การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2555
ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1001 อารยธรรมตะวันตก
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
1. สันนิษฐานว่าแหล่งกำเนิดของมนุษย์อยู่ในทวีปใด
(1) ยุโรป (2) เอเชีย (3) ออสเตรเลีย (4) อเมริกา
ตอบ 2 หน้า 1 – 2, 8 (H) นักประวัติศาสตร์ได้สันนิษฐานว่าแหล่งกำเนิดของมนุษย์น่าจะอยู่ใน ทวีปเอเชียและแอฟริกา รวมทั้งบริเวณตอนกลางของทวีปเอเชียที่อยู่ติดกับยุโรป คือ บริเวณยูเรเชีย (Eurasia) โดยบริเวณดังกล่าวนี้จะมีภูมิอากาศที่เหมาะสำหรับการพัฒนา ของไพรเมท (Primate) ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ ต่อมาบรรดาไพรเมทเหล่านี้ก็ได้ กระจัดกระจายออกไปตั้งถิ่นฐานในที่ต่าง ๆ ทั้งในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา
2. ข้อใดสอดคล้องกับยุคหิน
(1) ก่อนประวัติศาสตร์
(2) ก่อนการรู้หนังสือ (3) ก่อนการประดิษฐ์ตัวอักษร (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 7, 2 (H), 9 (H) การแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ของมนุษย์จะพิจารณาจากการรู้หนังสือ หรือการประดิษฐ์ตัวอักษรเป็นเกณฑ์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ยุคใหญ่ ๆ ดังนี้
1. ยุคหินหรือยุคก่อนประวัติศาสตร์ คือ ยุคก่อนการรู้หนังสือ หรือยุคก่อนการประดิษฐ์ตัวอักษร
2. ยุคโลหะหรือยุคเริ่มต้นของสมัยประวัติศาสตร์ คือ ยุครู้หนังสือ หรือยุคที่เริ่มมีการประดิษฐ์ ตัวอักษรแล้ว
3. มนุษย์เปลี่ยนจากสังคมเร่ร่อนเป็นสังคมตั้งรกราก ตั้งถิ่นฐานในยุคใด
(1) หินแรก (2) หินเก่า (3) หินกลาง (4) หินใหม่
ตอบ 4 หน้า 8 – 15, 38 – 39, 9 – 10 (H) ยุคหินแบ่งออกเป็น 4 ยุค คือ
1. ยุคหินแรก เป็นยุคลองผิดลองถูกของมนุษย์ 2. ยุคหินเก่า หรือยุคเก็บผลไม้ เป็นยุคที่มนุษย์ เริ่มใข้อาวุธป้องกันตนเอง นุ่งห่มหนังสัตว์ และเก็บผลไม้ 3. ยุคหินกลาง เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มรู้จักวิธีการเลี้ยงสัตว์ โดยสัตว์ที่นำมาเลี้ยงชนิดแรกคือ สุนัข 4. ยุคหินใหม่ หรือยุคปลูก ผลไม้ เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูก จนถึงขั้นควบคุมการผลิตอาหารได้ ทำให้ มนุษย์เปลี่ยนจากชุมชนเร่ร่อนเป็นชุมชนตั้งรกราก หรือเป็นยุคที่เริ่มมีการตั้งถิ่นฐานเป็นครั้งแรก
4. ข้อใดเรียงลำดับพัฒนาการของมนุษย์ได้ถูกต้อง
(1) Savagery-Urban Life-Barbarism (2) Savagery-Barbarism-Civilization
(3) Urban Life-Savagery-Barbarism (4) Barbarism-Savagery-Civilization
ตอบ 2 หน้า 4 – 5, 38 – 39 พัฒนาการของมนุษย์เริ่มจากสมัยแห่งความดุร้าย (Savagery) มาสู่ สมัยป่าเถื่อน (Barbarism) จบในที่สุดก็มาถึงสมัยอารยธรรม (Civilization) ของมนุษย์ ซึ่งเป็นสมัยที่มนุษย์เริ่มสื่อภาษาด้วยสัญญาณเสียง เริ่มมีการประดิษฐ์ตัวอักษร มีการอยู่รวมกันเป็นหลักแหล่งแบบสังคมเมือง และที่สำคัญคือ การเกษตรกรรม ซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จ เบื้องต้นของมนุษย์ที่มีความเจริญแล้ว และเป็นอาชีพของมนุษย์อารยะ (Civilized)
5. ข้อใดไม่ใช่ทฤษฎีวิวัฒนาการของชาร์ลล์ ดาร์วิน
(1) สิ่งมีชีวิตถือกำเนิดจากสัตว์เซลล์เดียวในทะเล
(2) สิ่งมีชีวิตสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้จึงจะอยู่รอด
(3) สิ่งมีชีวิตย่อมได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อแม่
(4) สิ่งมีชีวิตจะค่อย ๆ เปลี่ยนรูปร่างไปตามสภาพแวดล้อม
ตอบ 2 หน้า 18 – 19, 11 (H) ชาว์ลล์ ดาร์วิน นักชาติพันธุวิทยาชาวอังกฤษ ได้เขียนหนังสือเรื่อง “ทฤษฎีวิวัฒนาการหรือทฤษฎีพัฒนาการ” (The Theory of Evolution) ซึ่งมีสาระสำคัญคือ
1. สิ่งมีชีวิตถือกำเนิดมาจากสัตว์เซลล์เดียวในทะเล
2. สิ่งมีชีวิตจะค่อย ๆ เปลี่ยนรูปร่างไปตามสภาพแวดล้อม
3. สิ่งมีชีวิตย่อมได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมาจากพ่อและแม่ ดังนั้นทั้งพืชและสัตว์ที่มี ชีวิตยืนยาวอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตนก็จะถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมนั้นให้ลูกหลานด้วย
4. สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ ก็จะต้องสูญพันธุ์ไปในที่สุด
6. อารยธรรมใดจัดอยู่ในกลุ่มของอารยธรรมโลก
(1) อารยธรรมอินคา (2) อารยธรรมกรีก
(3) อารยธรรมเมโสโปเตเมีย (4) อารยธรรมโรมัน
ตอบ 3 หน้า 31, 14 (H), 17 (H) ขอบเซตของอารยธรรมในยุคโบราณ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. อารยธรรมตะวันออก มีแม่แบบคือ อารยธรรมจีน-อินเดีย
2. อารยธรรมตะวันตก มีแม่แบบคือ อารยธรรมกรีก-โรมัน
3. อารยธรรมโลก มีแม่แบบคือ อารยธรรมอียิปต์-เมโสโปเตเมีย
7. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับบทปฐมกาล (The Genesis)
(1) มนุษย์คู่แรกที่พระเจ้าสร้างคือ อดัม-อีวา
(2) พระเจ้าสร้างโลกและจักรวาลภายใน 5 วัน (3) เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าสร้างโลก
(4) ซาตานที่ชักชวนให้อดัม-อีวา ผิดบาปครั้งแรกมาปรากฏในลักษณะของ “งู”
ตอบ 2 หน้า 104, 4 (H), (คำบรรยาย) บทปฐมกาล (The Genesis) เป็นเรื่องราวที่อยู่ในพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว ซึ่งมีลักษณะสำคัญดังนี้
1. เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าสร้างโลกและสรรพสิงต่าง ๆ ขึ้นมาในจักรวาล รวมทั้งมนุษย์ และสัตว์โลกภายในเวลา 6 วัน
2. มนุษย์คู่แรกที่พระเจ้าสร้างคือ อดัม-อีวา โดยพระเจ้าสร้างมนุษย์คนแรกคือ “อดัม”
แล้วหักซี่โครงชิ้นหนึ่งของอดัมมาสร้างเป็นผู้หญิงคือ “อีวาหรืออิฟ” อาศัยอยู่ในสวนเอเดน
3. ซาตานที่มาปรากฏในลักษณะของ “งู” ได้ชักชวนให้ อดัม-อีวา ผิดบาปครั้งแรกโดยการกิน ผลไม้ต้องห้าม จนถูกพระเจ้าขับไล่ออกจากสวนเอเดน โดยต่อมาทั้งสองได้กลายเป็น บรรพบุรุษของมนุษย์และจะต้องได้รับความยากลำบาก
8. ชนชาติใดเป็นต้นกำเนิดของศาสนาหลักที่สำคัญในการเสริมสร้างอารยธรรมตะวันตก
(1) Latin (2) Roman (3) Hebrew (4) Hellenes
ตอบ 3 หน้า 87, 90, 28 (H) พวกฮิบรู (Hebrew) หรือพวกยิว เป็นชนชาติที่เป็นต้นกำเนิดของ ศาสนาคริสต์ที่มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างอารยธรรมตะวันตก ตลอดจนเรื่องราวเกี่ยวกับ การสร้างโลก กำเนิดของโลก นํ้าท่วมโลก บัญญัติสิบประการ รวมทั้งความเชื่อที่ว่าพระเจ้า เป็นผู้ออกกฎเกณฑ์ต่าง ๆ และเป็นผู้ตัดสินเรื่องราวต่าง ๆ ตามที่ปรากฏในพระคัมภีร์ไบเบิล
9. เหตุการณใดถือว่าเป็นปีแห่งการสิ้นสุดของยุคกลางเข้าสู่ยุคใหม่
(1) A.D. 1445 จอห์น กูเตนเบิร์กประดิษฐ์แท่บพิมพ์
(2) A.D. 476 อาณาจักรโรมันตะวันตกล่มสลาย
(3) A.D. 1453 กรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกยึดครอง
(4) A.D. 1492 โคลัมบัสค้นพบโลกใหม่
ตอบ 4 หน้า17,2-3(H) เหตุการณ์ที่นำไปลู่การสิ้นสุดยุคกลางเข้ามาลสู่ยุคใหม่ในสมัยศตวรรษที่15ได้แก่
1. ปี ค.ศ. 1445 (A.D. 1445) เป็นปีที่จอห์น กูเตนเบิร์ก ประดิษฐ์แท่นพิมพ์ได้สำเร็จ
2. ปี ค.ศ. 1453 (A.D. 1453) เป็นปีที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลซึ่งเป็นเมืองหลวงของ จักรวรรดิโรมันตะวันออกถูกพวกออตโตมัน เติร์ก ยึดครอง
3. ปี ค.ศ. 1492 (A.D. 1492) เป็นปีที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เดินทางไปค้นพบโลกใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นปีแห่งการสิ้นสุดของยุคกลางเข้าสู่ยุคใหม่
10. ผลงานของอียิปต์ที่สำคัญในสมัยก่อนราชวงศ์คือ
(1) การสร้างพีระมิด (2) การสร้างวิหาร (3) การสร้างปฏิทิน (4) การทำมัมมี่
ตอบ 3 หน้า 51 – 53, 18 – 19 (H) สมัยก่อนราชวงศ์ของอียิปต์มีความสำคัญดังนี้
1. มีกลุ่มชนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอียิปต์บริเวณลุ่มแม่นํ้าไนล์เมื่อประมาณ 5000 B.C. โดยกลุ่มชนเหล่านี้จะอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้านและมีหัวหน้าปกครอง
2. มีการสร้างปฏิทินแบบสุริยคติที่หนึ่งปีมี 365 วัน ในปี 4241 B.C.
3. ดินแดนบริเวณลุ่มแม่นํ้าไนล์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ตอน จึงได้ชื่อว่า “Land of Two Lands” ได้แก่ อียิปต์บนหรืออียิปต์สูง และอียิปต์ล่างหรืออียิปต์ตํ่า
11. ในสมัยฟิวดัล ฟาโรห์ถูกยึดอำนาจจากขุนนาง ทำหน้าที่เป็นผู้นำของกลุ่มใด
(1) ขุนนาง (2) พระ (3) ทหาร (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 55, 20 (H) สมัยฟิวดัลของอียิปต์ (2200 – 2000 B.C.) เป็นสมัยที่พวกขุนนางหรือผู้ว่าราชการมณฑลต่าง ๆ (Nomarchs) เข้ายึดอำนาจจากฟาโรห์มาเป็นของตนเอง ทำให้ฟาโรห์ ในสมัยราชวงศ์ที่ 7 และ 8 มีฐานะเป็นเพียงฟาโรห์หุ่นเชิด โดยจะทำหน้าที่เป็นหัวหน้าของ พวกพระ จนกระทั่งในสมัยกษัตริย์ราชวงศ์ที่ 11 แห่งราชวงศ์ทีบีส (Thebes) ซึ่งสามารถ ขับไล่ขุนนางและเข้ายึดอำนาจได้สำเร็จ ทำให้อียิปต์รวมตัวกันได้เป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง
12. การปฏิรูปศาสนาของฟาโรห์อาเมนโฮเตปที่ 4 ให้นับถือพระเจ้าองค์เดียว มีจุดประสงศ์สำคัญคือ
(1) ลดอำนาจพวกพระ (2) นับถือสุริยเทพอาเตนเพียงองค์เดียว
(3) การย้ายเมืองหลวงเพื่อเพิ่มอำนาจ (4) ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 58, 21 (H) จุดมุ่งหมายที่สำคัญในการปฏิรูปศาสนาของฟาโรห์อาเมนโฮเตปที่ 4 มีดังนี้
1. ต้องการให้ชาวอียิปต์หันมานับถือสุริยเทพอาเมนหรือเทพอาเตนเพียงองค์เดียวเท่านั้น
2. เพื่อผลทางการเมือง คือ สร้างอำนาจให้กับฟาโรห์ และต้องการลดอำนาจของ พวกพระอามอนที่รํ่ารวยขึ้นจากทรัพย์สินที่บรรดาหัวเมืองนำมาถวาย
13. เมโสโปเตเมียมีความหมายว่าอย่างไร
(1) ดินแดน 2 ดินแดนรวมกัน (2) ดินแดนแห่งความหวัง
(3) ดินแดนระหว่างแม่นํ้า 2 สาย (4) ที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้า
ตอบ 3 หน้า 65 – 66, 22 (H) คำว่า “เมโสโปเตเมีย” เป็นภาษากรีก แปลว่า “ดินแดนระหว่างแม่นํ้า 2 สาย” (Land between Rivers) คือ แม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรตีส โดยอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ได้ชื่อว่าเป็นอารยธรรมเกษตรกรรม ทั้งนี้จะครอบคลุมบริเวณตั้งแต่อ่าวเปอร์เซียไปจนถึงซีเรีย และปาเลสไตน์ ซึ่งเราสามารถเรียกบริเวณนี้ได้อีกชื่อหนึ่งว่า “ดินแดนพระจันทร์เสี้ยว” (Fertile Crescent) หรือดินแดนเอเชียตะวันตก (ประเทศอิรักในปัจจุบัน)
14. เทพเจ้าสูงสุดของอียิปต์คือเทพเจ้าองค์ใด
(1) อานูบิส (2) ไอซีส (3) โอซิริส (4) ซุส
ตอบ 3 หน้า 47, 18 (H) ชาวอียิปต์เชื่อว่าการขึ้นลงของแม่นํ้าไนล์เกิดจากอิทธิพลของฟาโรห์ ซึ่งเป็น ผู้เดียวที่เข้าใจถึงความกลมกลืนและความสอดคล้องของจักรวาล ดังนั้นการปกครองของอียิปต์ ในระยะแรกจะอยู่ในรูปของกษัตริย์เทวาธิปไตย โดยในระหว่างที่ฟาโรห์ยังทรงพระชนมีชีพอยู่ ก็จะมีฐานะเป็นเทพโฮรัส (Horus) โอรสของเทพโอซิริส (Osiris) ซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุดแห่ง แม่น้ำไนล์ เมื่อสิ้นพระชนม์แล้วก็จะกลับไปเป็นเทพโอซิริสอีกองค์หนึ่ง ทำให้กษัตริย์ของ อียิปต์ทุกพระองค์เมื่อได้มีการทำพิธีฝังพระศพแล้วก็จะถูกเรียกว่าเทพโอซิริสทุกพระองค์ไป
15. ข้อใดถูกต้อง
(1) การประดิษฐ์ Papyrus ทำจากต้นกก ต้นอ้อ ริมแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส
(2) Book of the Dead คือ หนังสือเขียนความดีหลังเสียชีวิตและใบเบิกทางสู่โลกหน้า
(3) อักษร Cuneiform มีความสัมพันธ์กับ Papyrus
(4) ชาวเมโสโปเตเมียรับวิธีการสร้างปฏิทินจากอียิปต์
ตอบ 2 หน้า 64 – 65 ชาวอียิปต์มีความเชื่อเรื่องวิญญาณเป็นอมตะและโลกหน้า ด้วยเหตุนี้ชาวอียิปต์ จึงมีการเก็บรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยด้วยการทำเป็นมัมมี่ และมีการสร้างพีระมิดไว้เก็บพระศพ ของฟาโรห์ รวมทั้งมีการเขียนเรื่องราวแสดงความบริสุทธิ์และความประพฤติที่ดีของตนเอาไว้ ในม้วนกระดาษ Papyrus หรือเขียนไว้บนฝาหีบศพ เพื่อนำไปแสดงต่อเทพเจ้าโอซิริสเมื่อตน เสียชีวิตไปแล้วและเป็นใบเบิกทางสู่โลกหน้า ซึ่งหนังสือนี้จะเรียกว่า “Book of the Dead” ถ้าเขียนไว้ตามหีบศพจะเรียกว่า “Coffin Texts” และถ้าเขียนไว้บนกำแพงพีระมิดจะเรียกว่า “Pyramid Texts”
16. การประดิษฐ์อักษรรูปลิ่มลงบนแผ่นดินเหนียว เป็นผลงานของชนกลุ่มใด
(1) สุเมเรียน (2) อียิปต์ (3) อราเมียน (4) ฟินิเชียน
ตอบ 1 หน้า 69 – 71, 23 – 24 (H) สุเมเรียนเป็นชนชาติแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานและวางรากฐาน ทางอารยธรรมในดินแดนเมโสโปเตเมีย มรดกทางอารยธรรมที่สำคัญของชาวสุเมเรียน มีดังนี้
1. มีการประดิษฐ์ตัวอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) หรืออักษรรูปลิ่มลงบนแผ่นดินเหนียว เมื่อประมาณ 3500 B.C.
