาสที่เลี้ยงไว้ในยามข้าวยากหมากแพงของอยุธยา
4. ฉิบหายด้วยความผิดจึงเข้าเป็นข้า ซึ่งตรงกับทาสที่ได้มาด้วยการช่วยให้พ้นโทษปรับของอยุธยา
5. ข้อยมาเป็นข้า ซึ่งตรงกับทาสเชลยของอยุธยา
41. ข้อใดเป็นความจริงเกี่ยวกับชนชั้นในสมัยล้านนา
1. ทรัพย์สินของลูกเจ้าลูกขุนถูกตีราคาต่ำกว่าของสามัญชน
2. ลูกเจ้าลูกขุนไม่สามารถหาประโยชน์จากนาขุมการเมือง
3. ถ้าลูกเจ้าลูกขุนตายโดยไม่ทำพินัยกรรม ทรัพย์สินต้องตกเป็นของรัฐ
4. ลูกเจ้าลูกขุนถูกลงโทษปรับน้อยกว่าสามัญชน
ตอบ 3 หน้า 275 สิทธิและวิธีคานอำนาจลูกเจ้าลูกขุนล้านนามีดังนี้
1. มีสิทธิหาผลประโยชน์จากนาขุมราชการหรือนาขุมการเมือง แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นอย่างแท้จริง
2. ทรัพย์สินของลูกเจ้าลูกขุนถูกตีราคาสูงกว่าของสามัญชน
3. ถ้าลูกเจ้าลูกขุนตายโดยไม่ทำพินัยกรรมไว้ ทรัพย์สินต้องตกเป็นของรัฐ (ยกเว้นเจ้าขุนนั้นมีความตีความชอบ ทางราชการจะยึดมาเพียงครึ่งหนึ่ง) แต่ถ้าเจ้าขุนสั่งเรื่องมรดกไว้ก็ให้เป็นไปตามนั้น
4. เมื่อทำความผิดจะถูกลงโทษปรับหนักกว่าสามัญชน แม้จะเป็นความผิดชนิดเดียวกัน ฯลฯ
42. สิ่งใดใช้เป็นเครื่องวัดความสูงศักดิ์ของชนชั้นในสมัยอยุธยาได้ชัดเจนที่สุด
1. ยศ
2. ตำแหน่ง
3. ราชทินนาม
4. ศักดินา
ตอบ 4 หน้า 309, 320, 358, (คำบรรยาย) การกำหนดให้บุคคลมีศักดินากันคนละเท่าใดนั้นจะกำหนดจากยศ ตำแหน่ง และความรับผิดชอบในหน้าที่ราชการ โดยผู้ใดมียศสูง มีตำแหน่งและงานในความรับผิดชอบสำคัญมาก ผู้นั้นก็จะมีศักดินาสูง ดังนั้นศักดินาจึงใช้เป็นเครื่องวัดความสูงศักดิ์ของชนชั้นในสมัยอยุธยาได้ ชัดเจนที่สุด และมีความแน่นอนมากกว่ายศตำแหน่ง และราชทินนาม
43. ไพร่หลวงไม่มีสิทธิทำสิ่งใด
1. ยกมรดกให้ลุก
2. ย้ายไปเป็นไพร่สม
3. แต่งงานกับไพร่สม
4. ถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์
ตอบ 2 หน้า 339, 342 ในสมัยรัชกาลของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้มีกฎหมายระบุไว้ชัดเจนกว่าลูกหลานไพร่หลวงจะมาขึ้นทะเบียนเป็นไพร่สมไม่ ได้ ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกหลานไพร่หลวงที่ทนภาระของไพร่หลวงไม่ได้คิด จะโยกย้ายไปเป็นไพร่สมของเจ้านาย ซึ่งจะทำให้ขาดกำลังไพร่ของพระมหากษัตริย์ไปเสีย (แต่ไพร่สมสามารถย้ายไปเป็นไพร่หลวงได้เสมอ)
44. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับไพร่สม
1. หนีไปเป็นไพร่หลวง
2. พระมหากษัตริย์มีนโยบายลดจำนวนไพร่สม
3. พระมหากษัตริย์มีนโยบายเพิ่มจำนวนไพร่สม
4. มีสภาพความเป็นอยู่ลำบากกว่าไพร่หลวง
ตอบ 2 หน้า 339, 342 พระมหากษัตริย์อยุธยามีนโยบายลดจำนวนไพร่สมและเพิ่มจำนวนไพร่หลวงแม่เป็น ไพร่หลวง มีลูกชายหญิงเท่าใดให้ขึ้นสังกัดไพร่หลวงทั้งหมด แต่ถ้าแม่เป็นไพร่สมและพ่อเป็นไพร่หลวงเกิดลูกชายหญิงเท่าใดให้แบ่งปันตาม บานแผนก
45. ทาสชนิดใดในสมัยอยุธยาไถ่ตัวเป็นอิสระไม่ได้
1. ทาสในเรือนเบี้ย
2. ทาสที่ช่วยให้พ้นโทษปรับ
3. ทาสสินไถ่ประเภทขายขาด
4. ทาสที่ได้มาแต่บิดามารดา
ตอบ 3 หน้า 351-352 ทาสในสมัยอยุธยาที่ไม่สามารถไถ่ถอนตัวเป็นอิสระได้มีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่
1. ทาส สินไถ่ประเภทขายขาด คือ ทาสที่ถูกขายเต็มราคาค่าตัว หรือสูงกว่า จึงตกเป็นสิทธิของนายเงินอย่างสมบูรณ์ จะมาไถ่ถอนตัวเป็นอิสระไม่ได้ และผู้ขายไม่ต้องเป็นนายประกัน
2. ทาส เชลย คือ ผู้ที่ถูกกวาดต้อนมาจากการศึกสงคราม หรือเป็นราษฎรของประเทศเพื่อนบ้านที่เข้ามาสวามิภักดิ์ จึงถือเป็นทาสของพระมหากษัตริย์ จะมาไถ่ถนตัวเป็นอิสระไม่ได้
46. ระบบศักดินาเริ่มปรากฏลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในรัชกาลใด
1. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
2. สมเด็จพระนเรศวร
3. สมเด็จพระนารายณ์
4. สมเด็จพระเพทราชา
ตอบ 1 หน้า 357-358 การกำหนดศักดินาอาจเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น เพราะปรากฏหลักฐานในกฎหมายลักษณะโจร (จารึกหลักที่ 38) ซึ่งเชื่อว่าทำขึ้นใน พ.ศ. 1940 แต่มาเริ่มปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนครั้งแรกในรัชกาลสมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถ เมื่อทรงตราพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน และพระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง ใน พ.ศ. 1998
47. ระบบศักดินากำหนดจากสิ่งใด
1. ยศของบุคคลนั้น
2. ที่ดินของบุคคลนั้น
3. ไพร่ในสังกัดของบุคคลนั้น
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 42. ประกอบ
48. คุณสมบัติประการหนึ่งของการถวายตัวเป็นขุนนางสมัยอยุธยา ผู้ถวายตัวต้องมีอายุตั้งแต่กี่ปีขึ้นไป
1. 21 ปี
2. 25 ปี
3. 31 ปี
4. 35 ปี
ตอบ 3 หน้า 316 คุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าถวายตัวเป็นขุนนางสมัยอยุธยาประการหนึ่ง คือ ต้องประกอบด้วยวุฒิ 4 ประการ ได้แก่ 1. ชาติวุฒิ คือ เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากอัครมหาเสนาบดี 2. วัยวุฒิ คือ มีอายุตั้งแต่ 31 ปีขึ้นไป 3. คุณวุฒิ คือ เป็นผู้มีความรู้ฝ่ายทหารและพลเรือนชำนิชำนาญ 4. ปัญญาวุฒิ คือ มีสติปัญญาดี รอบรู้ในกิจการบ้านเมือง และเรื่องนานาประเทศ
49. เจ้าพระยาจักรรี เป็นยศและราชทินนามของขุนนางกรมใด
1. กลาโหม
2. มหาดไทย
3. นครบาล
4. คลัง
ตอบ 2 หน้า 150-152, 319-320 หน้าที่ในตำแหน่งของกรมกองต่างๆ จะมียศและพระราชทินนามกำกับไว้โดยเฉพาะ ดังนี้
1. เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ฯ เป็นยศและราชทินนามของขุนนางกรมหาดไทย
2. เจ้าพระยามหาเสนาบดีวิริยภักดีฯ เป็นยศและราชทินนามของขุนนางกรมกลาโหม
3. พระยายมราชอินทราธิบดีฯ เป็นยศและราชทินนามของขุนนางกรมเวียงหรือนครบาล
4. พระยาพระคลัง เป็นยศและราชทินนามของขุนนางกรมพระคลังหรือโกษาธิบดี ฯลฯ
50. ข้อใดถูกต้องในสมัยรัตนโกสินทร์
1. เจ้านายมีอิทธิพลลดลงกว่าสมัยอยุธยา
2. ผู้เข้ารับราชการมีอำนาจเป็นอย่างมาก
3. “วังหน้า” ทุกพระองค์สิ้นพระชนม์หลังพระมหากษัตริย์
4. ไพร่สมของเจ้านายเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก
ตอบ 1 หน้า 391-392, 400-401 ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์ทรงพยายามที่จะควบคุมกำลังคนของเจ้านาย คือ พวกไพร่สมให้รัดกุมมากกว่าแต่ก่อน ทำให้เจ้านายมีอิทธิพลและมีอำนาจลดลงกว่าสมัยอยุธยา แต่เสถียรภาพของขุนนางกลับมีความมั่นคงและมีอิทธิพลมากขึ้นทั้งนี้เพราะ จำนวนไพร่หลวงที่อยู่ภายใต้การดูแลของขุนนางไม่ร่อยหรอไปเหมือนกับสมัย อยุธยาตอนปลาย
