การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556
ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1001 อารยธรรมตะวันตก
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
1. เหตุการณ์ใดที่เกิดขึ้นพร้อมกับการสิ้นสุดยุค Reconquest
(1) การค้นพบทฤษฎีวิธีการทางวิทยาศาสตร์
(2) Christopher Columbus ค้นพบโลกใหม่ทวีปอเมริกา
(3) การปฏิรูปศาสนาโดย Martin Luther
(4) กรุงคอนสแตนติโนเปลถูกออตโตมัน เติร์ก ยึดครอง
ตอบ 2 หน้า 2-3 (H), 73 (H), 90 (H) ยุค Recoriquest หรือ Reconquista เป็นยุคแห่งการยึดอำนาจคืนของพวกคริสเตียนจากพวกมัวร์ในสเปน โดยยุคนี้สิ้นสุดลงในปี A.D. 1492 ซึ่งตรงกับปีที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) เดินทางไปค้นพบโลกใหม่ หรือทวีปอเมริกา โดยถือเป็นปีแห่งการสิ้นสุดสมัยประวัติศาสตร์ยุคกลางเข้าสู่ยุคใหม่
2. A.Q. Anno Domini Nortri Leau Christh (ปีของพระเยซูคริสต์) หรือคริสต์ศักราชเริ่มนับเวลาตั้งแต่ เกิดเหตุการณ์ใด
(1) พระเจ้าสร้างโลก
(2) พระเยซูสิ้นพระชนม์
(3) พระเยซูประสูติ
(4) เริ่มมีการใช้ตัวหนังสือ
ตอบ 3 หน้า 1 (H) A.D.(Anno Domini) เป็นภาษาละตินซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษคือ “in the year of the Lord” หมายถึง ปีภายหลังการประสูติของพระเยซูคริสต์หรือคริสต์ศักราช โดยใช้ ชื่อย่อว่า ค.ศ. เช่น A.D. 2000 หรือ ค.ศ. 2000
3. ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) ยุคหินคือยุคก่อนการประดิษฐ์ตัวอักษรหรือยุคก่อนประวัติศาสตร์
(2) ยุคโลหะคือยุคก่อนการประดิษฐ์ตัวอักษร
(3) ยุคกลางมีความรุ่งเรืองทางคริสต์ศาสนาสูงที่สุด
(4) อารยธรรมโรมันจัดอยู่ในยุคประวัติศาสตร์หรือยุคกลาง
ตอบ 2 หน้า 7, 2 (H), 9 (H) การแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ของมนุษย์จะพิจารณาจากการรู้หนังสือ หรือการประดิษฐ์ตัวอักษรเป็นเกณฑ์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ยุคใหญ่ๆ ดังนี้
1. ยุคหินหรือยุคก่อนประวัติศาสตร์ คือ ยุคก่อนการรู้หนังสือ หรือยุคก่อนการประดิษฐ์ตัวอักษร
2. ยุคโลหะหรือยุคประวัติศาสตร์ คือ ยุครู้หนังสือ หรือยุคที่เริ่มมีการประดิษฐ์ตัวอักษรแล้ว
4. A.D. 476 เกิดเหตุการณ์สำคัญที่นักประวัติศาสตร์ถือว่าสิ้นสุดยุคโบราณเข้าสู่ยุคกลางคือ
(1) อาณาจักรโรมันตะวันออกล่มสลาย
(2) สิ้นสุดยุค Reconquest ในสเปน
(3) อาณาจักรโรมันตะวันตกล่มสลาย
(4) การเกิดใหม่ของอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
ตอบ 3 หน้า 3 (H), 54 (H) ในปี A.D. 476 (ค.ศ. 476) เป็นปีที่กรุงโรมซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิ โรมันตะวันตกล่มสลาย เนื่องจากถูกพวกอนารยชนเยอรมันเข้ายึดครอง ซึ่งถือว่าเป็นปีแห่ง การสิ้นสุดยุคโบราณเข้าสู่ยุคกลาง ทั้งนี้เพราะสังคมเมืองที่ทันสมัยภายใต้การปกครองของ พวกโรมันต้องเปลี่ยนมาสู่สมัยแห่งความวุ่นวาย ภายใต้การเข้ามามีอำนาจของพวกอนารยชน ในยุโรปตะวันตก ทำให้มีการแปลงสภาพจากสังคมเมืองมาเป็นสังคมชนบทที่อารยธรรม ความเจริญต่างๆ ไม่ได้รับการทำนุบำรุงรักษา
5. ความสำคัญของยุคโลหะ
(1)ยุคที่มีการประดิษฐ์ตัวอักษร
(2) ยุครู้หนังสือ
(3) ยุคประวัติศาสตร์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ
6. ยุคน้ำแข็ง (Pleistocene) ในช่วงที่น้ำแข็งละลายมีความสำคัญอย่างไร
(1) มีสัตว์เซลล์เดียวได้ถือกำเนิดขึ้นในโลก
(2) ปรากฏร่องรอยสิ่งมีชีวิตคือ “มนุษย์” ขึ้นครั้งแรก
(3) สัตว์เลื้อยคลานประเภทไดโนเสาร์ถือกำเนิด
(4) มีการค้นพบหมู่เกาะสปีตส์เบอร์เกน (Spitsbergen)
ตอบ 2 หน้า 2, 8 (H) ยุคที่ธารนํ้าแข็งแผ่เข้ามาปกคลุมส่วนต่าง ๆ ของโลกนั้น เรียกว่า “ยุคนํ้าแข็ง” (Pleistocene) ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นประมาณเกือบ 1 ล้านปีมาแล้ว ยุคนี้นับว่ามีความสำคัญต่อเรื่องราวของมนุษยชาติเป็นอย่างมาก เพราะในช่วงที่น้ำแข็งละลายได้ปรากฏร่องรอยของสิ่งมีชีวิตคือ “มนุษย์” ขึ้นเป็นครั้งแรก
7. A.D. 1795 Immanuel Kant (อิมมานูเอล คานท์) นักปรัชญาชาวเยอรมันเสนอทฤษฎีใดซึ่งขัดแย้งกับทฤษฎีการสร้างโลกในพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament : The Genesis)
(1) สิ่งมีชีวิตกำเนิดจากสัตว์เซลล์เดียว
(2) โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล พระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก
(3) โลกเกิดจากการรวมตัวของฝุ่น ผง ก๊าซ ที่เคลื่อนไหวในจักรวาล
(4) มนุษย์ถือกำเนิดในยุคน้ำแข็ง
ตอบ 3 หน้า 1, 7 (H) ในปี A.D. 1775 อิมมานูเอล คานท์ (Immanuel Kant) นักปรัชญาชาวเยอรมัน ได้เสนอทฤษฎีการกำเนิดของโลกว่า โลกและดาวเคราะห์ถือกำเนิดมาจากกลุ่มเมฆ กลุ่มผงและ กลุ่มก๊าซที่เคลื่อนไหวในจักรวาล ซึ่งได้ถูกกระแสลมหมุนอย่างรุนแรง ทำให้เกิดการรวมตัวกันขึ้นเป็น ดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งทฤษฎีนี้ได้ขัดแย้งกับทฤษฎีการสร้างโลกในพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ในบทปฐมกาล (Genesis) ที่กล่าวว่า พระเจ้า (พระยะโฮวา) คือผู้สร้างสรรพสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาในจักรวาลรวมทั้งโลกและมนุษย์
8. หมู่เกาะสปิตสํเบอร์เกน (Spitsbergen) ตอนเหนือของประเทศนอร์เวย์เป็นการพิสูจน์ทฤษฎีใด
(1) โลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
(2) สิ่งมีชีวิตเริ่มต้นจากถ่านหิน
(3) มนุษย์ถือกำเนิดในยุคนํ้าแข็ง
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 2, 7 (H) การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกและสิ่งมีชีวิตทั้งหลายเกิดขึ้นหมุนเวียนอยู่ตลอด เวลาเป็นเวลาช้านาน ตัวอย่างเช่น การขุดค้นพบแหล่งถ่านหินในบริเวณหมู่เกาะสปิตล์เบอร์เกน (Spitsbergen) ที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศนอร์เวย์ (Norway) ใกล้กับบริเวณขั้วโลกเหนือ หรือบริเวณที่เส้นขนาน 80 องศาเหนือ ซึ่งปัจจุบันถูกปกคลุมไปด้วยธารนํ้าแข็งนั้น ถือเป็น ประจักษ์พยานได้ว่าบริเวณนี้เคยเป็นเขตป่าไม้และมีอากาศแบบกึ่งเมืองร้อนมาก่อน
9. ข้อใดไม่ใช่ทวีปแหล่งกำเนิดของมนุษย์
(1) เอเชีย
(2) อเมริกา
(3) แอฟริกา
(4) ยูเรเชีย
ตอบ 2 หน้า 1 – 2, 8 (H) นักประวัติศาสตร์ได้สันนิษฐานว่าแหล่งกำเนิดของมนุษย์น่าจะอยู่ใน ทวีปเอเชียและแอฟริกา รวมทั้งบริเวณตอนกลางของทวีปเอเชียที่อยู่ติดกับยุโรป คือ บริเวณยูเรเชีย (Eurasia) โดยบริเวณดังกล่าวนื้จะมีภูมิอากาศที่เหมาะสำหรับการพัฒนา ของไพรเมท (Primate) ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ ต่อมาบรรดาไพรเมทเหล่านี้ก็ได้ กระจัดกระจายออกไปตั้งถิ่นฐานในที่ต่าง ๆ ทั้งในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา
10. ยุคหินใดที่มนุษย์เริ่มตั้งถิ่นฐานและสร้างอารยธรรม
(1) ยุคหินแรก
(2) ยุคหินเก่า
(3) ยุคหินกลาง
(4) ยุคหินใหม่
ตอบ 4 หน้า 8 – 15, 38 – 39, 9 – 10 (H) ยุคหินแบ่งออกเป็น 4 ยุค คือ
1. ยุคหินแรก เป็นยุคลองผิดลองถูกของมนุษย์
2. ยุคหินเก่า หรือยุคเก็บผลไม้ เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มใช้อาวุธป้องกันตนเอง นุ่งห่มหนังสัตว์ และเก็บผลไม้
3. ยุคหินกลาง เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มรู้จักวิธีการเลี้ยงสัตว์ โดยสัตว์ที่นำมาเลี้ยงชนิดแรกคือ สุนัข 4. ยุคหินใหม่ หรือยุคปลูกผลไม้ เป็นยุคที่มนุษย์รู้จัก เลี้ยงสัตว์และเพาะปลูก จนถึงขั้นควบคุมการผลิตอาหารได้ ทำให้มนุษย์เปลี่ยนจากชุมชนเร่ร่อน เป็นชุมชนตั้งรกราก หรือเป็นยุคที่เริ่มมีการตั้งถิ่นฐานเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ยังมีหัวหน้าปกครอง มีการแบ่งงานกันทำ และเริ่มดำรงชีวิตแบบสังคมเมือง (Urban Life) ซึ่งถือว่าเป็นสมัยอารยธรรม (Civilization) ของมนุษย์
11. สัตว์ชนิดใดที่มนุษย์นำมาเลี้ยงเป็นชนิดแรก
(1) แมว
(2) ช้าง
(3) ม้า
(4) สุนัข
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ
12. ข้อใดจัดเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีความนาเชื่อถือน้อยที่สุด
(1)จารึก
(2) พงศาวดาร
(3) ตำนาน
(4) จดหมายเหตุ
ตอบ 3 หน้า 21, 12 (H), (คำบรรยาย) เรื่องราวที่ได้จารึกไว้เป็นหลักฐาน (Written Records) คือหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือ มากที่สุดในการศึกษาเรื่องราวของมนุษย์สมัยประวัติศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. หลักฐานดั้งเดิมหรือหลักฐานชั้นต้น (Primary Records) เช่น หลักศิลาจารึก สนธิสัญญา จดหมายเหตุ เอกสารทางการทูต แถลงการณ์ของรัฐบาล พงศาวดาร ฯลฯ
2. หลักฐานรอง (Secondary Records) คือ หนังสือที่เรียบเรียงมาจากหลักฐานดั้งเดิม
13. Nomad Theory มีลักษณะอย่างไร
(1) การปรับตัวการใช้ชีวิตเข้ากับสภาพแวดล้อม
(2)การเอาชนะธรรมชาติ การทำชลประทาน
(3) การทำลายอารยธรรม
(4)การที่ผู้ชนะรับเอาอารยธรรมที่เจริญกว่าของผู้แพ้มาปรับใช้
ตอบ 4 หน้า 26 – 27, 13 (H) ทฤษฎีโนแมด (Nomad Theory) หมายถึง การที่ผู้ชนะยอมรับเอา วัฒนธรรมและอารยธรรมที่เจริญกว่าของผู้แพ้มาเผยแพร่และปรับปรุงใช้ (พวกโนแมดเป็น พวกเร่ร่อนตามทะเลทรายที่สามารถรบชนะพวกที่มีอารยธรรมสูงกว่า) เช่น ในกรณีที่ พวกเซไมท์เข้ายึดครองดินแดนของพวกสุเมเรียน และรับเอาอารยธรรมของพวกสุเมเรียน มาปรับปรุงใช้ เป็นต้น
14. ข้อใดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของอียิปต์
(1) การประดิษฐ์ปฏิทินแบบสุริยคติ
(2) การประดิษฐ์กระดาษขึ้นใช้เป็นครั้งแรกจากต้น Papyrus
(3) ตัวอักษร Hieroglyphic
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 59 – 63, 21 – 23 (H), (คำบรรยาย) มรดกทางอารยธรรมที่สำคัญของอียิปต์ มีดังนี้
1. มีการประดิษฐ์ตัวอักษรเฮียโรกลิฟิก (Hieroglyphic) ขึ้นเมื่อประมาณ 3000 B.C.ซึ่งมีลักษณะเป็นอักษรภาพที่บันทึกลงบนแผ่นกระดาษปาไปรัส (Papyrus หรือคำว่า Paper ในปัจจุบัน)
2. มีการสร้างพีระมิดเพื่อใช้เป็นสถานที่เก็บพระศพของฟาโรห์
3. มีความเจริญทางด้านการแพทย์ เช่น มีการค้นพบว่าหัวใจคือศูนย์กลางการหมุนเวียน ของโลหิต ฯลฯ
4. มีการสร้างระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพสูง
5. มีการสร้างปฏิทินแบบสุริยคติขึ้นในปี 4241 B.C.