2. มีการสร้างสถาปัตยกรรมด้วยอิฐที่เรียกว่า “ซิกกูแรต” (Ziggurats) เพื่อใช้เป็นวิหารของเทพเจ้า
3. มีการทำปฏิทินแบบจันทรคติขึ้นใช้ โดยหนึ่งปีจะมี 354 วัน
4. มีการนับหน่วย 60, 10 และ 6 ซึ่งมีผลต่อการนับเวลาและการคำนวณทางเรขาคณิต
5. ใช้กฎหมายที่มีลักษณะสนองตอบ หรือ “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน”
6. มีการกำหนดมาตราชั่ง ตวง วัด โดยยึดหลักการนับหน่วย 60 เป็นต้น
17. ปัจจัยที่ช่วยในการรักษาสภาพศิลปะและสถาปัตยกรรมอียิปต์คือข้อใด
(1) การปกครองระบอบกษัตริย์ (2) สภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง
(3) การตั้งอยู่บริเวณรอบแม่นํ้าไนล (4) ชนกลุ่มอื่นไม่สามารถทำลายได้
ตอบ 2 หน้า 46 – 47, 17 – 18 (H) ปัจจัยทางธรรมชาติที่ช่วยสร้างสมอารยธรรมของอียิปต์ ได้แก่
1. ได้รับความชุ่มชื้นจากแม่นํ้าไนล์ ทำให้อียิปต์กลายเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์และ มีความมั่งคั่ง จนสามารถสร้างสมอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ของโลกในยุคโบราณได้
2. มีทะเลทรายช่วยกั้นให้พ้นจากเขตอากาศร้อนและความกดอากาศตํ่า นอกจากนี้ยังเป็น ปราการทางธรรมชาติที่ช่วยป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอก
3. สภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้งของอียิปต์ ช่วยรักษาสิ่งที่มีค่าทางอารยธรรม อันได้แก่ สภาพศิลปะและสถาปัตยกรรมไม่ให้เกิดความเสียหายได้
4. กระแสลมจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่พัดลงใต้อย่างสม่ำเสมอ ช่วยอำนวยความสะดวก ต่อการเดินทางค้าขายทางทะเล
5. ถึงแม้อียิปต์จะขาดแคลนป่าไม้ แต่ก็มีดินเหนียว หินแกรนิต หินทราย และหินฝุ่น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการก่อสร้างของอียิปต์
18. กฎหมายสนองตอบ “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” เฆี่ยน เผาทั้งเป็น เป็นลักษณะของกฎหมายใด
(1) กฎหมายฮัมมูราบี (2) จัสติเนียน (3) 12 โต๊ะ (4) โซลอน
ตอบ 1 หน้า 72 – 74, 24 (H) มรดกทางอารยธรรมที่สำคัญของพวกอะมอไรท์หรือพวกบาบิโลนเก่า คือ ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (The Code of Hummurabi) ของพระเจ้าฮัมมูราบี ซึ่งได้รับ อิทธิพลมาจากกฎหมายของพวกสุเมเรียนที่อาศัยหลักลัทธิสนองตอบ (Lex Talionis) หรือ ตาต่อตา ฟันต่อฟัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการจัดทำก็คือ เพื่อผดุงหรือพิทักษ์ความยุติธรรน ให้คงอยู่ในแผ่นดิน ทำลายคนชั่วและคนร้าย ป้องกันไม่ให้คนแข็งแรงข่มเหงคนที่อ่อนแอกว่า และเพื่อพัฒนาสวัสดิการสำหรับประชาชน ซึ่งประมวลกฎหมายนี้ได้ใช้ต่อมาจนถึงสมัยของ กฎหมายโรมัน
19. ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) กษัตริย์อัสซูร์บานิบัลเป็นผู้เริ่มต้นตั้งห้องสมุด
(2) การผลิตเหรียญกษาปณ์ครั้งแรกในอาณาจักรแคลเดีย
(3) ภาพสลักนูนต่ำภาพสงครามและการต่อสู้เป็นผลงานของชาวอัสซีเรียน
(4) แคสไซต์เป็นกลุ่มที่ใช้ม้าและรถศึกในการทำสงคราม
ตอบ 2 หน้า 92 – 93, 30 (H), (คำบรรยาย) ผลงานทีสำคัญของกษัตริย์ครีซัสแห่งลิเดิย มีดังนี้
1. เป็นกษัตริย์ที่มีความมั่งคั่งมากจากการทำการค้ากับดินแดนแถบลุ่มนํ้าไทกริส-ยูเฟรติส และหมู่เกาะอีเจียน 2. มีการผลิตเหรียญกษาปณ์หรือทำเหรียญทองผสมเงินขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนตามนํ้าหนักของเหรียญ ซึ่งถือเป็นมรดกทางอารยธรรมที่ตกทอด มาจนถึงปัจจุบัน 3. ทำสงครามกับเปอร์เซียจนในที่สุดก็ถูกยึดครองโดยพระเจ้าไซรัสมหาราช แห่งเปอร์เซียในปี 546B.C.
20. ภาษาที่พระเยซูและสาวกใช้สอนศาสนาในดินแดนปาเลสไตน์คือภาษาใด
(1) เฮียโรกลิฟิก (2) อียิปต์ (3) อราเมอิก (4) ฮีบรู
ตอบ 3 หน้า 86 – 87, 27 (H), (คำบรรยาย) ความสำคัญของพวกอราเมียน มีดังนี้
1. ภาษาอราเมียนหรือภาษาอราเมอิกเป็นภาษากลางของกลุ่มเอเชียตะวันตก และเป็นภาษา ที่พระเยซูและเหล่าสาวกใขช้ในการสอนศาสนาในดินแดนปาเลสไตน์
2. พวกอราเมียนได้รับฉายาว่าเป็น “พ่อค้าทางบกที่ยิ่งใหญ่ในเขตตะวันออกใกล้”
(Near East) หรือบริเวณเอเชียตะวันตก
21. เหตุใดกรีกจึงมีการปกครองแบบ “นครรัฐ”
(1) สภาพภูมิประเทศเป็นเกาะ (2) Landlocked Country
(3) หลีกเลี่ยงการปกครองระบอบทหาร (4) ชาวกรีกเคร่งครัดในกฎระเบียบ
ตอบ 1 หน้า 110, 112 – 113, 38 (H) สาเหตุที่ทำให้กรีกยุคโบราณมีการปกครองแบบนครรัฐ เนื่องจาก
1. ปัญหาทางสภาพภูมิศาสตร์ เนื่องจากกริกมีภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง และเป็นเกาะอยู่ติด ชายฝั่งทะเลที่เว้า ๆ แหว่ง ๆ พื้นที่ไม่ติดต่อกัน และหาที่ราบยาก จนกลายเป็นพรมแดนที่ แบ่งแยกชาวกริกออกจากกันและเป็นอิสระต่อกัน
2. ชาวกรีกมีนิสัยรักความเป็นอิสระ
22. กฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของกรีกที่มีลักษณะคล้ายกับกฎหมายฮัมมูราบีคือข้อใด
(1) ฮัมมูราบี (2) ดราโค (3) โซลอน (4) เพลิคลิส
ตอบ 2 หน้า 123, 42 (H) ดราโค (Draco) เป็นเจ้าของประมวลกฎหมายที่เข้มงวด จนทำให้เกิดคำว่า “Draconic” ซึ่งมีความหมายว่า รุนแรงหรือเข้มงวด ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับกฎหมายฮัมมูราบี โดยกฎหมายของดราโคให้ความยุติธรรมดีขึ้น แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจได้ กฎหมาย ฉบับนี้ประกาศใช้เมื่อปี 620 B.C. ซึ่งนับว่าเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของกรีก
23. นครรัฐใดในอารยธรรมกรีกที่เป็นต้นกำเนิดของการปกครองระบอบประชาธิปไตย
(1) ทรอย (2) สปาร์ตา (3) เอเธนส์ (4) อิทาก้า
ตอบ 3 หน้า 127, 130, 40 (H), 43 (H) ในระหว่างสมัยของการปฏิรูปประชาธิปไตย (600 – 500 B.C.) นับจากสมัยของดราโคถึงเพริคลิสนั้น เอเธนสได้พัฒนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตยไปได้มากแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยของเพริคลิสนั้นถือว่าระบอบประชาธิปไตยได้พัฒนา ไปถึงจุดสูงสุด จนทำให้สมัยนี้ได้ชื่อว่าเป็น “ยุคทองของเอเธนส์” และทำให้เอเธนส์กลายเป็น “บรมครูของนครรัฐกรีกหรือชาวเฮลลัสทั้งมวล” ดังนั้นเอเธนส์จึงถือว่าเป็นต้นกำเนิดและ แม่แบบของการปกครองระบอบประชาธิปไตยและของอารยธรรมตะวันตก
24. คณะเอเฟอร์ (Ephors) ทำหน้าที่ใด
(1) คัดเลือกทหารที่แข็งแรงเข้ากองทัพ (2) กลุ่มอภิสิทธิ์ชนที่มีสิทธิคัดค้านในสภา
(3) ตรวจสอบความแข็งแรงสมบูรณ์ของเด็กเกิดใหม่ (4) ออกกฎหมาย
ตอบ 3 หน้า 119 – 120, 122, 41 (H) กลุ่มผู้มีอำนาจสูงสุดในนครรัฐสปาร์ตาคือ คณะเอเฟอร์ (Ephors) ซึ่งมีหน้าที่สำคัญดังนี้
1. กำหนดโชคชะตาของเด็กเกิดใหม่ทุกคน นั่นคือ เมื่อมีเด็กเกิดใหม่ต้องนำไปให้คณะเอเฟอร์ ตรวจสอบความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกาย ถ้าเด็กพิการหรืออ่อนแอก็จะลูกนำไปทิ้งหน้าผา เพื่อไมให้เป็นภาระต่อสังคม 2. สามารถถอดถอนหรือสั่งประหารกษัตริย์ได้
3. ควบคุมระบบการศึกษา 4. มีอำนาจเหนือกฎหมายและสภา
25. ข้อใดถูกต้อง
(1) สงครามเปอร์เซียทำให้นครรัฐของกรีกแยกจากกัน
(2) การแข่งขันวิ่งมาราธอนเพื่อเป็นเกียรติให้กับเฟดิปปิดิส ในสงครามเปอร์เซีย
(3) สงครามคาบสมุทรเพโลพอนนีซุส เป็นสงครามระหว่างเอเธนส์กับสปาร์ตา
(4) รัฐสปาร์ตาเป็นแม่แบบการปกครองแบบประชาธิปไตย
ตอบ 2 หน้า 143, 46 (H) สงครามเปอร์เซียหรือสงครามมาราธอน เป็นการทำสงครามระหว่างกรีกเอเธนส์กับเปอร์เซียในปี 490 B.C. โดยสงครามในครั้งนี้ได้ทำให้เกิดวีรบุรุษชาวเอเธนล์ชื่อ “เฟดิปปิดิส” (Phedippides) ซึ่งใช้เวลาวิ่งไปกลับระหว่างเอเธนส์กับสปาร์ตารวม 2 วัน 2 คืน เพื่อขอกำลังทหารมาช่วยเอเธนส์ และวิ่งกลับมาที่เอเธบล์เพื่อแจ้งข่าวถึงชัยชนะของเอเธนส์ จนล้มขาดใจตาย ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้กลายมาเป็นตำนานให้เกิดการแช่งขันวิ่งมาราธอนเป็นระยะทาง 26 ไมล์ เพื่อเป็นเกียรติให้กับเฟดิปปิดิส เมื่อมีการฟื้นฟูกีฬาโอลิมปิกขึ้นใหม่ในปี ค.ศ. 1896
26. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับอารยธรรมเฮลเลนิสติก
(1) ไมใช่อารยธรรมกรีกแท้ (2) อารยธรรมกรีกผสมเปอร์เซีย
(3) เริ่มในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (4) เกิดในช่วงสงครามเมืองทรอย
ตอบ 4 หน้า 146, 38 (H), 47 (H) อารยธรรมกรีกโบราณ แบ่งออกเป็น 2 สมัย คือ
1. อารยธรรมเฮลเลนิก (Hellenic) เป็นอารยธรรมกรีกแท้ หรือสมัยก่อนพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ มหาราช โดยเริ่มตั้งแต่สมัยการอพยพของพวกอินโด-ยุโรป ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวกรีก
2. อารยธรรมเฮลเลนิสติก (Hellenistic) เป็นอารยธรรมที่เริ่มในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช โดยเป็นอารยธรรมผสมระหว่างอารยธรรมกรีกเฮลเลนิก (ตะวันตก) กับอารยธรรมเปอร์เซีย (ตะวันออก)
27. การปกครองที่ดีต้องใช้กฎหมายไม่ใช่ตัวบุคคล ต้องส่งเสริมการปกครองโดยเสรีภาพของประชาชน เป็นแนวคิดของใคร
(1) เพลโต (2) อรีสโตเติล (3) โสเครติส (4) โซฟิสต์
ตอบ 2 หน้า 141 – 142, 45 (H) อรีสโตเติล (Aristotle) เป็นผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการแบ่งชนชั้นของ เพลโต เพราะจะทำให้เกิดความขัดแย้ง โดยสังคมที่ดีนั้นทุกคบควรมีความรู้สึกเป็นมิตรต่อกัน และทุกคนมีฐานะเท่าเทียมกัน ส่วนในด้านการปกครองนั้น อริสโตเติลก็ส่งเสริมการปกครอง โดยเสรีภาพของประชาชนและการมีส่วนปกครองตนเอง รวมทั้งถือว่ารัฐในอุดมคติจะต้อง มีการปกครองโดยใช้กฎหมายเป็นหลักมิใช่ตัวบุคคล เนื่องจากกฎหมายเกิดจาก “เหตุผล ซึ่งเป็นผลของความคิดอย่างรอบคอบและสมดุล”
28. กลุ่มชนที่ขับไส่ชาวอีทรัสคันในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทเบอร์คือกลุ่มใด
(1) Latin—Patrician (2) Latin-Plebeian (3) Roman (4) Greek
ตอบ 1 หน้า 158 – 159, 48 (H) จากการที่กษัตริย์อีทรัสคันปกครองโรมันอย่างกดขี่ ทำให้พวกแพทริเซียน (Latin—Patrician) ซึ่งเป็นกลุ่มชนชั้นสูงชาวโรมันขับใล่พวกอีทรัสคันออกไป จากบริเวณที่ราบลุ่มแม่นํ้าไทเบอร์ของกรุงโรมได้สำเร็จในปี 509 B.C. จากนั้นจึงตั้งคณะรัฐบาล ของตนเองแล้วเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบกษัตริย์มาเป็นระบอบสาธารณรัฐ และดำรงอยู่ต่อมานานถึง 500 ปี
29. สัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของกรุงโรมคือ
(1) วัว (2) แมลงป่อง (3) หมาป่า (4) สิงโต
ตอบ 3 หน้า 158, 48 (H) ในมหากาพย์อีเนียดของเวอร์จิลได้กล่าวถึงตำนานการสร้างกรุงโรมไว้ว่า โรมิวลุส (Romulus) และเรมุส (Remus) โอรสแฝดของนางซิลเวิยกับเทพเจ้ามาร์ส (Mars) เป็นผู้สร้างกรุงโรมขึ้นในปี 753 B.C. โดยได้รอดชีวิตจากการที่ถูกอมูลิอุสจับใส่ตะกร้าลอยนํ้า และได้รับความช่วยเหลือจากหมาใน (หมาป่า) ดังนั้นหมาในจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของกรุงโใม ด้วยเหตุนี้เองคนอิตาลีที่ไม่ชอบโรมันจึงเรียกพวกโรมันว่า “พวกลูกหมาใน”
30. ข้อใดเป็นมหากาพย์ที่เกี่ยวเนื่องกับอารยธรรมกรีก
(1) อีเลียด (2) โอดิสเสย์ (3) อีเนียส (4) Troy
ตอบ 1 หน้า 110 – 111, 113, 36 – 37 (H) มหากาพย์อีเลียด (Iliad) ซึ่งแต่งโดยจินตกวีตาบอดชื่อโฮเมอร์ (Homer) เป็นเรื่องราวของการทำสงครามระหว่างกรุงทรอยหรือพวกโทรจันกับพวกกรีก โดยมีสาเหตุจากการที่เจ้าชายปารีสแห่งกรุงทรอยเสด็จเยือนสปาร์ตา และได้พบรักกับ พระนางเฮเลน ผู้เป็นมเหสีของกษัตริย์เมนิเลอัสแห่งสปาร้ตา จึงได้พากันหนีไปครองรักกันที่กรุงทรอย ทำให้พระนางเฮเลนมีฉายาว่า “Helen of Troy” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความอ่อนแอ และเป็นต้นเหตุให้เกิดสงครามม้าไม้ (Trojan War) ในเวลาต่อมา
31. ใครเป็นผู้นำปฏิทินแบบสุริยคติมาใช้โนอาณาจักรโรมัน
(1) จูเลียส ซีซาร์ (2) มาร์ค แอนโธนี (3) ออกุสตุส (4) โรมิวลุส
ตอบ 1 หน้า 52, 50 – 51 (H) ในปี 46 B.C. จูเลียส ซีซาร์ ได้นำเอาปฏิทินแบบสุริยคติของอียิปต์ มาเผยแพร่และนำมาดัดแปลงใช้ในสาธารณรัฐโรมัน ซึ่งปฏิทินดังกล่าวก็ยังคงใช้สืบเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน โดยชื่อเดือนกรกฎาคมหรือ July ก็มาจากชื่อของ Julius Caesar นั่นเอง
32. กลุ่มตัวแทนประชาชนที่ได้รับสิทธิเข้าไปนั่งในสภา และสามารถ Veto คัดค้านการออกกฎหมายของ สภา Senate คือกลุ่มใด
(1) Tribunes (2) Patrician (3) Plebeian (4) Etruscan
ตอบ 3 หน้า 161, 49 (H) ในสมัยสาธารณรัฐโรมัน พวกแพทริเชียน (Patrician) หรือกลุ่มชนชั้นสูง ได้ยินยอมให้พวกพลีเบียน (Plebeian)หรือกลุ่มชนชั้นต่ำ จัดตั้งคณะตรีบูน (Tribunes) ขึ้น ในปี 466 B.C. เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของพวกพลีเบียนในสภาซีเนท (Senate) และ สามารถวีโต้ (Veto) หรือคัดค้านกฎหมายที่จะออกมาขัดผลประโยชน์ของพวกพลีเบียนได้ ต่อมาพวกพลีเบียนยังได้เรียกร้องให้มีการร่างกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของโรมัน เรียกว่า “กฎหมาย 12 โต๊ะ”โดยได้ประกาศใช้เมื่อปี 450 B.C.
