การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557
ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1003 อารยธรรมโลก
คำสั่ง ให้น้กศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
1. แหล่งอารยธรรมโบราณขอองจีนเกิดขึ้นบริเวณใด
(1) ลุ่มนํ้าแยงซี
(2) ลุ่มนํ้าฮวงโห
(3) ลุ่มนํ้ายาลู
(4) ลุ่มนํ้าอามูร์
ตอบ 2 หน้า 272 ตามทฤษฎีสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เชื่อว่า อารยธรรมจีนสมัยแรกเริ่มนั้น กำเนิดขึ้นในยุคหินใหม่ หรือเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยมีศูนย์กลางอยู่บริเวณ ลุ่มแม่น้ำเหลืองหรือแม่น้ำฮวงโหอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งหลักฐานสำคัญทางโบราณคดีที่แสดงถึง ความเก่าแก่ที่สุดของอารยธรรมจีนในยุคนี้ได้แก่ วัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผา เช่น วัฒนธรรมลี และเสียน วัฒนธรรมยังเชาและลุงชาน เป็นต้น
2. ชาวตะวันตกในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 เรียกแหล่งอารยธรรมจีนโบราณว่า
(1) อาณาจักรกลาง
(2) ตะวันออกไกล
(3) เอเชียตะวันออก
(4) อาณาจักรทะเลใต้
ตอบ 2 หน้า 270 จีนได้รับการยอมรับว่าเป็นศูนย์กลางทางด้านอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก โดยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของทวีปเอเชีย ซึ่งดินแดนแถบนี้เดิมทีชาวจีนเรียกว่า “อาณาจักรกลาง” แต่สำหรับชาวตะวันตกจะรู้จักกันในชื่อ “ตะวันออกไกล” พอมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เอเชียตะวันออก”
3. เครื่องปั้นดินเผาซึ่งเป็นหลักฐานทางโบราณคดีของจีนที่เก่าแก่ที่สุดมีอายุประมาณ
(1) 4,000ปี
(2) 10,000ปี
(3) 50,000ปี
(4) 100,000ปี
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ
4. ข้อใดเกิดขึ้นลมัยราชวงศ์เฉีย
(1) เริ่มใช้อักษรภาพ
(2) เกิดคำสอนลัทธิเต๋า
(3) จารึกพุทธศาสนาลงบนเสาหิน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 273 ผลงานสำคัญที่ราชวงศ์เฉียได้สร้างไว้ มีดังนี้
1. ตำแหน่งจักรพรรดิสืบทอดกับทาง สายโลหิต และมีการปกครองแบบนครรัฐ
2. มีการใช้รถม้าในการทำสงคราม
3 มีการนำทองสำริดเข้ามาใช้แทนดินเผา
4. เริ่มมีการใช้อักษรภาพเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร
5. มีการริเริ่มทำปฎิทินซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีความใกล้เคียงกับปัจจุบันมากที่สุด
5. ภาวะจลาจลหรือเลียดก๊กเกิดขึ้นสมัยใด
(1) โจวตะวันตก
(2) โจวตะวันออก
(3) โจวเหนือ
(4) โจวใต้
ตรบ 2 หน้า 275 – 276, (คำบรรยาย) ยุคแห่งความแตกแยกของจีนในสมัยราชวงศ์โจวตะวันออกนั้น บ้านเมืองได้เกิดสงครามจนถึงขั้นที่เรียกว่า “ภาวะจลาจหรือเลียดก๊ก” ซึ่งทำให้เกิดการเสนอ ข้อคิดเห็นทางปรัชญาขึ้นมากมาย เสมือนหนึ่งการเบ่งบานสะพรั่งของดอกไม้นับร้อยดอก ควบคู่ไปด้วย
6. นักปราชญ์ท่านใดในช่วงปลายสมัยราชวงศ์โจวมีชาติกำเนิดสูงสุด
(1) ขงจื๊อ
(2) เหลาจื๊อ
(3) เม่งจื๊อ
(4) หานเพ่ยจื๊อ
ตอบ 4 หน้า 277 ในช่วงปลายสมัยราชวงศ์โจวนั้น สำนักนิติธรรมนิยมหรือสำนักฝาเจี่ยมีนักปรัชญา ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ ฮั่นไฝสือ (หานเฟยจื๊อ) ซึ่งมีชาติกำเนิดสูงสุดคือ เป็นเจ้าชายแห่งรัฐฮั่น ในมณฑลเหอหนัน โดยแนวคิดของสำนักนี้เชื่อว่า สังคมที่แตกแยกเกิดจากธรรมชาติที่ไม่ดีของมนุษย์ ซึ่งแนวทางแก้ไขก็คือ ต้องสอนให้มนุษย์เป็นคนรู้จักคิดและมีเหตุผลมากขึ้น
7. ศาสนาพุทธเผยแผ่เข้ามาในสังคมจีนสมัยใด
(1) โจว
(2) จิ๋น
(3) ฮั่น
(4) สุย
ตอบ 3 หน้า 278 – 279 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญซึ่งเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่น มีดังนี้
1. เป็นสมัยแรกที่ศาสนาพุทธเผยแผ่จากอินเดียเข้าสู่จีน
2. มีระบบการสอบไล่เข้ารับราชการเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยใช้ตำราของขงจื๊อเป็นแนวทาง
3. เป็นสมัยแรกที่จีนส่งกองคาราวานเดินทางไปค้าขายกับตะวันตก (ยุโรป) ไกลถึงอาณาจักรโรมัน (กรุงโรม) จนทำให้เกิด “เส้นทางสายไหม” (Silk Route) ขึ้น
4. มีการนำกระดาษมาพิมพ์เป็นธนบัตรแทนเงินตราที่ทำด้วยโลหะเป็นครั้งแรก ฯลฯ
8. Silk Route เกิดขึ้นสมัยใด
(1) โจว-อียิปต์
(2) จิ๋น-กรีก
(3) ฮั่น-โรม
(4) ถัง-ไบแซนไทน์
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ
9. ใครคือผู้นำในการขับไล่พวกมองโกลออกไป แล้วสถาปนาราชวงศ์ใหม่ขึ้นปกครองจีน
(1) เจากวงอิน
(2) หลีซื่อหมิน
(3) จูหยวนจาง
(4) หวางอันซือ
ตอบ 3 หน้า 284, (คำบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1368 กัวซือซิงและจูหยวนจางได้เป็นผู้นำในการขับไล่พวกมองโกลออกไปจากแผ่นดินจีน โดยสามารถยึดเมืองต่าง ๆ ได้สำเร็จทำให้กษัตริย์โตกอนเตมูร์ หลบหนีกลับไปมองโกเลีย ส่วนจูหยวนจางได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง โดยทรงพระนามว่า “พระเจ้าฮังวู”
10. ราชวงศ์ใดของจีนได้ชื่อว่าปกครองแบบเผด็จการมากที่สุด
(1) แมนจู
(2) ถัง
(3) หยวน
(4) หมิง
ตอบ 4 หน้า 285 โครงสรางการปกครองในสมัยราชวงศ์หมิงยังคงใช้รูปแบบเดิมที่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น เพียงแต่ว่าจักรพรรดิแต่ละพระองศ์ไม่ค่อยยึดคำสั่งสอนของขงจื๊อ ทำให้จักรพรรดิ ขาดเมตตาธรรมในการบริหารประเทศ อีกทั้งไม่ยอมรับฟังคำปรึกษาของขุนนางเหมือนแต่ก่อน ทำให้มีผู้เรียกราชวงศ์นี้ว่าเป็น “ราชวงศ์ที่ใช้อำนาจเผด็จการมากที่สุด”
11. สงครามฝิ่นคือความขัดแย้งระหว่างจีนกับใคร
(1) อังกฤษ
(2) ฝรั่งเศส
(3) รัสเซีย
(4) ญี่ปุ่น
ตอบ 1 หน้า 287, (คำบรรยาย) สงครามฝิ่น (ค.ศ. 1839 – 1842) เป็นสงครามระหว่างจีนกับอังกฤษ ที่เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์แมนจู ซึ่งผลปรากฏว่าจีนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ทำให้ต้องลงนามใน สนธิสัญญาไม่เสมอภาคฉบับแรกกับชาวตะวันตกคือ สนธิสัญญานานกิง ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
1. จีนต้องเปิดเมืองท่า 5 แห่ง ได้แก่ แคนตอน เอหมึง ฟูเจา นิงโป และเซี่ยงไฮ้ ให้เป็น เขตสัมปทานซึ่งอยู่ในความดูแลของอังกฤษ
2. จีนต้องสูญเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้กับชาวตะวันตก
3. จีนต้องสูญเสียอำนาจในการกำหนดอัตราภาษี
4. จีนต้องยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษ
12. บุคคลใดต่อไปนี้ได้ชื่อว่าเป็นคนรุ่นนรก ๆ ที่ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนขึ้น
(1) คังยู่เหว่ย-ซุนยัดเซ็น
(2) เฉินตู้ซิ่ว-หลีต้าเจา
(3) เหมาเจ๋อตุง-โจวเอินไหล
(4) เตั้งเสี่ยวผิง-หยางซางคุน
ตอบ 2 หนา 291 – 293, (คำบรรยาย) เมื่อปัญญาชนจีนพบว่าแนวคิดแบบตะวันตกไม่สามารถแก้ปัญหา ให้แก่จีนได้อีกต่อไป พวกเขาจึงได้หันไปสู่แนวทางใหม่ นับคือ การแก้ไขปัญหาด้วยแนวทางสังคมนิยม หลังจากนั้นพรรคคอมมิวนิสต์จีนจึงเริ่มถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1921 ภายใต้การนำของปัญญาชนจีน 2 ท่าน คือ เฉินตู้ซิ่ว และหลี่ต้าเจา ต่อมาเมื่อเหมาเจ๋อตุงได้ประกาศจัดตั้ง “สาธารณรัฐประชาชนจีน” ขึ้นที่ปักกิ่งในปี ค.ศ. 1949 เขาจึงดำเนินการปฏิรูปประเทศให้เข้าสู่ ระบอบคอมมิวนิสต์ตามแนวทางของลัทธิมาร์กซ์ (Marxism), เลนิน (Leninism) และเหมา (Maoism)
13. เหตุที่พรรคก๊กมินตั๋งพ่ายแพ้พวกคอมมิวนิสต์ เพราะ
(1) เจียงไคเช็คปราบคอมมิวนิสต์หนักเกินไป
(2) คอมมิวนิสต์ได้อาวุธและแนวร่วมจากการต่อต้านญี่ปุ่น
(3) ประชาชนเข้าข้างเพราะความรู้สึกแบบชาตินิยม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 291 – 293 สาเหตุที่ทำให้พรรคก๊กมินตั้งต้องพ่ายแพ้ต่อพรรคคอมมิวนิสต์ มีดังนี้
1. ชาวจีนเข้าข้างพรรคคอมมิวนิสต์เพราะมีความรู้สึกชาตินิยม จึงได้ร่วมกันต่อต้านความเจริญ ของชาติตะวันตกภายใต้พรรคก๊กมินตั๋ง
2. รัสเซียได้มอบอาวุธที่ยึดมาได้จากญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้แก่พรรคคอมมิวนิสต์
3. เจียงไคเช็คมุงปราบปรามพรรคคอมมิวนิสต์มากเกินไป ทำให้ถูกชาวจีนขับไล่ออกนอกประเทศ
14. ก่อนที่จะมีการรับอารยธรรมพุทธศาสนา ชาวญี่ปุ่นนับถืออะไร
(1) ชินโต
(2) ขงจื๊อ
(3) เต๋า
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 303, 315 ก่อนที่ศาสนาและลัทธิจากต่างชาติ เช่น ศาสนาพุทธ ลัทธิขงจื๊อและเต๋า ฯลฯ จะเข้ามาเผยแผ่ในญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นได้มีการนับถือเทพเจ้าอยู่แล้วซึ่งก็คือ เทพเจ้าแห่งดวงอ ทิตย์ (สุริยเทวีหริอพระนางอะมาเตราสึ) ซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุดในสมัยนั้น โดยต่อมารู้จักกันในชื่อว่า “ลัทธิชินโต” หรือวิถีทางของเทพเจ้า ทั้งนี้ลัทธิชินโตรุ่งเรืองอย่างมากในสมัยโตกูกาวาตอนปลาย และในสมัยเมอิจิ
15. สังคมสมัยแรกของญี่ปุ่นมีชื่อว่า
(1) อูจิ
(2) กิมจิ
(3) โกกิ
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 312 สังคมสมัยแรกของญี่ปุ่นมีชื่อว่า “สังคมอูจิ” ซึ่งชาวญี่ปุ่นในสมัยนี้จะอยู่รวมกัน เป็นเผ่า โดยสมาชิกทุกคนในเผ่าจะมีความสัมพันธ์กันทางสายเลือด ทางวงศ์ตระกูล หรือจากการแต่งงาน ผู้ที่อาวุโสที่สุดจะทำหน้าที่เป็นหัวหน้าเผ่า ซึ่งอาจเป็นชายหรือหญิงก็ได้
16. ข้อใดคือขุนศึกกลุ่มสุดท้ายที่ร่วมมือกับโชกุนตระกูลโตกูกาวา
(1) ชิมปัน
(2) ฟูได
(3) โตซามา
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 309, 313 ในสมัยโตกูกาวา โชกุนได้แบ่งชนชั้นขุนนางซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองแคว้นออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. ชิมปัน เป็นขุนศึกที่มีความใกล้ชิดทางสายเลือดกับตระกูลโตกูกาวาและปกครองบริเวณเมืองเอโดะ
2. ฟูได เป็นขุนศึกที่เข้าร่วมกับตระกูลโตกูกาวาก่อนขึ้นมามีอำนาจ (ก่อนปี ค.ศ. 1603)