6. มีการนำต้น Papyrus หรือต้นกกที่ขึ้นในแม่นํ้าไนล์มาทำกระดาษปาไปรัส เป็นต้น
15. ช่องแคบสุเอซ (Suez Canal) มีความสำคัญอย่างไร
(1) เป็นจุดเชื่อมทะเลเมดิเตอร์เรเบียนกับทะเลแดงเพื่อใช้ทำการค้า
(2) คลองสายหลักของประเทศสร้างความอุดมสมบูรณ์
(3) เป็นปราการธรรมชาติในการป้องกันดินแดน
(4) เป็นจุดแข็งของสภาพภูมิศาสตร์ของอียิปต์
ตอบ 1 หน้า 47 – 48, 56, 18 (H), 20 (H) จุดอ่อนทางภูมิศาสตร์ของอียิปต์ที่ทำให้พวกฮิคโซสสามารถ เข้ามารุกรานและยึดครองอียิปต์ได้สำเร็จ คือ บริเวณช่องแคบสุเอซ (Suez Canal) ซึ่งเป็น พื้นที่เชื่อมระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชียตะวันตกบริเวณที่ราบลุ่มแม่นํ้าไทกริส-ยูเฟรตีส ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ดังนั้นพื้นที่บริเวณนี้จึงเป็นทางเชื่อมหรือสะพาน ระหว่าง 2 ทวีปและ 2 อารยธรรม เป็นจุดเชื่อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลแดงเพื่อใช้เป็น เป็นเส้นทางการค้า เป็นแหล่งเชื่อมความคิด และเป็นทางเดินของศัตรูผู้รุกรานตลอดสมัย ประวัติศาสตร์อันยาวนานของอียิปต์
16. จุดประสงค์ของการสร้างพีระมิดคือข้อใด
(1) วิหารเพื่อบูชาเทพเจ้า
(2) พระราชวังของฟาโรห์
(3) สถานที่เก็บพระศพของทำโรห์
(4) ศาสนสถานประจำราชวัง
ตอบ 3 หน้า 53 – 54, 64 – 65, 19 (H), 21 (H) การสร้างพีระมิดในสมัยอาณาจักรเก่าของอียิปต์นั้น เป็นการสร้างเพื่อถวายแก่ฟาโรห์ โดยมีจุดประสงค์สำคัญ 2 ประการ คือ
1. เชื่อว่าเมื่อทำโรห์สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ก็จะได้ไปร่วมมือกับเทพเจ้าเพื่อนำความอุดมสมบูรณ์ มาให้แก่อียิปต์เหมือนในสมัยที่ฟาโรห์ยังมีชีวิตอยู่
2. จากความเชื่อในเรื่องวิญญาณเป็นอมตะและโลกหน้า ทำให้มีการสร้างพีระมิดไว้เก็บรักษา พระศพของทำโรห์ เพื่อรอการฟื้นคืนพระชนม์ชีพ
17. ฟาโรห์องค์ใดพยายามลดบทบาทและอำนาจของพระให้น้อยลง โดยการประกาศยกเลิกเทพเจ้าทั้งหมด ให้นับถือเทพเจ้าองค์เดียว
(1) เมเนส
(2) ตุเตนกาเมน
(3) แฮทเซปสุท
(4) อาเมนโฮเตป
ตอบ 4 หน้า 58, 21 (H) จุดมุ่งหมายที่สำคัญในการปฏิรูปศาสนาของฟาโรห์อาเมนโฮเตปที่ 4 มีดังนี้
1. ต้องการให้ชาวอียิปต์หันมานับถือสุริยเทพอาเมนหรือเทพอาเตนเพียงองค์เดียวเท่านั้น
2. เพื่อผลทางการเมือง คือ สร้างอำนาจให้กับฟาโรห์ และต้องการตัดทอนอำนาจของ พวกพระอามอนที่ร่ำรวยขึ้นจากทรัพย์สินที่บรรดาหัวเมืองนำมาถวาย
18. กระดาษ Papyrus ซึ่งใช้เขียนตัวอักษร Hieroglyphic เป็นที่มาของคำว่า…..ซึ่งมีการใช้ในปัจจุบัน
(1)Picture
(2) Paper
(3) Print
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 14. ประกอบ
19. เหตุใดชาวเมโสโปเตเมียถึงมองโลกในแง่ร้าย
(1) ได้รับความลำบากและความเสียหายจากแม่นํ้าไทกรีส-ยูเฟรติส
(2) มีการอยู่ร่วมกันของหลายเผ่าพันธุ์ทำให้เกิดความขัดแย้ง
(3) พื้นที่ไม่มีความอุดมสมบูรณ์ มีการแย่งชิงอาหารและทรัพยากร
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 65 – 68, 23 (H), (คำบรรยาย) ปัจจัยที่ทำให้ชาวเมโสโปเตเมียมองโลกในแง่ร้าย ปลงทุกข์ หวาดกลัว จนทำให้ไม่คิดที่จะกลับมาเกิดใหม่อีก และไม่มีการทำมัมมี่เช่นเดียวกับชาวอียิปต์ มีดังนี้
1. เมโสโปเตเมียเป็นที่อยู่ของกลุ่มชนหลายเชื้อชาติ จึงทำให้เกิดการทำสงครามแย่งชิงอำนาจกัน อยู่ตลอดเวลา
2. เมโสโปเตเมียไม่มีปราการทางธรรมชาติเพื่อป้องกันการรุกรานจากภายนอกเหมือนกับอียิปต์ ที่มีทะเลทราย จึงถูกรุกรานได้ง่าย
3. การไหลท่วมล้นฝั่งของแม่นํ้าไทกริส-ยูเฟรติสในแต่ละปีมีความรุนแรง จนสร้างความลำบาก และความเสียหายให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณสองฝั่งแม่น้ำเป็นอย่างมาก
4. พื้นที่ไม่มีความอุดมสมบูรณ์ ทำให้มีการแย่งชิงอาหารและทรัพยากรธรรมชาติ
20. กลุ่มชนชาติแรกที่สร้างอารยธรรมในดินแดนเมโสโปเตเมียคือกลุ่มใด
(1) สุเมเรียน
(2) อัคคาเดียน
(3) แคลเดียน
(4) เปอร์เซีย
ตอบ 1 หน้า 68 – 71, 23 – 24 (H) สุเมเรียนเป็นชนชาติแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานและวางรากฐานทางอารยธรรมในดินแดนเมโสโปเตเมีย มรดกทางอารยธรรมที่สำคัญของชาวสุเมเรียน มีดังนี้
1. มีการประดิษฐ์ตัวอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) หรืออักษรรูปลิ่ม โดยใช้เหล็กแหลมกดลง บนแผ่นดินเหนียวแล้วจึงนำไปตากให้แห้ง เมื่อประมาณ 3500 B.C.
2. มีการสร้างสถาปัตยกรรมด้วยอิฐที่เรียกว่า “ซิกกูแรต” (Ziggurats) เพื่อใช้เป็นวิหารของเทพเจ้า
3. มีการทำปฏิทินแบบจันทรคติขึ้นใช้ โดยหนึ่งปีจะมี 354 วัน
4. มีการนับหน่วย 60, 10 และ 6 ซึ่งมีผลต่อการนับเวลาเพื่อประดิษฐ์นาฬิกาและการคำนวณ ทางเรขาคณิตในปัจจุบัน
5. ใช้กฎหมายที่มีลักษณะสนองตอบ หรือ “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” เป็นต้น
21. ตัวอักษรรูปลิ่มเกิดจากการนำของแหลมมากดทับลงบนแผ่นดินเหนียวแล้วนำไปตาก เรียกว่า
(1) เฮียโรกลิพีก
(2) คูนิฟอร์ม
(3) อราเมอิก
(4) ละติน
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 20. ประกอบ
22. กฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของโลกคือกฎหมายใด
(1) กฎหมายจัสติเนียน
(2) กฎหมายดราโค
(3) รัฐธรรมนูญแมกนาคาร์ตา
(4) กฎหมายฮัมมูราบี
ตอบ 4 หน้า 73 – 74, 24 (H) พระเจ้าฮัมมูราบี แห่งจักรวรรดิบาบิโลเนีย ได้ทรงร่างประมวลกฎหมาย ฮัมมูราบี (The Code of Hammurabi) ขึ้นมาใช้ โดยจารึกด้วยอักษรคูนิฟอร์มลงบนแผ่นหินไดโดไรท์สีดำซึ่งสูง 8 ฟุต ดังนั้นจึงถือว่าเป็นกฎหมายที่มีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรฉบับแรก ของโลก ทั้งนี้ประมวลกฎหมายอัมมูราบีจะอาศัยหลักลัทธิสนองตอบ (Lex Talionis) หรือ ตาต่อตา ฟันต่อฟัน ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากกฎหมายของสุเมเรียน
23. ชนชาติใดได้รับฉายาว่า “ชาวโรมันตะวันออก”
(1) อัคคาเดียน
(2) อัสสิเรียน
(3) ลิเดียน
(4) เปอร์เซียน
ตอบ 2 หน้า 80 – 82, 25 – 26 (H) มรดกทางอารยธรรมของอัสสิเรียน มีดังนี้
1. เป็นชนชาติแรกที่จัดระเบียบการปกครองจักรวรรดิอย่างมีระบบ
2. ศิลปะที่มีชื่อเสียงมาก ของอัสสิเรียนคือ การแกะสลักภาพนูนตํ่า ซึ่งสะท้อนถึงลักษณะที่ดุร้ายของชาวอัสสิเรียน
3. สร้างหอสมุดแห่งแรกของเอเชียตะวันตกคือ หอสมุดที่กรุงนิเนอเวห์ ซึ่งสร้างในสมัย พระเจ้าอัสซูร์บานิพัล
4. ชาวอัสสิเรียนได้รับฉายาว่าเป็น “ชาวโรมันตะวันออก”เพราะมีลักษณะเหมือนชาวโรมัน เช่น มีความสามารถทางด้านการคมนาคม การสร้างถนน และ ระบบการส่งข่าวสาร ชอบทำสงครามเพื่อขยายจักรวรรดิออกไปให้กว้างใหญ่ไพศาล เป็นต้น
24. มรดกที่ชาวลิเดียนทิ้งไว้ให้คือข้อใด
(1) การนำเหล็กมาใช้เป็นพวกแรก
(2) การประดิษฐ์เหรียญกษาปณ์
(3) การสลักนูนต่ำที่สวยงาม
(4) นำรถศึกมาใช้ในการสงคราม
ตอบ 2 หน้า 92 – 93, 30 (H), (คำบรรยาย) ผลงานที่สำคัญของกษัตริย์ครีซัสแห่งลิเดีย มีดังนี้
1. เป็นกษัตริย์ที่มีความมั่งคั่งมากจากการทำการค้ากับดินแดนแถบลุ่มแม่นํ้าไทกริส-ยูเฟรตีสและ หมู่เกาะอีเจียน
2. มีการผลิตเหรียญกษาปณ์หรีอทำเหรียญทองผสมเงินขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนตามนํ้าหนักของเหรียญ ซึ่งถือว่าเป็นมรดกทางอารยธรรม ที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน
3. ทำสงครามกับเปอร์เซียจนในที่สุดก็ถูกยึดครองโดย พระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียในปี 546 B.C.
25. กลุ่มใดเป็นผู้ปรับปรุงตัวอักษร Hieroglyphic + Cuneiform และส่งต่อให้กับอารยธรรมโรมัน
(1) อัคคาเดียน
(2) ฮิตไตท์
(3) ลิเดียน
(4) ฟินิเชียน
ตอบ 2 หน้า 78 – 79, 25 (H), (คำบรรยาย) ผลงานทางด้านอารยธรรมของฮิตไตท์ มีดังนี้
1. นำเหล็กมาถลุงและหลอมใช้เป็นชาติแรก รวมทั้งรู้จักใช้ม้าและรถศึกในการรบ
2. ปรับปรุงและผสมผสานตัวอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) ของชาวสุเมเรียนและตัวอักษร เฮียโรกลิฟิก (Hieroglyphic) ของอิยิปต์ให้ใช้ง่ายขึ้น ซึ่งต่อมาได้ส่งต่อให้กับอารยธรรมโรมัน
3. กฎหมายเลียนแบบกฎหมายฮัมมูราบิ แต่จะลงโทษด้วยการชดใช้หรือการลงโทษพอเข็ดหลาบ แทนการแก้แค้นแบบลัทธิสนองตอบ
4. ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้แก่พวกฟรีเจียนและลิเดียน ซึ่งต่อมากลุ่มชนทั้งสองก็ได้ถ่ายทอดวัฒนธรรม ต่อให้แก่พวกกรีก ซึ่งได้กลายมาเป็นผู้นำในการวางรากฐานให้แก่อารยธรรมตะวันตกในปัจจุบัน
26. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของอารยธรรมกรีก
(1) ให้ความสำคัญกับมนุษย์ ปัจเจกบุคคล
(2) เน้นความสนุกสนานร่าเริง กิจกรรมสาธารณะ
(3) มีศีลธรรมและการปฏิบัติตนเป็นคนดี
(4) ให้ความสำคัญความรู้และปรัชญา
ตอบ 3 หน้า 107, 130 – 131, 137, 151, 47 (H) ลักษณะสำคัญของอารยธรรมกรีก มีดังนี้
1. ชาวกรีกโบราณจะเน้นความสำคัญชองมนุษย์ โดยถือว่ามนุษย์คือสัตว์โลกที่มีความสำคัญที่สุด ในจักรภพ รวมทั้งจะยอมรับนับถือความเป็นปัจเจกบุคคล
2. ให้ความสำคัญในเรื่องความรู้และปรัชญา
3. เน้นกิจกรรมสาธารณะและความสนุกสนานร่าเริง
4. มองโลกในแง่ดี มีเหตุผลและมีโลกทัศน์ที่กว้าง ส่งเสริมในเรื่องเสรีภาพ
5. มีความผูกพันต่อส่วนรวมซึ่งแสดงออกในลักษณะของการปกครองโดยเสียงข้างมากหรือ ระบอบประชาธิปไตย
6. เป็นนักมนุษยนิยม (Humanist)
27. ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของกรีกเป็นหมู่เกาะ ทำให้กรีกมีการปกครองแบบใด
(1) นครรัฐ
(2) กษัตริย์
(3) เผด็จการ
(4) สาธารณรัฐ
ตอบ 1 หน้า 110, 112 – 113, 38 (H) สาเหตุที่ทำให้กรีกยุคโบราณมีการปกครองแบบนครรัฐ เนื่องจาก
1. ปัญหาทางสภาพภูมิศาสตร์ เนื่องจากกรีกมีภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง และเป็นเกาะอยู่ติด ชายฝั่งทะเลที่เว้า ๆ แหว่ง ๆ พื้นที่ไม่ติดต่อกัน และหาที่ราบยาก จนกลายเป็นพรมแดน ที่แบ่งแยกชาวกรีกออกจากกันและเป็นอิสระต่อกัน
2. ชาวกรีกมีนิสัยรักความเป็นอิสระ
28. พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสามารถรวบรวมนครรัฐกรีกเข้าด้วยกันและขยายจักรวรรดิกรีกออกไป อย่างกว้างขวาง โดยมีเมืองศูนย์กลางทางอารยธรรมเฮลเลนิสติกอยู่ที่เมืองใด
(1) อินเดีย
(2)อเล็กซานเดรีย
(3)เอเธนส์
(4)มาสิโดเนีย
ตอบ 2 หน้า 145, 148, 46 – 47 (H) พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great)แห่งมาสิโดเนีย สามารถรวบรวมนครรัฐกรีกเข้าด้วยกัน จากนั้นได้ขยายจักรวรรดิกรีกออกไป อย่างกว้างขวางนับตั้งแต่เอเชียน้อย ซีเรีย ปาเลสไตน์ อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และชายแดนอินเดีย ทั้งนี้ได้ทรงพยายามรวมลักษณะที่ดีของอารยธรรมตะวันตก (กรีก) และ ตะวันออก (เปอร์เซีย) เข้าด้วยกัน ปัจจุบันเราเรียกอารยธรรมนี้ว่า “เฮลเลนิสติก’’ (Hellenistic) ซึ่งมีศูนย์กลางของอารยธรรมอยู่ที่เมืองอเล็กซานเดรียในอียิปต์
29. เมืองที่เป็นต้นแบบของการปกครองแบบประชาธิปไตยคือข้อใด
(1) สปาร์ตา
(2)อิกทากัา
(3)ทรอย
(4)เอเธนส์
ตอบ 4 หน้า 127, 130, 40 (H), 43 (H) ในระหว่างสมัยของการปฏิรูปประชาธิปไตย (600 – 500 B.C.) เอเธนส์ได้พัฒนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตยก้าวหน้าไปได้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสมัยของเพริคลิสนั้นถือว่าระบอบประชาธิปไตยได้พัฒนาไปถึงจุดสูงสุด จนทำให้สมัยนี้ ได้ชื่อว่าเป็น “ยุคทองของเอเธนส์” และทำให้เอเธนส์กลายเป็น “บรมครูของนครรัฐกรีก หรือชาวเฮลลัสทั้งมวล” ดังนั้นเอเฮนส์จึงถือว่าเป็นต้นกำเนิดและต้นแบบของการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยและของอารยธรรมตะวันตก
30. จุดประสงค์ของกีฬาโอลิมปิกในยุคโบราณคือข้อใด
(1) การแข่งขันหาบุคคลที่แข็งแรงที่สุดเพื่อคัดเลือกเป็นกษัตริย์
(2) การแสดงต่อเทพเจ้าที่สถิตอยู่บนเทือกเขาโอลิมปัส
(3) เพื่อสร้างความสามัคคีกลมเกลียวในนครรัฐกริก
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 115.39(H) ชาวกรีกโบราณเชื่อว่าเทพเจ้ากรีกมักจะพอใจในการแสดงออกถึงความ กล้าหาญและความเข้มแข็งของมนุษย์ จึงได้จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (Olympic Games) ขึ้นทุก ๆ 4 ปี เพื่อถวายแด่เทพเจ้ากรีกที่สถิตอยู่บนเทือกเขาโอลิมปัส โดยเฉพาะเพื่อถวายแด่ เทพเซอุส (Zeus) ซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุดชของกรีก โดยในการแข่งขันครั้งแรกจะมีเฉพาะกีฬาวิ่งแข่ง ต่อมาจึงได้เพิ่มประโดดสูง พุ่งแหลน ขว้างจักร ชกมวย มวยปลํ้า การแข่งม้า และการแข่งรถ ซึ่งผู้ที่ชนะจะได้รับมงกุฎที่ทำด้วยก้านมะกอก
31. ฮิปโปเครติสมีผลงานสำคัญทางด้าน
(1) ปรัชญา
(2) การแพทย์
(3) ประวัติศาสตร์
(4) คณิตศาสตร์
ตอบ 2 หน้า 136, 44 (H) ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของการแพทย์” ซึ่งเขาแสดงความเห็นว่า โรคทุกชนิดมีสาเหตุมาจากธรรมชาติ ไม่ใช่เพราะพระเจ้าลงโทษ ดังนั้นการรักษาที่ดีที่สุดจึงควรเป็นการพักผ่อนอยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์ และการควบคุมอาหาร นอกจากนี้เขายังเป็นแพทย์ที่มีอุดมคติสูงส่ง ซึ่งปรากฏเป็นหลักปฏิญาณของแพทย์ในปัจจุบัน ที่เรียกว่า “Hippocratic Oath”
32. คณะเอเฟอร์ (Ephors) มีหน้าที่ใด
(1) พิจารณาความสมบูรณ์ของสมาชิกสภา
(2) ออกกฎหมาย
(3) พิจารณาความสมบูรณ์ของเด็กเกิดใหม่
(4) ถอดถอนกษัตริย์
ตอบ 3 หน้า 119 – 120, 122, 41 (H) กลุ่มผู้มีอำนาจสูงสุดในนครรัฐสปาร์ตาคือ คณะเอเฟอริ์ (Ephors) ซึ่งมีหน้าที่สำคัญดังนี้
1.กำหนดโชคชะตาของเด็กเกิดใหม่ทุกคน นั่นคือ เมื่อมีเด็กเกิดใหม่ต้องนำไปให้คณะเอเฟอร์ตรวจสอบความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกาย ถ้าเด็กพิการหรืออ่อนแอก็จะถูกนำไปทิ้งหน้าผา เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อสังคม
2. สามารถถอดถอนหรือสั่งประหารกษัตริย์ได้
3.ควบคุมระบบการศึกษา
4. มีอำนาจเหนือกฎหมายและสภา
33. “การบริหารอยู่ในมือคนส่วนใหญ่” ผู้ที่เป็นผู้วางรากฐานประชาธิปไตยในเอเธนส์คือใคร
(1) คลิสเธนิส (Cleisthenes)
(2) ธีโอโดซีอุส (Theodosius)
(3) เพริคลิส (Pericles)
(4) เฮโรโดตัส (Herodotus)
ตอบ 1 หน้า 126 – 127, 43 (H) คลิสเธนีส (Cleisthenes) เป็นผู้ที่วางรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยในเอเธนส์เป็นคนแรกจนได้รับสมญาว่า “บิดาของประชาธิปไตยแห่งกรุงเอเธนส์” และทำให้ประชาธิปไตยมีความหมายว่า “การบริหารอยู่ในมือของคนส่วนใหญ่” ซึ่งการปฏิรูป ที่สำคัญ ได้แก่
1. กำจัดอิทธิพลของครอบครัวที่มีอำนาจทางการเมือง
2.จัดตั้งสภา 500 แทนสภา 400 ของโซลอน และแบ่งเอเธนส์ออกเป็น 10 เขต แต่ละเขต มีสมาชิก 50 คน
3. นำเอาระบบออสตราซิสม์ (Ostracism) ซึ่งเป็นการเนรเทศบุคคล ที่ไม่พึงปรารถนาออกนอกประเทศมาใช้
34. สงครามใดเป็นจุดเริ่มต้นทำให้นครรัฐกรีกเกิดความแตกแยก
(1) Persian War
(2) Trojan War
(3) Peloponnesian War
(4) Armada War
ตอบ3 หน้า 144, 46 (H) ในระหว่างปี 431 – 404 B.C. นครรัฐต่าง ๆ ของกรีกได้ทำสงครามภายในระหว่างกันเอง เรียกว่า “สงครามเพโลพอนนีเชียน” (The Peloponnesian War) ซึ่งเกิดขึ้น บนคาบสมุทรเพโลพอนนีซัสเป็นส่วนใหญ่ ทำให้บรรดานครรัฐกรีกเกิดความแตกแยกและ อ่อนแอลง จนเปิดโอกาสให้พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งมาสิโดเนียยกกองทัพทหารฟาแลงช์ (Phalanx) เข้ายึดครองนครรัฐกรีกได้ทั้งหมด และสามารถรวบรวมนครรัฐกรีกซึ่งไม่เคยรวมกันเป็นรัฐเดียว เข้าไว้ด้วยกันได้สำเร็จในปี 338 B.C.
35. กฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของโรมันคือข้อใด
(1) ฮัมมูราบี
(2) โซลอน
(3) ดราโค
(4) 12 โต๊ะ
ตอบ 4 หน้า 161, 49 (H) ในสมัยสาธารณรัฐโรมัน หลังจากที่พวกพลีเบียนได้รวมตัวกันเรียกร้องสิทธิ ในการปกครองจากพวกแพทรีเชียนในปี 466 B.C. แล้ว พวกพลีเบียนยังได้เรียกร้องให้ มีการร่างกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร โดยจารึกลงบนแผ่นทองแดง 12 แผ่น แล้วนำไปติด ที่ฟอรัมเพื่อประกาศให้ราษฎรโดยทั่วไปทราบ เรียกว่า “กฎหมาย 12โต๊ะ” ซึ่งถือว่าเป็น กฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของโรมัน โดยประกาศใช้เมื่อปี 450 B.C.
36. ความสำคัญของปฏิทินแบบจูเลียนที่ประกาศใช้ในสาธารณรัฐโรมันตั้งแต่ปี 46 B.C. และตกทอด ใช้มาจนถึงปัจจุบันคือ
(1) มีที่มาจากปฏิทินแบบสุริยคติของอียิปต์
(2) กรกฎาคมเป็นเดือนของจูเลียส ซีซาร์
(3) สิงหาคมเป็นเดือนของจักรพรรดิออกุสตุสที่ 1
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 52, 50 – 51 (H), (คำบรรยาย) ในปี 46 B.C. จูเลียส ซีซาร์ ได้นำเอาปฏิทินแบบสุริยคติ ของอียิปต์มาเผยแพร่และนำมาดัดแปลงใช้ในสาธารณรัฐโรมัน ปฏิทินจึงถือกำเนิดขึ้นครั้งแรก โดยมีชื่อว่า Julian Calendar ซึ่งปฏิทินดังกล่าวก็ยังคงใช้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยชื่อ เดือนกรกฎาคมหรือ July ก็มาจากชื่อของ Julius Caesar ส่วนชื่อเดือนสิงหาคม (August) จะมาจากชื่อของจักรพรรดิออกุสตุสที่ 1 (Augustus I) ซึ่งปกครองจักรวรรดิโรมันในปี 27 B.C.
37. สาเหตุที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงจากสาธารณรัฐโรมันกลายมาเป็นจักรวรรดิโรมันคือ (1) การประกาศใช้ปฏิทินใหม่
(2) การสังหารจูเลียส ซีซาร์
(3) การถือกำเนิดของซีซาเรียนบุตรขายของซีซาร์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 168 – 169, 51 (H) หลังจากที่จูเลียส ซีซาร์ ถูกบรูตัสและสมาชิกสภาซีเนทรุมสังหาร จนสิ้นพระชนม์แล้ว กรุงโรมก็เกิดความวุ่นวายเพราะมีการแย่งขิงอำนาจซึ่งกันและกันในที่สุด ออคเตเวียน หลายชายและมีฐานะเป็นบุตรบุญธรรมของซีซาร์ได้รับชัยชนะ และได้สถาปนา ตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิโรมัน โดยทรงมีพระนามใหม่ว่า “ออกุสตุสที่ 1” พร้อมทั้งมีการ เปลี่ยนแปลงการปครองจากระบอบสาธารณรัฐมาเป็นจักรวรรดิโรมันในปี 27 B.C.
38. สำนวน “Pyrrhic Victory” มีความหมายอย่างไร
(1) ชัยชนะที่ประสบความสำเร็จอย่างสวยงาม
(2)ชัยชนะที่ได้รับการโหวตและตัดสินจากเสียงข้างมาก
(3)ชัยชนะที่ได้มาแต่ตัวเองต้องเสียหายอย่างยับเยิน
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 163, 49 (H) ในช่วงที่โรมันทำสงครามขยายอำนาจลงไปทางตอนใต้ของแหลมอิตาลี ซึ่งเป็นเขตยึดครองของพวกกรีก กรีกได้ขอความข่วยเหลือจากกษัตริย์ไพรัส (Pyrrhus)แห่งเอปิรัสซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งนครรัฐกรีก โดยในระยะแรกนั้นกษัตริย์ไพรัสทรงได้รับชัยชนะ แต่กองทัพของพระองค์ก็ได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก จนเกิดเป็นสำนวนภาษาอังกฤษที่ว่า “Pyrrhic Victory” หมายถึง ชัยชนะที่ได้มาแต่ตัวเองต้องเสียหายอย่างยับเยิน โดยในที่สุด โรมก็ชนะและสามารถยึดครองแหลมอิตาลีได้ทั้งหมดนับตั้งแต่ปี 265 B.C. เป็นต้นมา
39. Pax Romana (สมัยสันติสุขโรมัน) 25 B.C. – A.D. 180 เป็นสมัยที่ไม่มีกลุ่มใดมารุกรานโรมันเป็นระยะเวลา 200 ปี เป็นผลงานของใคร
(1) Nero
(2) Julius Caesar
(3) Augustus Caesar
(4) Pyrrhus
ตอบ 3 หน้า 169 – 171, 51 (H) ความสำคัญของสมัยการปกครองของจักรพรรดิออกุสตุสที่ 1(Augustus Caesar หรือ Augustus I) มีดังนี้
1. เป็นสมัยสันติสุขโรมัน (Pax Romana : 27 B.C. – A.D. 180) ซึ่งเกิดขึ้นจากอานุภาพของจักรพรรดิออกุสตุสที่ 1 ทำให้ไม่มีกลุ่มชนใดมา รุกรานจักรวรรดิโรมันเป็นเวลาร่วม 200 ปี
2. เป็นยุคทองของโรมัน (Roman’s Golden Age)
3.ได้ชื่อว่าเป็น “ยุคปรินซิเปท” (Pnndpate) นั่นคือ ออกุสตุสทรงพอพระทัยในตำแหน่ง พลเมืองโรมันหมายเลขหนึ่ง (Princeps) มากกว่าตำแหน่งจักรพรรดิ
4. มีการยกเลิกการปกครองจากระบอบสาธารณรัฐมาเป็นจักรวรรดิโรมัน
5. เป็นสมัยที่พระเยซูคริสต์ประสูติที่เมืองเบธเลเฮมในมณฑลจูเดียของโรมัน
40. ข้อใดไม่ใช่อารยธรรมโลกโบราณในทวีปอเมริกา ได้แก่อารยธรรมใด
(1) แอสเท็ค
(2) มายา
(3) อินคา
(4) สุเมเรียน
ตอบ 4 หน้า 189, 55 (H), (ดูคำอธิบายข้อ 20. ประกอบ) อารยธรรมเก่าในโลกใหม่หรืออารยธรรมโลกโบราณในทวีปอเมริกา จะมีเพียง 3 ชนเผ่าที่มีอารยธรรมสูงเทียบเท่ากับอารยธรรมอียิปต์ และเมโสโปเตเมีย ได้แก่ มายา (Maya) ในอเมริกากลางและกัวเตมาลา, แอสเท็ค (Aztec)ในเม็กซิโก และอินคา (Inca) ในเปรู
41. เหตุใดยุคกลางตอนต้นถึงถูกเรียกว่า “ยุคมืด” (Dark Age)
(1) ความเจริญก้าวหน้าของอารยธรรมกรีก-โรมัน หยุดชะงักและสูญหาย
(2) เกิดสงครามความขัดแย้งระหว่างศาสนาบ่อยครั้ง
(3) โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์เป็นผลให้ขาดอาหารและความอุดมสมบูรณ์
(4) ความเสื่อมของคริสต์ศาสนา
ตอบ 1 หน้า 205 – 208, 318, 59 (H), (คำบรรยาย) ยุคกลางตอนต้น (คศ. 500 – 1050) ถูกเรียกว่า “ยุคมืด” (Dark Age) เพราะความเจริญก้าวหน้าด้านศิลปวิทยาการต่าง ๆ ของอารยธรรม กรีก-โรมัน หรืออารยธรรมคลาสสิกได้หยุดชะงักลงและสูญหายไปจากดินแดนยุโรปตะวันตก นอกจากนี้ยังถูกพวกอนารยชนเยอรมันกลุ่มต่างๆ เข้ามารุกรานอยู่เสมอ ทำให้สภาพบ้านเมือง เกิดความสับสนวุ่นวาย มีการปล้นสะดมและสู้รบระหว่างกลุ่มชนตลอดเวลา อีกทั้งสภาพสังคม ยังมีลักษณะเป็นสังคมชนบทโดยส่วนใหญ่จะเป็นชาวนาชาวไร่ที่ยากจนไม่มีการตั้งอาณาจักรใหญ่ของตนเอง ปกครองโดยไม่ใช้กฎหมายและไม่มีระเบียบแบบแผน อย่างไรก็ตามสถาบันเดียวที่พวกอนารยชนไม่ได้ทำลายไปพร้อมกับจักรวรรดิโรมันตะวันตกและกลายเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญ ในยุคกลางก็คือ ศาสนาคริสต์
42. การปกครองแบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism) สิ่งใดสำคัญที่สุด
(1)ทอง
(2) อำนาจ
(3) ทรัพยากร
(4) ที่ดิน
ตอบ 4 หน้า 223 – 224, 65 (H), (คำบรรยาย) ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์หรือระบอบฟิวดัล(Feudalism/FeudaO เป็นระบบความสัมพันธ์โดยมีเงื่อนไขระหว่างเจ้าเหนือหัว (Lord) หรือ ผู้ให้เช่าที่ดินซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นกษัตริย์หรือขุนนาง กับบริวารหรือข้า (Vassal) หรือผู้เช่าที่ดิน โดยมีที่ดิน (Fiefs/Feuda) เป็นพันธะแห่งความผูกพันและภาระหน้าที่ที่มีต่อกันระหว่างเจ้ากับข้า”
43. ระบบเศรษฐกิจของพวกอนารยชนที่ใช้ร่วมกับการปกครองแบบศักดินาสวามิภักดิ์คือข้อใด
(1)ทุนนิยม
(2)เสรีนิยม
(3) พาณิชย์ชาตินิยม
(4) ระบบปราสาท
ตอบ 4 หน้า 233 – 234, 66 (H), (คำบรรยาย) ระบบแมเนอร์ ระบบคฤหาสน์ หรือระบบปราสาท (Manorialism) เป็นระบบเศรษฐกิจของพวกอนารยชนที่เกิดขึ้นพร้อมกับการปกครองแบบ ศักดินาสวามิภักดิ์ และถือเป็นหน่วยเศรษฐกิจของยุคกลาง ซึ่งสภาพโดยทั่วไปของแมเนอร์ (Manor) จะประกอบด้วย คฤหาสน์หรือปราสาท (Castte/Manor House) ของเจ้าของที่ดิน เป็นจุดศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยกระท่อมของชาวนารวมกันเป็นหมู่บ้าน (Village) ส่วนรอบนอกหมู่บ้านจะเป็นทุ่งโล่งสำหรับการเกษตร ทุ่งหญ้า และป่าไม้ นอกจากนี้ยังเป็นระบบเศรษฐกิจ แบบพึ่งตนเอง (Self-sufficiency) ซึ่งมีการทำการเกษตรเป็นหลัก
44. อนารยชนกลุ่มแรกที่สามารถก่อตั้งอาณาจักรแรกขึ้นในดินแดนยุโรปตะวันตกคือกลุ่มใด
(1)Norman
(2)Franks
(3) Visigoths
(4)Ostrogoths
ตอบ 2 หน้า 215 – 217, 61 – 62 (H) พวกแฟรงค์ (Franks) เป็นอนารยชนที่สามารถรวบรวมดินแดน ยุโรปตะวันตกให้เป็นปึกแผ่นได้อีกครั้งภายหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก โดยพวกแฟรงค์ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มแม่นํ้าไรน์เมื่อประมาณ ค.ศ. 300 ต่อมาได้อพยพ ไปตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของแคว้นกอล และได้ก่อตั้งอาณาจักรแฟรงค์เป็นอาณาจักรแรก ขึ้นในดินแดนยุโรปตะวันตกภายใต้การนำของ 2 ราชวงศ์ คือ อาณาจักรเมโรแวงเจียน และ อาณาจักรคาโรแลงเจียน
45. Donation of Pepin การบริจาคที่ของ Pepin ที่ภายหลังพัฒนาเป็นนครรัฐวาติกันคือพื้นที่ใด
(1)Papal States
(2) Aix-la-chapelle
(3) Vatican
(4) Constantinoble
ตอบ 1 หน้า 217, 62 – 63 (H) เมื่อเปแปงที่ 3 (Pepin III) ได้ขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์คาโรแลงเจียนของพวกแฟรงค์ในปี ค.ศ. 752 แล้ว เปแปงก็ต้องการการสนับสนุนทางการเมืองจากฝ่ายศาสนจักร ดังนั้นพระองค์จึงเอาใจสันตะปาปาด้วยการยึดครองอาณาจักรทางภาคกลางของพวกลอมบาร์ด และนำไปถวายแก่สันตะปาปา เรียกว่า การบริจาคที่ของเปแปง (Donation of Pepin) ต่อมา ดินแดนนี้ก็คือ นครรัฐสันตะปาปา (Papal States) ซึ่งมีผลสำคัญคือ เป็นการเริ่มอำนาจ ทางการเมืองของสันตะปาปาในอิตาลีซึ่งยืนยงจนถึงปี ค.ศ. 1870
46. Vassal มีความหมายว่าอย่างไร
(1)ผู้ให้เช่าที่ดิน
(2) ทาสติดที่ดิน
(3) ผู้เช่าที่ดิน
(4) แรงงาน
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 42. ประกอบ
47. ในยุคกลางมีสงครามแย่งชิงที่ดินระหว่างขุนนางบ่อยครั้ง สันตะปาปาจึงออกประกาศให้มีการหยุดพักรบ เพื่อพระผู้เป็นเจ้า คือประกาศข้อใด
(1)Peace of God
(2) Truce of God
(3) Interdict
(4) Excommunication
ตอบ 2 หน้า 231 – 232, 65 – 66 (H) ในยุคกลางมักมีสงครามแย่งชิงที่ดินระหว่างขุนนางอยู่บ่อยครั้งสันตะปาปาจึงออกประกาศให้มีการหยุดพักรบเป็นการชั่วคราวใน 2 กรณี ดังนี้คือ
1. ประกาศสันติสุขแห่งพระผู้เป็นเจ้า (Peace of God) ซึ่งมีจุดประสงค์สำคัญเพื่อให้ การพิทักษ์แก่บุคคลและสถานที่บางแห่งยามที่มีสงคราม เช่น ในโบสถ์ พื้นที่รอบโบสถ์ สำนักชีเป็นต้น
2. ประกาศระยะพักรบเพื่อพระผู้เป็นเจ้า (Truce of God) คือ ห้ามทำการรบตั้งแต่ พระอาทิตย์ตกดินในวันพุธไปจนถึงพระอาทิตย์ขึ้นในเช้าวันจันทร์
48. วิธีการใดที่สันตะปาปาใช้ลงโทษกษัตริย์
(1)Peace of God
(2) Truce of God
(3) Interdict
(4) Excommunication
ตอบ 4 หน้า 240, 321, 66 (H) มาตรการสำคัญที่ศาสนจักรใช้ลงโทษผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสอนทางศาสนามีดังนี้
1. การบัพพาชนียกรรม (Excommunication) คือ การประกาศขับไล่บุคคลสำคัญ เช่น กษัตริย์ หรือนักคิดคนสำคัญ ออกจากการเป็นคริสเตียนหรือเป็นพวกนอกรีด (Heretic) โดยไมให้ศาสนิกชนอื่นเข้ามาคบหาด้วย
2. การอินเทอดิค (Interdict) คือ การประกาศว่าดินแดนใดดินแดนหนึ่งเป็นดินแดนนอกศาสนา ห้ามประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และบางกรณี อาจตัดกลุ่มชนออกจากศาสนา ซึ่งถือว่าเป็นการลงโทษที่รุนแรงที่สุด
