การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2557
ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1003 อารยธรรมโลก
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
1. คำว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia) เกิดขึ้นเมื่อสมัยใด
(1) สงครามโลกครั้งที่ 1
(2) สงครามโลกครั้งที่ 2
(3) สงครามเย็น
(4) พุทธกาล
ตอบ 2 หน้า 357 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นดินแดนที่มีชื่อเดิมว่า “อินโดจีน” (Indo China) เพราะได้รับอิทธิพลจากจีนและอินเดียซึ่งตั้งขนาบดินแดนนี้อยู่ ส่วนชื่อที่พวกเดินทางผ่านไปมา เพื่อค้าขายจะเรียกว่า “เอเชียกลาง” หรือ “เอเชียใน” ส่วนคำว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” หรือ “เอเชียอาคเนย์” (Southeast Asia) นั้น เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อกำหนด เขตปฏิบัติการของกองทัพพันธมิตรในภูมิภาคนี้
2. วัฒนธรรมของชนชาติใดที่ปูพื้นฐานทางด้านการเมืองการปกครองให้แก่อาณาจักรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นอย่างมาก
(1) เปอร์เซีย
(2) อินเดีย
(3) จีน
(4) เขมรโบราณ
ตอบ 2 หน้า 363 – 364 วัฒนธรรมของอินเดียที่ถือว่าเป็นการปูพื้นฐานทางด้านการเมืองการปกครอง ให้แก่อาณาจักรต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้กลายเป็นเครื่องมือในการสร้างอำนาจ ให้ผู้นำ ได้แก่
1. การปกครองแบบเทวราชา เป็นการปกครองที่รับแบบอย่างมาจากศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) ในลัทธิตันตระ ซึ่งเชื่อว่ากษัตริย์เป็นเทพเจ้าที่มาจุติในโลกมนุษย์ และต้องได้รับอำนาจจาก เทพเจ้าทั้งหลายจึงจะปกครองได้ นอกจากนี้การประกอบพิธีราชาภิเษกของพวกพราหมณ์ ยังทำให้กษัตริย์ดำรงตนเป็นสมมุติเทพอีกด้วย
2. กฎหมายพระมนูธรรมศาสตร์ เป็นกฎหมายที่มุ่งให้ราษฎรรับใช้ตัวผู้นำ และทำให้ พระเจ้าแผ่นดินมีอำนาจเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างแท้จริง
3. ศูนย์กลางการค้าทางบกสมัยแรกอยู่บริเวณใด
(1) ลุ่มแม่น้ำโขง
(2) ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
(3) ที่ราบสูงโคราช
(4) ช่องแคบมะละกา
ตอบ 1 หน้า 357 – 358, 361 ในสมัยแรกความเจริญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะจำกัดอยู่บริเวณ ที่ราบลุ่มแม่นํ้า ซึ่งในระยะที่การค้าทางบกแพร่หลาย ศูนย์กลางการค้าทางบกแห่งแรกจะอยู่ที่ เมืองออกแก้ว บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงในคริสต์ศตวรรษที่ 3 ต่อมาเมื่อเปลี่ยนมานิยมการเดินเรือ ศูนย์กลางการค้าได้ย้ายลงไปบริเวณช่องแคบมะละกาแทน
4. ศาสนาอิสลามแผ่ขยายเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในคริสต์ศตวรรษที่เท่าใด
(1) 13
(2) 14
(3) 15
(4) 16
ตอบ 1 หน้า 358, 369 ศาสนาอิสลามได้แผ่เข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 โดยพ่อค้าจากเมืองกุจราฐในอินเดียเป็นผู้ที่นำเอาศาสนาอิสลามไปเผยแผ่ ให้แก่ดินแดนที่ตนเดินทางไปติดต่อค้าขายด้วย ซึ่งดินแดนที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาอิสลาม มากที่สุด ได้แก่ บริเวณคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะต่าง ๆ
5. ชนชาติตะวันตกเข้ามาแสวงหาอาณานิคมในภูมิภาคนี้ในคริสต์ศตวรรษที่เท่าใด
(1) 13
(2) 14
(3) 15
(4) 16
ตอบ 4 หน้า 387 – 388 ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เดินทางเข้ามา แสวงหาอาณานิคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากนั้นก็มีชาติตะวันตกชาติอื่นติดตาม โปรตุเกสเข้ามา อันได้แก่ สเปน ฮอลันดา อังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา โดยประเทศต่าง ๆ ที่เดินทางเข้ามาในภูมิภาคนี้ล้วนมีจุดมุ่งหมายร่วมกันคือ ต้องการเครื่องเทศและทองคำ ต้องการเผยแผ่ศาสนาคริสต์และอุดมการณ์ทางการเมือง รวมทั้งต้องการหาแหล่งวัตถุดิบและ ขยายตลาดการค้า
6. ลักษณะภูมิอากาศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะอบอุ่นและฝนตกตลอดปี เพราะเหตุใด
(1) ลมมรสุมจากมหาสมุทรอินเดีย
(2) ลมมรสุมจากทะเลจีนใต้
(3) ลมมรสุมจากมหาสมุทรอินเดียและทะเลจีนใต้
(4) ลมบกลมทะเล
ตอบ 3 หน้า 360 ลักษณะภูมิอากาศซองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะอบอุ่นตลอดทั้งปีคล้ายคลึงกัน ทั่วภูมิภาค โดยได้รับอิทธิพลของลมมรสุมจากมหาสมุทรอินเดียและทะเลจีนใต้ ทำให้มีฝนตกตลอดทั้งปี ซึ่งปริมาณนํ้าฝนจะแตกต่างกันไปในแต่ละเขตของภูมิภาค
7. ช่องแคบที่เป็นทางผ่านสำคัญที่มีผู้สัญจรเพื่อการเดินเรือและการค้ามากที่สุดคือ
(1) ช่องแคบมะละกา
(2) ช่องแคบซุนดา
(3) ช่องแคบกระ
(4) ช่องแคบลมบก
ตอบ 1 หน้า 361, 387 ช่องแคบมะละกาถือว่าเป็นทางผ่านสำคัญที่มีผู้คนสัญจรเพื่อการเดินเรือและ การค้ามากที่สุด อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางการค้าจากจีนและอินเดีย เป็นศูนย์กลางการค้าเครื่องเทศ และถือว่าเป็นรัฐอิสลามแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 มะละกาได้ตกเป็นเป้าหมายสำคัญของชาติตะวันตกในการยึดครองเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า และเศรษฐกิจ
8. ชาติใดมาตั้งถิ่นฐานเป็นอาณาจักรในบริเวณลุ่มแม่น้ำแดง
(1) มอญ
(2) ไทย
(3) เวียด
(4) จาม
ตอบ 3 หน้า 362, 368 ยุคโลหะเป็นยุคที่มนุษย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน เริ่มอพยพลงมา ตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มแม่น้ำสายสำคัญ ดังนี้
1. บริเวณลุ่มแม่นํ้าโขง ได้แก่ ฟูนัน จามปา เจนละ และกัมพูชา
2. บริเวณลุ่มแม่นํ้าอิระวดีและสาละวิน ได้แก่ มอญ พยู่ และพม่า
3. บริเวณลุ่มแม่น้ำแดง ได้แก่ ชาวเวียด
4. บริเวณลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยา ได้แก่ ไทย
9. กษัตริย์อินเดียที่ส่งสมณทูตมาเผยแผ่พุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือใคร
(1) พระเจ้าอักบาร์
(2) พระเจ้าพรหมทัต
(3) พระเจ้าสุทโธทนะ
(4) พระเจ้าอโศกมหาราช
ตอบ 4 หน้า114-116,(คำบรรยาย) สมัยราชวงศ์โมริยะหรือเมารยะแห่งอินเดียเป็นยุคที่พุทธศาสนา เจริญรุ่งเรืองมากที่สุดโดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชที่ทรงมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟู และทำนุบำรุงพุทธศาสนาครั้งใหญ่ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ทรงเป็นพุทธมามกะและเป็น เอกอัครศาสนูปถัมภก
2. ทรงสร้างเสาหินซึ่งเรียกว่า “Asoka’s Pillars” เพื่อจารึกหลักธรรม ของพระพุทธศาสนา
3. ทรงส่งสมณทูตหลายคณะไปเผยแผ่พุทธศาสนายังต่างแดน เช่น ส่งพระโสณะและพระอุตตระไปยังสุวรรณภูมิหรือดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (พม่า มอญ ไทย)
4. ทรงให้สังคายนาพระไตรปิฎกและมีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรก เป็นต้น
10. ลัทธิตันตระ คือ
(1) ศาสนาพราหมณ์
(2) ศาสนาเชน
(3) ศาสนาอิสลาม
(4) ศาสนาสิกข์
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ
11. ข้อใดที่ไม่ใช่วรรณคดีในศาสนาพราหมณ์
(1) ชาดก
(2) ตำนานมูลศาสนา
(3) ไตรภูมิพระร่วง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 365, (คำบรรยาย) วรรณคดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) ได้แก่ รามเกียรติ์หรือมหากาพย์รามายณะ และมหากาพย์มหาภารตะ ซึ่งเป็นวรรณคดี ที่ยกย่องเทิดทูนสถาบันกษัตริย์ ส่วนวรรณคดีที่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา ได้แก่ ชาดก ไตรภูมิพระร่วง พระไตรปิฎก และตำนานมูลศาสนา
12. ลัทธิขงจื๊ออยู่ในวัฒนธรรมของชนชาติใดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(1) มอญ
(2) เขมร
(3) ลาว
(4) เวียดนาม
ตอบ 4 หน้า 368 – 369 วัฒนธรรมที่จีนนำมาให้เวียดนาม ได้แก่
1. การปกครองแบบโอรสสวรรค์หรืออาณัติสวรรค์
2. ระเบียบการบริหารราชการ ซึ่งแบ่งออกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือน
3. ลัทธิขงจื๊อ ซึ่งเน้นความกตัญญูและระบบอาวุโส และศาสนาพุทธนิกายมหายาน
4. วรรณคดีและอักษรศาสตร์
5. วัฒนธรรมความเป็นอยู่และประเพณ์ เช่น การแต่งกาย การกิน การแต่งงาน การทำศพ เป็นต้น
13. ภาษาของจามจัดอยู่ในตระกูลภาษาเดียวกับชาติใด
(1) อินโดนีเซีย
(2)ไทย
(3) มอญ
(4) เวียดนาม
