การสอบไล่ภาค 1   ปีการศึกษา 2554

ข้อสอบกระบวนวิชา  HIS1201 พื้นฐานวัฒนธรรมไทย

Advertisement

คำสั่ง      ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.              คำว่า “เสียนหลอ” ที่ปรากฏในเอกสารจีนนั้นหมายถึงอาณาจักรใด

1. ละโว้                    

2. สุพรรณภูมิ                          

3.  กรุงศรีอยุธยา                     

4. ทวารวดี

ตอบ  3      หน้า 23 ในช่วง พ.ศ. 1884-1910 จดหมายเหตุราชวงศ์หมิงของจีนได้ระบุถึงการที่หลอหูหรือละโว้ ได้รวมเสียนหรือสุพรรณภูมิเข้าไว้ในอำนาจ จีนจึงเรียกแคว้นที่รวมกันนี้ว่า “เสียนหลอ” ซึ่งเป็นชื่อเรียกของอาณาจักรอยุธยาในเวลาต่อมา ทั้งนี้การสร้างกรุงศรรีอยุธยาขึ้นใน พ.ศ.1893 ก็เพื่อเป็นศูนย์กลางแห่งใหม่ของเสียนหลอที่มาจากการรวมตัวของสองแคว้นดัง กล่าวนั่นเอง

2.              กษัตริย์พระองค์แรกของกรุงสุโขทัยคือใคร

1. พ่อขุนศรีนาวนำถม           

2. พ่อขุนผาเมือง          

3.  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์       

4. พ่อขุนรามคำแหง

ตอบ  1      หน้า 23, 25-26 ในช่วง 200 ปี ของกรุงสุโขทัย มีพระมหากษัตริย์ปกครองตามข้อสันนิษฐานของนักวิชาการดังนี้       1. พ่อขุนศรีนาวนำถม ถือเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของกรุงสุโขทัย  2. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  3. พ่อขุนบานเมือง  4. พ่อขุนรามคำแหง  5. พระยาไสสงคราม 6. พญาเลอไทย  7.พระยางั่วนำถม  8. พญาลิไทย  9. พระมหาธรรมราชาที่ 2 10. พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสยลือไทย)   11. พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล)

3.              กษัตริย์พระองค์ใดที่เชื่อว่าสืบเชื้อสายมาจากลวจังคราช

1. พญามังราย         

2. พ่อขุนผาเมือง                    

3. พ่อขุนรามคำแหง              

4. พระเจ้าอู่ทอง

ตอบ  1      หน้า 81, 90 ตำนานของลานนากล่าวถึงต้นราชวงศ์มังรายว่า พญามังรายสืบเชื้อสายมาจากลวจังคราช ผู้มีกำเนิดจากโอปาติกกะ และเสด็จลงมาจากสวรรค์ทางบันไดเงิน นอกจากนี้พญามังรายยังได้ครอบครองเครื่องราชูปโภคที่สืบทอดมาจากจังคราช เช่น ดาบไชย หอกและมีดสะหรีกัญไชย เป็นต้น

4.              ข้อใดไม่ได้หมายถึงการปกครองแบบพ่อปกครองลูก

1. เป็นแนวทางการปกครองที่มีพื้นฐานจากการปกครองครอบครัว

2. เป็นลักษณะการปกครองที่ปรากฏในชุมชนที่ยังไม่มีระบบราชการที่เป็นแบบแผน

3. กษัตริย์กับประชาชนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน

4. เป็นระบบการปกครองที่รับมาจากอินเดีย

ตอบ  4      หน้า 90-91 การปกครองแบบพ่อปกครองลูก (Patriarchal Monarchy) เป็นแนวทางการปกครองที่มีพื้นฐานมาจากการปกครองครอบครัว โดยมีลักษณะสำคัญคือ กษัตริย์กับประชาชนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน และประชาชนสามารถร้องทุกข์ได้โดยตรงต่อกษัตริย์ จึงเป็นลักษณะการปกครองที่ปรากฏทั่วไปในชุมชนที่ยังไม่สามารถพัฒนาระบบ ราชการที่เป็นแบบแผนและเป็นทางการขึ้นได้

5.              ข้อใดไม่ใช่ความหมายของ “จักรพรรดิราช”

1. กษัตริย์แห่งจักรวาล                                                          

2. พระราชาที่ยิ่งใหญ่กว่าพระราชาทั้งปวง

3. กษัตริย์                                                                                 

4. ถูกทุกข้อ

ตอบ  3      หน้า 93 พระไตรปิฏกในส่วนสุตตันตปิฏก จักกวัติสูตร ได้ระบุว่า ผู้นำที่มีคุณสมบัติเป็นเลิศจะได้รับการยกย่องว่าเป็นพระจักรพรรดิราชหรือ จักรวาทิน ซึ่งหมายถึง กษัตริย์แห่งจักรวาลหรือพระราชาที่ยิ่งใหญ่กว่าพระราชาทั้งปวง โดย คุณสมบัติของผู้ที่จะได้เป็นพระจักรพรรดิราชก็คือ ต้องเป็นผู้ที่ได้ปฏิบัติธรรมสั่งสมบารมีมาจนเต็มเปี่ยม

6.              ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงหลักที่ 1 ปัจจุบันอยู่ที่ใด

1. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง                 

2. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

3. หอสมุดแห่งชาติ                                        

4. เนินปราสาท ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

ตอบ  2      หน้า 89 ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแห่งมหาราชหลักที่ 1 จารึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทย เมื่อพุทธศักราช 18356 มีขนาดกว้า 35 ซม. สูง 111 ซม. และหนา 35 ซม. เดิมอยู่ที่เนินปราสาทเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

7.              ข้อใดคืออุดมการณ์การปกครองแบบเดิมของชนชาติไทย

1. เป็นนักรบที่มีความสามารถ                             

2. ผู้นำมีอำนาจสัมพันธ์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์

3. การปกครองแบบพ่อปกครองลูก                    

4. ถูกทุกข้อ

ตอบ  4      หน้า 90-92 อุดมการณ์การปกครองตามแบบเดิมของชนชาติไทย มีลักษณะสำคัญที่สรุปได้ดังนี้                                                    

1. ผู้นำต้องเป็นนักรบที่มีความสามารถ                        

2. ผู้นำมีอำนาจสัมพันธ์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์          

3. กษัตริย์ใช้การปกครองแบบพ่อปกครองลูก

4. กษัตริย์ต้องปกครองตามระบบคุณธรรม ซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคมไทยสมัยพุทธศตวรรษที่ 19

5. ฐานะของผู้ปกครองยังไม่แตกต่างหรืออยู่ห่างจากราษฎรมากนัก

8.              ข้อใดคือหลักธรรมที่สำคัญสำหรับผู้ปกครอง

1. อิทธิบาท 4          

2. ทศพิธราชธรรม 

3. กาลามสูตร                 

4. สังคหวัตถุ 4

ตอบ  2      หน้า 94 คัมภีร์ธรรมศาสตร์ ซึ่งเชื่อว่าแพร่หลายขึ้นมาถึงเขตสุโขทัยด้วย ได้กล่าวถึงหลักธรรมที่สำคัญสำหรับผู้ปกครอง หรือหลักธรรมสำหรับพระมหากษัตริย์ว่าประกอบไปด้วยหลักธรรม 10 ประการ หรือเรียกว่า “ทศพิธราชธรรม” และหลักธรรม 4 ประการ หรือเรียกว่า “ราชจรรยานุวัตร”

9. ไตรภูมิพระร่วงเป็นที่เชื่อกันว่าใครเป็นผู้พระราชนิพนธ์

1. พ่อขุนรามคำแหง                                              

2. พระมหาธรรมราชาลิไทย

3. พระเจ้าอู่ทอง                                                     

4. รัชกาลที่ 4

ตอบ  2      หน้า 96, 105, 584 พระมหาธรรมราชาลิไทยทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นจอม ปราชญ์ในทางพระพุทธศาสนา พระองค์แรกของประเทศไทย เนื่องจากทรงเรียนรู้พระไตรปิฎกอย่างแตกฉานจนสามารถพระราชนิพนธ์หนังสือที่ เป็นคัมภีร์ทางพุทธศาสนาเรื่องไตรภูมิพระร่วงหรือไตรภูมิกถาซึ่งถือเป็นหลัก ฐานที่ทำให้รู้ถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในกรุงสุโขทัยได้เป็น อย่างดี

10.  ข้อใดคือลักษณะสถาบันกษัตริย์ของล้านนาที่แตกต่างจากสุโขทัย

1. ไม่เน้นความสูงส่งของจักรพรรดิราช                            

2. กษัตริย์ใช้หลักธรรมราชา

3. นำอุดมการณ์เทวราชมาใช้                                              

4. ถูกทุกข้อ

ตอบ  1      หน้า 98 ลักษณะของสถาบันกษัตริย์ล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 จะมีส่วนที่แตกต่างจากสถาบันกษัตริย์สุโขทัย คือ ไม่มีการเน้นความสูงส่งของพระจักรพรรดิราช หรือไม่มีการอ้างบทบาทของผู้ปกครองดุจดั่งพระโพธิสัตว์ และไม่มีการใช้ราชาศัพท์กับกษัตริย์เหมือนดังทางสุโขทัย

11.           โครงสร้างจักรวาลตามคติศาสนาพราหมณ์มีสิ่งใดเป็นศูนย์กลาง
1. ทะเลน้ำนม                         
2. เขาไกรลาส                         
3. เขาพระสุเมรุ                      
4. ป่าหิมพานต์
ตอบ  3      หน้า 99 คติทางศาสนาพราหมณ์ที่เชื่อมโยกับระบบเทวราช คือ คติที่ว่าราชธานีของโลกมนุษย์จะต้องสร้างให้เป็นรูปจำลองของจักรวาล อาณาจักรของมนุษย์จึงจะเจริญรุ่งเรืองสืบไป ทั้งนี้ โครงสร้างของจักรวาลตามคติของศาสนาพราหมณ์นั้นจะมีเขาพระสุเมรุเป็นแกนกลาง และเขาพระสุเมรุจะตั้งอยู่ใจกลางของชมพูทวีปซึ่งเป็นรูปกลม
12.           ข้อใดหมายถึงการปกครองแบบเทวราชา
1.       กษัตริย์ได้รับการส่งเสริมให้เป็นองค์อวตารของเทพเจ้า
2.       พระราชพิธีบรมราชภิเษก พราหมณ์จะเป็นผู้กระทำให้
3.       เครื่องราชูปโภคถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์                     
4.       ถูกทุกข้อ
ตอบ  4      หน้า 99 การปกครองแบบเทวราช หมายถึง การปกครองที่กษัตริย์ได้รับการส่งเสริมให้มีสถานะสูงส่งเป็นองค์อวตารของ เทพเจ้า ซึ่งการที่กษัตริย์จะอ้างเป็นองค์อวตารของเทพเจ้าได้นั้นจะต้องผ่านพระราช พิธีบรมราชาภิเษกที่พวกพราหมณ์เป็นผู้กระทำให้เสียก่อน และเมื่อทรงเป็นดังเทพเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์แล้วก็จะต้องมีหลักปฏิบัติพิเศษ สำหรับพระองค์ เช่น การใช้ราชาศัพท์พระราชวังที่ประทับและเครื่องราชูปโภคของพระองค์ถือเป็นสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ ฯลฯ
 
13.           เทวดาหรือยักษ์ที่เป็นผู้รักษาทิศทั้ง 4 เรียกว่าอะไร
1. ยกบาล                 
2. ทวารบาล                             
3. จาตุรงคบาท                        
4. จตุโลกบาล
ตอบ  4      หน้า 99, (คำบรรยาย) คติพราหมณ์มีความเชื่อว่า ในระบบจักรวาล (Universe หรือ Macrocosmos) มีทิศหลักที่สำคัญอยู่ 4 ทิศ คือ ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ซึ่งแต่ละทิศจะมีเทวดาหรือยักษ์ผู้รักษาทิศทั้ง 4 ของจักรวาลอยู่ประจำรวมทั้งหมด 4 ตน เรียกว่า โลกาปะละ หรือจตุโลกบาล
 
14.           ในสมัยพระเจ้าอู่ทองมีการนำการปกครองแบบใดมาใช้
1. เทวราช                
2. ธรรมราชา                  
3. จักรพรรดิราช                     
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ  4      หน้า 119 ในสมัยพระเจ้าอู่ทองหรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 แห่งอยุธยา ได้มีการนำการปกครองแบบเทวราชมาใช้ควบคู่กับแนวทางธรรมราชา และพระจักรพรรดิราชดังปรากฏหลักฐานจากพระนามของพระเจ้าอู่ทองในคำปรารถของ พระไอยการลักษณะเบ็ดเสร็จซึ่งมีทั้งคำว่ารามาธิบดี (เทวราชา) จักรพรรดิราชาธิราช (พระจักรพรรดิราช) และพระพุทธิเจ้าอยู่หัว (ธรรมราชา)
 
15.           พระที่นั่งอัฐทิศเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งใด
1. ทิศทั้ง 4 ในจักรวาล                                           
2. ทิศทั้ง 8 ในจักรวาล
3. ศูนย์กลางจักรวาล                                              
4. ไม่มีข้อถูก
ตอบ  2      หน้า 123 แนวความคิดเกี่ยวกับพระจักรพรรดิราช ถือเป็นที่มาของการที่พระมหากษัตริย์เสด็จขึ้นประทับบนพระที่นั่งอัฐทิศ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนทิศทั้ง 8 ในจักรวาล ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รวมทั้งยังเป็นที่มาของพระราชพิธีเสด็จเลียบพระนครทั้งทางชลมารคและสถลมารค ภายหลังพระราชพิธีราชาภิเษก ซึ่งเป็นการแสดงว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงครอบครองทั่วทุกทิศแล้ว
 
16.           ข้อใดหมายถึงกฎมณเฑียรบาล
1. เป็นหลักปฏิบัติที่บุคคลทั้งหลายต้องกระทำต่อพระมหากษัตริย์และราชวงศ์
2. เป็นกฎที่เน้นแสดงความเป็นธรรมราชาของกษัตริย์
3. เป็นกฎหมายที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
4. ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย
ตอบ  1      หน้า 124 กฎหมายสำคัญที่รองรับสถานะอันสูงสุดดุจเทวะของพระมหากษัตริย์อยุธยาก็คือ “กฎมณเฑียรบาล” ที่ตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งถือเป็นเอกสารฉบับแรกที่บันทึกเกี่ยวกับสถานะและพระราชอำนาจของพระมหา กษัตริย์อยุธยาลงไว้เป็นลายลักษณ์อักษรโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดหลัก ปฏิบัติที่บุคคลทั้งหลายต้องกระทำต่อพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ จึงถือเป็นหลักฐานที่แสดงถึงการเป็นเทวราชของกษัตริย์อยุธยาได้อย่างดี
 
17.           คำว่า “สมเด็จหน่อพุทธางกูร” มีความหมายอย่างใด
1. กษัตริย์                                                                 
2. ผู้เป็นเชื้อสายกษัตริย์
3. ผู้เป็นเชื้อสายของพระพุทธเจ้า                       
4. ผู้เป็นองค์อวตารของเทพเจ้า
ตอบ  3      หน้า 126 กฎมณเฑียรบาลได้กำหนดยศของพระราชโอรสของพระมหากษัตริย์ที่ประสูติจาก อัครมเหสีไว้ คือ สมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า หรือสมเด็จหน่อพุทธางกูร ซึ่งมีความหมายถึงผู้เป็นเชื้อสายของพระพุทธเจ้า
 
18.           ข้อใดคือปัจจัยการแย่งชิงอำนาจพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยา
1. ไม่มีกฎหมายบัญญัติตำแหน่งรัชทายาทอย่างเด่นชัด                   
2. ความเชื่อในเรื่องบุญบารมี
3. ประชาชนยอมรับพระมหากษัตริย์ในลักษณะสถาบันมากกว่าบุคคล
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ  4      หน้า 138-140 ปัจจัยที่เป็นที่มาของการแย่งชิงอำนาจพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยา คือ
1.       ไม่มีกฎหมายบัญญัติถึงตำแหน่งรัชทายาทอย่างแน่ชัด
2.       ความเชื่อถือเรื่องผู้มีบุญบารมี
3.       ประชาชนยอมรับพระมหากษัตริย์ในลักษณะสถาบันมากกว่าบุคคล
4.       สถานะที่สูงส่งและความมั่นคงของกษัตริย์เป็นสิ่งล่อใจให้แก่ผู้ใฝ่อำนาจ
5.       การแย่งชิงราชสมบัติไม่ใช่สิ่งยากเย็นนัก ซึ่งทำได้เพียงแค่ยึดพระราชวังก็ยึดอำนาจได้
6.        
 