49. ข้อใดไม่ใช่ความเสื่อมของระบบฟิวดัล
(1) สงครามครูเสดทำให้ขุนนางตายเป็นจำนวนมาก
(2) การผลิตดินปืน ทำให้นักรบและอัศวินหมดความหมาย
(3) โรคระบาดกาฬโรค (Black Death)
(4) การแย่งชิงที่ดินระหว่างกษัตริย์
ตอบ 4 หน้า 237, 66 – 67 (H) สาเหตุสำคัญที่ทำให้ระบอบฟิวดัลหรือระบอบศักดินาสวามิภักดิ์เสื่อมลง มีดังนี้
1. สงครามครูเสด ทำให้พวกขุนนางตายไปเป็นจำนวนมาท กษัตริย์จึงมีอำนาจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
2. ความเจริญทางการค้า ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจแบบแมเนอร์ลดความสำคัญลง
3. ความสำเร็จในการผลิตกระสุนดินปืน ทำให้นักรบและอัศวินสวมเกราะหมดความหมาย
4. การเกิดโรคระบาดในศตวรรษที่ 14 คือ กาฬโรค (Black Death) ทำให้ประชากรลดลง พวกทาสติดที่ดินจึงหางานทำได้ง่ายขึ้น เป็นต้น
50. การเลือกสันตะปาปาองค์ใหม่สืบต่อจากสันตะปาปาองค์เก่าเลือกจากพระในกลุ่มใด
(1)Priest
(2) Bishop
(3) Archbishop
(4) Cardinal
ตอบ 4 หน้า 240 – 241, 67 – 68 (H), (คำบรรยาย) ตำแหน่งของพระในโครงสร้างของศาสนจักร สามารถเรียงลำดับจากระดับตํ่าสุดไปหาสูงที่สุด ได้แก่ พระ (Priest), บิชอป (Bishop),อาร์ชบิชอป (Archbishop), คาร์ดินัล (Cardinal) ซึ่งแต่งตั้งโดยสันตะปาปา โดยทำหน้าที่ เป็นที่ปริกษาของสันตะปาปา และสันตะปาปา (Pope) ซึ่งเป็นหัวหน้าสูงสุดของศาสนจักร เมื่อสันตะปาปาสิ้นพระชนม์ลง พระที่อยู่ในกลุ่ม Cardinal จะเป็นผู้ที่มีสิทธิได้รับเลือกให้ เป็นสันตะปาปาองค์ใหม่โดยผ่านที่ประชุมของคณะคาร์ดินัล (College of Cardinals)หรือพระราชาคณะ
51. จักรวรรดิโรมันตะวันออกล่มสลายจากการรุกรานของกลุ่มใด
(1)Moors
(2) Lombards
(3) Franks
(4) Ottoman Turks
ตอบ 4 หน้า 255, 54 (H), 70 (H) ในปี A.D. 1453 จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ ได้ล่มสลายลง เพราะถูกพวกออตโตมัน เติร์ก (Ottoman Turks) เข้ายึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จ หลังจากนั้นอารยธรรมไบแซนไทน์จึงถูกถ่ายทอดให้แก่รัสเซียทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม ปฏิทิน ตัวอักษร และนิกายกรีกออร์ธอดอกซ์ (Greek Orthodox) ซึ่งได้ย้ายศูนย์กลางไปอยู่ที่ รัสเซีย (Russia) เรียกว่า “นิกาย Russian Orthodox”
52. A.D. 1453 กรุงคอนสแตนติโนเปิลแตก นิกาย Greek Orthodox ย้ายศูนย์กลางไปอยู่ที่ใด
(1)Russia
(2) Germany
(3) Rome
(4) Moscow
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 51. ประกอบ
53. ประมวลกฎหมายใดเป็นแบบอย่างของตัวบทกฎหมายในสมัยกลางและยังสืบทอดมาถึงปัจจุบัน
(1)ดราโค
(2) จัสติเนียน
(3) 12โต๊ะ
(4) อัมมูราบี
ตอบ 2 หน้า 252 – 253, 323, 70 (H) ผลงานที่สำคัญของจักรพรรดิจัสติเนียนแห่งจักรวรรดิโรมันตะวันออก มีดังนี้
1. ขยายอาณาเขตออกไปถึงภาคเหนือของแอฟริกา ภาคใต้ของสเปน และอิตาลี
2. สร้างประมวลกฎหมายจัสติเนียน (Corpus Juris Civilis) ในปี ค.ศ. 529 ซึ่งได้กลายเป็น แบบอย่างของตัวบทกฎหมายในสมัยกลางและยังสืบทอดมาถึงปัจจบัน
3. สร้างโบสถ์เซนต์โซเฟีย (Santa Sophia) ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลเมื่อ ค.ศ. 537
54. A.D. 718 – 1492 ระยะเวลากว่า 700 ปี เป็นยุคแห่งการยึดอำนาจคืนของพวกคริสเตียนจากพวกมัวร์ ในสเปนเรียกว่ายุคใด
(1)Dark Age
(2) Reconquest
(3) Renaissance
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 267, 335 – 336, 73 (H), 86 – 87 (H) ยุค Reconquista หรือ Reconquest เป็นยุคแห่งการยึดอำนาจคืนของพวกคริสเตียนจากพวกมัวร์ (Moors) หรือมุสลิมสเปน ซึ่งยึดครองสเปนนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 718 – 1492 เป็นระยะเวลากว่า 700 ปี โดยยุคนี้ได้สิ้นสุดลง เมื่อสเปนสามารถเข้ายึดครองอาณาจักรกรานาดาจากพวกมัวร์ได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1492 ภายใต้การนำของกษัตริย์สเปน 2 พระองค์ คือ พระเจ้าเฟอร์ดินานค์ที่ 2 แห่งอรากอน และพระราชินีอิซาเบลลาที่ 1 แห่งคาสติล จากนั้นจึงมีการรวมอาณาจักรคริสเตียน 4 แห่ง คือ คาสติล (Castile), อรากอน (Aragon), กรานาดา (Granada) และนาวารี (Navarre)เข้าด้วยกัน แล้วสถาปนาเป็นรัฐชาติสเปนนับตั้งแต่นั้น
55. ข้อใดไมใช่สาเหตุของการเกิดสงครามร้อยปีคือข้อใด
(1) Edward III แห่งอังกฤษต้องการครองบัลลังก์ฝรั่งเศส
(2) อังกฤษมีความเข้มแข็งทางทหารและพลเมืองบางส่วนของฝรั่งเศสเข้าข้างฝ่ายอังกฤษ
(3) ต้องการทำการค้าร่วมกับฝรั่งเศส
(4) ถูกขัดขวางจากฝรั่งเศสในการยึดสกอตแลนด์
ตอบ 3 หน้า 296 – 297, 79 (H), (คำบรรยาย) สงครามร้อยปี (The Hundred Years’ War:ค.ศ. 1337 – 1453) เป็นสงครามฟิวดัลระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งมีสาเหตุสำคัญดังนี้
1. กษัตริยเอ็ดเวิร์ดที่ 3 (Edward III) แห่งอังกฤษ ทรงเรียกร้องสิทธิในการขึ้นครองราชบัลลังก์ ฝรั่งเศสในฐานะที่ทรงเป็นทายาทของฟิลิปที่ 4 กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส
2. อังกฤษมีความเข้มแข็งทางทหาร และพลเมืองบางส่วนของฝรั่งเศสเข้าข้างฝ่ายอังกฤษ
3. แคว้นฟลานเดอร์ (เบลเยี่ยมในปัจจุบัน) ซึ่งควรจะอยู่ภายใต้อิทธิพลของฝรั่งเศส แต่ประชาชนกลับฝักใฝ่อังกฤษเพราะได้รับผลประโยชน์ทางการค้า
4. อังกฤษถูกฝรั่งเศสขัดขวางในการยึดครองสกอตแลนด์
56. Tudor Dynasty เป็นผลจากการเกิดสงครามใด
(1) สงคราม 100 ปี
(2) สงครามดอกกุหลาบ
(3) สงครามเปอร์เซียน
(4) สงครามกลางเมืองฝรั่งเศส
ตอบ 2 หน้า 299, 326, 79 – 80 (H) สงครามดอกกุหลาบ (War of the Roses : ค.ศ. 1455)เป็นสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นในอังกฤษ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการแย่งกันขึ้นปกครองอังกฤษ ระหว่างตระกูลแลงคาสเตอร์ (ดอกกุหลาบสีแดง) กับตระกูลยอร์ก (ดอกกุหลาบสีขาว) สงครามจบลงในปี ค.ศ. 1485โดยเฮนรี ทิวดอร์ ผู้นำตระกูลแลงคาสเตอร์เป็นผู้ชนะ ซึ่งมีผลติดตามมาคือ
1. ขุนนางเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก ทำให้กษัตริย์องค์ใหม่สามารถ พัฒนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
2. เฮนรี ทิวดอร์ ได้สถาปนาราชวงศ์ ทิวดอร์ (Tudor Dynasty) ขึ้นปกครองอังกฤษ
57. อังกฤษเปลี่ยนศาสนาจาก Catholic เป็น Anglican Church (Church of England) สมัยใด
(1) Henry V
(2) Edward I
(3) Henry VIII
(4) William the Conqueror
ตอบ 3 หน้า 383, 99 (H), (คำบรรยาย) การปฏิรูปศาสนาในอังกฤษเกิดขึ้นเพราะพระเจ้าเฮนรีที่ 8 (Henry VIII) แห่งอังกฤษทรงไม่พอพระทัยที่สันตะปาปาไม่ยอมจัดการให้พระองค์หย่าขาดจาก พระบางแคทเทอรีนแห่งอรากอนเพื่ออภิเษกสมรสใหม่กับแอน โบลีน (Ann Bolynn) จึงทรงตั้ง สังฆราชแห่งแคนเทอเบอรี่ขึ้นใหม่ โดยตัดขาดจากองค์กรคริสตจักรที่กรุงโรม และทรงให้รัฐสภา ออกกฎหมายที่เรียกว่า “The Act of Supremacy” ในปี ค.ศ. 1534 เพื่อแต่งตั้งให้พระองค์เป็น ประมุขทางศาสนาในประเทศอังกฤษแทนสันตะปาปา หรือ “Catholic without Pope” ซึ่งส่งผล ทำให้อังกฤษเปลี่ยนศาสนาเป็น “นิกายอังกฤษ” (Anglican Church/Church of England)
58. ภาษาฝรั่งเศสเข้าไปปะปนกับภาษาอังกฤษและแพร่หลายในกลุ่มชนชั้นสูงของอังกฤษ เป็นผลมาจากการกระทำของ……ในปี ค.ศ. 1066
(1) วิลเลียมแห่งนอร์มังดี
(2) ฟิลิป ออกัสตัส
(3) ริชาร์ดใจสิงห์
(4) อัลเฟรดมหาราช
ตอบ 1 หน้า 271 – 273, 72 (H), 74 (H) ผลจากการที่วิลเลียม ดุ๊กแห่งนอร์มังดีของฝรั่งเศส ได้เข้า ยึดครองอังกฤษในปี ค.ศ. 1066 มีดังนี้
1. ทำให้กษัตริย์อังกฤษมี 2 สถานภาพ คือ มีฐานะ เป็นเจ้า (Lord) สูงสุดในอังกฤษ แต่ต้องมีฐานะเป็นข้า (Vassal) ของกษัตริย์ฝรั่งเศส เมื่อเข้าไป ถือครองและเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากที่ดินในฝรั่งเศส
2. ขุนนางแองโกล-แซกซันถูกกำจัด
3.ภาษาฝรั่งเศสกลายเป็นภาษาของชนชั้นสูงและเข้าไปปะปนในภาษาอังกฤษ
4.มีการนำระบบแมเนอร์เข้ามาใช้ในอังกฤษ
5. มีการจัดทำทะเบียนราษฎร์อย่างละเอียด ในปี ค.ศ. 1086 ซึ่งเรียกว่า “Doomsday Books” เพื่อการเก็บภาษีและการเกณฑ์แรงงาน
59. Henry the Navigator เจ้าชายแห่งการเดินเรือเป็นผู้นำการเดินเรือของประเทศใด
(1)สเปน
(2) โปรตุเกส
(3) อังกฤษ
(4) ฝรั่งเศส
ตอบ 2 หน้า 351, 73 (H), 90 (H) บุคคลสำคัญที่ทำให้โปรตุเกสประสบความสำเร็จในการสำรวจ ทางทะเลในศตวรรษที่ 15 คือ เจ้าชายเฮนรี นักเดินเรือ (Henry the Navigator) ซึ่งทรง สนพระทัยในการศึกษาเรื่องราวของทวีปแอฟริกา และทรงเปิดโรงเรียนเดินเรือขึ้น ทำให้โปรตุเกส มีนักเดินเรือที่สำคัญ 3 ท่าน ได้แก่ ไดแอซ (Diaz), วาสโก ดา กามา (Vasco da Gama) และ คาบรัล (Cabral)
60. บุคคลใดเป็นผู้ค้นพบทวีปอเมริกาในปี A.D. 1492
(1) วาสโก ดา กามา
(2) คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส
(3) เดวิด เบคแฮม
(4) แมกเจลแลน & เดลคาโน
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ
61. บุคคลผู้เดินทางโดยเรือรอบโลกเป็นกลุ่มแรกคือใคร
(1) วาสโก ดา กามา
(2) คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส
(3) เดวิด เบคแฮม
(4) แมกเจลแลน & เดลคาโน
ตอบ 4 หน้า 351, 90 (H), (คำบรรยาย) แมกเจลแลน & เดลคาโน เป็นนักสำรวจทางเรือชาวสเปน กลุ่มแรกที่ได้รับการยกย่องว่าแล่นเรือรอบโลกสำเร็จเป็นครั้งแรกในระหว่างปี ค.ศ. 1519 – 1522 และถือว่าเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าโลกกลมเป็นครั้งแรกอีกด้วย
62. “Renaissance” มีความหมายว่าอย่างไร
(1) การนำศิลปวิทยาการในยุคกลางกลับมาใช้ใหม่
(2)การพัฒนาศิลปวิทยาการต่อเนื่องจากยุคกลาง
(3) การฟื้นฟูศิลปะและวิชาการกรีก-โรมัน
(4)ความพยายามหาแนวทางใหม่ในการพัฒนาศิลปะนำใปสู่ยุคใหม่
ตอบ 3 หน้า 355 – 358, 92 (H) การฟื้นฟูศิลปวิทยาการหรือเรอเนสซองส์ (Renaissance) ซึ่งคำว่า “Renaissance” แปลตามศัพท์ได้ว่า “การเกิดใหม่” (Rebirth) ซึ่งก็จะหมายถึงการฟื้นฟูศิลปะ และวิชาการกรีก-โรมัน หรือการเกิดใหม่ของอารยธรรมคลาสสิกหรือการฟื้นฟูอารยธรรม กรีก-โรมัน (Greco-Roman) ขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการเกิดขึ้นครั้งแรก ที่เมืองฟลอเรนซ์ในแหลมอิตาลี ก่อนที่จะแพร่ขยายเข้าไปใบประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ
63. การจัดทั้งคณะผู้เลือก 7 คน (7 Electors) เพื่อเลือกจักรพรรดิองค์ใหม่ตามรัฐธรรมนูญฉบับประกาศทอง ปี ค.ศ. 1356 เท่ากับเป็นการตัดอิทธิพลของ….ออกจากการเลือกตั้งจักรพรรดิองค์ใหม่แห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
(1) กษัตริย์เยอรมัน
(2) สันตะปาปา
(3) ขุนนางฝรั่งเศส
(4) พระ