ตอบ 1 หน้า 372 – 373 อาณาจักรจามปาตั้งอยู่ในบริเวณเว้ของประเทศเวียดนามในปัจจุบัน โดยลักษณะเด่นของอาณาจักรนี้ ได้แก่
1. ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดีย โดยมีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณกวางนำหรือ “อมราวดี” ซึ่งมีการปกครองแบบเทวราชา
2. ภาษาที่ใช้จะอยู่ในตระกูลเดียวกับอินโดนีเซียเรียกว่า “ภาษาจาม”
3. ชาวจามส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนานิกายมหายาน แต่มีพิธีกรรมแบบฮินดูปะปนอยู่มาก
14. มอญที่สุธรรมวดีรู้เรื่องชลประทานจากชาติใด
(1) จีน
(2) ไทย
(3) อินเดีย
(4) จาม
ตอบ 3 หน้า 375 มอญเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เชื้อสายเดียวกับเขมร ซึ่งได้เริ่มรวมตัวกันตั้งเป็นอาณาจักรมอญขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 5 โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองสุธรรมวดีหรือเมืองท่าตุน บริเวณลุ่มแม่นํ้าสะโตงของพม่า (เมียนม่าร์) ซึ่งพวกมอญที่สุธรรมวดีจะมีความรู้ทางด้าน เกษตรกรรม การทำนาทำไร่ และมีความชำนาญในการชลประทาน ซึ่งเรียนรู้มาจากพวกอินเดีย โดยเฉพาะการเป็นผู้ริเริ่มการชลประทานขึ้นในที่ราบกยอเสในบริเวณตอนกลางของพม่า นอกจากนี้ ยังมีการติดต่อค้าขายอย่างใกล้ชิดกับอินเดียและลังกา ทำให้มอญได้รับอารยธรรมอินเดีย ไว้เต็มที่หลายประการ
15. จีนเรียกอาณาจักรโตโลโปติ (To Lo Po Ti) หมายถึงอาณาจักรใด
(1) สยาม
(2) ศรีวิชัย
(3) พุกาม
(4) ทวารวดี
ตอบ 4 หน้า 375 อาณาจักรทวารวดีหรือที่ชาวจีนเรียกว่า “โตโลโปติ” (To Lo Po Ti) นั้นเป็นอาณาจักรมอญที่เข้ามาตั้งชุนชนขึ้นบริเวณลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยา ซึ่งอยู่ในบริเวณตอนกลาง ของประเทศไทยในปัจจุบันโดยหลักฐานที่แสดงถึงร่องรอยของอารยธรรมในบริเวณนี้ได้แก่ พระปฐมเจดีย์ พระพุทธรูปแบบคุปตะ พระธรรมจักรมีกวางหมอบ เป็นต้น
16. ชาติตะวันตกที่ยึดครองมะละกาได้จากการทำสงครามใน ค.ศ. 1511 คือชาติใด
(1) อังกฤษ
(2) โปรตุเกส
(3) ฝรั่งเศส
(4) สเปน
ตอบ 2 หน้า 388 – 389 วิธีการขยายอำนาจของโปรตุเกสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็คือ ใช้วิธีการ ตั้งสถานีการค้าแล้วตั้งป้อมค่ายทหาร และการทำสงครามยึดครองดินแดน โดยในปี ค.ศ. 1511 โปรตุเกสสามารถทำสงครามยึดเมืองมะละกาได้สำเร็จ จากนั้นจึงตั้งสถานีการค้าแห่งแรกขึ้น ที่เมืองนี้ และใช้การปกครองแบบค่ายทหารเพื่อสร้างอิทธิพลทางการเมือง
17. ชาวตะวันตกชาติใดที่ขยายอำนาจปกครองอินโดนีเซียในคริสต์ศตวรรษที่ 17
(1) อังกฤษ
(2) โปรตุเกส
(3) ฮอลันดา
(4) ฝรั่งเศส
ตอบ 3 หน้า 390 – 391 สภาพของหมู่เกาะอินโดนีเซียก่อนที่จะตกเป็นอาณานิคมของฮอลันดาใน คริสต์ศตวรรษที่ 17 นั้น จะมีการแตกแยกเป็นรัฐเล็ก ๆ ที่นับถือคาสนาอิสลาม ทำให้รัฐต่าง ๆ เหล่านี้ขาดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางการเมือง นอกจากนี้ยังมีการแย่งชิงผลประโยชน์กัน ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ฮอลันดาซึ่งสนใจการค้าเครื่องเทศ ในดินแดนนี้อยู่แล้ว สามารถเข้ามาแทรกแซงการเมืองภายใน และครอบครองดินแดนต่าง ๆ ในหมู่เกาะอินโดนีเซียได้สำเร็จ
18. ชาติใดที่ได้เมียนม่าร์เป็นอาณานิคม
(1) อังกฤษ
(2) ฝรั่งเศส
(3) ฮอลันดา
(4) โปรตุเกส
ตอบ 1 หน้า 393 – 396 อังกฤษมีความสนใจที่จะเข้าไปขยายอำนาจในเมียนม่าร์ เนื่องจากต้องการ รักษาผลประโยชน์ฃองบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษในอินเดียที่มีเขตแดนติดกับเมียนม่าร์ ซึ่งการขยายอำนาจของอังกฤษในเมียนม่าร์นั้นจะตัดสินปัญหาด้วยการทำสงครามเสมอ ไม่ใช่การเจรจาทางการทูตด้วยสันติวิธี
19. ในสมัยที่พระเจ้าเวียดนามยาลองเสด็จขึ้นครองราชย์ตรงกับสมัยของกษัตริย์ไทยพระองค์ใด
(1) พระนารายณ์มหาราช
(2) พระเจ้ากรุงธนบุรี
(3) รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
(4) รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ตอบ 3 หน้า 396, (คำบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1802 (พ.ศ. 2345) เหงียนอันห์ ได้สถาปนาตนเป็นจักรพรรดิ ของเวียดนาม ทรงมีพระนามว่า “พระเจ้าเวียดนามยาลอง” (Vietnam Gia Long)โดยได้รับการรับรองจากจีน ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ของไทย
20. วัตถุประสงค์สำคัญของสมาคมอาเซียน (ASEAN) คืออะไร
(1) ความร่วมมือทางการเมือง
(2) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
(3) การต่อต้านจักรวรรดินิยมอเมริกัน
(4) เพื่อกีดกันออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ออกจากภูมิภาค
ตอบ 2 หน้า 424 – 425 สมาคมอาเซียน (ASEAN) ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1967โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการสร้างสันติภาพ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกทั้งสิ้น 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม ลาว เมียนม่าร์ และกัมพูชา
21. คำว่าเอเชียใต้หมายถึง
(1) South West Asia
(2) South Asia
(3) Indian Sub-Continent
(4) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 73, 75 เอเชียใต้ (South Asia) หรือที่สื่อมวลชนทางตะวันตกนิยมเรียกว่า “อนุทวีปอินเดีย” (Indian Sub-Continent) ซึ่งในอดีตนั้นเอเชียใต้มักหมายถึงประเทศอินเดีย แต่ในปัจจุบัน เอเชียใต้จะมีทั้งหมด 7 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน และมัลดีฟส์
22. แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่นํ้าสินธุ ปัจจุบันอยู่ในประเทศใด
(1) อินเดีย
(2) ปากีสถาน
(3) เนปาล
(4) บังกลาเทศ
ตอบ 2 หน้า 75, 81 อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุเกิดขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุหรืออินดัส บริเวณ แคว้นปัญจาบตะวันตกในประเทศปากีสถานปัจจุบัน โดยเชื่อกันว่ามีอายุประมาณ 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล ดังนั้นจึงถือว่าเป็นอารยธรรมเริ่มแรกที่เก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียใต้
23. ถิ่นฐานดั้งเดิมของพวกอารยันอยู่ ณ ที่ใด
(1) บริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ
(2) คาบสมุทรอนาโตเลีย
(3) ทะเลสาบแคสเปียน
(4) ลุ่มแม่นํ้าฮวงโห
ตอบ 3 หน้า 91 – 92, 108, 156 ชาวอารยันมีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางภาคกลางของทวีปเอเชียบริเวณ รอบ ๆ ทะเลสาบแคสเปียน โดยแบ่งออกไต้เป็น 3 กลุ่ม คือ
1. พวกยูโรเปียน-อารยัน (European-Aryans) ได้อพยพเข้าไปอยู่ในยุโรปบริเวณประเทศเยอรมนี ออสเตรีย ฮังการี และโปแลนด์
2. พวกอิราเนียน-อารยัน (Iranian-Aryans) ได้อพยพเข้าไปอยู่ในประเทศอัฟกานิสถาน และบริเวณอ่าวเปอร์เซีย
3. พวกอินโด-อารยัน (Indo-Aryans)ได้อพยพเข้ามายึดครองเอเชียใต้ (อินเดีย) แถบลุ่มแม่นํ้าคงคาและแม่น้ำพรหมบุตร
24. ภาษาใดต่อไปนี้คือภาษาของชาวอารยัน
(1) บาลี
(2) สันสกฤต
(3) ฮินดี
(4) อูร์ดู
ตอบ 2 หน้า 93 ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาของพวกอารยันที่อินเดียได้รับถ่ายทอดมาอีกทีหนึ่ง ซึ่งจะเห็นได้จากคำว่าราชาและมหาราชาที่ใช้ในอินเดียปัจจุบันนั้น ก็มาจากคำว่า “ราชา” หรือ “ราชันย์” ซึ่งเป็นคำที่ชาวอารยันใช้เรียกหัวหน้าเผ่าในอดีตนั่นเอง
25. โครงสร้างของระบบวรรณะเกิดขึ้นครั้งแรกในประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใด
(1) สินธุ
(2) พุทธกาล
(3) มหากาพย์
(4) พระเวท
ตอบ 4 หน้า 92, 157 ในสมัยพระเวทได้ปรากฏโครงสร้างทางสังคมแบบวรรณะขึ้นเป็นครั้งแรก ในประวัติศาสตร์อินเดีย โดยมีการแบ่งชนชั้นออกเป็น 3 ชนชั้น ได้แก่ นักรบหรือกษัตริย์ สามัญชน และพระ ซึ่งสาเหตุเริ่มแรกของการเกิดระบบวรรณะก็คือ กลัวว่าเผ่าพันธุ์ของ อารยันจะไม่บริสุทธิ์ ดังนั้นผู้นำเผ่าจึงออกกฎห้ามชาวอารยันแต่งงานกับชนพื้นเมือง เพื่อรักษาความบริสุทธิ์ของชาติพันธุ์ของตนเอาไว้
26. คำกล่าวว่า “ทุกชีวิตล้วนมีกำเนิดมาจากพรหมัน” ควรปรากฏในที่ใด
(1) ไตรปิฎก
(2) นิครนฐ์นาฏบุตร
(3) อุปนิษัท
(4) อัลกุรอาน
ตอบ 3 (HI 102 เลขพิมพ์ 52058 หน้า 198) คัมภีร์อุปนิษัท เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมหลักปรัชญาของ ศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) โดยสรุปได้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลกำเนิดมาจากพรหมหรือพรหมัน ซึ่งมีสภาพเป็นอมตะ ไม่เกิด ไม่ตาย และไม่เปลี่ยนแปลง