51. ข้อใดถูกต้องในสมัยต้นรัตนโกสินทร์
1. ขุนนางได้เลือกสรรพระมหากษัตริย์
2. ขุนนางไม่ได้ประโยชน์จากภาษีเลย
3. ไพร่หลวงสังกัดขุนนางหนีไปเป็นไพร่สมกันมาก
4. ขุนนางตระกูลบุนนาคหมดบทบาทไป
ตอบ 1 หน้า 400-404 ปัจจัยที่ทำให้ขุนนางในสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีอำนาจเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ 1. ขุนนางมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระมหากษัตริย์ 2. ไพร่หลวงในสังกัดขุนนางที่หลบหนีไปเป็นไพร่สมมีจำนวนลดลง ทำให้ขุนนางมีความมั่นคงมากขึ้น 3. คณะเสนาบดีซึ่งส่วนใหญ่เป็นขุนนางได้เลือกสรรพระมหากษัตริย์ 4. ขุนนางจำนวนหนึ่งได้ประโยชน์จากระบบเจ้าภาษีนายอากร 5. ขุนนางตระกูลบุนนาคมีอำนาจโดยเด่นที่สุดตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์จนถึงต้นรัชกาลที่ 5 ฯลฯ
52. การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 มีผลอย่างไรต่อขุนนาง
1. ขุนนางได้เป็นเสนาบดีมากกว่าเจ้านาย
2. ขุนนางตระกูลบุนนาคเสื่อมอิทธิพลไป
3. ขุนนางไม่ได้เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลอีกต่อไป
4. ขุนนางได้เก็บเงินจากเจ้าภาษีไว้เป็นสมบัติส่วนตัวมากกว่าแต่ก่อน
ตอบ 2 หน้า 411-412 การปฏิรูประบบราชการในสมัยรัชกาลที่ 5 มีผลต่อขุนนางดังนี้
1. คณะเสนาบดีรุ่นเก่าที่มีตระกูลบุนนาคเป็นผู้นำเสื่อมอิทธิพลลง โดยเสนาบดีรุ่นใหม่ส่วนใหญ่จะเป็นเจ้านายมากกว่าขุนนาง
2. ข้าราชการมีเงินเดือน และการใช้เงินส่วนของรัฐเพื่อกิจการส่วนตัวนับเป็นของต้องห้าม
3. การคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการจะพิจารณาจากความรู้เป็นหลัก
4. มีการเปิดรับสามัญชนที่มีการศึกษาดีเข้าสู่ระบบราชการ ฯลฯ
53. “เข้าเดือน ออก 3 เดือน” คืออะไร
1. ระยะเกณฑ์แรงงานของไพร่สมสมัยอยุธยา
2. ระยะเกณฑ์แรงงานของไพร่หลวงอยุธยา
3. เวลาที่ไร่สมต้องเข้าสงครามในสมัยรัตนโกสินทร์
4. ระยะเวลาที่ไพร่หลวงต้องเข้าเวรในสมัยรัตนโกสินทร์
ตอบ 4 หน้า 186, 419, (คำบรรยาย) ในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ลดระยะเวลาเกณฑ์แรงงานของไพร่หลวงลงโดยให้มาเข้าเวร 1 เดือน ออก 3 เดือน เพื่อให้ไพร่มีเวลาทำงานส่วนตนมากขึ้น ในยามปกติใครไม่ต้องการมาทำงานก็ให้ส่งค่าราชการมาได้ปีละ 18 บาท หรือเดือนละ 6 บาท สำหรับไพร่สมก็ให้รับราชการโดยให้เข้าเวรปีละ 1 เดือน ถ้าจ่ายค่าราชการก็จ่ายปีละ 6 บาท
54. การสักข้อมือไพร่ เริ่มมีครั้งแรกสมัยใด
1. ล้านนา
2. อยุธยา
3. ธนบุรี
4. รัตนโกสินทร์
ตอบ 3 หน้า 392, 417 (คำบรรยาย) การสักข้อมือไพร่เริ่มขึ้นครั้งแรกตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตารกสินแห่งกรุง ธนบุรีเป็นต้นมา โดยได้กำหนดให้สักข้อมือไพร่เป็นตัวอักษรไว้ที่ด้านใน ระบุชื่อมูลนายและชื่อเมืองอันเป็นภูมิลำเนา เพื่อป้องกันไพร่หลบหนี สับเปลี่ยนมูลนาย หรือหนีไปหลบซ่อนอยู่ต่างเมืองและตามป่าเขาอีก จึงเป็นทางป้องกันมิให้ไพร่หลวงสูญหาย หรือมิให้ไพร่หลวงหนีไปเป็นไพร่สมของมูลนายได้ง่ายเหมือนสมัยก่อน
55. การสักข้อมือไพร่มีผลอย่างไร
1. ไพร่สมเพิ่มมากขึ้น
2. เกิดกบฏไพร่ขึ้น
3. ไพร่หนีไปอยู่ป่าได้มากขึ้น
4. ไพร่หลวงไม่สูญหายอย่างแต่ก่อน
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 54. ประกอบ
56. เหตุใดไพร่จึงถูกเกณฑ์แรงงานน้อยลงในสมัยรัตนโกสินทร์
1. การเน้นการปกครองแบบธรรมราชา
2. มีแรงงานชาวจีนเข้ามามากขึ้น
3. รัฐต้องการให้ไพร่ใช้เวลาปลูกข้าวมากขึ้น
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 416-424, (คำบรรยาย) ปัจจัยที่ทำให้ไพร่ถูกเกณฑ์แรงงานน้อยลงในสมัยรัตนโกสินทร์จนกระทั่งมีการยก เลิกระบบไพร่อย่างสิ้นเชิงในสมัยรัชกาลที่ 5 มีดังนี้
1. กษัตริย์เน้นการปกครองแบบธรรมราชา
2. การคุกคามและเผยแพร่แนวความคิดตามแบบตะวันตก
3. การเปลี่ยนแปลงลักษณะเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้รัฐต้องการให้ไพร่ใช้เวลาปลูกข้าวมากขึ้น
4. กรรมการชาวจีนเข้ามาเป็นแรงงานในไทยมากขึ้น
5. ภาวะการทำสงครามและการถูกรุกรานโดยอาณาจักรใกล้เคียงกับไทยหมดไป
57. เหตุใดจึงมีการแต่งตั้งตำแหน่งผู้กำกับราชการ
1. เพื่อควบคุมอำนาจเจ้านาย
2. เพื่อประสิทธิภาพในการคุมไพร่หลวง
3. เพื่อควบคุมอำนาจเสนาบดี
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 393 ที่มาของการแต่งตั้งตำแหน่งผู้กำกับราชการในสมัยรัชกาลที่ 2 คือ การที่รัชกาลที่ 2 ทรงหวั่นเกรงอำนาจของคณะเสนาบดี ซึ่งหลายคนเป็นเสนาบดีมาแต่ครั้งรัชกาลที่ 1 จึงทรงหวังจะให้เจ้านายไปควบคุมอำนาจเสนาบดีไว้บ้าง แต่ปรากฏว่าพวกเสนาบดีไม่ยินยอม ทำให้ในที่สุดตำแหน่งผู้กำกับราชการก็เป็นเพียงตำแหน่งเกียรติยศที่ไม่มี อำนาจแท้จริง
58. ระบบไพร่ถูกยกเลิกไปเพราะเหตุใด
1. ไพร่เรียกร้องความเป็นอิสระ
2. เจ้านายเรียกร้องให้ยกเลิกระบบไพร่
3. ขัดกับผลประโยชน์ของรัฐ
4. มหาอำนาจตะวันตกยื่นเงื่อนไขให้รัฐบาลไทยยกเลิกระบบไพร่
ตอบ 3 หน้า 416, 423-424 ในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย สภาพเศรษฐกิจและการเมืองทั้งในและระหว่างประเทศได้ทำให้ระบบไพร่ไม่เป็น ประโยชน์ต่อรัฐดังแต่ก่อน จึงนำไปสู่การยกเลิกระบบไพร่ในที่สุด โดยมีปัจจัยที่สำคัญดังนี้ 1. ปัญหาที่เกิดจากระบบไพร่เอง 2. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเป็นระบบผลิตเพื่อส่งออกภายหลังการทำสนธิสัญญาบาวริ่ง 3. การแทรกแซงของมหาอำนาจตะวันตก
59. พระมหากษัตริย์พระองค์ใดออกกฎข้อบังคบมิให้พ่อแม่และสามีขายลูกและภรรยาเป็นทาสโดยเจ้าตัวไม่สมัครใจ
1. รัชกาลที่ 2
2. รัชกาลที่ 3
3. รัชกาลที่ 4
4. รัชกาลที่ 5
ตอบ 3 หน้า 199 ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงช่วยยกฐานะสตรีและเด็ก โดยการออกกฎหมายห้ามบิดามารดาและสามีขายบุตรและภรรยาลงเป็นทาสโดยที่เจ้าตัว ไม่สมัครใจ แต่ถ้าบุตรและภรรยายอมให้ขาย การกำหนดค่าตัวต้องเป็นราคาที่เจ้าตัวยินยอมพร้อมใจด้วย
60. ทาสพวกใดที่ได้รับการปลดปล่อยเป็นพวกแรกในประวัติศาสตร์
1. ทาสสินไถ่
2. ทาสวัด
3. ทาสเชลย
4. ลูกทาส ลูกไท
ตอบ 4 หน้า 433 ขั้นตอนแรกในการดำเนินงานเลิกทาสของรัชกาลที่ 5 คือ ทรงออก พ.ร.บ.พิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไทจุลศักราช 1236 หรือ พงศ. 2417 ขึ้น ซึ่งมีผลให้ลูกทาสและลูกไทยส่วนหนึ่งสามารถหาเงินมาไถ่ตนเป็นอิสระได้ง่าย ขึ้น และจะเป็นอิสระได้ทีเดียวในปี พ.ศ. 2432 ดังนั้นลูกทาสและลูกไทจึงถือเป็นทาสที่ได้รับการปลดปล่อยเป็นพวกแรกใน ประวัติศาสตร์