19.           ในสมัยอยุธยา พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาต้องกระทำปีละกี่ครั้ง
1. 1 ครั้ง                                   
2. 2 ครั้ง                                   
3. 3 ครั้ง                                   
4. กี่ครั้งก็ได้
ตอบ  2      หน้า 126, 140 ในสมัยอยุธยา พระมหากษัตริย์ทรงถือว่าอยู่ในสถานะที่สูงกว่าพระรัตนตรัยดังหลักฐานจากพระ ราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาที่กำหนดให้ข้าราชการต้องถวายสักการะพระเชษฐ บิดรก่อนพระรัตนตรัย (พระเชษฐบิดร คือ เทวรูปของสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง และถือว่าเป็นสัญลักษณ์แทนพระมหากษัตริย์ที่สวรรคตไปแล้วทุกพระองค์) โดยจะต้องกระทำปีละ 2 ครั้ง
 
20.           รายได้ของพระมหากษัตริย์ที่สำคัญมาจากที่ใด
1. อากรที่เก็บจากการประกอบอาชีพต่างๆ ของราษฎร  
2. ส่วยที่เก็บจากหัวเมืองต่างๆ
3. ส่วยบรรณาการจากประเทศราช
4. การค้าขาย
ตอบ  4      หน้า 143 ในบรรดาแหล่งรายได้ของพระมหากษัตริย์อยุธยา รายได้จากการค้าขายเป็นรายได้ที่สำคัญและมีจำนวนมากที่สุด ลำพังรายได้ที่มาจากอากร ส่วย และค่าธรรมเนียมต่างๆไม่เพียงพอสำหรับการใช้จ่าย เพราะอัตราที่เรียกไม่ได้สูงนัก และพระมหากษัตริย์ก็มิได้ทรงรับเต็มเม็ดเต็มหน่วย เนื่องจากรายได้เหล่านี้ต้องกระเส็นกระสายไปในหมู่ข้าราชการที่มีหน้าที่ เกี่ยวข้องและไม่มีเงินเดือนประจำ จึงได้เบียดบังบางส่วนเป็นรายได้ส่วนตัว
21.           ในสมัยอยุธยาส่วนให้ใช้นโยบายใดในการปกครองประเทศราช
1. การปกครองทางอ้อม                                        
2. การปกครองทางตรง
3. การแบ่งแยกและปกครอง
4. ผนวกประเทศราชเป็นของอยุธยา
ตอบ  1      หน้า 169-170 นโยบายของอยุธยาในการปกครองประเทศราชส่วนใหญ่จะใช้การปกครองทางอ้อม (Indirect Rule) คือ การให้เจ้านายดั้งเดิมของประเทศราชได้ปกครองตนเองต่อไปแต่ต้องส่งบรรณาการมา ให้ตามกำหนดเวลา และเกณฑ์ทัพมาช่วยอยุธยาถ้าได้รับคำสั่ง ซึ่งนับเป็นนโยบายที่ผ่อนคลายความตึงเครียดของประเทศราชได้ดีกว่า และทำให้อยุธยามีอำนาจได้ยาวนานกว่าการปกครองทางตรง
22.           กลองวินิจฉัยเภรี มีไว้เพื่ออะไร
1. ตีบอกเวลา           
2. ตีเมื่อเวลาจะทำศึก
3. ร้องทุกข์
4. ไม่มีข้อถูก
ตอบ  3      หน้า 186-187 ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีการรื้อฟื้นประเพณีการร้องทุกข์ของราษฎร โดยจัดตั้งกลองชื่อวินิจฉัยเภรีไว้หน้าพระราชวัง เพื่อให้ราษฎรที่มีเรื่องทุกข์ร้อนสามารถมาตีกลองร้องทุกข์และยื่นฎีกาได้ ซึ่งจะมีนายตำรวจเวรเป็นผู้ออกมารับเรื่องราวเพื่อนำขึ้นกราบบังคมทูลต่อพระ มหากษัตริย์
 
23.           ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์อุดมการณ์การปกครองใดเด่นชัดที่สุด
1. ธรรมราชา           
 
2. คติความเชื่อดั้งเดิมของไทย             
 
3. เทวราชา              
 
4. ถูกทุกข้อ
 
ตอบ  1      หน้า 183, 187 ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ลักษณะธรรมราชาเป็นอุดมการณ์การปกครองที่มีความสำคัญเด่นชัดที่สุด ในขณะที่แนวทางการปกครองแบบเทวราชาจะถูกลดความสำคัญไปโดยมีความพยายามเพิ่ม ความเป็นมนุษย์ให้กับสถาบันกษัตริย์มากขึ้น และเริ่มลดสถานะอันสูงส่งและศักดิ์สิทธิ์ดุจเทพเจ้าของพระมหากษัตริย์ลงจาก แต่ก่อน
 
24.           การปกครองในสมัยใดที่เพิ่มความเป็นมนุษย์ให้กับสถาบันกษัตริย์มากขึ้น
1. ล้านา                    
 
2. สุโขทัย                 
 
3. อยุธยา     
 
4.  รัตนโกสินทร์
 
ตอบ  4      ดูคำอธิบายข้อ 23. ประกอบ
 
25.           ในสมัยรัชกาลใดที่โปรดฯ ให้ยกเลิกการยิงกระสุนใส่ตาราษฎรที่เงยหน้ามองพระมหากษัตริย์
1. รัชกาลที่ 1                           
 
2. รัชกาลที่ 2                           
 
3. รัชกาลที่ 3                           
 
4. รัชกาลที่ 4
 
ตอบ  2      หน้า 188-189 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ (รัชกาลที่ 2) โปรดฯ ให้ยกเลิกการยิงกระสุนใส่ตาราษฎรที่เงยหน้าขึ้นมองพระมหากษัตริย์ เพียงแต่ให้องครักษ์เงื้อง่าอาวุธห้ามมิให้ราษฎรมองพระมหากษัตริย์เท่านั้น
 
26.           พระมหากษัตริย์รัชกาลใดที่ทรงดื่มน้ำสาบานในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นพระองค์แรก
1. รัชกาลที่ 1                           
 
2. รัชกาลที่ 2                           
 
3. รัชกาลที่ 3                           
 
4. รัชกาลที่ 4
 
ตอบ  4      หน้า 199 รัชกาลที่ 4 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงดื่มน้ำสาบานในพระราชพิธีถือน้ำพระ พิพัฒน์สัตยา ซึ่งแสดงว่าทรงยอมรับว่าพระมหากษัตริย์ก็ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบต่อประชาชน จึงควรเป็นการให้คำมั่นสัญญากันทั้งสองฝ่าย มิใช่ประชาชนมีหน้าที่ถวายสัตย์สาบานต่อพระมหากษัตริย์อยู่ฝ่ายเดียวอีกต่อ ไป
 
27.           เพราะเหตุใดจึงมีการจัดพิมพ์ราชกิจจานุเบกษา
1. เพื่อให้ข้อมูลแก่ประชาชนเกี่ยวกับประกาศราชการและกฎหมายต่างๆ
 
2. ป้องกันขุนนางไม่ให้ทำดวงตราปลอมเพื่ออ้างรับสั่งกับราษฎร
 
3. เพื่อเป็นแบบเรียนแก่ราษฎร                           
 
4. ถูกทั้ง ข้อ 1 และ 2
 
ตอบ  4      หน้า 199-200 รัชกาลที่ 4 ทรงจัดพิมพ์หนังสือทางราชการออกเป็นรายสัปดาห์ที่เรียกว่า “ราชกิจจานุเบกษา” โดยได้ความคิดและแบบอย่างมาจากตะวันตก ทั้งนี้เพื่อให้ข้อมูลแก่ประชาชนเกี่ยวกับประกาศราชการและกฎหมายต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และปิดหนทางที่ขุนนางจะทำดวงตราปลอมเพื่ออ้างรับสั่งกับราษฎร
 
28.           พระสยามเทวิราช สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลใด
1. รัชกาลที่ 2                           
 
2. รัชกาลที่ 3                           
 
3. รัชกาลที่ 4                           
 
4. รัชกาลที่ 5
 
ตอบ  3      หน้า 202 รัชกาลที่ 4 ทรงเน้นอยู่เสมอว่าพระมหากษัตริย์เป็นผู้มีบารมีสูง เทวดาจึงคอยช่วยเหลือเกื้อกูล และปาฏิหาริย์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ยังทรงผนวชอยู่นั้นเป็นเพราะบารมีของพระองค์ที่จะได้ ครองราชสมบัติต่อไป ซึ่งความเชื่อดังกล่าวนี้เองทำให้ทรงสร้างพระสยามเทวาธิราชขึ้น
 
29.           เมื่อรัชกาลที่ 5 เสด็จขึ้นปกครองประเทศทรงปฏิรูปด้านใดก่อนเป็นอันดับแรก
1. การคลัง                  
2. ระบบบริหารราชการ
3. ระบบสังคม
4. การศึกษา
ตอบ  1      หน้า 205 เมื่อรัชกาลที่ 5  เสด็จ ขึ้นปกครองประเทศด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงเร่งปฏิรูปด้านการคลังก่อนด้านอื่นเป็นอันดับแรก จากนั้นการปฏิรูประบบบริหารราชการและระบบสังคมก็ตามมา เพื่อสร้างความมั่นคงเข้มแข็งให้แก่อาณาจักรไทยในช่วงที่จักรวรรดินิยมตะวัน ตกกำลังมีความรุนแรงถึงขีดสุด ซึ่งส่งผลให้อำนาจบริหารมารวมศูนย์ที่องค์พระมหากษัตริย์มากขึ้น
 
30.           ในสมัยรัชกาลที่ 5 กลุ่มเสนาบดีตระกูลใดที่มีอำนาจอย่างมาก
1. ณ บางช้าง                           
2. บุนนาค
3. นิมมานเหมินทร์
4. อมาตยกุล
ตอบ  2      หน้า 214, 404 ในสมัยต้นรัชกาลที่ 5 เมื่อพระมหากษัตริย์ยังทรงต้องมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเป็นเวลาที่สถาบัน กษัตริย์มีอำนาจตกต่ำลงอย่างที่สุด ในขณะที่อำนาจของขุนนางหรือเสนาบดีตระกูลบุนนาคที่มีผู้นำ คือ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในขณะนั้นกลับมีอำนาจอย่างมากจนขึ้นถึงจุด สูงสุด
31.           พระมหากษัตริย์สุโขทัยมีวิธีควบคุมอำนาจของลูกเจ้าลูกขุนอย่างไร
1. ไม่ให้ลูกเจ้าลูกขุนครองเมือง                                          
 
2. ไม่ให้ลูกเจ้าลูกขุนเป็นแม่ทัพ
 
3. ให้ราษฎรฟ้องร้องลูกเจ้าลูกขุนได้                 
 
4. ออกกฎหมายให้ลูกเจ้าลูกขุนเป็นขุนธรรม
ตอบ  3      หน้า 276 พระมหากษัตริย์สุโขทัยทรงควบคุมอำนาจของลูกเจ้าลูกขุนด้วยวิธีการดังนี้
1.       ให้ไพร่หรือราษฎรฟ้องร้องกล่าวโทษลูกเจ้าลูกขุนได้โดยตรงต่อพระมหากษัตริย์ และพยายามตัดสินความให้อย่างยุติธรรม
2.       ปลูกฝังให้ลูกเจ้าลูกขุนทำตัวเป็นขุนธรรม มิใช่ขุนมาร เพราะขุนธรรมเท่านั้นจึงจะอยู่ในอำนาจได้นาน (แต่ไม่ได้ออกเป็นกฎหมายบังคับ)
32.           เหตุใดลูกเจ้าลูกขุนต้องมีความรู้ดีทางศาสนา
1. เพื่อประโยชน์ในการปกครอง                                                    
 
2. ลูกเจ้าลูกขุนมีหน้าที่สนับสนุนพุทธศาสนา
 
3. ลูกเจ้าลูกขุนมีหน้าที่สั่งสอนศีลธรรมประชาชนด้วย 
 
4. ถูกทุกข้อ
 
ตอบ  4      หน้า 272, (คำบรรยาย) ความรู้ทางศาสนาเป็นศาสตร์อีกด้านหนึ่งที่สำคัญสำหรับลูกเจ้าลูกขุนเนื่อง จากศาสนามีอิทธิพลสำคัญและมีประโยชน์ต่อแนวทางการปกครองของสุโขทัยเป็นอย่าง มาก เช่น หลักทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร และราชจรรยานุวัตร ทั้งนี้เพราะหน้าที่สำคัญของกษัตริย์และลูกเจ้าลูกขุน คือ เป็นผู้สั่งสอนประชาชนให้รู้บุญรู้ศีลธรรม และเสริมสร้างบารมีด้วยการบำรุงและสนับสนุนพุทธศาสนา
 