33. อนารยชนกลุ่มใดที่สามารถรวบรวมปราบปรามกลุ่มอื่น และสามารถสถาปนาดินแดนของตนเองเป็นปึกแผ่น
(1) Franks (2) Lombards (3) Ottoman Turks (4) Visigoths
ตอบ 1 หน้า 215 – 217, 61 – 62 (H) พวกแฟรงค์ (Franks) เป็นอนารยชนที่สามารถรวบรวมดินแดน ยุโรปตะวันตกให้เป็นปึกแผ่นได้อีกครั้งภายหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันกะวันตก โดยพวกแฟรงค์ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มแม่นํ้าไรน์เมื่อประมาณ ค.ศ. 300 ต่อมาได้อพยพ ไปตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของแคว้นกอล และได้ก่อตั้งอาณาจักรขึ้นภายใต้การนำของ 2 ราชวงศ์ คือ อาณาจักรเมโรแวงเจียน และอาณาจักรคาโรแลงเจียน
34. ผลงานทางด้านอารยธรรมโรมันที่ได้รับอิทธิพลจากชาวอีทรัสคันคือข้อใด
(1) การใช้ปฏิทิน
(2) การก่อสร้างโดยใช้ซีเมนต์ (3) ซุ้มโค้ง Arch (4) Circus Maximus
9v[ 3 หน้า 159, 49 (H), (คำบรรยาย) ในศตวรรษที่ 8 B.C. พวกอีทรัสคันซึ่งเป็นกลุ่มทหารรับจ้าง จากเอเชียน้อย ได้เข้ามาปกครองโรมันเป็นเวลาถึง 700 ปี และได้ให้มรดกทางอารยธรรม ที่สำคัญไว้กับชาวโรมัน ดังนี้ 1. การก่อสร้างโดยใช้หิน 2. การก่อสร้างซุ้มรูปโค้ง (Arch) และอุโมงค์ (Vault) 3. วิธีเก็บกักนํ้าและการทำท่อระบายนํ้า 4. การต่อสู้แบบกลาดิเอเตอร์ (Gladiatorial Combat) 5. วิธีการเดินทัพแบบฟาลังก์ (Phalanx) เป็นต้น
35. ชาวอียิปต์ที่เข้ามาเกี่ยวข้องทางการเมืองของโรมันถึง 2 สมัย คือ
(1) พระเจ้าปโทเลมี (2) พระนางคลีโอพัตรา (3) พระนางเนเฟอร์ติติ (4) เอปเซตสุต
ตอบ 2 หน้า 167 – 169, 50 – 51 (H), (คำบรรยาย) พระนางคลีโอพัตรา เป็นชาวอียิปต์ที่เข้าไป มีส่วนเกี่ยวข้องทางการเมืองของสาธารณรัฐโรมันถึง 2 สมัย คือ
1. ในสมัยการรวมไตรพันธมิตรครั้งที่ 1 โดยพระนางคลีโอพัตราได้แต่งงานกับจูเลียส ซีซาร์ แล้วร่วมมือกับซีซาร์ฆ่าฟาโรห์ปโทเลมีที่ 12 ซึ่งเป็นน้องชายตาย จากนั้นซีซาร์ได้สถาปนา พระนางคลีโอพัตราขึ้นเป็นราชินีองค์สุดท้ายของอียิปต์
2. ในสมัยการรวมไตรพันธมิตรครั้งที่ 2 หลังจากที่ซีซาร์ตาย พระนางคลีโอพัตราเกรงว่า อียิปต์อาจเสียเอกราชให้แก่จักรวรรดิโรมัน จึงใช้เสน่ห์ยั่วยวนมาร์ค แอบโธนี จนได้แต่งงานกัน เพื่อหวังผลทางการเมือง
36. จุดประสงค์ในการสร้างถนนทั่วอาณาจักรโรมัน “All roads lead to Rome” คือข้อใด
(1) สะดวกในการสื่อสาร (2) ดูแลเมืองในอาณานิคม
(3) สร้างเสริมอาณาจักรให้ดูยิ่งใหญ่ (4) เส้นทางลำเลียงเสบียง
ตอบ 2 หน้า 52 (H), (คำบรรยาย) ในสมัยจักรวรรดิโรมันได้มีการสร้างถนนไว้ทั่วอาณาจักร จนมีคำพังเพยที่ว่า “ถนนทุกสายมุ่งสู่กรุงโรม” (All roads lead to Rome) ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ เพื่อเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ทางทหารโดยเฉพาะการดูแลเมืองในอาณานิคม ซึ่งหากเมืองขึ้นก่อการกบฏก็สามารถเดินทัพเพื่อไปปราบกบฏได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าไม่มีศึกสงครามถนนโรมันก็จะ กลายเป็นเส้นทางทางเศรษฐกิจ ซึ่งช่วยส่งเสริมการค้าขายติดต่อกันทั่วไปภายในจักรวรรดิโรมัน
37. Colosseum สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใด
(1) โรงละคร (2) สนามต่อสู้ Gradiator
(3) โรงอาบนํ้าสาธารณะ (4) ตลาดศูนย์กลางเมือง
ตอบ 2 หน้า 177 – 179, 52 (H) ชาวโรมันเป็นกลุ่มชนที่นิยมการกีฬาและความบันเทิง ซึ่งที่ได้รับ ความนิยมมาก ได้แก่
1. การแข่งรถศึกเทียมม้าที่ Circus Maximus ซึ่งเป็นสนามที่จุคนดูได้ประมาณ 150,000 คน
2. การแข่งขันกีฬากลาดิเอเตอร์ (Gradiator Combat) ที่สนามโคลอสเซียม (Colosseum) ในกรุงโรม ซึ่งจะเป็นการต่อสู้ระหว่างคนซึ่งอาจเป็นนักสู้ถืออาวุธ พวกฟรีดแมน หรีอ พวกทาสด้วยกันเอง หรือระหว่างบุคคลเหล่านี้กับสัตว์ที่ดุร้ายก็ได้
3. การจัดการแสดงละครที่โรงมหรสพรูปครึ่งวงกลม (Amphitheater) ซึ่งเป็นโรงละคร ขนาดใหญ่ในกรุงโรม
38. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของยุคกลางตอนต้น
(1) มีความเจริญทางด้านศิลปวัฒนธรรมและคริสต์ศาสนา
(2) สังคมชนบท ผู้คนประกอบอาชีพทำนา
(3) มีการสู้รบระหว่างกลุ่มชนตลอดเวลาเพื่อแย่งชิงทรัพยากร วัตถุดิบ และอาหาร
(4) ไม่ตั้งอาณาจักรใหญ่ของตนเอง ปกครองโดยไม่ใช้กฎหมายและไม่มีระเบียบแบบแผน
ตอบ 1 หน้า 205 – 208, 59 (H), (คำบรรยาย) ยุคกลางตอนต้น (ค.ศ. 500 – 1050) ถูกเรียกว่า “ยุคมืด” (Dark A§e) เนื่องจากมีพวกอนารยชนเยอรมันกลุ่มต่าง ๆ เข้ามารุกรานยุโรปตะวันตก ทำให้สภาพบ้านเมืองเกิดความสับสนวุ่นวาย มีการปล้นสะดมและสู้รบระหว่างกลุ่มชนตลอดเวลา เพื่อแย่งชิงทรัพยากร วัตถุดิบ และอาหาร นอกจากนี้สภาพสังคมยังมีลักษณะเป็นสังคมชนบท โดยประชชนเกือบ 90% เป็นชาวนาชาวไร่ที่ยากจน ไม่มีการตั้งอาณาจักรใหญ่ของตนเอง แต่จะอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ ปกครองโดยไม่ใช้กฎหมายและไม่มีระเบียบแบบแผน รวมทั้งในช่วงแรกพวกอนารยชนยังไม่มีการรับนับถือศาสนาคริสต์หรือลัทธิใด ๆ อีกทั้งไม่สนใจ ในเรื่องศิลปวัฒนธรรม แต่จะเน้นการทำมาหากินมากกว่า
39. การบริจาคที่ของ Pepin III มีความสำคัญอย่างไร
(1) เป็นจุดเริ่มต้นของอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ
(2) ช่วยเพื่มอำนาจของกษัตริย์ในการปกครองบ้านเมือง
(3) เป็นจุดเริ่มของนครรัฐสันตะปาปา (Papal States)
(4) แบ่งอาณาจักรให้โอรสหลังจากหมดอำนาจ
ตอบ 3 หน้า 217, 62 – 63 (H) เมื่อเปแปงที่ 3 (Pepin III) ได้ขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์คาโรแลงเจียนของพวกแฟรงค์ในปี ค.ศ. 752 แล้ว เปแปงก็ต้องการการสนับสนุนทางการเมืองจากฝ่ายศาสนจักร ดังนั้นพระองศ์จึงเอาใจสันตะปาปาด้วยการยึดครองอาณาจักรทางภาคกลางของพวกลอมบาร์ด และนำไปถวายแก่สันตะปาปา เรียกว่า การบริจาคที่ของเปแปง (Donation of Pepin) ต่อมา ดินแดนนี้ก็คือ นครรัฐสันตะปาปา (Papal States) ซึ่งมีผลสำคัญคือ เป็นการเริ่มอำนาจ ทางการเมืองของสันตะปาปาในอิตาลีซึ่งยืนยงจนถึงปี ค.ศ. 1870
40. ข้อใดไม่ใช่ผลงานของจักรพรรดิชาร์เลอมาญมหาราช
(1) นำการใช้เงินเหรียญกลับมาใหม่ (2) การแบ่งเขตการปกครอง
(3) การแบ่งกฎหมายเป็นหมวดหมู่ (4) จัดตั้งรัฐสันตะปาปา
ตอบ 4 หน้า 219 – 220, 63 (H), (ดูคำอธิบายข้อ 39. ประกอบ) ผลงานเด่นของจักรพรรดิชาร์เลอมาญมหาราชของราชวงศ์คาโรแลงเจียน มีดังนี้
1. สามารถรวบรวมยุโรปตะวันตก เข้ามาอยู่ภายใต้การปกครองเดียวกันอย่างเป็นปึกแผ่นได้สำเร็จ ทำให้ได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ที่เข้มแข็งที่สุดของยุโรปตะวันตก
2. มีการกำหนดรูปแบบการใช้เงินเหรียญและกำหนดมาตราวัด
3. มีการส่งเสริมและฟื้นฟูการศึกษา
4. วางระเบียบการปกครองในยุโรปขึ้นมาใหม่โดยมีการแบ่งเขตการปกครองภายในอาณาจักรออกเป็น “County” มีผู้ดูแลคือ Count, “Duchy” มีผู้ดูแลคือ Duke, “March” มีผู้ดูแลคือ Marquis และ Kingdom มีผู้ดูแลคือ King 5. มีการแบ่งกฎหมายออกเป็นหมวดหมู่ เป็นต้น
41. ระบอบศักดินาสวามีภักดิ์เป็นความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มใด
(1) กษัตริย์-ประชาชน (2) เจ้าของที่ดิน-ทาส
(3) เจ้าของที่ดิน-ผู้ใช้ประโยชน์จากที่ดิน (4) ขุนนาง-ผู้ใช้ประโยชน์จากที่ดิน
ตอบ 3 หน้า 223 – 224, 65 (H), (คำบรรยาย) ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์หรือระบอบฟิวดัล (Feudalism/Feudal) เป็นระบบความสัมพันธ์โดยมีเงื่อนไขระหว่างเจ้าเหนือหัว (Lord)หรือเจ้าของที่ดินซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นกษัตริย์หรือขุนนาง กับบริวารหรือข้า (Vassal) หรือ ผู้ใช้ประโยชน์จากที่ดิน โดยมีที่ดิน (Fiefs/Feuda) เป็นพันธะแห่งความผูกพันและภาระหน้าที่ที่มิต่อกันระหว่างเจ้ากับข้า
42. ระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในระบอบ Feudalism คือข้อใด
(1) ระบบทุนนิยม (2) ระบบปราสาท (3) ระบบพาณิชย์นิยม (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 233 – 234, 66 CH), (คำบรรยาย) ระบบแมเนอร์ ระบบคฤหาสน์ หรือระบบปราสาท (Manorialism) เป็นระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นพร้อมกับการปกครองแบบฟิวดัล และถือเป็น หน่วยเศรษฐกิจของยุคกลาง ซึ่งสภาพโดยทั่วไปของแมเบอร์ (Manor) จะประกอบด้วย คฤหาสน์ หรือปราสาท (Castle/Manor Flouse) ของเจ้าของที่ดินเป็นจุดศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยกระท่อม ของชาวนารวมกันเป็นหมู่บ้าน (Village) ส่วนรอบนอกหมู่บ้านจะเป็นทุ่งโล่งสำหรับการเกษตร ทุ่งหญ้า และป่าไม้ นอกจากนี้ยังเป็นระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง (Self-sufficiency) ซึ่งมีการทำการเกษตรเป็นหลัก
43. การกำหนดเขตห้ามรบในบริเวณของพระเจ้า ในโบสถ์ และพื้นที่รอบโบสถ์ คือข้อใด
(1) Truce of God (2) Interdict (3) Excommunication (4) Peace of God
ตอบ 4 หน้า 231 – 232, 65 – 66 (H) ในยุคกลาง สันตะปาปาได้ประกาศให้มีการหยุดพักรบเป็นการ ชั่วคราวใน 2 กรณี ดังนี้คือ 1. ประกาศสันติสุขแห่งพระผู้เป็นเจ้า (Peace of God) ซึ่งมีจุดประสงค์สำคัญเพื่อให้การพิทักษ์แก่บุคคลและสถานที่บางแห่งยามที่มีสงคราม เช่น ในโบสถ์ พื้นที่รอบโบสถ์ สำนักชี เป็นต้น 2. ประกาศระยะพักรบเพื่อพระผู้เป็นเจ้า (Truce of God) คือ ห้ามทำการรบตั้งแต่พระอาทิตย์ตกดินในวันพุธไปจนถึงพระอาทิตย์ขึ้นในเช้าวันจันทร์
44. ข้อใดไม่ถูกต้องในเรื่องที่เกี่ยวกับคริสต์ศาสนา
(1) กษัตริย์โรมันที่ประกาศให้คริสต์ศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติคือ ธีโอโดซีอุส
(2) จักรพรรดิคอนสแตนตินเป็นชาวโรมันคนแรกที่หันมานับถือคริสต์ศาสนา
(3) สาวกที่นำคริสต์ศาสนามาเผยแผ่ในโรมคือ เซนต์ปีเตอร์
(4) อาณาจักรโรมันตะวันออกนับถือคริสต์ศาสนานิกายคาทอลิก
ตอบ 4 หน้า 238 – 239, 321, 54 (H), (คำบรรยาย) จากความขัดแย้งทางศาสนาในเรื่องการบูชา รูปเคารพระหว่างจักรวรรดิโรมันตะวันตกและจักรวรรดิโรมันตะวันออกในปี ค.ศ. 1054 ทำให้คริสต์ศาสนาแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาดเป็น 2 นิกาย คือ
1. นิกายกรีกออร์ธอดอกซ์ นับถือกันในจักรวรรดิโรมันตะวันออก มีประมุขสูงสุดคือ แพทริอาร์ค มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองคอนสแตนติโนเปิล ใข้ภาษากรีก และเจริญแพร่หลายใน
ยุโรปตะวันออกและรัสเซีย
2. นิกายโรมันคาทอลิก นับถือกันในจักรวรรดิโรมันตะวันตก มีประมุขสูงสุดคือ สันตะปาปามีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม ใช้ภาษาละติน และเจริญแพร่หลายในยุโรปตะวันตกและอิตาลี
45. วิธีการลงโทษของคริสตจักรต่อกษัตริย์คือวิธีการใด
(1) Truce of God (2) Interdict (3) Excommunication (4) Peace of God
ตอบ 3 หน้า 240, 321, 66 (H) มาตรการสำคัญที่ศาสนจักรใข้ลงโทษผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสอนทางศาสนา มีดังนี้ 1. การบัพพาชนียกรรม (Excommunication) คือ การประกาศขับไล่บุคคลสำคัญ เช่น กษัตริย์ หรือนักคิดคนสำคัญ ออกจากการเป็นคริสเตียนหรือเป็นพวกนอกรีต (Heretic) โดยไม่ให้ศาสนิกชนอื่นเข้ามาคบหาด้วย 2. การอินเทอดิค (Interdict) คือ การประกาศว่าดินแดนใดดินแดนหนึ่งเป็นดินแดนนอกศาสนา ห้ามประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และบางกรณี อาจตัดกลุ่มชนออกจากศาสนา ซึ่งถือว่าเป็นการลงโทษที่รุนแรงที่สุด
46. ข้อใดคือจุดเริ่มต้นของสงครามครูเสด
(1) การแตกแยกทางศาสนาในอาณาจักรไบแซนไทน์
(2) ชาวมุสลิมเข้ายึดครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์ และไม่ให้ชาวคริสต์เดินทางไปแสวงบุญ