3. โตซามา เป็นขุนศึกกลุ่มสุดท้ายที่เข้าร่วมกับตระกูลโตกูกาวา หลังจากขึ้นมามีอำนาจในญี่ปุ่นแล้ว
17. ระบบตัวประกันมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
(1) ซันกิน โกไต
(2) บากูฟู
(3) แคมปากุ
(4)ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า313 วิธีการควบคุมสังคมที่เรียกว่า “ซันกินโกไต” หรือระบบตัวประกันมีหลักการ สำคัญคือ ทุกปีขุนนางท้องถิ่นจะต้องเดินทางมาเมืองหลวงที่เมืองเอโดะ เพื่อเป็นการแสดง ความจงรักภักดี และก่อนกลับต้องทิ้งญาติพี่น้องไว้ที่เมืองหลวงเพื่อเป็นตัวประกัน ทั้งนี้เพื่อ ควบคุมดูแลขุนนางท้องถิ่นมิให้ก่อเหตุร้ายและกระทำการอันเป็นปฏิปักษ์ต่อโชกุน
18. ตามตำนานใครคือผู้ก่อตั้งประเทศเกาหลี
(1) Tangun
(2) Kitze
(3) Hwan Woong
(4) Hwan In
ตอบ1 หน้า 328, (คำบรรยาย) ชนเผ่าตังกัส (Tangus) ถือว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวเกาหลีในปัจจุบัน โดยตามตำนานของเกาหลี เชื่อว่า รัฐบุรุษกึ่งเทพเจ้านามว่า “ตันกุน” (Tangun) เป็นปฐมกษัตริย์ ผู้ให้กำเนิดชาติเกาหลี ซึ่งได้รวบรวมแคว้นต่างๆ ที่ตั้งกระจัดกระจายอยู่บนคาบสมุทรเกาหลี เข้าด้วยกันและก่อตั้งเป็นชาติเกาหลีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ปี 2333 ก่อนคริสต์ศักราช ดังนั้นในปัจจุบันจึงได้มีการกำหนดให้วันที่ 3 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันกำเนิดชาติเกาหลี
19. ข้อใดคือชนชั้นสูงสุดของเกาหลีก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19
(1) Sun–min
(2) Sang-min
(3) Shin-jin
(4) Yang-ban
ตอบ 4 หน้า 333 สังคมเกาหลีก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 แบ่งออกเป็น 4 ชนชั้น คือ
1 ชนชั้นสูงหรือยางบัน (Yang-ban) ได้แก่ พวกขุนนาง ข้าราชการระดับสูง นักวิชาการ และนักปราชญ์
2 ชนชั้นกลางหรือซินจิน (Shin-jin) ได้แก่ ข้าราชการระดับกลางและต่ำ
3. ชนชั้นสามัญหรือแซงมิน (Sang-min) ได้แก่ นักธุรกิจ ชาวไร่ชาวนา และช่างฝีมือ
4. ชนชั้นตํ่าหรือซุนมิน (Sun–min) ได้แก่ นักแสดง คนล่าสัตว์ และทาส โดยชนชั้นสูง จะเรียกชนชั้นที่ตำกว่าว่า “แซงนอม” (Sang-nom) หรือไพร่
20. เกาหลีตกอยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่นเป็นเวลานานเท่าใด
(1) 5ปี
(2) 15ปี
(3) 25ปี
(4) 35ปี
ตอบ 4 หน้า 330 ในวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1910 ญี่ปุ่นได้ยึดครองและบังคับให้เกาหลีลงนามยอมเป็นส่วนหนึ่งของญี่ปุ่น ทำให้เกาหลีต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นนานถึง 35 ปี ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนี้ได้สร้างความขมขื่นและเกลียดชังให้แก่ชาวเกาหลีเป็นอย่างมาก
21. ประเทศใดต่อไปนี้จัดอยู่ในกลุ่มประเทศเอเชียใต้
(1) อินเดีย, ศรีลังกา, ภูฏาน
(2) อินเดีย, บรูไน, บังกลาเทศ
(3) อินเดีย, เปอร์เซีย, ปากีสถาน
(4) อินเดีย, อินโดนีเซีย, เนปาล
ตอบ 1 หน้า 73, 75 เอเชียใต้ (South Asia) หรือที่สื่อมวลชนทางตะวันตกนิยมเรียกว่า “อนุทวีปอินเดีย” (Indian Sub-continent) ซึ่งในอดีตนั้นเอเชียใต้มักหมายถึงประเทศอินเดีย แต่ในปัจจุบัน เอเชียใต้จะมีทั้งหมด 7 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน และมัลดีฟส์
22. แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุปัจจุบันอยู่ในประเทศใด
(1) อินเดีย
(2) ปากีสถาน
(3) เนปาล
(4) บังกลาเทศ
ตอบ 2 หน้า 75, 81 อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุเกิดขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่นํ้าสินธุหรืออินดัส บริเวณแคว้นปัญจาบตะวันตกในประเทศปากีสถานปัจจุบัน โดยเชื่อกันว่ามีอายุประมาณ 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล ดังนั้นจึงถือว่าเป็นอารยธรรมเริ่มแรกที่เก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียใต้
23. สิ่งใดต่อไปนี้ไม่ปรากฏให้เห็นในซากเมีองโมเหนโจดาโรและเมืองฮารัปปา
(1) ห้องอาบนํ้า
(2) ท่อระบายน้ำ
(3) เตาเผา
(4) ถนน
ตอบ 3 หน้า 82 จากหลักฐานที่ขุดค้นพบในซากเมืองโมเหนโจดาโรและเมืองฮารัปปานั้น แสดงให้ เห็นว่าชาวสินธุมีความสามารถทางด้านวิศวกรสำรวจและความรู้ทางด้านเรขาคณิตเบื้องต้นเป็น อย่างดี ซึ่งที่เห็นเด่นชัดก็คือ การวางผังเมือง เช่น มีการตัดถนน มีท่อระบายนํ้า บ่อนํ้าสาธารณะ รวมทั้งอาคารบ้านเรือนต่าง ๆ ที่มีการจัดห้องนํ้าแบบยืนตักอาบ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะ ของสุขาภิบาลที่ดีและมีความเจริญสูงมากกว่าดินแดนอื่นๆ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์
24. ศาสนาพราหมณ์, เชน, พุทธ และสิกข์ เกิดขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำใด
(1) สินธุ-คงคา
(2) คงคา-พรหมบุตร
(3) พรหมบุตร-มหานที
(4) มหานที-กฤษณา
ตอบ 2 หน้า 79, 91, 108 หลังจากที่ชาวอารยันได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานและขยายอิทธิพลบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคาและแม่นํ้าพรหมบุตรแล้ว พวกเขาได้สร้างสมอารยธรรมของตนเองขึ้นมา เรียกว่า “อารยธรรมอินโด-อารยัน” หรือ “อารยธรรมยุคพระเวท” ซึ่งที่เห็นเป็นรูปธรรมและ สำคัญที่สุดก็คือ อารยธรรมด้านศาสนา ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) ศาสนาเชน ศาสนาพุทธ และศาสนาสิกข์
25. ชาวอินเดียบริเวณใดในปัจจุบันที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
(1) ปัญจาบ
(2) พาราณสี
(3) เบงกอล
(4) มัทราส
ตอบ 4 หน้า 79 – 80, 133 ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกที่โปรตุเกสนำเข้ามาเผยแผ่ในอินเดีย สมัยราชวงศ์โมกุลนั้น ยังคงมีอิทธิพลต่อชาวอินเดียที่อาศัยอยู่ในแถบชายฝั่งทะเลตะวันตก นับจากบอมเบย์ กัว (ศูนย์กลางทางการค้าและศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก) ลงมาจนถึง เกาะลังกา และบริเวณที่ราบมัทราสทางตะวันออกของอินเดียตราบจนปัจจุบันนี้
26. โครงสร้างของระบบวรรณะเกิดขึ้นครั้งแรกในประวัตศาสตร์อินเดียสมัยใด
(1) สินธุ
(2) พุทธกาล
(3) มหากาพย์
(4) พระเวท
ตอบ 4 หน้า 92, 157 ในสมัยพระเวทได้ปรากฏโครงสร้างทางสังคมแบบวรรณะขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์อินเดียโดยมีการแบ่งชนชั้นออกเป็น 3ชนชั้น ได้แก่ นักรบหรือกษัตริย์ สามัญชน และพระ ซึ่งสาเหตุเริ่มแรกของการเกิดระบบวรรณะก็คือ กลัวว่าเผ่าพันธุ์ของอารยันจะไม่บริสุทธิ์ ดังนั้นผู้นำเผ่าจึงออกกฎห้ามชาวอารยันแต่งงานกับชนพื้นเมือง เพื่อรักษาความบริสุทธิ์ของชาติพันธุ์ของตนเอา‘ไว้
27. คัมภีร์ใดต่อไปนี้ถือว่าเกิดขึ้นก่อนและเก่าแก่ที่สุด
(1) ฤคเวท
(2) ยชุรเวท
(3) สามเวท
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 91, 96 คัมภีร์สำคัญในศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) คือ คัมภีร์พระเวท ซึ่งมี 3 เล่ม เรียกว่า “ไตรเพท” หรือ “ไตรเวท” ซึ่งจารึกเป็นภาษาสันสกฤต ประกอบด้วย ฤคเวท (เป็นคัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุด) ยชุรเวท และสามเวท
28. คำกล่าวว่า ‘‘ทุกชีวิตล้วนมีกำเนิดมาจากพรหมัน‘’ ควรปรากฏในที่ใด
(1) ไตรปิฎก
(2) นิครนถ์นาฏบุตร
(3) อุปนิษัท
(4) อัลกุรอาน
ตอบ 3 (HI 102 เลขพิมพ์ 52058 หน้า 198) คัมภีร์อุปนิษัท เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมหลักปรัชญาของศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) โดยสรุปได้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลกำเนิดมาจากพรหมหรือพรหมัน ซึ่งมีสภาพเป็นอมตะ ไม่เกิด ไม่ตาย และไม่เปลี่ยนแปลง
29. ในวรรณคดีเรื่องมหาภารตะมีตอนที่สำคัญที่สุดชื่อว่า
(1) สัตยาเคราะห์
(2) อัคคัญสูตร
(3) อรรถศาสตร์
(4) ภควัทคีตา
ตอบ 4 หน้า 94, (HI 102 เลขพิมพ์ 52058 หน้า 194) มหาภารตะที่ประพันธ์โดยฤาษีวยาสะในยุคมหากาพย์นั้น ถือว่าเป็นคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองที่ยาวที่สุดในโลก และมีตอนที่ สำคัญที่สุดชื่อว่า “ภควัทคีตา” ซึ่งเป็นเรื่องที่ตัดมาจากตอนพระกฤษณะ (เป็นอวตารปางที่ 8 ของพระนารายณ์) ให้คำสอนแก่อรชุนซึ่งเป็นกษัตริย์ตระกูลปาณฑพ (ตัวแทนฝ่ายธรรมะ)ในการทำสงครามกับตระกูลเการพ (ตัวแทนฝ่ายอธรรม) ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน ผลของสงคราม ปรากฏว่าฝ่ายปาณฑพได้รับชัยชนะ
30. อวรรณะในสังคมอินเดีย หมายถึง
(1) พราหมณ์-ปุโรหิต
(2) แพทย์-ไวศยะ
(3) หริชน-ปัญจมะ
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 98 พวกอวรรณะ หมายถึง พวกที่ไม่มีวรรณะสังกัด ซึ่งถือเป็นวรรณะที่ 5 ในสังคมฮินดู ที่โดนดูถูกเหยียดหยามจากพวกสวรรณะ (พวกมีวรรณะสังกัด) ว่าเป็นพวกต่ำช้า เป็นตัวเสนียด เป็นอัปมงคลแก่ผู้ที่ได้พบเห็น และมีฐานะต่ำต้อยกว่าสัตว์เดรัจฉาน โดยพวกอวรรณะจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น จัณฑาล หริชน หินชาติ ปาริหะ ปัญจมะ มาหาร์ อธิศูทร เป็นต้น
31. วรรณคดีเรื่องใดต่อไปนี้ที่แสดงให้เห็นว่า คนไทยได้รู้จักศาสนาเชนมานานแล้ว
(1) รามเกียรติ์
(2) อิเหนา
(3) ขุนช้าง-ขุนแผน
(4) พระอภัยมณี
ตอบ 4 หน้า 103, (คำบรรยาย) ศาสนาเชนแบ่งออกเป็น 2 นิกาย คือ
1. ทิฆัมพร คือ นักบวชเปลือยที่ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ไม่ผูกพันกับสิ่งใด ๆ แม้แต่เสื้อผ้าอาภรณ์ โดยนักบวชเปลือย (ชีเปลือย) นั้นได้ปรากฏในวรรณคดีไทยเรื่องพระอภัยมณี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนไทยรู้จักนิกายนี้ มานานแล้ว
2. เศวตัมพร คือ นักบวชนุ่งขาวห่มขาว (ชีปะขาว) ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในอินเดีย
32. Asoka’s Pillars หมายถึง
(1) เสาหิน
(2) พระพุทธรูปหิน
(3) เสมาธรรมจักร
(4) สถูปอันศักดิ์สิทธิ์