33.           ข้อใดถูกต้องตามกฎหมายล้านนา
1.       ลูกเจ้าลูกขุนทำผิดถูกลงโทษหนักกว่าสามัญชน
2.       ทรัพย์สินของลูกเจ้าลูกขุนถูกตีค่าให้ต่ำกว่าของสามัญชน
3.       นายช้างต้องหลีกทางให้นายม้า
4.       ถูกทุกข้อ
ตอบ  1      หน้า 275 สิทธิและวิธีคานอำนาจลูกเจ้าลูกขุนล้านนามีดังนี้              1. มีสิทธิหาผลประโยชน์จากนาขุมราชการหรือนาขุมการเมือง แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นอย่างแท้จริง                    2. ทรัพย์สินของลูกเจ้าลูกขุนถูกตีค่าหรือตีราคาสูงกว่าของสามัญชน               3. ถ้าลูกเจ้าลูกขุนตายโดยไม่ทำพินัยกรรมไว้ ทรัพย์สินต้องตกเป็นของรัฐ (ยกเว้นเจ้าขุนนั้นมีความดีความชอบทางราชการจะยึดมาเพียงครึ่งหนึ่ง) แต่ถ้าเจ้าขุนสั่งเรื่องมรดกไว้ก็ให้เป็นไปตามนั้น                       4. เมื่อทำความผิดจะถูกลงโทษปรับหนักกว่าสามัญชน แม้จะเป็นความผิดชนิดเดียวกัน ฯลฯ
 
34.           ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับระบบไพร่ของสุโขทัยและล้านนา
1. ทำให้รัฐได้ใช้แรงงานไพร่ได้เต็มที่                              
 
2. ทำให้ไพร่ไม่ต้องเสียภาษี
 
3. ทำให้ไพร่มีเสรีภาพในการเคลื่อนไหว                        
 
4. ถูกทุกข้อ
 
ตอบ  1      หน้า 273, 283 ระบบไพร่ของสุโขทัยและล้านนา คือ การจัดไพร่ให้สังกัดมูลนายที่เป็นลูกเจ้าลูกขุน โดยมูลนายจะต้องคอยดูแลให้ไพร่อยู่ในภูมิลำเนา คอยเกณฑ์ไพร่มาทำงานตามกำหนดเวลา ควบคุมให้ไพร่อยู่ในกฎหมาย และควบคุมเรื่องการเก็บภาษีอากรจากไพร่ซึ่งระบบไพร่ที่มีการจัดการที่ดีถือ เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้รัฐสามารถดึงประโยชน์ทั้งด้านแรงงานและส่วยจากไพร่มา ใช้ได้อย่างเต็มที่
 
35.           หลักฐานใดที่แสดงว่าสุโขทัยมีทาส
1. มีหลักฐานเกี่ยวกับการหลบหนีของข้า                         
 
2. มีหลักฐานเกี่ยวกับข้าพระอาราม
 
3. มีการเลี้ยงดูเชลยศึกไว้ใช้งาน                                         
 
4. ถูกทุกข้อ
 
ตอบ  4      หน้า 289-290 หลักฐานสุโขทัยได้กล่าวถึงทาสอยู่หลายแห่ง ได้แก่         1.จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 กล่าวถึงการกวาดต้อนเชลยศึก “มาเลี้ยงมาขุน” โดยไม่ฆ่า และนำมาใช้งานเมื่อต้องการ             2. จารึกหลักที่ 2 กล่าวถึงการซื้อคนปล่อยที่ตลาด                                 3. จารึกหลักที่ 38 กล่าวถึงข้าหลบหนีนาย     4. จารึกหลักที่ 15 กล่าวถึงการยกข้าและลูกสาวลูกชายให้เป็นข้าพระอาราม ฯลฯ
 
36.           “เข้าเดือน ออกเดือน” หมายถึงสิ่งใด
1. จำนวนวันการเกณฑ์ไพร่หลวงในสมัยอยุธยา            
 
2. จำนวนวันการเกณฑ์ไพร่สมในสมัยอยุธยา
 
3. การเกณฑ์ไพร่หลวงในสมัยรัตนโกสินทร์                  
 
4. การเกณฑ์ไพร่สมในสมัยรัตนโกสินทร์
 
ตอบ  1      หน้า 340 คำว่า “เข้าเดือน ออกเดือน” หมายถึง จำนวนวันการเกณฑ์ไพร่หลวงในสมัยอยุธยาโดยไพร่หลวงจะถูกเกณฑ์แรงงานปีละ 6 เดือน แต่อาจมาทำงาน 1 เดือน ออกไปอยู่บ้าน 1 เดือนสลับกันไปได และเวลามาทำงานต้องนำข้าวปลาอาหารมาเอง เพราะทางราชการจะไม่เลี้ยงดูอย่างใดแต่ถ้าไพร่หลวงไม่ต้องการมาให้แรงงานจะ ส่งเงินมาแทนก็ได้ เรียกว่า “เงินค่าราชการ”
 
37.           “ข้อยมาเป็นข้า” สมัยล้านนา เทียบได้กับทาสชนิดใดในสมัยอยุธยา
1. ทาสสินไถ่                           
 
2. ทาสขัดดอก                         
 
3. ทาสเชลย                             
 
4. ทาสในเรือนเบี้ย
 
ตอบ  3      หน้า 290, 351, (คำบรรยาย) ข้าหรือทาสของล้านนามี 5 ชนิด คือ
1.       ข้าที่ซื้อด้วยข้าวของ ซึ่งตรงกับทาสสินไถ่ของอยุธยา
2.       ลูกข้าหญิง ซึ่งตรงกับทาสในเรือนเบี้ยของอยุธยา
3.       มอบตัวเป็นข้า ซึ่งตรงกับทาสที่เลี้ยงไว้ในยามข้าวยากหมากแพงของอยุธยา
4.       ฉิบหายด้วยความผิดจึงเข้าเป็นข้า ซึ่งตรงกับทาสที่ได้มาด้วยการช่วยให้พ้นโทษปรับของอยุธยา
5.       ข้อยมาเป็นข้า ซึ่งตรงกับทาสเชลยของอยุธยา
 
38.           ชนชั้นใดในสมัยสุโขทัยไม่ต้องเสียภาษีให้รัฐ
1. ไพร่           
 
2. ขุนนางชั้นผู้น้อย                    
 
3. ลูกเจ้าลูกขุน          
 
4. ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
 
ตอบ  4      หน้า 274-275, 278, (คำบรรยาย) สิทธิพิเศษของลูกเจ้าลูกขุนในสมัยสุโขทัย คือ ไม่ถูกเกณฑ์แรงงาน มีไพร่อยู่ในสังกัดได้ และไม่ต้องเสียภาษี เพราะในหลักฐานสุโขทัยกล่าวเฉพาะแต่การที่ลูกเจ้าลูกขุนเป็นผู้เก็บภาษีจาก ไพร่เท่านั้น ส่วนข้าราชการระดับล่างหรือขุนนางชั้นผู้น้อยจะมีฐานะความเป็นอยู่ไม่ต่าง จากไพร่มากนัก เพียงแต่ได้รับยกเว้นไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงานและไม่ต้องเสียภาษีให้รัฐ
 
39.           พบศพชายไทยนอนตายอยู่ริมแม่น้ำ พลิกศพดูพบว่าปรากฏชื่อมูลนายติดอยู่ที่ข้อมือ ถามว่าศพดังกล่าวน่าจะเป็นคนไทยสมัยใด
1. สุโขทัย                 
 
2. ล้านนา                 
 
3. อยุธยา                  
 
4. ธนบุรี
 
ตอบ  4      หน้า 392, 417, (คำบรรยาย) การสักข้อมือไพร่เริ่มขึ้นครั้งแรกตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินแห่งกรุง ธนบุรีเป็นต้นมา โดยได้กำหนดให้สักข้อมือไพร่เป็นตัวอักษรไว้ที่ด้านใน ระบุชื่อมูลนายและชื่อเสียงอันเป็นภูมิลำเนาเพื่อป้องกันไพร่หลบหนี สับเปลี่ยนมูลนาย หรือหนีไปหลบซ่อนอยู่ต่างเมืองและตามป่าเขาอีก จึงเป็นทางป้องกันมิให้ไพร่หลวงสูญหาย หรือมิให้ไพร่หลวงหนีไปเป็นไพร่สมของมูลนายได้ง่ายเหมือนสมัยก่อน
 
40.           การสักข้อมือไพร่เพื่อวัตถุประสงค์ใดเป็นสำคัญ
1. เพื่อความงาม           
 
2. เพื่อป้องกันไพร่หลบหนี      
 
3. เพื่อรู้ชื่อมูลนาย       
 
4. เพื่อรู้จักภูมิลำเนาไพร่
 
ตอบ  2      ดูคำอธิบายข้อ 39. ประกอบ

 

41.           ข้อใดมิใช่คุณสมบัติของการถวายตัวเป็นขุนนาง

1. วุฒิ 4                    

2. อธิบดี 4        

3. พรหมวิหาร 4                     

4. คุณานุรูป

ตอบ  3      

42.           การถวายตัวเป็นขุนนางในสมัยอยุธยาเมื่อมีอายุเท่าไร

1. 21 ปี                     

2. 25 ปี                     

3. 31 ปี                                     

4. 35 ปี

ตอบ  3      หน้า 316, (ดูคำอธิบายข้อ 41. ประกอบ) คุณสมบัติของผู้ที่จะถวายตัวเป็นขุนนางในสมัยอยุธยาประการหนึ่ง คือ ต้องประกอบด้วยวุฒิ 4 ประการ ได้แก่

1.       ชาติวุฒิ คือ เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากอัครมหาเสนาบดี

2.       วัยวุฒิ คือ มีอายุตั้งแต่ 31 ปีขึ้นไป

3.       คุณวุฒิ คือ เป็นผู้มีความรู้ฝ่ายทหารและพลเรือนชำนิชำนาญ

4.       ปัญญาวุฒิ คือ มีสติปัญญาดี รอบรู้ในกิจการบ้านเมือง และเรื่องนานาประเทศ

43.           ลักษณะ การไหว้โดยการประนมมือให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ปลายจมูก ปลายนิ้วชี้จรดระหว่างคิ้ว ผู้หญิงถอยเท้าข้างที่ถนัดไปข้างหลัง พร้อมย่อเข่าลง ประนมมือไหว้ ถามว่าเป็นการไหว้ผู้ใด

1. ไหว้คนทั่วไป                    

2. ไหว้คนเสมอกัน                

3. ไหว้ผู้อาวุโส                       

4. ไหว้พระ

ตอบ  3      (คำ บรรยาย) การไหว้บิดามารดาหรือผู้ที่มีพระคุณและผู้มีอาวุโสอันเป็นที่เคารพยิ่ง คือ ลักษณะการไหว้โดยการยกมือประนมขึ้นให้นิ้วหัวแม่มือจรวดปลายจมูก ปลายนิ้วชี้จรดระหว่างคิ้วผู้ชายให้ค้อมตัวลง ประนมมือไหว้ ส่วนผู้หญิงถอยเท้าข้างที่ถนัดไปข้างหลัง พร้อมกับย่อเข่าลงประนมมือไหว้

44.           การทำความเคารพศพแบบไทยข้อใดถูก

1. กราบ 3 ครั้งแบมือ                                            

2. กราบ 1 ครั้งแบมือ

3. กราบ 1 ครั้งไม่แบมือ                                        

4. ถวายคำนับหรือถอนสายบัว

ตอบ  3      (คำ บรรยาย) การทำความเคารพศพแบบไทยที่ถูกต้อง ให้นั่งคุกเข่าราบทั้งชายและหญิงจากนั้นจุดธูป 1 ดอก (ถ้าเป็นศพพระจุด 3 ดอก) ประนมมือยกธูปขึ้นให้ปลายนิ้วชี้อยู่ระหว่างคิ้วตั้งจิตขอขมาต่อศพ แล้วปักธูปลงบนที่สำหรับปักธูป จากนั้นนั่งพับเพียบหมอบกราบแบบกระพุ่มมือตั้ง 1 ครั้ง (ไม่แบมือ) พร้อมอธิษฐานให้ดวงวิญญาณศพไปสู่สุคติ แล้วลุกขึ้น ถ้าเป็นศพของผู้ที่มีอายุน้อยกว่าเราไม่ต้องกราบหรือไหว้ เมื่อปักธูปลงแล้วให้นิ่งสงบและอธิษฐานเท่านั้น

45.           ค่านิยมของสังคมสุโขทัยได้แก่เรื่องใด

1. อย่านั่งชิดผู้ใหญ่                                                               

2. ท่านสอนอย่าสอนตอบ

3. ผู้ใหญ่ต้องควบคุมอารมณ์เมื่ออยู่ต่อหน้าผู้น้อย           

4. ถูกทุกข้อ

ตอบ  4      หน้า 294 ค่านิยมของสังคมสุโขทัยได้กำหนดหลักปฏิบัติระหว่างผู้ใหญ่และผู้น้อยไว้ คือ ผู้ใหญ่ซึ่งเป็นฝ่ายมีอำนาจ ถูกกำหนดให้มีความยุติธรรม เมตตากรุณา ให้รางวัลแก่ผู้น้อยที่มีความดีความชอบ และรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองเวลาอยู่ต่อหน้าผู้น้อย ส่วนผู้น้อยถูกกำหนดให้มีความจงรักภักดี กตัญญูกตเวที และเคารพยำเกรงผู้ใหญ่ ดังคำสอนให้ “อย่านั่งชิดผู้ใหญ่” และ “ท่านสอนอย่างสอนตอบ” เป็นต้น

46.           พระมหากษัตริย์อยุธยามีนโยบายเกี่ยวกับเจ้านายอย่างไร

1. ให้เจ้านายทุกพระองค์มีความสูงศักดิ์กว่าขุนนาง      

2. ให้เจ้านายได้ควบคุมอำนาจบริหารมากกว่าขุนนา

3. พยายามควบคุมจำนวนเจ้านายไว้ด้วย                           

4. ถูกทุกข้อ

ตอบ  3      หน้า 305, 313, 322-323 พระมหากษัตริย์อยุธยามีนโยบายคานอำนาจเจ้านาย ดังนี้

1.       ควบคุมจำนวนเจ้านาย โดยกำหนดผู้มีสิทธิเป็นเจ้านายมีได้เพียง 3 ชั่วอายุคน คือ ในชั่วลูก หลาน และเหลนเท่านั้น

2.       ลดความสูงศักดิ์ของเจ้านายลงทุกชั่วคน จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าเจ้านายมีความสูงศักดิ์กว่าขุนนาง

3.     ไม่ให้เจ้านายได้ควบคุมการบริหารกรมกองสำคัญในส่วนกลาง และไม่ให้เป็นเจ้าเมืองในส่วนภูมิภาค แต่ให้ขุนนางมีอำนาจหน้าที่นี้แทน