(3) สงครามศาสนาระหว่างคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ (4) ออตโตมันเข้ายึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิล
ตอบ 2 หน้า 279 – 285, 76 – 77 (H) สงครามครูเสดในยุคกลาง ถือเป็นสงครามมหายุทธ์ระหว่างศาสนาคริสต์กับศาสนาอิสลาม หรือระหว่างพวกคริสเตียนกับพวกมุสลิม ทั้งนี้สาเหตุโดยทั่วไป ที่ก่อให้เกิดสงคราม คือ
1. พวกเซลจุก เติร์ก ซึ่งเป็นชาวมุสลิม ได้เข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็มซึ่งเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ของพวกคริสเตียน นอกจากนี้ยังไม่อนุญาตให้พวกคริสเตียนเดินทางไปแสวงบุญที่กรุงเยรูซาเล็ม และทำการปราบปรามพวกคริสเตียนด้วย
2. พวกเซลจุก เติร์ก ฃู่ที่จะบุกจักรวรรดิโรมันตะวันออก พระจักรพรรดิจึงต้องขอความช่วยเหลือจากสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 เพื่อปราบปรามพวกเซลจุก เติร์ก ในปี ค.ศ. 1095
47. ความสำคัญของ Magna Carta : The Great Charter คือข้อใด
(1) การประกาศสิทธิมนุษยชนในอังกฤษ (2) การปกครองระบอบประชาธิปไตย
(3) การปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (4) ยุคกษัตริย์ประเทืองปัญญา
ตอบ 3 หน้า 275, 75 (H), (คำบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1215 พระเจ้าจอห์นหรือกษัตริย์ผู้ไร้แผ่นดิน(John the Lackland) ทรงถูกพวกขุนนางอังกฤษบังคับให้ลงนามในรัฐธรรมนูญแมกนา คาร์ตา (Magna Carta หรือ The Great Charter) ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของอังกฤษโดยมี หลักการที่สำคัญยิ่ง คือ กำหนดให้ทุกชนชั้นต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย นอกจากนี้ยังลดอำนาจ ของกษัตริย์ ให้ศาลยุติธรรมทำหน้าที่ตัดสินคดีความของเสรีชน และการจัดเก็บภาษีต้องทำ ด้วยความยุติธรรม ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองในระบอบรัฐสภา หรือการปกครอง ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญของอังกฤษ
48. สาเหตุของสงคราม 100 ปี Edward III ไม่สามารถขึ้นครองบัลลังก์ฝรั่งเศสได้ เพราะขัดแย้งกับกฎหมายข้อใด
(1) Salic Law (2) Table Law (3) Solon Law (4) Justinian Law
ตอบ 1 หน้า 296 – 297, 79 (H) สาเหตุปัจจุบันที่ทำให้เกิดสงครามร้อยปีระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสเนื่องจากกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 3 (Edward III) แห่งอังกฤษ ทรงเรียกร้องสิทธิในการขึ้นครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศส เมื่อกษัตริย์ฝรั่งเศสสิ้นพระชนม์ลงโดยไม่มีรัชทายาท แต่พวกขุนนางฝรั่งเศส ไม่ยินยอมโดยอ้างกฎหมายที่เรียกว่า “Salic Law” เพื่อตัดสิทธิในราชบัลลังก์ของพระองค์ ดังนั้น พระองค์จึงประกาศสงครามกับฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1337 และสงครามได้ดำเนินมาจนถึงปี ค.ศ. 1453
49. พวกอนารยชนที่เข้าไปตั้งถิ่นฐานในสเปนภายหลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกคือ
(1) ลอมบาร์ด (2) แองเกิลส์และแซกซัน (3) วิสิกอธ (4) เบอร์กันเดียน
ตอบ 3 หน้า 206, 211, 54 (H), 73 (H) ภายหลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในปี ค.ศ. 476 อนารยชนเยอรมันตะวันออกเผ่าวิสิกอธ (Visigoths) ก็ได้เข้าไปตั้งถิ่นฐานและปกครองสเปน เป็นระยะเวลาร่วม 300 ปี จนกระทั่งถูกพวกมัวร์ที่นับถือศาสนาอิสลามจากแอฟริกาเหนือ เข้ายึดครองในปี ค.ศ. 711
50. ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้โคลวิสสามารถสถาปนาอาณาจักรเมโรแวงเจียนได้สำเร็จคือ
(1) เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ (2) รบชนะพวกฮั่น
(3) ได้รับการสนับสนุนจากสันตะปาปา (4) ถูกข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 หน้า 215, 323, 62 (H), 82 – 83 (H) โคลวิส เป็นกษัตริย์ของพวกแฟรงค์ที่ได้สถาปนาราชวงศ์ เมโรแวงเจียนขึ้นในปี ค.ศ. 481 โดยสิ่งที่ส่งเสริมพระราชอำนาจของโคลวิส คือ การเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ เพราะทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงที่เป็นคริสเตียนในปี ค.ศ. 496 ทำให้พระองค์ได้รับการสนับสนุนทางการเมืองจากพระสันตะปาปาและชาวพื้นเมือง
51. สนธิสัญญาแวร์ดังปี ค.ค. 843 เพื่อแบ่งจักรวรรดิของจักรพรรดิชาร์เลอมาญ เป็นจุดกำเนิดของประเทศใด ในปัจจุบัน
(1) สเปน (2) ฝรั่งเศส (3) เยอรมนี (4) ถูกข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 220 – 221, 64 (H) ผลของสนธิสัญญาแวร์ดังในปี ค.ศ. 843 เป็นจุดกำเนิดของประเทศ เยอรมนีและฝรั่งเศสในปัจจุบัน โดยมีการแบ่งจักรวรรดิของชาร์เลอมาญออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. หลุยส์เดอะเยอรมัน (Louis the German) ได้ครอบครองดินแดนฝั่งตะวันออกของแม่นํ้าไรน์ ปัจจุบันคือ ดินแดนทางภาคตะวันตกและตอนกลางของประเทศเยอรมนี
2. ชาร์ลเดอะบอลด์ (Charles the Bald) ได้ครอบครองดินแดนทางตะวันตกของจักรวรรดิ ปัจจุบันก็คือ ประเทศฝรั่งเศส
3. โลแธร์ (Lothair) ได้ครอบครองดินแดนทางตอนเหนือของอิตาลีและตอนกลางของจักรวรรดิ ซึ่งต่อมาก็คือ แคว้นลอแรน
52. Excommunication คือ มาตรการศาสนจักรโดย
(1) ให้ความพิทักษ์บุคคลและสถานที่บางแห่งยามสงคราม
(2) ระยะเวลาพักรบหรือห้ามทำสงคราม
(3) การประกาศปิดโบสถ์
(4) การขับไล่บุคคลใดบุคคลหนึ่งออกจากการเป็นคริสเตียน
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 45. ประกอบ
53. ภายหลังประกาศการใช้รัฐธรรมนูญประกาศทองในปี ค.ศ. 1356 ผู้มีสิทธิเลือกจักรพรรดิองค์ใหม่ของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์คือ
(1) สันตะปาปา
(2) คณะผู้เลือก 7 คน (3) กษัตริย์รัสเซีย (4) กษัตริย์ราชวงศ์แฮปสเบิร์ก
ตอบ 2 หน้า 292 – 293, 78 (H) ตามรัฐธรรมนูญฉบับประกาศทอง (The Golden Bull) ปี ค.ศ. 1356 ซึ่งประกาศใช้โดยจักรพรรดิชาร์ลที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์ก กำหนดให้เจ้าผู้ครองแคว้นใน อาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (เจ้าเยอรมัน) 7 องค์ หรือจัดเป็นคณะผู้เลือกตั้ง 7 คน (Electors) เป็นผู้เลือกจักรพรรดิองค์ใหม่โดยไม่ต้องมีการรับรองจากศาสนจักร ซึ่งถือว่าเป็นการตัดสิทธิ ของสันตะปาปาในการเลือกจักรพรรดิองค์ใหม่ออกไป และนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1438 เป็นต้นมา กษัตริย์แห่งราชวงศ์แฮปสเบิร์กแห่งออสเตรียมักจะได้รับการเลือกตั้งเป็นจักรพรรดิ
54. ลัทธิที่มีการควบคุมเศรษฐกิจโดยรัฐบาลแห่งชาติพึ่งพาเศรษฐกิจชาติอื่น ๆ ให้น้อยลง เพื่อนำมาสร้างกองทัพและแสวงหาอาณานิคม คือลัทธิเศรษฐกิจแบบใด
(1) ชาตินิยม (2) นายทุน (3) พาณิชย์ชาตินิยม (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 339 – 340, 88 (H), (คำบรรยาย) ลัทธิพาณิชย์ชาตินิยม (Mercantilism) เป็นระบบ การค้าที่รัฐบาลแห่งชาติและกษัตริย์จะเป็นผู้ควบคุมเศรษฐกิจทั้งหมด นั่นคือ กษัตริย์เป็น ผู้อุปถัมภ์และมีอำนาจในการกำหนดสิทธิในการต่อรองหรือผูกขาดสินค้า ทั้งนี้พวกนายทุน จะได้รับการส่งเสริมทางการค้าจากรัฐบาล ส่วนกษัตริย์จะสะสมโลหะมีค่าเพื่อหาเงินมาขยาย กองทัพและสะสมอาวุธเพื่อป้องกันการรุกรานจากชาติอีน นอกจากนี้ยังผูกขาดการค้าโดย บังคับให้ประเทศอาณานิคมค้าขายกับเมืองแม่เท่านั้น เน้นการพื่งพาเศรษฐกิจจากชาติอื่น ๆ ให้น้อยที่สุด และส่งเสริมการมีอาณานิคม ทำให้เกิดการแข่งขันทางการค้าและเกิดกรณีพิพาท ในกลุ่มประเทศอาณานิคมอยู่บ่อยครั้ง
55. บุคคลสำคัญที่ทำให้โปรตุเกสประสบความสำเร็จในการสำรวจทางทะเลคือ
(1) เจ้าชายเฮนรี (2) มาร์โค โปโล (3) พระเจ้าจอห์นที่ 1 (4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 351, 73 (H), 90 (H) บุคคลสำคัญที่ทำให้โปรตุเกสประสบความสำเร็จในการสำรวจทางทะเลในศตวรรษที่ 15 คือ เจ้าขายเฮนรี นักเดินเรือ (Henry the Navigator) ซึ่งทรงสนพระทัย ในการศึกษาเรื่องราวของทวีปแอฟริกา และทรงเปิดโรงเรียนเดินเรือขึ้น ทำให้โปรตุเกสมีนักเดินเรือ ที่สำคัญ 3 ท่าน ได้แก่ ไดแอช (Diaz), วาสโก ดา กามา (Vasco da Gama) และคาบรัล (Cabral)
56. บุคคลผู้ใดได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เดินทางรอบโลกประสบความสำเร็จเป็นคนแรก
(1) โคลัมบัส (2) แมกเจลแลน (3) วาสโก ดา กามา (4) อเมริโก เวสปุคซี
ตอบ 2 หน้า 351, 90 (H), (คำบรรยาย) แมกเจลแลน (Magellan) เป็นนักสำรวจทางเรือชาวสเปน รุ่นแรกที่ได้รับการยกย่องว่าแล่นเรือรอบโลกสำเร็จเป็นคนแรกในระหว่างปี ค.ศ. 1519 – 1522 และถือว่าเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าโลกกลมเป็นครั้งแรกอีกด้วย
57. สาเหตุปัจจุบันที่ทำให้เกิดการปฏิรูปศาสนาคือ
(1) ความประพฤติผิดของพระ (2) การขายใบไถ่บาป
(3) สันตะปาปาเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง (4) การมุ่งพิธีกรรมมากเกินไป
ตอบ 2 หน้า 378, 98 (H) สาเหตุปัจจุบันที่ทำให้เกิดการปฏิรูปศาสนา (Reformation) ขึ้นในศตวรรษที่ 16 คือ การที่สันตะปาปาลีโอที่ 10 ขายใบไถ่บาปในดินแดนเยอรมนี เพื่อนำเอาเงิน ไปบูรณะโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรม พระองค์จึงถูกโจมติจากมาร์ติน ลูเธอร์ พระชาวเยอรมัน ซึ่งได้เขียนคำประท้วง 95 ข้อ (95 Theses) ทำให้มีผู้เห็นด้วยว่าไม่ควรนำเงินเยอรมันไปสร้างวัด ในอิตาลี เหตุการณ์ดังกล่าวจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการประท้วงทางศาสนาและเป็นที่มาของคำว่า “Protestant” ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1529
58. ความสำคัญของสงคราม 30 ปีคือ
(1) เป็นสงครามศาสนาครั้งสุดท้ายของยุโรป
(2) ความตกต่ำของสเปนและการก้าวขึ้นมามีอำนาจของฝรั่งเศส
(3) ทำให้การรวมเยอรมนีช้าไปถึง 200 ปี
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 390 – 391, 101 (H) สงคราม 30 ปี (The Thirty Years War : ค.ศ. 1618 – 1648) เป็นสงครามศาสนาครั้งสุดท้ายของยุโรปที่เกิดขึ้นในอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (เยอรมนี) โดยเป็นสงครามระหว่างพวกโปรเตสแตนต์ที่ได้รับความช่วยเหลือจวกอังกฤษและฝรั่งเศสกับพวกคาทอลิกที่ได้รับความช่วยเหลือจากสเปน ในที่สุดสงครามก็จบลงด้วยชัยชนะของ พวกโปรเตสแตนต์และฝรั่งเศส ทำให้ฝรั่งเศสกลายเป็นมหาอำนาจในยุโรปแทนที่สเปน ขณะที่ดินแดนเยอรมนีได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก ส่งผลทำให้การรวมเยอรมนีช้าไปเป็นเวลา 200 ปี
59. เหตุการณ์ใดถือเป็นการยุติยุค Reconquista
(1) การประดิษฐ์แท่นพิมพ์ในประเทศเยอรมนี (2) การแตกแยกทางศาสนาครั้งใหญ่
(3) Armada War (4) สเปนยึดครองกรานาดา
ตอบ 4 หน้า 267, 335 – 336, 73 (H), 86 – 87 (H) ยุค Reconquista หรือ Reconquest เป็นยุคแห่งการยึดอำนาจคืนของพวกคริสเตียนจากพวกมัวร์ (Moors) หรือมุสลิมสเปน ซึ่งยึดครองสเปนนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 718 – 1492 รวมระยะเวลาเกือบ 800 ปี โดยยุคนี้ได้สิ้นสุดลง เมื่อสเปนสามารถเข้ายึดครองอาณาจักรกรานาดาจากพวกมัวร์ได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1492 ภายใต้การนำของกษัตริย์สเปน 2 พระองค์ คือ พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งอรากอน และ พระราชินีอิซาเบลลาที่ 1 แห่งคาสติล จากนั้นจึงมีการรวมอาณาจักรคริสเตียน 4 แห่ง คือ คาสติล (Castile), อรากอน (Aragon), กรานาดา (Granada) และนาวาร์ (Navarre)เข้าด้วยกัน แล้วสถาปนาเป็นรัฐชาติสเปนนับตั้งแต่นั้น