ตอบ 1 หน้า 114-115 ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแหงราชวงศ์โมริยะหรือเมาริยะของอินเดีย ถือว่าเป็นสมัยที่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองสูงสุด โดยทรงมีผลงานที่สำคัญดังนี้
1. ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนาและทรงเป็นพุทธมามกะ
2. ทรงสร้าง Asoka’s Pillars ซึ่งเป็นเสาหินที่จารึกหลักธรรมะของพุทธศาสนาเอาไว้มากมายกระจายอยู่ทั่วอินเดีย
3. ทรงส่งสมณทูตหลายคณะไปเผยแผ่พุทธศาสนาออกนอกอนุทวีปอินเดียเป็นครั้งแรก
4. ทรงทำสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของพุทธศาสนา เช่น เสมาธรรมจักร หมายถึง การแสดงปฐมเทศนา ฯลฯ
33. จุดมุ่งหมายสูงสุดร่วมกันในงานปรัชญาความคิดของอินเดียคือ
(1) แสวงหาความสงบวิเวกเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
(2) ใช้หนทางสันติวิธีในการดำเนินชีวิต
(3) ชี้หนทางของการหลุดพ้นจากสังสารวัฏ
(4) ยึดหลักกาลามสูตรในการดำเนินชีวิต
ตอบ 3 (HI 102 เลขพิมพ์ 52058 หน้า 200) โมกษะ คือ ความหลุดพ้นจากสังสารวัฏหรือวัฎสงสาร (การเวียนว่ายตายเกิด) ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตมนุษย์ตามคติฮินดู และได้กลายเป็น จุดมุ่งหมายสูงสุดร่วมกันในงานปรัชญาความคิดของอินเดีย
34. ยุคทองของอินเดียอยู่ในสมัยใด
(1) คันธาระ
(2) โมริยะ
(3) คุปตะ
(4) โมกุล
ตอบ 3 หน้า 116, 118-120 สมัยคุปตะถือว่าเป็น“ยุคทองของอินเดียโบราณ’’โดยความเจริญ ที่เด่น ๆ ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยนี้ได้แก่
1. มีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เกิดขึ้น เช่น ตักศิลา นาลันทา อะชันตา ฯลฯ
2. เป็นสมัยที่วรรณคดีสันสกฤตเจริญรุ่งเรืองมาก โดยกวีที่สำคัญในสมัยนี้คือ กาลิทาสซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น “เชคสเปียร์แห่งอินเดีย” โดยเป็นผู้แต่งเรื่อง “ศกุนตลา” ซึ่งถือว่าเป็น วรรณกรรมชิ้นเอกของยุค
3. มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นโดยทั่วไป และเป็นต้นแบบของการสร้างพระพุทธรูปใน เอเชียตะวันออก เอเชียอาคเนย์ และไทย ทั้งนี้การสร้างพระพุทธรูปเกิดขึ้นครั้งแรก ในสมัยคันธาระ ในรัชกาลของพระเจ้ากนิษกะ ราชวงศ์กุษาณะ เป็นต้น
35. พระพุทธรูปถกสร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยใด
(1) คันธาระ
(2) โมริยะ
(3) คุปตะ
(4) ปาละ
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 34. ประกอบ
36. บุคคลใดต่อไปนี้คือผู้ที่ได้รับการขนานนามให้เป็นเชคสเปียร์แห่งอินเดีย
(1) รพินทรนาถ ฐากูร
(2) กาลิทาส
(3) เกาฏิลยะ
(4) กฤษณะ วยาสะ
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 34. ประกอบ
37. ราชวงศ์โมกุลเป็นมุสลิมเชื้อสายใด
(1) โมริยะ
(2) มองโกล
(3) คุปตะ
(4) เติร์ก
ตอบ 2 หน้า 122 – 123 ราชวงศ์โมกุลแห่งอินเดียเป็นมุสลิมเชื้อสายมองโกล เพราะถูกตั้งขึ้นมาจากการบุกรุกของพวกมองโกลจากจีน นำโดยทายาทของพระเจ้าเจงกิสข่านชื่อ พระเจ้าไทมูร์ (Timur) ที่บุกเข้าโจมตีจนได้ครองเมืองเดลีในแคว้นปัญจาบ และกวาดต้อนช่างฝีมือตลอดจนผู้คนไปเป็นเชลยสร้างเมืองใหม่ในเปอร์เซียและตุรกี จนกระทั่งในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์โมกุล จึงได้ครอบครองอินเดียจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19
38. พระเจ้าอักบาร์มหาราชทรงนับถือศาสนาอิสลามนิกายใด
(1) ซุนนี
(2) ชีอะ
(3) โมโรส์
(4) ซูฟี
ตอบ 4 หน้า 123 พระเจ้าอักบาร์มหาราชแห่งราชวงศ์โมกุลทรงเป็นมุสลิมโดยกำเนิด โดยทรงมีพระบิดานับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่หรือซุนนี พระมารดานับถือนิกายชีอะ ส่วนพระองค์ ประสูติในอินเดีย จึงทรงนับถือนิกายฃูฟี ซึ่งเป็นศาสนาอิสลามนิกายใหม่ทีเกิดขึ้นในอินเดีย
39. คำกล่าวว่า “ไม่มีพระเจ้าของศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นการเฉพาะ จะมีก็แต่พระเจ้าองค์เดียวที่เป็นพระเจ้า ของมนุษย์ทุกคนเท่านั้น” เป็นแนวความคิดของนักปราชญ์อินเดียท่านใด
(1) คุรุนานัก
(2) มหาวีระ
(3) สิทธัตถะ
(4) อาลี จินนาห์
ตอบ 1 หน้า 131 – 133, (คำบรรยาย) ศาสนาสิกข์เกิดขึ้นในรัฐปัญจาบทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ของอินเดียในปี ค.ศ. 1440ซึ่งผู้ที่ก่อตั้งคือ ท่านกะบีร์โดยมีเป้าหมายที่จะรวมเอาศาสนาฮินดู และศาลนาอิสลามเข้าด้วยกัน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ส่วนผู้ที่ประกาศศาสนานี้อย่างแท้จริง คือ คุรุนานัก ซึ่งได้กล่าวว่า “ไม่มีพระเจ้าของศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นการเฉพาะ จะมีก็แต่ พระเจ้าองค์เดียวที่เป็นพระเจ้าของมนุษย์ทุกคนเท่านั้น” ทั้งนี้ศูนย์กลางของศาสนาสิกข์ จะอยู่ที่สุวรรณริหาร เมืองอมฤตสาร์ รัฐปัญจาบ
40. ในสมัยอาณานิคม อินเดียเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบอะไรสำหรับป้อนการพัฒนาอุตสาหกรรมในโลกตะวันตก
(1) ดีบุก
(2) ฝ้าย
(3) ยางพารา
(4) นํ้ามันดิบ
ตอบ 2 หน้า 147, (คำบรรยาย) ในขณะที่อินเดียอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษนั้น อังกฤษได้พัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอในอินเดีย และส่งเสริมให้มีการค้าขายที่เป็นสากล ซึ่งส่งผลให้อินเดีย กลายเป็นแหล่งผลิตฝ้ายสำหรับป้อนการพัฒนาอุตสาหกรรมในโลกตะวันตก
41. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ระหว่างมหาสมุทรใด
(1) Indian-Atlantic
(2) Indian-Antractic
(3) Indian-Pacific
(4) Andaman-South China
ตอบ 3 หน้า 360 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยดินแดน 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ บริเวณที่เป็นแผ่นดินใหญ่และบริเวณหมู่เกาะ ซึ่งดินแดนทั้งสองส่วนนี้เปรียบเสมือนกำแพงที่แบ่ง มหาสมุทรอินเดีย (Indian) และมหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific) ออกจากกัน
42. ข้อใดคืออาณาจักรแห่งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ถูกระบุในเอกสารจีน
(1) ฟูนัน
(2) จามปา
(3) เจนละ
(4) เสียน
ตอบ 1 หน้า 361, 367, 372 ตามจดหมายเหตุของจีนได้บันทึกไว้ว่า ฟูนันเป็นอาณาจักรแรกและ เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยตั้งขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 1-6 นอกจากนี้ ยังถือว่าเป็นอาณาจักรแรกที่ส่งเครื่องราชบรรณาการให้กับจีนในสมัยราชวงค์จิ๋น มีเมืองออกแก้ว เป็นศูนย์กลางการค้าทางบกแห่งแรกบริเวณปากแม่นํ้าโขง และเป็นอาณาจักรแรกที่รับเอา วัฒนธรรมอินเดียเข้ามาสร้างความเจริญให้กับตน
43. ข้อใดคือศูนย์กลางการค้าทางทะเลแห่งแรก
(1) ออกแก้ว
(2) ปาเล็มบัง
(3) มะละกา
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 361 ในคริสต์ศตวรรษที่ 6 เมืองปาเล็มบังของอาณาจักรศรีริชัยถือว่าเป็นศูนย์กลาง การค้าทางทะเลแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เมืองมะละกา ในช่องแคบมะละกาได้กลายเป็นศูนย์กลางการค้าทางทะเลที่สำคัญและเป็นเมืองท่าจอดพักเรือ ของชาติตะวันตกและชาติต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้
44. ใครคือคนกลุ่มแรกๆ ที่ถ่ายทอดความรู้ความเชื่อแบบพราหมณ์-ฮินดูแก่ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(1) พราหมณ์
(2) พ่อค้า
(3) นักรบ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 363 กลุ่มคนที่มีบทบาทในการนำเอาวัฒนธรรมอินเดียมาเผยแพร่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ พวกพราหมณ์ พระ และพ่อค้าชาวอินเดีย โดยพวกพราหมณ์และพระถือว่าเป็นคนกลุ่มแรก ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ความเชื่อแบบพราหมณ์-ฮินดู ให้แก่ บระชาชนในภูมิภาคนี้ ส่วนพวกพ่อค้าได้นำเอาวัฒนธรรมทางการค้า ภาษาและชีวิตความเป็นอยู่ ของอินเดียเข้ามาเผยแพร่
45. ตามหลักการปกครองที่รับมาจากอินเดีย ใครคือผู้มีอำนาจเป็นอันดับสองรองจากกษัตริย์
(1) กรมพระราชวังบวร
(2) พระบรมโอรสาธิราช
(3) เอกอัครมเหสี
(4) สมฺหนายก
ตอบ 4 หน้า 364 รูปแบบการปกครองแบบศักดินาที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รับมาจากอินเดียแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
1. ตำแหน่งประมุขสูงสุด คือ กษัตริย์
2. ตำแหน่งรองจากกษัตริย์ คือ อัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน ซึ่งได้แก่ สมุหกลาโหมและสมุหนายก
3. ตำแหน่งรองจากอัครมหาเสนาบดี คือ จตุสดมภ์ กรมเวียง กรมวัง กรมคลัง กรมนา
4. ส่วนหัวเมือง แบ่งออกเป็นหัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก และหัวเมืองประเทศราช
46. สินแร่ประเภทใดในบริเวณภาคพื้นทวีปที่ได้รับความสนใจจากพ่อค้าชาวอินเดียมากที่สุด
(1) ทองคำ
(2) เงิน
(3) ดีบุก
(4) ตะกั่ว
ตอบ 1 หน้า 363 สาเหตุที่พ่อค้าชาวอินเดียเดินทางเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นจำนวนมากนั้น เนื่องจากต้องการสินค้าพื้นเมืองและแร่ทองคำจากดินแดนสุวรรณภูมิ
47. พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ทรงรวบรวมอาณาจักรเจนละบก-นํ้า เข้าด้วยกันเป็นอาณาจักรใหม่คือ
(1) พุกาม
(2) ชวา
(3) กัมพูชา
(4) มอญ
ตอบ 3 หน้า 374 พวกเขมรได้รวมตัวเป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่งในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ซึ่งพระองค์ทรงได้ยกทัพขึ้นมายึดครองอาณาจักรเจนละได้สำเร็จ และได้รวมเจนละบก และเจนละน้ำเข้าด้วยกัน โดยให้ชื่อใหม่ว่า “อาณาจักรกัมพูชา”
48. การสร้างอาณาจักรขนาดใหญ่โตมโหฬารของกัมพูชา ถือว่าเป็นการเลียนแบบอาณาจักรของเทพเจ้าองค์ใด
(1) พระพรหม
(2) พระอิศวร
(3) พระนารายณ์
(4) พระอินทร์