4.       ควบคุมจำนวนไพร่สมของเจ้านาย ฯลฯ

47.           เหตุใดเจ้านายในสมัยอยุธยาจึงได้ “ทรงกรม”

1. เพื่อให้เจ้านายได้เป็นเสนาบดี                                       

2. เพื่อให้จ้านายได้ปกครองไพร่หลวง

3. เพื่อให้เจ้านายได้ปกครองไพร่สมจำนวนหนึ่ง           

4. เพื่อให้เจ้านายเป็นเจ้าเมือง

ตอบ  3      หน้า 308 การทรงกรมของเจ้านายในสมัยอยุธยา คือ การปกครองบังคับบัญชากรมซึ่งเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรฯ เป็นต้นมา เพื่อเป็นสิ่งทดแทนการที่เจ้านายเคยได้ครองเมืองในอดีต และเพื่อไม่ให้เจ้านายหมดอำนาจไปเสียทีเดียว พระมหากษัตริย์จึงทรงให้เจ้านายได้บังคับบัญชากรมและได้ปกครองไพร่สมจำนวน หนึ่ง แต่จะมีจำนวนมากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับศักดินาของเจ้านาย

48.           ไพร่ในสมัยอยุธยาทำสิ่งใดไม่ได้

1. ยกมรดกให้ลูกหลาน                                                                        

2. เดินทางย้ายถิ่นอย่างเสรี

3. เข้าหาผลประโยชน์จากที่ดินที่ได้หักร้างถางพงไว้                    

4. ถูกทุกข้อ

ตอบ  2      หน้า 345, 350, (คำบรรยาย) สิทธิของไพร่ในสมัยอยุธยามีอยู่หลายประการ เช่น ไพร่มีสิทธิในที่ดินที่ได้หักร้างถางพงไว้ และมีสิทธิเข้าหาผลประโยชน์จากที่ดินนั้น รวมถึงมีสิทธิที่จะขายหรือยกเป็นมรดกให้แก่ลูกหลานได้ ฯลฯ แต่เมื่อไพร่ต้องอยู่ในระบบไพร่ ทำให้สิทธิบางอย่างของไพร่ถูกลิดรอนไป เช่น ไพร่ถูกควบคุมเรื่องการเคลื่อนไหว จึงไม่สามารถเดินทางย้ายถิ่นอย่างเสรี และต้องมาให้แรงงานตามกำหนด ฯลฯ

49.           พระมหากษัตริย์อยุธยาทรงมีนโยบายเกี่ยวกับไพร่สมอย่างไร

1. เกณฑ์แรงงานไพร่สมมาใช้ทางราชการมากกว่าไพร่หลวง                     

2. พยายามลดจำนวนไพร่สม

3. พยายามเพิ่มจำนวนไพร่สม                                                                             

4. ไม่ให้ไพร่สมย้ายไปเป็นไพร่หลวง

ตอบ  2      หน้า 339 พระมหากษัตริย์อยุธยาทรงพยายามลดจำนวนไพร่สม เพื่อลิดรอนอำนาจของเจ้านายซึ่งเป็นมูลนายของไพร่สมส่วนใหญ่ และเพิ่มจำนวนไพร่หลวงเพื่อความมั่นคงของพระมหากษัตริย์จึงมีการออกกฎหมาย ห้ามจดทะเบียนลูกหลานของไพร่หลวงเป็นไพร่สม แต่ไพร่สมสามารถย้ายไปเป็นไพร่หลวงได้เสมอ

50.           ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับระบบทาสในสมัยอยุธยา

1. นายเงินขึ้นค่าตัวทาสไม่ได้                                              

2. นายเงินมีสิทธิไม่รับค่าตัวทาสได้

3. นายเงินใช้ทาสเข้าคุกแทนตัวเองไม่ได้                        

4. ไม่มีข้าพระอาราม                              

ตอบ  1      หน้า 352, 354-356 ระบบทาสในสมัยอยุธยา นายเงินมีสิทธิเหนือทาสดังนี้

1. ใช้งานทาสได้ทุกอย่าง                  

2. ใช้ทาสไปรับโทษหรือเข้าคุกแทนตนได้ แต่ถ้าทาสขายขาดไปรับโทษแทนนายเงินจะมิได้ลดค่าตัวและไถ่ถอนตัวเป็นอิสระไม่ได้                              

3. ใช้ทาสไปรบแทนตนได้                

4. ลงโทษทาสได้แต่ต้องไม่ทำให้ทาสนั้นพิการหรือตายไป          

5. ขายทาสต่อไปได้ แต่ขึ้นราคาค่าตัวทาสตามใจชอบไม่ได้ และถ้าทาสมีเงินมาไถ่ตัว นายเงินจะไม่ยอมรับค่าตัวทาสไม่ได้ ฯลฯ

51.           การกำหนดศักดินามีประโยชน์อย่างไร
1. ใช้กำหนดบทลงโทษบุคคล                                            
2. ใช้กำหนดยศให้กับบุคคล
3. ใช้กำหนดที่ดินที่จะให้บุคคลถือครอง
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ  1      หน้า 309, 359-360 ระบบศักดินามีประโยชน์ในการกำหนดฐานะบุคคลในทางสังคมและกำหนดระเบียบในการปกครองด้านต่างๆ ดังนี้
1.     เป็นเครื่องมือกำหนดความสูงศักดิ์ของบุคคล อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคคลต่างๆ เพื่อจัดระเบียบของสังคม
2.       เป็นเครื่องกำหนดบทลงโทษของบุคคลที่มีความผิด
3.       เป็นเครื่องวัดและกำหนดไพร่พลในสังกัด
4.       เป็นเครื่องกำหนดอภิสิทธิ์และสิทธิพิเศษบางอย่าง
52.           ข้อใดที่ศักดินาของบุคคลมีการเปลี่ยนแปลง
1. เมื่อบุคคลนั้นได้เลื่อนยศ                                                  
2. เมื่อบุคคลนั้นได้ทรงกลม
3. เมื่อบุคคลนั้นถูกลงโทษลดยศลดตำแหน่ง
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ  4      หน้า 309, 358, (คำบรรยาย) การกำหนดให้บุคคลมีศักดินากันคนละเท่าใดนั้นจะกำหนดจากยศตำแหน่ง และความรับผิดชอบในหน้าที่ราชการ ดังนั้นศักดินาของบุคคลจะมีการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นได้ เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง หรือได้ทรงกรม และศักดินาจะมีการเปลี่ยนแปลงลดต่ำลงเมื่อบุคคลนั้นถูกลงโทษโดยลดยศลด ตำแหน่ง
 
53.           ในระบบศักดินาของไทย ใครคือผู้ที่มีศักดินาสูงสุดในแผ่นดิน
1. พระเจ้าแผ่นดิน                                                 
 
2. สมเด็จพระสังฆราช
 
3. กรมพระราชวังบวรสถานมงคล                     
 
4. สมเด็จเจ้าพระยา
 
ตอบ  3      หน้า 309, 357 กฎหมายอยุธยากำหนดให้ประชาชนทุกคนยกเว้นพระมหากษัตริย์จะได้รับพระราชทาน ศักดินาประจำตัวเป็นจำนวนเลขลดหลั่นกันไปตามยศและตำแหน่งโดยผู้ที่มีศักดินา สูงสุดในแผ่นดิน คือ เจ้านายระดับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) มีศักดินา 100,000 ไร่ ส่วนผู้ที่มีศักดินาต่ำสุด คือ ยาจก วณิพก ทาส และลูกทาส มีศักดินา 5 ไร่
 
54.           ยศสูงสุดของขุนนางคือ “สมเด็จเจ้าพระยา” เริ่มมีครั้งแรกในสมัยใด
1. สุโขทัย                 
 
2. อยุธยา                  
 
3. ธนบุรี                   
 
4. รัตนโกสินทร์
 
ตอบ  3      หน้า 319, 405, (คำบรรยาย)  ยศสมเด็จเจ้าพระยา ถือเป็นยศสูงสุดของขุนนางในประวัติศาสตร์ไทยจะมีอยู่ทั้งหมด 4 องค์ คือ
1.       สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ (ทองด้วง) หรือรัชกาลที่ 1 ในเวลาต่อมา
2.       สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิส บุนนาค)
3.       สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค)
4.       สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
 
55.           ข้อใดถูกต้องในสมัยต้นรัตนโกสินทร์
1. ขุนนางได้เลือกสรรพระมหากษัตริย์                             
 
2. ขุนนางตระกูลบุนนาคหมดบทบาทไป
 
3. ขุนนางไม่ได้ประโยชน์จากเจ้าภาษีเลย                        
 
4. ไพร่หลวงในสังกัดขุนนางหนีไปเป็นไพร่สมกันมาก
 
ตอบ  1      หน้า 400-404 ปัจจัยที่ทำให้ขุนนางในสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีอำนาจเพิ่มมากขึ้น ได้แก่
1.       ขุนนางมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระมหากษัตริย์
2.       ไพร่หลวงในสังกัดขุนนางที่หลบหนีไปเป็นไพร่สมมีจำนวนลดลง ทำให้ขุนนางมีความมั่นคงมากขึ้น
3.       คณะเสนาบดีซึ่งส่วนใหญ่เป็นขุนนางได้เลือกสรรพระมหากษัตริย์
4.       ขุนนางจำนวนหนึ่งได้ประโยชน์จากระบบเจ้าภาษีนายอากร
5.       ขุนนางตระกูลบุนนาคมีอำนาจโดเด่นที่สุดตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์จนถึงต้นรัชกาลที่ 5 ฯลฯ
 
56.           ไพร่ในสมัยรัตนโกสินทร์มีสิทธิร้องทุกข์โดยตรงครั้งแรกในรัชกาลใด
1. รัชกาลที่ 3                           
 
2. รัชกาลที่ 4                           
 
3.รัชกาลที่ 5                            
 
4. รัชกาลที่ 6                           
 
ตอบ  2      หน้า 199, (คำบรรยาย) ในสมัยรัชกาลที่ 4 ไพร่มีสิทธิร้องทุกข์โดยตรงต่อพระมหากษัตริย์เป็นครั้งแรก โดยพระองค์ทรงอนุญาตให้ไพร่เข้าเฝ้าถวายฎีกาได้อย่างใกล้ชิด และจนเสด็จออกรับฎีกาด้วยพระองค์เองเดือนละ 4 ครั้ง ซึ่งส่งผลให้มูลนายไม่กล้าข่มเหงรังแกไพร่ดังแต่ก่อน
 
57.           การเปิดประเทศมีผลต่อไพร่อย่างไร
1. ไพร่ถูกเกณฑ์แรงงานมากขึ้น                                         
 
2. ไพร่เสียเงินค่าราชการมากขึ้น
 
3. ไพร่ปลูกข้าวมากขึ้น                                                         
 
4. ถูกทุกข้อ              
 
ตอบ  3      หน้า 416, 242 ภายหลังการเปิดประเทศ เศรษฐกิจของไทยเปลี่ยนจากระบบผลิตเพื่อเลี้ยงตัวเอง มากเป็นระบบผลิตเพื่อส่งออก ทำให้ความสำคัญของไพร่ในฐานะแรงงานและผู้ส่งส่วยลดลงไปมาก แต่ไพร่จะมีบทบาทสำคัญยิ่งในด้านการเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรเพื่อส่งออก โดยเฉพาะการปลูกข้าว ซึ่งได้กลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญที่สุดของไทย
 
58.           ปัญหาการเมืองที่เกิดจากชาวจีนในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัยได้แก่เรื่องใด
1. ชาวจีนมักแข็งข้อต่อขุนนางไทย                                    
 
2. ชาวจีนต่อต้านชาวตะวันตก
 
3. ชาวจีนนิยมไปเป็นคนในบังคับตะวันตก                     
 
4. ชาวจีนต่อต้านระบบเจ้าภาษีนายอากร
 
ตอบ  3      หน้า 439 ในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ชาวจีนได้ก่อปัญหาทางการเมืองให้แก่รัฐบาลไทยโดยการตั้งสมาคมลับของชาวจีน หรืออั้งยี่ขึ้นหลายกลุ่ม และมีกิจกรรมหลายด้านที่ทำผิดกฎหมายไทย แต่พวกอั้งยี่ก็สามารถลอยนวลอยู่เหนือกฎหมายไทยได้  เพราะคน จีนจำนวนมากนิยมไปจดทะเบียนเป็นคนในบังคับตะวันตกชาติต่างๆ โดยเฉพาะอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งเมื่อมีคดีเกิดขึ้นก็สามารถขึ้นศาลกงสุลของชาติที่ตนได้ไปขึ้นทะเบียน ไว้ และตำรวจไทยจะจับกุมตัวได้ก็ต่อเมื่อกงสุลของชาตินั้นอนุมัติแล้วเท่านั้น
 
59.           พระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไทย พ.ศ. 2417 มีผลอย่างไร
1. ลูกทาสลูกไทบางส่วนได้เป็นไท                                    
 
2. ลูกทาสทุกระดับอายุได้เป็นไท
 
3.ลูกไททุกระดับอายุได้เป็นไทย                                         
 
4. มีการห้ามซื้อขายลูกไททันทีที่ประกาศ พ.ร.บ. นี้        
 
ตอบ  1      หน้า 433 ขั้นตอนแรกในการดำเนินงานเลิกทาสของรัชกาลที่ 5 คือ ทรงออก พ.ร.บ. พิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไทยจุลศักราช 1236 หรือ พ.ศ. 2417 ขึ้น ซึ่งมีผลให้ลูกทาสและลูกไทยบางส่วนสามารถหาเงินมาไถ่ตนเป็นอิสระได้ง่ายขึ้น และจะเป็นอิสระได้ทีเดียวในปี พ.ศ. 2432 ดังนั้นลูกทาสและลูกไทจึงถือเป็นทาสที่ได้รับการปลดปล่อยเป็นพวกแรกใน ประวัติศาสตร์
 
60.           คุณสมบัติต่อไปนี้เป็นลักษณะเด่นของคนไทย ถามว่าข้อใดเป็นลักษณะด้อยที่สุดของคนไทย
1. จิตใจโอบอ้อมอารี             
 
2. เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่                    
 
3. อ่อนน้อมถ่อมตน               
 
4. มีระเบียบวินัย
 
ตอบ  4      (คำ บรรยาย) ลักษณะนิสัยเด่นที่เป็นจุดด้อยที่สุดของคนไทย คือ ความมีระเบียบวินัยทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่สังคมไทยมีโครงสร้างแบบหลวมๆ ซึ่งทำให้มีลักษณะยืดหยุ่นไม่ยึดอะไรเป็นกฎเกณฑ์ตายตัว ดังนั้นคนไทยจึงมีระเบียบวินัยค่อนข้างน้อย และชอบทำอะไรตามใจตัวเอง ดังคำพังเพยที่ว่า “ทำอะไรตามใจคือไทยแท้”
61.           พื้นฐานทางเศรษฐกิจของสังคมไทยตั้งแต่โบราณมาคือเรื่องใด
1. การอุตสาหกรรม               
2. การเกษตรกรรม
3. การประมง
4. การค้าขาย
ตอบ  2      หน้า 469, (คำบรรยาย) อาชีพหลักของราษฎรไทย คือ การเกษตรกรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจของสังคมไทยตลอดมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเฉพาะการทำนาถือเป็นอาชีพหลักของราษฎรไทยมาตั้งแต่ยุคต้นๆ รองลงมาก็คือ การทำไร่ทำสวนต่างๆ
62.           เศรษฐกิจแบบหมู่บ้านเป็นอย่างไร
1.       คือการเพาะปลูกพืชสำหรับบริโภคอย่างพอเพียงสำหรับผู้คนในชุมชนต่างๆ
2.       คือการปลูกพืชสำหรับบริโภคและขายระหว่างหมู่บ้าน
3.       คือการร่วมกันลงทุนงานด้านอุตสาหกรรมในครัวเรือนภายในหมู่บ้าน
4.       คือการแลกเปลี่ยนสินค้าภายในชุมชนต่างๆ
ตอบ  1      หน้า 469 ลักษณะเศรษฐกิจโดยกว้างๆ ของสังคมไทย จะเริ่มต้นจากการเป็นเศรษฐกิจแบบหมู่บ้านก่อน คือ การเพาะปลูกพืชสำหรับบริโภคอย่างพอเพียงของผู้คนในชุมชนต่างๆ ซึ่งพืชที่ว่านี้ก็คือข้าว ทั้งนี้เพราะเป็นช่วงเวลาที่เพิ่งผ่านพ้นการก่อตั้งบ้านเมืองในลุ่มแม่น้ำ เจ้าพระยาจึงทำให้การตั้งถิ่นฐานทำมาหากินของราษฎรยังคงยึดแนวง่ายๆ
 
63.           อาชีพอะไรเป็นอาชีพหลักของราษฎรไทยมาตั้งแต่ยุคต้นๆ
1. การค้าขายตามแม่น้ำลำคลอง                                          
2. การรับจ้างถางป่า
3. การทำนา                                                                             
4. การเลี้ยงสัตว์
ตอบ  3      ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ
 
64.           เหตุใดเศรษฐกิจของสุโขทัยจึงจำกัดเพียงการผลิตเพื่อเลี้ยงตนเอง
1. ลักษณะภูมิศาสตร์ดินฟ้าอากาศไม่อำนวย                    
2. ผู้ปกครองไม่สนับสนุนการเพราะปลูก
3. ผู้ปกครองไม่สนับสนุนการเลี้ยงสัตว์                            
4. สุโขทัยไม่ต้องการค้าขายกับต่างประเทศ
ตอบ  1      หน้า 482-483 เศรษฐกิจของสุโขทัย เป็นการผลิตเพื่อเลี้ยงตนเองหรือเลี้ยงประชากรของอาณาจักร เนื่องจากลักษณะภูมิศาสตร์ดินฟ้าอากาศไม่อำนวย จึงมีลักษณะเป็นการผลิตเพื่อบริโภคและแลกเปลี่ยนกันเองภายในมิใช่การผลิต เพื่อขาย รวมทั้งไม่มีการแข่งขันและไม่จำเป็นต้องพึ่งตลาดหรือผลิตเพื่อสนองความต้อง การของตลาด ทำให้ชาวสุโขทัยมีการดำรงชีวิตที่มั่นคงด้านเศรษฐกิจ เพราะสามารถพึ่งตนเองและมีชีวิตอยู่บนพืชผักผลไม้ที่ปลูกเอง จึงเป็นลักษณะเศรษฐกิจที่เรียกว่า “วัฒนธรรมชาวบ้าน” ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะของเศรษฐกิจสุโขทัย
 
65.           ลักษณะเศรษฐกิจที่เรียกว่า “วัฒนธรรมชาวบ้าน” เป็นลักษณะเฉพาะของสมัยใด
1. สุโขทัย                                                 
2. อยุธยา                  
3. ธนบุรี                   
4. รัตนโกสินทร์
ตอบ  1      ดูคำอธิบายข้อ 64. ประกอบ
 
66.           ผู้ปกครองสุโขทัยสร้างงานด้านชลประทานอย่างไร
1. การสร้างสรีดภงส์                                             
2. การขุดสระเรียกว่าตระพัง
3. การสร้างเหมืองฝาย                                          
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ  4      หน้า 473-475 สุโขทัยจะมีปัญหาเรื่องพื้นที่เพาะปลูกมีจำกัดเพราะเป็นหนองบึงจำนวนมากและ มีปัญหาเรื่องน้ำ ดังนั้นผู้ปกครองสุโขทัยจึงได้ช่วยเหลือกสิกรในการเพาะปลูกทั้งทางตรงและทาง อ้อมหลายประการ ได้แก่                
1 การช่วยเหลือทางด้านการชลประทาน เช่น การสร้างสรีดภงส์ (เขื่อนเก็บกักน้ำ ซึ่งเป็นทำนบเก็บกักน้ำไว้ภายในหุบเขา) การขุดสระที่เรียกว่าตระพังและสร้างเหมืองฝายเป็นทำนบกั้นน้ำ      
2 ให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ราษฎรมีความวิริยะอุตสาหะหักร้างถางพง เพื่อสร้างเป็นไร่เป็นนาเป็นสวน ฯลฯ
 
67.           เหตุใดการประมงของสุโขทัยจึงจำกัดเฉพาะการประมงน้ำจืด
1. สุโขทัยไม่มีเรือใหญ่                                                         
2. สุโขทัยไม่มีเครื่องมือจับปลาน้ำลึก
3. ผู้ปกครองไม่สนับสนุนการประมงทะเล                      
4. ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
ตอบ  4      หน้า 475 แหล่งจับปลาน้ำจืดของสุโขทัยที่มีปลาอุดมสมบูรณ์ที่สุด คงได้แก่ ในแม่น้ำยมตอนใกล้แก่งหลวง ส่วนการจับปลาทะเลนั้นคงจะจับกันแต่เพยงริมฝั่งทะเลในอ่าวไทยเท่านั้นเพราะ ในสมัยสุโขทัยไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีเรือใหญ่ที่ใช้เป็นพาหนะในการออกไปจับปลา ในทะเลลึก นอกจากนี้เครื่องมือจับปลาน้ำลึกในสมัยนั้นก็คงยังไม่มีใช้
 
68.           สินค้าส่งออกของสุโขทัยที่ทำรายได้มากที่สุดคืออะไร
1. ผ้าไหม                                 
2. เครื่องสังคโลก                   
3. ข้าว                                       
4. อ้อย
ตอบ  2      หน้า  479, 483 สินค้าส่งออกที่สำคัญและขึ้นชื่อของสุโขทัย คือ เครื่องปั้นดินเผา หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “เครื่องสังคโลก” ซึ่งถือเป็นกิจกรรมที่ใหญ่โตและรุ่งเรืองมาก จนกลายเป็นแหล่งที่มาของรายได้ที่สำคัญที่สุดของสุโขทัย ดังหลักฐานสมัยสุโขทัยที่ระบุว่า “คงทำรายได้ให้รัฐมากทีเดียว”
 
69.           “ใครจักใคร่ค้าช้าค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า…” คือนโยบายอะไรของสุโขทัย
1. ผูกขาดการค้าสัตว์อื่นๆ ยกเว้นช้างและม้า                    
2. สนับสนุนการขายช้างและม้ามากที่สุด
3. นโยบายการค้าเสรี                                                            
4. นโยบายกึ่งผูกขาด
ตอบ  3      หน้า 480 ข้อความในศิลาจารึกที่ว่า “…เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้าใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า” หมายความว่า ผู้ปกครองส่งเสริมนโยบายการค้าอย่างเสรี โดยราษฎรสามารถค้าขายสินค้าต่างๆ ได้ตามความต้องการ
 
70.           ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถูก
1. สุโขทัยไม่มีเงินตราใช้                                                      
2. สุโขทัยยุคต้นๆ เก็บภาษีจกอบ
3. ชาวนาต้องเสียภาษีข้าว                                                    
4. สุโขทัยไม่เก็บภาษีเพิ่มจากเดิมที่เคยเก็บมา
ตอบ  1      หน้า 481-482, (คำบรรยาย) การเก็บภาษีและเงินตราที่ใช้ในสมัยสุโขทัยมีดังนี้    
1 สุโขทัยในยุคต้นๆ จะเก็บภาษีที่เรียกว่า “จกอบ” (ภาษีผ่านด่าน) แต่พอมาถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหงทรงให้ยกเลิกการเก็บภาษีนี้เสีย                
2 ชาวนาต้องเสียภาษีข้าว 1 ส่วน จากผลผลิตข้าว 10 ส่วน  
3 ผู้ปกครองสุโขทัยมีนโยบายไม่เก็บภาษีเพิ่มจากเดิมที่เคยเก็บมาแต่โบราณ                      
4 สุโขทัยจะใช้เงินตราที่เรียกว่า “เงินพดด้วง” และเบี้ย (เปลือกหอย) เป็นเครื่องแลกเปลี่ยนในการซื้อขาย
71.           พื้นฐานทางเศรษฐกิจของอยุธยาคือข้อใด
1. การค้าขาย           
2. การอุตสาหกรรม               
3. การทำเหมืองแร่ 
4. การเกษตรกรรม
ตอบ  4      หน้า 510 พื้นฐานทางเศรษฐกิจของอยุธยาจะเป็นการเกษตรกรรมเช่นเดียวกับสุโขทัยแต่มีข้อ แตกต่างคือ อยุธยาเป็นอาณาจักรกว้างใหญ่ตั้งอยู่ในเขตมรสุมซึ่งนำฝนมาส่วนแม่น้ำเจ้า พระยาก็นำปุ๋ยมาสู่ไร่นา ทำให้มีสภาพพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เศรษฐกิจของอยุธยาดีกว่าสุโขทัย
72.           ปัจจัยอะไรช่วยให้เศรษฐกิจอยุธยาดี
1. สภาพพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์                                            
2. ราษฎรขยันทำนา
3. มีนโยบายด้านเศรษฐกิจที่ทันสมัย                  
4. การค้ากับตะวันตกรุ่งเรือง
ตอบ  1      ดูคำอธิบายข้อ 71. ประกอบ
 
73.           ผู้ปกครองอยุธยาสนับสนุนการทำนาเห็นได้จากนโยบายอะไร
1. การขยายเนื้อที่เพาะปลูก                                  
2. กฎหมายป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับต้นข้าว
3. การส่งเสริมแรงงานทำนา                               
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ  4      หน้า 346, 489-491, (คำบรรยาย) ผู้ปกครองอยุธยามีนโยบายสนับสนุนการทำนาปลูกข้าวดังนี้ 
1. ขยายเนื้อที่ทำนาเพาะปลูก                               
2. คุ้มครองป้องกันภยันตรายที่จะเกิดกับต้นข้าว โดยมีกฎหมายลงโทษผู้ทำลายต้นข้าวอย่างรุนแรง                   
3. ให้กำลังใจแก่ชาวนา โดยอาศัยพิธีกรรมทางศาสนาเป็นแนวทางสร้างศรัทธาและความเชื่อมั่น                   
4. ส่งเสริมแรงงานในการเพาะปลูก                     
5. ขจัดปัดเป่าการทะเลาะวิวาท           
6. การชลประทาน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่รับบาลอยุธยาให้ความสำคัญน้อยที่สุด
 
74.           ป่าไม้สมัยใดกินพื้นทีกว่าครึ่งอาณาจักร
1. สุโขทัย                                 
2. อยุธยา                  
3. ธนบุรี                   
4. รัตนโกสินทร์
ตอบ  2      หน้า 495 พ่อค้าชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่งบันทึกไว้ว่า ป่าไม้ของอาณาจักรอยุธยามีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ไพศาลมาก กินพื้นที่กว่าครึ่งของอาณาจักร และมีสภาพหนาทึบมากจนแทบจะผ่านเข้าไปไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ทางราชการจึงให้ความไว้วางใจแก่ป่าของตน เพราะเปรียบได้กับเป็นกำแพงปราการป้องกันศัตรูที่จะมารุกรานได้
 
75.           ในบรรดาไม้หอมต่อไปนี้ ไม้ใดราคาแพงที่สุด
1. ไม้จันทน์                             
2. ไม้ฝาง                  
3. ไม้กฤษณา                           
4.ไม้กระลำพัก
ตอบ  4      หน้า 496, (คำบรรยาย) ในสมัยอยุธยา ไม้กระลำพำเป็นไม้หอมที่ได้รับความนิยมมากกว่าไม้หอมชนิดอื่น เพราะมีกลิ่นหอมกว่า ดังนั้นจึงเป็นไม้ที่มีราคาแพงมากและหายากที่สุดเนื่องจากไม้กระลำพักเกิด แต่เฉพาะในใจกลางต้นสลัดไดป่าและต้นตาตุ่มทะเล และเป็นท่อนเล็กๆ ซึ่งมีสีดำเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เมื่อต้องการหากระลำพักจึงต้องฟันต้นไม้ชนิดที่จะเกิดกระลำพักลง หลายต้น แต่ก็ได้กระลำพักเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
 
76.           เศรษฐกิจรัตนโกสินทร์มีข้อต่างไปจากสมัยก่อนๆ อย่างไร
1. เป็นลักษณะเศรษฐกิจแบบผูกขาด                                   
 2. มีการนำระบบพระคลังสินค้ามาใช้
3. มีการนำเทคโนโลยีตะวันตกมาช่วยเรื่องอาชีพของราษฎร  
 
4. มีการยึดธุรกิจต่างชาติให้เป็นของรัฐบาล
 
ตอบ  3      หน้า 515 การดำเนินชีวิตของชาวไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังคงเป็นแบบเดียวกับสมัย อยุธยา แต่ในสมัยรัชกาลที่ 4-7 มีการพัฒนาอาชีพต่างๆ ของคนไทยกว้างขวางมากขึ้นและแตกต่างไปจากเดิม คือ มีการนำหลักวิทยาการและเทคโนโลยีตะวันตกมาประยุกต์ใช้กับอาชีพของราษฎร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่งเสริมการทำนา การทำสวน การทำไร่ การเลี้ยงสัตว์ การจับสัตว์น้ำ การบำรุงรักษาสัตว์น้ำ การจัดการกับป่าไม้สักของรัฐบาล การทำเหมืองแร่ดีบุก เป็นต้น
 