27. ในวรรณคดีเรื่อง มหาภารตะ มีตอนที่สำคัญที่สุดชื่อว่า
(1) สัตยาเคราะห์
(2) อัคคัญสูตร
(3) อรรถศาสตร์
(4) ภควัทคีตา
ตอบ 4 หน้า 94, (HI 102 เลขพิมพ์ 52058 หน้า 194) มหาภารตะที่ประพันธ์โดยฤาษีวยาสะในยุคมหากาพย์นั้น ถือว่าเป็นคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองที่ยาวที่สุดในโลก และมีตอนที่สำคัญที่สุดชื่อว่า “ภควัทคีตา” ซึ่งเป็นเรื่องที่ตัดมาจากตอนพระกฤษณะ (เป็นอวตารปางที่ 8 ของพระนารายณ์)ให้คำสอนแก่อรชุนซึ่งเป็นกษัตริย์ตระกูลปาณฑพ (ตัวแทนฝ่ายธรรมะ)ในการทำสงครามกับตระกูลเการพ (ตัวแทนฝ่ายอธรรม) ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน ผลของสงคราม ปรากฏว่าฝ่ายปาณฑพได้รับชัยชนะ
28. ตามความเชื่อในระบบวรรณะ แม่ค้าขายก๋วยเตี๋ยวจะเป็นพวกที่เกิดจากอวัยวะส่วนใดของพระพรหม
(1) พระโอษฐ์
(2) พระพาหา
(3) พระโสณี
(4) พระบาท
ตอบ 3 หน้า 98, (คำบรรยาย) ตามคัมภีร์พระเวทของศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) เชื่อว่า พระพรหมได้ ทรงสร้างมนุษย์เป็นชนชั้นต่าง ๆ ไว้เพื่อสันติของสังคมจากพระวรกายของพระองค์4 ส่วน ดังนี้
1. พราหมณ์ สร้างจากพระโอษฐ์ ได้แก่ นักบวช นักปราชญ์ ครูอาจารย์
2. กษัตริย์ สร้างจากพระพาหา ได้แก่ นักรบ นักปกครอง
3. แพศย์ สร้างจากพระโสณี (ลำตัวถึงสะโพก) ได้แก่ แม่ค้า พ่อค้า ชาวไร่ชาวนา ช่างฝีมือ
4. ศูทร สร้างจากพระบาท ได้แก่ กรรมกร ทาส
29. สภาในสมัยอารยันคือที่ชุมนุมของคนกลุ่มใด
(1) ผู้อาวุโส
(2) นักรบ
(3) พ่อค้า
(4) ราษฎร
ตอบ 1 หน้า 93 ลักษณะการปกครองของชาวอารยันในสมัยแรกนั้นจะอยู่รวมกันเป็นเผ่า โดยมีหัวหน้าเผ่าที่เรียกว่า “ราชา” หรือ “ราชันย์” เป็นผู้ปกครอง ซึ่งหัวหน้าเผ่าจะปกครองโดยมี สภา (Sabha) และสมิติ (Samiti) เป็นผู้ช่วย โดยสภาจะเป็นที่ชุมนุมของผู้อาวุโสในเผ่า และ สมิติจะเป็นที่ชุมนุมของราษฎรในเผ่า ซึ่งเทียบได้กับวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรในปัจจุบัน
30. วรรณคดีเรื่องใดต่อไปนี้ที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยได้รู้จักศาสนาเชนมานานแล้ว
(1) รามเกียรติ์
(2) อิเหนา
(3) ขุนข้าง-ขุนแผน
(4) พระอภัยมณี
ตอบ 4 หน้า 103, (คำบรรยาย) ศาสนาเชนแบ่งออกเป็น 2 นิกาย ได้แก่
1. ทิฆัมพร คือ นักบวชเปลือยที่ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ไม่ผูกพันกับสิ่งใด ๆ แม้แต่เสื้อผ้าอาภรณ์ โดยนักบวชเปลือย (ชีเปลือย) นั้นได้ปรากฏใบวรรณคดีไทยเรื่องพระอภัยมณี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนไทยรู้จักนิกายนี้ มานานแล้ว
2. เศวตัมพร คือ นักบวชนุ่งขาวห่มขาว (ชีปะขาว) ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในอินเดีย
31. “ชีปะขาว” มีลักษณะใกล้เคียงกับความเชื่อในนิกายใด
(1) ทิฆัมพร
(2) เศวตัมพร
(3) อาจริยวาท
(4) เถรวาท
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 30. ประกอบ
32. Asoka’s Pillars หมายถึง
(1) เสาหิน
(2) พระพุทธรูปหิน
(3) เสมาธรรมจักร
(4) สถูปอันศักดิ์สิทธิ์
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 9. ประกอบ
33. ใครคือผู้แต่งคัมภีร์อรรถศาสตร์
(1) เกาฎิลยะ
(2) โกณทัญญะ
(3) พิมพิสาร
(4) จันทรคุปต์ที่ 2
ตอบ 1 หน้า 113, (คำบรรยาย) เกาฏิลยะ พราหมณ์ในสมัยราชวงศ์โมริยะ เป็นผู้แต่งคัมภีร์อรรถศาสตร์ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่มีต่อคำอธิบายของศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) กล่าวคือ เป็นหลักธรรมที่เกื้อกูล ระบบอาศรม 4 ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ โดยเป็นหลักปฏิบัติที่เน้นเรื่องของการทำงาน และการปกครองให้มีประสิทธิภาพ
34. ข้อใดคือ “ปฏิกิริยา‘’ ที่มีต่อคำอธิบายของศาสนาพราหมณ์
(1) อรรถศาสตร์
(2) ศกุนตลา
(3) มหากาพย์
(4) อริยสัจ
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 33. ประกอบ
35. จุดมุ่งหมายสูงสุดร่วมกันในงานปรัชญาความคิดอินเดีย คือ
(1) แสวงหาความสงบวิเวก เจริญวิปัสสนากรรมฐาน
(2) ใช้หนทางสันติวิธีในการดำเนินชีวิต
(3) ชี้หนทางของการหลุดพ้นจากสังสารวัฏ
(4) ยึดหลักกาลามสูตรในการดำเนินชีวิต
ตอบ 3 (HI 102 เลขพิมพ์ 52058 หน้า 200) โมกษะ คือ การแสวงหาหนทางของการหลุดพ้นจาก สังสารวัฏหรือวัฏสงสาร (การเวียนว่ายตายเกิด) ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตมนุษย์ ตามคติฮินดู และได้กลายเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดร่วมกันในงานปรัชญาความคิดของอินเดีย
36. การปฏิบัติตามพระวินัยที่พระพุทธเจ้าบัญญัติอย่างเคร่งครัด เป็นลักษณะที่สำคัญของนิกายใด
(1) อาจริยวาท
(2) เถรวาท
(3) มหาสังฆิกะ
(4) ธรรมยุติกนิกาย
ตอบ 2 หน้า 105 – 106 ศาสนาพุทธแบ่งออกเป็น 2 นิกาย ได้แก่
1. นิกายหินยานหรือเถรวาท เป็นนิกายดั้งเดิมที่ปฏิบัติตามกฎหรือพระวินัยที่พระพุทธเจ้า บัญญัติไว้อย่างเคร่งครัดที่สุด
2. นิกายมหายานหรืออาจริยวาท เป็นนิกายใหม่ที่มีการปฏิรูปคำสอนของพระพุทธเจ้า
37. ราชวงศ์โมกุลเป็นมุสลิมเชื้อสายใด
(1) โมริยะ
(2) มองโกล
(3) คุปตะ
(4) เติร์ก
ตอบ 2 หน้า 122 – 123 ราชวงศ์โมกุลแห่งอินเดียเป็นมุสลิมเชื้อสายมองโกล เพราะถูกตั้งขึ้นมาจากการบุกรุกของพวกมองโกลจากจีน นำโดยทายาทของพระเจ้าเจงกิสข่านชื่อ พระเจ้าไทมูร์ (Timur) ที่บุกเข้าโจมตีจนได้ครองเมืองเดลีในแคว้นปัญจาบ และกวาดต้อนช่างฝีมือตลอดจนผู้คน ไปเป็นเชลยสร้างเมืองใหม่ในเปอร์เซียและตุรกี จนกระทั่งในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์โมกุล จึงได้ครอบครองอินเดียจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19
38. คำกล่าวว่า “ไม่มีพระเจ้าของศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นการเฉพาะ จะมีก็แต่พระเจ้าองค์เดียวที่เป็นพระเจ้าของมนุษย์ทุกคนเท่านั้น” เป็นแนวความคิดของนักปราชญ์อินเดียท่านใด
(1) คุรุนานัก
(2) มหาวีระ
(3) สิทธัตถะ
(4) อาลี จินนาห์
ตอบ 1 หน้า 131 – 133, (คำบรรยาย) ศาสนาสิกข์เกิดขึ้นในรัฐปัญจาบทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ของอินเดียในปี ค.ศ. 1440 ซึ่งผู้ที่ก่อตั้งคือ ท่านกะบีร์ โดยมีเป้าหมายที่จะรวมเอาศาสนาฮินดู และศาสนาอิสลามเจ้าด้วยกัน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ส่วนผู้ที่ประกาศศาสนานี้อย่างแท้จริง คือ คุรุนานัก ซึ่งได้กล่าวว่า “ไม่มีพระเจ้าของศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นการเฉพาะ จะมีก็แต่ พระเจ้าองค์เดียวที่เป็นพระเจ้าของมนุษย์ทุกคนเท่านั้น” ทั้งนี้ศูนย์กลางของศาสนาสิกข์จะอยู่ที่ สุวรรณวิหาร เมืองอมฤตสาร์รัฐปัญจาบ
39. ข้าหลวงอังกฤษประจำอินเดียมีหน้าที่
(1) ให้ความคุ้มครองดูแลทรัพย์สินและชีวิตของคนอังกฤษในอินเดีย
(2) ประสานงานระหว่างบริษัทอีสต์อินเดียกับอังกฤษ
(3) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 135 ในปี ค.ศ. 1757 – 1774 อังกฤษได้ส่งข้าหลวงมาประจำอินเดีย เพื่อช่วยเหลือบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ (English East Indian Company) ซึ่งอำนาจหน้าที่ของข้าหลวงคือ
1. ประสานงานระหว่างบริษัทอินเดียตะวันออกกับรัฐบาลอังกฤษ
2. ให้ความคุ้มครองดูแลทรัพย์สินและชีวิตของคนอังกฤษในอินเดีย
3. เสนอร่างกฎหมายและข้อบังคับต่าง ๆ ไปยังรัฐบาลอังกฤษ แล้วนำมาประกาศใช้ในอินเดีย
40. หลักการใดที่คานธีใช้ในการต่อสู้เรียกร้องเอกราชกับอังกฤษ
(1) สัตยาเคราะห์
(2) อริยสัจ
(3) ฮัจญ์
(4) ปฏิรูปประเทศ
ตอบ 1 หน้า 144 – 145 วิธีที่มหาตมะ คานธี ใช้ในการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ เรียกว่า “สัตยาเคราะห์” ซึ่งประกอบด้วยหลักใหญ่ 3 ประการ คือ
1. ความสัตย์หรือความจริง (Truth)
2. อหิงสา (Non-Violence) คือ การไม่เบียดเบียนให้เสียเลือดเนื้อ หรือไม่ใช้วิธีการรุนแรง
3. การดื้อแพ่ง (Civil Disobedience) คือ การไม่ปฏิบัติตามหรือไม่เชื่อฟังโดยไม่ใช้อาวุธต่อสู้ กับผู้ปกครอง
41. การขุดค้นพบเครื่องปั้นดินเผาจำนวนมากในจีน ทำให้นักโบราณคดีส่วนใหญ่สันนิษฐานว่า แหล่งอารยธรรมโบราณของจีนมีอายุเก่าแก่ย้อนหลังขึ้นไปเท่าใด
(1) 4,000 ปีก่อน ค.ศ.