ตอบ 2 หน้า 292 – 293, 78 (H) ตามรัฐธรรมนูญฉบับประกาศทอง (The Golden Bull) ปี ค.ศ. 1356 ซึ่งประกาศใช้โดยจักรพรรดิซาร์ลที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์ก กำหนดให้เจ้าผู้ครองแคว้นในอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (เจ้าเยอรมัน) 7 องค์ หรือจัดเป็นคณะผู้เลือกทั้ง 7 คน (7Electors) เป็น ผู้เลือกจักรพรรดิองค์ใหม่โดยไม่ต้องมีการรับรองจากศาสนจักร ซึ่งถือว่าเป็นการตัดสิทธิของ สันตะปาปาออกจากการเลือกตั้งจักรพรรดิองค์ใหม่แห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และ นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1438 เป็นต้นมา กษัตริย์แห่งราชวงศ์แฮปสเบิร์กแห่งออสเตรียมักจะได้รับการเลือกตั้งเป็นจักรพรรดิ
64. เหตุการณ์ Babylonian Captivity ค.ศ. 1305 – 1377 และเหตุการณ์ The Great Schism ค.ศ. 1378 – 1417 แสดงให้เห็บถึงความเสื่อมของ
(1) ศาสนจักร
(2)ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์
(3) ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
(4) พวกแคลเตียน
ตอบ 1 หน้า 300 – 303, 80 – 81 (H) เหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความเสื่อมอำนาจของศาสนจักร ในศตวรรษที่ 14-15 มีดังนี้
1. การคุมขังแห่งบาบิโลเนีย (Babylonian Captivity : ค.ศ. 1305 – 1377) เกิดขึ้นเพราะ สันตะปาปาได้ย้ายที่ประทับจากกรุงโรมในอิตาลีมาอยู่ที่เมืองอาวิญยองในฝรั่งเศส ทำให้ สันตะปาปาชาวฝรั่งเศสองค์ต่อ ๆ มาพำนักอยู่ในฝรั่งเศสเป็นเวลา 70 ปี ส่งผลให้สันตะปาปา ตกอยู่ภายใต้อำนาจของกษัตริย์ฝรั่งเศส และมิได้มีฐานะเป็นประมุขสากลอีกต่อไป
2. การแตกแยกครั้งใหญ่ (The Great Schism : ค.ศ. 1378 – 1417) มีสาเหตุมาจากการแย่งชิง ตำแหน่งพระสันตะปาปาระหว่างชาวอิตาลีกับชาวฝรั่งเศส จนส่งผลให้เกิดสันตะปาปาขึ้น พร้อมกัน 2 องค์ทั้งที่กรุงโรมในอิตาลี และที่เมืองอาวิญยองในฝรั่งเศส
65. รัฐใดได้รับฉายาว่า “ราชินีแห่งท้องทะเล”
(1) เวนิส
(2) เจนัว
(3) ปิซา
(4) ฟลอเรนซ์
ตอบ 1 หน้า 359 – 360, 92 – 93 (H) สาธารณรัฐเวนิสเป็นหนึ่งในบรรดา 5 รัฐผู้นำในแหลมอิตาลี ที่ร่ำรวยที่สุดในฐานะที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการค้าในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในคริสต์ศตวรรษ ที่ 14 จนได้ชื่อว่า “ราชินีแห่งท้องทะเล” (Queen of the Seas) ทั้งนี้เวนิสมีเรือถึง 3,300 ลำ เป็นกองเรือใหม่ที่สุดในโลก เพราะมีทุนมหาศาลจากการทำอุตสาหกรรม สามารถทำการผลิต กระสุนปืนและอะไหล่สำหรับเรือด้วยตนเอง ซึ่งการทุ่มเทด้านการค้าและอุตสาหกรรมนี้มีผลให้ เวนิสเริ่มกระบวนการฟื้นฟูศิลปวิทยาการในคริสต์ศตวรรษที่ 15 และได้กลายเป็นศูนย์กลาง ทางด้านการพิมพ์ของยุโรป
66. “The end justifies the means” การทำให้บรรลุจุดมุ่งหมายวิธีใดวิธีหนึ่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงศีลธรรมเป็นทัศนะหนึ่งในหนังสือเล่มใด
(1) The Art of War
(2)The Principia
(3) The Book of Marco Polo
(4) The Prince
ตอบ 4 หน้า 333 – 334, 362, 94 (H) นิโคโล มาเคียเวลลี (Nicolo Machiavelli) เป็นนักเขียนผู้ทรงอิทธิพลมากที่สุดในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการโดยผลงานที่มีชื่อเสียงก็คือ The Prince ในปี ค.ศ. 1513 ซึ่งเป็นหนังสือที่แนะนำผู้ปกครองให้รักษาความปลอดภัยของรัฐในทุกวิถีทางที่จำเป็น โดยวิธีการ ที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จและได้มาซึ่งอำนาจจะเป็นไปตามทัศนะหนึ่งที่ว่า “The end justifies the means ” หรือการทำให้บรรลุจุดมุ่งหมายวิธีใดวิธีหนึ่งโดยไม่ต้องคำนึงถึงศีลธรรมและ วิธีการที่ถูกต้อง ทั้งนี้จุดมุ่งหมายของเขาก็คือ ต้องการรวมอิตาลีภายใต้การปกครองเดียวกัน
67. The Last Supper & Mona Lisa เป็นภาพเขียนอันโด่งดังของศิลปินใด
(1)Leonardo da Vinci
(2) John Lock
(3) Raphael
(4) Michelangelo
ตอบ 1 หน้า 363 – 364, 94 (H) ลีโอนาร์โด ดา วินซี (Leonardo da Vinci) เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุด ของสากลมนุษย์ (Universal Man) ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ โดยดา วินซี ถือว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถรอบตัว โดยเป็นทั้งประติมากร นักดนตรี สถาปนิก วิศวกร และจิตรกร ทั้งนี้ ผลงานด้านจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาก็คือ The Last Supper และ Mona Lisa ซึ่งนับเป็นตัวอย่างอันดีของศิลปะที่เชิดชูความสำคัญของสตรีในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
68. ข้อใดคือผลงานของ William Shakespeare ที่โด่งดังในสมัย Renaissance
(1) The Principia
(2) The Panthom of the Opera
(3)Romeo & Juliet
(4) Social Contract
ตอบ 3 หน้า 371, 96 (H) วิลเลียม เช็คสเปียร์ (William Shakespeare) เป็นนักเขียนวรรณกรรม ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของอังกฤษในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ โดยเขียนบทละครเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด 38 เรื่อง มีทั้งสุขนาฏกรรม (Comedies), โศกนาฏกรรม (Tragedies) และประวัติศาสตร์ (Histories) ซึ่งผลงานที่มีชื่อเสียง1ของเช็คสเปียร์ เช่น Romeo & Juliet, Hamlet, Macbeth เป็นต้น
69. สาเหตุที่อิตาลีเป็นจุดกำเนิดของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการในสมัยศตวรรษที่ 14 เพราะ
(1) เคยเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิโรมันมาก่อน
(2) มั่งคั่งเพราะการค้า
(3)ผู้ปกครองมีเสรีภาพและรํ่ารวยสามารถสนับสนุนการสร้างผลงานทางด้านศิลปะ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 358, 92 (H) สาเหตุที่ทำให้อิตาลีเป็นแหล่งกำเนิดของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการใน ศตวรรษที่ 14 มีดังนี้
1. เคยเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิโรมันมาก่อน
2. การเดินทางของมาร์โค โปโล ไปยังจีนในระหว่างปี ค.ศ. 1269 – 1295 ได้กระตุ้นให้ ผู้คนในอิตาลีใฝ่รู้มากกว่าผู้คนในดินแดนอื่น ๆ ในสมัยกลาง
3. เจ้าผู้ครองนครรัฐด่าง ๆ ในอิตาลีมังคั่งจากการค้า และมีเสรีภาพมากจนสามารถสนับสนุน การสร้างผลงานทางด้านศิลปะของนักปราชญ์ นักประพันธ์ ข่างฝีมือ และช่างศิลป์ได้
70. ผู้ที่เขียนคำประท้วง 95 ข้อ (95 Theses) ต่อต้านศาสนจักรคือใคร
(1) Martin Luther
(2) Henry VIII
(3) Calvin
(4) Elizabeth I
ตอบ 1 หน้า 378 – 379, 98 (H) สาเหตุปัจจุบันที่ทำให้เกิดการปฏิรูปศาสนาขึ้นในศตวรรษที่ 16 คือ การที่สันตะปาปาลีโอที่ 10 ขายใบไถ่บาปในดินแดนเยอรมนี เพื่อนำเอาเงินไปบูรณะโบสถ์ เซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรม พระองค์จึงถูกโจมตีจากมาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) พระชาวเยอรมัน ซึ่งได้เขียนคำประท้วง 95 ข้อ (95 Theses) ทำให้มีผู้เห็นด้วยว่าไม่ควรนำเงินเยอรมันไปสร้างวัด ในอิตาลี เหตุการณ์ดังกล่าวจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการประท้วงทางศาสนาและเป็นที่มาของคำว่า “Protestant” ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1529
71. สาเหตุปัจจุบันซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการปฏิรูปศาสนาคือข้อใด
(1) การเรี่ยไรเงินบริจาคเพื่อสร้างโบสถ์ St. Peter
(2) การซื้อขายตำแหน่งทางศาสนา
(3)การขายใบไถ่บาป
(4) พระประพฤติตัวไม่เหมาะสม
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 70. ประกอบ
72. บุคคลที่ไม่ได้เสนอทฤษฎีว่าดวงอาทิตย์คือศูนย์กลางของจักรวาลคือ
(1) ปโทเลมี
(2) โคเปอร์นิคัส
(3) กาลิเลโอ
(4) ไอแซค นิวตัน
ตอบ 1 หน้า 434, 436 – 438, 110 – 111 (H) คลอเดียส ปโทเลมี (Claudius Ptolemy) เป็น นักดาราศาสตร์แห่งเมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ ซึ่งได้สรุปว่า โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล โดยมีดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ รวมทั้งดวงอาทิตย์โคจรโดยรอบ สำหรับโคเปอร์นิคัส เคปเลอร์ กาลิเลโอ และเซอรไอแซค นิวตัน ต่างก็มีความคิดขัดแย้งกับปโทเลมี เพราะเชื่อว่า ดวงอาทิตย์ คือศูนย์กลางของจักรวาล โดยมีโลกเป็นบริวารดวงหนึ่ง
73. “Catholic without Pope” คือนิกายใด
(1) Roman Catholic
(2) Lutheranism
(3) Calvinism
(4) Church of England
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 57. ประกอบ
74. Inquisition ถูกก่อตั้งเพื่อจุดประสงค์ใด
(1) ต่อต้านการปฏิรูปทางศาสนา
(2) ต่อต้านการกระทำของพวกนอกรีต มีการลงโทษอย่างรุนแรง
(3) สนับสนุนนิกายที่แยกออกมาจาก Catholic
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 385, 99 (H) การจัดตั้งศาลพิเศษทางศาสนา (Inquisition) มีจุดประสงค์เพื่อต่อต้าน การกระทำของพวกนอกรีตหรือพวกโปรเตสแตนต์ โดยมีการลงโทษอย่างรุนแรง เข่น การเผา ทั้งเป็น ซึ่งศาลพิเศษทางศาสนาประสบความสำเร็จในการปราบปรามพวกนอกรีตเป็นจำนวนมาก ในสเปนและอิตาลี
75. Edict of Nantes (โองการแห่งเมืองนังต์) มีเนื้อหาสำคัญเรื่องใด
(1) ประกาศให้ประชาชนนับถือศาสนาตามกษัตริย์
(2) ประกาศให้สิทธิเท่าเทียมกันระหว่างคาทอลิกและฮิวเกอโนต์
(3) ให้ความช่วยเหลือคาทอลิกในการต่อต้านฮิวเกอโนต์
(4) ประกาศให้เสรีภาพประชาชนในการนับถือทางศาสนา
ตอบ 2 หน้า 383 – 384, 404, 101 (H), 106 (H) หลังจากที่พระเจ้าเฮนรีที่ 4 ปฐมกษัตริย์ของ ราซวงศ์บูร์บองแห่งฝรั่งเศสทรงเปลี่ยนมานับถือนิกายคาทอลิกแล้ว (เดิมทรงเป็นฮิวเกอโนต์ หรือโปรเตสแตนต์) พระองค์ได้ทรงออกคำประกาศโองการแห่งเมืองนังต์ (Edict of Nantes) ในปี ค.ศ. 1598 เพื่อให้เกิดการประนีประนอมและเกิดความเสมอภาคทางศาสนา รวมทั้ง เป็นการให้สิทธิอย่างเท่าเทียมกันระหว่างพวกคาทอลิกกับพวกฮิวเกอโนต์ ทำให้ฝรั่งเศส เป็นประเทศเดียวที่ประชาชนไม่ต้องนับถือศาสนานิกายเดียวกับกษัตริย์ ปลอดจากสงคราม ศาสนาตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 17 และเกิดหลักการใหม่ว่า “ศาสนาเสรีมีในประเทศเสรี” (A free church in a free state)
76. ข้อใดไมใข่ผลงานของพระเจ้าเฟรเดอริกมหาราชแห่งปรัสเซีย
(1) ทรงเป็นกษัตริย์ประเทืองปัญญา
(2) ทำสงครามแย่งดินแดนไซลีเซียจากออสเตรีย
(3) ร่วมมือกับออสเตรียและรัสเซียแบ่งโปแลนด์
(4) ขยายอำนาจเข้าไปในทวีปอเมริกาเหนือ
ตอบ 4 หน้า 419 – 421, 108 – 109 (H), (คำบรรยาย) พระเจ้าเฟรเดอริกมหาราชแห่งปรัสเซีย ทรงเป็นกษัตริย์ทรงภูมิธรรมหรือกษัตริย์ประเทืองปัญญา (Enlightened Despots) ซึ่งมีผลงานที่สำคัญดังนี้
1. พยายามหาเงินเพื่อพัฒนากองทัพที่ได้รับการผฝึกฝนเป็นอย่างดีและมีอาวุธที่ทันสมัย เพื่อขยายอำนาจทางการทหาร และสร้างรัฐบาลให้เข้มแข็ง จนทำให้ปรัสเซียในสมัยของ พระองค์ได้รับฉายาว่าเป็น “สปาร์ตาแห่งยุโรป”
2. ในระหว่างปี ค.ศ. 1740 – 1748ทำสงครามกับออสเตรียเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ทางทหาร ในยุโรปกลาง โดยแย่งชิงดินแดนไซลีเซียจากพระราชินีมาเรีย เธเรซา