77.           กษัตริย์องค์ใดส่งเสริมแรงงานทำนาโดยอนุญาตให้ไพร่ขณะมารับราชการกลับบ้านไปทำนาในหน้านาได้
1. รัชกาลที่ 1                           
2. รัชกาลที่ 2                           
3. รัชกาลที่ 3                           
4. รัชกาลที่ 4
ตอบ  4      หน้า 518 นโยบายการส่งเสริมการทำนาในสมัยรัชกาลที่ 4 มีดังนี้
1.       ส่งเสริมแรงงานในการทำนา โดยอนุญาตให้ไพร่ขณะมารับราชการกลับบ้านไปทำนาในหน้านาได้
2.       เปิดให้ขายข้าวออกนอกประเทศ เพื่อช่วยให้ชาวนาขายข้าวได้ราคาดีกว่าแต่ก่อน
3.       แนะนำพันธุ์ข้าวที่จะทำรายได้ให้กับชาวนา
4.       ขจัดอุปสรรคเรื่องน้ำและคดีความต่างๆ ที่จะขัดขวางการทำนา
5.       ยินดีรับความรู้ความก้าวหน้าทางวิชาการของชาวตะวันตก
 
78.           การขุดคลองขยายเนื้อที่เพาะปลูกเริ่มจริงจังสมัยใด
1. รัชกาลที่ 1                           
2. รัชกาลที่ 3                           
3. รัชกาลที่ 5                           
4. รัชกาลที่ 6
ตอบ  3      หน้า 519-521 ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นสมัยที่มีการส่งเสริมและทำนุบำรุงการทำนาปลูกข้าวอย่างจริงจังยิ่งกว่า สมัยใดๆ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงส่งเสริมในกิจกรรมการทำนาแทบ ทุกด้าน ดังนี้   
1. การขุดคลองขยายเนื้อที่เพาะปลูก
2. การจัดหาพันธ์ข้าวที่มีคุณภาพ                      
3. การจัดหาเครื่องมือทำนาที่ทันสมัย
 
79.           รัชกาลใดทรงยกเว้นชายฉกรรจ์อายุระหว่าง 25-30 ปี ไม่ต้องไปรับราชการทหาร เพื่อให้ไปทำนา
1. รัชกาลที่ 1                           
2. รัชกาลที่ 3                           
3. รัชกาลที่ 5                           
4. รัชกาลที่ 6
ตอบ  4      หน้า 521-522 นโยบายการส่งเสริมการทำนาในสมัยรัชกาลที่ 6 มีดังนี้
1.       แก้ปัญหาการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะที่มณฑลทางใต้
2.     แก้ปัญหาแรงงาน โดยยกเว้นการเกณฑ์ชายฉกรรจ์ ซึ่งมีอายุระหว่าง 25-30 ปี ไม่ต้องไปรับราชการทหาร แต่ให้ไปทำนาแทน
3.       แก้ปัญหาการถูกเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง ในเรื่องความไม่เที่ยงตรงของเครื่องชั่งตวงวัด
 
80.           ในรัชกาลที่ 5 กรมราชโลหะกิจและภูมิวิทยามีหน้าที่ควบคุมดูแลเรื่องอะไร
1. การทำประมง                     
2. การทำเหมืองแร่                 
3. การป่าไม้                             
4. การค้า
ตอบ  2      หน้า 536, (คำบรรยาย) ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการจัดตั้งกรมราชโลหะกิจและภูมิวิทยาใน พ.ศ.2434 เพื่อให้ทำหน้าที่ควบคุมกิจการทำเหมืองแร่ของประเทศ ซึ่งผู้ที่ประสงค์จะขออนุญาตตรวจแร่ต้องขออนุญาตจากกรมดังกล่าวเพื่อให้ออก ท้องตราอนุญาตให้ จากนั้นผู้ขอจะต้องนำท้องตราไปขออนุญาตเจ้าเมืองอีกที จึงจะลงมือสำรวจแหล่งแร่ได้

 

81.           เหตุใดมนุษย์สมัยโบราณจึงนับถือธรรมชาติ
1. เพราะเกิดมาก็พบธรรมชาติรอบตัว                               
2. เพราะเชื่อว่าธรรมชาติมีวิญญาณสิงอยู่
3. เพราะเชื่อว่าธรรมชาติทำให้เกิดทุกข์สุขแก่มนุษย์     
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ  4      หน้า 570, (คำบรรยาย) ความเชื่ออันดับแรกของมนุษย์ คือ การบูชานับถือธรรมชาติทั้งนี้เพราะตั้งแต่มนุษย์เกิดมาก็ได้พบธรรมชาติรอบ ตัว เช่น ความมืด ความสว่าง ฯลฯ ซึ่งมีผลให้มนุษย์มีทุกข์หรือสุขได้ ดังนั้นมนุษย์จึงคิดว่าเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะธรรมชาติมีพลังอำนาจที่ จะบันดาลความสุขหรือทุกข์ให้แก่ตนได้ อีกทั้งธรรมชาติเหล่านั้นยังมีวิญญาณสิงอยู่
82.           พุทธศาสนานิกายใดที่มีเรื่องไสยศาสตร์ ผีสางเทวดา และเวทมนต์คาถาอาคมเข้าไปแทรกซึมอยู่มาก
1. เถรวาท                                
2. อาจาริยวาท                         
3. วัชรยาน                               
4. มหายาน
ตอบ  3      (คำ บรรยาย) พุทธสาสนานิกายวัชรยานหรือวัชรวาท เป็นพุทธศาสนาที่เกดขึ้นหลังนิกายเถรวาทและนิกายอาจาริยวาทหรือมหายาน ซึ่งจะมีเรื่องไสยศาสตร์เกี่ยวกับผีสางเทวดาและเวทมนต์-คาถาอาคมเข้ามาแทรก ซึมอยู่มาก โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นพุทธศาสนาของประชาชน เพราะประชาชนส่วนใหญ่ยังหวาดกลัวต่อภัยอันตรายซึ่งเชื่อว่ามีผีร้ายเป็นผู้ กระทำขึ้น ครั้นเมื่อมีสิ่งใดที่สามารถป้องกันภัยเหล่านั้นได้ ประชาชนก็จะยอมรับนับถือด้วยความยินดี
 
83.           พระพุทธศาสนาลัทธิกาวงศ์ถือคติอย่างหินยาน พระไตรปิฎกใช้ภาษาอะไร
1. บาลี                                      
2. มคธ                      
3. สันสกฤต                             
4. ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
ตอบ  4      หน้า 581-582, (คำบรรยาย) พระพุทธสาสนาลัทธิลังกาวงศ์นั้นจะถือคติอย่างหินยานพระไตรปิฎกจะใช้ภาษามคธ (ภาษาบาลี) ซึ่งเมื่อไทยนับถือลัทธิลังกาวงศ์ พระสงฆ์ไทยจึงเลิกศึกษาพระธรรมวินัยในภาษาสันสกฤตอย่างแต่ก่อน และเปลี่ยนมาศึกษาภาษามคธ (ภาษาบาลี) นับตั้งแต่นั้นมา
 
84.           พุทธศาสนาลัทธิหินยานอย่างลังกาวงศ์แพร่หลายอยู่ที่เมืองใดก่อนขึ้นมาสู่สุโขทัย
1. นครศรีธรรมราช                               
2. นครปฐม                             
3. อยุธยา                  
4. เพชรบุรี
ตอบ  1      หน้า 582 พระสงฆ์ไทยที่ไปศึกษาพุทธศาสนาที่ลังกา ได้นำพุทธศาสนาลักทธิเถรวาทหรือหินยานแบบลังกาวงศ์มาเผยแผ่ที่เมืองนครศรี ธรรมราชก่อน จนกระทั่งประมาณ พ.ศ. 1800 เมื่อพ่อขุนรามคำแหงเสด็จไปยังหัวเมืองฝ่ายใต้ ทรงเกิดความเลื่อมใสในพระสงฆ์เหล่านี้จึงทรงอาราธนาให้พระสงฆ์นำพระพุทธ ศาสนาลัทธิเถรวาทหรือหินยานอย่างลังกาวงศ์มาเผยแผ่และประดิษฐานที่เมือง สุโขทัย
 
85.           ความเชื่อในศาสนาของคนไทยแต่โบราณเชื่อรวมๆ กัน ได้แก่อะไรบ้าง
1. ผีสางเทวดา                         
2. ไสยศาสตร์                          
3. พุทธศาสนา                        
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ  4      หน้า 573 ชนชาติไทยแต่โบราณจะนับถือศาสนาต่างๆ ซ้อนกันประดุจรูปเจดีย์ คือ นับถือผีสางเทวดาเปรียบเหมือนเป็นพื้นฐานของเจดีย์ ถัดขึ้นไปก็เป็นศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งมีเรื่องเกี่ยวกับไสยศาสตร์ และสูงสุดก็คือพระพุทธศาสนาเปรียบเสมือนยอดเจดีย์ ซึ่งความเชื่อทั้ง 3 นี้จะมีการนับถือคละเคล้าปะปนกัน จนในที่สุดก็ไม่สามารถแยกออกจากกันได้
 
 
86.           อิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อคนไทยสมัยโบราณคืออะไร
1. ทำลายความเชื่อถือเดิมเรื่องผีสางเทวดา
2. ลดการกระทำบางอย่างที่รุนแรงให้เบาลง
3. ทำให้คนไทยยึดมั่นในหลักธรรมของพุทธศาสนาเท่านั้น
4. ทำให้คนไทยเลิกเชื่อในไสยศาสตร์และความงมงาย
ตอบ  2      หน้า 572-573, (คำบรรยาย) แม้ว่าพุทธศาสนาจะเกิดขึ้นในหมู่ชนที่นับถือผีสางเทวดาก็ตามแต่พระพุทธเจ้า ก็ไม่เคยทรงประกาศว่าพุทธศาสนามีขึ้นเพื่อทำลายเรื่องผีสางเทวดา ดังนั้น เมื่อคนไทยนับถือพุทธศาสนาแล้ว คติความเชื่อเดิมในเรื่องผีสางเทวดาก็ยังคงอยู่ โดยมีการปรับปรุงคติผีสางเทวดาให้เข้ากันได้กับพระพุทธศาสนา และลดการกระทำหรือพิธีกรรมบางอย่างที่รุนแรงให้เบาลง เช่น เปลี่ยนการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเพื่อบูชายัญให้มีลักษณะอย่างอื่นไป
 
87.           เหตุใดพุทธสาสนาลัทธิมหายานจึงเจริญและแพร่หลาย
1. ได้รับความสนับสนุนจากพระเจ้ากนิษกะ                      
2. ได้รับความสนับสนุนจากพระเจ้าอโสกมหาราช
3. มีหลักที่เคร่งครัดกว่าลัทธิหินยานจึงเป็นที่เลื่อมใส
4. ลัทธิหินยานเสื่อมโทรมไม่เป็นที่นิยม
ตอบ  1      หน้า 576 พระพุทธศาสนาลัทธิมหายานเจริญแพร่หลายและมีศาสนิกชนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้ากนิษกะ กษัตริย์อินเดียแห่งราชวงศ์กุษาณะที่ทรงเลื่อมใสลัทธิมหายาน และโปรดฯ ให้ทำสังคายนาพระธรรมวินัยโดยใช้ภาษาสันสกฤตจารึกพระไตรปิฎกส่งผลให้พระพุทธ ศาสนามีพระไตรปิฎก 2 ฉบับ คือ 1. ฉบับภามคธของฝ่ายหินยาน  2. ฉบับภาษาสันสกฤตของฝ่ายมหายาน
 
88.           กษัตริย์องค์ใดโปรดฯ ให้จำลองรอยพระพุทธบาทจากเขาสุมนกูฎ เมืองสิงหล ลังกา นำมาประดิษฐานยังศรีสัชนาลัย
1. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์        
2. พ่อขุนรามคำแห่ง
3. พญาลิไทย
4. พญาไสยลือไทย
ตอบ  3      หน้า 584-585, (คำบรรยาย) ในสมัยพญาลิไทยนิยมสร้างวัดกันมาก โดยอาคารที่สร้างได้แก่ กุฏิพระสงฆ์ วิหาร และพุทธศาลา ส่วนโบสถ์ยังไม่นิยมสร้าง นอกจากนี้พญาลิไทยยังโปรดฯ ให้สร้างปูชนียสถานที่สำคัญ เช่น ศิลาจารึก และการจำลองรอยพระพุทธบาทจากเขาสุมนกูฎ เมืองสิงหล ประเทศลังกา แล้วนำมาประดิษฐานยังเมืองศรีสัชนาลัย
 
 
89.           ความเลื่อมใสในพุทธศาสนาของคนไทยสมัยอยุธยาแสดงออกให้เห็นด้านใด
1.       ความสนใจอย่างลึกซึ้งในหลักปรัชญาของพุทธสาสนา
2.       การเผยแผ่หลักธรรมของพุทธสาสนาอย่างกว้างขวาง
3.       คนไทยสมัยอยุธยาไม่ยอมนับถือศาสนาอื่น
4.       การสร้างวัด การทำบุญทำงาน
ตอบ  4      หน้า 589-592, (คำบรรยาย) สิ่งที่แสดงถึงความเจริญและความเลื่อมใสในพระพุทธสานาของคนไทยในสมัยอยุธยา จะสังเกตได้จากการที่พระมหากษัตริย์และประชาชนทำนุบำรุงพระพุทธสาสนาด้วยการ สร้างและปฏิสังขรณ์วัด รวมทั้งรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีทางพระพุทธศาสนา เช่น การทำบุญทำทาน การตักบาตร การบำเพ็ญกุศลในโอกาสต่างๆ ตลอดจนพิธีกรรมต่างๆ ที่ต้องมีพิธีสงฆ์เป็นองค์ประกอบ เป็นต้น
 