(2) 4,000 ปีก่อน ค.ศ.
(3) 4,000 ปีก่อน พ.ศ.
(4) 4,000 ปีก่อน ร.ศ.
ตอบ 1 หน้า 272 ตามทฤษฎีสังคมวิทยาและมานษยวิทยา เชื่อว่า อารยธรรมจีนสมัยแรกเริ่มนั้น กำเนิดขึ้นในยุคหินใหม่ หรือเมื่อประมาณ 4,000ปีก่อนคริสตกาล (ก่อน ค.ศ.) โดยมีศูนย์กลาง อยู่บริเวณลุ่มแม่นํ้าเหลืองหรือแม่นํ้าฮวงโหอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งหลักฐานสำคัญทางโบราณคดี ที่แสดงถึงความเก่าแก่ที่สุดของอารยธรรมจีนในยุคนี้ ได้แก่ วัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผา เช่น วัฒนธรรมลีและเสียน วัฒนธรรมยังเชาและลุงซาน เป็นต้น
42. พื้นที่บริเวณลุ่มแม่นํ้าเหลืองเป็นแหล่งที่ให้ผลผลิตอะไรแก่ประเทศจีนมากที่สุด
(1) ข้าว
(2) ปลา
(3) ปู
(4) เกลือ
ตอบ 4 หน้า271 จีนเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์โดยเฉพาะถ่านหินน้ำมันปีโตรเลียม เหล็ก ทองแดง ทอง เงิน เป็นต้น นอกจากนี้ในบริเวณ 2 ข้างฝั่งแม่น้ำเหลือง นับว่าเป็นแหล่งผลิตเกลือที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอีกด้วย
43. ข้อใดเกิดขึ้นสมัยราชวงค์เฉีย
(1) ค้าขายกับโรม
(2) ใช้รถม้าทำสงคราม
(3) ขยายอำนาจไปชนแดนอาหรับ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 273 ผลงานสำคัญที่ราชวงศ์เฉียได้สร้างไว้ มีดังนี้
1. ตำแหน่งจักรพรรดิสืบทอดกันทางสายโลหิต และมีการปกครองแบบนครรัฐ
2. มีการใช้รถม้าในการทำสงคราม
3. มีการนำทองสำริดเข้ามาใช้แทนดินเผา
4. เริ่มมีการใช้อักษรภาพเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร
5. มีการริเริ่มทำปฏิทินซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีความใกล้เคียงกับปัจจุบันมากที่สุด
44. ราชวงศ์โจวสมัยแรก คือ
(1) โจวตะวันตก
(2) โจวตะวันออก
(3) โจวเหนือ
(4) โจวใต้
ตอบ 1 หน้า 266, 274 – 275 นักประวัติศาสตร์ได้แบ่งประวัติศาสตร์ของราชวงศ์โจวออกเป็น 2 สมัย ด้วยกัน คือ
1. สมัยโจวตะวันตก (สมัยแรก) มีเมืองหลวงอยู่ในมณฑลสั่นซี
2. สมัยโจวตะวันออก (สมัยหลัง) มีเมืองหลวงอยู่ในมณฑลเหอหนัน
45. มนุษย์ทุกคนเกิดมาเป็นคนดี แต่สภาพแวดล้อมต่างหากที่ทำให้มนุษย์แปรเปลี่ยนไปเป็นคนไม่ดี เป็นคำสอนของใคร
(1) ซูสี
(2) ซุนจื๊อ
(3) เม่งจื๊อ
(4) ขงจื๊อ
ตอบ 3 หน้า 276 – 277 เม่งจื๊อ ได้กล่าวว่า “โดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์ทุกคนเกิดมาล้วนเป็นคนดี โดยกำเนิด แต่สิ่งแวดล้อมทำให้มนุษย์กลายเป็นคนไม่ดีไป” ซึ่งเขาได้เสนอแนวทางแก้ไขคือ ต้องให้มนุษย์มีการศึกษา
46. ปฐมจักรพรรดิต้นราชวงศ์ฮั่นที่มาจากสามัญชน คือ
(1) หลิวปัง
(2) หลี่ซื่อหมิน
(3) จูหยวนจาง
(4) หวางอันซือ
ตอบ 1 หน้า 278 หลิวปัง หรือจักรพรรดิฮั่น เกา สู ถือว่าเป็นสามัญชนคนแรกในประวัติศาสตร์จีน ที่ได้รวบรวมสมัครพรรคพวกก่อการปฏิวัติ ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของจักรพรรดิจิ๋นซี โดยเขาได้ตั้งราชวงศ์ใหม่เรียกว่า “ราขวงศ์ฮั่น” ขึ้นปกครองแผ่นดินจีนในเวลาต่อมา
47. เนื้อหาในวรรณกรรมเรื่องไซอิ๋วเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยใด
(1) จิ๋น
(2) ฮั่น
(3) สุย
(4) ถัง
ตอบ 4 หน้า 281 เนื้อหาในวรรณกรรมเรื่องไซอิ้วนั้นเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ถังโดยได้กล่าวถึงการเดินทางของเจ้าชายนักธุดงค์ หรือพระถัง ซัม จั๋ง ซึ่งได้ใช้เวลาเกือบ 20 ปี ในการเดินทางไปอินเดีย เพื่อนำเอาคัมภีร์พุทธศาสนากลับมาเผยแผ่และแปลเป็นภาษาจีน จึงส่งผลทำให้พุทธศาสนาในสมัยราชวงศ์ถังมีความเจริญสูงสุด
48. ราชวงศ์ถังเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยใด
(1) จิ๋นซี
(2) ขงจื๊อ
(3) ไถจง
(4) หวางอันซือ
ตอบ 3 หน้า 280 – 281 ในสมัยราชวงศ์ถังเป็นสมัยที่ได้ชื่อว่า “มีความเจริญมากที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมา ในประวัติศาสตร์โลก” โดยเฉพาะทางด้านการทหาร เศรษฐกิจ ศิลปวิทยาการ วรรณกรรม การค้ากับต่างประเทศ รวมทั้งการเผยแผ่ของศาสนาคริสต์ ศาสนายิว และศาสนาอิสลามในจีน เป็นครั้งแรกด้วย ซึ่งผู้ที่สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ราชวงศ์นี้คือ จักรพรรดิถัง ไถจง หรือ หลี ซือ-มีน และพระนางหวู หรือพระนางบูเชคเทียน
49. ใครคือผู้นำ “การปฏิรูป 100 วัน”
(1) หวางอันซือ
(2) คังยู่เหวย
(3) ซุนยัดเซ็น
(4) เจียงไคเซ็ค
ตอบ 2 หน้า 289 กังยู่ไหว (คังยู่เหวย) เป็นผู้นำในการปฏิรูปประเทศจีนให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก ทางภาคเหนือ โดยเขาได้นำแนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีและวิทยาการจากตะวันตกทั้งหมดเข้ามาใช้ ได้เพียง 100 วัน ซึ่งรู้จักกันในชื่อ “การปฏิรูป 100 วัน” แต่โครงการปฏิรูปนี้ประสบกับความล้มเหลว ทำให้กังยู่ไหวและพรรคพวกถูกจับเนรเทศ บางส่วนก็ถูกประหารชีวิต
50. จีนรับอุดมการณ์แบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์มาจากนักคิดตะวันตกท่านใด
(1) Georg Hegel
(2) Sigmund Freud
(3) Karl Marx
(4) Max Weber
ตอบ 3 หน้า 291 – 293 ในระยะแรก ๆ ปัญญาชนจีนไม่ให้ความสนใจในลัทธิคอมมิวนิสต์มากเท่าไรนัก เพราะหลักการส่วนใหญ่ขัดกับธรรมเนียมประเพณีที่เคยปฏิบัติมา แต่เมื่อเห็นความสำเร็จใน การปฏิวัติบอลเชวิคแล้ว ทำให้ปัญญาชนเหล่านั้นเชื่อมั่นว่าปัญหาของจีนจะสามารถแก้ไขได้ ด้วยวิธีการเดียวกันนั้นคือ การปฏิวัติสังคมตามแนวความคิดของคาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) หรือลัทธิมาร์ก (Marxism), เลนิน (Leninism) และเหมา (Maoism)
51. ข้อใดคือหลักการที่สำคัญที่สุดของระบบสังคมนิยม
(1) เชื่อในพลังชนชั้นกรรมาชีพ
(2) เน้นระบบอาวุโสและเชื่อฟังผู้นำ
(3) รับรองกรรมสิทธิ์เอกชน
(4) เน้นเสรีภาพส่วนบุคคล
ตอบ 1 หน้า 494 คาร์ล มาร์กซ์ เป็นบิดาแห่งลัทธิสังคมนิยมสมัยใหม่ (ลังคมนิยมคอมมิวนิสต์)ที่เชื่อในพลังชนชั้นกรรมาชีพ ซึ่งเขาเห็นว่าหนทางเดียวที่จะเปลี่ยนสังคมได้ก็คือ การต่อสู้ ระหว่างชนชั้น โดยในปี ค.ศ. 1864 มาร์กซ์ได้ก่อตั้งภาคีกรรมกรระหว่างประเทศขึ้น และได้ ประกาศแนวคิดของเขาว่า “กรรมกรโลกจงรวมตัวกัน” เพื่อกระตุ้นให้ชนชั้นแรงงานรวมตัวกัน เป็นกองกำลังที่มรอำนาจในการต่อรอง
52. อาณาจักรแห่งแรกของญี่ปุ่นตั้งอยู่บริเวณใด
(1) เกาะคิวชู
(2) เกาะออนชู
(3) เกาะออกไกโด
(4) เกาะชิโกกุ
ตอบ 2 หน้า 301 บรรพบุรุษของญี่ปุ่นเดินทางมาจากทางภาคเหนือและภาคตะวันตก โดยได้เข้ามา ตั้งรกรากอยู่ในหมู่เกาะทางภาคเหนือ จากนั้นจึงขยายตัวลงสู่ภาคใต้ และมาตั้งอาณาจักรแห่งแรก ทางภาคตะวันออกของเกาะฮอนชู จากนั้นก็ได้ขยายอิทธิพลไปทั่วหมู่เกาะน้อยใหญ่ต่าง ๆ
53. ข้อใดจัดเป็นวัฒนธรรมญี่ปุ่นยุคปลายหินเก่าถึงหินใหม่
(1) วัฒนธรรมโจมอน
(2) วัฒนธรรมยาโยอิ
(3) วัฒนธรรมทูมูลิ
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 302 – 303, 313 วัฒนธรรมโจมอน คือ วัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาลายเชือกซึ่งเป็น วัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ยุคหินเก่าตอนปลายจนถึงในช่วงต้นของยุคหินใหม่ ซึ่งขุดค้นพบได้ทั่วไปในญี่ปุ่นและเกาะริวกิว โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกและภาคเหนือ
54. การภักดีต่อบริษัทอย่างถวายหัวของพนักงานบริษัทญี่ปุ่น เป็นอิทธิพลมาจากลัทธิความเชื่อใด
(1) เซน
(2) เต๋า
(3) ขงจื๊อ
(4) พุทธ
ตอบ 3 หน้า 313 คำสอนของลัทธิขงจื๊อที่มีอิทธิพลต่อสังคมญีปุ่น ได้แก่ ความกล้าหาญ ความมีระเบียบ- วินัย ความจงรักภักดี ความกตัญญูกตเวที ความอ่อนน้อม (โดยเฉพาะกับสตรี) การเสียสละ ความสุขส่วนตัว การรักษาผลประโยชน์ฃองส่วนรวม รวมทั้งการใช้ชีวิตอย่างสำรวมและสมถะ
55. ญี่ปุ่นเข้าสู่ระบอบการปกครองแบบศักดินาช่วงใด
(1) คริสต์ศตวรรษที่ 9
(2) คริสต์ศตวรรษที่ 10
(3) คริสต์ศตวรรษที่ 11
(4) คริสต์ศตวรรษที่ 12
ตอบ 1 หน้า 305 ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 9 อำนาจของจักรพรรดิญี่ปุ่นเริ่มเสื่อมลง ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากความฟุ้งเฟ้อในราชสำนัก และความลุ่มหลงในวรรณคดีจีน ทำให้อำนาจค่อย ๆ โอนถ่ายไปสู่ขุนนางตระกูลฟูจิวารา ซึ่งเราถือว่าญี่ปุ่นได้ก้าวเข้าสู่ระบอบการปกครองแบบ ศักดินานับตั้งแต่นั้น
56. ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการในช่วงที่องค์จักรพรรดิยังไม่บรรลุนิติภาวะในสมัยศักดินาของญี่ปุ่น เรียกว่า
(1) ไดเมียว
(2) โชกุน
(3) แคมปากุ
(4) เลสโซ
ตอบ 4 หน้า 308 ในสมัยศักดินาของญี่ปุ่นที่ตระกูลฟูจิวารามีอำนาจนั้น ได้มีการแต่งตั้ง “เลสโซ”ซึ่งก็คือ ตำแหน่งของผู้สำเร็จราชการแผ่นดินของจักรพรรดิที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เพื่อเข้ามาช่วย ราชกิจขององค์จักรพรรดิที่ยังทรงพระเยาว์ นอกจากนี้ยังมีตำแหน่ง “แคมปากุ” ซึ่งก็คือ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินของจักรพรรดิที่บรรลุนิติภาวะแล้วอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย
57. ระบอบการปกครองที่โชกุนมีอำนาจสูงสุด มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
(1) ชิมปัน
(2) ฟูได
(3) บากูฟู
(4) โตซามา
ตอบ 3 หน้า 308 ในสมัยฟูจิวาราได้เกิดตำแหน่งผู้นำทางทหารที่เรียกว่า “โชกุน” และระบอบ ศักดินาสวามิภักดิ์ขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 12โดยมีรัฐบาลภายใต้การนำของโชกุนที่เรียกว่า “รัฐบาลบากูฟู” หรือ “รัฐบาลเต็นท์” ซึ่งก็คือ รัฐบาลที่มีอำนาจอย่างแท้จริงในการควบคุม บังคับบัญชาขุนศึกผู้มีอำนาจ และครอบครองที่ดินส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นรัฐบาล ที่มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ
58. ประเทศเกาหลีได้ชื่อว่ามีคุณสมบัติพิเศษทางด้านทรัพยากรเหนือชาติอื่นใดในเรื่องใด
(1) ทองแดง
(2) เหล็กกล้า
(3) เงิน
(4) สังกะสี
ตอบ 2 หน้า 336, (คำบรรยาย) จากการที่ประเทศเกาหลีมีคุณสมบัติพิเศษทางด้านทรัพยากรเหนือชาติอื่น ๆ โดยเฉพาะในเรื่องของเหล็กกล้านั้น ทำให้เกาหลีกลายเป็นที่รู้จักของประเทศต่าง ๆ ในฐานะที่มีโรงงานเหล็กกล้าที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลก
59. การยึดครองเกาหลีของญี่ปุ่นสิ้นสุดลงเมื่อใด
(1) ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
(2) หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
(3) หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
(4) หลังสงครามเกาหลี
ตอบ 3 หน้า 331 หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงพร้อมกับความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่น เกาหลี จึงได้รับเอกราชในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1945 หลังจากที่ต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นนานถึง 35 ปี และในขณะเดียวกันเกาหลีได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ตรงเส้นขนานที่ 38 องศาเหนือ ซึ่งเป็นเขตปลอดทหาร
60. Pulgogi หมายถึง
(1) เนื้อทอด
(2) เนื้อย่าง
(3) เนื้อตุ๋น
(4) เนื้อดิบ
ตอบ 2 หน้า 342 เนื้อย่างเกาหลี หรือที่เรียกว่า “พูลโกกิ” (Pulgogi) นั้น คือ ชิ้นเนื้อแช่น้ำซีอิ้ว ผสมงาและเครื่องเทศ แล้วนำมาปิ้งบนตะแกรงบนเตาไฟที่จัดวางไว้ที่โต๊ะอาหาร
61. ความเชื่อของคนอียิปต์โบราณเชื่อว่าเมื่อฟาโรห์สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ทรงได้รับยกย่องให้เป็นเทพองค์ใด
(1) Re
(2) Ra
(3) Amon
(4) Osiris
ตปีบ 4 (HI 101 (H) เลขพิมพ์ 57081 หน้า 18) ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่า การขึ้นลงของแม่นํ้าเกิดจาก อิทธิพลของฟาโรห์ ซึ่งเป็นผู้เดียวที่เข้าใจถึงความกลมกลืนและความสอดคล้องของจักรวาล ในขณะที่ฟาโรห์ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ก็จะดำรงตำแหน่งเทพโฮรัส (Horus) พระบุตรของ เทพโอซิริส (Osiris) ซึ่งเป็นเทพแห่งแม่นํ้าไนล์ แต่เมื่อฟาโรห์สิ้นพระชนม์ไปแล้วก็จะได้รับ ยกย่องให้เป็นเทพโอซิริสอีกองค์หนึ่ง
62. อารยธรรมของโลกโบราณมักกำเนิดบริเวณใดเป็นสำคัญ
(1) ที่ราบสูง
(2) หุบเขา
(3) ลุ่มแม่น้ำ
(4) ทะเลทราย
ตอบ 3 หน้า 7 อารยธรรมของโลกโบราณในยุคแรกมักมีกำเนิดในบริเวณลุ่มแม่นํ้าใหญ่ 4 แห่ง ได้แก่ แม่นํ้าไนล์ แม่นํ้าไทกริส-ยูเฟรติส แม่นํ้าสินธุ และแม่นํ้าฮวงโห ทั้งนี้เพราะนํ้าเป็นสิ่งจำเป็น ในการเกษตรกรรม การคมนาคม และการดำรงชีวิตของมนุษย์นั่นเอง
63. ในอียิปต์โบราณ ผู้ช่วยของฟาโรห์ที่ทำหน้าที่จดสำมะโนครัวและสำรวจภาษีรายได้คือใคร
(1) วิเซียร์
(2) ข้าหลวง
(3) อาลักษณ์
(4) พระ
ตอบ 1 หน้า 10, (คำบรรยาย) วิเซียร์ (Vizier) เป็นผู้ช่วยคนที่สำคัญที่สุดของฟาโรห์ ซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ แทนฟาโรห์อยู่ในเมืองหลวง โดยจะดูแลการปกครองภายใน การจดและ สำรวจสำมะโนครัว การสำรวจภาษีรายได้ การเกษตร การชลประทาน และการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ
64. อักษรภาพ (Hieroglyphic) ของอียิปต์โบราณประกอบด้วยตัวอักษรประมาณเท่าใด
(1) 300 – 400
(2) 400 – 500
(3) 600 – 700
(4) 900 – 1,000
ตอบ 3 หน้า 12, (คำบรรยาย) ชาวอียิปต์ได้ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้เมื่อ 3,000 B.C. เรียกว่า“อักษรเฮียโรกลิฟิก” (Hieroglyphic) ซึ่งเป็นอักษรภาพที่ใช้แทนตัวอักษร และบันทึกลงบน กระดาษปาปิรุส แต่เดิมนั้นจะมีจำนวนอักษร 600 – 700 ตัว จนกระทั่งพัฒนามาเป็นพยัญชนะ 24 ตัว ต่อมาอียิปต์ได้แบ่งตัวอักษรออกเป็น 2 ชนิด คือ อักษรเฮียราติกและอักษรเดโมติก ซึ่งเป็นอักษรเครื่องหมายหรืออักษรเส้นที่มีจำนวนตัวอักษรน้อยลง
65. ความเชื่อในเรื่องโลกหน้าและวิญญาณอมตะเป็นที่มาของการสร้างสรรค์สิ่งใด
(1) การทำปฏิทิน
(2) มัมมี่
(3) การประดิษฐ์ตัวอักษร
(4) ศาสนาโซโรแอสเตอร์
ตอบ 2 หน้า 11 ชาวอียิปต์โบราณเป็นชนกลุ่มแรกที่มีความเชื่อในเรื่องวิญญาณเป็นอมตะ วันพิพากษา และโลกหน้ามีจริง จึงทำให้นิยมฝังศพคนตายไปพร้อม ๆ กับข้าวของเครื่องใช้และอาหาร ส่วนร่างกายจะเก็บรักษาไว้ไม่ให้เน่าเปื่อยด้วยการทำเป็นมัมมี่ และมีการสร้างสุสานไว้เก็บศพ สำหรับฟาโรห์ก็จะมีการสร้างพีระมิดไว้เก็บพระศพด้วย