60. ข้อใดคือลักษณะของ Romanesque Arts
(1) Pointed Arch (2) หลังคาโค้งมน อิทธิพลของศาสนาคริสต์
(3) มีการประดับตกแต่งในรายละเอียดฟุ่มเฟือย (4) มีส่วนผสมของ Greco Roman
ตอบ 2 หน้า 313, 326 – 327 ศิลปะโรมาเนสก์ (Romanesque Arts) เป็นสถาปัตยกรรมยุคกลาง ในสมัยที่มนุษย์ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของศาสนาคริสต์ โดยมีลักษณะเด่น คือ มีเพดานและ หลังคาหินโค้งมนเหมือนประทุนเกวียน และโดมโค้งครึ่งวงกลมซึ่งเป็นหัวใจในการก่อสร้าง ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากไบแซนไทนํและโรมัน นอกจากนี้วิหารและโบสถ์ยังมีขนาดใหญ่ หนาทึบและคงทน มีสิ่งก่อสร้างด้วยหินโค้งกลม เสาและกำแพงหนาหนัก มีหน้าต่างเล็ก ๆ ทำให้ภายในวิหารค่อนข้างมืดจนดูเหมือนอยู่ในป้อมปราการมากกว่า
61. ผลของสงครามดอกกุหลาบคือข้อใด
(1) Edward III มีสิทธิในราชบัลลังถ์ฝรั่งเศส (2) สถาปนาราชวงศ์ Sturt Dynasty
(3) Henry VIII มีสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศส (4) สถาปนาราขวงศ์ Tudor Dynasty
ตอบ 4 หน้า 299, 326, 79 – 80 (H) สงครามดอกกุหลาบ (War of the Roses : ค.ศ. 1455)เป็นสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นในอังกฤษ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการแย่งกันขึ้นปกครองอังกฤษ ระหว่างตระกูลแลงคาสเตอร์ (ดอกกุหลาบสีแดง) กับตระกูลยอร์ก (ดอกกุหลาบสีขาว) สงครามจบลงในปี ค.ศ. 1485 โดยเฮนรี ทิวดอร์ ผู้นำตระกูลแลงคาสเตอร์เป็นผู้ชนะ ซึ่งมีผลติดตามมาคือ 1. ขุนนางเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก ทำให้กษัตริย์องค์ใหม่สามารถ พัฒนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น 2. เฮนรี ทิวดอร์ ได้สถาปนาราชวงศ์ ทิวดอร์ (Tudor Dynasty) ขึ้นปกครองอังกฤษ
62. ใครเป็นผู้มีอิทธิพลสูงสุดและให้การสนับสบุนการค้าในระบบ Mercantilism
(1) ขุนนาง (2) กษัตริย์ (3) พ่อค้าคนกลาง (4) ศาสนจักร
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 54. ประกอบ
63. ข้อใดคือสาเหตุของการเกิด Anglican Church ในประเทศอังกฤษ
(1) Henry VIII – Bloody Mary (2) Henry VII – Bloody Mary
(3) Henry VIII – Virgin Queen (4) Henry VIII – Ann Bolynn
ตอบ 4 หน้า 383, 99 (H), (คำบรรยาย) การปฏิรูปศาสนาในอังกฤษเกิดขึ้นเพราะพระเจ้าเฮนรีที่ 8 (Henry VIII) แห่งอังกฤษทรงไม่พอพระทัยที่สันตะปาปาไม่ยอมจัดการให้พระองค์หย่าขาด จากพระนางแคทเทอรีนแห่งอรากอนเพื่ออภิเษกสมรสใหม่กับแอน โบลีน (Ann Bolynn) จึง ทรงตั้งสังฆราชแห่งแคนเทอเบอรี่ขึ้นใหม่ โดยตัดขาดจากองค์กรคริสตจักรที่กรุงโรม และทรง ให้รัฐสภาออกกฎหมายที่เรียกว่า “The Act of Supreamacy” ในปี ค.ศ. 1534 เพื่อแต่งตั้ง ให้พระองค์เป็นประมุขทางศาสนาในประเทศอังกฤษแทนสันตะปาปา ซึ่งส่งผลทำให้อังกฤษ เปลี่ยนศาสนาเป็น “นิกายอังกฤษ” (Anglican Church/Church of England)
64. ผลจากสงคราม 1588 Invincible Armada War ในสมัยพระราชินี Elizabeth I คือข้อใด
(1) สถาปนาราชวงศ์ Tudor Dynasty (2) อังกฤษก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจทางทะเล
(3) สิ้นสุดความเป็นมหาอำนาจทางทะเลของโปรตุเกส (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 388 – 389, 87 (H), 100 – 101 (H) สงครามอาร์มาดา (The Invincible Armada War : ค.ศ. 1588) เป็นสงครามทางทะเลระหว่างพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน กับพระราชินี เอลิซาเบทที่ 1 (Elizabeth I) แห่งอังกฤษ ซึ่งผลปรากฏว่าอังกฤษเป็นฝ่ายชนะ ส่งผลให้สเปน หมดอิทธิพลในยุโรป ในขณะที่อังกฤษกลายเป็นมหาอำนาจทางทะเลแทนสเปน
65. ข้อใดเป็นสาเหตุของการออกแสวงหาอาณาจักรใหม่
(1) ผลจากสงครามครูเสด (2) ล้มเลิกการผูกขาดสินค้ากับอิตาลี
(3) The book of Marco Polo (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 350 – 351, 89 – 90 (H), (คำบรรยาย) สาเหตุที่ทำให้ยุโรปตะวันตกออกสำรวจเส้นทาง ทางทะเลเพื่อแสวงหาอาณานิคมใหม่ในช่วงศตวรรษที่ 15 – 16 มีดังนี้
1. แรงบันดาลใจจากผลของสงครามครูเสด เมื่อกองทัพครูเสดนำเอาความรู้และสินค้าจากเอเชีย ไปเผยแพร่ในยุโรป 2. อิทธิพลจากหนังสือชื่อ The book of Marco Polo ของมาร์โค โปโล ซึ่งเป็นบันทึกเรี่องราวเกี่ยวกับการเดินทางไปจีนที่ใช้เวลานานถึง 25 ปี
3. เส้นทางการค้าระหว่างยุโรปกับภาคตะวันออกถูกตัดขาด เนื่องจากกรุงคอนสแตนติโนเบล ถูกพวกออตโตมัน เติร์ก ยึดครอง 4. มีความต้องการสินค้าจากภาคตะวันออก 5. ต้องการล้มเลิกการผูกขาดสินค้าจากภาคตะวันออกของพ่อค้าชาวอิตาลี เป็นต้น
66. ใครเป็นผู้ให้การสนับสนุนการจัดตั้งโรงเรียนเดินเรือและการสำรวจดินแดนใหม่
(1) Vasco da Gama
(2) Henry the Navigator (3) Marco Polo (4) Columbus
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 55. ประกอบ
67. นักเดินเรือที่ค้นพบและทำลายอารยธรรม Aztec Mexico คือใคร
(1) Vasco da Gama
(2) Pizarro (3) Cortez (4) Columbus
ตอบ 3 หน้า 351, 55 (H) คอร์เตซ (Cortez) เป็นนักเดินเรือชาวสเปนที่เข้าไปทำการสำรวจ ดินแดนเม็กซิโก (Mexico) เป็นคนแรก ในขณะเดียวกันก็เป็นผู้ที่เข้าไปทำลายอารยธรรม ของพวกแอสเท็ค (Aztec) ในเม็กซิโกระหว่างปี ค.ศ. 1519 – 1521
68. ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) นักเดินเรือที่ค้นพบและตั้งชื่อทวีปอเมริกาคือ Columbus
(2) นักเดินเรือที่ค้นพบเดินทางไปถึงอินเดียคนแรกคือ Vasco da Gama
(3) Magellan เดินทางโดยเรือรอบโลกคนแรก
(4) ฟิลิปปินส์ตั้งชื่อตามกษัตริย์ที่ให้การสนับสนนการเดินเรือคือ K. Philip
ตอบ 1 หน้า 351, 354, 90 – 91 (H), (คำบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1492 โคลัมบัส (Columbus) เป็นนักเดินเรือชาวสเปนที่ค้นพบโลกใหม่หรือทวีปอเมริกา ต่อมาในปี ค.ศ. 1507 มาร์ติน ไวด์ซีมูลเลอร์ นักเขียนแผนที่ชาวเยอรมัน ได้นำชื่อของอเมริโก เวสปุคซี (Americo Vespucci) ซึ่งเป็นนักสำรวจ ชาวฟลอเรนซ์ มาตั้งเป็นชื่อของทวีปอเมริกา นั่นคือ จากชื่อ Americo เป็น America
69. การกลับมาเกิดใหม่ของอารยธรรม Greco-Roman คือศิลปะในยุคใด
(1) Renaissance (2) Neo-Classic (3) Gothic (4) Byzantine
ตอบ 1 หน้า 356 – 358, 92 (H) การฟื้นฟูศิลปวิทยาการหรือเรอเนสซองส์ (Renaissance) คือ การเกิดใหม่ของอารยธรรมคลาสสิกหรือการฟื้นฟูอารยธรรมกรีกโรมัน (Greco-Roman)ขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้การฟื้นฟูศิลปวิทยาการเกิดขึ้นครั้งแรกที่เมืองฟลอเรนซ์ในแหลมอิตาลี ก่อนที่จะแพร่ขยายเข้าไปในประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ
70. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์กับ Renaissance Arts
(1) Universal Man (2) Gothic-Pointed Arch
(3) การประดิษฐ์แท่นพิมพ์ครั้งแรกในยุโรป (4) Romeo Juliat, Hamlet
ตอบ2 หน้า 314 – 315, 327, 359 – 372 ศิลปะโกธิก (Gothic Arts) เป็นศิลปะเพื่อคริสต์ศาสนา โดยมีลักษณะเด่นคือ โครงสร้างของวิหารจะมีลักษณะเป็นหลังคาโค้งยอดแหลม (Pointed Arch) ภายในมีการประดับประดาหน้าต่างด้วยแก้วโมเสกสี ส่วนภายนอกจะมีหอคอยคู่สูงตระหง่าน มีปลายยอดแหลมชี้ตรงสู่สวรรค์และพระเจ้า ซึ่งเป็นการแสดงถึงพฤติกรรมของมนุษย์ที่ยังคง เทิดทูนพระเจ้า อันเป็นสัญลักษณ์สำคัญของยุคกลาง
71. หนังสือเรื่อง The Prince ของ Machiavelli 1469 – 1527 มีความสำคัญอย่างไร
(1) มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
(2) ลักษณะของผู้ปกครองที่ดีสามารถรวมชาติได้ต้องไม่คำนึงถึงศีลธรรม
(3) ต้องการกระตุ้นและอยากได้ผู้นำในการรวมชาติของอิตาลี
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 333 – 334, 362, 86 (H), 94 (H), (คำบรรยาย) นีโคโล มาเคียเวลลี (Nicolo Machiavelli : ค.ศ. 1496 – 1527) เป็นนักเขียนผู้ทรงอิทธิพลมากที่สุดในสมัยเรอเนสซองส์ โดยผลงานที่มีชื่อเสียงก็คือ The Prince ซึ่งเป็นหนังสือที่แนะนำผู้ปกครองให้รักษาความปลอดภัยของรัฐ ในทุกวิถีทางที่จำเป็น โดยไม่ต้องคำนึงถึงความซื่อสัตย์ยุติธรรมหรือเกียรติยศชื่อเสียง ศีลธรรม และวิธีการที่ถูกต้อง รวมทั้งส่งเสริมการปกครองในระบอบกษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เข้มแข็ง เพื่อหากษัตริย์หรือผู้นำในการรวมชาติอิตาลีภายใต้การปกครองเดียวกัน
72. เสรีชนผู้มีสิทธิเลือกผู้บริหารด้วยตนเอง ประชาชนเป็นผู้รักษากฎหมาย และมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาเป็นลักษณะของเมืองในข้อใด
(1) The Prince (2) Utopia (3) Eurasia (4) Nation-State
ตอบ 2 หน้า 371, 96 (H) ผลงานการเขียนที่สำคัญของเซอร์โทมัส มอร์ (Sir Thomas More) ผู้นำ ขบวนการมนุษยนิยมในอังกฤษก็คือ Utopia ซึ่งมีการแสดงความคิดเห็นเรื่องรัฐในอุดมคติ หรืออุดมรัฐ และกล่าวถึงสังคมที่ดีจะต้องประกอบด้วยเสรีชน การมีสิทธิเลือกผู้บริหารด้วยตนเอง ผู้รักษากฎหมายต้องไม่ใช่ตำรวจแต่ต้องเป็นประชาชนผู้มีสำนึก และต้องมีเสรีภาพ ในการนับถือศาสนาอย่างเต็มที่ในปัจจุบันคำว่า “Utopia” หมายถึง สถานที่หรือสังคม ในอุดมคติ (An Ideal Place or Society)
73. ข้อใดคือสาเหตุสำคัญที่สุดที่กระตุ้นให้เกิดการปฏิรูปศาสนา
(1) การประกอบพิธีกรรมทางศาสนามากเกินไป (2) Pope ยุ่งเกี่ยวการเมืองและอำนาจ
(3) การขายใบไถ่บาปให้กับชาวคริสต์ (4) การซื้อขายตำแหน่งทางศาสนา
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 57. ประกอบ
74. 95 Theses ของมาร์ติน ลูเธอร์ ถูกศาสนจักรจัดอยู่ในกลุ่มใด
(1) The Index of Blacklist (2) The Inquisition
(3) Edict of Nantes (4) Act of Succession
ตอบ 1 หน้า 385 – 386, 100 (H), (คำบรรยาย) การประชุมทางศาสนาที่เมืองเทรนท์ ค.ศ. 1545 มีสาระสำคัญดังนี้ 1. พระสันตะปาปาคือประมุขทางศาสนา
2. คัมภีร์ไบเบิลต้องเขียนเป็นภาษาละตินเท่านั้น
3. ห้ามขายตำแหน่งทางศาสนาและขายใบไถ่บาป
4. อนุญาตให้พระเทศน์เป็นภาษาท้องถิ่นได้เพื่อให้ประชาชนเข้าใจดีขึ้น
5. มีการขึ้นบัญชีหนังสือต้องห้าม (The Index of Blacklist) เช่น หนังสือวิจารณ์พระคัมภีร์ใหม่ ของ Erasmus, คำประท้วง 95 ข้อ (95 Theses) ของมาร์ติน ลูเธอร์ เป็นต้น
75. ผลของสงครามใดทำให้เยอรมนีรวมประเทศได้ช้ากว่าประเทศอื่น
(1) สงครามศาสนาในฝรั่งเศส (2) สงคราม 100 ปี
(3) สงคราม 30 ปี (4) การปฏิรูปศาสนาในเยอรมนี
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 58. ประกอบ
76. ข้อใดไม่ใช่กลุ่มนิกายโปรเตสแตนต์
(1) Lutheranism (2) Calvinism (3) Huguenots (4) Templar
ตอบ 4 หน้า 383, 386, 101 (H) ผลที่สำคัญประการหนึ่งของการปฏิรูปศาสนาก็คือ เป็นการสิ้นสุด ของสภาพศาสนาสากล นั่นคือ นิกายคาทอลิกไม่ใช่คริสต์ศาสนานิกายเดียวของยุโรปตะจับตก อีกต่อไป เพราะประชาชนสามารถเปลี่ยนมานับถือนิกายโปรเตสแตนต์ที่มีหลากหลายนิกาย เช่น นิกายลูเธอรันนิสม์ (Lutheranism), นิกายคาลแวงในฝรั่งเศส (Calvinism/Huguenots), นิกายเพรสไบทีเรียนในสกอตแลนด์ (Presbyterian), นิกายแองกลิคันหรือนิกายอังกฤษ (Anglican Church/Church of England) เป็นต้น
77. ประเทศอังกฤษเปลี่ยนไปปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญหลังจากเหตุการณ์
(1) สงครามอาร์มาดา (2) การปฏิวัติอันรุ่งเรือง
(3) สงครามดอกกุหลาบ (4) การต่อสู้ระหว่างพระเจ้าชาร์ลที่ 1 กับรัฐสภา