ตอบ 2 หน้า 374 จากคติความเชื่อในลัทธิเทวราชา ทำให้อาณาจักรกัมพูชานิยมสร้างสิ่งก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่โตมโหฬารเพื่อเลียนแบบที่ประทับของพระอิศวร (พระศิวะ) หรือการสร้างเทวสถาน เพื่อประดิษฐานศิวลึงค์ ทำให้ต้องมีการเกณฑ์แรงงานคนมาใช้ในการก่อสร้าง ซึ่งเป็นการควบคุม ประชาชนและทำให้ประชาชนรับทราบในพระราชอำนาจของกษัตริย์
49. พื้นที่ซึ่งเคยเป็นอาณาจักรจามปาในอดีต ปัจจุบันอยู่ในประเทศ
(1) เมียนมาร์
(2) ลาว
(3) เวียดนาม
(4) กัมพูชา
ตอบ 3 หน้า 372 – 373 อาณาจักรจามปาหรือสินยี่ ตั้งอยู่ในบริเวณเว้ของประเทศเวียดนามในปัจจุบัน อาณาจักรนี้ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดีย โดยมีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณกวางนำซึ่งมีชื่อเรียก เป็นภาษาอินเดียว่า “อมราวดี” และมีการปกครองแบบเทวราชา
50. หลักฐานประเภทจารึกที่พบบริเวณคาบสมุทรและหมู่เกาะ ส่วนใหญ่ถูกจารึกเป็นภาษาใด
(1) บาลี
(2) สันสกฤต
(3) ชวา
(4) อาหรับ
ตอบ 2 หน้า 378, (คำบรรยาย) ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 – 15 เป็นต้นมา อาณาจักรในคาบสมุทรมลายู และหมู่เกาะจะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางวัฒนธรรมและคติความเชื่อตามแบบศาสนาอิสสาม และศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมอินเดียอิกมากมาย ซึ่งจะเห็นได้จากการพบหลักฐานประเภทจารึกที่มีการบันทึกด้วยภาษาสันสกฤตในเกาะบอร์เนียว และเกาะชวา รวมทั้งยังพบพระพุทธรูปแบบอมราวดีในเกาะสุมาตราอีกด้วย
51. ประเทศใดต่อไปนี้รับอิทธิพลแบบพุทธเถรวาทลังกาวงศ์และศาสนาอิสลามน้อยที่สุด
(1) ไต้หวัน, ลาว
(2) ฮ่องกง, มาเลเซีย
(3) บรูไน, สิงคโปร์
(4) เวียดนาม, ฟิลิปปินส์
ตอบ 4 หน้า 361 – 362, 368 – 369, 389 – 390 เวียดนามเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีน ดังนั้นจึงมีการนับถือลัทธิขงจื๊อตามแบบจีน และนับถือ พุทธคาสนานิกายมหายาน ส่วนประเทศฟิลิปปินส์ก่อนการสำรวจของสเปนจะอยู่ในสภาพ ล้าหลังทางวัฒนธรรม ดังนั้นจึงแทบไม่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนและอินเดียเลย เว้นแต่ทางตอนใต้ของเกาะมินดาเนาเท่านั้นที่ได้รับอิทธิพลของศาสนาอิสลามเรียกว่า “พวกโมโรส์” (Moros) การปกครองจะกระจัดกระจายเป็นหมู่บ้าน (Barangay) มีหัวหน้าหมู่บ้าน ที่เรียกว่า “ดาตู” (Datu) เป็นผู้ดูแล และปกครองในระบบเครือญาติ
52. ข้อใดคือลักษณะของโปรตุเกส
(1) ตั้งสถานีการค้าพร้อมค่ายทหารตามเมืองท่า
(2) เผยแพร่ความรู้ทางด้านคริสต์ศาสนาผ่านชนชั้นนำ
(3) ตั้งบริษัทการค้าเพื่อค้าขายกับชาวพื้นเมืองโดยตรง
(4) เข้ามาเจรจาขอทำสนธิสัญญาค้าขายโดยเสรี
ตอบ 1 หน้า 387 – 389 ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เป็นผู้นำด้าน การเดินเรือเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้สำเร็จ โดยในปี ค.ศ. 1511 โปรตุเกสสามารถ ทำสงครามยึดเมืองมะละกาได้สำเร็จ จากนั้นจึงตั้งสถานีการค้าแห่งแรกขึ้นที่เมืองนี้ และ ตั้งป้อมค่ายทหารเพื่อสร้างอิทธิพลทางการเมือง
53. สเปนได้ชื่อว่าประสบความสำเร็จเหนือชาติอื่นใดทั้งหมดในยุโรปทางด้านใด
(1) การทำมาค้าขาย
(2) การจัดระเบียบการปกครอง
(3) การเผยแผ่ศาสนา
(4) ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี
ตอบ 3 หน้า 390 การเผยแผ่คริสต์ศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประสบความสำเร็จสูงสุดใน ประเทศฟิลิปปินส์ โดยการเผยแผ่คริสต์ศาสนาของสเปนในฟิลิปปินส์นั้นจะไม่ใช้วิธีการบังคับ ข่มขู่ให้คนพื้นเมืองหันมานับถือ แต่จะให้คณะมิชชันนารีออกไปเผยแผ่ศาสนาโดยชักจูงโน้มน้าว ให้คนพื้นเมืองกลับใจมารับนับถือพระเยซูคริสต์แทนภูตผีต่าง ๆ เอง ซึ่งวิธีนี้ทำให้สเปน ประสบความสำเร็จในการเผยแผ่คริสต์ศาสนามากกว่าชาติยุโรปอื่น ๆ ที่เข้ามาในภูมิภาคนี้
54. ฟิลิปปินส์ก่อนที่จะถูกสเปนครอบครอง มีรูปแบบการปกครองในลักษณะใด
(1) เทวราชา
(2) จักรพรรดิราช
(3) โองการสวรรค์
(4) เครือญาติ
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 51. ประกอบ
55. สินค้าประเภทลูกจันทน์, กระวาน, กานพลู ฯลฯ เรียกรวมๆ กันในภาษาอังกฤษว่า
(1) Spices
(2) Herbs
(3) Relish
(4) Ingredient
ตอบ 1 หน้า 390 – 391, (คำบรรยาย) นโยบายสำคัญของฮอลันดาในระยะแรกที่เข้ามาขยายอำนาจ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะในแถบหมู่เกาะอินโดนีเซียก็คือ มุ่งทำการค้าด้วยการ ผูกขาดการค้าเครื่องเทศ โดยได้เข้ามาผูกขาดการรับซื้อผลิตผลทางการเกษตรที่เป็นเครื่องเทศ (Spices) เช่น ลูกจันทน์ กระวาน กานพลู พริกไทย อบเชย ฯลฯ จากคนพื้นเมืองไว้แต่เพียงผู้เดียว
56. Culture System ที่ฮอลันดานำมาใช้ในอินโดนีเซีย หมายถึง
(1) การบริหารแผ่นดินผ่านระบบราชการ
(2) การค้าขายแบบใหม่ที่ทันสมัย
(3) การซื้อขายสินค้าผ่านตัวแทนบริษัท
(4) การบังคับชาวพื้นเมืองปลูกพืชไร่ขนาดใหญ่
ตอบ 4 หน้า 400 ในปี ค.ค. 1830 รัฐบาลฮอลันดาได้นำระบบบังคับการเพาะปลูก (Culture System) เข้ามาใช้ในอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นการบังคับให้ชาวพื้นเมืองปลูกพืชไร่ขนาดใหญ่ตามที่รัฐบาลกำหนด เช่น อ้อย ยาสูบ กาแฟ ฯลฯ โดยผ่านทางสุลต่าน ทั้งนี้ชาวพื้นเมืองไม่ต้องเสียภาษีที่ดินเป็นเงิน แต่เสียเป็นผลผลิตแทน ส่วนที่เหลือต้องขายให้แก่รัฐบาล
57. อังกฤษขยายอำนาจเข้ามาคุมพื้นที่บริเวณ Malaca หลังโปรตุเกสหมดอำนาจแล้วผ่านเมืองใด
(1) Singapore
(2) Jakarta
(3) Jambi
(4) Palembang
ตอบ 1 หน้า 392 – 393 อังกฤษได้ขยายอำนาจเข้ามาในมลายู หลังจากที่โปรตุเกสหมดอำนาจลงแล้ว โดยในขั้นแรกนั้นอังกฤษได้ขอเช่าเกาะปีนังจากพระยาไทรบุรีในปี ค.ศ. 1781 เพื่อตั้งเป็น สถานีการค้าและฐานทัพเรือแห่งแรกในบริเวณช่องแคบมะละกา (Malaca) นอกจากนี้อังกฤษ ยังได้ขอเช่ามณฑลเวลสเลย์ เกาะสิงคโปร์ (Singapore) และได้แลกเปลี่ยนเมืองท่าเบนดูเลน ของอังกฤษบนเกาะสุมาตรากับมะละกาของฮอลันดา ทำให้อังกฤษมีอิทธิพลในช่องแคบมะละกา อย่างสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1824 นั่นคือ คุมปีนังตอนบนและสิงคโปร์ตอนล่าง ทำให้สิงคโปร์ กลายเป็นเมืองท่าเสรี และมีเรือจากชาติต่าง ๆ เข้ามาจอดค้าขายมากมาย
58. ข้อใดคือลักษณะที่ฝรั่งเศสเปิดโอกาสให้ชาวเวียดนามเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองสมัยอาณานิคม
(1) เลือกตัวแทนจากหมู่บ้าน
(2) เลือกตัวแทนจากอาชีพต่าง ๆ
(3) ใช้ระบบพรรคการเมือง
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 403 – 404 การปกครองของฝรั่งเศสในอินโดจีนนั้นจะใช้การปกครองทางอ้อม โดยนำนโยบายผสมกลมกลืน (Assimilation) มาใช้ ทั้งนี้ฝรั่งเศสแทบจะไม่เปิดโอกาสให้ชาวพื้นเมือง เข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองเลย โดยฝรั่งเศสจะแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของตนเข้าไปปกครอง นอกจากนี้ชาวพื้นเมืองยังไม่มีสิทธิเป็นผู้แทนในสภานิติบัญญัติ ยกเว้นโคชินไชน่าของเวียดนาม เพียงแคว้นเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งผู้แทนไปร่วมประชุมสภานิติบัญญัติในฝรั่งเศสได้ และผู้แทนจะต้องมีคุณสมบัติตามที่ฝรั่งเศสกำหนดด้วย
59. ประเทศใดต่อไปนี้ถูกฝรั่งเศสผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพอินโดจีนหลังสุด
(1) เมียนมาร์
(2) เวียดนาม
(3) ลาว
(4) กัมพูชา
ตอบ 3 หน้า 398 – 399, 433 สหภาพอินโดจีนของฝรั่งเศส (Indo China Union) ในปัจจุบัน หมายถึง ประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ กัมพูชา (เขมร) เวียดนาม และลาว โดยฝรั่งเศสได้รวมเอาเขมร และเวียดนามทั้ง 3 ภาคเข้าไว้ในสหภาพในปี ค.ค. 1887 และได้รวมลาวเข้าไว้ในสหภาพเป็นลำดับสุดท้ายในปี ค.ศ. 1893
60. ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับเอกราชในช่วงไหน
(1) ช่วงปลายรัชกาลที่ 5
(2) ช่วงปลายคริสต์คดวรรษที่ 19
(3) ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
(4) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
ตอบ 3 หน้า 405 ความรู้สึกชาตินิยมและความรู้สึกตื่นตัวเรื่องความเป็นเอกราชของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกได้เริ่มขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 และมาได้รับเอกราชภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20) ซึ่งแต่ละประเทศ จะมีการดำเนินการทั้งที่คล้ายคลึงกันและต่างกันตามพื้นฐานทางวัฒนธรรม และการปกครองของเมืองแม่
61. ในอียิปต์โบราน ผู้ช่วยของฟาโรห์ที่ทำหน้าที่จดสำมะโนครัวและสำรวจภาษีรายได้คือใคร
(1) วิเซียร์
(2) ข้าหลวง
(3) อาลักษณ์
(4) พระ
ตอบ 1 หน้า 10 วิเซียร์ (Vizier) เป็นผู้ช่วยคนที่สำคัญที่สุดของฟาโรห์ ซึ่งมีหน้าที่ปฎิบัติภารกิจต่าง ๆ แทนฟาโรห์อยู่ในเมืองหลวง โดยจะดูแลการปกครองภายใน การจดและสำรวจสำมะโนครัว การสำรวจภาษีรายได้ การเกษตร การชลประทาน และการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ
62. ตัวอย่างประติมากรรมของอียิปต์
(1) สุสาน
(2) พีระมิด
(3) วิหารอาเมน มุท คอนซู
(4) สฟิงซ์
ตอบ 4 หน้า 11-12, (คำบรรยาย) งานด้านประติมากรรมที่มีชื่อเสียงของอียิปต์โบราณ คือ สฟิงซ์ (Sphinx) ซึ่งเป็นรูปแกะสลักหินขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเป็นรูปครึ่งคนครึ่งสัตว์ โดยมีส่วนศีรษะ เป็นมนุษย์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพระพักตร์ของฟาโรห์ ส่วนลำตัวจะเป็นสิงโตและหันหน้าไปทาง ทิศตะวันออก ปกติแล้วสฟิงซ์จะหมอบอยู่ด้านหน้าพีระมิด เพื่อทำหน้าที่เฝ้าศพและสมบัติของฟาโรห์ที่บรรจุไว้ในพีระมิด
63. ผลงานเด่นของฟาโรห์อเมเนมเฮท (Amenemhet)
(1) สร้างความมั่นคงให้อาณาจักรอียิปต์โดยทำลายอำนาจของขุนนาง
(2) สร้างศิลาจารึกโรเซตตา
(3) รวมอียิปต์สูงและอียิปต์ต่ำเข้าด้วยกัน
(4) ขยายดินแดนไปถึงปาเลสไตน์และเอธิโอเปีย