66. ปีทางจันทรคติของสุเมเรียนมีกี่วัน
(1) 365
(2) 360
(3) 350
(4) 354
ตอบ 4 หน้า 17 ปฏิทินของชาวสุเมเรียนจะเป็นปฏิทินแบบจันทรคติ คือ เดือนหนึ่งมี 29 วันครึ่ง ปีหนึ่งมี 12 เดือน หนึ่งปีมี 354 วัน และวันหนึ่งมี 12 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็นกลางวัน 6 ชั่วโมง กลางคืน 6 ชั่วโมง
67. ความหมายของ Satrapy
(1) ผู้ปกครองของสุเมเรียน
(2) เทพเจ้าแหงภูเขาไฟ
(3) ข้าหลวงโรมัน
(4) หน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นของเปอร์เซีย
ตอบ 4 หน้า 21 ในสมัยพระเจ้าดาริอุสมหาราช ได้ทรงปรับปรุงหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นของเปอร์เซียให้เป็นระเบียบ โดยทรงแบ่งจักรวรรดิออกเป็นมณฑล เรียกว่า “แซแทรปปี” (Satrapy) มีผู้ว่าราชการปกครองซึ่งมีอำนาจสิทธิขาดเท่ากับกษัตริย์เรียกว่า “แซแทรป” (Satrap)โดยจะ ขึ้นตรงต่อกษัตริย์ และดูแลกิจการทุกอย่างภายในมณฑล ยกเว้นการทหาร
68. ผู้ปกครองที่นำหลักการลงโทษแบบสนองตอบของสุเมเรียนมาประยุกต์ใช้ให้มีความเข้มงวดในแบวปฎิบัติยิ่งขึ้น
(1) ฟาโรห์เมเนส
(2) พระเจ้าฮัมมูราบี
(3) พระเจ้าไซรัสมหาราช
(4) พระเจ้าซาร์กอน
ตอบ 2 หน้า 18 ประมวลกฎหมายของพระเจ้าฮัมมูราบี แห่งอาณาจักรอะมอไรท์จะใช้หลัก“Lex Talionis” คือ หลักการลงโทษแบบสนองตอบ หรือ “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” ซึ่งได้รับ อิทธิพลมาจากกฎหมายของชาวสุเมเรียน แต่จะมีความเข้มงวดในแนวปฏิบัติมากยิ่งขึ้น
69. ชนชาติใดในยุคโบราณที่เป็นนักเดินเรือที่อาศัยการเดินเรือเพื่อการค้า จนสามารถสร้างอาณานิคมในทะเล เมดิเตอร์เรเนียนสำเร็จ
(1) สุเมเรียน
(2) ฮิตไตท์
(3) ฟินิเชียน
(4) ฮิบรู
ตอบ 3 หน้า 19 ชาวฟินิเชียนเป็นนักเดินเรือที่อาศัยการเดินเรือเพื่อการค้า จนสามารถสร้างอาณานิคม เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางการค้าได้สำเร็จ โดยอาณานิคมที่สำคัญมี 2 แห่ง คือ เมืองท่าคาดิซในสเปน และเมืองท่าคาร์เถจ บนฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ
70. อักษรลิ่ม (Cuneiform) เป็นผลงานของชนชาติใด
(1) ฟินิเชียน
(2) สุเมเรียร
(3) อียิปต์
(4) กรีก
ตอบ 2 หน้า 17, (คำบรรยาย) ชาวสุเมเรียนเป็นชนชาติที่ประดิษฐ์ตัวอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) หรือตัวอักษรรูปลิ่มขึ้นเมื่อประมาณ 3,500 B.C. โดยใช้ต้นอ้อแห้งหรือเหล็กแหลมกดลงบน แผ่นดินเหนียวแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง
71. ดินแดนประเทคกรีซโบราณตั้งอยู่บนคาบสมุทรใด
(1) มีโนน
(2) เพลอพอเนซัส
(3) ไมซีเน
(4) ซีนาย
ตอบ 2 หน้า 26 – 27, (คำบรรยาย) เอเคียนเป็นชาวกรีกกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากและเริ่มสร้าง อารยธรรมกรีกโบราณขึ้นที่เมีองไมซีเนบนคาบสมุทรเพลอพอเนซัส โดยได้รับอิทธิพลอารยธรรมจากครีตเป็นส่วนใหญ่ เช่น ตัวอักษร ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม การค้าขาย ฯลฯ
72. สงครามเพลอพอเนเชียนเป็นความขัดแย้งระหว่างใคร
(1) กรีกกับโรมัน
(2) กรีกกับอียิปต์
(3) เอเธนส์กับสปาร์ตา
(4) เอเธนส์กับเปอร์เซีย
ตอบ 3 หน้า 35 สงครามเพลอพอเนเชียน (The Peloponesian War) เป็นสงครามระหว่างนครรัฐ เอเธนส์กับสปาร์ตาที่เกิดขึ้นในช่วง 431 – 404 ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งมีสาเหตุโดยเริ่มจากการ ที่นครรัฐต่าง ๆ ของกรีกได้ร่วมกันจัดตั้ง “สหพันธ์แห่งเกาะเดลอส” (The Confederation of Delos) ขึ้นมา เพื่อป้องกันการรุกรานจากเปอร์เซีย และใช้เป็นศูนย์กลางในการเก็บสมบัติของสมาชิก แต่ในความเป็นจริงแล้วการจัดตั้งสหพันธ์นี้กลับเอื้อให้เอเธนส์เป็นผู้นำที่มีอีทธิพลสูงสุด ซึ่งต่อมาสหพันธ์ก็เปลี่ยนสภาพมาเป็นจักรวรรดิของเอเธนส์ ส่วนนครรัฐอื่นๆ ก็ถูกลดฐานะ ให้เป็นเพียงรัฐบริวารเท่านั้น ทำให้สปาร์ตาเกิดความหวาดระแวงและกลัวว่าเอเธนส์จะเป็นผู้นำของกรีกทั้งหมด ด้วยเหตุนี้จีงเป็นชนวนที่ทำให้เกิดสงครามระหว่างพวกกรีกด้วยกันในที่สุด
73. ความเชื่อทางศาสนาของชาวมีโนน
(1) เทพโอซิริส
(2) เทพวีนัส
(3) แม่พระธรณี
(4) เทพีอเธนา
ตอบ 3 (คำบรรยาย) ความเจริญที่สำคัญในสมัยอารยธรรมมีโนน มีดังนี้
1. มีการปกครองแบบเทวราชา
2. มีสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ นํ้ามันมะกอก องุ่น ข้าวบาเลย์ และเครื่องเคลือบดินเผา
3. นิยมเล่นกีฬาประเภทสู้วัว กรีฑา ฯลฯ
4. มีการนับถือแม่พระธรณี
74. หนังสือที่นักประวัติศาสตร์ใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาประวัติศาสตร์กรีกในสมัยแรก ๆ
(1) Historia
(2) Epic of Gilgamesh
(3) Book of the Dead
(4) Illiad
ตอบ 4 หน้า 40, (คำบรรยาย) โฮเมอร์ นักประพันธ์ที่ยิงใหญ่ของกริก ได้ประพันธ์มหากาพย์ 2 เรื่อง คือ อีเลียด (Illiad) และออดิสซี (Odyssey) ซึ่งได้ถูกประพันธ์ขึ้นในช่วงยุคมืดของกริก และ ถือว่าเป็นเอกสารสำคัญที่นักประวัติศาสตร์ใช้ศึกษาประวัติศาสตร์ของกริกในสมัยแรกๆ
75. ตามรัฐธรรมนูญของสปาร์ตา นครรัฐสปาร์ตามีกษัตริย์กี่พระองค์
(1) ไม่มี
(2) หนึ่ง
(3) สอง
(4) สาม
ตอบ 3 หน้า 30 รัฐธรรมนูญของสปาร์ตามีรูปแบบการปกครองดังนี้
1. กษัตริย์ 2 องค์ โดยเป็นผู้นำทางการทหาร คือ เป็นแม่ทัพสูงสุดและเป็นผู้นำทางศาสนา
2. สภาขุนนาง ประกอบด้วยกษัตริย์ 2 องค์ และขุนนาง 28 คน รวมเป็น 30 คน อายุ 60 ปีขึ้นไป และดำรงตำแหน่งตลอดชีวิต
3. สภาประชาชน ประกอบด้วยชายสปาร์ตาที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป และพลเมืองชั้นอื่นที่พอจะหาอาวุธได้
4. คณะเอเฟอเรท (Ephorate) ประกอบด้วยกลุ่มบุคคล 5 คน (คณะบริหาร) ที่มีอำนาจสูงสุด ในการปกครองของสปาร์ตา
76. ชาวโรมันถือว่าเทพองค์ใดที่มีความงามมากที่สุด
(1) Ceros
(2) Venus
(3) Jupiter
(4) Neptune
ตอบ 2 หน้า 36, 58 ในสมัยสาธารณรัฐโรมันได้มีการรับเอาความเชื่อทางศาสนาในเรื่องเทพเจ้าของกรีกเข้ามา โดยชาวโรมันได้แปลงชื่อเทพเจ้าของกรีกมาเป็นเทพเจ้าของโรมัน เช่น เทพซีอุสหรือซุส (บิดาแห่งเทพเจ้า) มาเป็นเทพจูปีเตอร์ (Jupiter), เทพีดีมีเตอร์ (เทพีแห่งพืชพันธุ์ธัญญาหาร) มาเป็นเทพีเซอโรส (Ceros), เทพีอะโฟรไดท์ (เทพีแห่งความรักและความงาม) มาเป็นเทพีวีนัส (Venus), เทพโพไซดอน (เทพเจ้าแห่งท้องทะเล) มาเป็นเทพเนปจูน (Neptune) เป็นต้น
77. กฎหมายฉบับแรกที่ได้รับการจารึกลงเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อปี 449 ก่อนคริสตกาล
(1) กฎของพระเจ้า
(2) กฎหมายจัสติเนียน
(3) กฎหมายสิบสองโต๊ะ
(4) Natural Law
ตอบ 3 หน้า 50, 58, (HI 101 เลขพิมพ์ 53214 หน้า 161) ในสมัยสาธารณรัฐโรมันตอนต้นพวกพลีเบียนได้เรียกร้องให้พวกแพทริเชียนร่างกฎหมายของโรมันเป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 449 B.C. โดยมีการจารึกลงบนแผ่นทองแดง 12 แผ่น แล้วนำไปติดที่ฟอรัม เพื่อประกาศให้ราษฎรทุกคนทราบเรียกว่า “กฎหมายสิบสองโต๊ะ’’ (Law of the Twelve Tables)
78. มรดกทางด้านศิลปะของโรมันที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง
(1) การก่อสร้างประตูรูปโค้ง
(2) หลังคาทรงกลม
(3) หอคอยเรียวสูง
(4) ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 48, 53, (คำบรรยาย) ผลงานทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของโรมันที่มีชื่อเสียง และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ได้แก่ โคลอสเซียม (Colosseum), อาคารแพนเธออน (Pantheon), บาสิลิกา (Basilica), แอมพิเธียเตอร์ (Amphitheater) รวมทั้งศิลปะการ ก่อสร้างประตูรูปโค้ง (Arches), หลังคาทรงกลม (Dome) และอุโมงค์ (Vaults) ซึ่งรับมาจาก พวกอีทรัสคันด้วย
79. สภาเผ่า (Tribal Assembly) เป็นสภาที่มีสิทธิในการออกกฎหมายและแต่งตั้งทรีบูนของชนชั้นใด
(1) Helots
(2) Quaestors
(3) Patrician
(4) Plebian
ตอบ 4 หน้า 50 สภาเผ่า (Tribal Assembly) คือ สภาของพวกพลีเบียน (Plebian) โดยเฉพาะ เพื่อให้เป็นสภาที่มีสิทธิในการออกกฎหมายและแต่งตั้งทรีบูน ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 10 คน
80. ในยุคที่จักรวรรดิโรมันรุ่งเรือง สามารถปกครองประชาชนหลายเชื้อชาติให้อยู่รวมกันได้โดยใช้อะไรเป็นเครื่องมือสำคัญ
(1) กองทัพประจำการ
(2) การตรวจสอบอย่างเข้มงวด
(3) การลงโทษอย่างรุนแรง
(4) ภาษาและกฎหมาย
ตอบ 4 หน้า 61 โรมันมีพัฒนาการการปกครองในรูปแบบสาธารณรัฐและจักรวรรดิตามลำดับโดยในยุคจักรวรรดินั้นโรมันจะมีอาณาบริเวณที่กว้างใหญ่ไพศาลมาก และสามารถปกครอง ประชาชนหลายเชื้อชาติให้อยู่รวมกันได้โดยใช้ภาษาและกฎหมายเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
81. อาคารที่สร้างในสมัยจักรวรรดิบีแซนทีนซึ่งนับว่าเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลกที่มีการผสมผสาน ศิลปะความเจริญของตะวันออกและตะวันตกเข้าไว้ด้วยกันเป็นอย่างดี คืออะไร (1) มหาวิหารซานต้าโซเฟีย
(2) พระราชวังเชินบรุน
(3) ทัชมาฮาล
(4) มหาวิหารเซนต์เบเซิล
ตอบ 1 หน้า 225 – 226 สถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงของจักรวรรดิบิแซนทีนหรือจักรวรรดิโรมันตะวันออก มี 3 อย่าง ได้แก่
1. พระราชวังของจักรพรรดิ (The Imperial Palace)
2. ฮิปโปดรอม (Hippodrome)
3. วิหารซานต้า โซเฟีย (Santa Sophia Church)
นับว่าเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลกที่มีการผสมผสานระหว่างศิลปะตะวันออกกับตะวันตก เข้าไว้ด้วยกันเป็นอย่างดี
82. ลาติฟันเดียของบิแซนทีนคืออะไร
(1) ชุดเกราะของนักรบ
(2) ที่ดินทำไร่นาขนาดใหญ่
(3) ลัทธิทำลายรูปเคารพ
(4) กฎหมายของบิแซนทีน
ตอบ 2 หน้า 221 ลักษณะการเกษตรในอาณาจักรบีแซนทินนั้นจะมีการทำไร่นาขนาดใหญ่ โดยที่ดินพื้นราบจะถูกแบ่งเป็นผืนใหญ่ เรียกว่า “ลาติฟันเดีย” (Latifundia) ซึ่งได้รับแบบอย่างมาจาก อิตาลี ทั้งนี้ชาวนาเสริมจะมีจำนวนน้อยกว่าชาวนารับจ้างและพวกเซิร์ฟ
83. เหตุการณ์ใดต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงการแตกแยกทางศาสนาครั้งใหญ่ (Great Schism ค.ศ. 1378 – 1417)
(1) ยุคที่ไม่มีพระสันตะปาปาปกครอง
(2) ความขัดแย้งระหว่างพระเจ้าฟิลิปที่ 4 กับพระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 7
(3) กลุ่มพระคาร์ดินัลเลือกพระสันตะปาปาองค์ใหม่พระนามว่าคลีเมนต์ที่ 7 และประทับที่อาวิญญอง
(4) ราชสำนักของพระสันตะปาปาที่กรุงโรมมีความหรูหราฟุ่มเฟือย
ตอบ 3 หน้า 210, 452 ความแตกแยกทางศาสนาครั้งยิ่งใหญ่ในปลายยุคกลางช่วงปี ค.ศ. 1378 เกิดขึ้นเพราะมีสันตะปาปา 2 องค์ในเวลาเดียวกัน คือ สันตะปาปาเออร์บันที่ 6 ชาวอิตาลี ประทับที่กรุงโรม และสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 ชาวฝรั่งเศส ประทับที่เมืองอาวิญญองจนกระทั่ง ในปี ค.ศ. 1417 จึงได้มีการประชุมที่เมืองคอนสแตนซ์ (Council of Constance) เพื่อยุติปัญหานี้ ทั้งนี้ได้มีการเลือกสันตะปาปาองค์ใหม่ ได้แก่ สันตะปาปามาร์ตินที่ 5 โดยให้มาประทับ ที่กรุงวาติกัน ซึ่งนับว่าเป็นการสิ้นสุดความแตกแยกครั้งใหญ่ที่กินเวลานานถึง 40ปี
84. ศาสนาอิสลามนิกายใดมีศาสนิกชนมากที่สุด
(1) อุมัยหยัด
(2) โซฟี
(3) สุหนี่
(4) ชีอะห์
ตอบ 3 หน้า 243 ศาสนาอิสลามแบ่งออกเป็น 2 นิกายใหญ่ ๆ คือ
1. นิกายสุหนี่หรือซุนนี เป็นนิกายที่นับถือคัมภีร์อัลกุรอานตามแบบฉบับเดิมอย่างเคร่งครัด นับถือคำสอนของซุนนา และยอมรับอาบู บากร์ เป็นกาหลิบ ซึ่งถือว่าเป็นนิกายที่มีศาสนิกชน นับถือมากที่สุด
2. นิกายชีอะห์ เป็นนิกายที่นับถือเฉพาะคัมภีร์อัลกุรอาน ไม่ยอมรับคำสอนของซุนนา
มีผู้นำเรียกว่า “อิหม่าม” และยอมรับอาลีเป็นกาหลิบ ซึ่งศาสนิกชนที่นับถือนิกายนี้ได้แก่ ชาวอิหร่าน อิรัก และอาระเบียน
85. การฟื้นฟูศิลปวิทยาการคาโรแลงเจียนเกิดขึ้นในยุคใด
(1) เมโรแวงเจียน
(2) ชาร์เลอมาญ
(3) ยุคโบราณของยุโรป
(4) เปแปง
ตอบ 2 หน้า 178, 180 การฟื้นฟูศิลปวิทยาการคาโรแลงเจียนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8-9 เกิดขึ้น ในสมัยพระเจ้าชาร์เลอมาญ โดยเป็นยุคที่มีการพัฒนาทางด้านการศึกษาและศิลปวัฒนธรรม อย่างชัดเจน ซึ่งเปรียบประดุจแสงเทียนน้อยนิดที่ให้ความสว่างท่ามกลางความมืดมนของยุคกลางตอนต้น
86. เทพเจ้าแห่งพายุและสงครามที่ชาวเยอรมันนิกในสมัยกลางนับถือ
(1) Zeus
(2) Athena
(3) Woden
(4) Jupiter
ตอบ 3 หน้า 175 ชาวเยอรมันนิกในสมัยกลางจะนับถือเทพเจ้าหลายองค์ รวมทั้งมีความเชื่อในเรื่องโชคลางและอภินิหารต่าง ๆ โดยเทพเจ้าที่สำคัญที่สุดคือ เทพโวเดน (Woden) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งพายุและสงคราม
87. ลักษณะของการทำเกษตรกรรมในแมนเนอร์
(1) ระบบล้อมรั้ว
(2) เพิ่มผลผลิตโดยใช้ปุ๋ย
(3) ใช้เทคโนโลยี
(4) ระบบนา 3 แปลง
ตอบ 4 หน้า 184, 191 – 192 ระบบเศรษฐกิจของยุโรปในยุคกลางจะเป็นระบบแมนเนอร์ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง (Self—sufficency) หรือเศรษฐกิจที่เลี้ยงตนเองได้ โดยมีการทำการเกษตรเป็นหลักสำคัญ ซึ่งการเกษตรในแมนเนอร์นั้นจะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. ระบบไร่นา 3 แปลง (Three-fields System) สำหรับใช้ปลูกพืชหมุนเวียน
2. ระบบไร่นาเปิดโล่ง (Open-fields System) สำหรับใช้ปลูกพืชโดยไม่มีรั้วกั้น
88. ระบบการพจารณาคดีโดยใช้การพิสูจน์ด้วยการทรมานต่าง ๆ เป็นวัฒนธรรมของใคร
(1) เยอรมันนิก
(2) กรีก
(3) อียิปต์
(4) สุเมเรียน
ตอบ 1 หน้า 176 ในการตัดสินคดีความต่างๆ พวกเยอรมันนิกจะใช้ระบบการสาบานตน (Trial of Odeal) จึงจะใช้วิธีการทรมานต่าง ๆ เช่น ลุยไฟ ดำน้ำ หรือการต่อสู้ด้วยการดวล เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ สำหรับด้านกฎหมายจะไม่เน้นที่ความยุติธรรม แต่มีไว้เพื่อยุติการต่อสู้ การรบ และยกเลิกการล้างแค้นกันมาเป็นการตกลงด้วยการจ่ายเงินเป็นค่าทดแทน เรียกว่า “เวอร์กิลด์” (Wergeld)
89. กษัตริย์ผู้วางรากฐานราชวงศ์เมโรแวงเจียน
(1) ชาร์เลอมาญ
(2) โคลวิส
(3) ชาร์ลพระเศียรล้าน
(4) เปแปง
ตอบ 2 หน้า 177 – 178 อาณาจักรแฟรงค์ ก่อตั้งขึ้นโดยพวกแฟรงค์ ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณแคว้นกอล ประกอบด้วย 2 ราชวงศ์ คือ