ตอบ 2 หน้า 417, 108 (H) ผลของการปฏิวัติอันรุ่งเรือง (The Glorious Revolution) ของอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1688 มีดังนี้ 1. ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในอังกฤษสิ้นสุดลง และเปลี่ยนไปสู่การปกครองในระบอบรัฐสภา ซึ่งเป็นการปกครองที่กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy/King in Parliament) 2. รัฐสภามีอำนาจสูงสุด
3. ฐานะของพวกโปรเตสแตนต์มีความมั่นคงขึ้น 4. กษัตริย์จะประกาศสงคราม
จัดกองทัพ หรือแต่งตั้งรัฐมนตรีคนใด ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาก่อน
78. ใน ค.ศ. 1795 ประเทศที่ถูกรัสเซีย ออสเตรีย และปรัสเซียเข้ายึดครองจนหายไปจากแผนที่ยุโรป คือประเทศใด
(1) ฮังการี (2)ลิทัวเนีย (3) โปแลนด์ (4) บัลแกเรีย
ตอบ 3 หน้า 427, 109 (H) ในปี ค.ศ. 1772 รัสเซีย ออสเตรีย และปรัสเซีย ได้ร่วมกันแบ่งแยกโปแลนด์ เป็นครั้งแรก ทำให้รัฐบาลโปแลนด์ต้องออกกฎหมายยกเลิก “Liberum Veto” ในปี ค.ศ. 1791 แต่รัสเซียกับปรัสเซียก็แบ่งแยกโปแลนด์อีกเป็นครั้งที่2ใบปี ค.ศ. 1793ทำให้เกิดการจลาจล ในโปแลนด์ซึ่งสร้างความตกใจให้แก่ยุโรปตะวันออกทั้งหมด ในที่สุดทั้ง 3 ประเทศก็ร่วมกันแบ่ง โปแลนด์อีกเป็นครั้งที่ 3 ในปี ค.ศ. 1795 เป็นผลให้โปแลนด์หายไปจากแผนที่ของยุโรปนับตั้งแต่นั้น
79. อิทธิพลของนักปรัชญาที่มีผลต่อการปฏิวัติอเมริกัน ได้แก่ อิทธิพลของ
(1) จอห์น ล็อค (2) รุสโซ (3) โทมัส ฮอบบ์ (4) ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 441, 446 – 447, 454, 112 – 113 (H) จอห์น ล็อค และฌอง ฌาค รุสโซ เป็นนักปรัชญา ทางการเมืองผู้เสนอทฤษฎีสัญญาประชาคม (The Social Contract) ซึ่งมีอิทธิพลต่อการปฏิวัติ อเมริกันในปี ค.ศ. 1776 โดยแนวความคิดของพวกเขาได้ไปปรากฏในคำประกาศอิสรภาพ (Declaration of Independence) ของรัฐอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือ ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 ซึ่งเท่ากับเป็นการสถาปนาประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้น โดยมีการปกครองในระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตย (Democratic Republic) และมีประธานาธิบดีคนแรกคือ จอร์จ วอชิงตัน
80. กลุ่มชนที่มีอภิสิทธิ์และไม่ต้องเสียภาษีก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศสปี ค.ศ. 1789ได้แก่
(1) พระ, ขุนนาง (2) ขุนนาง, สามัญชน (3) สามัญชน, พระ (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 459 – 460, 114 (H) ก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 ฝรั่งเศสมีการแบ่งชนชั้น ทางสังคมออกเป็น 3 ชนชั้น หรือ 3 ฐานันดร ได้แก่
1. ฐานันดรที่ 1 ได้แก่ พระหรือเจ้าหน้าที่ศาสนา 2. ฐานันดรที่ 2 ได้แก่ เจ้าหรือขุนนาง
3. ฐานันดรที่ 3 ได้แก่ สามัญชน ซึ่งประกอบด้วยชนชั้นกลาง ช่างฝีมือ และชาวนา
โดยฐานันดรที่ 1 และ 2 เป็นกลุ่มชนที่มีอภิสิทธิ์ทางสังคม และไม่ต้องเสียภาษี ส่วนฐานันดรที่ 3 เป็นกลุ่มชนที่ไม่มีอภิสิทธิ์ โดยต้องแบกรับภาระภาษีและภาระทางสังคมของประเทศ
81. ภายหลังจากการประชุมเวียนนาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1815 แล้ว บุคคลผู้คอยสกัดกั้นไม่ให้เกิดการปฏิวัติ โดยขบวนการเสรีนิยมคือใคร
(1) ดุ๊กแห่งเวลลิงตัน (2) เมตเตอร์นิก (3) นโปเลียน (4) ฮาร์เดนเบิร์ก
ตอบ 2 หน้า 471 – 473, 118 (H) ภายหลังการประชุมที่เวียนนาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1815 ประเทศ ในยุโรปส่วนใหญ่ก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่มอนุรักษนิยม มีผู้นำคือ เจ้าชายเมตเตอร์นิก เสนาบดีของอาณาจักรออสเตรีย ซึ่งเป็นผู้ที่ต่อสู้เพื่อรักษาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และ ทำการต่อต้านระบอบเสรีนิยมทุกประเภท ทำให้ยุคสมัยของคองเกรสแห่งเวียนนาถูกเรียกว่า “ยุคเมตเตอร์นิก” (ค.ศ. 1815 – 1848)
82. การปฏิวัติฝรั่งเศสเกิดขึ้นในสมัยของใคร
(1) พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (2) พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 (3) พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 (4) ใม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 114 – 115 (H) สาเหตุปัจจุบันที่นำไปสู่การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 คือ ปัญหาทางการคลัง ทั้งนี้เพราะพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ใม่มีเงินเพียงพอที่จะใช้จ่ายในการบริหารประเทศ จึงเรียกประชุมสภาฐานันดรในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1789 เพื่อร่วมมือกันหาวิธีแก้ไขปัญหา แต่ก็ตกลงกันไม่ได้ ทำให้กลุ่มฐานันดรที่ 3 คือ สามัญชนที่ประกอบด้วยชนชั้นกลาง ช่างฝีมือและ ชาวนา แยกตัวออกมาตั้งสภาแห่งชาติของฝรั่งเศส ซึ่งได้กลายเป็นชนวนนำไปสู่การปฏิวัติในที่สุด
83. นายกรัฐมนตรีที่เป็นผู้นำในการรวมชาติอิตาลีคือผู้ใด
(1) การิบอลดี (2) คาวัวร์ (3) เนเปิล (4) ทัคคานี
ตอบ 2 หน้า 512 – 513, 126 (H) ผู้นำที่มีบทบาทสำคัญในการรวมชาติอิตาลีในระหว่างปี ค.ศ.1860 – 1861 คือ เคานต์ คามิลโล ติ คาวัวร์ นายกรัฐมนตรีของซาร์ดิเนีย ซึ่งเชื่อว่าการรวมชาติ จะกระทำได้โดยการปราบออสเตรียก่อน จากนั้นจึงดึงประเทศมหาอำนาจเข้ามาช่วย พร้อมกับ ดำเนินการทางการทูตไปด้วย ดังนั้นคาวัวร์จึงนำซาร์ดิเนิยเข้าร่วมในสงครามไครเมียในปี ค.ศ. 1855 ซึ่งทำให้คาวัวร์สามารถขอความช่วยเหลือจากจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ของฝรั่งเศส ให้มาช่วยรบกับออสเตรียได้
84. ชาติใดที่ไม่ได้เป็นเอกราชในสมัยจักรวรรดินิยมยุคใหม่
(1) จีน (2) ญี่ปุ่น (3) เอธิโอเปีย (4) อียิปต์
ตอบ 4 หน้า 523, 131 (H) ในสมัยจักรวรรดินิยมยุคใหม่ ประเทศในทวีปแอฟริกาที่ยังคงความเป็น เอกราชมีเพียง 2 ประเทศคือ เอธิโอเปีย (อบิสสิเนิย) ซึ่งได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์จากอิตาลี ในปี ค.ศ. 1896 และไลบีเรีย ซึ่งสหรัฐอเมริกาปลดปล่อยให้เป็นประเทศของทาสนิโกร ในปี ค.ศ. 1822 และได้เป็นสาธารณรัฐเอกราชในปี ค.ศ. 1847 ส่วนในทวีปเอเชียเหลือ ประเทศเอกราชคือ จีน ญี่ปุ่น และไทย
85. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่รัสเซียถอนตัวออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1
(1) เกิดการปฏิวัติราชวงศ์โรมานอฟ (2) มีปัญหาทางเศรษฐกิจ
(3) เกิดการปฏิวัติโดยพวกบอลเชวิค (4) รัสเซียแพ้สงคราม
ตอบ 4 หน้า 537, 134 (H), 136 (H), (คำบรรยาย) สาเหตุที่ทำให้รัสเซียถอนตัวออกจากสงครามโลก ครั้งที่ 1 มีดังนี้ 1. เกิดการปฏิวัติเพื่อล้มล้างราชวงศ์โรมานอฟที่ปกครองประเทศอย่างไร้ประสิทธิภาพในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1917 2. รัสเซียมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและการเงิน 3. เกิดการปฏิวัติของพรรคบอลเชวิคในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1917 ภายใต้การนำของเลนิน ส่งผลให้รัสเซียเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ และก่อตั้งเป็นสหภาพโซเวียตขึ้น
86. สนธิสัญญาที่ประเทศฝ่ายชนะทำกับเยอรมนีหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลง คือ
(1) แวร์ซายส์ (2) แซงต์แยร์แมง (3) ตริอานอง (4) เนยยี่
ตอบ 1 หน้า 539 – 540, 136 – 137 (H) การประชุมสันติภาพที่กรุงปารีสในระหว่างปี ค.ศ. 1919 – 1920 เป็นการทำสัญญาที่ประเทศฝ่ายชนะทำเพื่อลงโทษประเทศฝ่ายผู้แพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งมีผลก่อให้เกิดสนธิสัญญาฉบับต่าง ๆ ได้แก่ สนธิสัญญาแวร์ซายส์ทำกับเยอรมนี สนธิสัญญา แซงต์แยร์แมงทำกับออสเตรีย สนธิสัญญาตรีอาบองทำกับฮังการี สนธิสัญญาเนยยี่ทำกับ บัลแกเรีย และสนธิสัญญาแซฟร์ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นสนธิสัญญาโลซานน์ทำกับตุรกี
87. ลัทธิทางการเมืองที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลง และมีจุดประสงค์เพื่อต่อต้านการแพร่ขยาย ของลัทธิคอมมิวนิสต์คือลัทธิใด
(1) ฟาสซิสต์ (2) นาซี (3) จักรวรรดินิยม (4) ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 541 – 543, 137 – 138 (H), (คำบรรยาย) หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงได้เกิดขบวนการชาตินิยมที่เรียกว่า “ระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จ” ขึ้น ซึ่งเป็บการปกครองที่ผู้นำเดี่ยว มีอิทธิพลครอบงำ หรืออาจอยูในรูปองค์กรผู้นำพรรคการเมือง 1 พรรค ใช้อำนาจเด็ดขาด ในลักษณะก้าวร้าวแต่เพียงพรรคเดียว แบ่งออกเป็น 2 แบบ ซึ่งมีลักษณะตรงข้ามกัน ได้แก่
1. ลัทธิคอมมิวนิสต์ (Communism) หรือเผด็จการฝ่ายซ้าย เป็นขบวนการต่อต้านลัทธิทุนนิยมประชาธิปไตย 2. ลัทธิฟาสซิสต์ (Fascism) หรือเผด็จการฝ่ายขวา ก่อตั้งโดยเบนิโต มุสโสลินิ เกิดขึ้นในอิตาลีและขยายต่อมายังเยอรมนี เรียกว่า “ลัทธินาซี” เป็นขบวนการชาตินิยมที่ต่อต้านการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์และระบอบเสรีประขาธิปไตย
88. สงครามที่อิตาลีสามารถยึดครองกรุงโรมและสถาปนาเป็นเมืองหลวงในปี ค.ค. 1870 ซึ่งถือว่าเป็นการรวมประเทศอิตาลีอย่างสมบูรณ์ คือสงครามใด
(1) สงครามไครเมีย
(2) สงคราม 7 ปี (3) สงคราม 30 ปี (4) สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย
ตอบ 4 หน้า 515, 126 – 127 (H) หลังจากที่คาวัวร์เสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1861 การรวมอิตาลีก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้เพราะแคว้นเวเนเทียยังอยู่ภายใต้การปกครองของออสเตรีย และ กรุงโรมยังไม่ได้เป็นเมืองหลวงของอิตาลี จนกระทั่งเมื่อเกิดสงครามระหว่างฝรั่งเศสกับปรัสเซีย ในปี ค.ศ. 1870 กองกำลังทหารของฝรั่งเศสที่ให้ความคุ้มครองแก่สันตะปาปาในกรุงโรม จึงเดินทางกลับฝรั่งเศส รัฐบาลอิตาลีได้ถือโอกาสเข้ายึดกรุงโรมมาเป็นเมืองหลวง และรวมอิตาลี ได้สำเร็จอย่างสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1871
89. บิสมาร์คอัครเสนาบดีของเยอรมนีใช้นโยบายใดในการรวมประเทศในระยะแรก
(1) การสร้างพันธมิตรทางการทูต (2) การเปลี่ยนทิศทางการทูต
(3) การทำสงคราม “เลือดและเหล็ก” (4) พัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม
ตอบ 3 หน้า 517 – 520, 128 – 129 (H) บิสมาร์ค อัครมหาเสนาบดีของปรัสเซีย ได้ประกาศใช้ นโยบายเลือดและเหล็กในการบริหารประเทศ และใช้ในการดำเนินนโยบายเพื่อรวมเยอรมนี เข้าด้วยกัน ซึ่งในระยะแรกนั้นบิสมาร์คจะใช้วิธีการทำสงครามถึง 3 ครั้ง คือ ทำสงครามกับ เดนมาร์ก ออสเตรีย และฝรั่งเศส ซึ่งหลังจากที่ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายพ่ายแพ้แก่ปรัสเซีย ได้ส่งผลทำให้ บิสมาร์คสามารถจัดตั้งประเทศเยอรมนีขึ้นได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1871 ที่ห้องกระจกในพระราชวัง แวร์ซายส์ ประเทศฝรั่งเศส ต่อมาบิสมาร์คได้เปลี่ยนจากการใช้นโยบายรุนแรงเป็นการใช้ นโยบายทางการทูตด้วยการสร้างระบบพันธมิตรขึ้น เพื่อต้องการปิดล้อมฝรั่งเศสให้อยู่โดดเดี่ยว ซึ่งเป็นการป้องกันไม่ให้ฝรั่งเศสแก้แค้นเยอรมนีได้ในภายหลัง
90. ประเทศที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มไตรพันธมิตร (Triple Entente) ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 คือ
(1) เยอรมนี (2) อังกฤษ (3) ฝรั่งเศส (4) รัสเซีย
ตอบ 1 หน้า 530 – 531, 533, 133 (H) ก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศมหาอำนาจในยุโรป จะแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