ตอบ 1 หน้า 9, (คำบรรยาย) ในสมัยอาณาจักรกลางของอียิปต์ ฟาโรห์อเมเนมเฮท (Amenemhet)ทรงยึดอำนาจคืนมาจากพวกขุนนางได้สำเร็จ โดยได้รับความช่วยเหลือจากประชาชน จึงทรงตอบแทนโดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองด้วยการให้เข้ารับราชการ ซึ่งถือว่า เป็นสมัยเริ่มต้นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของอียิปต์ นอกจากนี้ยังเป็นสมัยที่อียิปต์ เจริญรุ่งเรืองมากทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ศิลปกรรม และวรรณคดี จนเรียกได้ว่าเป็น “ยุคทอง ของอียิปต์” เลยทีเดียว
64. มรดกทางวัฒนธรรมของอียิปต์โบราณที่ทิ้งไว้ให้โลกรู้จัก
(1) เชื่อในมนุษยนิยม
(2) ดำรงชีวิตปัจจุบันให้ดีที่สุด
(3) ความเชื่อในชีวิตเป็นอมตะ
(4) บ้านสำคัญกว่าวัด
ตอบ 3 หน้า 11 ชาวอียิปต์โบราณเป็นชนกลุ่มแรกที่มีความเชื่อในเรื่องวิญญาณเป็นอมตะ วันพิพากษาและโลกหน้ามีจริง จึงทำให้นิยมฝังศพคนตายไปพร้อมๆ กับข้าวของเครื่องใช้และอาหาร ส่วนร่างกายจะเก็บรักษาไว้ไม่ให้เน่าเปื่อยด้วยการทำเป็นมัมมี่ และมีการสร้างสุสานไว้เก็บศพ สำหรับฟาโรห์ก็จะมีการสร้างพีระมิดไว้เก็บพระศพด้วย
65. นักโบราณคดีผู้ศึกษาและอ่านอักษรเฮียโรกลิฟิกของอียิปต์ได้สำเร็จเป็นท่านแรก
(1) Herodotus
(2) Francois Champotlion
(3) Hobson
(4) Francis Bacon
ตอบ 2 หน้า 9, (HI 102 เลขพิมพ์ 52058 หน้า 18) ในปี 1822 B.C. ฟรองซัวส์ ของโปลิยอง(Francois Champollion) นักโบราณคดีและนักภาษาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส สามารถตตีความ ในแผ่นศิลาจารึกโรเซตตา (Rosetta stone) ซึ่งจารึกด้วยอักษรเฮียโรกลิฟิก เดโมติก และกรีกโบราณได้สำเร็จเป็นท่านแรก จึงทำให้นักประวัติศาสตร์รุ่นต่อมาได้ทราบว่าอียิปต์ ในสมัยราชวงศ์ถูกแบ่งออกเป็น 3 สมัยย่อย ได้แก่ สมัยอาณาจักรเก่าหรือสมัยพีระมิด สมัยอาณาจักรกลาง และสมัยอาณาจักรใหม่หรือสมัยจักรวรรดิ
66. หลักการลงโทษแบบสนองตอบปรากฏเป็นครั้งแรกในกฎหมายใด
(1) สุเมเรียน
(2) ฮัมมูราบี
(3) สิบสองโต๊ะ
(4) จัสติเนียน
ตอบ 1 หน้า 17 – 18 กฎหมายของสุเมเรียนจะเป็นกฎหมายแบบสนองตอบ หมายความว่าใครทำผิดอย่างไรต้องได้รับการลงโทษอย่างนั้น ต่อมาหลักการดังกล่าวได้กลายเป็นรากฐาน ของประมวลกฎหมายฮัมมูราบีของพวกอะมอไรท์ ซึ่งยังคงมิอิทธิพลอยู่ในดินแดนแถบเอเชียตะวันตกจนถึงปัจจุบัน
67. “ซิกกูแรต” เป็นสิ่งก่อสร้างบนฐานที่ยกสูง ข้างบนทำเป็นวิหารของเทพเจ้า เป็นผลงานของชนชาติใด
(1) เอเธนส์
(2) สปาร์ตา
(3) สุเมเรียน
(4) โรมัน
ตอบ 3 หน้า 17, (คำบรรยาย) ความเจริญของชนชาติสุเมเรียนมีหลายด้านดังนี้
1. เป็นกลุ่มชนที่ ประดิษฐ์ตัวอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) หรือตัวอักษรรูปลิ่มขึ้นเมื่อประมาณ 3,500 B.C. โดยใช้ต้นอ้อแห้งหรือเหล็กแหลมกดลงบนแผ่นดินเหนียวแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง
2. มีการสร้างสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ด้วยอิฐ ที่เด่นคือ ซิกกูแรต (Ziggurat) ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้าง เพื่อคาสนาที่มีลักษณะคล้ายกับพีระมิด สร้างบนฐานที่ยกสูงจากระดับพื้นดิน ข้างบนทำเป็น วิหารของเทพเจ้า โดยมีบันไดทอดยาวขึ้นไป ฯลฯ
68. ความหมายของ “Satrapy”
(1) เทพเจ้าแห่งภูเขาไฟ
(2) ข้าหลวงโรมัน
(3) หน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นของเปอร์เซีย
(4) เทพเจ้าของพวกสุเมเรียน
ตอบ 3 หน้า 21 ในสมัยพระเจ้าดาริอุสมหาราช ได้ทรงปรับปรุงหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นของเปอร์เซียให้เป็นระเบียบโดยทรงแบ่งจักรวรรดิออกเป็นมณฑล เรียกว่า “แซแทรปปี” (Satrapy) มีผู้ว่าราชการปกครองซึ่งมีอำนาจสิทธิขาดเท่ากับกษัตริย์เรียกว่า “แซแทรป” (Satrap) โดยจะขึ้นตรงต่อกษัตริย์ และดูแลกิจการทุกอย่างภายในมณฑล ยกเว้นการทหาร
69. ดินแดนใดในยุคโบราณที่ได้ชื่อว่ามีระบบไปรษณีย์ดีที่สุด
(1) เปอร์เซีย
(2) กรีก
(3) โรมัน
(4) บาบิโลเนีย
ตอบ 1 (คำบรรยาย) ดินแดนเปอร์เซียในยุคโบราณนั้นได้ชื่อว่ามีระบบไปรษณีย์ดีที่สุด โดยจะเห็นได้จากบทความของเฮโรโดตัส นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก ซึ่งได้เขียนวิจารณ์ถึงระบบไปรษณีย์ ของเปอร์เซียเอาไว้ว่า “ไม่ว่าหิมะ ฝน ความร้อน หรือความมืดในยามค่ำคืนก็ไม่อาจที่จะหยุด บรุษไปรษณีย์เหล่านี้จากการเดินทางส่งไปรษณีย์จนครบตามกำหนดที่ได้รับมอบหมายเอาไว้”
70. ชนชาติใดในยุคโบราณได้ชื่อว่าสามารถดำรงความศรัทธาร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้โดยไม่จำเป็น ต้องมีเอกภาพทางการเมือง
(1) สุเมเรียน
(2) อัคเคเดียน
(3) ฟินิเชียน
(4) ฮิบรู
ตอบ 4 หน้า 20 – 21, (คำบรรยาย) ชาวฮิบรูหรือยิว เป็นชนเผ่าเซเมติกเร่ร่อนที่อาศัยอยู่ในเมโสโปเตเมีย ต่อมาในขณะที่ชาวฮิบรูกำลังเดินทางจากอียิปต์เพื่อเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนคานานหรือ ปาเลสไตน์นั้นโมเสสผู้นำฮิบรูซึ่งเป็นผู้วางรากฐานของการก่อตั้งชาติฮิบรูและศาสนายูดาห์ได้มอบบทบัญญัติ 10 ประการให้แก่ฮิบรู เพื่อเตืยนให้ชาวฮิบรูทำความดี รักใคร่สามัคคีกัน และยึดมั่นในพระเจ้าองค์เดียว คือ พระยะโฮวา ดังนั้นชาวฮิบรูในยุคโบราณจึงได้ชื่อว่าเป็นชาติที่สามารถ ดำรงความศรัทธาร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้โดยไม่จำเป็นต้องมีเอกภาพทางการเมือง
71. ข้อใดเป็นสถาปัตยกรรมของกรีก
(1) วิหารพาร์เธนอน
(2) ลวนลอยฟ้า
(3) ประตูชัยทราจัน
(4) ถูกทุกข้อ
ตบบ 1 (ค่าบรรยาย) สถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงของกรีก คือ มหาวิหารพาร์เธนอน (Parthenon) บนยอดอะโครโพลิสในเอเธนส์ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นของเทวีอเธนา (เทพีประจำกรุงเอเธนส์) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นสถาปัตยกรรมของกรีกที่งดงามที่สุดตามอุดมคติของชาวกรีก
72. หนึ่งในคณะนายพลทั้ง 10 ของเอเธนส์ที่มีความสามารถสูงและได้รับเลือกตั้งหลายสมัย
(1) Solon
(2) Plato
(3) Pericles
(4) Peisistratus
ตอบ 3 หน้า 34 ในสมัยเพริคลิส (Pericles) เป็นสมัยที่ประชาธิปไตยของเอเธนส์เจริญสูงสุด โดยสภาประชาชนจะมีสิทธิออกกฎหมาย เพื่อเพิ่มอำนาจในการให้สัตยาบันหรือปฏิเสธข้อเสนอ ของสภาขุนนางได้ และเป็นช่วงที่สถาบันการปกครองที่เรียกว่า “คณะนายพลทั้ง 10”(Board of Ten Generals) เริ่มเข้ามามีบทบาท ซึ่งคณะนายพลจะถูกเลือกโดยพิจารณาจาก ความสามารถโดยสภาประชาชนให้อยู่ในตำแหนง 1 ปี และอาจได้รับเลือกเข้ามาใหม่อีกโดย ไม่มีกำหนด ทั้งนี้เพริคลิสได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าของคณะนายพลทั้ง 10 เป็นเวลา นานกว่า 30 ปี
73. บทละครของกรีกที่เสนอภาพของความไร้สาระ ไม่เป็นแก่นสารของมนุษย์
(1) Classic
(2) Romantic
(3) Tragedy
(4) Comedy
ตอบ 4 หน้า 39 – 40 การละครของกรีกมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่
1. ละครโศกนาฏกรรม (Tragedy) เป็นยอดละครของกรีกที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกันศาสนา นั่นคือ งานฉลองเทพเจ้าไดโอนิซุส เทพเจ้า แห่งเหล้าองุ่น
2. ละครสุขนาฏกรรม (Comedy) มักจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการล้อเลียนบุคคล ที่มีชื่อเสียง โดยเฉพาะนักการเมืองแสะความไร้สาระไม่เป็นแก่นสารของมนุษย์
74. ชาวกริกเรียกนครรัฐของพวกเขาว่าอย่างไร
(1) City
(2) Town
(3) State
(4) Polis
ตอบ 4 หน้า 27 – 28 การปกครองของกริกจะมีลักษณะเป็นแบบนครรัฐ (City-State) หรือที่เรียกว่า “Polis” ซึ่งเน้นถึงการพึ่งพาตนเองและสนใจแต่กิจการภายในรัฐของตน โดยแต่ละนครรัฐ จะประกอบด้วยบริเวณป้อมที่เรียกว่า “อะโครโปลิส” (Acropolis) ซึ่งจะใช้เป็นที่ประชุมและ เป็นศูนย์กลางทางศาสนา
75. คำว่า “พลเมือง” (Citizens)ในนครรัฐของกรีกมีความหมายอยางไร
(1) สิทธิในการเลือกอาชีพ
(2) สิทธิทางการเมือง
(3) ความเท่าเทียมทางสังคม
(4) สิทธิในการเลือกคู่ครอง
ตอบ 2 (HI 101 (H) เลขพิมพ์ 57081 หน้า 38) คำว่า “พลเมือง” (Citizens) ของแต่ละนครรัฐของกริกจะมีสิทธิ ดังนี้
1. เป็นผู้มีสิทธิและมีส่วนที่จะประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
2. เป็นผู้มีสิทธิและมีส่วนร่วมทางการเมือง
3. เป็นผู้มีส่วนในการต่อสู้เพื่อป้องกันนครรัฐ
76. สาเหตุของสงครามเพลอพอเนเชียนในช่วง 431 – 404 ก่อนคริสต์ศักราช
(1) เปอร์เซียต้องการมีอำนาจเหนือสปาร์ตา
(2) เปอร์เซียต้องการมีอำนาจเหนือเอเธนส์
(3) ความเห็นไม่ตรงกันระหว่างเอเธนส์และสปาร์ตาในการวางแผนเพื่อล้มอำนาจเปอร์เซีย
(4) ความแตกต่างระหว่างเอเธนส์และสปาร์ตา ทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายมีความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน
ตอบ 4 หน้า 35 สงครามเพลอพอเนเชียน (The Petoponesian War) เป็นสงครามระหว่างนครรัฐ เอเธนส์กับสปาร์ตาที่เกิดขึ้นในช่วง 431 – 404 ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งมีสาเหตุโดยเริ่มจากการ ที่นครรัฐต่างๆ ของกรีกได้ร่วมกันจัดตั้ง “สหพันธ์แห่งเกาะเดลอส” (The Confederation of Delos) ขึ้นมา เพื่อป้องกันการรุกรานจากเปอร์เซีย และใช้เป็นศูนย์กลางในการเก็บสมบัติของ สมาชิก แต่ในความเป็นจริงแล้วการจัดตั้งสหพันธ์นี้กลับเอื้อให้เอเธนส์เป็นผู้นำที่มีอิทธิพลสูงสุด ซึ่งต่อมาสหพันธ์ก็เปลี่ยนสภาพมาเป็นจักรวรรดิของเอเธนส์ สวนนครรัฐอื่น ๆ ก็ถูกลดฐานะ ให้เป็นเพียงรัฐบริวารเท่านั้น ทำให้สปาร์ตาเกิดความหวาดระแวงและกลัวว่าเอเธนส์จะเป็นผู้นำของกรีกทั้งหมด ด้วยเหตุนี่จึงเป็นชนวนที่ทำให้เกิดสงครามระหว่างพวกกรีกด้วยกันในที่สุด
77. ข้อใดถูกต้องในเรื่องของตำแหน่งผู้เผด็จการทางทหาร (Dictator) ของโรมัน
(1) มีอำนาจสูงสุดในจักรวรรดิโรมัน
(2) สภาสามัญเป็นผู้เลือกและเห็นชอบ