3. ในปี ค.ศ. 1772 ทรงร่วมกับพระนางแคเทอรีนมหาราชินีแห่งรัสเซียและออสเตรียแบ่งแยก โปแลนด์เป็นครั้งแรก
77. New Monarchies (ระบอบราชาธิปไตยยุคใหม่) มีลักษณะอย่างไร
(1) กษัตริย์ได้รับการสนับสนุบจากชนชั้นกลาง, เป็นศูนย์รวมอำนาจ
(2) กษัตริย์สามารถปราบปรามขุนนางมาอยู่ภายใต้อำนาจได้
(3) คริสตจักรลดบทบาทอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 402 – 403, 105 (H) ระบอบราชาธิปไตยยุคใหม่ (New Monarchies) คือ ระบอบที่ กษัตริย์ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มชนชั้นกลาง จนสามารถปราบปรามพวกขุนนางให้เข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจได้ ทำให้กษัตริย์กลายเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน และมีพระราชอำนาจ ไม่จำกัด แม้แต่คณะสงฆ์และคริสตจักรก็ต้องลดบทบาทอยู่ภายใต้อำนาจของกษัตริย์ กษัตริย์ยุคใหม่ ได้แก่ กษัตริย์ราชวงศ์วาลัวส์ของฝรั่งเศส กษัตริย์ราชวงศ์แฮปสเบิร์กของสเปน และกษัตริย์ราชวงศ์ทิวดอร์ของอังกฤษ
78. “A free church in a free state” ศาสนาเสรีมีในประเทศเสรี เป็นข้อความจากประกาศฉบับใด
(1) The Golden Bull
(2) Edict of Nantes
(3) 7 Electors
(4) Magna Carta the Great Charter
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 75. ประกอบ
79. จุดประสงค์ของการสร้างพระราชวงแวร์ซายส์คือข้อใด
(1) ต้องการประกาศความยิ่งใหญ่ของราชวงศ์บูร์บอง
(2) เป็นพระราชวังแห่งแรกของราชวงศ์บูร?บอง
(3) ต้องการรวมอำนาจขุนนางที่มีอิทธิพลเข้าสู่ศูนย์กลาง
(4) ต้องการกระจายอำนาจโดยรอบของพระราชวงศ์
ตอบ 3 หน้า 409, 106 (H), (คำบรรยาย) พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของราชวงศ์บูร์บองแห่งฝรั่งเศสทรงสร้างพระราชวังใหม่ขึ้นที่แวร์ซายส์ ซึ่งตั้งอยู่นอกกรุงปารีส โดยมีจุดประสงค์ที่สำคัญคือ เพื่อหลีกหนีชาวปารีสซึ่งมักจะทำตัวเป็นศัตรูกับรัฐบาล และยังทรงต้องการแยกออกมาจาก ขุนนางเก่า ๆ ที่มีอิทธิพลในพระราชวังเดิมเพื่อสร้างพระราชอำนาจใหม่ ทำให้พระราชวังแห่งนี้ กลายเป็นเมืองหลวงที่เป็นศูนย์รวมการปกครองของพระองศ์ และเป็นสถานที่ที่ขุนนางคนสำคัญ ของพระองศ์มาอาศัยอยู่ ทำให้พระองศ์สามารถควบคุมขุนนางได้อย่างใกล้ชิด
80. ใครเป็นผู้ยกเลิก Edict of Nantes (โองการแห่งเมืองนังต์)
(1) หลุยส์ที่ 16
(2) หลุยส์ที่ 14
(3) Henry IV
(4) Philip the Fair
ตอบ 2 หน้า 409, 106 (H) ในปี ค.ศ. 1685 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงประกาศยกเลิกโองการแห่ง เมืองนังต์ (Edict of Nantes) และเริ่มปราบปรามพวกฮิวเกอโนต์ ทำให้พวกฮิวเกอโนต์ หนีไปยังประเทศอังกฤษ ปรัสเซีย และฮอลันดา ซึ่งเหตุการณดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อ การอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก
81. A.D. 1789 เกิดเหตุการณ์ใดที่มีความสำคัญมากต่อโลก
(1) การปฏิวัติฝรั่งเศส
(2) การประกาศอิสรภาพของอเมริกา
(3) การปฏิวัติอุตสาหกรรม
(4) การปฏิวัติอันรุ่งเรือง
ตอบ 1 หน้า 455 – 461, 114 – 115 (H) การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 (A.D. 1789) เกิดขึ้น ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 โดยเป็นการปฏิวัติภายใต้การนำของกลุ่มชนชั้นกลางที่ต้องการล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือระบอบเก่าและต้องการเข้ามามีสวนร่วมในการปกครอง มีผล ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบเก่าไปสู่การปกครองในระบอบสาธารณรัฐ ซึ่งสาเหตุโดยทั่วไปที่ทำให้เกิดการปฏิวัติ ได้แก่
1. พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ไม่เข้มแข็งพอที่จะปกครองใบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
2. ฝรั่งเศสไม่มีรัฐธรรมนูญ ทำให้การปกครองไม่มีประสิทธิภาพ และเกิดการออกเสียงที่ไม่เป็นธรรมในสภา
3. เกิดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยในราชสำนักและค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการทำสงคราม
4. ได้รับอิทธิพลจากการปฏิวัติอันรุ่งเรืองของอังกฤษและการปฏิวัติอเมริกัน ส่วนสาเหตุปัจจุบันก็คือ ปัญหาทางด้านการคลัง
82. _____ถูกประหารด้วยเครื่องกิโยตินภายหลังการปฎิวัติฝรั่งเศส
(1)หลุยส์ที่ 16
(2) Henry IV
(3) หลุยส์ที่ 14
(4) Philip the Fair
ตอบ1 หน้า 464, 115 (H) ภายหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระนางมารี อังตัวแนตได้ถูกประหารชีวิตด้วยเครื่องกิโยตินในปี ค.ศ. 1793 หลังจากนั้นอังกฤษก็ได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตร กับชาติต่าง ๆ ทำสงครามกับฝรั่งเศส ทั้งนี้เพราะอังกฤษกลัวว่าฝรั่งเศสจะเข้ายึดครองเบลเยียม ซึ่งเป็นจุดพักสินค้าที่อังกฤษจะนำเข้าไปขายในประเทศบนภาคพื้นทวีปยุโรป
83. ผู้ที่ได้รับฉายาว่า King in Parliament หมายถึงใคร
(1) Louis XIV
(2)Elizabeth (Virgin Queen)
(3) Marry I
(4) James II
ตอบ 2 หน้า 410, 107 (H), (ค่าบรรยาย) พระนางเอลิซาเบทที่ 1 (Elizabeth I หรือ Virgin Queen : ค.ศ. 1558 – 1603) เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ทิวดอร์ (Tudor Dynasty) ของอังกฤษ ทรงปกครองอังกฤษโดยใช้วิธีการที่เรียกว่า “กษัตริย์ในรัฐสภา” (King in Parliament) หมายความว่า กษัตริย์และรัฐสภาจะใช้อำนาจในการปกครองร่วมกับ แต่กษัตริย์จะปกครอง โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ซึ่งถือว่าเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยใน ระบอบรัฐสภา หรือระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
84. การปกครองแบบ Commonwealth สามารถปราบปรามไอร์แลนด์ สกอตแลนด์เข้าร่วมกับอังกฤษและเวลส์ในสมัยของใคร
(1) โอลิเวอร์ ครอมเวลส์
(2) James I
(3) Chales I
(4) James II
ตอบ 1 หน้า 414, 107 (H) สาธารณรัฐเพียวริตัน (Puritan Republic) ภายใต้การนำของโอลิเวอร์ ครอมเวลส์ สามารถปราบปรามไอร์แลนด์และสกอตแลนด์ให้เข้ามาร่วมกับอังกฤษและเวลส์ เป็นการปกครองแบบคอมมอนเวลท์ (Commonwealth) ซึ่งในสมัยครอมเวลส์นั้น ปรากฏว่า อังกฤษมีความเจริญทางด้านการค้าและอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังสามารถยึดเกาะจาไมก้า จากสเปนได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1658 ด้วย
85. The Glorious Revolution การปฏิวัติอันรุ่งเรืองเกิดขึ้นด้วยสาเหตุใด
(1) James II ยอมสละราชบัลลังก์โดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ
(2) รัฐสภาทำการปฏิวัติอำนาจของกษัตริย์และแต่งตั้งโอลิเวอร์ ครอมเวลส์
(3) James II พยายามต่อต้านอำนาจของรัฐสภาจนเกิดสงคราม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 415, 417, 108 (H) การปฏิวัติอันรุ่งเรืองในอังกฤษ (The Glorious Revolution)ในปี ค.ศ. 1688 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าเจมส์ที่ 2 (James II) ซึ่งทรงขัดแย้ง กับรัฐสภาในเรื่องศาสนา กล่าวคือ เมื่อพระโอรสของพระองค์รับศีลเป็นคาทอลิก ทำให้พระองค์ ต้องการให้อังกฤษกลับไปนับถือนิกายคาทอลิกด้วย รัฐสภาอังกฤษจึงตัดสินใจไปเชิญเจ้าหญิงแมรี พระราชธิดาของพระองค์ซึ่งนับถือนิกายโปรเตสแตนต์ และได้อภิเษกกับวิลเลียมแห่งออเรนจ์ กษัตริย์แห่งฮอลันดา ให้มาปกครองอังกฤษแทน ทำให้พระเจ้าเจมส์ที่ 2 ยอมสละราชบัลลังก์ โดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ และได้เสด็จลี้ภัยไปอยู่ฝรั่งเศส
86. นักปรัชญาทางการเมืองผู้เสนอทฤษฎีให้ประชาฃนสามารถล้มรัฐบาลได้ถ้าไม่ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญา หรือทำให้ประชาชนไม่พอใจคือ
(1) จอห์น ล็อค
(2) ฌอง ฌาค รุสโซ
(3) โทมัส ฮอบบ์
(4) ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 441, 446 – 447, 454, 112 – 113 (H) จอห์น ล็อค และฌอง ฌาค รุสโซ เป็นนักปรัชญาทางการเมืองผู้เสนอทฤษฎีสัญญาประชาคม (The Social Contract) ที่เห็นว่า “มนุษย์มีความเท่าเทียมกันตั้งแต่เกิด…ประชาชนเลือกรัฐบาลขึ้นมาเพื่อป้องกันสิทธิของตน ถ้ารัฐบาลทำลายสิทธินั้นด้วยการไม่ปฏิบัติตามคำมันสัญญาหรือทำให้ประชาชนไม่พอใจ ประชาชนย่อมมีสิทธิล้มรัฐบาลได้”
87. ปี ค.ศ. 1492 มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์การสร้างรัฐชาติของสเปน เมื่อพวกคริสเตียนสามารถเข้ายึดครองอาณาจักรจากพวกมัวร์ (Moors) ได้สำเร็จ
(1) คาสติล
(2) อรากอน
(3) นาวาร์
(4) กรานาดา
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 54. ประกอบ
88. การปฏิวัติอเมริกันในปี ค.ศ. 1776 ก่อให้เกิดการปกครองรูปแบบใหม่ขึ้นในเวลานั้นคือ
(1) สาธารณรัฐประชาธิปไตย
(2) สาธารณรัฐสังคมนิยม
(3) คณาธิปไตย
(4) เผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 1 หน้า 454, 113 (H), (คำบรรยาย) การปฏิวัติอเมริกันในปี ค.ศ. 1776 ได้รับอิทธิพลจากนักปรัชญา ทางการเมือง 2 ท่านคือ จอห์น ล็อค และรุสโซ โดยแนวความคิดของพวกเขาได้ไปปรากฏใน คำประกาศอิสรภาพ (Declaration of Independence) ของรัฐอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือ ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 ซึ่งเท่ากับเป็นการสถาปนาประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้น โดยมีการปกครองในระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตย (Democratic Republic) และมีประธานาธิบดี คนแรก คือ จอร์จ วอชิงตัน
89. ข้อใดไม่ถูกต้องในเรื่องการปฏิวัติทางการค้า ค.ศ. 1500 – 1700
(1) การค้าในเมดิเตอร์เรเนียนซบเซาลง
(2) เกิดลัทธิเศรษฐกิจแบบพาณิชย์ชาตินิยม
(3) พวกพระและขุนนางมีบทบาทสำคัญในการควบคุมเศรษฐกิจ
(4) มีการฟื้นฟูการค้าทาสขึ้นใหม่
ตอบ 3 หน้า 339 – 344, 88 – 89 (H) ความสำคัญของการปฏิวัติทางการค้า (ค.ศ. 1500 – 1700) มีดังนี้
1. ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของยุโรปได้เปลี่ยนแปลงจากบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ไปสู่มหาสมุทรแอตแลนติกและภาคโพ้นทะเล
2. เศรษฐกิจของอิตาลีซบเซาลงในขณะที่สเปนและโปรตุเกสมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
3. การค้าเข้ามามีบทบาทแทนการเกษตรกรรม
4. ลัทธิเศรษฐกิจแบบพาณิชย์ชาตินิยมได้แพร่หลายไปทั่วโลก
5. กำเนิดระบอบทุนนิยม
6. ชนชั้นกลางอันได้แก่ พวกพ่อค้า นายธนาคาร นักลงทุน และเจ้าของกิจการอุตสาหกรรม กลายเป็นพวกที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ
7. เกิดการฟื้นฟูการค้าทาสขึ้นมาใหม่โดยชาวโปรตุเกส เป็นต้น
90. สาเหตุที่ทำให้เกิดการแสวงหาเส้นทางเดินเรือมาสู่ทวีปเอเชียในสมัยศตวรรษที่ 15 คือ
(1) คอนสแตนติโนเปิลถูกยึดครอง
(2) ต้องการล้มเลิกการผูกขาดทางการค้าของพวกเวนิสและเจนัว
(3) ความต้องการเครื่องเทศ ผ้าไหม พรม และเครื่องแก้ว