61. การผลิตเพื่อเลี่ยงประชากรของอาณาจักร เป็นลักษณะเศรษฐกิจสมัยใด
1. สุโขทัย
2. อยุธยา
3. ธนบุรี
4. รัตนโกสินทร์
ตอบ 1 หน้า 482-483 ลักษณะเศรษฐกิจของสุโขทัย เป็นการผลิตเพื่อเลี้ยงตนเองหรือเลี้ยงประชากรของอาณาจักร เป็นการผลิตเพื่อบริโภคและแลกเปลี่ยนกันเองภายในมิใช่การผลิตเพื่อขายจึงไม่ มีการแข่งขันและไม่จำเป็นต้องพึ่งตลาดหรือผลิตเพื่อสนองความต้องการของตลาด ทำให้ชาวสุโขทัยมีการดำรงชีวิตที่มั่นคงด้านเศรษฐกิจ เพราะสามารถพึ่งตนเองและมีชีวิตอยู่บนพืชผักผลไม้ที่ปลูกเอง จึงเป็นลักษณะเศรษฐกิจที่เรียกว่า “วัฒนธรรมชาวบ้าน” ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะของเศรษฐกิจสุโขทัย
62. การผลิตเพื่อสนองความต้องการของตลาดเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยใด
1. สุโขทัย
2. อยุธยา
3. ธนบุรี
4. รัตนโกสินทร์
ตอบ 2 หน้า 469-470, 510-511, (คำบรรยาย) ลักษณะเศรษฐกิจของอยุธยาเป็นการเริ่มต้นการผลิตเพื่อการขายโดยมีข้าวเป็น สินค้าหลัก และเป็นระบบเศรษฐกิจแบบศักดินา ซึ่งมีปัจจัยการผลิตที่เข้มแข็งเนื่องจากระบบไพร่ ทำให้มีผลผลิตจำนวนมากเพื่อการขายและอยู่ในอำนาจการควบคุมของรัฐ ส่งผลให้เกิดเศรษฐกิจแบบเงินตรา และเศรษฐกิจแบบตลาดซึ่งเป็นการผลิตเพื่อสนองความต้องการของตลาดเริ่มปรากฏ ชัดในสมัยนี้
63. ลักษณะเศรษฐกิจที่เรียกว่า “วัฒนธรรมชาวบ้าน” เป็นอย่างไร
1. ผลิตเพื่อการบริโภค
2. ราษฎรมีการดำรงชีวิตที่มั่นคงด้านเศรษฐกิจ
3. ไม่มีการแข่งขันเพราะมิใช่ผลิตเพื่อขาย
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ
64. “คงทำรายได้ให้รัฐมากทีเดียว” หมายถึงรายได้จากอะไรของสุโขทัย
1. ข้าว
2. เครื่องสังคโลก
3. เครื่องเงิน
4. ไม้สัก
ตอบ 2 หน้า 479, 483 สินค้าส่งออกที่สำคัญและขึ้นชื่อของสุโขทัย คือ เครื่องปั้นดินเผา หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “เครื่องสังคโลก” ซึ่งถือเป็นกิจกรรมที่ใหญ่โตและรุ่งเรืองมาก จนกลายเป็นแหล่งที่มาของรายได้ที่สำคัญที่สุดของสุโขทัย ดังหลักฐานสมัยสุโขทัยที่ระบุว่า “คงทำรายได้ให้รัฐมากทีเดียว”
65. ผู้ปกครองสุโขทัยช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำอย่าง
1. ขุดคลอง
2. สร้างกังหันน้ำ
3. สร้างสรีดภงส์
4. สร้างประตูกั้นน้ำ
ตอบ 3 หน้า 473-475 สุโขทัยจะมีปัญหาเรื่องพื้นที่เพาะปลูกมีจำกัดเพราะเป็นหนองบึงจำนวนมากและ มีปัญหาเรื่องน้ำ ดังนั้นผู้ปกครองสุโขทัยจึงได้ช่วยเหลือกสิกรในการเพาะปลูกทั้งทางตรงและทาง อ้อมหลายประการ ได้แก่ 1. การช่วยเหลือทางด้านการชลประทาน เช่น การสร้างสรีดภงส์ (เขื่อนเก็บกักน้ำ ซึ่งเป็นทำนบเก็บกักน้ำไว้ภายในหุบเขา) การขุดสระที่เรียกว่าตระพังและสร้างเหมืองฝายเป็นทำนบกั้นน้ำ 2. ให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ราษฎรมีความวิริยะอุตสาหะหักร้างถางพง เพื่อสร้างเป็นไร่เป็นนา เป็นสวน ฯลฯ
66. ข้อใดคือนโยบายการค้าเสรีของสุโขทัย
1. “…ใครสร้างได้ไว้แก่มัน…”
2. “ใครจักใคร่ค้าช้างค้า…ค้าม้าค้า…ค้าเงินค้าทองค้า…”
3. “สร้างป่าหมากป่าพลูทั่วเมืองทุกแห่ง…”
4. “คนใดขี่ช้างมาหา พาเมืองมาสู่…”
ตอบ 2 หน้า 480 ข้อความในศิลาจารึกที่ว่า “…เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้าใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า” หมายความว่า ผู้ปกครองส่งเสริมนโยบายการค้าอย่างเสรี โดยราษฎรสามารถค้าขายสินค้าต่างๆ ได้ตามความต้องการ
67. “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” แสดงเศรษฐกิจสุโขทัยว่าเป็นอย่างไร
1. สุโขทัยมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยปลาและข้าว
2. สุโขทัยมีข้าวปลาเกินความต้องการจนส่งออกได้
3. สุโขทัยมีข้าวปลาอาหารพอเพียงเลี้ยงประชากร
4. สุโขทัยผลิตข้าวและปลาเพื่อสนองตลาด
ตอบ 3 หน้า 473-475 สุโขทัยจะมีปัญหาเรื่องพื้นที่เพาะปลูกมีจำกัดเพราะเป็นหนองบึงจำนวนมากและ มีปัญหาเรื่องน้ำ ดังนั้นผู้ปกครองสุโขทัยจึงได้ช่วยเหลือกสิกรในการเพาะปลูกทั้งทางตรงและทาง อ้อมหลายประการ ได้แก่ 1. การช่วยเหลือทางด้านการชลประทาน เช่น การสร้างสรีดภงส์ (เขื่อนเก็บกักน้ำ ซึ่งเป็นทำนบเก็บกักน้ำไว้ภายในหุบเขา) การขุดสระที่เรียกว่าตระพังและสร้างเหมืองฝายเป็นทำนบกั้นน้ำ 2. ให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ราษฎรมีความวิริยะอุตสาหะหักร้างถางพง เพื่อสร้างเป็นไร่เป็นนา เป็นสวน ฯลฯ
68. ข้อใดคือนโยบายส่งเสริมทักษะพิเศษให้ราษฎรของผู้ปกครองสุโขทัย
1. การนำช่างชาวจีนมาสอนวิธีทำเครื่องสังคโลก
2. การนำเทคโนโลยีตะวันตกมาช่วยชาวนา
3. การนำชาวจีนมาสอนวิธีเลี้ยงไหม
4. การนำช่างชาวตะวันตกมาสอนวิธีสร้างเขื่อน
ตอบ 1 หน้า 481 ผู้ปกครองสุโขทัยมีนโยบายให้การส่งเสริมทักษะพิเศษในเรื่องการทำเครื่องปั้น ดินเผาหรือที่เรียกว่า “เครื่องสังคโลก” โดยโปรดฯ ให้นำช่างชาวจีนมาสอนวิธีการทำเครื่องสังคโลกให้แก่ชาวไทย ทำให้คนสุโขทัยสามารถประกอบอาชีพนี้ได้และสร้างอุตสาหกรรมของตนจนสามารถเข้า ยึดการค้าเครื่องปั้นดินเผาของจีนได้
69. ผู้ปกครองอยุธยาให้ความสำคัญกับการปลูกข้าวอย่างไร
1. ขยายเนื้อที่ทำนา
2. คุ้มครองอันตรายที่จะเกิดกับต้นข้าว
3. สนับสนุนแรงงานปลูกข้าว
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 346, 489-491, (คำบรรยาย) ผู้ปกครองอยุธยาได้ให้ความสำคัญกับการปลูกข้าวดังนี้ 1. ขยายเนื้อที่ทำนาเพาะปลูก 2. คุ้มครองป้องกันภยันตรายที่จะเกิดกับต้นข้าว โดยมีกฎหมายลงโทษผู้ทำลายต้นข้าวอย่างรุนแรง 3. ให้กำลังใจแก่ชาวนา โดยอาศัยพิธีกรรมทางศาสนาเป็นแนวทางสร้างศรัทธาและความเชื่อมั่น 4. ส่งเสริมแรงงานในการเพาะปลูก 5. ขจัดปัดเป่าการทะเลาะวิวาท 6. การชลประทาน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่รัฐบาลอยุธยาให้ความสำคัญน้อยที่สุด
70. หน้าที่ของชาวนาอยุธยาที่มีต่อรัฐบาลคือข้อใด
1. ช่วยถางป่าเพื่อทำเป็นที่ทำนา
2. เสียอากรค่านา
3. แบ่งกำไรจากการขายข้าวให้รัฐบาล
4. ช่วยรัฐบาลขุดคลอง
ตอบ 2 หน้า 492 หน้าที่ที่ชาวนาไทยสมัยอยุธยาพึงปฏิบัติต่อบ้านเมือง คือ เสียอากรค่านาให้แก่รัฐบาลเพื่อรัฐบาลจะได้นำไปทำนุบำรุงประเทศ โดยตามหลักฐานที่ปรากฏ ชาวนาไทยต้องเสียอากรค่านาในรูปของหางข้าว และในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ มีหลักฐานว่า เก็บอากรค่านาเป็นตั๋วเงินซึ่งมีพิกัดเก็บไร่ละ 1 สลึงต่อปี ต่อพื้นที่นา 40 ตารางวา