(3) เป็นตำแหน่งที่เกิดขึ้นเพราะความจำเป็นจากสภาพที่กษัตริย์ไร้ความสามารถ
(4) เกิดขึ้นในยามที่บ้านเมืองมีเหตุร้ายเร่งต่วน และจะสลายไปเมื่อเหตุการณ์กลับสู่ภาวะปกติ
ตอบ 4 หน้า 49 รูปแบบการปกครองในสมัยสาธารณรัฐโรมันตอนต้น ประกอบด้วย
1. สภาขุนนางหรือสภาซีเนท (Senate) เป็นสถาบันทางการเมืองที่สำคัญที่สุด ส่วนใหญ่มาจากพวกแพทริเชียน
2. กงสุล (Consul) เป็นประมุขของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร ซึ่งมี 2 คน
3. ผู้เผด็จการทางทหาร (Dictator) เป็นตำแหน่งที่เกิดขึ้นเฉพาะในยามที่บ้านเมืองมีเหตุร้าย เร่งด่วนหรือในยามสงคราม และจะสลายไปเมื่อเหตุการณ์กลับสู่ภาวะปกติ
4. สภาสามัญ (Centuriate Assembly) ทำหน้าที่ในการเลือกกงสุลและเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร ทุกตำแหนง แต่ไม่มีสิทธิที่จะเข้ารับตำแหน่งนั้น ๆ
78. ยุครุ่งเรืองของจักรวรรดิโรมัน ปกครองประชาชนหลายเชื้อชาติโดยใช้อะไรเป็นเครื่องมือสำคัญ
(1) กองทัพประจำการ
(2) การตรวจสอบ
(3) การลงโทษ
(4) ภาษาและกฎหมาย
ตอบ 4 หน้า 61 โรมันมีพัฒนาการการปกครองในรูปแบบสาธารณรัฐและจักรวรรดิตามลำดับ โดย จักรวรรดิโรมันจะมีอาณาบริเวณที่กว้างใหญ่ไพศาลมาก และสามารถปกครองประชาชนหลาย เชื้อชาติให้อยู่รวมกันได้โดยใช้ภาษาและกฎหมายเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน
79. สถาปัตยกรรมของโรมัน
(1) โคลอสเซียม
(2) ประตูชัยทราจัน
(3) บาซิลิกา
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คำบรรยาย) ผลงานทางด้านสถาปัตยกรรมเด่น ๆ ของโรมัน ได้แก่
1. บาซิลิกา (Basilica) เป็นสิ่งก่อสร้างสาธารณะของโรมันโบราณ
2. แอมพิเธียเตอร์หรือสนามกีฬาโคลอสเซียม
3 ประตูชัยรูปโค้งที่เด่นๆ เช่น ประตูชัยของจักรพรรดิทราจัน (Trajan)
4 สะพานและท่อลำเลียงนํ้า
80. กฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของโรมัน
(1) ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี
(2) กฎหมายสุเมเรียน
(3) กฎหมายสิบสองโต๊ะ
(4) กฎแห่งพระเจ้า
ตอบ 3 หน้า 50, 58, (HI 101 เลขพิมพ์ 53214 หน้า 161) ในสมัยสาธารณรัฐโรมันตอนต้นพวกพลีเบียนได้เรียกร้องให้พวกแพทริเชียนร่างกฎหมายของโรมันเป็นลายลักษณ์อักษรขึ้น เป็นครั้งแรกเมื่อปี 449 B.C. โดยมีการจารึกลงบนแผ่นทองแดง 12 แผ่น แล้วนำไปติดที่ฟอรัม เพื่อประกาศให้ราษฎรทุกคนทราบเรียกว่า “กฎหมายสิบสองโต๊ะ” (Law of the Twelve Tables)
81. ศาสนาโรมันคาทอลิกใช้ภาษาใดเป็นภาษาราชการ
(1) อังกฤษ
(2) ฝรั่งเศส
(3) กรีก
(4) ละติน
ตอบ 4 หน้า 205 ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ศาสนาคริสต์ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 นิกาย ได้แก่
1. นิกายโรมันคาทอลิก (ภาคตะวันตก) มีประมุขสูงสุดคือ สันตะปาปา (Pope) มีศูนย์กลาง อยู่ที่กรุงโรม ใช้ภาษาละติน และเจริญแพร่หลายในยุโรปตะวันตกและอิตาลี
2. นิกายกรีกออร์ธอดอกซ์ (ภาคตะวันออก) มีประมุขสูงสุดคือ แพทริอาร์ค (Patriarch)มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองคอนสแตนติโนเปิล ใช้ภาษากรีก และเจริญแพร่หลายในยุโรปตะวันออก และรัสเซีย
82. การขับบุคคลออกจากศาสนา (Excommunication) เป็นบทลงโทษของศาสนาใด
(1) อิสลาม
(2) นิกายอาเรียน
(3) คริสต์
(4) โซโรแอสเตอร์
ตอบ 3 หน้า 207 วิธีการลงโทษผู้กระทำผิดของศาสนาคริสต์ในยุคกลาง ได้แก่
1 วิธีบัพพาชนียกรรม (Excommunication) คือ การขับบุคคลสำคัญ เช่น กษัตริย์ หรือนักคิดคนสำคัญ ออกจากศาสนา ด้วยการไม่ให้เข้าร่วมประกอบพิธีกรรมใด ๆ ทางศาสนา ซึ่งจะทำให้บุคคลนั้น ๆ เป็นที่รังเกียจและถูกตัดออกจากสังคม
2 วิธีอินเทอดิค (Interdict) คือ การขับกลุ่มบุคคลหรือประเทศหรือชุมชนใดชุมชนหนึ่งออกจากศาสนา โดยประกาศว่าประเทศหรือเขตที่มีกลุ่มบุคคลละเมิดศาสนาเป็นเขต ต้องห้าม และห้ามไม่ให้ประเทศอื่น ๆ ติดต่อมีไมตรีด้วย ซึ่งวิธีการลงโทษทางศาสนา ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าสันตะปาปาในยุคกลางมีอำนาจเหนือกว่ากษัตริย์
83. หลังจากทำสงครามครูเสดทั้งหมด 8 ครั้ง ได้ผลสรุปอย่างไร
(1) พวกคริสเตียนไม่สามารถยึดกรุงเยรูซาเล็มคืนมาได้
(2) กรุงเยรูซาเล็มเป็นนครเป็นกลางของคริสต์และมุสลิม
(3) อำนาจของพระสันตะปาปาสูงสุด
(4) คริสเตียนยอมรับในอำนาจของนบีมะหะหมัด
ตอบ 1 หน้า 208 – 209, (HI 101 เลขพิมพ์ 53214 หน้า 280, 283 – 284) สงครามครูเสดเกิดขึ้น ทั้งหมด 8 ครั้ง รวมระยะเวลาประมาณ 200 ปี (ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11-13) ซึ่งผลสรุป ของสงครามปรากฏว่า พวกคริสเตียนไม่สามารถยึดกรุงเยรูซาเล็มคืนมาจากพวกมอสเล็มได้ ซึ่งถือว่าเป็นความล้มเหลว แต่ก็ได้ชื่อว่าเป็นความล้มเหลวที่ประสบความสำเร็จที่สุดใน ประวัติศาสตร์ เพราะชาวยุโรปได้รับบทเรียนต่าง ๆ จากพวกอาหรับและอิสลามอื่น ๆ เป็นอย่างมาก จนเกิดคำขวัญที่ว่า “เป็นการดีแม้ว่าจะเป็นการเรียนรู้จากศัตรู”
84. บทบาทเด่นของวิคลิฟ (John Wycliffe) ในคริสต์ศตวรรษที่ 14
(1) ประธานในสภาแห่งเทรนท์
(2) นักปฏิรูปศาสนา
(3) ผู้ก่อตั้งนิกายคาลแวง
(4) ตั้งนิกายโปรเตสแตนต์
ตอบ 2 หน้า 211 นักปฏิรูปศาสนาคนสำคัญของยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 14มี 2ท่านได้แก่
1. จอห์น วิคลิฟ เป็นผู้แปลคัมภีร์ไบเบิลฉบับวัลเกดเป็นภาษาพื้นเมืองของอังกฤษ เพื่อให้ ประชาชนทั่วไปได้อ่านและศึกษาด้วยตนเอง จนเกิดความเข้าใจศาสนาได้อย่างถูกต้อง
2. จอห์น ฮุส ไม่เห็นด้วยกับการบังคับให้สวดมนต์เป็นภาษาละตินเพียงอย่างเดียว แต่ควรใช้ ภาษาพื้นเมืองที่ประชาชนสามารถอ่านและเข้าใจได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ฮุสยังได้ประณาม การขายใบบุญไถ่บาป และต่อต้านการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่ไม่เหมาะสม จนทำให้เขาถูกสังหารด้วยการเผาทั้งเป็นในที่สุด
85. เหตุการณ์ใดที่แสดงให้เห็นถึงความเสื่อมของคริสต์ศาสนา
(1) Edict of Milan
(2) Council of Constance
(3) Edict of Nantes
(4) Babylonian Captivity
ตอบ 4 หน้า 210, 452 เหตุการณ์สำคัญที่ทำให้คริสต์ศาสนาและสันตะปาปาเสื่อมลงในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 14 ได้แก่
1. การคุมขังแห่งบาบิโลนหรือการคุมขังอาวิญญอง (Babylonian Captivity/Arvigon Captivity) เกิดขึ้นเพราะสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 5 ไม่ไปประทับที่สำนักวาติกันในกรุงโรมตามธรรมเนียมปฏิบัติ แต่กลับไปประทับที่เมืองอาวิญญองในประเทศฝรั่งเศสแทน
2. ความแตกแยกทางศาสนาครั้งยิ่งใหญ่ (The Great Schism) เกิดขึ้นเพราะมีสันตะปาปา 2 องค์ ในเวลาเดียวกัน คือ สันตะปาปาเออร์บันที่ 6 ชาวอิตาลี และสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 ชาวฝรั่งเศส
86. เมืองหลวงของอาณาจักรบิแซนทีน
(1) Avignon
(2) Alexandria
(3) Constantinople
(4) Rome
ตอบ 3 หน้า 217 อาณาจักรบิแซนทีนหรืออาณาจักรโรมันตะวันออก ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอนาโตเลีย (บระเทศตุรกีในปัจจุบัน) และมีเมืองคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) หรือเมืองโรมา โนวา (Foma Nova) ในอดีตเป็นเมืองหลวง โดยเมืองนี้ถือว่าเป็นศูนย์กลางที่ตะวันตก (กรีก) และ ตะวันออกมาพบกัน ดังนั้นจึงได้รับสมญานามว่าเป็น “โรมใหม่” (The New Rome) หรือ โรมแห่งที่ 2 ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นคลังสินค้าของวัฒนธรรมและศิลปวิทยาการต่าง ๆ ในยุคกลาง
87. การรุกรานของชนกลุ่มใดที่มีผลทำให้อาณาจักรบิแซนทีนเสื่อมสลาย
(1) Germanic
(2) Mongol
(3) Seljuk Turks
(4) Ottoman Turks
ตอบ 4 หน้า 217, 229 ในปี ค.ศ. 1453 อาณาจักรบิแซนทีนได้เสื่อมสลายไป เพราะถูกพวกออตโตมาน เติร์ก (Ottoman Turks) เข้ายึดครอง หลังจากนั้นอารยธรรมบิแซนทีนจึงถูกถ่ายทอดให้แก่รัสเซีย จนมีคำกล่าวว่าเมืองมอสโก (Moscow) ของรัสเซียคือ โรมแห่งที่ 3 (The Third Rome) ดังนั้นรัสเซียจึงได้กลายเป็นทายาททางวัฒนธรรมที่แท้จริงของอาณาจักรบิแซนทีน
88. ตามระบบฟิวดัล ขุนนางที่ถือที่ดินโดยตรงจากกษัตริย์เรียกว่าอย่างไร
(1) Sub-vassal
(2) Tenants-in-chief
(3) Knight
(4) The First Lord
ตอบ 2 หน้า 187 กลุ่มบุคคลในระบบฟิวดัล ประกอบด้วย
1 ซูเซอเรนหรือลอร์ดคนที่ 1 หรือกษัตริย์ (Suzerian/The First Lord/King) เป็นเจ้าของที่ดินโดยสมบูรณ์ไม่ต้องขึ้นอยู่กับผู้ใด
2. ลอร์ดหรือเจ้า (Lord) เป็นขุนนางชั้นสูงที่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยขุนนางที่ถือครองที่ดิน โดยตรงจากกษัตริย์เรียกว่า “Tenants- in-chief”
3. วัสซาล (Vassal) เป็นข้าที่ได้ทำพิธีรับมอบที่ดินจากเจ้าไปทำผลประโยชน์และต้องแบ่งผลประโยชน์ให้แก่เจ้า
4. อัศวินหรือซับวัสซาล (Knight/Sub-vassal) เป็นขุนนางระดับตํ่าที่ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินต่อจาก ขุนนางชั้นสูงอีกทอดหนึง
5. ชาวไร่ชาวนาและทาสติดที่ดิน (Peasant & Serf) เป็นสามัญชนที่ทำมาหากินบนที่ดินของขุนนางและอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของเจ้าของที่ดิน
89. ประมุขสูงสุดของนิกายกรีกออร์ธอดอกซ์
(1) แพทริอาร์ค
(2) พระสันตะปาปา
(3) คาร์ดินาล
(4) เซนต์ออกัสติน
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 81. ประกอบ
90. ทายาททางวัฒนธรรมของอาณาจักรบิแซนทีน
(1) เยอรมนี
(2) อังกฤษ
(3) ฝรั่งเศส
(4) รัสเซีย
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 87. ประกอบ
91. ผู้ที่ทำการเผยแผ่คำสอนของพระเยซู เป็นผู้ให้กำเนิดวิชาเทววิทยา
(1) St. Peter
(2) St. Paul
(3) St. Augustine
(4) St. Benedict
ตอบ 2 หน้า 199,203 เซนต์ปอล (St. Paul) เป็นสาวกคนสำคัญของพระเยซูคริสต์ โดยเป็นผู้ที่สร้างกฎเกณฑ์ทางศาสนาให้สอดคล้องกับคำสอนซองพระเยซู ก่อให้เกิดสถาบันทางศาสนา เป็นผู้ให้กำเนิดวิชาเทววิทยา (Theology) และเผยแผ่คำสอนให้กว้างไกลออกไป