90.           ข้อใดไม่ใช่พระราชกรณียกิจสำคัญของกษัตริย์ไทยสมัยอยุธยา
1. การสร้างวัด                                                                        
2. การบูรณปฏิสังขรณ์วัด
3. การแก้ไขระเบียบการปกครองคณะสงฆ์
4. การสนับสนุนประเพณีบวชเรียน
ตอบ  3      หน้า 593-595, 605, (คำบรรยาย) พระราชกรณียกิจทางด้านศาสนาของกษัตริย์ไทยสมัยอยุธยา นอกจากจะทรงบูรณะปฎิสังขรณ์วัด สร้างวัดวาอาราม หรือสนับสนุนและบำรุงรักษาประเพณีบวชเรียนแล้ว ก็ยังทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีทางด้านพุทธสาสนาอีกด้วยทั้งนี้เพ่อให้หลักธรรม หรือเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับพุทธศาสนาได้เจริญแพร่หลายยิ่งขึ้น (ส่วนการแก้ไขระเบียบการปกครองคณะสงฆ์เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
91.           ข้อความใดแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัดในพระพุทธศาสนากับคนไทยสมัยอยุธยา
1. วัดเป็นที่ที่ผู้คนมีโอกาสพบปะกันในวันทำบุญและเทศกาลต่างๆ
2. เป็นธรรมเนียมที่ลูกผู้ชายต้องบวชเรียน 1 พรรษา
3. วัดเปรียบเสมือนโรงเรียนให้การศึกษา
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ  4      หน้า 590, (คำบรรยาย) ความสัมพันธ์ระหว่างวัดในพระพุทธศาสนากับคนไทยสมัยอยุธยามีดังนี้   
1. วัดเป็นที่ที่ผู้คนมีโอกาสพบปะกันในวันทำบุญและเทศกาลต่างๆ          
2. วัดเป็นที่ระงับคดีวิวาทของชาวบ้าน           
3. วัดเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางสงฆ์ โดยเฉพาะประเพณีการบวชเรียน ซึ่งในสมัยอยุธยาถือเป็นธรรมเนียมว่าลูกผู้ชายต้องบวชเรียน 1 พรรษา   
4. วัดเปรียบเสมือนโรงเรียนให้การศึกษาด้านอักษรศาสตร์และวิชาอาชีพอื่นๆ แก่กุลบุตร
92.           การทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 9 พ.ศ. 2331 สะท้อนสิ่งใด
1.       ความเสื่อมโทรมของพระพุทธศาสนาสมัยอยุธยาตอนปลาย
2.       ความสนใจบำรุงพระพุทธศาสนาของรัชกาลที่ 2
3.       ความคิดริเริ่มของคณะสงฆ์ไทยในการชำระพระไตรปิฎก
4.       ประชาชนเห็นความสำคัญของพระไตรปิฎก
ตอบ  1      หน้า 597-598 สาเหตุที่รัชกาลที่ 1 โปรดฯ ให้สังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 9 ใน พ.ศ. 2331 เป็นเพราะนับตั้งแต่อยุธยาเสียงกรุงให้แก่พม่าครั้งสุดท้ายใน พ.ศ. 2310 บ้านเมืองก็ระส่ำระสายและพระพุทธศาสนาในสมัยอยุธยาตอนปลายเสื่อมโทรมมาก จึงทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทำการสังคายนารวบรวมพระไตรปิฎกขึ้นไว้ให้สมบูรณ์ อีกครั้งหนึ่ง เรียกว่า “พระไตรปิฎกฉบับทอง”
 
93.           นับเป็นครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ที่รัชกาลที่ 2 ทรงประกอบพิธีนี้ คือพิธีอะไร
1. วิสาขบูชา                            
2. มาฆบูชา
3. อาสาฬหบูชา
4. เข้าพรรษา
ตอบ  1      หน้า 599-600 รัชกาลที่ 2 ทรงมีกระราชกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาดังนี้
1. การปฏิสังขรณ์วัด                          
2. ปฏิรูปและแก้ไขการสอบพระปริยัติธรรมขึ้นใหม่     
3. การสร้างพระไตรปิฎกฉบับรดน้ำแดง              
4. การส่งสมณฑูตรไปลังกา              
5. ฟื้นฟูให้มีการประกอบพิธีวิสาขบูชา ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประกอบพิธีนี้ และกลายเป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน    
6. การเรียบเรียงหนังสือโอวาทานุศาสนี    
 
94.           เหตุใดการสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัดในรัชกาลที่ 3 จึงรุ่งเรืองกว่าสมัยใดๆ
1.  ความศรัทธาอย่างแรงกล้าของพระมหากษัตริย์และประชาชน
2.  การค้ากับต่างประเทศรุ่งเรือง พ่อค้าเอกชนมีรายได้มาก
3.  ความเชื่อว่าการสร้างวัดเป็นบุญกุศลสูงสุด
4.  ความ ศรัทธาอย่างแรงกล้าของพระมหากษัตริย์และประชาชน การค้ากับต่างประเทศรุ่งเรือง พ่อค้าเอกชนมีรายได้มาก และความเชื่อว่าการสร้างวัดเป็นบุญกุศลสูงสุด
ตอบ  4      หน้า 601, (คำบรรยาย) สาเหตุที่การสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัดในสมัยรัชกาลที่ 3 เจริญรุ่งเรืองกว่าสมัยใดๆ ได้แก่
1.       ความศรัทธาอย่างแรงกล้าของพระมหากษัตริย์และประชาชน
2.       เป็นสมัยที่มีความสบปราศจากสงคราม
3.       การค้ากับต่างประเทศรุ่งเรือง ทำให้ประเทศมีรายได้
4.       พ่อค้าเอกชนร่ำรวมและมีรายได้มาก จึงนิยมสร้างวัด
5.       ความเชื่อที่ว่าการสร้างวัดเป็นบุญกุศลสูงสุด ฯลฯ               
 
95.           มหาเถรสมาคม เริ่มมีครั้งแรกตาม พ.ร.บ. ปกครองคระสงฆ์ฉบับใด
1. ฉบับ พ.ศ. 2445                  
2. ฉบับ พ.ศ. 2484
3. ฉบับ พ.ศ. 2506
4. ฉบับ พ.ศ. 2520
ตอบ  1      หน้า 605-606 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการตรา พ.ร.บ. ปกครองคระสงฆ์ ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2445) ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อให้คณะสงฆ์มีระเบียบแบบแผนที่มั่นคงกว่าเดิม และทำให้พระสงฆ์เริ่มมีบทบาทปกครองตนเอง เนื่องจากได้มีการรวมตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ทั้ง 4 และพระราชาคณะเจ้าคระรองทั้ง 4 ให้เป็นมหาเถรสมาคม ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์ในการพระศาสนาและการปกครองคณะสงฆ์ทั่วไป
 
96.           การบวงสรวงและการบัตรพลีสังเวยเทวดาของชาวไทย ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของลัทธิในข้อใด
1. ศาสนาพุทธเถรวาท                                          
2. ศาสนาพุทธมหายาน
3. ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
4. ศาสนาอิสลาม
ตอบ  3      หน้า 640 ประเพณีไทยบางประเทศมักมีอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูผสมผสานอยู่ด้วย เช่น ประเพณีโกนจุกจะมีทั้งพิธีสงฆ์และพิธีพราหมณ์ ส่วนประเพณีทำบุญอายุและทำขวัญนอกจากจะทำบุญตามคติทางพระพุทธศาสนาแล้ว มักมีการบวงสรวงและทำบัตรพลีสังเวยเทวดาตามลัทธิศาสนาพราหมณ์อีกด้วย
 
97.           ชนชาติแรกที่เข้ามาค้าขายและเผยแผ่สาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในสมัยกรุงศรีอยุธยา คือชนชาติใด
1. โปรตุเกส             
2. ฮอลันดา
3. อังกฤษ
4. ฝรั่งเศส
ตอบ  1      หน้า 640 โปรตุเกส เป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่เดินทางมาเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับไทยตั้งแต่รัชกาล สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาชาวโปรตุเกสได้เดินทางเข้ามาไทยมากขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชิราชที่ 4 โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลของตนให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานเพื่อทำการค้าขาย และเผยแผ่คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก
 
98.           ข้อความในข้อใดถูกต้อง เมื่อกล่าวถึงศาสนาพราหมณ์และศาสนาฮินดู
1. ศาสนาพราหมณ์และศาสนาฮินดูไม่มีศาสดา
2. ศาสนาฮินดูนับถือพระเจ้าองค์เดียว
3. ศาสนาพราหมณ์นิยมบวงสรวงพระศิวะ
4. คำว่า “พราหมณ์” มาจากชื่อของศาสดาในศาสนาพราหมณ์
ตอบ  1      หน้า 636 ศาสนาพราหมณ์และศาสนาฮินดูเป็นศาสนาที่ไม่มีศาสดาแต่เป็นศาสนาในรูปของปรัชญาและเป็นศาสนาประเภทพหุเทวนิยม (Polytheisim) คือ มีการนับถือเทพเจ้าหลายองคืนอกจากนี้พิธีกรรมของศาสนาทั้ง 2 ก็จะแตกต่างกันกล่าวคือ ศาสนาพราหมณ์ (มาจากชื่อคำสอนหรือลัทธิพราหมณ์) จะนิยมการบูชาบวงสรวงต่อพระพรหมเป็นส่วนใหญ่ แต่ศาสนาฮินดูมีเทพเจ้ามากมายและมีฤทธิ์เดชต่างกัน จึงนิยมบูชาเทพเจ้าหลายองค์แยกออกไปให้เป็นที่พอพระทัยของเทพแต่ละองค์
 
99.           ประเพณีใดที่มีความสำคัญต่อสวัสดิภาพของสังคม
1. จารีตประเพณี                    
2. ขนบประเพณี
3. ธรรมเนียมประเพณี
4. วิถีประชาชน
ตอบ  1      หน้า 653-654, (คำบรรยาย) จารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรม (Mores) คือ ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรม จึงเป็นกฎที่มีความสำคัญต่อสวัสดิภาพของสังคม มีการบังคับให้ปฉิบัติตามและมีความรู้สึกรุนแรงถ้าใครฝ่าฝืน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องของความผิดถูก หรือความนิยมที่ยึดถือและถ่ายทอดสืบต่อกันมาโดยการเลียนแบบหรือสั่งสอน เช่น การสมรสแบบผัวเดียวเมียเดียวหรือเมื่อพ่อแม่แก่เฒ่าลงไปลูกหลานต้องเลี้ยงดู พี่น้องต้องรักกันเป็นต้น
100.       ข้อใดไม่ใช่ความหายของธรรมเนียมประเพณี
1. เป็นประเพณีที่ไม่ถือผิดทางศีลธรรม                             
2. เป็นประเพณีที่มีระเบียบแบบแผนวางไว้
3. เป็นประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาๆ ทั่วไป
4. เป็นแนวทางของการปฏิบัติที่ทุกคนเคยชิน
ตอบ  2      หน้า 654, (คำบรรยาย) ธรรมเนียมประเพณี (Convention) คือ ประเพณีที่ไม่ถือผิดทางศีลธรรม แต่ประพฤติกันมาตามธรรมเนียมอย่างนั้น ดังนี้จึงเป็นประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาๆ ทั่วไปที่ไม่มีระเบียบแบบแผนวางไว้เหมือนกับขนบประเพณี และไม่มีความผิดถูกเหมือนกับจารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรม แต่เป็นเพียงแนวทางในการปฏิบัติที่ทุกคนเคยชินและไม่รู้สึกว่าเป็นภาระหน้าที่

 

101.       ศิลปกรรมไทยมีประโยชน์ในการศึกษาพื้นฐานวัฒนธรรมไทย เพราะเหตุใด

1.       เป็นข้อมูลสนับสนุนทางประวัติศาสตร์

2.       ทำให้แยกวัฒนธรรมไทยแท้จริงออกจากวัฒนธรรมอื่นได้

3.       ศีลปกรรมไทยมีอัตลักษณะไม่รับอิทธิพลศิลปะสกุลช่างใด

4.       ศิลปะใช้อธิบายกำเนิดและที่มาของชนชาติไทยได้

ตอบ  2      หน้า 681, (คำบรรยาย) ศิลปกรรมไทยเป็นสิ่งที่แสดงถึงวัฒนธรรมที่สมบูรณ์กว่าด้านอื่นๆ เพราะการแสดงออกทางศิลปกรรมของไทยแต่ละสมัยจะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากศิลปะของเขมรหรือชวา ดังนั้น ศิลปกรรมจึงให้ประโยชน์ในการศึกษาพื้นฐานทางวัฒนธรรมไทย เนื่องจากทำให้แยกวัฒนธรรมไทยแท้จริงออกจากวัฒนธรรมอื่นๆ ได้

102.       การแบ่งยุคศิลปะ กำหนดด้วยอะไร

1. สมัยอาณาจักร                    

2.ลักษณะของศิลปะ

3. สมัยประวัติศาสตร์

4. ถูกทุกข้อ

ตอบ  2      หน้า 683, (คำบรรยาย) ศิลปกรรมในประเทศไทยมิได้แบ่งยุคสมัยตามประวัติศาสตร์ไทยซึ่งรู้จักกันอย่าง ทั่วไป แต่การแบ่งยุคศิลปกรรมได้แบ่งย่อยออกเป็นสมัยต่างๆ โดยมีชื่อเรียกตามสมัยหรือราชวงศ์ ตลอดจนตามรูปแบบและลักษณะของศิลปะ ระยะเวลา ถิ่นกำเนิดหรือสถานที่ที่ค้นพบ ซึ่งเริ่มตั้งแต่โบราณสถานและโบราณวัตถุเก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบ

103.       ศิลปกรรมกลุ่มใดสร้างขึ้นจากความเชื่อและความศรัทธาที่มนุษย์มีต่อศาสนาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์

1. เทวรูป                                                                                  

2. พระพุทธรูป

3. จิตรกรรมฝาผนัง

4. ศาสนสถานและประติมากรรมรูปเคารพ

ตอบ  4      (คำบรรยาย) งานศิลปกรรมที่สร้างขึ้นจากความเชื่อและความศรัทธาที่มนุษย์มีต่อศาสนาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1.     ศาสน สถาน คือ งานสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนา เช่น พุทธสถาน (สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพุทธ), เทวสถาน (สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู) ฯลฯ

2.     ประติมากรรม รูปเคารพ คือ งานประติมากรรมที่สร้างขึ้นจากความศรัทธาในศาสนาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เช่น พระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ เทวรูป ฯลฯ

 104.       หลัก ฐานทางศิลปกรรมที่แสดงถึงการแพร่วัฒนธรรมทางศาสนาจากอินเดียสู่ดินแดน สุวรรณภูมิที่มีอายุเก่าที่สุดเท่าที่พบ เป็นงานศิลปกรรมที่แสดงถึงอิทธิพลศิงปะสมัยใดของอินเดีย

1. อมราวดี                               

2. คุปตะ

3. หลังคุปตะ

4. ปาละ-เสนะ

ตอบ  1      หน้า 684, 686, (คำบรรยาย) ศิลปะทวารวดี เป็นศิลปะที่เจริญขึ้นในช่วงแรกสุดของไทยโดยงานศิลปกรรมทวารวดีส่วนใหญ่จะ แสดงถึงการแพร่วัฒนธรรมศาสนาจากอินเดียสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดเท่าที่พบ ได้แก่ งานศิลปกรรมที่แสดงถึงอิทธิพลศิลปะอินเดียสมัยอมราวดี (พุทธศตวรรษที่ 7-9) ต่อมาก็มีอิทธิพลของศิลปะคุปตะ-หลังคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 9-13) และศิลปะปาละ-เสนะ (พุทธสตวรรษที่ 14-17) ตามลำดับ