71. การทำลายต้นผลไม้ใดที่มีค่าปรับสูงที่สุดสมัยอยุธยา
1. ทุเรียน
2. มังคุด
3. ลางสาด
4. ส้มโอ
ตอบ 1 หน้า 493, (คำบรรยาย) ทุเรียน เป็นพืชที่กฎหมายอยุธยาให้ความคุ้มครอง และถือเป็นพืชมีผลที่มีคุณค่าทางกฎหมายสูงกว่าพืชมีผลชนิดอื่นๆ เนื่องจากกฎหมายได้กำหนดค่าปรับแก่ผู้ที่ลักตัดต้นทุเรียนไว้ด้วยอัตราที่ สูงที่สุด คือ ถ้าลักตัดต้นใหญ่มีผล ปรับต้นละ 200,000 เบี้ยและถ้าลักตัดต้นใหญ่แต่โกร๋น ปรับต้นละ 100,000 เบี้ย เป็นต้น
72. ป่าไม้ของอาณาจักรใดมีพื้นที่เกินกว่าครึ่งของอาณาจักร
1. สุโขทัย
2. อยุธยา
3. ธนบุรี
4. รัตนโกสินทร์
ตอบ 2 หน้า 495 พ่อค้าชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่งบันทึกไว้ว่า ป่าไม้ของอาณาจักรอยุธยามีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ไพศาลมาก กินพื้นที่เกินกว่าครึ่งของอาณาจักร และมีสภาพหนาทึบมากจนแทบจะป่านเข้าไปไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ทางราชการจึงให้ความไว้วางใจแก่ป่าของตน เพราะเปรียบได้กับเป็นกำแพงปราการป้องกันศัตรูที่จะมารุกรานได้
73. ไม้หอมชนิดใดหายากที่สุด หอมที่สุดและแพงที่สุด
1. ไม้จันทร์
2. ไม้ฝาง
3. ไม้กฤษณา
4. ไม้กระลำพัก
ตอบ 4 หน้า 496, (คำบรรยาย) ในสมัยอยุธยา ไม้กระลำพักเป็นไม้หอมที่ได้รับความนิยมมากกว่าไม้หอมชนิดอื่น เพราะมีกลิ่นหอมกว่า ดังนั้นจึงเป็นไม้ที่มีราคาแพงมากและหายากที่สุดเนื่องจากไม้กระลำพักเกิด แต่เฉพาะในใจกลางต้นสลัดไดป่าและต้นตาตุ่มทะเล และเป็นท่อนเล็กๆ ซึ่งมีสีดำเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เมื่อต้องการหากลำพังจึงต้องฟันต้นไม้ชนิดที่จะเกิดกระลำพักลง หลายต้น แต่ก็ได้กระลำพักเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
74. การค้าของอยุธยากับชาติใดเป็นแบบบรรณาการ
1. จีน
2. ญี่ปุ่น
3. เกาหลี
4. ไต้หวัน
ตอบ 1 หน้า 499-501, 511 การค้าส่วนใหญ่ของอยุธยาในระยะแรกจะเป็นการค้าขายทางเรือสำเภากับประเทศทาง ตะวันออก ได้แก่ การค้ากับจีนในลักษณะบรรณาการ และการค้ากับญี่ปุ่นส่วนการค้ากับประเทศยุโรปตะวันตกเริ่มขึ้นครั้งแรกใน สมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 โดยไทยเริ่มค้าขายกับโปรตุเกสเป็นชาติแรก ต่อจากนั้นก็มีฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศสตามลำดับ
75. ชาติตะวันตกชาติใดเข้ามากติดต่อค้าขายกับไทยเป็นชาติแรก
1. อังกฤษ
2. ฝรั่งเศส
3. โปรตุเกส
4. ฮอลันดา
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 74. ประกอบ
76. เศรษฐกิจโดยรวมของอยุธยาคงจะดี เห็นได้จากอะไร
1. มีการสร้างเขื่อนกักน้ำมากมาย
2. มีการสร้างพระพุทธรูปทองคำแท้มากมาย
3. มีการสร้างวัดใหญ่โตมากมาย
4. ราษฎรที่มีอาชีพไม่ต้องเสียอากร
ตอบ 3 หน้า 511 เศรษฐกิจโดยรวมของอยุธยาคงจะดี และถือเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อความมั่นคง และความยิ่งใหญ่ของอยุธยา ซึ่งจะเห็นได้จากหลักฐานมากมายที่สะท้อนให้เห็นถึงความรุ่งโรจน์ของอาณาจักร โดยเฉพาะโบราณสถานที่สร้างอย่างโอฬารและประณีตบรรจง เช่น ปราสาทราชวัง และวัดขนาดใหญ่โตจำนวนมาก รวมทั้งการมีกองทัพที่ทรงพลังเป็นที่เกรงขามของอาณาจักรใกล้เคียง
77. การทำนาสมัยรัตนโกสินทร์ต่างไปจากสมัยก่อนๆ อย่างไร
1. ชาวนาไม่ต้องเสียอากรค่านา
2. มีการนำหลักวิชาการตะวันตกมาส่งเสริมกรทำนา
3. รัฐบาลผูกขาดการขายข้าว
4. รัฐบาลไม่ค่อยสนับสนุนแรงงานทำนา
ตอบ 2 หน้า 515 การดำเนินชีวิตของชาวไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังคงเป็นแบบเดียวกับสมัย อยุธยา แต่ในสมัยรัชกาลที่ 4-7 มีการพัฒนาอาชีพต่างๆ ของคนไทยกว้างขวางมากขึ้นและแตกต่างไปจากเดิม คือ มีการนำหลักวิทาการตะวันตกมาประยุกต์ใช้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่งเสริมการทำนา การทำสวน การทำไร่ การเลี้ยงสัตว์ การจับสัตว์น้ำ การบำรุงรักษาสัตว์น้ำการจัดการกับป่าไม้สักของรัฐบาล การทำเหมืองแร่ดีบุก เป็นต้น
78. ผู้มีบทบาทสำคัญในการค้าภายในของไทยคือใคร
1.ชาวญี่ปุ่น
2. ชาวมาเลเชีย
3. ชาวจีน
4. ชาวเกาหลี
ตอบ 3 หน้า 537 จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์จำนวนมาก ได้แสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีบทบาทสำคัญควบคุมการค้าภายในของไทยในสมัยรัตน โกสินทร์ตอนต้น ได้แก่ พ่อค้าชาวจีน ซึ่งได้ดำเนินอาชีพทางการค้ากันอย่างกว้างขวาง คือ เป็นพ่อค้าคนกลาง พ่อค้าย่อย พ่อค้าเร่ และพ่อค้าส่งสินค้าออก
79. ในรัชกาลที่4 ไทยทำสัญญาอะไร มีผลให้ข้าวเป็นสินค้าออก
1. ครอเฟิร์ด
2. เบอร์นี่
3. บรุ๊ก
4. บาวริ่ง
ตอบ 4 หน้า 547-548 ในสมัยรัชกาลที่ 4 ประเทศไทยได้ทำสนธิสัญญาบาวริ่งกับอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2398 ซึ่งในพิกัดสัญญานี้ระบุว่าข้าว ปลา และเกลืออนุญาตให้ซื้อขายส่งออกนอกประเทศได้ทำให้ไทยเริ่มส่งข้าวเป็นสินค้า ออก และข้าวกลายเป็นสินค้าออกสำคัญของประเทศแทนน้ำตาล
80. ภาพรวมของเศรษฐกิจสมัยรัตนโกสินทร์คือข้อใด
1. ผลิตเพื่อการส่งออก สนองความต้องการของตลาด
2. เป็นลักษณะวิถีชาวบ้าน คือ ผลิตเพื่อเลี้ยงประชากร
3. เป็นลักษณะเศรษฐกิจอิสระไม่ขึ้นกับเศรษฐกิจโลก
4. เป็นเศรษฐกิจที่ไม่มีการแข่งขันภายใน
ตอบ 1 หน้า 558 ภาพรวมของเศรษฐกิจสมัยรัตนโกสินทร์ คือ ระบบเศรษฐกิจเงินตราและเศรษฐกิจแบบตลาดขยายตัวอย่างกว้างขวางภายหลังจากทำ สนธิสัญญาบาวริ่ง การเกษตรกรรมเริ่มเปลี่ยนแปลงเป็นผลิตเพื่อการส่งออก สนองความต้องการของตลาดโลก ทำให้เกิดระบบนายทุนเจ้าของที่ดินพัฒนาไปสู่ระบบทุนนิยม และนับตั้งแต่นั้นมาเศรษฐกิจของไทยจึงต้องผูกพันกับเศรษฐกิจของโลกอย่างที่ ไม่เคยเป็นมาก่อน
81. พุทธศาสนาลัทธิหินยานอย่างลังกาวงศ์แพร่หลายอยู่ที่เมืองใดก่อนขึ้นมาสู่สุโขทัย
1. นครศรีธรรมราช
2. นครปฐม
3. อยุธยา
4. เพชรบุรี
ตอบ 1 หน้า 582 พระสงฆ์ไทยที่ไปศึกษาพุทธศาสนาที่ลังกา ได้นำพุทธศาสนาลักทธิเถรวาทหรือหินานแบบลังกาวงศ์มาเผยแผ่ที่เมืองนครศรี ธรรมราชก่อน จนกระทั่งประมาณ พ.ศ.1800 เมื่อพ่อขุนรามคำแหงเสด็จไปยังหัวเมืองฝ่ายใต้ ทรงเกิดความเลื่อมใสในพระสงฆ์เหล่านี้จึงทรงอาราธนาให้พระสงฆ์นำพระพุทธ ศาสนาลัทธิเถรวาทหรือหินยานอย่างลังกาวงศ์มาเผยแผ่และประดิษฐานที่เมือง สุโขทัย
82. ความเชื่อในศาสนาของคนไทยแต่โบราณ เชื่อรวมๆ กันได้แก่อะไรบ้าง