92. การกีฬาต่อสู้กันด้วยหอกบนหลังม้าของขุนนางในยุคกลางเรียกว่าอย่างไร
(1) Joust
(2) Tournament
(3) Dice
(4) Chess
ตอบ 1 หน้า 195 กิจกรรมเพื่อความบันเทิงใจของพวกขุนนางหรือชนชั้นสูงในยุคกลางมักจะนิยม เล่นกีฬาทั้งกลางแจ้งและในร่ม การต่อสู้และเตรียมตัวเพื่อทำสงคราม การเล่นกีฬาต่อสู้กันด้วยหอกบนหลังม้า เรียกว่า “จูสท์” (Joust) และการข่งขันกีฬาประเภทต่าง ๆ เรียกว่า “ทัวนาเมนท์” (Tournament)
93. ประเพณี Comitatus เป็นวัฒนธรรมของชนชาติใด
(1) โรมัน
(2) กรีก
(3) เยอรมัน
(4) เปอร์เซีย
ตอบ 3 หน้า 186 พวกอนารยชนเยอรมันมีประเพณีอย่างหนึ่งที่เรียกว่า “ระบบสวามิภักดิ์”(Comitatus) คือ ประเพณีที่ชายฉกรรจ์หรือนักรบกระทำสัตย์ปฏิญาณว่าจะสวามิภักดิ์และซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ของตนทั้งในยามสงบและยามสงคราม ซึ่งเป็นความผูกพันตามระเบียบวินัยทหารของเยอรมัน
94. อาณาจักรบิแซนทีนมีอายุถึงเมื่อใด
(1) ค.ศ. 1353
(2) ค.ศ. 1400
(3) ค.ศ. 1453
(4) ค.ศ. 1500
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 87. ประกอบ
95. ยุคแห่งศรัทธา (Age of Faith) หมายถึงความเจริญในยุคใด
(1) ยุคโบราณ
(2) ยุคกลาง
(3) ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
(4) ยุคทรงภูมิธรรมทางปัญญา
ตอบ 2 หนัา 206 – 207 ในยุคกลางตอนต้นและตอนกลาง วัดเป็นศูนย์กลางทางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ศิลปะ วรรณคดี ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อและความนึกคิดของประชาชน ดังนั้นศาสนาคริสต์ในยุคกลางจึงมีอิทธิพลครอบงำวิถีชีวิตของประชาชนในทุกด้าน ส่งผลให้ยุคกลางได้ชื่อว่า “ยุคแห่งศรัทธา” (Age of Faith) ทั้งนี้หากผู้ใดคัดค้านความเชื่อ ทางศาสนาหรือแสดงความคิดก้าวหน้าเกินยุคสมัยก็จะถูกลงโทษด้วยวิธีการรุนแรง
96. สถาปัตยกรรมที่เด่นของอาณาจักรบิแซนทีน
(1) Santa Sophia
(2) Colosseum
(3) Pantheon
(4) Ziggurat
ตอบ 1 หน้า 225 – 226 สถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงของอาณาจักรบิแซนทีน มี 3 อย่าง ได้แก่
1. พระราชวังของจักรพรรดิ (The Imperial Palace)
2. ฮิปโปดรอม (Hippodrome)
3. วิหารซานต้า โซเฟีย (Santa Sophia Church) นับว่าเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลก ที่มีการผสมผสานระหว่างศิลปะตะวันออกกับตะวันตกเข้าไว้ด้วยกับเป็นอย่างดี
97. จอห์น ฮุส มีบทบาทสำคัญอย่างไรในยุคกลางตอนปลาย
(1) ปฏิรูปศาสนา
(2) ปฏิรูปสังคม
(3) ปฏิรูปการศึกษา
(4) ปฏิรูปการเมือง
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 84. ประกอบ
98. การฟื้นฟูศิลปวิทยาการคาโรแลงเจียนเกิดขึ้นในยุคใด
(1) เมโรแวงเจียน
(2) ชาร์เลอมาญ
(3) ยุคโบราณ
(4) เปแปง
ตอบ 2 หน้า 178, 180 การฟื้นฟูศิลปวิทยาการคาโรแลงเจียนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8-9 เกิดขึ้น ในสมัยพระเจ้าชาร์เลอมาญ โดยเป็นยุคที่มีการพัฒนาทางด้านการศึกษาและศิลปวัฒนธรรม อย่างชัดเจน ซึ่งเปรียบประดุจแสงเทียนน้อยนิดที่ให้ความสว่างท่ามกลางความมืดมนของ ยุคกลางตอนต้น
99. คำว่า “มอสเล็ม” (Moslem) มีความหมายอย่างไร
(1) ผู้รับใช้พระเจ้า
(2) พี่น้อง
(3) เครือญาติ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 235, (HI 101 (H) เลขพิมพ์ 57081 หน้า 64, 70 – 71) คำว่า “มอสเล็ม” (Moslem)มาจากคำว่า “Muslim” ซึ่งแปลว่า ผู้รับใช้พระเจ้า โดยพวกมอสเล็มได้ตั้งจักรวรรดิมุสลิมอยู่ บริเวณแอฟริกาเหนือ ซึ่งมีอาณาเขตตั้งแต่อินเดียไปจนถึงสเปน และได้ขยายอำนาจเข้าไปใน ยุโรปยุคกลาง โดยได้รุกรานอิตาลี ฝรั่งเศส และสเปน
100. เมืองที่ได้ชื่อว่า “โรมใหม่” ที่อยู่ในดินแดนของชนชาติเยอรมัน
(1) Saxony
(2) Aix-la Chapelle
(3) Constantinople
(4) Verdun
ตอบ 2 หน้า 178 – 179 หลังจากที่พระเจ้าชาร์เลอมาญได้รับการยอมรับว่าเป็นจักรพรรดิที่ถูกต้องแล้ว ก็ไม่โปรดที่จะประทับอยู่ที่กรุงโรม จึงได้สร้างพระราชวังและเมืองหลวงใหม่ที่เมืองเอกซ์ ลา ชาแปล (Aix-la Chapelle) หรือเมืองอาเคน (Archen) ซึ่งเลียนแบบมาจากเมืองคอนสแตนติโนเปิล และกลายเป็นกรุงโรมใหม่ (The New Rome) อยู่ในดินแดนเยอรมนี
101. ต้นตอสำคัญของวิกฤตการณ์เศรษฐกิจตกตํ่าทั่วโลก ค.ศ. 1929 มาจากการล่มสลายทางเศรษฐกิจของประเทศใด
(1) เยอรมนี
(2) อิตาลี
(3) ฝรั่งเศส
(4) สหรัฐอเมริกา
ตอบ 4 หน้า 535 – 536 สาเหตุสำคัญของการเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกอย่างรุนแรง ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1929 นั้น ก็เนื่องมาจากการล่มสลายทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา กล่าวคือ ในขณะนั้นสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของโลกประสบปัญหาทางการเงินภายในประเทศ ประกอบกับตลาดหุ้นในสหรัฐฯ ปั่นป่วน ทำให้ราคาหุ้นตกฮวบฮาบ ส่งผลให้การเงินของโลก พังทลาย อุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมเสียหายอย่างหนัก มีคนว่างงานจำนวนมหาศาล มาตรฐานการครองชีพของทุกประเทศตกตํ่าลง และผู้คนมีชีวิตทุกข์ยากคับแค้นอย่างแสนสาหัส
102. “มนุษย์เป็นศูนย์กลางของเรื่องทั้งปวง มนุษย์ชี้ชะตาตนเองได้ มนุษย์ทำได้ทั้งนั้นถ้าจะทำ” เป็นคำจำกัดความที่สำคัญของลัทธิอะไร
(1) Humanism
(2) Romanticism
(3) Conservatism
(4) Realism
ตอบ 1 หน้า 444, (คำบรรยาย) เลออน บัสติสต้า อัลแบร์ติ ได้ชื่อว่าเป็น “บุรุษในอุดมคติแห่งยุค เรอแนสของส์” หรือที่เรียกว่า The Renaissance Man โดยเขาได้กล่าวถึงความสำคัญของลัทธิมนุษยนิยม (Humanism) ซึ่งให้ความสำคัญในเรื่องคุณค่าของมนุษย์ว่า มนุษย์เป็นศูนย์กลาง ของเรื่องทั้งปวง มนุษย์ชี้ชะตาของตนเองได้โดยไม่ต้องอาศัยพลังเหนือธรรมชาติ เป้าหมาย ของชีวิตอยู่ที่การพัฒนาศักยภาพภายในของตนเอง และที่สำคัญก็คือ มนุษย์ทำได้ทั้งนั้นถ้าจะทำ
103. ระบบเศรษฐกิจชองยุโรปในยุคใหม่ให้ความสำคัญกับสิ่งใดมากที่สุด
(1) การแลกเปลี่ยนสินค้า
(2) เศรษฐกิจที่เลี้ยงตัวเองได้
(3) การค้า
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 459 – 460, (HI 101 (H) เลขพิมพ์ 57081 หน้า 88 – 89) ระบบเศรษฐกิจของยุโรป ในยุคใหม่จะให้ความสำคัญกับการค้าในโลกกว้างเพื่อหวังผลกำไรเป็นอย่างมาก เนื่องจากการปฏิวัติทางการค้าทำให้เกิดเศรษฐกิจรูปแบบใหม่คือ ระบบทุนนิยม ซึ่งทำให้เกิดการแข่งขันทางเศรษฐกิจเพื่อความมั่งคั่ง ส่งเสริมให้มีการแสวงหาอาณานิคม มีการใช้เงินตราหมุนเวียน มากขึ้น และทำให้ชนชั้นกลางกลายเป็นพวกที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ
104. ชนชาติแรกที่เป็นผู้บุกเบิกงานด้านอาณานิคม คือชนชาติใด
(1) อังกฤษ
(2) ฝรั่งเศส
(3) สหรัฐอเมริกา
(4) โปรตุเกส
ตอบ 4 หน้า 468 – 471 ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 สเปนและโปรตุเกส (ชาวไอบีเรียน) เป็นผู้บุกเบิก และเป็นผู้นำในการขยายอำนาจของยุโรปไปยังดินแดนต่าง ๆ โดยนักสำรวจของทั้ง 2 ชาติได้ เดินทางเพื่อค้นหาเส้นทางเดินเรือไปยังทวีปแอฟริกาและเอเชีย เนื่องจากต้องการแร่ทองคำ และเงิน รวมทั้งเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในดินแดนดังกล่าว ทั้งนี้โปรตุเกสได้เข้าไปสร้างจักรวรรดิ ในทวีปแอฟริกาและเอเชีย ส่วนสเปนได้เข้าไปสร้างจักรวรรดิในทวีปอเมริกาบริเวณฝั่งตะวันออก ของอเมริกากลาง ได้แก่ เม็กซิโก เปรู และคิวบา
105. มาร์ติน ลูเธอร์ ทำการปฏิรูปศาสนาเพราะไม่พอใจอะไร
(1) พระขาดวินัย
(2) พระสันตะปาปาขายใบไถ่บาป
(3) มีการขายตำแหน่งทางศาสนา
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 452 – 453 ในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 พระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ทรงประกาศขายใบไถ่บาปจำนวนมากทั่วยุโรปและในเยอรมนี เพื่อหาค่าซ่อมแซมมหาวิหารเชนต์ปีเตอร์ที่กรุงโรม ซึ่งเหตุการณ์นี้ทำให้มาร์ติน ลูเธอร์ ไม่พอใจ จนนำไปสู่การปฏิรูปศาสนาครั้งใหญ่ในเยอรมนี โดยเขาได้เผาใบประกาศบัพพาชนียกรรมของตัวเอง จากนั้นได้แปลคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษาเยอรมัน และก่อตั้งวัดเยอรมันอิสระขึ้นในระหว่างลี้ภัย ทั้งนี้เพ่อต้องการท้าทายและปฏิเสธอำนาจของคริสตจักรโรมันคาทอลิก
106. บุคคลใดต่อไปนี้ที่จัดอยู่ในกลุ่มของนักคิดที่เกียวข้องกับสัญญาประชาคม
(1) รุสโซ
(2) เพลโต
(3) โลเครติส
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หนา 485 แนวคิดในสมัยทรงภูมิธรรมทางปัญญาด้านการปกครองจะยึดหลัก “สัญญาประซาคม” ซึ่งเชื่อว่า อำนาจสูงสุดในการปกครองเป็นของประชาชน โดยมีนักคิดที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
1. จอห์น ล็อค ได้เขียนหนังสือชื่อ “Essay on Civil Government” ซึ่งมีสาระสำคัญว่า รัฐบาลคือสัญญาทางการเมืองระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ในความปกครองหรือประชาชน
2. รุสโซ ได้เขียนหนังสือชื่อ “The Social Contract” ซึ่งมีสาระสำคัญว่า เจตนาหลักคือ อำนาจสูงสุดทางการปกครองเป็นของประชาชน รัฐบาลเป็นเพียงคณะผู้รับมอบหมาย ให้ทำงานเท่านั้น
107. เศรษฐกิจแบบเสรี (Laissez-faire) มีหลักการสำคัญอย่างไร
(1) ระบบผูกขาด
(2) รัฐบาลเป็นผู้ดำเนินธุรกิจเอง
(3) รัฐบาลถือว่ามีหน้าที่ต้องควบคุมธุรกิจของเอกชน
(4) รัฐบาลจะไม่เข้าแทรกแซงนกิจการต่างๆ ที่เอกชนดำเนินงาน
ตอบ 4 หนัา 484, 492 – 493 แนวคิดในสมัยทรงภูมิธรรมทางปัญญาด้านเศรษฐกิจจะยึดหลัก“ปล่อยให้ทำ” (Laissez-faire) โดยพวกฟิโลซอฟจะคัดค้านรัฐบาลที่เข้ามาแทรกแซงโดยตั้ง ข้อจำกัดเข้มงวดทางเศรษฐกิจหรือที่เรียกว่า “ลัทธิพาณิชย์นิยม” แต่เห็นว่ารัฐบาลควรปล่อย ให้เอกชนมีเสรีภาพที่จะดำเนินธุรกิจด้วยตนเอง โดยรัฐบาลจะไม่เข้าไปแทรกแซงในกิจการ ต่าง ๆ ที่เอกชนดำเนินงาน ซึ่งแนวคิดนี้เป็นที่มาของเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมในปัจจุบัน
108. แนวความคิดใดที่ส่งเสริมให้เกิดความยุติธรรมและความเสมอภาคเท่าเทียมกันในสังคม
(1) ชาตินิยม
(2) สังคมนิยม
(3) เสรีนิยม
(4) จินตนิยม
ตอบ 2 หน้า 493 – 494 นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ชนชั้นกรรมกรหรือผู้ใช้แรงงานได้หันมานิยมลัทธิสังคมนิยม ซึ่งมีแนวความคิดที่ส่งเสริมให้เกิดความยุติธรรม ความเสมอภาค และความเท่าเทียมกันในสังคม โดยเน้นส่งเสริมการอยู่ดีกินดีของคนในสังคม และไม่ส่งเสริม แต่กำไรเฉพาะบุคคล ดังนั้นลัทธินี้จึงเน้นที่ชุมชนและสวัสดิการร่วมกันเป็นหลัก
109. คำขวัญของการปฏิวัติบอลเชวิคคือ
(1) สันติภาพ ที่ดิน ขบมปัง
(2) สันติภาพ ที่ดิน สังคมนิยม
(3) สันติภาพ ที่ดิน ชาตินิยม
(4) ที่ดิน ขนมปัง คอมมิวนิสต์
ตอบ 1 หน้า 495, 530 – 531, (คำบรรยาย) การปฏิวัติรัสเซียในปี ค.ศ. 1917 เป็นการปฏิวัติของพวกบอลเชวิคภายใต้คำขวัญที่ว่า “สันติภาพ ที่ดิน และขนมปัง” โดยพวกบอลเซวิคยืนยันที่จะต่อต้านรัฐบาลชั่วคราวที่จะให้ที่ดินแก่ชาวไร่ชาวนา อีกทั้งยังยืนยันว่าจะต้องยุติสงครามและ คืนอำนาจทั้งมวลให้แก่รัสเซีย ซึ่งผลจากการปฏิวัติปรากฎว่าพวกบอลเซวิคเป็นฝ่ายชนะ และได้จัดตั้งรัฐบาลแหงชนชั้นแรงงาน (ชนชั้นกรรมาซีพ) ขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ส่งผลให้รัสเซียต้องถอนตัวออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และเปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ จนนำไปสู่การก่อตั้งสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียในที่สุด
110. อังกฤษสูญเสียอาณานิคม 13 รัฐในทวีปอเมริกาในสมัยใด
(1) เจมส์ที่ 1
(2) ยอร์ชที่ 1
(3) ชาร์ลที่ 1
(4) ยอร์ชที่ 3
ตอบ 4 หน้า 515 – 517, (HI 101 เลขพิมพ์ 53214 หน้า 453 – 454) ในสมัยพระเจ้ายอร์ชที่ 3 แห่งอังกฤษ สัมพันธภาพระหว่างอังกฤษกับชาวอาณานิคมในทวีปอเมริกามีความตึงเครียด มากขึ้น เนื่องจากอังกฤษพยายามบังคับให้ชาวอาณานิคมต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น แต่ชาวอาณานิคม ไม่ยอมปฏิบัติตาม จนในที่สุดอาณานิคมทั้ง 13 รัฐทางตะวันออกของทวีปอเมริกาก็ได้ประกาศอิสรภาพและแยกตัวออกจากอังกฤษในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 ซึ่งเท่ากับเป็นการสถาปนาประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้นมา
111. การรวมตัวในรูปของ Triple Entente ในช่วงสงครามโคกครั้งที่ 1 ประกอบด้วยประเทศใด
(1) อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา
(2) เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี อิตาลี
(3) อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย
(4) เยอรมนี ออสเตรีย -ฮังการี รัสเซีย
ตอบ 3 (HI 101 เลขพิมพ์ 53214 หน้า 533) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการแบ่งกลุ่มประเทศ ออกเป็น 2 ฝ่าย ได้แก่
1. ฝ่ายไตรพันธไมตรี (Triple Alliance) ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี
2. ฝ่ายไตรพันธมิตร (Triple Entente) ประกอบด้วย ฝรั่งเศส รัลเซีย และอังกฤษ
112. เรอแนสซองส์ในอิตาลีปรากฏผลงานทางด้านใดเป็นส่วนใหญ่
(1) ศิลปวรรณคดี
(2) ศาสนา
(3) สถาปัตยกรรม
(4) ดนตรี
ตอบ 1 หน้า 442 – 445 ขบวนการเรอแนสซองส์เริ่มขึ้นที่อิตาลีเป็นแห่งแรก โดยความเจริญแบบใหม่ ที่เริ่มเกิดขึ้นในสมัยเรอแนสซองลี มีดังนี้
1. ให้ความสำคัญในเรื่องอุดมคติเกี่ยวกับคุณค่าอุดมคติสุภาพชน และคุณค่าของมนุษย์ตามความเชื่อในลัทธิมนุษยนิยม (Humanism)
2. ผู้คนจะใฝ่ใจวิพากษ์วิจารณ์สถานการณ์ต่าง ๆ มีความอยากรู้อยากเห็น มองโลกในแง่ดี ให้ความสนใจในเรื่องทางโลก มีความเป็นตัวของตัวเองสูง รวมทั้งยึดถือธรรมเนียม ปัจเจกบุคคลนิยมหรือปัจเจกชนนิยม (Individualism) และสัจนิยม
3. มีการสร้างสรรค์งานศิลปะและวรรณคดี ซึ่งมีลักษณะเป็นปัจเจกชนนิยมและอัจฉริยภาพ ที่แสดงออกถึงสุนทรียภาพเป็นสำคัญ ฯลฯ
113. ลักษณะมองโลกในแง่ดี สนใจเรื่องทางโลก และมีความเป็นตัวของตัวเองสูง เป็นลักษณะเด่นของคนในยุคใด
(1) ยุคโบราณ
(2) ยุคกลาง
(3) ยุคเรอแนสซองส์
(4) ยุคมืด
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 112. ประกอบ
114. มิเชล เดอ มองแตญ ฟรังซัวส์ รับเบอเลย์ จอฟฟรีย์ ชอเซอร์ อัจฉริยบุรุษแห่งยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ มีความสามารถเด่นทางด้านใด
(1) ศาสนา
(2) จิตรกรรม
(3) วรรณกรรม
(4) วิทยาศาสตร์
ตอบ 3 หน้า 449 – 450 อัจฉริยบุรุษแห่งยุคเรอแนสซองส์หรือยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการที่มีความสามารถ เด่นทางด้านวรรณกรรม ได้แก่
1 ฟรังซัวส์ รับเบอเลย์ และมิเชล เดอ มองแตญ ซึ่งได้ใช้ภาษาฝรั่งเศสเขียนงานวรรณคดีประจำสมัย เมื่อบัณฑิตยสมาคมแห่งฝรั่งเศสตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ เพื่อกำหนดไวยากรณ์และศัพท์ภาษาประจำชาติในปี ค.ศ. 1635
2 จอฟฟรีย์ ชอเซอร์ ซึ่งได้เขียนเรื่อง “Canterbury Tales” โดยมีเนื้อหาบอกถึงความแข็งแกร่ง ของโลกในแวดวงคริสเตียนและการนับถือลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล
115. แนวความคิดเรื่อง “ชะตากำหนด” (Predestination) เป็นแนวความคิดของนักปฏิรูปศาสนาท่านใด
(1) มาร์ติน ลูเธอร์
(2) คาลแวง
(3) เซนต์ปอล
(4) ซีริล
ตอบ 2 หน้า 453 – 454 จอห์น คาลแวง เป็นนักปฏิรูปศาสนาในสวิตเซอร์แลนด์ที่เห็นด้วยกับลูเธอร์ ในเรื่องการไถ่บาปด้วย “งาน” แต่เขากลับปฏิเสธในเรื่องการไถ่บาปด้วย “ศรัทธา” ของลูเธอร์ คาลแวงจึงได้เทศน์เรื่อง “ชะตากำหนด” (Predestination) ว่า พระเจ้าทรงกำหนดศรัทธา ของบุคคลไว้ตั้งแต่ก่อนเกิดแล้ว หลังจากนั้นเขาได้จัดตั้งประชาคมคริสเตียนขึ้นที่กรุงเจนีวา ทำให้กรุงเจนีวากลายเป็นศูนยปฏิบัติการทางศาสนานอกประเทศที่ส่งผลอย่างมากต่อโบฮีเมีย ฮังการี เนเธอร์แลนด์ สกอตแลนด์ อังกฤษ และอาณานิคมโพ้นทะเล 13 รัฐ
116. ในยุคที่กษัตริย์แห่งรัฐชาติขยายอำนาจของรัฐบาลกลางได้มั่นคงขึ้น กษัตริย์เหล่านี้ได้รับแรงสนับสนุนจากชนชั้นใดมากที่สุด
(1) พ่อค้า
(2) ขุนนาง
(3) พระ
(4) กรรมกร
ตอบ 1 หน้า460-461 ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15ถึงยุโรปยุคใหม่อำนาจของกษัตริย์แห่งรัฐชาติยุโรปเจริญมั่นคงขึ้นแทนที่อำนาจของศาสนจักรที่เสื่อมลง โดยปัจจัยที่ส่งเสริมอำนาจของกษัตริย์ ได้แก่
1. การปฏิวัติเทคโนโลยีทางการทหาร โดยมีการประดิษฐ์ปืนใหญ่ขึ้นใช้
2. มีเงินทุนสะสมและหน่วยบริการจัดซื้อปืน ดินปืน และกระสุน เพื่อจัดกำลังบำรุงหน่วยทหาร
3. การเป็นภาคีกับชนชั้นพ่อค้า (ชนชั้นกลาง) ผู้มั่งคั่ง
4. การจัดตั้งระบบราชการให้ทำงานได้อย่างแข็งขัน
117. มาเคียเวลลีเขียนเรื่อง “เจ้าชาย” ขึ้นด้วยจุดประสงค์ใด
(1) เพื่อให้อิตาลีรวมกันได้
(2) ให้กษัตริย์คำนึงถึงความสุขของประชาชนเป็นหลัก
(3) ต่อต้านการรวมอิตาลี
(4) ต่อต้านอำนาจของศาสนจักร
ตอบ 1 หน้า 443 444, 461 งานเขียนของมาเคียเวลลีเรื่อง “เจ้าชาย” (The Prince) เป็นงานเขียนชิ้นสำคัญในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ซึ่งงานเขียนชิ้นนี้ถูกเขียนขึ้นจากความรู้สึกผิดหวัง สับสนกับสภาพบ้านเมืองของอิตาลีในขณะนั้นที่ไม่มีความเป็นปึกแผ่นทางการเมือง เขาจึงต้องการ รวมดินแดนอิตาลีให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและก่อตั้งเป็นรัฐชาติอิตาลี ซึ่งการที่ชาติจะเป็น ปึกแผ่นได้นั้นต้องมีเจ้าชายที่รักชาติ เหี้ยมหาญ ไร้เมตตา และใช้อำนาจได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งให้แยกเรื่องการเมืองออกจากเรื่องศาสนาอีกด้วย
118. สนธิสัญญาปารีส ค.ศ. 1763 ซึ่งยุติความขัดแย้งระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส ส่งผลสำคัญประการหนึ่งคืออะไร
(1) อังกฤษได้อินเดียโดยสมบูรณ์
(2) ฝรั่งเศสได้อินเดียโดยสมบูรณ์
(3) เร่งให้ฝรั่งเศสขยายอิทธิพลในเอเชียมากฃี้น
(4) อังกฤษเป็นฝ่ายแพ้สงคราม
ตอบ 1 หน้า 134, 151, 475 – 477 ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 อังกฤษและฝรั่งเศสได้ทำสงคราม ขับเคี่ยวกันหลายครั้ง เพื่อแย่งชิงผลประโยชน์ทางการค้าและชิงความเป็นเจ้าอาณานิคม ซึ่งผล ปรากฎว่าอังกฤษเป็นฝ่ายชนะ หลังจากนั้นทั้ง 2 ประเทศได้มีการยุติสงครามด้วยสนธิสัญญาปารีส ในปี ค.ศ. 1763 ส่งผลให้จักรวรรดิอาณานิคมของฝรั่งเศสสิ้นสุดลง อเมริกาทางตอนเหนือของแม่นํ้าริโอแกรนด์เจริญด้วยภาษาอังกฤษ ทำให้อังกฤษได้ครอบครองอินเดียทั้งประเทศโดยสมบูรณ์ เพียงชาติเดียว และสามารถขยายอำนาจเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ด้วย
119. บริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์เป็นการรวมตัวของกลุ่มใดเข้าด้วยกัน
(1) บริษัทเอกชน
(2) ขุนนาง
(3) ข้าราชการ
(4) แรงงาน
ตอบ 1 หน้า 475 ในปี ค.ศ. 1602 ดัตช์ได้รวมบริษัทเอกชนเข้ามาอยู่ภายใต้ความดูแลของชาติ เรียกว่า “บริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์” โดยถือสิทธิบัตรจากรัฐบาลเพื่อผูกขาดการค้า ระหว่างแหลมกู้ดโฮปกับช่องแคบแมกเจลแลน นอกจากนี้ยังสามารถประกาศสงครามหรือ สันติภาพได้ ยึดเรือต่างชาติได้ จัดตั้งอาณานิคม ตั้งป้อม และผลิตเงินเหรียญได้
120. ปอนดิเชรีเป็นเมืองสำคัญที่_____ได้ครอบครองในอินเดีย
(1) รัสเซีย
(2) อังกฤษ
(3) สหรัฐอเมริกา
(4) ฝรั่งเศส
ตอบ 4 หน้า 475 – 476 ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสต่างก็เข้าไปแสวงหาผลประโยชน์บริเวณหมู่เกาะอินเดียตะวันตก โดยอังกฤษได้ครองเมืองสำคัญของอินเดีย 4 เมือง ได้แก่ กัลกัตตา มัทราส สุรัต และบอมเบย์ ส่วนฝรั่งเศสได้เข้าไปตั้งสถานีการค้า 2 แห่งที่เมือง จันทรนคราและปอนดิเชรี