105.       ในสมัยทวารวดี นิยมใช้วัสดุใดสร้างพระพุทธรูป

1. ศิลา                                                       

2. สำริด

3. ดินเผา

4. ปูนปั้น

ตอบ  1      หน้า 686-687 พระพุทธรูปสมัยทวารวดีส่วนใหญ่สลักจากศิลา ที่หล่อด้วยสำริดก็มีอยู่บ้างแต่มักมีขนาดเล็ก ซึ่งพระพุทธรูปทวารวดีโดยทั่วไปจะแบ่งออกตามลักษณะได้ 3 แบบ ได้แก่

1.       แบบแรก แสดงอิทธิพลของศิลปะอินเดียแบบอมราวดี และแบบคุปตะ-หลังคุปตะอย่างชัดเจน

2.       แบบที่สอง มีลักษระเป็นพื้นเมืองหรือเป็นลักษณะเฉพาะของทวารวดี

3.       แบบที่สาม มีอิทธิพลของศิลปะของสมัยปาปวนหรือลพบุรีตอนต้นเข้ามาปะปน

106.       ศิลปะทวารวดีเป็นงานช่างที่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาใด

1. พุทธศาสนาเถรวาท                                          

2. พุทธศาสนามหายาน

3. พุทธสาสนาวัชรยาน

4. ศาสนาพราหมณ์

ตอบ  1      หน้า 685  ศิลปะ สมัยทวารวดีจะสะท้อนการนับถือพุทธศาสนาเถรวาท พุทธศาสนามหายานและศาสนาฮินดู แต่ศิลปะที่พบมักเป็นงานช่างที่แสดงพุทธศิลป์นิกายเถรวาท (หินยาน) มากที่สุดโดยหลักฐานที่แสดงถึงการนับถือพุทธสาสนาเถรวาท คือ จารึกคาถา “เย ธัมมา” และจารึกอื่นๆ ที่เป็นภาษาบาลี ซึ่งใช้เฉพาะพุทธสาสนาเถรวาท รวมทั้งงานประติมากรรมอื่นในพุทธสาสนาเถรวาทที่พบอยู่ทั่วไป

107.       ข้อความในข้อใดไม่ถูกต้อง

1.       สมัยสุโขทัย เป็นยุคที่การสร้างพระพุทธรูปเจริญถึงขีดสูงสุด

2.       สมัยอยุธยา เป็นยุคที่การสร้างสถาปัตยกรรมเจริญถึงขีดสูงสุด

3.       สมัยสุโขทัย ขาดหลักฐานที่แสดงถึงการนับถือศาสนาพราหมณ์

4.       สมัยอยุธยา ศิลปกรรมขาดความสืบเนื่องจากสมัยอู่ทอง

ตอบ  3      หน้า 708 งานศิลปกรรมในช่วงแรกของสุโขทัย ยังคงปรากฏอิทธิพลของศิลปะขอมทั้งในงานสถาปัตยกรรมและประติมากรรม ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงถึงการนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายาน เช่น ศาลตาผาแดง ที่เมืองเก่าสุโขทัย รวมทั้งประติมากรรมรูปเทวดาและเทวนารีที่พบในบริเวณปราสาท จัดเป็นศิลปะขอมแบบนครวัดตอนปลาย เป็นต้น

108.       เหตุใดจึงมีการสร้างพระพิมพ์ในทุกสมัย

1. การสืบอายุพระศาสนา                                     

2. การระลึกถึงสังเชนียสถาน

3. การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

4. ถูกทุกข้อ

ตอบ  4      หน้า 688, 696, 705-706 การสร้างพระพิมพ์ในแต่ละสมัยจะมีวัตถุประสงคืแตกต่างกันไปดังนี้

1. เพื่อเป็นของที่ระลึกถึงการได้ไปบูชาสังเวชนียสถาน 4 แห่งในอินเดีย

2. เพื่อเป็นที่เคารพบูชาและเผยแผ่พระพุทธสาสนา                    

3. เพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา

4. เพื่อปรมัตถประโยชน์ของผู้มรณภาพ         

5. เพื่อแสดงถึงความเจริญรุ่งเรือของพระพุทธศาสนา

109.       ประติมากรรมในข้อใดสะท้อนถึงการนับถือศาสนาพุทธมหายานในศิลปะศรีวิชัย

1. พระคณปติ                                          

2. พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

3. ศิวลึงค์

4. พระวิษณุสวมหมวกแขกทรงกระบอก

ตอบ  2      หน้า 685, 694-695 ศิลปะศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13-18) เกิดขึ้นทางภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งศิลปกรรมศรีวิชัยที่ทำขึ้นส่วนใหญ่จะเนื่องมาแต่พุทธศาสนามหายานทั้ง สิ้นโดยเฉพาะความนิยมสร้างพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรของศิลปะศรีวิชัยมักหล่อ จากสำริด และมีการตกแต่งเครื่องประดับงดงาม ซึ่งที่สวยงามที่สุดแต่มีเพียงครึ่งองค์ คือ พระอวโลกิเตศวรสำริดพบที่หน้าวัดพระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

110.       พระพิมพ์ในศิลปะศรีวิชัยมีความแตกต่างจากพระพิมพ์ในศิลปะอื่นอย่างไร

1. เป็นดินเผาผสมอัฐิธาตุ                                     

2. เป็นดินดิบผสมอัฐิธาตุ

3. เป็นปูนปั้นผสมอัฐิธาตุ

4. เป็นสำริดบรรจุอัฐิธาตุ

ตอบ  2      หน้า 696 พระพิมพ์ในศิลปะศรีวิชัยส่วนมากทำด้วยดินดิบผสมกับอัฐิธาตุของศพพระสงฆ์เถระ หรือศพบุคคล ซึ่งสันนิษฐานว่าทำตามประเพณีของศาสนาพุทธมหายาน เพื่อประสงค์ปรมัตถประโยชน์ของผู้มรณภาพเป็นที่ตั้ง มิได้ทำเพื่อสืบอายุพระศาสนา เนื่องจากอัฐินั้นได้เผาครั้งหนึ่งแล้วจึงไม่เผาอีก (ดูคำอธิบายข้อ  108. ประกอบ)

111.       ข้อใดเป็นลักษณะของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในศิลปะศรีวิชัย
1. มีอิริยาบถครบทั้งสี่อิริยาบถ                             
 
2. หล่อจากสำริด มีการตกแต่งเครื่องประดับงดงาม
 
3. พบจำนวนน้อยกว่าพระพุทธรูป                    
 
4. ลักษณะศิลปะเป็นแบบอินเดียผสมลังกา
ตอบ  2      ดูคำอธิบายข้อ 109. ประกอบ
 
112.       ศิลปะแบบลพบุรีนิยมสร้างพระพุทธรูปปางใดมากเป็นพิเศษ
1. พระพุทธรูปปางไสยาสน์                
 
2. พระพุทธรูปปางนาคปรก
 
3. พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท           
 
4. พระพุทธรูปก่อนการตรัสรู้
ตอบ  2      หน้า 700-701, (คำบรรยาย) ประติมากรรมสมัยลพบุรีที่มีความนิยมมากเป็นพิเศษ คือ พระพุทธรูปปางนาคปรก (มีนาคประกอบหรือมีขนาดนาคสอบลงเบื้องล่าง) ประทับนั่งปางสมาธิขัดสมาธิราบ ซึ่งมักจะสลักด้วยศิลาทราย ส่วนแบบที่หล่อด้วยสำริดมักจะเป็นพระพุทธรูปขนาดเล็กโดยมีลักษณะเฉพาะ คือ มักสร้างเป็นพระพุทธรูปองค์เดียว หรือหลายองค์อยู่เหนือฐานเดียวกัน
 
113.       ตามคติทางศาสนา ส่วนที่เป็นเรือนธาตุของเจดีย์ สร้างขึ้นด้วยจุดประสงค์อะไร
1. เป็นที่เคารพเทพเจ้าและบรรพบุรุษ               
 
2. เป็นสังเวชนียสถานซึ่งเก็บเถ้ากระดูกไว้ที่นี่
 
3. แทนองค์พระพุทธเจ้า                                      
 
4. แทนเทพเจ้าสูงสุดในศาสนา
 
ตอบ  2      หน้า 709, (คำบรรยาย) ตามคติทางศาสนาพุทธ ส่วนกลางของเจดีย์จะเรียกว่า เรือนธาตุซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป หรือใช้สำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เถ้ากระดูกหรืออัฐิธาตุของพระสงฆ์สาวก ตลอดจนใช้เป็นสังเวชนียสถานหรือเครื่องหมายแห่งสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ใน พุทธศาสนา เช่น ที่ประสูติ ตรัสรู้ ประทานปฐมเทศนาและปรินิพพาน
 
114.       ปราสาทในศิลปะขอม สร้างขึ้นโดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อใช้ประโยชน์ตามข้อใด
1. เป็นที่ประดิษฐานเทวรูป                                  
 
2. เป็นที่เก็บคัมภีร์ทางศาสนา
 
3. เป็นที่พักของพราหมณ์                                    
 
4. เป็นที่ประทับของกษัตริย์                 
 
ตอบ  1      หน้า 699 ปราสาทในศิลปะขอม มักสร้างขึ้นจากศิลาหรืออิฐเพื่อเป็นประธานของพุทธสถานหรือเป็นเทวาลัย โดยมีจุดประสงค์หลักในการสร้างเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป เทวรูปหรือถวายบรรพบุรุษ ตลอดจนเป็นศาสนสถานประจำชุมชน
 
115.       เครื่องสังคโลกในศิลปกรรมสุโขทัย สร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ด้านใดบ้าง
1. เป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน                      
 
2. เป็นเครื่องประดับสถาปัตยกรรม
 
3. เป็นของเล่นเด็ก                                                 
 
4. ถูกทุกข้อ
 
ตอบ  4      หน้า 479, 713, (คำบรรยาย) เครื่องสังคโลกในศิลปกรรมสุโขทัย จะมีทั้งที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น จาน ชาม ขวด ตลับ ฯลฯ และที่ใช้เป็นเครื่องประดับสถาปัตยกรรม เช่น กระเบื้องเคลือบมุงหลังคา ช่อฟ้า บราลี พลสิงห์ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีเครื่องปั้นที่ใช้เป็นของเล่นเด็ก เช่น ตุ๊กตาสังคโลกหรือตุ๊กตาเสียกบาล รูปช้าง ทวารบาล ฯลฯ
 
116.       ศิลปะล้านนาในระยะแรก ได้รับอิทธิพลจากศิลปะใดเป็นพื้นฐาน
1. ศิลปะหริภุญไชย                                               
 
2. ศิลปะพุกามในพม่า
 
3. ศิลปะสุโขทัย                                                      
 
4.ศิลปะลังกา
 
ตอบ  1      หน้า 715 ศิลปะล้านนาหรือเชียงแสนในระยะแรกนั้น จะได้รับอิทธิพลจากศิลปะหริภุญไชยเป็นพื้นฐาน และมีการพัฒนาลักษณะรูปแบบโดยมีอิทธิพลของศิลปะพม่าสมัยพุกามเข้ามาเกี่ยว ข้อง
 
117.       ศิลปะสุโขทัยและศิลปะล้านนาเข้ามามีอิทธิพลต่อรูปแบบของพระพุทธรูปและเจดีย์ในสมัยกษัตริย์พระองค์ใดของกรุงศรีอยุธยา
1. พระบรมไตรโลกนาถ                                                       
 
2. พระเจ้าปราสาททอง
 
3. พระนารายณ์มหาราช                                                       
 
4. พระเจ้าอู่ทอง
 
ตอบ  1      หน้า 594, 715-716, 724-275 ในสมัยอยุธยาตอนกลาง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงรับเอาอิทธิพลของศิลปะสุโขทัยและล้านนาเข้ามาใช้ เป็นแบบอย่างในการสร้างพุทธเจดีย์และพระพุทธรูป เช่น การสร้างพระสถูปเจดีย์ทรงระฆังตามแบบลังกา ซึ่งนิยมสร้างกันมาก ในสมัยสุโขทัยและล้านนา ส่วนการสร้างพระพุทธรูปก็นิยมสร้างตามแบบศิลปกรรมสุโขทัยและล้านนาเช่นกัน
 
118.       เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง พบมากเป็นพิเศษในสมัยใดต่อไปนี้
1. อยุธยา รัตนโกสินทร์                                        
 
2. สุโขทัย เชียงแสน
 
3. อู่ทอง สุโขทัย                                                     
 
4. อยุธยา เชียงแสน
 
ตอบ  1      หน้า 724, 730 ในสมัยอยุธยาตอนปลายจะนิยมสร้างพระเจดีย์เหลี่ยมเพิ่มมุม หรือเรียกว่าเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ต่อมานิยมเพิ่มรายละเอียดต่างๆ เข้าไป โดยประดับด้วยปูนปั้นตามส่วนต่างๆ ของเจดีย์ เพิ่มบัวทรงคลุ่มรองรับทรงระฆัง และทำทรงคลุ่มเถาแทนปล้องไฉนซึ่งเรียกเจดีย์แบบนี้ว่า เจดีย์ทรงเครื่อง และความนิยมในการสร้างเจดีย์แบบนี้ก็สืบเนื่องมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในช่วงรัชกาลที่ 1-3
 
119.       จิตกรรมสมัยรัตนโกสินทร์นิยมเขียนเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไรบ้าง
1. พุทธประวัติ                        
 
2. ชาดก                    
 
3. ไตรภูมิ                 
 
4. ถูกทุกข้อ
 
ตอบ  4      หน้า 733 แบบแผนของจิตรกรรมไทยบนฝาผนังโบสถ์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1-3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คือ ส่วนเหนือหน้าต่างเขียนภาพเทพชุมนุม ส่วนล่างในแนวเดียวกับหน้าต่างเขียนภาพพุทธประวัติ (ชาดก) หรือทศชาติ ด้านหลังพระประธานเขียนภาพไตรภูมิด้านหน้าเขียนพุทธประวัติตอนมารวิชัย โดยภาพเชียนในช่วงนี้ใช้สีและปิดทองลงบนภาพทั้งสิ้น
 
120.       พระที่นั่งองค์ใดมีแรงบันดาลใจและแบบอย่างมาจากสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา
1. พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน                                
 
2. พระที่นั่งไพศาลทักษิณ
 
3. พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท                                              
 
4. พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
 
ตอบ  4      หน้า 729, (คำบรรยาย) พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เป็นสถาปัตยกรรมแบบประเพณีในพระบรมมหาราชวังที่รัชกาลที่ 1 โปรดฯ ให้สร้างตามแบบพระที่นั่งสุริยามรินทร์ในสมัยอยุธยาโดยนับเป็นพระที่นั่ง องค์ที่ 2 ที่สร้างขึ้นแทนพระที่นั่งอินทราภิเษกมหาปราสาท ซึ่งได้รับแบบอย่างมาจากพระที่นั่งสรรเพชญปราสาทในสมัยอยุธยา แต่มาถูกไฟไหม้ไปเมื่อ พ.ศ. 2332

Advertisement