1. ผีสางเทวดา
2. ไสยศาสตร์
3. พุทธศาสนา
4. ผีสางเทวดา, ไสยศาสตร์ และพุทธศาสนา
ตอบ 4 หน้า 573 ชนชาติไทยแต่โบราณจะนับถือศาสนาต่างๆ ซ้อนกันประดุจรูปเจดีย์ คือ นับถือผีสางเทวดาเปรียบเหมือนเป็นพื้นฐานของเจดีย์ ถัดขึ้นไปก็เป็นศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งมีเรื่องเกี่ยวกับไสยศาสตร์ และสูงสุดก็คือพระพุทธศาสนาเปรียบเสมือนยอดเจดีย์ ซึ่งความเชื่อทั้ง 3 นี้จะมีการนับถือคละเคล้าปะปนกัน จนในที่สุดก็ไม่สามารถแยกออกจากกันได้
83. อิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อคนไทยสมัยโบราณคืออะไร
1. ทำลายความเชื่อถือเดิมเรื่องผีสางเทวดา
2. ลดการกระทำบางอย่างที่รุนแรงให้เบาลง
3. ทำให้คนไทยยึดมั่นในหลักธรรมของพุทธศาสนาเท่านั้น
4. ทำให้คนไทยเลิกเชื่อในไสยศาสตร์และความงมงาย
ตอบ 2 หน้า 572-573, (คำบรรยาย) แม้ว่าพุทธศาสนาจะเกิดขึ้นในหมู่ชนที่นับถือผีสางเทวดาก็ตามแต่พระพุทธเจ้า ก็ไม่เคยทรงประกาศว่าพุทธศาสนามีขึ้นเอทำลายเรื่องผีสางเทวดา ดังนั้นเมื่อคนไทยนับถือพุทธศาสนาแล้ว คติความเชื่อเดิมในเรื่องผีสางเทวดาก็ยังคงอยู่ โดยมีการปรับปรุงคติผีสางเทวดาให้เข้ากันได้กับพระพุทธศาสนา และลดการกระทำหรือพิธีกรรมบางอย่างที่รุนแรงให้เบาลง เช่น เปลี่ยนการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเพื่อบูชายัญให้มีลักษณะอย่างอื่นไป
84. เหตุใดพุทธศาสนาลักทธิมหายานจึงเจริญและแพร่หลาย
1. ได้รับความสนับสนุนจากพระเจ้ากนิษกะ
2. ได้รับความสนับสนุนจากพระเจ้าอโศกมหาราช
3. มีหลักที่เคร่งครัดกว่าลัทธิหินยานจึงเป็นที่เลื่อมใส
4. ลัทธิหินยานเสื่อมโทรมไม่เป็นที่นิยม
ตอบ 1 หน้า 576 พระพุทธศาสนาลักทธิมหายานเจริญแพร่หลายและมีศาสนิกชนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้ากนิษกะ กษัตริย์อินเดียแห่งราชวงศ์กุษาณะที่ทรงเลื่อมใสลัทธิมหายาน และโปรดฯ ให้ทำสังคายนาพระธรรมวินัยโดยใช้ภาษาสันสกฤตจารึกพระไตรปิฎกส่งผลให้พระพุทธ ศาสนามีพระไตรปิฎก 2 ฉบับ คือ 1. ฉบับภาษามคธของฝ่ายหินยาน 2. ฉบับภาษาสันสกฤตของฝ่ายมหายาน
85. สมัยสุโขทัยตอนต้น พุทธศาสนาลัทธิมหายานแพร่หลายอยู่ระยะหนึ่งเห็นได้จากอะไร
1. ไม่มีคู่แข่ง คือ ลัทธิหินยาน
2. ใช้ภาษาสันสกฤตในพระธรรมอย่างแพร่หลาย
3. วัดและพุทธเจดีย์สร้างตามคติมหายาน
4. ใช้ภาษาสันสกฤตในพระธรรมอย่างแพร่หลาย และวัดพระพุทธเจดีย์สร้างตามคติมหายาน
ตอบ 4 หน้า 576, 581, (คำบรรยาย) พุทธศาสนาลัทธิมหายานคงจะเป็นที่นับถืออย่างแพร่หลายและเจริญอยู่ในช่วงเวลา หนึ่งของสมัยสุโขทัยตอนต้น ทั้งนี้เพราะวัดพระพุทธเจดีย์ต่างๆ ที่สร้างขึ้นในสมัยนั้นสร้างตามคติมหายานแทบทั้งสิ้น และพระธรรมก็ใช้อรรถภาษาสันสกฤตจนแพร่หลาย
86. กษัตริย์องค์ใดโปรดฯ ให้จำลองรอยพระพุทธบาทจากเขาสุมนกูฎ เมืองสิงหล นำมาประดิษฐานยังศรีสัชนาลัย
1. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
2. พ่อขุนรามคำแหง
3. พญาลิไทย
4. พญาไสยลือไทย
ตอบ 3 หน้า 584-585, (คำบรรยาย) ในสมัยพญาลิไทยนิยมสร้างวัดกันมาก โดยอาคารที่สร้างได้แก่กุฏิพระสงฆ์ วิหาร และพุทธศาลา ส่วนโบสถ์ยังไม่นิยมสร้าง นอกจากนี้พญาลิไทยยังโปรดฯ ให้สร้างปูชนียสถานที่สำคัญ เช่น ศิลาจารึก และการจำลองรอพระพุทธบาทจากเขาสุมนกูฎ เมืองสิงหล ประเทศลังกา แล้วนำมาประดิษฐานยังเมืองศรีสัชนาลัย
87. ความเลื่อมใสในพุทธศาสนาของคนไทยสมัยอยุธยาแสดงออกให้เห็นด้านใด
1. ความสนใจอย่างลึกซึ้งในหลักปรัชญาของพุทธศาสนา
2. การเผยแผ่หลักธรรมของพุทธศาสนาอย่างกว้างขวาง
3. คนไทยสมัยอยุธยาไม่ยอมนับถือศาสนาอื่น
4. การสร้างวัด การทำบุญทำทาน
ตอบ 4 หน้า 589-592, (คำบรรยาย) สิ่งที่แสดงถึงความเจริญและความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาของคนไทยในสมัยอยุธยา จะสังเกตได้จากการที่พระมหากษัตริย์และประชาชนทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยการ สร้างและปฏิสังขรณ์วัด รวมทั้งรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีทางพระพุทธศาสนา เช่นการทำบุญทำทาน การตักบาตร การบำเพ็ญกุศลในโอกาสต่างๆ ตลอดจนพิธีกรรมต่างๆ ที่ต้องมีพิธีสงฆ์เป็นองค์ประกอบ เป็นต้น
88. พระสงฆ์ไทยสมัยสมเด็จพระอินทรราชาเดินทางไปลังกาเพื่อบวชแปลงเป็นนิกายอะไร
1. ลังกาวงศ์
2. สยามวงศ์
3. วันรัตนวงศ์
4. อุบาลีวงศ์
ตอบ 3 หน้า 592-593, (คำบรรยาย) ในสมัยสมเด็จพระนครินทราธิราช (สมเด็จพระอินทรราชา) ได้มีพระสงฆ์ไทยกลุ่มหนึ่งเดินทางไปประเทศลังกาเพื่ออุปสมบทบวชแปลงเป็น นิกายวันรัตนวงศ์ในสำนักพระวันรัตน์มหาเถระ และเมื่อกลับมายังกรุงศรีอยุธยาก็ได้จัดตั้งนิกายลังกาวงศ์ขึ้นอีกนิกาย หนึ่ง เรียกว่า วันรัตนวงศ์ (คณะป่าแก้ว) ทำให้พระสงฆ์ในกรุงศรีอยุธยาแบ่งออกเป็น 3 คณะ ได้แก่ 1. คณะคามวาสี 2. คณะอรัญวาสี 3. คณะป่าแก้ว (วันรัตนวงศ์)
89. พระบรมไตรโลกนาถถวายวังเป็นวัดชื่ออะไร
1. วัดพุทไธสวรรค์
2. วัดพระศรีสรรเพชญ
3. วัดศรีชุม
4. วัดวังชัย
ตอบ 2 หน้า 593-594 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงมีพระราชกรณียกิจในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาดังนี้
1. ทรงอุทิศที่พระราชวังเดิมถวายสร้างเป็นวัด ซึ่งต่อมาได้ชื่อว่า “วัดพระศรีสรรเพชญ”
2. ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ 2 ที่ออกผนวชขณะที่ยังทรงครองราชย์
3. ทรง เปลี่ยนแปลงแบบอย่างการสร้างพุทธเจดีย์ให้เป็นแบบศิลปกรรมสุโขทัย เช่น การสร้างพระสถูปเจดีย์ทรงระฆังตามแบบลังกา ซึ่งนิยมสร้างกันมากในสมัยสุโขทัย ฯลฯ
90. จุดประสงค์ที่พระสงฆ์ไทยสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเดินทางไปลังกาสมัยพระเจ้าเกียรติศิริราชสิงหะ คืออะไร
1. ให้การบรรพชาอุปสมบาทแก่ชาวลังกา
2. สร้างวัดไทยขึ้นในลังกา
3. อัญเชิญพระศรีรัตนมหาธาตุจากลังกา
4. ไปรับพระศรีมหาโพธิ์มาปลูกที่ลังกา
ตอบ 1 หน้า 595 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระเจ้าเกียรติศิริราชสิงหะแห่งลังกาทรงเห็นว่าพระพุทธศาสนาลังกาสิ้นสม ณวงศ์ จึงทรงแต่ราชทูตเชิญพระราชสาสน์เข้ามาเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เพื่อทูลของพระมหาเถระกับคณะสงฆ์ไทย คือ พระอุบาลีกับพระอริยมุนีและพระสงฆ์อีก 12 รูป เดินทางไปยังประเทศลังกาเพื่อไปให้การบรรพชาอุปสมบทแก่ชาวสิงหล (ลังกา)
91. ข้อใดไม่ใช่พระราชกรณียกิจของกษัตริย์ไทยสมัยอยุธยา
1. การแต่งวรรณคดีทางพุทธศาสนา
2. การบูรณปฏิสังขรณ์วัด
3. การสร้างวัด