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 350 – 351, 89 – 90 (H) สาเหตุที่ก่อให้เกิดการสำรวจทางทะเลของประเทศในยุโรปตะวันตกมาสู่ทวีปเอเชียในสมัยศตวรรษที่ 14 – 15 คือ 1. แรงบันดาลใจที่เกิดขึ้น นับตั้งแต่ยุคกลางที่กองทัพครูเสดนำเอาความรู้และสินค้าจากเอเชียไปเผยแพร่ในยุโรป
2. กรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกพวกออตโตมัน เติร์ก เข้ายึดครองในปี ค.ศ. 1453 ทำให้ เส้นทางการค้าระหว่างยุโรปกับเอเชียถูกตัดขาด
3. มีความต้องการสินค้าจากเอเชียหรือ ภาคตะวันออก เช่น เครื่องเทศ ผ้าไหม พรม และเครื่องแก้ว
4. ต้องการล้มการผูกขาดของ พวกพ่อค้าชาวอิตาลีที่มั่งคั่งจากการค้า เช่น เวนิส เจนัว
5. มีการปรับปรุงเส้นทางเดินเรือ มีการประดิษฐ์เรือขนาดใหญ่ เข็มทิศ และมีการทำแผนที่ที่มีความแน่นอนมากขึ้น
91. การทำลายคุกบาสติลย์ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 จนกลายมาเป็นวันชาติของฝรั่งเศสในปัจจุบัน มีสาเหตุมาจาก
(1) มีข่าวลือว่ารัฐบาลจะนำทหารมาปราบปรามพวกปฏิวัติ
(2) เป็นสัญลักษณ์ของการปกครองใบระบอบเก่า
(3) ต้องการปล่อยนักโทษมาสู้กับรัฐบาล
(4) ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 461, 115 (H) การบุกเข้าทำลายคุกบาสติลย์ของฝายฐานันดรที 3 ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 จนกลายมาเป็นวันชาติของฝรั่งเศสในปัจจุบันนั้น มีสาเหตุมาจาก
1. มีข่าวลือว่ารัฐบาลได้เตรียมใช้กำลังทหารเพื่อปราบปรามพวกปฏิวัติ
2. คุกบาสติลย์เป็บที่คุมขังของบุคคลทีเป็นศัตรูของรัฐ และเป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่แสดงถึง ความโหดร้ายของการปกครองในระบอบเก่า
92. ก่อนเกิดการปฏิรูปศาสนา คริสต์ศาสนาที่เผยแผ่ในดินแดนยุโรปตะวันตกคือ
(1) โรมันคาทอลิก
(2) กรีกออร์ธอดอกซ์
(3) โปรเตสแตนต์
(4) แอเดรียน
ตอบ 1 หน้า 208, 237 – 238, 376, 386 ก่อนเกิดการปฏิรูปศาสนา สถาบันที่สำคัญที่สุดในยุโรป ตะวันตกสมัยยุคกลางก็คือ คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งมีส่วนในการสร้างความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน โดยจะมีอิทธิพลเหนือสังคมและความเชื่อของผู้คนในสมัยนั้น แต่หลังจาก การปฏิรูปศาสนาในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 ได้ส่งผลให้นิกายคาทอลิกไม่ใช่คริสต์ศาสนาเพียง นิกายเดียวในยุโรปตะวันตกอีกต่อไป แต่ได้เกิดนิกายโปรเตสแตนต์ขึ้นมาอีกหลายนิกาย เช่น นิกายลูเธอรันนิสมี, นิกายคาลแวงหรือคาลวินิสม์, นิกายแองกลิคันหรือนิกายอังกฤษ เป็นต้น
93. ข้อใดไม่ใช่ผลงานของพระเจ้าปีเตอร์มหาราชแห่งรัสเซีย
(1) เปิดประเทศรับอารยธรรมยุโรปตะวันตกและพัฒนากองทัพเรือ
(2) บังคับให้ชาวรัสเชียโกนหนวดโกนเครา
(3) ตั้งโรงพิมพ์ โรงเรียน โรงพยาบาล และปรับปรุงปฏิทินเป็นแบบตะวันตก
(4) ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่มอสโก
ตอบ 4 หน้า 421, 426, 109 (H) ผลงานที่สำคัญของพระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 หรือปีเตอร์มหาราชแห่งราชวงศ์โรมานอฟของรัสเซีย (ค.ศ. 1682 – 1725) มีดังนี้
1. เป็นผู้เปิดประเทศเพื่อรับอารยธรรมจากยุโรปตะวันตกและพัฒนากองทัพเรือ
2. ออกกฎหมายให้ชาวรัสเซียแต่งกายแบบ ยุโรป ให้โกนหนวดเครา และสวมเสื้อแขนสั้นแบบยุโรป
3. ตั้งโรงพิมพ์ โรงเรียน โรงพยาบาล และ ปรับปรุงปฏิทินเป็นแบบตะวันตก
4. ย้ายเมืองหลวงจากมอสโกไปยังกรุงเซนต่ปีเตอร์สเบิร์ก
94. ในยุคที่เมตเตอร์นิกมีอำนาจทางการเมืองระหว่างประเทศในยุโรป (ค.ศ. 1815 – 1848) สิ่งที่เมตเตอร์นิก ยับยั้งไม่ต้องการให้เกิดคือ
(1) สันตะปาปากลับมามีอำนาจ
(2) การขยายอำนาจของตุรกี
(3) การปฏิวัติของพวกเสรีนิยม
(4) การขยายอำนาจของอังกฤษทางทะเล
ตอบ 3 หน้า 471 – 473, 118 (H) ภายหลังการประชุมที่เวียนนาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1815 ประเทศ ในยุโรปส่วนใหญ่ก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่มอนุรักษนิยม มีผู้นำคือ เจ้าชายเมตเตอร์นิก เสนาบดีของอาณาจักรออสเตรีย ซึ่งเป็นผู้ที่ต่อสู้เพื่อรักษาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และทำการต่อต้านการปฏิวัติของพวกเสรีนิยมหรือระบอบเสรีนิยมทุกประเภท ทำให้ยุคสมัยของ คองเกรสแห่งเวียนนาถูกเรียกว่า “ยุคเมตเตอร์นิก‘’ (ค.ศ. 1815 – 1848)
95. The Restoration คือช่วงเวลาของเหตุการณ์ใด
(1) การปฏิวัติอันรุ่งเรือง
(2) การปฏิรูปศาสนา
(3) การฟื้นฟูระบอบกษัตริย์
(4) การต่อต้านระบอบสังคมนิยม
ตอบ 3 หน้า 414 – 415, 108 (H) การฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ (The Restoration : ค.ศ. 1660) เกิดขึ้น หลังจากที่ครอมเวลส์ถึงแก่กรรม โดยรัฐสภาได้ไปเชิญพระเจ้าชาร์ลที่ 2 (ค.ศ. 1660 – 1685) พระราชโอรสของพระเจ้าชาร์ลที่ 1 ที่ทรงลี้ภัยไปอยู่ฝรั่งเศสให้มาปกครองอังกฤษ ซึ่งในปี ค.ศ. 1679 ได้มีการออกกฎหมาย Habeas Corpus Act มีใจความสำคัญว่า “บุคคลจะถูกคุมขัง เป็นเวลานานเกินควรโดยบุคคลผู้นั้นไม่ได้รับการขึ้นศาล และไม่มีโอกาสป้องกันการจับกุมและ จำคุกโดยไม่มีเหตุผลสมควรไม่ได้” โดยสมัยนี้จัดว่าเป็นสมัยสถาปนาระบอบกษัตริย์โดยรัฐสภาขึ้น ในอังกฤษ
96. ผลงาน Principia ของ Sir Isaac Newton เป็นงานเขียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร
(1) กฎการดึงดูดของโลก
(2) การค้นพบจุดดับบนดวงอาทิตย์
(3) การค้นพบวงแหวนของดาวเสาร์
(4) โลกคือศูนย์กลางของจักรวาล
ตอบ 1 หน้า 437 – 439, 111 (H) เซอร์ไอแซค นิวดัน (Sir Isaac Newton) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นผู้ค้นพบ “กฎแรงโน้มถ่วง” หรือ ‘’กฎการดึงดูดของโลก” ซึ่งปรากฏในผลงานเรื่อง “Principia” ในปี ค.ศ. 1687 นอกจากนี้นิวตันยังอธิบายถึงการที่โลกและดาวเคราะห์โคจร รอบดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และยังมีอิทธิพลต่อวงการวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน ที่ยํ้าว่า หลักการของวิทยาศาสตร์คือ การสังเกต การคำนวณ และการทดลอง
97. ความสำคัญของรัฐธรรมนูญแมกนา คาร์ตา ซึ่งพระเจ้าจอห์นถูกบังคับให้ลงนามโดยพวกขุนนางอังกฤษในปี ค.ศ. 1215 นับเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองในระบอบ…….ในเวลาต่อมา
(1)สมบูรณาญาสิทธิราชย์
(2) รัฐสภา
(3) ศักดินาสวามิภักดิ์
(4) เผด็จการ
ตอบ 2 หน้า 275, 75 (H), (คำบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1215 พระเจ้าจอห์นหรือกษัตริย์ผู้ไร้แผ่นดิน (John the Lackland) ทรงถูกพวกขุนนางอังกฤษบังคับให้ลงนามในรัฐธรรมนูญแมกนา คาร์ตา (Magna Carta หรือ The Great Charter) ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของอังกฤษโดยมี หลักการที่สำคัญยิ่ง คือ กำหนดให้ทุกชนชั้นต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย นอกจากนี้กษัตริย์ยังถูก ลดอำนาจในการตัดสินคดี โดยจะให้ศาลยุติธรรมเท่านั้นทำหน้าที่ตัดสินคดีความของเสรีชน และ การจัดเก็บภาษีต้องทำด้วยความยุติธรรม ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองในระบอบรัฐสภา หรือการปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญของอังกฤษ
98. ผลงานสำคัญของพระนางแคเทอรีนมหาราชินี กษัตริย์ประเทืองปัญญาของรัสเซียคือข้อใด
(1) ปรับปรุงประเทศให้เจริญทัดเทียมอารยประเทศ
(2) ขยายอำนาจสู่ภายนอก
(3) ทำการแบ่งโปแลนด์ถึง 3 ครั้ง จนหายจากแผนที่ทวีปยุโรป
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 427, 109 (H) พระนางแคเทอรีนมหาราชินี (ค.ศ. 1762 – 1796) ทรงเป็นกษัตริย์ ประเทืองปัญญาของรัสเซีย โดยทรงมีผลงานที่สำคัญดังนี้
1. ทรงพยายามปรับปรุงประเทศให้เจริญทัดเทียมอารยประเทศ
2. อุปถัมภ์นักปราชญ์และขยายอำนาจออกสู่ภายนอก
3. ในระหว่างปี ค.ศ. 1772 – 1795 ได้ร่วมกับปรัสเซียและออสเตรียทำการแบ่งแยกโปแลนด์ ถึง 3 ครั้ง จนทำให้โปแลนด์หายไปจากแผนที่ของยุโรป
99. อเมริกาเคยเป็นอาณานิคมของประเทศใด
(1) ฝรั่งเศส
(2) เยอรมนี
(3) รัสเซีย
(4) อังกฤษ
ตอบ 4 หน้า 453 – 454, 113 (H), (ดูคำอธิบายข้อ 88. ประกอบ) ในระหว่างปี ค.ศ. 1763 – 1775 สัมพันธภาพระหว่างอังกฤษและอาณานิคมทั้ง 13 แห่งในนิวอิงแลนด์เริ่มตึงเครียดมากขึ้น เพราะอังกฤษพยายามบังคับให้อาณานิคมอเมริกันต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นตามนโยบายพาณิชย์ ชาตินิยม แต่ชาวอาณานิคมต่อต้านไม่ยอมเสียภาษี เพราะถือว่าไม่มีผู้แทนของตนในรัฐสภา ของอังกฤษ และต่อต้านไม่ยอมซื้อสินค้าของอังกฤษ โดยความขัดแย้งนี้ได้นำไปสู่การปฏิวัติ อเมริกันในที่สุด
100. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี A.D. 1789
(1) ค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยในราชสำนัก, ค่าใช้จ่ายการทำสงคราม
(2) อิทธิพลจากการปฏิวัติประเทศอเมริกาและอังกฤษ
(3) ได้รับการช่วยเหลือในยุคเมตเตอร์นิก
(4) การออกเสียงที่ไม่เป็นธรรมในสภา
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 81. ประกอบ
101. การปิดล้อมทางเศรษฐกิจ (Continental Blockade) เป็นนโยบายที่นโปเลียนใช้กับประเทศใด
(1) รัลเซีย
(2) อังกฤษ
(3) ปรัสเซีย
(4) ออสเตรีย
ตอบ 2 หน้า 469 – 470, 117(H) ปัจจัยที่ทำให้จักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศสเสื่อมอำนาจ มีดังนี้
1. มีการปิดล้อมอังกฤษทางเศรษฐกิจ (Continental Blockade) เพื่อไม่ให้ประเทศบนภาคพื้นยุโรปค้าขายกับอังกฤษ แต่ก็ไม่เป็นผล จนถูกกล่าวว่าเป็นเพียง “แผนการณ์บนกระดาษ’’ (Paper Blockade)
2. ดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองของนโปเลียนเกิดความรู้สึกชาตินิยม เพราะไม่พอใจต่อ การถูกกดขี่จ4ากกองทัพนโปเลียน
3. ทำสงครามกับรัสเซียในปี ค.ศ. 1812 เนื่องจากรัสเซียฝ่าฝืนนโยบายการปิดล้อมอังกฤษ ทางเศรษฐกิจ แต่กองทัพนโปเลียบก็ต้องพ่ายแพ้ต่อความหนาวเย็น การขาดแคลนอาหาร และกองทัพรัสเซีย จนต้องถอยทัพกลับมา ซึ่งสงครามในครั้งนี้ทำให้นโปเลียนหมดอำนาจ จนต้องสละบัลลังก์ไปในปี ค.ศ. 1814 และถูกเนรเทศไปอยู่ที่เกาะเอลบา
102. ประเทศที่ฝ่าฝืนนโยบายการปิดล้อมทางเศรษฐกิจของนโปเลียน จนเป็นชนวนสงครามและทำให้นโปเลียน เสียอำนาจสมัยแรกคือประเทศใด
(1) รัสเซีย
(2) อังกฤษ
(3) ปรัสเซีย
(4) ออสเตรีย
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 101. ประกอบ
103. สาเหตุที่ทำให้อังกฤษเป็นผู้นำในการปฎิวัติอุตสาหกรรมในสมัยศตวรรษที่ 18 เพราะ
(1) มั่งคั่งจากการค้า
(2) มีเหล็ก ถ่านหิน และกำลังคน
(3) เป็นผู้นำทางการประดิษฐ์และเทคโนโลยี
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 495 – 496, 123 (H), (คำบรรยาย) สาเหตุที่ทำให้อังกฤษเป็นผู้นำในการปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็นชาติแรกในศตวรรษที่ 18 มีดังนี้.