1. กลุ่มไตรพันธไมตรี (Triple Alliance) ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี
2. กลุ่มไตรพันธมิตร (Triple Entente) ประกอบด้วย ฝรั่งเศส รัสเซีย และอังกฤษ
91. สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามด้วยเหตุใด
(1) เป็นพันธมิตรกับฝ่ายอังกฤษและฝรั่งเศส
(2) ลักลอบค้าอาวุธสงครามให้ฝ่ายสัมพันธมิตรและถูกจับได้
(3) ต้องการอาณานิคม (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 536 – 537, 134 (H), (คำบรรยาย) สาเหตุที่ทำให้สหรัฐอเมริกาซึ่งได้ประกาศตัวเป็นกลางต้องเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 ร่วมกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร มีดังนี้
1. สหรัฐฯ แอบลักลอบค้าอาวุธสงครามให้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตร ต่อมาเมื่อเยอรมนีทราบเรื่องนี้ จึงนำเรือดำนํ้าไปยิงเรือสินค้าของสหรัฐฯ ทำให้สหรัฐฯ ได้รับความเดือดร้อน
2. สหรัฐฯ ไม่พอใจที่เยอรมนีชักชวนให้เม็กซิโกกับญี่ปุ่นทำสงครามกับสหรัฐฯ
3. สหรัฐฯ เป็นผู้ขายอาวุธให้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตร ถ้าฝ่ายสัมพันธมิตรพ่ายแพ้สงคราม สหรัฐฯ ก็จะต้องสูญเสียเงินที่ควรได้จากการขายอาวุธ
92. ผู้แทนของประเทศใดเป็นผู้ริเริ่มการจัดตั้งองค์การสันนิบาตชาติ
(1) อังกฤษ (2) สหรัฐอเมริกา (3) ฝรั่งเศส (4) เยอรมนี
ตอบ 2 หน้า 540 – 541,135 – 136 (H), (คำบรรยาย) องค์การสันนิบาตชาติ (The League of Nations) ก่อตั้งขึ้นตามหลัก 14 ประการ ซึ่งเป็นข้อเสนอของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา ที่ถูกระบุไว้ในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดข้อขัดแย้งระหว่างประเทศโดย อาศัยวิธีเจรจาออมชอมหรือยุติด้วยกำลังและการศาล ทั้งนี้สับนิบาตชาติประสบความสำเร็จ ในเรื่องการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจ แต่ไม่สามารถรักษาสันติภาพและระเบียบแบบแผนได้ ซึ่งส่งผลให้สันนิบาตชาติอ่อนแอเนื่องจากไม่มีกองทัพเป็นของตนเอง
93. นโยบาย Anti-Semitism เป็นนโยบายต่อต้านชาวยิวของใคร
(1) เบนิโต มุสโสลินี (2) อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (3) บิสมาร์ค (4) โอลิเวอร์ ครอมเวลส์
ตอบ 2 หน้า 543, 138 (H), (คำบรรยาย) อดอส์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เป็นผู้ก่อตั้งลัทธินาซี (Nazism) ขึ้นในเยอรมนี ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลง ซึ่งนโยบายของฮิตเลอร์จะเน้นเรื่องชาตินิยม นอกจากนี้ยังต้องการยุติการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในเยอรมนี โจมตีสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่ลงโทษเยอรมนี และเพื่อต่อต้านชาวยิว (Anti-Semitism) โดยมีเป้าหมาย ที่จะฟื้นฟูเยอรมนีให้มีสภาพเหมือนก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 และต้องการกู้เกียรติภูมิของชาติกลับคืนมา
94. ข้อใดไมใช่สาเหตุของการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
(1) ผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจตกตํ่าทั่วโลก
(2) ความไม่เป็นธรรมของสนธิสัญญาหลังสงครามโลกครั้งที่ 1
(3) ความต้องการขยายดินแดนของประเทศมหาอำนาจ
(4) ความอ่อนแอขององค์การสหประชาชาติ
ตอบ 4 หน้า 546 – 547, 138 (H) สาเหตุที่นำไปสู่การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 สรุปได้ดังนี้
1. ความต้องการขยายดินแดนของประเทศมหาอำนาจซึ่งไม่มีอาณานิคมเหมือนชาติมหาอำนาจชาติอื่นๆ เนื่องจากต้องการหาตลาดสินค้าอุตสาหกรรมและแสวงหาอาณานิคม
2. ความอ่อนแอขององค์การสันนิบาตชาติ 3. ความไม่เป็นธรรมจากการทำสนธิสัญญา ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลง 4. เกิดการต่อสู้กันระหว่างลัทธิคอมมิวนิสต์กับลัทธิฟาสซิลต์ 5. เป็นผลกระทบมาจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในปี ค.ศ. 1929
95. มหาอำนาจที่บังคับให้จีนเปิดประเทศคือ
(1) อังกฤษ (2) ฝรั่งเศส (3) ฮอลันดา (4) รัสเซีย
ตอบ 1 หน้า 527, 132 (H) อังกฤษเป็นชาติแรกที่ใช้นโยบายเรือปืนบีบบังคับให้จีนเปิดประเทศด้วย สงครามฝิ่น (ค.ศ. 1840 – 1842) เนื่องจากอังกฤษนำฝิ่นจากอินเดียมาขายในจีน รัฐบาลแมนจู ของจีนไม่ยินยอมจึงทำให้เกิดสงครามขึ้น ผลปรากฏว่าจีนเป็นฝ่ายแพ้และต้องลงนามใน สนธิสัญญานานกิงในปี ค.ศ. 1842 ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
1. จีนต้องเปิดเมืองท่าเพิ่มอีกคือ เอหมึง ฟูเจา นิงโป และเซี่ยงไฮ้ เพื่อให้ชาวต่างชาติเข้ามา พำนักและค้าขาย
2. จีนต้องยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษ และต้องชดใช้ค่าเสียหายด้วย
3. จีนต้องยกเลิกภาษีขาเข้า
96. แกนนำฝ่ายอักษะ ได้แก่ประเทศใด
(1) เยอรมนี-ฝรั่งเศส-ญี่ปุ่น (2) เยอรมนี-อิตาลี-ญี่ปุ่น
(3) เยอรมนี-อิตาลี-ฝรั่งเศส (4) เยอรมนี-ออสเตรีย-ฮังการี-ญี่ปุ่น
ตอบ 2 หน้า 138 (H) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศมหาอำนาจได้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายอักษะ (Axis Powers) ประกอบด้วย เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น
2. ฝ่ายสัมพันธมิตร (Allied Powers) ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และ โซเวียตรัสเซีย
97. ความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมระหว่างประเทศมหาอำนาจผู้นำ ฝ่ายโลกเสรีประชาธิปไตย กับผู้นำฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์ คือสงครามใด
(1) สงครามโลกครั้งที่ 1 (2) สงครามโลกครั้งที่ 3 (3) สงครามเย็น (4) สงครามครูเสด
ตอบ 3 หน้า 559 – 561, 139 (H) สงครามเย็น (Cold War) เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1945 หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง และสิ้นสุดลงเมื่อเกิดการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ใน โซเวียตรัสเซียในปี ค.ศ. 1991 ซึ่งสงครามเย็นมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. เป็นความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ระหว่างสหรัฐอเมริกา ผู้นำฝ่ายโลกเสรีประชาธิปไตย กับโซเวียตรัสเซียผู้นำฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์
2. ทั้งสองประเทศจะไม่ทำสงครามแบบเบ็ดเสร็จ (Total War) ต่อกันโดยตรง เพราะต่างฝ่าย ต่างก็มีอาวุธร้ายแรง แต่มักใช้วิธีการทำสงครามจิตวิทยาหรือสงครามตัวแทน (Proxy War)
3. แข่งกันหาพันธมิตรโดยใช้วิธีทางการทูตและการโฆษณาชวนเชื่อ
4. มีการแช่งขันกันสะสมอาวุธและแข่งขันวิทยาการทางด้านอวกาศ
98. เหตุการณ์ใดถือว่าเป็นการสิ้นสุดของยุคโบราณ
(1) A.D. 1445 จอห์น กูเตนเบิร์ก ประดิษฐ์แท่นพิมพ์ (2) A.D. 476 อาณาจักรโรมันตะวันตกล่ม
(3) A.D. 1453 กรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกยึดครอง (4) A.D. 1492 โคลัมบัสค้นพบโลกใหม่
ตอบ 2 หน้า 17, 186 – 187, 2 – 3 (H), 54(H) ในปี ค.ศ. 476 (A.D. 476) เป็นปีที่กรุงโรม ถูกพวกอนารยชนเยอรมันเข้ายึดครอง โดยโอดัวเซอร์ หัวหน้าพวกอนารยชนเยอรมัน ได้ถอดถอนจักรพรรดิโรมิวลุส ออกุสตุลุส ออกจากตำแหน่ง และเข้ายึดครองจักรวรรดิ โรมันตะวันตก ดังนั้นจึงถือว่าเป็นปีแห่งการสิ้นสุดของยุคโบราณแล้วเข้าสู่ยุคกลาง และ ส่งผลให้จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายนับตั้งแต่นั้น
99. การค้นพบถ่านหินที่หมู่เกาะ “Spitsbergen” มีความสำคัญอย่างไร
(1) เป็นสถานที่ค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุด
(2) แสดงว่าในอดีตเคยเป็นที่อยู่อาศัยการสะสมของสิ่งมีชีวิต
(3) ปัจจุบันปกคลุมด้วยน้ำแข็ง แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของโลก
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 2, 7 (H) การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกและสิ่งมีชีวิตทั้งหลายจะเกิดขึ้นหมุนเวียน อยู่ตลอดเวลาเป็นเวลาช้านาน ตัวอย่างเช่น การขุดค้นพบแหล่งถ่านหินในบริเวณหมู่เกาะ สปิตเบอร์เกน (Spitsbergen) ที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศนอร์เวย์ (Norway) ใกล้กับบริเวณ ขั้วโลกเหนือ หรือบริเวณที่เส้นขนาน 80 องศาเหนือ ซึ่งปัจจุบันถูกปกคลุมไปด้วยธารน้ำแข็งนั้น ถือเป็นประจักษ์พยานได้ว่าบริเวณนี้เคยเป็นเขตป่าไม้และมีอากาศแบบกึ่งเมืองร้อนมาก่อน
100. อาณาจักรโรมันรับอารยธรรมกรีกมาปรับใช้เป็นลักษณะของทฤษฎีใด
(1) ทฤษฎีภูมิศาสตร์ (2) ทฤษฎีโนแมด (3) ทฤษฎีดินเสื่อม (4) ทฤษฎีศาสนา
ตอบ 2 หน้า 26 – 27, 155, 13 (H) ทฤษฎีโนแมด (Nomad Theory) หมายถึง การที่ผู้ชนะยอมรับ เอาวัฒนธรรมและอารยธรรมที่เจริญกว่าของผู้แพ้มาเผยแพร่และปรับปรุงใช้ (พวกโนแมด เป็นพวกเร่ร่อนตามทะเลทรายที่สามารถรบชนะพวกที่มีอารยธรรมสูงกว่า) เช่น หลังจากที่ อาณาจักรโรมันได้ครอบครองกรีกแล้ว ก็ได้รับเอาอารยธรรมของกรีกมาปรับปรุงใช้ เป็นต้น
101. “Suez Canal” มีความสำคัญอย่างไร
(1) เส้นทางการค้าขายหลัก (2) ป้องกันการรุกราน
(3) เส้นทางที่เป็นจุดอ่อนของการโจมตี (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 47 – 48, 56, 18 (H), 20 (H), (คำบรรยาย) จุดอ่อนทางภูมิศาสตร์ของอียิปต์ที่ทำให้ พวกฮิคโซสสามารถเช้ามารุกรานและยึดครองอียิปต์ได้สำเร็จ คือ บริเวณช่องแคบสุเอซ (Suez) หรือคลองสุเอซ (Suez Canal) ซึ่งเป็นพื้นที่เชื่อมระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชียตะวันตก บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรตีส ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ดังนั้น พื้นที่บริเวณนี้จึงเป็นทางเชื่อมหรือสะพานระหว่าง 2 ทวีปและ 2 อารยธรรม เป็นเส้นทางการค้า เป็นแหล่งเชื่อมความคิด และเป็นทางเดินของศัตรูผู้รุกรานตลอดสมัยประวัติศาสตร์อันยาวนาน ของอียิปต์
102. เหตุใดอารยธรรมเมโสโปเตเมียถึงมีความหลากหลาย
(1) ความแตกต่างด้านศาสนาและความเชื่อ (2) ชาวเมโสโปเตเมียมีทักษะในการประดิษฐ์
(3) ความแตกต่างทางด้านกลุ่มชน (4) ชาวเมโสโปเตเมียรับอารยธรรมจากอียิปต์
ตอบ 3 หน้า 67, 23 (H), (คำบรรยาย) ลักษณะของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย มีดังนี้
1. เมโสโปเตเมียเป็นที่อยู่ของกลุ่มชนหลายเชื้อชาติ ทำให้มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และมีการทำสงครามแย่งชิงอำนาจกันอยู่ตลอดเวลา
2. เมโสโปเตเมียไม่มีปราการทางธรรมชาติเพื่อป้องกันการรุกรานจากภายนอก จึงถูกรุกรานได้ง่าย
3. การไหลท่วมล้นฝั่งฃองแม่นํ้าไทกริส-ยูเฟรตีสในแต่ละปีมีความรุนแรง จนสร้างความเสียหาย ให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณ 2 ฝั่งแม่น้ำเป็นอย่างมาก ประกอบกับมีการทำสงคราม แย่งชิงอำนาจกันอยู่ตลอดเวลา ทำให้ชาวเมโสโปเตเมียส่วนใหญ่เป็นพวกที่มองโลกในแง่ร้าย ปลงทุกข์ หวาดกลัว และไม่คิดจะกลับมาเกิดใหม่อีก
103. กลุ่มชนที่ได้รับฉายาว่า “พ่อค้าทางทะเลและกลุ่มพ่อค้าทางบก” คือกลุ่มใด
(1) อัคคาเดียน-ฟินิเชียน (2) แคลเดียน-อัสสิเรียน (3) แคลเดียน-ฮิบรู (4) ฟินิเชียน-อราเมียน
ตอบ 4 หน้า 84, 86 – 87, 27 (H) สิ่งที่ฟินิเชียนและอราเมียนต่างก็มีเหมือนกันคือ การทำการค้า โดยพวกอราเมียนได้รับฉายาว่าเป็น “พ่อค้าทางบกที่ยิ่งใหญ่ในเขตตะวันออกใกล้” (Near East) หรือเอเชียตะวันตก ในขณะที่พวกพินีเชียนได้รับฉายาว่าเป็น “พ่อค้าทางทะเลที่ยิ่งใหญ่ ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน”
104. กลุ่มชนที่ได้รับฉายาว่า “ชาวโรมันแห่งภาคตะวันออก” คือกลุ่มใด