4. การแก้ไขระเบียบการปกครองคณะสงฆ์
ตอบ 4 หน้า 593-595, 6052, (คำบรรยาย) พระราชกรณียกิจทางด้านศาสนาของกษัตริย์ไทยสมัยอยุธยานอกจากจะทรง บูรณปฏิสังขรณ์วัด สร้างวัดวาอาราม หรือบำรุงรักษาประเพณีที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาแล้ว ก็ยังทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีทางด้านพุทธศาสนาอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้หลักธรรมหรือเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับพุทธศาสนาได้เจริญแพร่หลายยิ่งขึ้น (ส่วนการแก้ไขระเบียบการปกครองคณะสงฆ์เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
92. กษัตริย์องค์ใดเป็นผู้ตรากฎหมายพระสงฆ์เป็นครั้งแรก
1. รัชกาลที่ 1
2. รัชกาลที่ 2
3. รัชกาลที่ 3
4. รัชกาลที่ 4
ตอบ 1 หน้า 596-599 พระราชกรณียกิจทางด้านศาสนาของรัชกาลที่ 1 ได้แก่
1. จัดระเบียบคณะสงฆ์ตามแบบครั้งกรุงศรีอยุธยา แต่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขบ้างเพียงเล็กน้อย
2. โปรดฯ ให้ทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 9 พ.ศ.2331 และเรียกว่า “พระไตรปิฎกฉบับทอง”
3. ทรงเป็นผู้ตามกฎหมายพระสงฆ์ขึ้นเป็นครั้งแรก
4. ทรงสร้างพระอารามหลวง คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และวัดสุทัศน์เทพวราราม
93. รัชกาลที่ 1 ทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนาโดยจัดระเบียบคณะสงฆ์ตามแบบสมัยใด
1. สุโขทัย
2. อยุธยา
3. ธนบุรี
4. ไม่จัดตามแบบใคร มีลักษณะเฉพาะตัว
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 92. ประกอบ
94. พระไตรปิฎกที่รัชกาลที่ 1 โปรดฯ ให้ทำสังคายนาเสร็จแล้ว เรียกว่าอะไร
1. พระไตรปิฎกฉบับรดน้ำแดง
2. พระไตรปิฎกฉบับหอหลวง
3. พระไตรปิฎกฉบับทอง
4. พระไตรปิฎกฉบับใบลาน
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 92. ประกอบ
95. ข้อใดไม่ใช่พระราชกรณียกิจของรัชกาลที่ 2
1. โปรดฯ ให้เรียบเรียงหนังสือโอวาทานุศาสนี
2. การเริ่มประกอบพิธีวิสาขบูชา
3. โปรดฯ ให้แก้ไขการสอบพระปริยัติธรรม
4. การสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ตอบ 4 หน้า 599-600, ดูคำอธิบายข้อ 92. ประกอบ
รัชกาลที่ 2 ทรงมีพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาดังนี้
1. การปฎิสังขรณ์วัด
2. ปฏิรูปและแก้ไขสอบพระปริยัติธรรมขึ้นใหม่
3. การสร้างพระไตรปิฎกฉบับรดน้ำแดง
4. การส่งสมณทูตไปลังกา
5. ฟื้นฟูให้มีการประกอบพิธีวิสาขบูชาเป็นครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ 6. การเรียบเรียงหนังสือโอวาทานุศาสนี
96. เหตุใดการสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัดในรัชกาลที่ 3 จึงรุ่งเรืองกว่าสมัยใดๆ
1. ความศรัทธาอย่างแรงกล้าของพระมหากษัตริย์และประชาชน
2. การค้ากับต่างประเทศรุ่งเรือ พ่อค้าเอกชนมีรายได้มาก
3. ความเชื่อว่าการสร้างวัดเป็นบุญกุศลสูงสุด
4. ความ ศรัทธาอย่างแรงกล้าของพระมหากษัตริย์และประชาชน การค้ากับต่างประเทศรุ่งเรืองพ่อค้าเอกชนมีรายได้มาก และความเชื่อว่าการสร้างวัดเป็นบุญกุศลสูงสุด
ตอบ 4 หน้า 601, (คำบรรยาย) สาเหตุที่การสร้างและบูรณะปฎิสังขรณ์วัดในสมัยรัชกาลที่ 3 เจริญรุ่งเรืองกว่าสมัยใดๆ ได้แก่ 1. ความศรัทธาอย่างแรงกล้าของพระมหากษัตริย์และประชาชน 2. เป็นสมัยที่มีความสงบปราศจากสงคราม 3. การค้ากับต่างประเทศรุ่งเรืองทำให้ประเทศมีรายได้ 4. พ่อค้าเอกชนร่ำรวมและมีรายได้มาก จึงนิยมสร้างวัด 5. ความเชื่อที่ว่าการสร้างวัดเป็นบุญกุศลสูงสุด ฯลฯ
97. มหาเถรสมาคม เริ่มมีครั้งแรกตาม พ.ร.บ. ปกครองคณะสงฆ์ฉบับใด
1. ฉบับ พ.ศ. 2445
2. ฉบับ พ.ศ. 2484
3. ฉบับ พ.ศ. 2506
4. ฉบับ พ.ศ. 2520
ตอบ 1 หน้า 605-606 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการตรา พ.ร.บ. ปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2445) ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อให้คณะสงฆ์มีระเบียบแบบแผนที่มั่นคงกว่าเดิม และทำให้พระสงฆ์เริ่มมีบทบาทปกครองตนเอง เนื่องจากได้มีการรวมตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ทั้ง 4 และพระราชาคณะเจ้าคณะรองทั้ง 4 ให้เป็นมหาเถรสมาคม ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์ในการพระศาสนาและการปกครองคณะสงฆ์ทั่วไป
98. ข้อใดไม่ถูกต้องสมัยสุโขทัย
1. พระมหาเถระไม่ใช่สมณศักดิ์ที่พระเจ้าแผ่นดินทรงแต่งตั้ง
2. พระเถระ หมายถึง ภิกษุสงฆ์ผู้มีอายุพรรษามาก
3. เมืองใหญ่เมืองหนึ่งจะมีทั้งสมเด็จพระสังฆราชและพระสังฆราชประจำ
4. เมืองใหญ่เมืองหนึ่งจะมีพระสังฆราชประจำองค์หนึ่ง
ตอบ 3 หน้า 614 ในสมัยสุโขทัย เมืองใหญ่เมืองหนึ่งจะมีพระสังฆราชประจำองค์หนึ่งเพื่อเป็นประมุขสงฆ์ และมีปู่ครูหรือพระครูเป็นผู้ช่วย แต่ถ้าเป็นเมืองเล็กปู่ครูหรือพระครูจะทำหน้าที่เป็นประมุขสงฆ์ของเมืองนั้น เพียงองค์เดียว นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งพระมหาเถระและพระเถระซึ่งหมายถึง พระภิกษุสงฆ์ผู้มีอายุพรรษามาก หรือมีความรู้ความสามารถเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป แต่ไม่ใช่สมณศักดิ์ที่พระเจ้าแผ่นดินทรงแต่งตั้ง
99. ข้อใดไม่ใช่หลักธรรมของพุทธศาสนาที่ผู้ครองเรือนสามารถนำไปใช้ได้ดีในเศรษฐกิจประจำวัน
1. นิรามิสสุข
2. สมชีวิตตา
3. อารักขสัมปทา
4. อุฎฐานสัมปทา
ตอบ 1 หน้า 622 พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ฆราวาสผู้ครองเรือนปฏิบัติตาม “หลักมีทรัพย์” ซึ่งเป็นหลักธรรมทางเศรษฐกิจในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ได้แก่
1. อุฎฐานสัมปทา คือ ความขยันหมั่นเพียรในการแสวงหาทรัพย์
2. อารักขสัมปทา คือ ความรู้จักรักษาทรัพย์ที่หามาได้
3. กัลยาณมิตตตา คือ ความเป็นผู้รู้จักคบเพื่อนที่ดี
4. สมชีวิตตา คือ การเลี้ยงชีพให้พอดีแก่กำลังทรัพย์
100. ประเพณีข้อใดที่เกิดขึ้นรวดเร็วแต่ไม่ถาวร
1. จารีตประเพณี
2. ขนบประเพณี
3. ความนิยมตามสมัย
4. ธรรมเนียมประเพณี
ตอบ 3 หน้า 654 ความนิยมตามสมัย (Fashion) คือ ประเพณีที่มีลักษณะแปลกใจจากเดิมและคนมักนิยมเป็นแบบอย่างตามกัน จึงเป็นประเพณีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วแต่มักไม่คงทนถาวรเพราะธรรมชาติของคน มักเบื่อของเก่า เห็นสิ่งใดใหม่ก็จะนิยมทันที นอกจากนี้สิ่งที่เป็นความนิยมตามสมัยจะไม่มีคุณสมบัติอะไร นอกจากเป็นของใหม่เท่านั้น