1. มีความสงบทางการเมืองภายหลังการปฎิวัติอันรุ่งเรือง ในปี ค.ศ. 1688
2. มีความมั่งคั่งจากการค้า
3. มีความพร้อมในเรื่องกำลังคนหรือแรงงาน เนื่องจากชนชั้นกลางของอังกฤษเพิ่มจำนวนขึ้นเร็วมาก ทำให้เกิดแรงงานราคาถูก
4. มีการพัฒนาทางด้านการเกษตรที่ก้าวหน้า
5. มีถ่านหินและเหล็กเป็นจำนวนมาก
6. มีการพัฒนาเทคโนโลยีและการประดิษฐ์เครื่องจักร โดยเครื่องจักรที่สำคัญคือ เครื่องจักรไอนํ้า
104. ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมคือ
(1) เกิดชนชั้นนายทุนและกรรมกร
(2) การเพิ่มจำนวนประชากร
(3) จักรวรรดินิยมและสังคมนิยม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 499, 124 (H) ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม มีดังนี้
1. เกิดลัทธินายทุนขึ้น
2. เกิดชนชั้นใหม่ขึ้นในสังคมคือ นายทุนกับกรรมกร
3. ทำให้จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
4. เกิดการออกแสวงหาอาณานิคมหรือเริ่มลัทธิจักรวรรดินิยมยุคใหม่ (ค.ศ. 1870 – 1914)
5.เกิดลัทธิเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ เพื่อต่อต้านการแสวงหาผลประโยชน์ ของพวกนายทุนอุตสาหกรรม เป็นต้น
105. การที่คาวัวร์นำซาร์ดิเนียเข้าร่วมในสงครามไครเมียในปี ค.ศ. 1855 ก็เพื่อ
(1) ต้องการแก้แค้นรัสเซีย
(2) ต้องการเมืองนีซและซาวอยกลับคืน
(3) ขอความช่วยเหลือจากฝรั่งเศสเพื่อรวมอิตาลี
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 512 – 513, 126 (H) ผู้นำที่มีบทบาทสำคัญในการรวมชาติอิตาลีในระหว่างปี ค.ศ.1860 – 1861 คือ เคานต์ คามิลโล ดิ คาวัวร์ นายกรัฐมนตรีของซาร์ดิเนีย ซึ่งเชื่อว่าการรวมชาติ จะกระทำได้โดยการปราบออสเตรียก่อน จากนั้นจึงดึงประเทศมหาอำนาจเข้ามาช่วย พร้อมกับดำเนินการทางการทูตไปด้วย ดังนั้นคาวัวร์จึงนำซาร์ดิเนิยเข้าร่วมในสงครามไครเมียในปี ค.ศ. 1855 ซึ่งทำให้คาวัวร์สามารถขอความช่วยเหลือจากจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ของฝรั่งเคส ให้มาช่วยรบกับออสเตรียได้
106. การรวมอิตาลีมีความสำเร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1870 เมื่อได้กรุงโรมเป็นเมืองหลวง ซึ่งเป็นผลมาจากการทำสงครามระหว่าง
(1) ออสเตรียกับปรัสเซีย
(2)ฝรั่งเศสกับปรัสเซีย
(3) ซาร์ดิเนียกับออสเตรีย
(4) ออสเตรียกับฝรั่งเศส
ตอบ 2 หน้า 515, 126 – 127 (H) หลังจากที่คาวัวร์เสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1861 การรวมอิตาลีก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งนั้เพราะแคว้นเวเนเทียยังอยู่ภายใต้การปกครองของออสเตรีย และ กรุงโรมยังไม่ได้เป็นเมืองหลวงของอิตาลี จนกระทั่งเมื่อเกิดสงครามระหว่างฝรั่งเศสกับปรัสเซีย ในปี ค.ศ. 1870 กองกำลังทหารของฝรั่งเศสที่ให้ความคุ้มครองแก่สันตะปาปาในกรุงโรม จึงเดินทางกลับฝรั่งเศส รัฐบาลอิตาลีได้ถือโอกาสเข้ายึดกรุงโรมมาเป็นเมืองหลวง และรวมอิตาลี ได้สำเร็จอย่างสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1871
107. ภายหลังการประชุมที่เวียนนาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1815 ปัจจัยที่ทำให้ปรัสเซียกลายมาเป็นผู้นำในการรวมเยอรมนีเข้าด้วยกันคือ
(1) ไม่มีปัญหาเรื่องชนกลุ่มน้อย
(2) การจัดตั้งสหภาพศุลกากร
(3)การมีผู้นำที่เข้มแข็งคือบิสมาร์ค
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 418 – 421, 515, 517 – 519, 128 (H) ภายหลังการประชุมที่เวียนนาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1815 ปรัสเซียได้กลายมาเป็นผู้นำในการรวมเยอรมนีเข้าด้วยกันได้สำเร็จ โดยมีปัจจัยสำคัญ อยู่ 3 ประการ ดังนี้
1. ปรัสเซียไม่มีปัญหาเรื่องชนกลุ่มน้อย เพราะผู้ปกครองให้เสรีภาพ ในการนับถือศาสนา จึงมีชาวต่างชาติเข้ามาตั้งหลักแหล่งเป็นจำนวนมาก
2.มีการจัดตั้งสหภาพศุลกากรซึ่งเป็นการประกาศอิทธิพลของปรัสเซีย
3.การมีผู้น่าที่เข้มแข็งคือ บิสมาร์ค อัครมหาเสนาบดีของปรัสเซีย ซึ่งได้ประกาศใช้นโยบาย “เลือดและเหล็ก’’ ในการบริหารประเทศและการรวมเยอรมนีเข้าด้วยกัน
108. ความสำคัญของสงครามเจ็ดสัปดาห์ในปี ค.ศ. 1866 ระหว่างออสเตรียกับปรัสเซียคือ
(1) ออสเตรียกลายเป็นผู้นำในกลุ่มรัฐเยอรมัน
(2) ปรัสเซียกลายเป็นผู้นำในกลุ่มรัฐเยอรมัน
(3) ออสเตรียเปลี่ยนสถานภาพมาเป็นออสเตรีย-ฮังการี
(4) ถูกข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 517 – 518, 129 (H) ความสำคัญของสงครามเจ็ดสัปดาห์ในปี ค.ศ. 1866 ระหว่าง ออสเตรียกับปรัสเซีย มีดังนี้
1. เป็นการตัดอิทธิพลชองออสเตรียออกจากดินแดนเยอรมนี
2. รัฐเยอรมันทางตอนเหนือยอมเข้ามารวมกับปรัสเชีย โดยมีการจัดตั้งสมาพันธรัฐเยอรมัน ทางตอนเหนือขึ้น
3. ในปี ค.ศ. 1867 ออสเตรียได้เปลี่ยนสถานภาพมาเป็นอาณาจักร ออสเตรีย-ฮังการี
109. ลัทธิจักรวรรดินิยมยุคใหม่ ค.ศ. 1871 – 1914 เน้นการยึดครองประเทศด้อยพัฒนาในทางเศรษฐกิจเป็นเพราะผลกระทบที่ได้รับจากการเกิด
(1) การปฏิวัติอุตสาหกรรม
(2)การรวมเยอรมนี
(3) การปฏิรูปศาสนา
(4) การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
ตอบ 1 หน้า 522 – 524, 130 – 131 (H) ลัทธิจักรวรรดินิยมยุคใหม่ (ค.ศ. 1871 – 1914) คือ ยุคที่ประเทศมหาอำนาจในยุโรปนำโดยอังกฤษ ฝรั่งเศส และฮอลันดา ได้ออกมาแสวงหา อาณานิคมในทวีปแอฟริกาและเอเชีย ซึ่งเน้นการยึดครองประเทศด้อยพัฒนาในทางเศรษฐกิจ โดยมีสาเหตุสำคัญคือ
1. ผลจากการปฏิวัติอุตลาหกรรมทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเพิ่มขึ้นของจำนวนพลเมือง ทำให้ตัองมีการแสวงหาอาณานิคมเพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบ และตลาด เพื่อจัดตั้งฐานทัพ และเพื่อระบายพลเมือง
2. ต้องการแสดงถึงความเป็นประเทศ มหาอำนาจในยุโรป
3. ต้องการเผยแผ่ศาสนาคริสต์
4. ลัทธิชาตินิยม ทำให้ชาวยุโรป ต้องการเข้าครอบครองดินแดนที่มีอารยธรรมต่ำกว่า
110. จีนและอินเดียต่างก็เป็นชาติที่มีอารยธรรมสูง อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ทั้ง 2 ชาติได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง จากลัทธิจักรวรรดินิยมยุคใหม่
(1) ขาดการพัฒนาอุตสาหกรรมด้วยเครื่องจักร
(2) กองทัพไม่มีประสิทธิภาพ
(3)ประชาชนและสังคมขาดระเบียบ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 523, 131 (H) จีนและอินเดียต่างเป็นชาติที่มีอารยธรรมสูง แต่ก็ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากลัทธิจักรวรรดินิยมยุคใหม่ ทั้งนี้เพราะทั้ง 2 ชาติมีปัญหาเรื่อง
1. ขาดอุตสาหกรรม ที่ผลิตด้วยเครื่องจักร
2. ขาดกองทัพที่มีประสิทธิภาพ
3. ประชาชนและสังคมขาดระเบียบวินัย
111. ภายหลังการรวมเยอรมนีประสบความสำเร็จในปี ค.ศ. 1871 ประเทศที่ถูกบิสมาร์คดำเนินนโยบาย จนกระทั่งต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวเป็นเวลากว่า 20 ปีคือ
(1) อังกฤษ
(2) ฝรั่งเศส
(3) ออสเตรีย
(4) อิตาลี
ตอบ 2 หน้า 129 (H), (คำบรรยาย) หลังจากที่บิสมาร์คสามารถรวมเยอรมนีได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1871 แล้ว สิ่งที่บิสมาร์คไม่ต้องการให้เกิดขึ้นคือ
1. ไม่ต้องการให้ฝรั่งเศสมีพันธมิตรโดยเฉพาะกับรัสเซีย เพราะอาจจะทำการแก้แค้นเยอรมนีได้ และทำให้เยอรมนีต้องทำศึก 2 ด้าน ดังนั้นจึงต้องดำเนินนโยบายโดดเดี่ยวฝรั่งเศส ทำให้ฝรั่งเศลต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวเป็นเวลากว่า 20 ปี
2. เยอรมนีไม่ควรเป็นศัตรูกับอังกฤษที่เป็นมหาอำนาจทางทะเล เพราะอังกฤษไม่มีผลประโยชน์ในทวีปยุโรป แต่อังกฤษจะมีผลประโยชน์กับอาณานิคมภาคโพ้นทะเล
112. ประเทศใดไม่ได้อยู่กลุ่มประเทศมหาอำนาจกลางในสงครามโลกครั้งที่ 1 คือ
(1) เยอรมนี
(2) ออสเตรีย-ฮังการี
(3) ตุรกี
(4) อิตาลี
ตอบ 4 หน้า 535, 134 (H) เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้นในปี ค.ศ. 1914 ประเทศมหาอำนาจในยุโรปได้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายมหาอำนาจกลาง (The Central Powers) ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี ตุรกี และบัลแกเรีย
2. ฝ่ายสัมพันธมิตร (The Allied Powers) ประกอบด้วย ฝรั่งเศส รัสเซีย และอังกฤษ ต่อมาก็มีประเทศอื่นเข้ามาร่วมด้วย ได้แก่ อิตาลี สหรัฐอเมริกา เซอร์เบีย จีน ญี่ปุ่น และไทย
113. สาเหตุที่ทำให้รัฐบาลชั่วคราวของเคอเรนสกี้ไม่ยอมถอนรัสเซียออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ภายหลังล้มระบอบซาร์ลงในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1917 เพราะถูก…….ขู่จะไม่ยอมให้รัสเซียกู้เงิน
(1) อังกฤษ
(2) สหรัฐอเมริกา
(3) ฝรั่งเศส
(4) อิตาลี
ตอบ 2 หน้า 537, 136 (H) ภายหลังจากการล้มระบอบซาร์ลงในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1917 รัสเซียก็มีรัฐบาลชั่วคราวของนายเคอเรนสกี้ขึ้นมาปกครองแทน แต่ก็ยังไม่ยอมถอนตัวออกจาก สงครามโลกครั้งที่ 1 เพราะถูกกดดันจากสหรัฐอเมริกาให้ทำสงครามต่อไป มิฉะนั้นจะไม่ให้ รัสเซียกู้ยืมเงิน แต่ทหารรัสเซียไม่มีกำลังใจในการรบ อีกทั้งความไม่พร้อมในด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ และชาวรัสเซียโดยทั่วไปเริ่มเบื่อหน่ายการบริหารงานของนายเคอเรนสกี้ ดังนั้นจึงเป็นการ เปิดโอกาสให้พรรคบอลเชวิคของเลนินทำการปฏิวัติครั้งใหญ่ขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1917 ซึ่งส่งผลทำให้รัสเซียต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ และรัสเซียต้อง ถอนตัวจากสงครามโลกครั้งที่ 1
114. ความสำคัญของลัทธิฟาสซิสต์และลัทธินาซีคือ
(1) เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติ
(2) ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์
(3) ต่อต้านโลกเสรีและระบอบประชาธิปไตย
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 541 – 543, 137 – 138 (H), (คำบรรยาย) หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลง ได้เกิด ขบวนการชาตินิยมที่เรียกว่า “ระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จ” ขึ้น ซึ่งเป็นการปกครองที่ผู้นำเดียว มีอิทธิพลครอบงำ หรืออาจอยู่ในรูปองค์กรผู้นำพรรคการเมือง 1 พรรค ใช้อำนาจเด็ดขาดใน ลักษณะก้าวร้าวแต่เพียงพรรคเดียว แบ่งออกเป็น 2 แบบ ซึ่งมีลักษณะตรงข้ามกัน ได้แก่
1. ลัทธิคอมมิวนิสต์ (Communism) หรือเผด็จการฝ่ายซ้าย เป็นขบวนการต่อต้านลัทธิ ทุนนิยมประชาธิปไตย
2. ลัทธิฟาสซิสต์ (Fascism) หรือเผด็จการฝ่ายขวา ก่อตั้งโดยเบนิโต มุลโสลินี เกิดขึ้นในอิตาลี และขยายต่อมายังเยอรมนี เรียกว่า “ลัทธินาซี” เป็นขบวนการชาตินิยมที่ต่อต้านการขยายตัว ของลัทธิคอมมิวนิสต์และระบอบเสรีประชาธิปไตย
115. ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ฮิตเลอร์ทำสัญญา Nazi-Soviet กับสตาลินในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1939 เพราะ
(1) ต้องการเอาใจรัสเซีย
(2) ไม่ต้องการทำศึก 2 ด้าน
(3) ต้องการให้รัสเซียคานอำนาจอังกฤษ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 550, (คำบรรยาย) ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ฮิตเลอร์ได้เดินทางไปพบสตาลินที่รัสเซีย เพื่อตกลงทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกันหรือที่เรี่ยกว่า “สนธิสัญญา Nazi-Soviet” ในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1939 ทั้งนี้เพราะฮิตเลอร์ต้องการเอาใจรัสเซีย ไม่ต้องการทำศึก 2 ด้าน และต้องการให้รัสเซียคานอำนาจของอังกฤษและฝรั่งเศส ส่วนรัสเซียก็หวังว่าตนจะสามารถ วางตัวเป็นกลางได้เมื่อเป็นพันธมิตรกับเยอรมนี
116. สาเหตุที่ฮิตเลอร์บุกโปแลนด์ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939จนเป็นชนวนให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2ขึ้นเพราะ
(1) การเกิดโปแลนด์ทำดินแดนเยอรมนีถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
(2) ต้องการเอาใจรัสเซีย
(3) โปแลนด์หันมาฝักใฝ่อังกฤษและฝรั่งเศส
(4) ต้องการหาช่องทางออกสู่ทะเลบอลติก
ตอบ 3 หน้า 550, 138 (H) สาเหตุปัจจฺบันที่ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ การที่กองทัพเยอรมนี เริ่มบุกโปแลนด์ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 เนื่องจากฮิตเลอร์ได้เรียกร้องให้โปแลนด์ยอมคืน ฉนวนโปแลนด์และเมืองดานซิกให้เยอรมนี แต่โปแลนด์ไม่ยินยอมและหันไปฝักใฝ่อังกฤษและ ฝรั่งเศส ซึ่งเมื่อกองทัพเยอรมนีบุกโปแลนด์ ฝ่ายอังกฤษได้ยื่นคำขาดให้เยอรมนียุติการบุกนั้น แต่เยอรมนีไม่ยอมปฏิบัติตาม อังกฤษและฝรั่งเศสจึงประกาศสงครามกับเยอรมนีในวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1939 จนทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นในที่สุด
117. สิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นช่วงที่เกิดวิกฤติการณ์สงครามเย็นในระหว่างปี ค.ศ. 1945 – 1991 คือ
(1) สงครามเบ็ดเสร็จระหว่างสหรัฐอเมริกากับโซเวียตรัสเซีย
(2) การโฆษณาชวนเชื่อลัทธิอุดมการณ์
(3) สงครามตัวแทน เช่น สงครามเกาหลี
(4) การยึดครองยุโรปตะวันออกโดยโซเวียตรัสเซีย
ตอบ 1 หน้า 559 – 561, 139 (H) สงครามเย็น (Cold War) เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1945 หลังจากที่ สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง และสิ้นสุดลงเมื่อเกิดการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ในโซเวียตรัสเซียในปี ค.ศ. 1991 ซึ่งสงครามเย็นมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. เป็นความขัดแย้ง ทางด้านอุดมการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ระหว่างสหรัฐอเมริกามหาอำนาจ ผู้นำฝ่ายโลกเสรีประชาธิปไตย กับโซเวียตรัสเซียมหาอำนาจผู้นำฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์
2. ทั้งสองประเทศจะไม่ทำสงครามแบบเบ็ดเสร็จ (Total War) ต่อกันโดยตรง เพราะต่างฝ่าย ต่างก็มีอาวุธร้ายแรง แต่มักใช้วิธิการทำสงครามจิตวิทยาหรือสงครามตัวแทน (Proxy War) เช่น สงครามเกาหลี
3. แข่งกันหาพันธมิตรโดยใช้วิธีทางการทูตและการโฆษณาชวนเชื่อลัทธิอุดมการณ์
4. มีการแช่งขันกันสะสมอาวุธและแข่งขันวิทยาการทางด้านอวกาศ
5. การยึดครองยุโรปตะวันออกโดยโซเวียตรัสเซีย
118. ความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมระหว่างประเทศมหาอำนาจผู้นำ ฝ่ายโลกเสรีประชาธิปไตย กับประเทศมหาอำนาจผู้นำฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์ คือสงครามใด
(1) สงครามโลกครั้งที่ 1
(2) สงครามโลกครั้งที่ 3
(3) สงครามเย็น
(4) สงครามครูเสด
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 117. ประกอบ
119. ผู้ก่อทั้งลัทธิฟาสซิสต์หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงคือใคร
(1) เบนิโต มุสโสลินี
(2) อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
(3) บิสมาร์ค
(4) โอลิเวอร์ ครอมเวลส์
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 114. ประกอบ
120. ข้อใดไมใช่สาเหตุที่รัสเซียถอนตัวออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1 เพราะ
(1) เกิดการปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์โรมานอฟ
(2) ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและการเงิน
(3) เกิดปัญหาการปฏิวัติโดยพวกบอลเชวิค
(4) แพ้สงคราม
ตอบ 4 หน้า 537, 134 (H), 136 (H), (คำบรรยาย) สาเหตุที่ทำให้รัสเซียถอนตัวออกจากสงครามโลก ครั้งที่ 1 มีดังนี้
1. เกิดการปฏิวัติเพื่อล้มล้างราชวงศ์โรมานอฟที่ปกครองประเทศอย่างไร้ประสิทธิภาพในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1917
2. รัสเซียมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและการเงิน
3. เกิดการปฏิวัติของพรรคบอลเชวิคในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1917 ภายใต้การนำของเลนิน ส่งผลให้รัสเซียเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ และก่อตั้งเป็นสหภาพโซเวียตขึ้น