(1) อัคคาเดียน (2) อัสสิเรียน (3) ฮิบรู (4) ฮิตไตท์
ตอบ 2 หน้า 82, 26 (H) ชาวอัสสิเรียนได้รับฉายาว่า “ชาวโรมันแห่งภาคตะวันออก” เนื่องจากมีลักษณะเหมือนชาวโรมันหลายประการ ดังนี้ 1. ชอบทำสงครามและสร้างจักรวรรดิอันกว้างใหญ่
2. ปกครองแบบเข้มงวดต่อดินแดนที่ถูกปกครองโดยใช้วิธีที่เรียกว่า “กำปั้นเหล็ก” (Iron-fist)
3. มืการสร้างถนนไว้ทั่วจักรวรรดิ เพื่อประโยชน์ในการสื่อสาร การปกครอง และการเก็บภาษี
4. รับอารยธรรมที่เจริญกว่าจากชนชาติอื่นมาใช้ และถ่ายทอดไปยังดินแดนที่อยู่ภายใต้ การปกครอง ซึ่งต่อมาอารยธรรมของอัสสิเรียนได้ถูกถ่ายทอดให้แก่จักรวรรดิเปอร์เซีย
105. จุดประสงค์ของการจัดกีฬาโอลิมปิกคือข้อใด
(1) สร้างความสามัคคีในหมู่ชาวกรีก (2) รักษาประเพณีดั้งเดิม
(3) ถวายการแสดงให้กับเทพเจ้า (4) ถวายการแสดงให้กับกษัตริย์
ตอบ 3 หน้า 115, 39(H) ชาวกรีกเชื่อว่าเทพเจ้ามักจะพอใจในการแสดงออกถึงความกล้าหาญ และความเข้มแข็งของมนุษย์ จึงได้จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกขึ้นทุก ๆ 4 ปี เพื่อถวายแก่ เทพซีอุส (Zeus) ซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุดของกรีก ซึ่งผู้ที่ชนะจะได้รับมงกุฎที่ทำด้วยก้านมะกอก หรือช่อมะกอกศักดิ์สิทธิ๋
106. ผลงานทางอารยธรรมกรีกในข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) หัวเสา Doric, Ionic, Corinthian (2) การสร้างโรงละคร Amphitheater
(3) มีดสปาร์ตาจากนครรัฐสปาร์ตา (4) ลักษณะเมืองบนที่สูง Acropolis
ตอบ 2 หน้า 110, 132 – 133, 178 – 179, 38 (H), 44 (H), (ดูคำอธิบายข้อ 37. ประกอบ)ผลงานทางด้านอารยธรรมที่สำคัญของกรีก ได้แก่
1. บริเวณอะโครโพลิส (Acropolis) ซึ่งเป็นส่วนที่สูงที่สุดของเมืองและมีความปลอดภัยที่สุด ทั้งนี้บนยอดอะโครโพลิสจะเป็นที่ตั้งของมหาวิหารพาร์เทนอน (Parthenon)
2. แบบก่อสร้างเสาของกรีกซึ่งมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ แบบดอริค (Doric), ไอโอนิค (Ionic) และ คอรินเธียน (Corinthian)
3. มีดสปาร์ตาจากนครรัฐสปาร์ตา ซึ่งมีลักษณะเป็นมีดสั้นรูปสามเหลี่ยมข้าวหลามตัด
107. ศาสนาของชาวโรมันมีลักษณะอย่างไร
(1) เชื่อมั่นในพระเจ้า มีพิธีกรรมเคร่งครัด (2) บูชาเทพเจ้าซึ่งได้รับอิทธิพลจากกรีก
(3) ศาสนาแห่งเหตุผล ความดี-ความชั่ว (4) บูชาเทพเจ้า มีศีลธรรม
ตอบ 2 หน้า 115, 39 (H), (HI 103 เลขพิมพ์ 55187 หน้า 36, 58) ทั้งชาวกรีกและโรมันต่างก็มีความเชื่อในเรื่องวิญญาณและอำนาจลึกลับต่าง ๆ โดยเชื่อว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังสิ่งลึกลับเหล่านั้นก็คือ เทพเจ้า ซึ่งเทพเจ้าจะมีรูปร่างหน้าตา อารมณ์ และความรู้สึกเช่นเดียวกับมนุษย์ ทั้งนี้ ชาวโรมันจะรับเอาเทพเจ้าของกรีกมาทั้งหมด แต่มีการแปลงชื่อใหม่ โดยเทพเจ้าที่สำคัญ เช่น เทพซีอุส (Zeus) เป็นเทพเจ้าสูงสุด พวกโรมันเรียกว่า ‘’จูปิเตอร์” (Jupiter), เทพโพไซดอน (Poseidon) เป็นเจ้าแห่งทะเล พวกโรมันเรียกว่า “เนปจูน” (Neptune) เป็นต้น
108. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับอาณาจักรไบแซนไทน์
(1) คอนสแตนติโนเปิล (2) ธีโอโดซิอุส (3) กรีกออร์ธอดอกซ์ (4) ชาร์เลอมาญ
ตอบ 4 หน้า 238 – 239, 69 – 70 (H), (ดูคำอธิบายข้อ 40. ประกอบ) ในปี ค.ศ. 330 จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ก่อตั้งขึ้นโดยจักรพรรดิคอนสแตนติน โดยมี กรุงคอนลแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง ทั้งนี้ประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายกรีก พูดภาษากรีก และนับถือศาสนาคริสต์นิกายกรีกออร์ธอดอกซ์ จักรพรรดิที่มีบทบาทสำคัญในจักรวรรดินี้ เช่น จักรพรรดิจัสติเนียน จักรพรรดิธีโอโดซิอุส เป็นต้น
109. ผลงานสำคัญของ K. William I the Conqueror คือข้อใด
(1) Doomsday Book (2) การรวบรวมหนังสือเพื่อจัดตั้งห้องสมุด
(3) นำภาษาอังกฤษมาใช้เป็นภาษาทางการ (4) ทำสงครามชนะพวก Norman
ตอบ 1 หน้า 271 – 273, 72 (H), 74 (H) กษัตริย์วิลเลียมที่ 1 หรือวิลเลียมผู้พิซิต (William I,William the Conqueror) ทรงนำกองทัพนอร์มัน (Norman) เข้ารุกรานอังกฤษ และสามารถ รบชนะพวกแองโกล-แซกซันจนสามารถเข้ายึดครองอังกฤษได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1066 ซึ่งทำให้ มีผลติดตามมาคือ 1. กษัตริย์อังกฤษทรงมี 2 สถานภาพคือ มีฐานะเป็นเจ้า (Lord) สูงสุดในอังกฤษ แต่ต้องมีฐานะเป็นข้า (Vassal) ของกษัตริย์ฝรั่งเศส ซึ่งจากสภาพดังกล่าวได้ กลายเป็นชนวนของสงครามร้อยปีระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสในเวลาต่อมา
2. ภาษาฝรั่งเศสกลายเป็นภาษาของชนชั้นสูงและเป็นภาษาทางการในอังกฤษ
3. จัดทำทะเบียนราษฎร์อย่างละเอียดในปี ค.ศ. 1086 ซึ่งเรียกว่า “Doomsday Book”เพื่อการเก็บภาษีที่ถูกต้องและเพื่อการเกณฑ์แรงงาน เป็นต้น
110. รัฐใดไม่ได้รวมสถาปนาเป็นชาติสเปน
(1) Castile (2) Navarre (3) Aragon (4) Calais
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 59. ประกอบ
111. ข้อใดไม่ใช่วิธีที่สหรัฐอเมริกากับโซเวียตรัสเซียใช้ต่อสู้กันในระยะที่เกิดสงครามเย็น (ค.ศ. 1945 – 1991)
(1) วิธีทางการทูต (2) การโฆษณาชวนเชื่อ
(3) สงครามแบบเบ็ดเสร็จ (4) สงครามตัวแทน
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 97. ประกอบ
112. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของคณะ Jesuit
(1) เผยแผ่ศาสนาในดินแดนต่างประเทศโดยมิชชันนารี
(2) จัดตั้งศาลศาสนาเพื่อตัดสินคดีความเกี่ยวกับความประพฤติของพระ
(3) ออกประกาศ Edict of Nantes ให้อำนาจในการเลือกนับถือนิกายอื่น ๆ
(4) ฟื้นฟูความเชื่อและความศรัทธาของชาวคาทอลิก
ตอบ 3 หน้า 384 – 385, 99 (H), (คำบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1534 อิกนาเชียส โลโยลา (Ignatius Loyola) อดีตทหารผ่านศึกชาวสเปน ได้จัดตั้งสมาคมเยซูหรือคณะเยซูอิต (Jesuit) ขึ้น เพื่อต่อต้าน การปฏิรูปศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ เพื่อเน้นให้พระคาทอลิก เคร่งครัดในระเบียบวินัยแบบทหาร และเน้นให้การศึกษาแบบใหม่แก่บุตรหลานชาวคาทอลิก เพื่อจะได้ไม่เปลี่ยนไปเป็นโปรเตสแตนต์ โดยเน้นให้มีการจัดตั้งวิทยาลัยทั้งในอิตาลี สเปน โปรตุเกส และเยอรมนีตอนใต้ นอกจากนี้คณะเยซูอิตยังให้มิชชันนารีออกไปเผยแผ่ศาสนา ในดินแดนต่าง ๆ รวมทั้งจัดตั้งศาลศาสนาเพื่อตัดสินคดีความเกี่ยวกับความประพฤติของพระ
113. ข้อใดถูกต้อง
(1) พระราชวังแวร์ซายส์ในประเทศฝรั่งเศส จัดเป็นศิลปะแบบ Renaissance
(2) Martin Luther เป็นผู้แปลและพิมพ์พระคัมภีร์ใหม่เป็นภาษาท้องถิ่น
(3) Huguenots คิอ ผู้ที่นับถือโปรเตสแตนต์ในประเทศอังกฤษ
(4) The Election คือ ทฤษฎีการเลือกสรรของพระเจ้าในนิกาย Lutheranism
ตอบ 2 หน้า 378 – 383, 98 (H), (ดูคำอธิบายข้อ 57. ประกอบ) ในขณะที่ลี้ภัยอยู่ที่แซกโซนีมาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) ได้แปลพระคัมภีร์ไบเบิลจากภาษาละตินเป็นภาษาเยอรมัน และภาษาท้องถิ่นอื่น ๆ แล้วพิมพ์พระคัมภีร์ใหม่ออกเผยแผ่ไปทั่วภาคตะวันตก เพื่อให้ ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงและเข้าใจแก่นแท้ของศาสนาได้โดยการอ่านพระคัมภีร์ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพระ
114. กษัตริย์ของอังกฤษผู้ทรงปกครองภายใต้ระบอบ King in Parliament และเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของ Tudor Dynasty คือใคร
(1) Elizabeth I
(2) Catherine the Great (3) Alfonso Henriques (4) Edward VI
ตอบ 1 หน้า 410, 107 (H), (คำบรรยาย) พระนางเอลิซาเบทที่ 1 (Elizabeth I : ค.ศ. 1558 – 1603) เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงค์ทิวดอร์ (Tudor Dynasty) ของอังกฤษ ทรงปกครองอังกฤษโดยใช้วิธีการที่เรียกว่า “กษัตริย์ในรัฐสภา” (King in Parliament) หมายความว่า กษัตริย์และรัฐสภาจะใช้อำนาจในการปกครองร่วมกัน แต่กษัตริย์จะปกครองโดยต้องได้รับ ความเห็นชอบจากรัฐสภา ซึ่งถือว่าเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยในระบอบรัฐสภา หรือระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
115. ผู้ที่ได้รับฉายาว่า The Sun King คือใคร
(1) K. Henry IV (2) K. Louis XIV (3) Charles II (4) Frederick
ตอบ 2 หน้า 106 (H), (คำบรรยาย) พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Louis XIV) แห่งฝรั่งเศส เป็นกษัตริย์ผู้ทรงอำนาจสูงสุดและทรงได้รับฉายาว่า“สุริยกษัตริย์” (The Sun King) ที่ปกครองประเทศ ด้วยระบอบเทวกษัตริย์ รวมทั้งทรงกล่าวว่า “ความรุ่งเรืองของชาติและกษัตริย์เป็นเรื่อง เดียวกัน เมื่อประเทศรํ่ารวย รุ่งเรือง มีอำนาจ จึงควรยกย่องกษัตริย์ผู้ทรงทำให้เกิดผลนั้น กษัตริย์จึงควรได้รับความสุขสบายมากกว่าคนอื่น” ทั้งนี้ได้ทรงสร้างพระราชวังแวร์ซายส์ ซึ่งตั้งอย่นอกกรุงปารีส เพื่อให้เป็นศูนย์รวมการปกครองของพระองค์
116. ผลของการปฏิวัติอันรุ่งเรือง (The Glorious Revolution) คือข้อใด
(1) Enlightened Despots กษัตริย์ประเทืองปัญญา
(2) Enlightened Depotism สมัยราชาธิปไตยแบบทรงภูมิธรรม
(3) Age of Enlightenment ยุคของการประเทืองปัญญา
(4) King in Parliament กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 77. ประกอบ
117. ความรุ่งเรืองของชาติและกษัตริย์เป็นเรื่องเดียวกัน เมื่อประเทศร่ำรวย มีอำนาจ ควรยกย่องผู้ทรงทำให้ เกิดผลนั้น กษัตริย์จึงควรได้รับความสุขสบายมากกว่าคนอื่น เป็นคำพูดของใคร
(1) K. Henry IV (2) K. Louis XIV (3) Charles II (4) Frederick
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 115. ประกอบ
118. ลักษณะที่สำคัญของลัทธิโรแมนติก (Romanticism) หรือลัทธิจินตนิยม คือ
(1) นับถือธรรมชาติส่งเสริมความรัก (2) เน้นอารมณ์ความรู้สึกเพ้อฝัน
(3) ต่อต้านการใช้ความรุนแรง (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 473 – 474, 489, 119 (H) ลัทธิโรแมนติก (Romanticism) หรือลัทธิจินตนิยมเป็นขบวนการที่ต่อต้านข้อจำกัดของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ทั้งหมด โดยจะเน้นที่อารมณ์และ ความรู้สึกเพ้อฝันที่ลึกซึ้งมากกว่าเหตุผล เน้นชีวิตความเป็นอยู่และความสำคัญของปัจเจกชน หรือตัวบุคคลมากกว่ารัฐ เน้นการนับถือธรรมชาติ ส่งเสริมความรักอย่างรุนแรง และต่อต้าน การใช้อำนาจหรือการใช้ความรุนแรงเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยดี
119. การปิดล้อมทางเศรษฐกิจคือมาตรการที่นโปเลียนใข้ลงโทษประเทศใด
(1) รัสเซีย (2) ปรัสเซีย (3) อังกฤษ (4) โปรตุเกส
ตอบ 3 หน้า 469, 117 (H) ในปี ค.ค. 1808 ยุโรปเกือบทั้งหมดต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพระจักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศส ยกเว้นประเทศอังกฤษที่นโปเลียนยึดครองไม่ได้ เพราะ อังกฤษเป็นเกาะและเป็นมหาอำนาจทางทะเล ดังนั้นนโปเลียนจึงใช้วิธีการปิดล้อมอังกฤษ ทางเศรษฐกิจ (Continental Blockade) ไม่ให้มีการค้าขายระหว่างประเทศบนภาคพื้นยุโรป กับอังกฤษ ทำให้ฝรั่งเศสและประเทศที่เป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส เช่น ประเทศรัสเซีย ต้อง เดือดร้อนเพราะขาดแคลนสินค้า
120. การประชุมสันติภาพที่กรุงปารีสในระหว่างปี ค.ศ. 1919 – 1920 เป็นการทำสัญญาเพื่อลงโทษฝ่ายผู้แพ้ มีผลก่อให้เกิดสัญญาใด
(1) สัญญาแวร์ซายส์-เยอรมนี
(2) สัญญาแซงต์แยร์แมง-บัลแกเรีย (3) สัญญาแซฟร์-ฮังการี (4) สัญญาเนยยี่-ออสเตรีย
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 86. ประกอบ