101. รูปปูนปั้นที่ฐานเจดีย์จุลประโทน นครปฐม ปรากฏเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร
1. ชาดก
2. รามเกียรติ์
3. พระอดีตพุทธ
4. เทวประวัติ
ตอบ 1 หน้า 686, 689, (คำบรรยาย) งานปูนปั้นและดินเผาในศิลปะสมัยทวารวดี ส่วนใหญ่ทำขึ้นเพื่อประดับอาคารศาสนสถานหรือฐานเจดีย์ เช่น รูปปูนปั้นประดับฐานเจดีย์จุลประโทน จ.นครปฐม เป็นรูปเล่าเรื่องนิทานชากดในพุทธศาสนา และพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า
102. อิทธิพลขอมแพร่หลายจากภาคอีสานมาสู่ภาคกลางของประเทศไทยในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ทำให้เกิดความนิยมศิลปะลักษณะใด
1. เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
2. งานประติมากรรมสลักจากหินทราย
3. การใช้แก้วและหินสีสร้างพระพุทธรูป
4. เจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆัง
ตอบ 2 หน้า 698-700 ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16-18 อิทธิพลศิลปะขอมได้แพร่ขยายเข้ามาอย่างมากในภาคอีสานของประเทศไทย และผ่านเข้าสู่ภาคกลางในครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 16 ทำให้เกิดความนิยมศิลปะในลักษณะดังนี้
1. สถาปัตยกรรมนิยมสร้างปราสาทหินที่ก่อด้วยศิลาทราย ศิลาแลง และอิฐ
2. ประติมากรรมมักสลักจากศิลาหรือหินทราย และหล่อด้วยสำริด ส่วนงานปูนปั้นพบได้น้อย
103. ทศชาติชาดกที่ปรากฏอยู่ในงานศิลปกรรมไทย เนื้อหาสำคัญเป็นเรื่องอะไร
1. ตรีมูรติ
2. พระอดีตพุทธเจ้า
3. อดีตชาติของพระพุทธเจ้าศากยมุนี
4. การตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตอบ 3 (คำ บรรยาย) งานศิลปกรรมไทยมักปรากฏเรื่องชาดกแทรกอยู่เสมอ ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญเป็นเรื่องประวัติชาติก่อนๆ หรืออดีตชาติของพระพุทธเจ้าศากยมุนีก่อนตรัสรู้ มีทั้งหมด 550 พระชาติ แต่ที่สำคัญที่สุดและมักนิยมนำมาเขียนในงานจิตรกรรมไทย คือ 10 ชาติหลังหรือที่เรียกว่า ทศชาติชาดก
104. คติการสร้างรูปช้างค้ำเจดีย์เป็นแนวความคิดในทางพุทธศาสนา พบตัวอย่างหลายแห่งยกเว้นที่ใด
1. วัดช้างล้อม ศรีสัชนาลัย
2. วัดช้างรอบ กำแพงเพชร
3. วัดมเหยงค์ อยุธยา
4. วัดโพธิ์ กรุงเทพฯ
ตอบ 4 หน้า 710, 724, (คำบรรยาย) เจดีย์ทรงระฆังของศิลปะสุโขทัยจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับเจดีย์ทรงกลมในศิลปะ ลังกา โดยเฉพาะเจดีย์ทรงระฆังที่มีรูปช้างค้ำเจดีย์ประดับที่ส่วนฐานซึ่งเป็นคติ การสร้างตามแนวคิดของพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ เช่น เจดีย์วัดช้างล้อมในเมืองศรีสัชนาลัย และเจดีย์วัดช้างรอบในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ซึ่งต่อมาก็ได้ให้อิทธิพลมายังศิลปะสมัยอยุธยาตอนกลาง เช่น เจดีย์ทรงระฆังที่วัดมเหยงค์ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีช้างล้อมรอบองค์เจดีย์ถึง 80 เชือก
105. ศิลปะแบบใดหากเปรียบเทียบกับศิลปะขอมมีรูปแบบคล้ายกันมากที่สุด
1. ทวารวดี
2. ลพบุรี
3. ศรีวิชัย
4. อู่ทอง
ตอบ 2 หน้า 698 ศิลปะลพบุรีจะพบได้ในท้องที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับศิลปกรรมขอมในประเทศกัมพูชา ทำให้ทางโบราณคดีเรียกศิลปกรรมแบบนี้ว่า “ศิลปะลพบุรี” ตามชื่อเมืองละโว้หรือลพบุรี ซึ่งเป็นแหล่งที่ค้นพบศิลปกรรมแบบนี้มากและเป็นเมืองสำคัญในขณะนั้น (ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ)
106. ศิลปกรรมที่แสดงว่าพุทธยิ่งใหญ่เหนือพราหมณ์ มีตัวอย่างปรากฏในศิลปะแบบใด
1. ลพบุรี
2. อู่ทอง
3. ทวารวดี
4. สุโขทัย
ตอบ 3 หน้า 687 พระพุทธรูปในศิลปะสมัยทวารวดีที่สำคัญ คือ พระพุทธรูปประทับนั่งเหนือสัตว์ที่เรียกว่า “พนัสบดี” ซึ่งมีหน้าเป็นสิงห์ มีปากเป็นครุฑ (พาหนะของพระนารายณ์) มีหูและเขาอย่างโค (พาหนะของพระอิศวร) และมีปีกอย่างหงส์ (พาหนะของพระพรหม) โดยสันนิษฐานว่าจัดทำขึ้นเพื่อแสดงว่าพุทธศาสนามีอำนาจยิ่งใหญ่เหนือกว่า ศาสนาพราหมณ์
107. ประติมากรรมที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญของศิลปะศรีวิชัยคือข้อใด
1. พนัสบดี
2. พระพิมพ์ดินเผา
3. พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
4. พระพุทธรูปประทับยืนตริภังค์
ตอบ 3 หน้า 694-695 ประติมากรรมสมัยศิลปะศรีวิชัยในระยะที่สอง จะได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบปาละ-เสนะ และศิลปะชวาภาคกลาง ซึ่งมักเป็นประติมากรรมที่หล่อด้วยสำริดและปรากฏเครื่องทรงเพชรพลอยมาก โดยเฉพาะประติมากรรมที่ถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญของศิลปะศรีวิชัย คือ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรครึ่งองค์ในท่าตริภังค์ พบที่หน้าวัดพระบรมธาตุไชยา จ.สุราษฎร์ธานี
108. ข้อใดไม่ใช่ตัวอย่างศิลปกรรมแบบลพบุรีที่เป็นของประเทศไทยในปัจจุบัน
1. ปราสาทเมืองสิงห์
2. ปราสาทพนมรุ้ง
3.ปราสาทหินพิมาย
4. ปราสาทเขาพระวิหาร
ตอบ 4 หน้า 699-700, (คำบรรยาย) ตัวอย่างศิลปกรรมสมัยลพบุรีที่ค้นพบในประเทศไทยปัจจุบันได้แก่ ปราสาทเมืองต่ำ และปราสาทหินพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์, ปราสาทหินพิมาย จ.นครราชสีมา, ปราสาทเมืองสิงห์ จ.กาญจนบุรี, ปราสาทบ้านระแงงที่ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์, พระปรางค์แขก และพระปรางค์สามยอด จ.ลพบุรี, พระปรางค์วัดพระพายหลวง ศาลตาผาแดง และปราสาทที่วัดเจ้าจันทร์ จ.สุโขทัย เป็นต้น
109. เจดีย์ทรงกลมแบบวัดพระศรีสรรเพชญอยุธยาคล้ายคลึงกับยุคใด
1. สุโขทัย
2. รัตนโกสินทร์
3. อู่ทอง
4. เชียงแสน
ตอบ 1 หน้า 724 เจดีย์ที่เป็นหลักของพระอารามในศิลปะสมัยอยุธยาตอนกลาง มักจะสร้างเป็นเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา หรือที่เรียกกันว่าเจดีย์ทรงระฆังตามแบบของสุโขทัย เช่น พระเจดีย์ใหญ่ 3 องค์ ในวัดพระศรีสรรเพชญ ซึ่งสร้างใน พ.ศ. 2035 ตรงกับรัชสมัยพระรามาธิบดีที่ 2
110. ศิลปกรรมแบบใดรับอิทธิพลศิลปะอินเดียในยุคปาละชัดเจน
1. ทวารวดี
2. ศรีวิชัย
3. ลพบุรี
4. เชียงแสน
ตอบ 4 หน้า 716, (คำบรรยาย) พระพุทธรูปในศิลปะเชียงแสนรุ่นแรก หรือแบบเชียงแสนสิงห์หนึ่งจะได้รับอิทธิพลศิลปะอินเดียในยุคปาละชัดเจน โดยผ่านมาทางพุกาม มีพุทธลักษณะที่สำคัญ คือ พระพักตร์กลม อมยิ้ม พระรัศมีเป็นรูปดอกบัวตูมหรือลูกกลม ขมวดพระเกศาใหญ่ ไม่มีไรพระศกพระวรกายอวบอ้วน ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย ชายสังฆาฎิสั้นเหนือพระถัน เช่น พระพุทธสิหิงค์หรือพระสิงห์ พบที่วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่