1. ราชวงศ์เมโรแวงเจียน มีกษัตริย์ที่มีความสามารถมากคือ โคลวิส ซึ่งได้รวบรวมดินแดนต่าง ๆ และก่อตั้งเป็นราชวงศ์เมโรแวงเจียนขึ้น
2. ราชวงศ์คาโรแลงเจียน มีกษัตริย์ที่มีความสามารถเด่นที่สุดคือ พระเจ้าชาร์เลอมาญ ซึ่งได้ทรงขยายอาณาเขตของอาณาจักรแฟรงค์ออกไปอย่างกว้างขวาง
90. ประเพณี Comitatus เป็นวัฒนธรรมของใคร
(1) โรมัน
(2) กรีก
(3) เยอรมัน
(4) เปอร์เซีย
ตอบ 3 หน้า 186 พวกอนารยชนเยอรมันมีประเพณีอย่างหนึ่งที่เรียกว่า “ระบบสวามิภักดิ์”
(Comitatus) คือ ประเพณีที่ชายฉกรรจ์หรือนักรบกระทำสัตย์ปฏิญาณว่าจะสวามิภักดิ์และ ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ของตนทั้งในยามสงบและยามสงคราม ซึ่งเป็นความผูกพันตามระเบียบวินัย ทหารของเยอรมัน
91. อนารยชนกลุ่มใดที่เข้ามาโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลใน ค.ศ. 1453
(1) Huns
(2) Germanic
(3) Ottoman
(4) Tatar
ตอบ 3 หน้า 217 ในปี ค.ศ. 1453 อาณาจักรบีแซนทีนหรืออาณาจักรโรมันตะวันออกได้เสื่อมสลายไป เพราะถูกพวกออตโตมาน เติร์ก (Ottoman Turks) เข้ายึดครองเมืองคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จ หลังจากนั้นอารยธรรมบีแซนทีนจึงถูกถ่ายทอดให้แก่รัสเซีย จนมีคำกล่าวว่า เมืองมอสโกของรัลเซียคือ โรมแห่งที่ 3 (The Third Rome)
92. กฎหมายของอนารยชนเป็นแบบใด
(1) กฎหมายธรรมชาติ
(2) กฎหมายประจำตัวบุคคล
(3) กฎของพระเจ้า
(4) กฎหมายจัสติเนียน
ตอบ 2 หน้า 176 กฎหมายของพวกอนารยชนเยอรมันจะเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของชนเผ่า ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน โดยชาวเยอรมันมักนำกฎหมายติดตัวไปด้วยทุกแห่ง ดังนั้นจึงไม่มีกฎหมายประจำท้องที่และไม่มีการจารึกกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร แต่มีลักษณะเป็นกฎหมายประจำตัวบุคคล (Personal Law) เมื่อมีกรณีพิพาทระหว่างเผ่า ก็จะมีการพิจารณาแต่ละคดีว่าจะใช้กฎหมายของเผ่าใด
93. ลักษณะการปกครองของอนารยชนเยอรมันรวมตัวกันในรูปแบบใด
(1) Satrapy
(2) District
(3) Nomes
(4) Tribe
ตอบ 4 หน้า 176 ลักษณะการปกครองของอนารยชนเยอรมันจะแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน (Village) หลายหมู่บ้านจะรวมกันเป็นแคนตอน (Canton) และหลายแคนตอนจะรวมกันเป็นเผ่า (Tribe) โดยแต่ละเผ่าจะมีผู้นำเผ่าและเลือกกษัตริย์ที่มีเชื้อสายนักรบที่กล้าหาญมาปกครอง
94. กาหลิบพระองค์แรกที่ได้ปกครองจักรวรรดิอิสลามหลังจากพระมะหะหมัดสิ้นพระชนม์
(1)อาบู บากร์
(2)โอมาร์
(3)อุสมาน
(4)อาลี
ตอบ . 1 หน้า 241 กาหลิบอาบู บากร์ (Abu Bakr) เป็นทั้งเพื่อนสนิทและพ่อตาของพระมะหะหมัด โดยได้รับเลือกให้เป็นกาหลิบองค์แรกของจักรวรรดิอิสลามหลังจากที่พระมะหะหมัดสิ้นพระชนม์ นอกจากนี้ยังเป็นผู้นำสำคัญในการรวบรวมคำสอนของพระมะหะหมัดมาเขียนเป็นคัมภีร์โกหร่าน หรืออัลกุรอาน และได้ขยายอาณาเขตของจักรวรรดิอิสลามออกไปอย่างกว้างขวางบนคาบสมุทรอาระเบีย
95. ในระบบแมนเนอร์ที่ดินที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดเรียกว่าอะไร
(1) Fief
(2) Latifundia
(3) Tenement
(4) Demeans
ตอบ 4 หน้า 192 ที่ดินในระบบแมนเนอร์จะแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ซึ่งมีแนวยาว เรียกว่า “สตริป” (Stripe) โดยขุนนางเจ้าของที่ดินจะครอบครองที่ดินส่วนที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด เรียกว่า “ดีมีนส์” (Demeans) สำหรับชาวไร่ชาวนาจะได้ที่ดินส่วนที่ไม่ค่อยดีนัก เรียกว่า “เทนเนเมนต์” (Tenement)
96. คาบสมุทรอนาโตเลียปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศใด
(1) อิตาลี
(2) เปอร์เซีย
(3) ตุรกี
(4) อียิปต์
ตอบ 3 หน้า 217 อาณาจักรบิแซนทีน ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอนาโตเลีย (ประเทศตุรกีในปัจจุบัน) และ มีเมืองคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) หรือเมืองโรมา โนวา (Roma Nova) ในอดีต เป็นเมืองหลวง โดยเมืองนี้ถือว่าเป็นศูนย์กลางที่ตะวันตก (กรีก) และตะวันออกมาพบกัน ดังนั้น จึงได้รับสมญานามว่าเป็น “โรมใหม่” (The New Rome) หรือโรมแห่งที่ 2 ซึ่งเปรียบเสมือน เป็นคลังสินค้าของวัฒนธรรมและศิลปวิทยาการต่าง ๆ ในยุคกลาง
97. พระมะหะหมัดได้รับแนวความคิดในการนับถือพระเจ้าองค์เดียวจากความเชื่อของชนกลุ่มใด
(1) ชาวอียิปต์
(2) ชาวสุเมเรียน
(3) ชาวยิว
(4) ชาวกรีก
ตอบ 3 หน้า 235 – 236, 239 ศาสนาอิสลามเกิดขึ้นในคาบสมุทรอาระเบียประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 โดยในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 6 ดินแดนในบริเวณนี้เป็นที่อยู่อาศัยของพวกคริสเตียน และพวกยิว ซึ่งต่อมาได้มีบทบาทในการถ่ายทอดความเชื่อในเรื่องการนับถือพระเจ้าองค์เดียว โดยผ่านมาทางหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของพวกยิว และศาสนาคริสต์ของพวกคริสเตียน ให้แก่พระมะหะหมัดและชนเผ่าต่าง ๆ จนกระทั่งได้กลายเป็นหลักคำสอนสำคัญของศาสนาอิสลาม
98. แหล่งรายได้ของวัดในยุคกลางของยุโรปมาจากไหน
(1) เงินบำรุงศาสนา
(2) ภาษีจากที่ดิน
(3) ค่าธรรมเนียมศาล
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 206 – 207 ยุโรปในนยุคกลางตอนด้นและตอนกลาง วัดในศาสนาคริสต์ถือว่าเป็นศูนย์กลาง ทางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ศิลปะ วรรณคดี ขนบธรรมเนียมประเพณี รวมทั้งความเชื่อและความนึกคิดของประชาชน จนทำให้ยุคกลางได้ชื่อว่าเป็น “ยุคแห่งศรัทธา” (Age of Faith) นอกจากนี้วัดยังมีความมั่งคั่งและมีรายได้หลายทาง ได้แก่ เงินบำรุงศาสนา รายได้และภาษีจากที่ดิน ค่าธรรมเนียมศาล รายได้จากการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ และ เงินบริจาคอื่นๆ
99. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่กิจกรรมเพื่อการบันเทิงของขุนนางยุโรปในยุคกลาง
(1) Tournament
(2) Ostracism
(3) Falconry
(4) Joust
ตอบ 2 หน้า 195 แนวปฏิบัติกิจกรรมเพื่อความบันเทิงใจของพวกขุนนางหรือชนชั้นสูงในยุคกลางได้แก่
1. การล่านกด้วยเหยี่ยวนกเขาที่เรียกว่า “ฟอลคันรี” (Falconry)
2. การเล่นกีฬาต่อสู้กันด้วยหอกบนหลังม้า เรียกว่า “จูสท์” (Joust)
3. การแข่งขันกีฬาประเภทต่าง ๆ เรียกว่า “ทัวนาเมนท์” (Tournament)
4. การเล่นทอดลูกเต๋าเพื่อเดินตัวเล่นบนกระดาน เรียกว่า “แบ็คแกมมัน” (Backgammon)
5. การเล่นลูกเต๋า (Dice) และการเล่นหมากรุก (Chess) เป็นต้น
100. อารยธรรมบิแซนทีนด้านใดที่รัสเซียรับเข้าไป
(1) ตัวอักษร
(2) ศาลนากรีกออร์ธอดอกซ์
(3) สถาปัตยกรรม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ4 หน้า 228 – 229, (ดูคำอธิบายข้อ 91. ประกอบ) อาณาจักรบิแซนทีนมีอิทธิพลต่อพัฒนาการ ของประชาชนชาวสลาฟซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวรัสเซีย ดังนั้นจึงส่งผลให้รัสเซียได้รับอิทธิพล จากอารยธรรมบิแซนทีนทั้งสิ้น อันได้แก่ ศาสนากรีกออร์ธอดอกซ์ สถาปัตยกรรมที่เมืองเคียฟ ปฏิทิน และตัวอักษร