111. “พระพักตร์กลม พระรัศมีเป็นรูปดอกบัวตูม ขมวดพระเกศาใหญ่ ขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย พระวรกายอวบอ้วน” ตรงกับข้อใด
1. ศิลปะลพบุรี
2. ศิลปะอู่ทอง
3. ศิลปะเชียงแสน
4. ศิลปะอยุธยาตอนต้น
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 110. ประกอบ
112. พระพุทธรูปสุโขทัยที่แสดงนิ้วเสมอกันทุกนิ้วหมายถึงอะไร
1. ความเจริญขั้นสูงสุด
2. สะท้อนคติลักษณะมหาบุรุษ
3. ศิลปะไทยประเพณี
4. ข้อจำดัดในการหล่อสำริด
ตอบ 2 หน้า 712, (คำบรรยาย) พระพุทธรูปสุโขทัยหมวดพระพุทธชินราช เกิดขึ้นในสมัยพญาลิไทยย้ายเมืองหลวงจากสุโขทัยมายังพิษณุโลก เมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 20 จึงจัดเป็นพระพุทธรูปสกุลช่างพิษณุโลก หรือพระพุทธชินราช โดยมีลักษณะทั่วไปคล้ายแบบหมวดใหญ่แต่ต่างกันคือ มีพระพักตร์และพระวรกายอวบอ้วนกว่า มีนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกันทุกนิ้วซึ่งสะท้อนถึงคติลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ
113. ข้อใดไม่ใช่พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย
1. พระเจ้าตนหลวง
2. พระพุทธชินสีห์
3. พระศรีศาสดา
4. พระศรีศากยมุนี
ตอบ 1 หน้า 712, (คำบรรยาย) พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยตอนปลายที่มีชื่อเสียงในด้านความงดงาม
มีอยู่ 5 องค์ ได้แก่
1. พระศรีศากยมุนี วิหารวัสดุทัศน์เทพวราราม
2. พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก
3. พระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศวิหาร
4. พระศรีศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร
5. พระพุทธสิหิงค์ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
(ส่วนพระเจ้าตนหลวง วัดศรีโคมคำ จ.พะเยา เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน)
114. “ขมวดพระเกศาเล็กแบบหนามขนุน” เห็นได้จากแบบใด
1. ทวารวดี
2. อู่ทอง
3. เชียงแสน
4. สุโขทัย
ตอบ 2 หน้า 720, (คำบรรยาย) ลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ควรสังเกตจากพระพักตร์ที่ประดับด้วยไรพระศก (เส้นขอบหน้าฝาก) และขมวดพระเกศาหรือเส้นพระศกที่เล็กแบบหนามขนุน ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่เหมือนกันของพุทธศิลป์แบบอู่ทองทุกรุ่น
115. พระพุทธรูปทรงเครื่องนิยมมากในสมัยใด
1. อู่ทอง
2. อยุธยาตอนปลาย
3. สุโขทัย
4. อยุธยาตอนต้น
ตอบ 2 หน้า 725 ในสมัยอยุธยาตอนปลาย พระพุทธรูปทรงเครื่องเป็นที่นิยมกันมาก ซึ่งมีทั้งพระพุทธรูปทรงเครื่องน้อยที่เริ่มมีในยุคกลางของอยุธยา และเป็นแบบที่นิยมมาก่อนในศิลปะล้านนา ต่อมาก็ได้พัฒนามาเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ที่มีเครื่องทรงประดับมากมาย ในสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยจะนิยมสร้างทั้งในอิริยาบถยืนปางประทานอภัย และอิริยาบถนั่งปางมารวิชัย
116. งานด้านใดของอยุธยาที่สืบทอดมาถึงรัตนโกสินทร์
1. สถาปัตยกรรม
2. ประติมากรรม
3. จิตรกรรม
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 729, (คำบรรยาย) ศิลปะรัตนโกสินทร์ในระยะเริ่มแรกตั้งแต่รัชกาลที่ 1-3 ยังมีลักษณะของศิลปะประเพณีสมัยอยุธยาที่สืบทอดมาถึงยุคนี้ ไม่ว่าจะเป็นงานด้านสถาปัตยกรรมประติมากรรม และจิตรกรรมได้ทำเลียนแบบศิลปะอยุธยาเกือบทั้งหมด จนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา จึงค่อยๆ คลี่คลายเป็นศิลปะสมัยปัจจุบันแบบตะวันตกหรือแบบสากล
117. วัดพระแก้ว เทียบเคียงความสำคัญได้กับวัดอะไรต่อไปนี้
1. วัดพระศรีสรรเพชญ อยุธยา
2. วัดมหาธาตุ สุโขทัย
3. วัดพระสิงห์ เชียงใหม่
4. วัดพระบรมธาตุไชยา
ตอบ 1 หน้า 599, 729, (คำบรรยาย) วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว เป็นวัดที่สร้างขึ้นในพระบรมมหาราชวังเมื่อ พ.ศ. 2325 พร้อมกับการสร้างกรุงเทพฯ โดยรัชกาลที่ 1 โปรดฯให้สร้างขึ้นตามแบบวัดพระศรีสรรเพชญในสมัยอยุธยา เพื่อให้เป็นพระอารามหลวงที่ใช้ประกอบพระราชพิธีต่างๆ และไม่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาเช่นเดียวกัน ดังนั้นวัดพระแก้วจึงถือเป็นวัดคู่กรุงที่สำคัญที่สุดของประเทศไทยใน ปัจจุบัน
118. คำว่าสถาปัตยกรรมแบบประเพณี มีลักษณะอย่างไร
1. มีปรางค์เป็นหลักของวัด
2. 2. อุโบสถและวิหารตกแต่งหลังคาด้วยช่อฟ้า ใบระกา
3. ลักษณะหน้าบันจะต้องเป็นรูปครุฑยุคนาค
4. เป็นสถาปัตยกรรมที่โปรดฯ ให้สร้างโดยพระมหากษัตริย์
ตอบ 2 หน้า 729, (คำบรรยาย) สถาปัตยกรรมแบบประเพณีที่ได้กลายเป็นเอกลักษณ์ของวัดไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น คือ อุโบสถและวิหารจะตกแต่งหลังคาด้วยช่อฟ้า ใบระกา และทางหงส์ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หลังคาทำซ้อนชั้นประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ แต่ลักษณะนิยมแบบนี้ก็ได้หมดไปในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งเป็นสมัยนิยมศิลปะจีน เพราะปรากฏว่าวัดที่สร้างขึ้นไม่มีช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ หน้าบันหรือหน้าจั่วไม่ใช้ไม้ แต่ก่อด้วยอิฐถือปูนแทน
119. จิตรกรรมไทยที่มักปรากฏอยู่เบื้องหลังพระประธานในพระอุโบสถหรือวิหาร นิยมเขียนเรื่องอะไร
1. วิถีชีวิตชาวเมือง
2. ไตรภูมิ
3. ประเพณี
4. พระอนาคตพุทธเจ้า
ตอบ 2 หน้า 733 แบบแผนของจิตรกรรมไทยบนฝาผนังโบสถ์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1-3 คือ ส่วนเหนือหน้าต่างเขียนภาพเทพชุมนุม ส่วนล่างในแนวเดียวกับหน้าต่างเขียนภาพพุทธประวัติหรือทศชาติ ด้านหลังพระปรานเขียนภาพไตรภูมิ ด้านหน้าเขียนพุทธประวัติตอนมารวิชัยโดยภาพเขียนในช่วงนี้ใช้สีและปิดทองลง บนภาพทั้งสิ้น
120. สถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นคืออะไร
1. เจดีย์ทรงเครื่อง
2. พระที่นั่ง
3. ปราสาท
4. วิหาร
ตอบ 1 หน้า 730 สถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นตั้งแต่รัชกาลที่ 1-3 คือ สถูปเจดีย์นิยมสร้างพระปรางค์กับพระเจดีย์ทรงเครื่องตามแบบอยุธยาตอนปลาย โดยมีลักษณะเฉพาะของสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น เจดีย์ทอง ซึ่งเป็นพระเจดีย์ทรงเครื่องที่รัชกาลที่ 1 โปรดฯ ให้สร้างอยู่ด้านหน้า ด้านซ้าย และด้านขวาของปราสาทพระเทพบิดร ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม