การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2553
ข้อสอบกระบวนวิชา HIS1001 อารยธรรมตะวันตก
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
1. เราสามารถเรียนรู้วัฒนธรรมและอารยธรรมจากการศึกษาอะไรเป็นสำคัญ
1. ธรณีวิทยา
2. สังคมวิทยา
3. วิทยาศาสตร์
4. ประวัติศาสตร์
ตอบ 4 หน้า 20, 37, 12 (H), (คำบรรยาย) มนุษย์สามารถเรียนรู้วัฒนธรรมและอารยธรรมได้จากการศึกษาประวัติศาสตร์เพราะประวัติศาสตร์ คือ การเรียนรู้เกี่ยวกับชาติพันธุ์มนุษย์ซึ่ง มีความหมายเป็น 2 นัย คือ 1. การศึกษาทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยการเกิดมนุษย์มาจน ถึงปัจจุบัน 2. ข้อวิจารณ์หรือบันทึกการค้นคว้าทั้งหลายที่ได้คัดเลือกเอามาเฉพาะหัวข้อที่น่าสนใจ ทั้งนี้จะใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาค้นคว้าหลักฐาน และทดสอบความจริงแท้ถูกต้องของหลักฐาน โดยใช้วิธีการตรวจสอบด้วยการวิจารณ์ภายนอกและการวิจารณ์ภายใน
2. การศึกษาประวัติศาสตร์ต้องใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในด้านใด
1. ทดสอบความจริงแท้ถูกต้องของหลักฐาน
2. การแสวงหาหลักการและทฤษฎีของเหตุการณ์
3. การทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้า
4. การตั้งข้อสมมุติฐานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ
3. อักษรคูนิฟอร์มพัฒนารูปแบบมาจากอะไร
1. อักษรภาพ 2. เครื่องหมายและสัญลักษณ์ 3. พยัญชนะและสระ 4. สัญลักษณ์
ตอบ 1 หน้า 69, 23(H), (คำบรรยาย) เมื่อประมาณ 3,500 B.C. ชาวสุเมเรียนได้ประดิษฐ์ตัวอักษรโดยใช้ต้นอ้อแห้งหรือเหล็กแหลมกดลงบนแผ่นดินเหนียว แล้วนำไปตากแดดหรือเผาไฟให้แห้งเรียกว่าตัวอักษรคูนิฟอร์ม(Cuneiform) หรือตัวอักษรรูปลิ่ม ซึ่งได้พัฒนารูปแบบมาจากอักษรภาพ (Pictograms) ที่ใช้ในระยะแรก ๆ และต่อมาจึงพัฒนาจากอักษรภาพมาเป็นการใช้เครื่องหมายแทนสัญลักษณ์
4. ชาวสุเมเรียนควบคุมการใช้น้ำเพื่อการเกษตรด้วยวิรีใด
1. การชลประทาน 2. ถมชายฝั่งแม่น้า 3. สร้างสะพานเชื่อมคลอง
4. สร้างเขื่อนริมน้ำ
ตอบ 1 หน้า 71, (คำบรรยาย) ชาวสุเมเรียนได้ริเริ่มเทคโนโลยีควบคุมการใช้น้ำเพื่อการเกษตรด้วยการชลประทาน กล่าวคือใช้วิธีการสร้างเขื่อน ขุดคูคลองเป็นเครือข่ายเก็บกักน้ำ ทดน้ำ ระบายน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรและการอุปโภคบริโภค นอกจากนี้ยังใช้เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำและอุทกภัยด้วย
5. อัสสิเรียปกครองภูมิภาคด้วยวิธีการใด
1. แบ่งเป็นมณฑล ตั้งผู้ว่าราชการและแม่ทัพ 2. แบ่งเป็นภาค ปกครองตนเอง
3. แบ่งเป็นอาณาจักร ตั้งผู้ปกครอง 4. แบ่งเป็นนครรัฐ ปกครองตนเอง
ตอบ 1 หน้า 80 – 81, (คำบรรยาย) อัสสิเรีย นับเป็นชนชาติแรกในเมโสโปเตเมียที่จัดระเบียบการ
ปกครองจักรวรรดิอย่างมีระบบ โดยมีการรวมอำนาจสูงสุดไว้ที่ส่วนกลาง คือ กษัตริย์ และมีการกระจายอำนาจไปยังส่วนภูมิภาค คือ มีการแบ่งมณฑลและสถาปนาเมืองหลวงประจำมณฑลขึ้นโดยแต่ละมณฑลก็จะมีผู้ว่าราชการและแม่ทัพ ซึ่งการปกครองในลักษณะนี้ทำให้กษัตริย์ดาริอุสที่ 1 แห่งเปอร์เซียทรงรับไปบริหารจักรวรรดิเปอร์เซียในเวลาต่อมาด้วย
6. ในยุคโบราณ เมโสโปเตเมียได้ปฏิวัติการทหารด้านใด
1. การทหารราบ 2. การพหารม้า 3. การรวมเหล่า 4. การจัดตั้งกองเสนาธิการ
ตอบ 3 หน้า 76, 24 (H), (คำบรรยาย) กลยุทธ์ด้านการทหารของเมโสโปเตเมียจะเริ่มต้นด้วยการใช้ทหารราบในการรบ แต่เมื่ออานารยชนแคสไซท์เข้ายึดกรุงบาบิโลนโดยใช้ม้าและรถศึกขนาดเบาก็ทำให้อาณาจักรต่าง ๆ ในเมโสโปเตเมียหันมาใช้ม้าเทียมเข้ากับรถศึกขนาดเบาในการรบ ต่อมาจึงได้มีการจัดตั้งทหารม้าขึ้น และเริ่มรู้จักประกอบกำลังเข้าเป็นหมวดหมู่ โดยมีการยุทธ์ที่สำคัญคือการทหารแบบรวมเหล่า (ทหารราบ ทหารม้า รถศึก) ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นการปฏิวัติครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์
7. มีเหตุปัจจัยใดที่ทำให้ชาวเมโสโปเตเมียบูชาเทวดามากมาย
1. กลัวภัยธรรมชาติและภัยสงคราม 2. ต้องการชีวิตสุขนิรันดร์ในชาติหน้า
3. ต้องการขอพรศิริมงคล 4. ต้องการติดต่อทวยเทพเพื่อความมั่นใจ
ตอบ 1 หน้า 65 – 68, (คำบรรยาย) สาเหตุสำคัญที่ทำให้ชาวเมโสโปเตเมียต้องบูชาเทวดามากมายและเป็นพวกมองโลกในแง่ร้าย หวาดกลัว ไม่คิดที่จะกลับมาเกิดใหม่นั้น สรุปได้เป็น 2 สาเหตุใหญ่ ๆ คือ 1. การต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติอยู่เป็นประจำ เช่น อุทกภัย 2. การทำสงครามเพื่อแย่งชิงดินแดนระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
8. ข้อใดแสดงอารยธรรมอียิปต์มีลักษณะแตกต่างจากอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
1. อารยธรรมอียิปต์รับแบบอย่างจากกรีซ
2. อารยธรรมอียิปต์เป็นอารยธรรมของชนชาติเดียว
3. อารยธรรมอียิปต์แพร่หลายไปสู่เมโสโปเตเนีย
4. อารยธรรมอียิปต์รับแบบอย่างมาจากจีน
ตอบ 2 หน้า 67 – 68, 22 – 23 (H), (คำบรรยาย) ลักษณะเด่นของอารยธรรมอียิปต์ที่แตกต่างจากอารยธรรมเมโสโปเตเมีย มีดังนี้
1. อียิปต์เป็นอารยธรรมของชนชาติเดียวแต่เมโสโปเตเมียเป็นอารยธรรมของกลุ่มชนหลายเชื้อชาติ
2. เมโสโปเตเมียไม่มีปราการทางธรรมชาติเหมือนกับอียิปต์ที่มีทะเลทราย จึงถูกรุกรานได้โดยง่าย
3. สิ่งก่อสร้างของอียิปต์สร้างด้วยหินจึงแข็งแรงทนทาน ส่วนสถาปัตยกรรมของเมโสโปเตเมียสร้างด้วยอิฐจึงไม่ยั่งยืน เพราะไม่มีหินขนาดใหญ่เหมือนอียิปต์
4. อียิปต์เป็นพวกที่มีชีวิตสุขสมบูรณ์ ทำให้มองโลกในแง่ดีและไม่อยากตาย จึงมีการรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยด้วยการทำมัมมี่เพื่อที่จะกลับมาเกิดใหม่ในโลกหน้า แต่เมโสโปเตเมียส่วนใหญ่มอง โลกในแง่ร้าย ไม่คิดจะกลับมาเกิดใหม่
9. ระบอบประชาธิปไตยเอเธนส์ถือความยุติธรรมเป็นสำคัญ จึงปกครองด้วยการยึดถืออะไรเป็นหลัก
1. กฎหมายและการศาล
2. การศาล 3 ชั้น
3. พัฒนาประมวลกฎหมาย
4. การฎีกาสู่สภา 500
ตอบ 1 หน้า 126, (คำบรรยาย) ระบอบประชาธิปไตยเอเธนส์มีลักษณะเด่น คือ เป็นรูปแบบการปกครอง ที่พลเมืองชายชั้นสูงมีอำนาจทางการเมือง ปกครองนครรัฐด้วยการรับผิดชอบร่วมกัน โดยจะยึดถือกฎหมายและการศาลเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะถือว่ากฎหมายและการศาลเท่านั้นที่จะสามารถปกป้องคุ้มครองและพิทักษ์ความยุติธรรมได้ ซึ่งนวัตกรรมนี้ยังถือเป็นพื้นฐานการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของโลกตะวันตกต่อมาด้วย
10. ปรัชญาโลกตะวันตกมีกระบวนการคิดโดยใช้เทคนิคอะไรของกรีซ
1. การโต้แย้งอ้างหลักธรรม
2. วิภาษวิธีและหลักเหตุผล
3. โต้แย้งตามลีลาวาทศิลป์
4. การตั้งข้อสมมุติฐาน
ตอบ 2 หน้า 137 – 139, (คำบรรยาย) ปรัชญาของชาวกรีกในระยะแรกจะคิดลึกซึ้งในเรื่องมนุษย์และธรรมชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิธีคิดของชาวกรีกว่า เป็นการค้นหาความจริงเกี่ยวกับปรากฏการต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล โดยใช้หลักวิภาษวิธี คือ การเปิดโอกาสให้วิพากษ์วิจารณ์แนวคิดต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง ไม่จำกัดอยู่เฉพาะข้อสรุปใดข้อสรุปหนึ่ง นอกจากนี้ยังเชื่อว่ากุญแจที่จะไขไปสู่ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ก็คือพลังแห่งเหตุผลของคน (Logos) หรือการคิดตามหลักเหตุผลนั่นเอง
11. ตามความคิดของเพลโตเรื่องสาธารณรัฐ ผู้ปกครองในอุดมคติต้องมีคุณสมบัติสำคัญอะไร
1. เป็นนักรบนักบริหาร
2. ผู้มีการศึกษาและเป็นนักปรัชญา
3. เป็นคนดีมีวิชา
4. เป็นนักปรัชญาผู้ทรงธรรม
ตอบ 2 หน้า 141, 45 (H) (คำบรรยาย) เพลโต (Plato) ได้เขียนหนังสือเรื่องสาธารณรัฐ (The Republic) ซึ่งได้กล่าวถึงการปกครองที่ดีก็คือ การปกครองที่ไม่มีแห่งหนใดเลย (No Place) เป็นสังคมในอุดมคติ (Utopia) และก็เสนอว่าผู้ปกครองในอุดมคตินั้นจะต้องให้ผู้ที่การศึกษาและมีสติปัญญาเป็นผู้ดำเนินการปกครองและต้องเป็นนักปรัชญาด้วยเพื่อปกครองตามความต้องการที่ดีที่สุดแก่ประชาชน
12. เฮโรโดตัสเขียนประวัติศาสตร์โดยใช้วิธีการใดในการแสวงหาข้อมูล
1. วิธีการฟังเล่าลือมา
2. วิธีการสืบสวนสอบถาม
3. วิธีการอ่านเอกสารชั้นต้น
4. วิธีการวิจัยเอกสารชั้นสอง
ตอบ 2 หน้า 136, 44 (H), (คำบรรยาย) เฮโรโดตัส (Herodotus) เป็นนักประวัติศาสตร์ชาวกรีกผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น“บิดาของวิชาประวัติศาสตร์” โดยเขาได้เขียนประวัติศาสตร์สงครามเปอร์เซีย ขึ้นและเรียกหนังสือนี้ว่า Historia โดยใช้วิธีการสืบสวนสอบถามจากคนที่อยู่ในเหตุการณ์โดยตรงและก็นำหลักฐานที่ได้มาเรียบเรียงขึ้นเป็นประวัติศาสตร์
13. กรีกเน้นดุลยภาพในการสร้างสรรค์ศิลปกรรมเพื่อวัตถุประสงค์ใด
1. สุนทรียภาพ 2. ความเหมือนจริง 3. ความเกินจริง 4. ถ่ายทอดธรรมชาติ
ตอบ 1 หน้า 131, 133, (คำบรรยาย) ศิลปะของชาวกรีกในยุคโบราณจะเน้นเรื่องสุนทรียภาพหรือความงาม โดยให้ความสำคัญกับดุลยภาพ คือ การเน้นเรื่องน้ำหนักเท่ากันของสี เส้น แสง และเงา ตลอดจนเน้นความมีเอกภาพของศิลปะหรือการประสานกลมกลืนของทุกสิ่งตามอุดมคติของชาวกรีกที่ว่า “Nothing in excess, and everything in proportion” (ไม่มีสิ่งที่เกินไป และทุกสิ่งจะต้องเป็นสัดส่วน)
14. ชาวกรีกสร้างสรรค์งานศิลป์โดยมีจุดมุ่งหมายอะไรที่แตกต่างจากศิลปะอียิปต์และศิลปะเมโสโปเตเมีย
1. มุ่งหมายทางโลก
2. มุ่งหมายทางธรรม
3. มุ่งสดุดีทวยเทพ
4. มุ่งหมายผลทางการเมือง
ตอบ 1 หน้า 131, (คำบรรยาย) ชาวกรีกเป็นนักวัตถุนิยมที่มองโลกในแง่กายภาพ สร้างสรรค์งานศิลป์โดยมีจุดมุ่งหมายทางโลกเป็นสำคัญ จึงทำให้งานศิลปะของกรีกส่วนใหญ่มีเอกลักษณ์เด่น คือ เป็นงานที่แสดงถึงสัญลักษณ์ของมนุษย์ ตามคตินิยมที่ว่ามนุษย์คือสัตว์โลกที่สำคัญที่สุดในจักรภพ ซึ่งแตกต่างจากศิลปะอียิปต์และศิลปะเมโสโปเตเมียที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อมุ่งสดุดีทวยเทพหรือสนองการพระศาสนา
15. การค้าของจักรวรรดิโรมันเป็นแบบใด
1. การค้าเสรี
2. การค้าผูกขาด
3. รัฐและเอกชนรวมกันดำเนินการค้า
4. รัฐควบคุมการค้า
ตอบ 1 หน้า 176, 52 (H), (คำบรรยาย) จักรวรรดิโรมันจะใช้การค้าแบบเสรี คือ รัฐเป็นผู้คุ้มครองและส่งเสริมการค้าขายโดยรัฐไม่ได้เข้าไปควบคุมเศรษฐกิจหรือตั้งข้อจำกัดทางการค้า ทำให้สังคมโรมันมีลักษณะเป็นสังคมเมืองที่เจริญรุ่งเรืองด้วยการค้า โดยมีศูนย์กลางการค้าอยู่ทีโรม และเมืองอเล็กซานเดรียในอียิปต์ ซึ่งมีสินค้าจากทุกมุมโลกมาค้าขายหมุนเวียนอยู่
16. ในสมัยจักรวรรดิเรืองอำนาจที่สุด การเกษตรเป็นแบบที่เรียกว่าอะไร
1. Manor 2. Plantation 3. Fief 4. Benifice
ตอบ 2 หน้า 176, (คำบรรยาย) ในสมัยจักรวรรดิโรมันเรืองอำนาจที่สุดหรือสมัยสันติสุขโรมัน (Pax Romana) การเกษตรยังคงเป็นอาชีพสำคัญของประชาชนในจักรวรรดิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกษตรแบบ Plantation คือ การมีไร่ขนาดใหญ่เพาะปลูกพืชประเภทเดียวเพื่อการค้า โดยอาศัยแรงงานจากพวกทาสเป็นหลัก
17. การปกครองแบบใดที่ถือว่าเป็นรูปแบบการปกครองที่ชาวโรมันคิดริเริ่ม
1. ระบอบทรราชย์ 2. ระบอบจักรพรรดิราชย์ 3. ระบอบพลีเบียน 4. ระบอบกงสุล
ตอบ 4 หน้า 161, (คำบรรยาย) ในสมัยสาธารณรัฐโรมัน ชาวโรมันได้ริเริ่มรูปแบบการปกครองระบอบกงสุล (Consulate System) ซึ่งเป็นนวัตกรรมการปกครองแบบโรมันเอง นั่นคือระบอบการปกครองที่อำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ในมือกงสุล(Consuls)2 คน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง “Magistrates” หรือผู้นำสูงสุด ทำหน้าที่เป็นประมุขของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารโดยจะคัดเลือกมาจากขุนนางสามัญชนอิสระ แต่ส่วนใหญ่จะมาจากพวกแพทริเชียน หรือ กลุ่มชนชั้นสูงของสังคม
18. ในระบอบการปกครองของอียิปต์ อำนาจอธิปไตยเป็นของใคร
1. ฟาโรห์ 2. นักบวชหญิง 3. คณะนักรบ 4. คณะนักบวช
ตอบ 1 หน้า53, 60, 19(H) ระบอบการปกครองของอียิปต์ในสมัยอาณาจักรเก่าหรือสมัยพีระมิดจะเป็นแบบเทวาธิปไตย (Theocracy) โดยมีฟาโรห์เป็นประมุขสูงสุดหรือเทวกษัตริย์ กล่าวคืออำนาจอธิปไตยจะเป็นของฟาโรห์ซึ่งทรงมีฐานะเป็นศูนย์กลางของทุกสถาบัน ดังนั้นฟาโรห์ก็คือรัฐที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำสูงสุดทั้งตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลและประมุขทางศาสนาเป็นผู้พิพากษาสูงสุด เป็นผู้บังคับบัญชาการกองทัพและบัญชาการทางด้านพลเรือนรวมทั้งทรงเป็นเจ้าของแผ่นดินทั้งหมดสามารถทำการค้าขายได้แต่เพียงผู้เดียว
19. เหตุใดอียิปต์โบราณมีพ่อค้าเอกชนน้อย
1. เพราะศาสนาห้ามการค้าขาย 2. เพราะรัฐห้ามการค้าขาย
3. เพราะรัฐหรือฟาโรห์ค้าขายได้แต่เพียงผู้เดียว 4. เอกชนขาดทุนรอน
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 18. ประกอบ
20. ชาวอียิปต์มองโลกในแง่ดี ไม่อยากตายเพราะอะไร
1. ชีวิตในชาตินี้สุขสมบูรณ์ 2. ศาสนาสอนว่าชีวิตเป็นอมตะ
3. อยากเสวยสุขในชาตินี้เท่านั้น 4. ศาสนาสอนว่าชาติหน้ามีแต่ทุกข์
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ
21. อียิปต์โบราณรักษาแผลและแก้อักเสบโดยวิธีการใด
1. ดองแผลมิให้เนา
2. ใช้ด่างทับทิมและน้ำเกลือ
3. ใช้สมุนไพร
4. ใช้กระเทียมและหัวหอม
ตอบ 2 หน้า 62, 22 (H) อียิปต์มีความเจริญทางด้านการแพทย์ดังนี้
1. ริเริ่มการตรวจและรักษาโรคโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งได้แยกผู้เชียวชาญออกเป็นจักษุแพทย์ ทันตแพทย์ และศัลยแพทย์
2. มีการค้นพบว่าหัวใจคือศูนย์กลางการหมุนเวียนของโลหิต
3. ริเริ่มการจำแนกยาชนิดต่าง ๆ ตามอาการของโรคที่ปรากฏ
4. ใช้ด่างทับทิมในการรักษาบาดแผล และใช้น้ำเกลือเพื่อป้องกันการอักเสบ
5. มีการทำน้ำยารักษาศพเพื่อป้องกันการเน่าเปื่อย
22. กลุ่มชนชาวกรีกกลุ่มใดมีอิทธิพลสามารถเรียกร้องและต้องการมีส่วนร่วมการปกครอง จนทำให้เกิดการปฏิรูปการเมืองขึ้น
1. ทหารม้า 2. พ่อค้า 3. ทหารราบและฝีพาย 4. สามัญชน
ตอบ 2 หน้า 116, 40 (H), (คำบรรยาย) ในตอนปลายยุคขุนนางของกรีกนั้น กองทหารราบเริ่มมีความสำคัญขึ้นมาแทนที่กองทหารม้าของพวกขุนนาง และพวกขุนนางก็เริ่มทะเลาะกันเองประกอบกับประชาชนจำนวนมากไม่พอใจการปกครองของเหล่าขุนนาง ทำให้พ่อค้าที่มั่งคั่งสามารถจ้างทหารของตนเข้ายึดอำนาจจากพวกขุนนางได้สำเร็จ ซึ่งกลุ่มพ่อค้าเหล่านี้ถือเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลสามารถเรียกร้องและต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครอง จนเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการปฏิรูปการเมืองขึ้นในเวลาต่อมา
23. Acropolis แตกต่างจาก Polis ในด้านใด
1. ด้านการเป็นนครแห่งเทวดาซ้อนอยู่ภายในนคร 2. ด้านการเป็นเมืองบนที่สูงภายในนคร
3. ด้านการเป็นเมืองบริวารของนคร 4. ด้านการเป็นเมืองทหารอยู่ภายในนคร
ตอบ 2 หน้า 110, 38 (H) คำว่า “นครรัฐ” (City-State) จะตรงกับภาษากรีกว่า “Polis” ซึ่งมีความหมายถึง ป้อม ค่าย หรือที่ปลอดภัยจากศัตรู โดยแต่ละนครรัฐของกรีกจะมีสภาพแตกต่างกันออกไป แต่ที่มีอยู่เหมือนกันคือ 1. มีขนาดเล็ก 2. มีประชากรไม่มาก 3. บริเวณที่ปลอดภัยที่สุดคือ Acropolis ซึ่งแปลว่าส่วนที่สูงที่สุดของนครรัฐหรือการเป็นเมืองบนที่สูงภายในนครรัฐ 4. มีตลาดซึ่งเป็นสถานที่ที่มาพบปะและประชุมกัน
24. นวัตกรรมทางการทหารกรีกที่ขึ้นชื่อคืออะไร
1. การจัดหน่วยรถศึกเบา 2. การจัดทัพรวมเหล่า
3. การจัดขบวนรบฟาแลนซ์ 4. การจัดกองทัพประจำการ
ตอบ 3 หน้า 144, (คำบรรยาย) ฟาแลนซ์ (Phalanx) คือ การจัดขบวนรบกองทัพของกรีกแบบเรียงแถวหน้ากระดาน ซึ่งเดิมจะมีแค่ 2 แถว จากนั้นก็พัฒนามาเป็น 4 แถว และ 8 แถวตามลำดับ โดยให้แถวที่ 1 ถืออาวุธสั้น และแถวต่อมาถืออาวุธยาวตามลำดับ ซึ่งสาเหตุที่กรีกต้องจัดขบวนรบแบบนี้ก็เพราะทหารราบหุ้มเกราะ (Hoplite) ที่เป็นหน่วยรบหลักต้องถืออาวุธและโล่ที่มีน้ำหนักมาก ทำให้เคลื่อนที่ได้ช้า จึงจำเป็นต้อองใช้วิธีการจัดขบวนรบแบบฟาแลนซ์เพื่อให้กองทัพเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้นและมีอิสระสิทธิภาพมากขึ้นตามลำดับ
25. ข้อใดแสดงความหมายประชาธิปไตยแบบเอเธนส์
1. การปกครองที่ชนทุกหมู่เหล่ามีสิทธิ์รวมการปกครอง
2. การปกครองที่ประสานระบอบราชาธิปไตยเข้ากับประชาธิปไตย
3. การปกครองที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนทุกชนชั้น
4. การปกครองที่พลเมืองชายชั้นสูงมีอำนาจทางการเมือง
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 9. ประกอบ
26. แรงงานหลักในระบบแมเนอร์คือแรงงานประเภทใด
1. ช่างฝีมือ 2. พ่อค้า 3. ทาสติดที่ดิน 4. ทาส
ตอบ 3 หน้า 233 – 234, 66 (H), (คำบรรยาย) ระบบแมเนอร์ (Memorialise) เป็นระบบเศรษฐกิจหมู่บ้านแบบพึ่งตนเองที่เกิดขึ้นพร้อมกับการปกครองแบบฟิวดัล เนื่องจากขาดแคลนที่ดินสมบูรณ์จึงทำให้เกิดความคิดเรื่องการปลูกพืชหมุนเวียน โดยมีการแบ่งที่ดินเป็นเขต เขตที่หนึ่งจะแบ่งให้กับทาสติดที่ดิน (Serfs) ซึ่งเป็นแรงงานหลักในการทำการเกษตร ส่วนที่สองจะถูกแบ่งให้ลอร์ด (Lord) เจ้าของแมเนอร์ และส่วนที่สามจะถูกปล่อยให้ว่างไว้
27. ในยุคสมัยที่รุ่งเรืองในยุคกลาง ศูนย์กลางการค้าอยู่ตามสถานที่ใด
1. สถานีการค้า 2. หมู่บ้าน 3. น่านน้ำ 4. แวดล้อมคฤหาสน์
ตอบ 3 หน้า 307, (คำบรรยาย) ในสมัยที่รุ่งเรืองในยุคกลาง เส้นทางการค้าในทะเลเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นน่านน้ำจึงกลายเป็นปัจจัยหลักของการพัฒนาเศรษฐกิจและการเมือง จึงทำให้เกิดศูนย์กลางการค้าขึ้นรอบ ๆ น่านน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งมีพ่อค้าสำคัญคือชาวเวนิสและเจนัวนำสินค้าจากตะวันออกมายังอิตาลี ทางใต้ของฝรั่งเศส ต่อไปถึงชายฝั่งนครบริเวณฟลานเดอร์แล้วจึงขยายเข้าไปในอังกฤษและยุโรปภาคเหนือโดยทางเรือ
28. สมาคมพ่อค้าที่ขึ้นชื่อที่สุดในยุคกลางคือสมาคมชื่ออะไร อยู่ในดินแดนใด
1. Delian League ในกรีช
2. East Asiatic Cooperation ในฮอลันดา
3. Merchants’ Association ในอังกฤษ
4. Hanseatic League ในเยอรมนี
ตอบ 4 หน้า 289, 307, 341 สมาคมพ่อค้าที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคกลาง คือ สันนิบาตฮันซีอาติก (Hanseatic League) เป็นการรวมตัวของสมาคมพ่อค้าของบรรดาเมืองต่าง ๆ ทางภาคเหนือของเยอรมนี ซึ่งก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการค้าทางทะเลเหนือและทะเลบอลติกโดยมีผู้นำคือ Lubeck, Hamburg และ Bremen
29. ภารกิจหลักของคริสตจักรได้แก่อะไร
1. การเผยแผ่ศาสนาแก่อนารยชน
2. การพิพากษาคดีธรรมคดีโลก
3. การทำให้อนารยชนเป็นผู้เจริญ
4. ถูกข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 หน้า 208, 242, 59 (H), (คำบรรยาย) ศาสนาคริสต์หรือคริสตจักรเป็นสถาบันสำคัญในสมัยกลางที่มีส่วนในการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั้งนี้เพราะเป็นศาสนาที่มีอิทธิพลเหนือสังคมและความเชื่อของผู้คนในสมัยนั้น ซึ่งมีภารกิจหลักคือ การเผยแผ่ศาสนาแก่อนารยชนและทำให้อนารยชนเป็นผู้เจริญโดยพระหรือนักบวชเป็นกลุ่มเดียวที่รู้หนังสือในสังคมทำหน้าที่เป็นผู้นำทางความคิดและเผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้คน รวมทั้งเป็นผู้เก็บเอกสารต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยกรีกโรมัน เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียน มหาวิทยาลัย และเป็นผู้ทำการสอนที่รอบรู้และตอบปัญหาได้สารพัด
30. เหตุใดผู้คนในยุคกลางจึงเรียนรู้สรรพสิ่งจากพระ
1. เพราะพระเป็นกลุ่มเดียวที่รู้หนังสือในสังคม
2. เพราะพระเป็นกลุ่มเดียวที่บวชเรียน
3. เพราะพระเป็นกลุ่มเดียวที่ประพฤติธรรม
4. เพราะพระเป็นกลุ่มเดียวที่ผูกขาดศิลปวิทยาการ
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 29. ประกอบ
31. ข้อใดแสดงความเจริญก้าวหน้าทางดาราศาสตร์อาหรับ
1. การค้นพบทฤษฎีสุริยจักรวาล
2. การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้สังเกตและคำนวณตำแหน่งของดวงดาว
3. การสร้างกล้องโทรทัศนศึกษาการโคจรขางดาวเคราะห์
4. การค้นพบวิธีการคำนวณระยะใกล้ไกลของดวงดาว
ตอบ 2 หน้า 258 – 259, 71 (H), (คำบรรยาย) อารยธรรมอาหรับหรือมอสเล็มในยุคกลางที่สำคัญ คือ
1. ด้านคณิตศาสตร์ คือ การใช้เลขศูนย์และระบบทศนิยม รวมทั้งการพัฒนาวิชาพีชคณิต เรขาคณิตและตรีโกณมิติ
2. ด้านการแพทย์ คือ ประดิษฐ์ยาช่วยระงับความเจ็บปวด และริเริ่มการผ่าตัดตา
3. ด้านดาราศาสตร์ คือ การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้สังเกตและคำนวณตำแหน่งของดวงดาว การคำนวณระยะทางตามปีสุริยคติ และการเกิดอุปราคา ฯลฯ
32. หัวใจของระบอบศักดินาสวามิภักดิ์คือความสัมพันธ์โดยมีเงื่อนไขระหว่างชนชั้นใด
1. ชนชั้นสูงกับชนชั้นต่ำ 2. ขุนนางกับพ่อค้า
3. ขุนนางกับเจ้านายและพ่อค้า 4. เจ้าเหนือหัวกับบริวาร
ตอบ 4 หน้า 223 – 224, 65 (H), (คำบรรยาย) ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์หรือระบอบฟิวดัล(Feudalism Feudal) มีหัวใจสำคัญ คือ เป็นระบบความสัมพันธ์โดยมีเงื่อนไขระหว่างเจ้าเหนือหัว (Lord) หรือผู้มีที่ดินจำนวนมากกับบริวารหรือข้า (Vassal) หรือผู้ใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยมี ที่ดิน (Fiefs/Feuda) เป็นพันธกิจแห่งความผูกพันและภาระหน้าที่ที่มีต่อกันนอกจากนี้ยังเป็นระบบการเมือง การปกครองในยุคกลางที่ขุนนางท้องถิ่นมีอำนาจอย่างแท้จริงเพราะพวกเสรีชนได้มอบที่ดินให้แก่ขุนนางเพื่อขอความคุ้มครองแทนการขอความคุ้มครองจากกษัตริย์ซึ่งอ่อนแอและมีฐานะเป็นเพียงหุ่นเชิดเท่านั้น
33. ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์เป็นระบบการเมืองที่มีเงื่องไขชัดเจนอะไร
1. เจ้ากับข้าต้องมีพันธกิจต่อกัน 2. เจ้ากับข้าผลัดกันครองเมือง
3. การแบ่งแผ่นดินเสมอกัน 4. การสาบานจงรักภักดีต่อกัน
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 32. ประกอบ
34. ระบอบการปกครองแบบใดในยุคกลางที่กษัตริย์ทรงเป็นแต่เพียงหุ่นเชิด
1. ระบอบราชาธิปไตย 2. ระบอบประชาธิปไตย
3. ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ 4. ระบอบทรราชย์
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 32. ประกอบ
35. ในระบอบจักรพรรดิราชย์โรมัน จักรพรรดิทรงอ้างหลักการใดในการใช้พระราชอำนาจอย่างชอบธรรม
1. หลักการอำนาจเป็นของปวงชน 2. หลักการของทหารร่วมการปกครอง
3. หลักการว่าด้วยจักรพรรดิทรงเป็นเทพ
4. หลักการว่าจักรพรรดิทรงได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน
ตอบ 3 หน้า 169 – 170, (คำบรรยาย) ในสมัยของออกุสตุสที่ 1 ซึ่งเป็นสมัยที่เริ่มต้นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือจักรพรรดิราชย์ของจักรวรรดิโรมันนั้น ถือเป็นยุคที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “Roman’s Golden Age” (ยุคทองของโรมัน) และยังเป็นยุคที่จักรพรรดิโรมันมีอำนาจปกครองอย่างแท้จริงในฐานะของเทพเจ้า คือ จักรพรรดิทรงเป็นเทวราช ซึ่งปกครองจักรวรรดิ โดยรับผิดชอบต่อทวยเทพ แต่ไม่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชน นอกจากนี้จักรพรรดิยังมีสิทธิเลือกรัชทายาทด้วยพระองค์เองอีกด้วย
36. Lecion เป็นหน่วยรบแบบใด
1. กองทัพเกณฑ์ 2. กองทัพอาสาสมัคร 3. กองทัพเฉพาะกิจ 4. กองทัพอาชีพ
ตอบ 4 หน้า 155, 173 – 174 (คำบรรยาย) ในระหว่างศตวรรษที่ 4 B.C. กองทัพโรมันได้เลิกการใช้หอกยาวและการรบแบบทหารฟาแลนซ์ของกรีกมาเป็นกองทหารลีเจียน (Legion) ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของกองทัพโดยมีหน่วยรบเป็นแบบกองทัพอาชีพหรือกองทัพประจำประมาณ 3,600 คนประกอบขึ้นเป็นหน่วยรบที่สำคัญ คือ ทหารราบและทหารม้า ซึ่งส่งผลให้โรมันมีการจัดทัพที่เป็นระเบียบและทำให้โรมกลายเป็นเจ้าครอบครองจักรวรรดิอันไพศาล
37. เหตุใดจักรวรรดิโรมันจึงถือว่าศาสนาคริสต์เป็นลัทธิอุบาทว์
1. เพราะสอนให้นับถือพระเป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว
2. เพราะชาวคริสต์จัดตั้งเป็นสมาคมชมรม
3. เพราะมีความเคลื่อนไหวก่อการร้าย 4. เพราะมีลัทธิพิธีบูชาไฟ
ตอบ 1 หน้า 184 (คำบรรยาย) สาเหตุที่จักรวรรดิโรมันถือว่าศาสนาคริสต์เป็นลัทธิอุบาทว์และมีการปราบปรามอย่างมากมายนั้น เนื่องจาก
1. ผู้ที่เลื่อมใสศาสนาคริสต์มีการชุมนุมกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งโรมันถือว่าเป็นการเข้าข่ายซ่องสุมกำลังคนที่จะล้มอำนาจรัฐ
2. ศาสนาคริสต์สอนให้มนุษย์มีหน้าที่ต่อพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งขัดต่อหน้าที่ของโรมันที่ทุกคนต้องมีหน้าต่อรัฐ
3. ศาสนาคริสต์สอนให้นับถือพระผู้เป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว ซึ่งขัดต่อคติของโรมันที่ให้เคารพสักการะจักรพรรดิและถือว่าเป็นอธิปไตยสูงสุดที่ปรากฏในร่างของมนุษย์
38. วิถีชีวิตโรมัน เป็นวิถีชีวิตที่ดำเนินไปในชุมชนแบบใด
1. ในหมู่บ้าน
2. ในเมือง
3. ในชนบท
4. ชุมชนแวดล้อมปราสาท
ตอบ 2 หน้า 177 วิถีชีวิตของชาวโรมันเป็นวิถีชีวิตที่ดำเนินไปในเมืองเป็นหลักและเน้นการมีกิจกรรมร่วมกันในที่สาธารณะ กล่าวคือ ชาวโรมันนิยมอาบน้ำสาธารณะและการกีฬา ซึ่งกีฬาที่นิยมกันมากได้แก่การแข่งรถศึกที่ Circus Maximus และการต่อสู้แบบรุนแรงป่าเถื่อนระหว่างคนกับคน และคนกับสัตว์แบบกลาดิเอเตอร์ (Gladiator) ซึ่งจากการที่ชาวโรมันได้เล่นกีฬาและมีการบันเทิงเริงรมย์ร่วมกันก็ได้ส่งผลให้ชาวโรมันมีความรู้สึกแตกต่างหรือเหลื่อมล้ำต่ำสูงทางชนชั้นน้อยมาก
39. ถนนโรมันมีลักษณะใดโดดเด่น
1. ถนนคอนกรีตมีหลายชั้น
2. ถนนโค้งเป็นหลังเต่า มีรางระบายน้ำสองข้าง
3. ถนนคอนกรีตฝังท่อระบายน้ำ
4. ถนนคอนกรีตมีวงกลมทุกสี่แยก
ตอบ 2 หน้า 176 (คำบรรยาย) แบบอย่างการสร้างถนนโรมันนั้นจะเขียนแบบมาจากกรีกแต่ถนนโรมันจะ มีลักษณะโดดเด่น คือ จะทำถนนโค้งเป็นหลังเต่า มีรางระบายน้ำอยู่สองข้างถนน ก่อขอบด้วยอิฐและเทคอนกรีตโรมันลงไป ซึ่งระบบก่อสร้างแบบรูปโค้งนี้ต่อมาก็ได้พัฒนานำไปสร้างสะพานส่งน้ำขึ้น เพื่อส่งน้ำไปยังนครต่าง ๆ ของโรมัน
40. ข้อใดแสดงว่าอาณาจักรมีอำนาจเหนือศาสนจักรในจักรวรรดิไบแซนไทน์
1. ระบอบ Caesaropapism
2. ระบอบ Principate
3. ระบอบ lmperator
4. ระบอบ Augustus
ตอบ 1 (HI 103 เลขพิมพ์ 46197 หน้า 218, 222) ประมุขของอาณาจักรโรมันตะวันออกหรือไบแซนไทน์จะปกครองประเทศด้วยความเข้มแข็งตามแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ถือว่าจักรพรรดิเป็นตัวแทนของพระเจ้า กล่าวคือ จักรพรรดิทรงมีอำนาจเหนือการปกครองทั้งอาณาจักรและศาสนจักรหรือเป็นผู้ใหญ่ทั้งทางโลกและทางธรรมตามระบอบที่เรียกว่า “Caesaropapism” ซึ่งมาจากคำว่า Caesar กับPope หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ จักรพรรดิทรงมีสถานภาพเป็นทั้งกษัตริย์และประมุขทางศาสนา ซึ่งแสดงว่าอาณาจักรมีอิทธิพลและอำนาจเหนือศาสนจักร
41. ประมวลกฎหมายจัสติเนียนเป็นประมวลกฎหมายที่พัฒนาปรับปรุงมาจากกฎหมายใด
1. กฎหมายโรมัน
2. กฎหมายคอนสแตนติน
3. กฎหมายฮัมมูราบี
4. กฎหมายบาบิโลน
ตอบ 1 หน้า 253, 70 (H), (คำบรรยาย) ประมวลกฎหมายจัสติเนียน เป็นประมวลกฎหมายที่พัฒนาปรับปรุงมาจากกฎหมายโรมัน ซึ่งเริ่มตั้งแต่กฎหมาย 12 โต๊ะและกฎหมายอื่นอีกที่กระจัดกระจายยากแก่การแก้ไข จึงได้นำมาปรับปรุงและรวบรวมตัวบทกฎหมายใหม่โดยประมวลกฎหมายจัสติเนียนประกาศใช้เมื่อ ค.ศ. 529 และถือเป็นประมวลกฎหมายแพ่งมีทั้งหมด 4 ภาค คือ
1. ตัวบทกฎหมายแท้ ๆ
2. ภาคผนวกของตัวบทกฎหมาย
3. ความเห็นทางกฎหมายของนักนิติศาสตร์
4. ตำรากฎหมายของนักศึกษา
42. สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์มีอิทธิพลแบบตะวันออกโดยดูจากรูปแบบใด
1. หลังคาแหลมโค้ง อาคารเพรียว 2. หลังคาโดม นิยมประดับแก้ว
3. อาคารเหลี่ยม นิยมมีระเบียงรอบ 4. มีอาคารทรงกลมติดอยู่กับอาคารทรงเหลี่ยม
ตอบ 2 หน้า 253 รูปแบบสถาปัตยกรรมของไบแซนไทน์นั้นจะมีลักษณะผสมผสานหลายรูปแบบโดยโบสถ์ที่สวยงามมาก คือ โบสถ์เซนต์โซเฟีย ซึ่งสร้างในสมัยจักรพรรดิจัสติเนียน นับได้ว่าเป็นตัว อย่างอันดีของการผสมผสานระหว่างศิลปะภาคตะวันออก คือ หลังคาโดม และนิยมประดับประดาด้วยแก้ว บวกกับศิลปะภาคตะวันตก คือ ศิลปะโรมันแบบอาคารเหลี่ยมพร้อมกับการตกแต่งด้วยหินอ่อนและโมเสก นอกจากนี้ทรวดทรงภายนอกก็ยังงดงามตามศิลปะกรีกด้วย
43. ชาวไร่ชาวนาในยุคกลางเพาะปลูกพืชหมุนเวียน โดยใช้ระบบอะไรในการใช้ที่ดิน
1. ระบบนาสาม 2. ระบบล้อมรั้ว 3. ระบบนาเปิด 4. ระบบนาเลื่อนลอย
ตอบ 1 หน้า 236, 66 (H), (คำบรรยาย) การเกษตรในระบอบฟิวดัลของยุคกลาง จะใช้ระบบนาสาม (Three Fields System) คือ การแบ่งที่ดินเป็น 3 แปลง แต่มีการเพาะปลูกพืชหมุนเวียนเพียงคราวละ 2 แปลงส่วนอีกแปลงหนึ่งพักว่างให้ที่ดินฟื้นตัว ครั้นฤดูกาลต่อมาจึงใช้ที่ดินว่างฝืนนั้นแล้วปล่อยแปลงอื่นให้ว่างแทน ทำสลับกันเช่นนี้ทุกปีเพื่ออนุรักษ์ดินและเพิ่มผลผลิต
44. ทาสประเภทใดที่นายทาสจะเอาไปซื้อขายไม่ได้
1. ทาสเชลย 2. ทาส 3. ทาสติดที่ดิน 4. ทาสมรดก
ตอบ 3 หน้า 228 (คำบรรยาย) ในสังคมยุคกลางถือว่าทาสเป็นอวิญญาณทรัพย์ คือ สามารถซื้อขายและยกเป็นมรดกตกทอดได้ ซึ่งต่างไปจากทาสติดที่ติน (Serfs) ที่เป็นชนชั้นพื้นฐานล่างสุดของสังคมเพราะทาสชนิดนี้จะไม่มีอิสรภาพ ซื้อขายไม่ได้ และเมื่อมีการเปลี่ยนเจ้าของทาสติดที่ดินก็ยังคงอาศัยอยู่ที่เดิมโดยที่เจ้า (Lord) ไม่สามารถขับไล่ออกไปได้
45. ข้อใดแสดงบทบาทอาณาจักรมิให้ศาสนจักรปกครองตนเอง
1. การออกฎหมายปกครองศาสนจักร 2. การเกณฑ์พระเป็นทหาร
3. รัฐแทรกแซงและบังคับบัญชาพระ 4. การตั้งศาลศาสนา
ตอบ 3 หน้า 260 – 261, (คำบรรยาย) ในยุคกลางอันรุ่งเรืองได้เกิดการแข่งขันกันระหว่างอาณาจักรกับศาสนจักร ซึ่งความขัดแย้งส่วนใหญ่มักจะมาจากทางฝั่งอาณาจักรที่ไม่ต้องการให้ศาสนจักรได้ปกครองตนเอง ดังนั้นรัฐจึงพยายามแทรกแซงและบังคับบัญชาพระทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การใช้อิทธิพลและอำนาจเข้าไปแทรกแซงการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญของคริสตจักรทั้งนี้เพราะอาณาจักรถือว่าศาสนจักรเป็นเพียงฐานสนับสนุนอำนาจของกษัตริย์ และกษัตริย์จะต้องเป็นผู้แต่งตั้งทุกตำแหน่งในศาสนจักร
46. เมื่อสิ้นยุคกลาง อาวุธอะไรที่มีพลานุภาพจนสามารถเป็นพลังอำนาจแห่งชาติได้
1. ปืนใหญ่ 2. ปืนคาร์ไบน์ 3. ระเบิดดาวกระจาย 4. ทุ่นระเบิด
ตอบ 1 (HI 103 เลขพิมพ์ 46197 หน้า 460 – 461) เมื่อสิ้นยุคกลาง อำนาจของกษัตริย์แห่งรัฐชาติเจริญมั่นคงขึ้นแทนที่อำนาจของศาสนจักรและขุนนางในระบอบฟิวดัลทีเสื่อมลง โดยปัจจัยที่ส่งเสริมอำนาจของกษัตริย์ก็คือ การปฏิวัติเทคโนโลยีทางการทหาร เมื่อมีการประดิษฐ์ปืนใหญ่ขึ้นใช้ ซึ่งถือเป็นอาวุธที่มีพลานุภาพจนสามารถเป็นพลังอำนาจแห่งชาติได้ โดยชาติใดที่ครอบครองปืนใหญ่มากก็จะทำให้ชาตินั้นกลายเป็นมหาอำนาจได้
47. ออตโตมัน เตอร์ก สามารถควบคุมเส้นทางการค้าทางทะเลระหว่างโลกตะวันตกกับโลกตะวันออกไว้ได้ด้วยเหตุใด
1. เพราะเป็นใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน 2. เพราะพิชิตอิตาลีซึ่งเป็นศูนย์การค้า
3. มีวิทยาการการค้าและธุรกิจเหนือกว่าชาวยุโรป
4. เพราะเชี่ยวชาญการเดินเรือค้าขายมากที่สุด
ตอบ 1 หน้า 256, (คำบรรยาย) ในยุคกลางหลังจากที่กลุ่มมุสลิมออโตมัน เตอร์ก สามารถยึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1453 แล้ว ก็ได้รุกรานต่อไปยังเอเชียตะวันออกจนกลายเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลเป็นใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และสามารถควบคุมเส้นทางการค้าทางทะเลระหว่างโลกตะวันออกกับโลกตะวันตกไว้ได้ทั้งหมด ส่งผลให้ชาวยุโรปต้องแสวงหาดินแดนใหม่ เพื่อขยายเส้นทางการค้าสู่ตะวันออกอีกครั้งหนึ่ง
48. เมื่อยุโรปมีการพัฒนาก่อเกิดประเทศชาติขึ้นในตอนกลางของยุคกลาง ทั้งอาณาจักรและศาสนจักรส่งเสริมการศึกษาด้วยจุดประสงค์ใด
1. ต้องการนักบริหารทรงคุณวุฒิ 2. ต้องการให้ประชาชนมีความรู้
3. ต้องการให้ประชาชนเรียนรู้หนังสือ 4. ต้องการเผยแผ่ศาสนาโดยสื่อการศึกษา
ตอบ 1 (คำบรรยาย) ในตอนกลางของยุคกลาง เมื่อยุโรปมีการพัฒนาก่อเกิดประเทศชาติขึ้นนั้นทั้งฝ่ายอาณาจักรคือ กษัตริย์และขุนนาง และฝ่ายศาสนจักรคือ พระหรือนักบวช ได้ส่งเสริมการศึกษาโดยมีการสนับสนุนให้จัดตั้งสถาบันการศึกษาทุกระดับจนกระทั่งถึงระดับมหาวิทยาลัย เพราะต้องการนักบริหารที่ทรงคุณวุฒิและมีการศึกษาสูงเข้ามาทำงานในระบบราชการ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วผู้ที่จัดตั้งสถาบันการศึกษาก็ได้แก่ วัด สมาคมชมรม และสมาคมอาชีพ เป็นต้น
49. เหตุใดมหาวิหาร (Cathedrals) ส่วนใหญ่จึงมีรูปแบบสถาปัตยกรรมหลายแบบซ้อนอยู่
1. เพราะสร้างหลายยุคสมัยต่อเนื่องกันมา 2. เพราะผู้สร้างต้องการให้ยุคต่อมาสานต่อ
3. สร้างหลายครั้งเพราะมีงานก่อสร้างไม่พอ 4. เพราะผู้สร้างมีรสนิยมเหมือนกันจึงมีหลายแบบ
ตอบ 1 (คำบรรยาย) ในตอนปลายของยุคกลางนั้น บรรดานครต่าง ๆ มักจะนิยมแข่งกันสร้างมหาวิหาร (Cathedrals) ให้ใหญ่ที่สุด สวยที่สุด และสูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อแสดงความมั่งคั่งและวัฒนธรรมอันสูงส่งของแต่ละนครนั้น ๆ ทั้งนี้มหาวิหารส่วนใหญ่ไม่ได้สร้างเสร็จภายในคราวเดียว แต่จะสร้างหลายยุคหลายสมัยต่อเนื่องกันมา จึงทำให้มหาวิหารมีรูปแบบสถาปัตยกรรมหลายแบบซ้อนกันอยู่
50. การสร้างอาคารด้วยหิน มีขนาดใหญ่หนาหนัก มีหน้าต่างเล็ก ๆ นั้น เป็นความนินมรูปแบบ สถาปัตยกรรมใดของยุคกลาง
1. Gothic 2. Neo-Classic 3. Romanesque 4. Baroque
ตอบ 3 หน้า 313, 326 – 327 ศิลปะโรมาเนสก์ (Romanesque) เป็นสถาปัตยกรรมยุคกลางในสมัยที่มนุษย์ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพระ โดยมีลักษณะเด่น คือ มีเพดานและหลังคาหินโค้งเหมือนประทุนเกวียนและโดมเป็นหัวใจในการก่อสร้าง ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากไบแซนไทน์และโรมัน นอกจากนี้วิหารและโบสถ์ยังมีขนาดใหญ่หนาทึบและคงทน มีสิ่งก่อสร้างด้วยหินโค้งกลม เสาและกำแพงหนาหนัก มีหน้าต่างเล็ก ๆ ทำให้ภายในวิหารค่อนข้างมืดจนดูเหมือนอยู่ในป้อมปราการมากกว่า
51. ในยุคกลางมีความนิยมแบบแผนการศึกษาใดที่ขึ้นชื่อโดดเด่น
1. Neo-Classicism และ Realism
2. Platoism และ Sophistism
3. Scholasticism และ Skepticism
4. Sur-Realism และ Skepticism
ตอบ 3 หน้า 310 – 311, 326 (คำบรรยาย) แบบแผนการศึกษา ในยุคกลางที่ได้รับความนิยมขึ้นชื่อโดดเด่นมี 2 ปรัชญา คือ
1. สกอลัสติก (Scholasticism) เป็นปรัชญาที่ไม่ส่งเสริมการคิดค้นหรือการทดลองใหม่แต่จะเน้นการเลียนแบบหรือว่าตามครูไปทุกๆ อย่าง รวมทั้งเริ่มมีการอ่านหนังสือของพวกนอกศาสนา เช่น อริสโตเติล ซึ่งช่วยสร้างความคิดเฉียบคม โดยการใช้หลักเหตุผลเชิงตรรกศาสตร์
2. สเคปติซิสม์ (Skepticism) เป็นปรัชญาที่สอนไม่ให้เชื่อสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้ แต่จะเน้นการศึกษาด้วยวิธีการซักถาม ซึ่งทำให้มนุษย์มีโอกาสคิดและแสดงออกอย่างเสรี
52. การพัฒนากฎหมาย การศาล และการคลัง เป็นการพัฒนาในปลายยุคกลางเพื่อการปกครองแบบใด
1. ระบอบราชาธิปไตย
2. ระบอบประชาธิปไตย
3. ระบอบสาธารณรัฐ
4. ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์
ตอบ 1 หน้า 293, (คำบรรยาย) ในปลายยุคกลางระบอบกษัตริย์แบบฟิวดัลล่มสลายไป ทำให้กษัตริย์เพิ่มพระราชอำนาจขึ้นมาใหม่และสามารถสถาปนารัฐชาติ (Nation States) ขึ้นมาได้ จึงมีการพัฒนาไปสู่การปกครองระบอบราชาธิปไตย ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่รวมอำนาจอยู่ที่ศูนย์กลาง โดยมีการจัดตั้งระบบราชการขึ้นมา และเน้นความสำคัญของการพัฒนากฎหมาย การศาล และการคลังซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของประเทศชาติ
53. ที่ว่าจักรพรรดิชาร์เลอมาญทรงมีเทวสิทธิ์ปกครองจักรวรรดินั้นหมายความว่าอะไร
1. จักรพรรดิทรงเป็นเทวราช
2. พระเป็นเจ้าเห็นชอบโปรดให้จักรพรรดิปกครอง
3. จักรพรรดิทรงอวตารมาจากพระเป็นเจ้า
4. สมเด็จพระสันตะปาปาทรงแต่งตั้งจักรพรรดิ
ตอบ 4 หน้า 218 – 220, 319 – 320, 63 (H) ชาร์เลอมาญ (Charlemagne) เป็นกษัตริย์ที่ทรงอานุภาพมากที่สุดของราชวงค์คาโรแลงเจียน และถือว่าทรงมีเทวสิทธิ์ปกครองจักรวรรดิทั้งนี้เพราะพระองค์ได้รับการสวมมงกุฎจากสันตะปาปาลีโอที่ 3 เพื่อสถาปนาให้ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งราชอาณาจักรโรมันอันศักดิสิทธิ์ (The Holy Roman Empire) ในปี ค.ศ. 800 ทั้งนี้ผลงานที่สำคัญของพระองค์คือ สามารถรวบรวมยุโรปตะวันตกให้เป็นปึกแผ่นได้สำเร็จ ทรงส่งเสริมการศึกษา กำหนดรูปแบบการใช้เงินเหรียญ และกำหนดมาตราวัด
54. เหตุการณ์ใดที่แสดงว่าอาณาจักรสามารถบังคับบัญชาศาสนจักรได้ในปลายยุคกลาง
1. จักรพรรดิเฮนรี่ที่ 4 เข้าเฝ้าพระสันตะปาปา
2. สมเด็จพระสันตะปาปาถวายพระมหามงกุฎแด่จักรพรรดิในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
3. สมเด็จพระสันตะปาปาหลายองค์ประทับที่เมืองอาวิญยอง
4. สมเด็จพระสันตะปาปาทรงแต่งตั้งกษัตริย์
ตอบ 3หน้า 300 – 303, 80 (H) สมัยการคุมขังแห่งบาบิโลเนียในตอนปลายยุคกลาง (Babylonian Captivity ค.ศ. 1305 – 1377) เป็นสมัยที่มีการเปรียบเทียบสันตะปาปาว่าเป็นเหมือนกับพวกยิวที่ถูกกวาดต้อนไปอยู่ที่กรุงบาบิโลนในยุคโบราณ เนื่องจากสันตะปาปาได้ย้ายที่ประทับจากกรุงโรมในอิตาลีมาอยู่ที่เมืองอาวิญยองในฝรั่งเศส ทำให้สันตะปาปาชาวฝรั่งเศสองค์ต่อ ๆ มาก็พำนักอยู่ในฝรั่งเศสเป็นเวลานานถึง 70 ปี ซึ่งเหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นว่าอาณาจักรสามารถบังคับบัญชาศาสนจักรได้ ทำให้สันตะปาปาตกอยู่ภายใต้อำนาจของกษัตริย์ฝรั่งเศสที่มีสิทธิแต่งตั้งและถอดถอนสันตะปาปา จนทำให้สันตะปาปามิได้มีฐานะเป็นประมุขสากลอีกต่อไป
55. ประเทศใดในยุโรปในปลายยุคกลางที่ไม่มีองค์กรผู้แทนชนชั้นของทั้งประเทศ
1. สเปน
2. เยอรมนี
3. อังกฤษ
4. ฝรั่งเศส
ตอบ 4 (คำบรรยาย) ประเทศฝรั่งเศสในปลายยุคกลางจะไม่มีองค์กรผู้แทนชนชั้นของทั้งประเทศมีแต่องค์กรระดับมณฑลที่เรียกว่า สภาฐานันดร (Estates-General) ซึ่งมี 3 ระดับ คือ
1. พระ เป็นเจ้าเหนือหัวทางจิตวิญญาณ
2. ขุนนาง เป็นเจ้าเหนือหัวทางโลก
3. สามัญชน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวเมือง
56. เมื่อปิดฉากยุคกลาง ประเทศใดมีระบบรัฐสภาที่เข้มแข็งมีความหมายแท้จริง
1. สเปน
2. อังกฤษ
3. ฝรั่งเศส
4. เนเธอร์แลนด์
ตอบ 2 หน้า 275 – 278, 75 – 76 (H), (คำบรรยาย) เมื่อสิ้นยุคกลาง ระบบรัฐสภาของอังกฤษถือเป็นระบบองค์กรผู้แทนชนชั้นซึ่งมีความเข้มแข็งและมีความหมายแท้จริง โดยรัฐสภา (Parliament) ของอังกฤษประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาขุนนาง (House of Lords) และสภาสามัญชน (House of Commons) ทำหน้าที่พิจารณาเรื่องภาษี นิติบัญญัติ และการใช้พระราชอำนาจของกษัตริย์
57. องค์กรใดของฝรั่งเศสที่มีลักษณะเป็นองค์กรผู้แทนใกล้เคียงกับ Parliamet ของอังกฤษในปลายยุคกลาง
1. Parlements
2. Estates-General
3. Cortes
4. Diet
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 55. และ 56. ประกอบ
58. Magna Carta มีหลักการอะไรสำคัญยิ่ง
1. การปกครองโดยทุกชนชั้น
2. ทุกชนชั้นอยู่ใต้กฎหมาย
3. ความเสมอภาคและภราดรภาพ
4. การจัดตั้งศาลสูงสุด
ตอบ 2 หน้า 275, 75 (H), (คำบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1215 พระเจ้าจอห์นทรงถูกพวกขุนนางอังกฤษบังคับให้ลงนามในรัฐธรรมนูญแมกนา คาร์ตา (Magna Carta หรือ The Great Charter) ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของอังกฤษ โดยมีหลักการที่สำคัญยิ่ง คือ กำหนดให้ทุกชนชั้นต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย นอกจากนี้ยังลดอำนาจของกษัตริย์ ให้ศาลยุติธรรมทำหน้าที่ตัดสินคดีความของเสรีชน การจัดเก็บภาษีต้องทำด้วยความยุติธรรม และมีการกล่าวถึงตัวบทกฎหมายอีกด้วย ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองในระบอบรัฐสภาของอังกฤษ
59. แม้จะเป็นจักรวรรดิ แต่จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์มีระบบการปกครองแบบใดแท้จริง
1. ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์
2. ระบอบสาธารณรัฐ
3. ระบบทรราชย์
4. ระบอบราชาธิปไตย
ตอบ 4 (คำบรรยาย) ระบอบราชาธิปไตยในจักรวรรดิโรมันจะมี 3 รูปแบบ คือ
1. แบบจักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือไบแซนไทน์ ซึ่งเป็นระบอบที่จักรพรรดิทรงมีอำนาจเหนือการปกครองทั้งอาณาจักรและศาสนจักรที่เรียกว่า “Caesaropapism”
2. แบบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นระบอบที่ขุนนางมีอำนาจและมักจะประสานกับสันตะปาปาเป็นสำคัญ
3. ระบอบราชาธิปไตยแบบที่กษัตริย์นั้นแข่งขันอำนาจกับพวกขุนนางและพระ
60. ในยุคกลางมีชนชั้นใดบ้างที่มีบทบาทสำคัญโดดเด่น
1. พระและชาวนา
2. พ่อค้าและขุนนาง
3. นักบวชและขุนนาง
4. นักรบและชาวนา
ตอบ 3 หน้า 304 – 305, (คำบรรยาย) การแบ่งชนชั้นในยุคกลางนั้นจะเป็นการแบ่งตามบทบาทหน้าที่ในสังคม ซึ่งมีอยู่ 3 ชนชั้น คือ
1. พระหรือนักบวชเป็นชนชั้นสูงสุดในสังคม มีหน้าที่สำคัญในการสวดมนต์และประกอบพิธีกรรมทางศาสนาแก่ประชาชนทำให้พระกลายเป็นอภิสิทธิ์ชนที่ประชาชนต้องเสียภาษีให้และต้องปฏิบัติตามคำสั่ง
2. ขุนนาง เป็นอภิสิทธิ์ชน มีหน้าที่ร่างกฎหมายและระเบียบคุ้มครองผู้ที่อ่อนแอกว่า
3. สามัญชน เป็นพวกไร้อภิสิทธิ์มีหน้าที่ใช้แรงงานทั่วไป ซึ่งได้แก่ ชาวนา ชาวไร่ และช่างฝีมือ
61. อะไรคือลักษณะเด่นของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
1. การศึกษาศิลปะอียิปต์
2. วรรณกรรมวิจารณ์
3. การศึกษาศิลปวิทยาการกรีกและโรมัน
4. การศึกษาศิลปกรรมกรีกและโรมัน
ตอบ 3 หน้า 356-358, 92(H) การฟื้นฟูศิลปวิทยาการหรือเรอเนสซองส์ (Renaissance) คือการเกิดใหม่ของอารยธรรมคลาสสิกหรือเป็นการศึกษาศิลปวิทยาการกรีก-โรมันขึ้นมาใหม่ ซึ่งในทางโลกจะเน้นที่งานศิลป์ แต่ในส่วนของมนุษยนิยมจะเน้นที่งานวรรณกรรม ทั้งนี้การฟื้นฟูศิลปวิทยาการได้ก่อให้เกิดผลงานทั้งทางด้านศิลปะ การประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ และการกำเนิดวิทยาศาสตร์สมัยใหม่
62. ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ มีการเผยแพร่ศิลปวิทยาการโดยใช้อะไรเป็นสื่อสำคัญ
1. การพิมพ์ 2. การสอน 3. ถูกข้อ 1 และ 2 4. การบอกเล่า
ตอบ 1 หน้า 355 – 357, 372 – 375 ผลจากการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) ได้แก่ 1. เกิดวรรณคดีซึ่งให้ความสนใจในเรื่องมนุษยนิยม (Humanism) 2. เกิดการปกครองในระบอบราชาธิปไตย 3. เกิดการประดิษฐ์แท่นพิมพ์ ซึ่งเทคโนโลยีการพิมพ์นี้ทำให้มีการเผยแพร่ศิลปวิทยาการได้อย่างสะดวกรวดเร็วขึ้น 4.เกิดการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ 5.เกิดการปฏิรูปศาสนา ฯลฯ
63. ในศตวรรษที่ 17 เหตุใดวิทยาศาสตร์โดยทั่วไปจึงไม่ก้าวหน้า
1. ศาสนจักรขัดขวางการสอน 2. ขาดเครื่องมือที่จะสังเกตและคำนวณ
3. รัฐไม่สนับสนุนการวิจัย 4. ภาวะจลาจลทำให้ไม่สนใจวิทยาศาสตร์
ตอบ 2 หน้า 373, (คำบรรยาย) การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ (ระหว่างปี ค.ศ. 1500 – 1700) ที่เกิดขึ้นในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการนั้น แสดงให้เป็นว่าคนเริ่มมีความสนใจศึกษาหาความรู้เพิ่มมากขึ้นเพื่อพยายามที่จะเข้าใจธรรมชาติและค้นหากฎของธรรมชาติ แต่ทั้งนี้วิทยาศาสตร์ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการก็ยังไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร เพราะขาดเครื่องมือที่จะใช้ในการสังเกตและคำนวณ
64. ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 การพิสูจน์และการตั้งทฤษฎีมีวิธีการใดเป็นพื้นฐาน
1. การคำนวณ 2. การสืบค้นวิธีการพิเศษ 3. การตั้งข้อสมมุติฐาน 4. การทดลอง
ตอบ 3 หน้า 373, 395, 97 (H), (คำบรรยาย) การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ของยุโรปเริ่มต้นยุคใหม่นั้นเป็นการปฏิวัติที่อาศัยการสังเกต ประสบการณ์ และการทดลองเป็นเครื่องมือหลัก โดยวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาเริ่มต้นมาจากการตั้งข้อสมมุติฐานเป็นพื้นฐานก่อน แล้วจึงแสวงหาข้อมูลเพื่อที่จะทดลองและพิสูจน์ข้อสมมุติฐานนั้นเป็นจริงตามที่พิสูจน์ก็จะมีการตั้งขึ้นเป็นทฤษฎี และถ้าหากทฤษฎีเป็นที่ยอมรับมากขึ้นตามลำดับ ทฤษฎีนั้นก็จะกลายเป็นองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับ
65. การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นไปได้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 โดยอาศัยอะไร
1. วิทยาศาสตร์ 2. เทคโนโลยี 3. การค้า 4. ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 3 หน้า 343 – 344, (คำบรรยาย) การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นด้วยสาเหตุต่อเนื่องหลายประการคือ 1. การปฏิวัติทางการค้าได้ทำให้เกิดชนชั้นนายทุนที่แสวงหาผลกำไรมากขึ้นเรื่อย ๆ 2. ลัทธิพาณิชย์ชาตินิยมส่งเสริมให้มีการป้องกันอุตสาหกรรมขนาดเล็กและเพิ่มผลผลิตเพื่อส่งเป็นสินค้าออก 3. ตลาดต้องการสินค้าจำนวนมาก และสินค้าบางชนิดก็มีความจำเป็นมากขึ้น ซึ่งต่อมาก็ได้กลายเป็นแรงผลักดันให้มีการนำเอาเครื่องจักรมาใช้ในการผลิตสินค้าอย่างรวดเร็วและให้ได้ปริมาณมากขึ้น ฯลฯ
66. กำลังพลังงานใดที่ถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์แห่งยุควิทยาศาสตร์
1. ทองคำ 2. ถ่านหิน 3. เครื่องจักร 4. แก๊ส
ตอบ 4 (คำบรรยาย) ความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์ได้นำไปสู่การพัฒนากำลังและพลังงานที่สำคัญคือไฟฟ้า แก๊ส น้ำ น้ำมัน แล้วจึงได้พัฒนามาเป็นการใช้เครื่องจักรซึ่งถือเป็นสิ่งมหัศจรรย์แห่งยุค วิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะเครื่องจักรไอน้ำถือเป็นนวัตกรรมที่สำคัญอย่างยิ่ง จนอาจกล่าวได้ว่ายุโรปครองโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้เพราะเครื่องจักรไอน้ำมากกว่าอย่างอื่น
67. การปฏิวัติอุตสาหกรรมมุ่งเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำมาหากินแบบเดิมอะไร
1. เศรษฐกิจพอเพียง 2. การเกษตรเพื่อการค้า
3. ระบบศักดินาสวามิภักดิ์ 4. เศรษฐกิจการเกษตร
ตอบ 4 หน้า 494, 561 การปฏิวัติอุตสาหกรรม หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ จากสังคมเกษตรกรรมและการค้าแบบเก่ามาเป็นสังคมอุตสาหกรรมใหม่ที่ใช้เครื่องจักรกลแทนแรงงานคนและสัตว์ โดยมีการพัฒนารูปแบบของกำลังใหม่ ๆ คือ น้ำ ไอน้ำ ไฟฟ้า น้ำมัน และพลังงานปรมาณู นอกจากนี้ยังมีการผลิตสินค้าหลายประเภทเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีการอพยพจากชนบทเข้าสู่เมืองด้วย
68. ชนชั้นนายทุนและชนชั้นกรรมาชีพ ถือกำเนิดมาจากอะไร
1. สังคมยุคกลาง 2. การค้าขาย 3. ลัทธิทุนนิยมผูกขาด 4. โรงงาน
ตอบ 4 หน้า 494 – 495, 499, 124 (H), (คำบรรยาย) ระบบโรงงานอุตสาหกรรมได้ก่อให้เกิดชนชั้นใหม่ที่ทำให้ช่องว่างและความแตกต่างระหว่างชนชั้นมีมากขึ้น คือ 1. ชนชั้นนายทุน หรือชนชั้นกลางส่วนใหญ่เป็นผู้มีฐานะดี และเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตจึงเป็นผู้กุมอำนาจทางสังคม 2. ชนชั้น กรรมาชีพ หรือผู้ใช้แรงงาน เป็นชนชั้นที่ยากจน และจำเป็นต้องอาศัยค่าแรงงานเป็นเครื่องยังชีพจึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพวกนายทุน
69. ข้อใดแสดงว่าการเมืองการปกครองเดิมมีความเจริญทันสมัยในปลายยุคกลาง
1. มีระบบกงสุล องค์กรผู้แทนและการศาล 2. มีระบบทรราชย์ องค์กรผู้แทนและการศาล
3. มีระบอบราชาธิปไตย กองทัพและการศาล
4. มีระบบราชการ การศาล การจัดเก็บภาษี และการมีองค์กรผู้แทนประชาชน
ตอบ 4 (คำบรรยาย) ตั้งแต่ยุคกลางในปี ค.ศ. 1100 เป็นต้นมาจนถึงสมัยปลายยุคกลางนั้นสิ่งที่แสดงว่าการเมืองการปกครองในยุโรปเริ่มมีความเจริญและทันสมัย คือ การมีระบบราชการ มีระบบการศาลที่ มีการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจโดยการส่งผู้พิพากษาไปตรวจราชการ มีระบบการจัดเก็บภาษีและการมีองค์กรผู้แทนประชาชน
70. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติสุข ระเบียบแบบแผนและความมั่นคงปลอดภัย ชาวยุโรปในต้นยุคใหม่ต้องการ
ปกครองระบอบใด
1. ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ 2. ระบอบราชาธิปไตย
3. ระบอบทรราชย์ 4. ระบอบประชาธิปไตย
ตอบ 2 หน้า 332 – 335, 402, 105 (H), (คำบรรยาย) ชาวยุโรปในต้นยุคใหม่จะต้องการการปกครองในระบอบราชาธิปไตย ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง คือ กษัตริย์จะมีอำนาจสูงสุดและเด็ดขาด เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติสุข ระเบียบแบบแผนและความมั่นคงปลอดภัยโดยกษัตริย์ทรงได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มชนชั้นกลางในการปราบปราม ขุนนางและศาสนจักรให้เข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจ ซึ่งเป็นผลให้ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์สิ้นสุดลง
71. ในต้นยุคใหม่ ชนชั้นใดมีบทบาทสำคัญในการล้มล้างระบอบศักดินาสวามิภักดิ์
1. ชนชั้นสูง
2. สามัญชน
3. ชนชั้นกลาง
4. ชนชั้นทาส
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 70. ประกอบ
72. ในศตวรรษที่ 18 ระบอบเก่าในยุโรปหมายถึงระบอบอะไร
1. ระบอบทรราชย์
2. ระบอบประชาธิปไตย
3. ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
4. ระบอบกงสุล
ตอบ 3 หน้า 455, 461, (คำบรรยาย) การปฏิวัติทางการเมืองในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 17 – 20 เป็นการต่อต้านเพื่อล้มระบอบเก่า คือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือระบอบการปกครองแบบรวมอำนาจที่กษัตริย์ทรงใช้อำนาจอย่างไม่มีขอบเขต นอกจากนี้พวกอภิสิทธิ์ชน (ชนชั้นสูง) ยังเอารัดเอาเปรียบคนจน จนทำให้เกิดความไม่เสมอภาคทางการเมืองและสังคม ซึ่งเป็นเหตุให้ชนชั้นกลางออกมาต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิมนุษยชนและหน้าที่อันเท่าเทียมกันในสังคมและต้องการมีส่วนร่วมในการปกครองมากขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมาย คือ เพื่อเปลี่ยนการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด
73. ชนชั้นใดอุปถัมภ์ศิลปวิทยาการในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
1. สามัญชนและพ่อค้า 2. พ่อค้าและช่างศิลป์
3. ชนชั้นสูงและชนชั้นกลาง 4. ชนชั้นสูงและชนชั้นกลางระดับสูง
ตอบ 3 หน้า 357 – 358, 92 (H), (คำบรรยาย) การฟื้นฟูศิลปวิทยาการได้รับการอุปถัมภ์จากชน 2 กลุ่ม คือ 1. ชนชั้นสูง ซึ่งเกิดจากการที่รัฐต่าง ๆ มั่งคั่งจากการค้า และมีเสรีภาพมากสามารถสนับสนุนให้กำลังใจแก่นักปราชญ์ นักประพันธ์ ช่างฝีมือ และช่างศิลป์ 2. ชนชั้นกลาง ซึ่งร่ำรวยจากอาชีพการค้า ต้องการมีชีวิตที่มีความสุขและอยากจะมีรสนิยมสูงทำ ให้มีการส่งเสริมศิลปะจนนำไปสู่การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
74. ลัทธิมนุษยธรรมนิยม สอนให้นิยมเทิดทูนอะไร
1. ธรรมชาติและปรัชญา 2. ธรรมชาติและมนุษย์
3. มนุษย์และปรัชญา 4. มนุษย์และศาสนา
ตอบ 2 หน้า 357, 95 (H), (คำบรรยาย) ปรัชญาที่เด่นและมีอิทธิพลมากที่สุดในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ คือ มนุษยธรรมนิยม หรือมนุษยนิยม (Humanism) ซึ่งมีความหมายกว้าง ๆ ถึง “การเทิดทูนมนุษย์และธรรมชาติมากกว่าเทพเจ้าหรือเรื่องของโลกอื่น” หรืออาจตีความในวงแคบว่า “เป็นความกระหือรือร้นสนใจในข้อเขียนสมัยคลาสสิกที่เน้นความสนใจในเรื่องของมนุษย์เป็นสำคัญ” ซึ่งความหมายอันนี้เป็นการตีความหมายในชั้นแรกของพวกที่เริ่มการฟื้นฟูศิลปวิทยา
75. ตั้งแต่ปลายยุคกลาง คริสตจักรตกเป็นเป้าแห่งการวิจารณ์เรื่องใดเป็นสำคัญ
1. การประพฤติผิดวินัย 2. การแตกแยกนิกาย
3. การขัดแย้งกับพระสันตะปาปา 4. การจัดตั้งกองทัพ
ตอบ 1 หน้า 377, 97 (H), (คำบรรยาย) สาเหตุทางสังคมที่ทำให้เกิดการปฏิรูปศาสนาตั้งแต่ปลายยุคกลาง มีดังนี้ 1. มีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการฉ้อฉลและความประพฤติที่ผิดวินัยผิดศีลธรรมของพระหรือคณะนักบวชกับเจ้าหน้าที่ศาสนา ซึ่งนับว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่สุด เช่น การซื้อขายตำแหน่งและบรรดาศักดิ์ของพระที่เรียกว่า “Nepotism” 2. การมุ่งพิธีกรรมมากเกินไป 3. ถูกโจมตีจากนักมนุษยนิยมว่า มนุษย์ควรสนใจโลกนี้มากกว่าโลกหน้า
76. การปฏิรูปศาสนาเป็นผลมาจากกระบวนการอะไร
1. การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ 2. การปฏิวัติการค้า
3. การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ 4. การปฏิวัติอุตสาหกรรม
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 62. ประกอบ
77. เหตุใดการปฏิรูปศาสนาจึงนำไปสู่สงครามกลางเมือง
1. ความขัดแย้งว่าด้วยการบูชารูปเคารพ
2. ความพยายามที่จะให้ทั้งประเทศถือศาสนานิกายเดียวกัน
3. ความพยายามที่จะให้กษัตริย์ถือศาสนานิกายเดียวกันกับราษฎร
4. ความพยายามของอาณาจักรที่จะแต่งตั้งพระสันตะปาปาเอง
ตอบ 2 หน้า 386, 101 (H), (คำบรรยาย) การปฏิรูปศาสนาในตอนต้นศตวรรษที่ 16 เป็นการปฏิรูปตัวบุคคล(นักบวช) และตัวสถาบัน (คริสตจักร) ซึ่งถือเป็นการปฏิรูปหลักธรรมและหลักปฏิบัติให้มีหลักขันติธรรมในการนับถือ แต่การปฏิรูปก็ค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นเรื่องของการเมือง โดยมีสาเหตุมาจากความพยายามที่จะให้ทั้งประเทศนับถือศาสนานิกายเดียวกัน ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างรัฐต่าง ๆ ขึ้น จนเมื่อสิ้นศตวรรษที่ 17 จึงได้มีการประกาศยุติปัญหาความแตกแยกของคริสตจักร คือ การประกาศให้ประชาชนนับถือศาสนาคริสต์ต่างนิกาย คือ นิกายคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ได้
78. ข้อใดแสดงการยุติปัญหาความแตกแยกของคริสตจักรเมื่อสิ้นศตวรรษที่ 17
1. พระสันตะปาปาทรงครองราชย์ในยุโรป
2. การประกาศให้ประชาชนนับถือศาสนาคริสต์ต่างนิกายได้
3. คำประกาศสิทธิมนุษยชน 4. คำประกาศสิทธิโดยธรรมชาติ
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 77. ประกอบ
79. ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ชาวยุโรปใช้ประโยชน์อเนกอนันต์ของวิทยาศาสตร์และหลักเหตุผลเพื่ออะไร
1. เพื่อรอดพ้นจากอำนาจศาสนจักร 2. เพื่อสร้างความเจริญ
3. เพื่อแสวงหาสัจธรรมสูงสุด 4. เพื่อหวนคืนสู่ธรรมชาติ
ตอบ 2 หน้า 521, (คำบรรยาย) ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ชาวยุโรปใช้ประโยชน์อเนกอนันต์ของวิทยาศาสตร์และหลักเหตุผลเพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้า นอกจากนี้ยังนับเป็นการปฏิวัติทางปัญญาที่สำคัญที่ผู้ได้รับการศึกษาในทุกหนแห่งจะมีทัศนคติต่อจักรวาลและมนุษย์แบบใหม่ คือ การไม่ยอมรับความคิดใดง่าย ๆ จนกว่าจะตั้งข้อสงสัยและซักถามก่อน ดังนั้นจึงเริ่มมีลัทธิสัจนิยมและวัตถุนิยม ซึ่งถือเป็นรูปแบบของสมัยใหม่อย่างแท้จริง
80. ข้อใดคือผลของกระบวนการสร้างความเจริญและทันสมัยเมื่อถึง ค.ศ. 1914
1. ยุโรปสร้างยุโรปสองในอเมริกา 2. กระบวนการนาครธรรมในยุโรป
3. ยุโรปมีอำนาจและมั่งคั่งที่สุดในโลก
4. สงครามโลกระหว่างลัทธิทุนนิยมกับลัทธิคอมมิวนิสต์
ตอบ 3 (HI 103 เลขพิมพ์ 46197 หน้า 520 – 521), (คำบรรยาย) เมื่อถึงปี ค.ศ. 1914 ผลของกระบวนการสร้างความเจริญและทันสมัยนั้น ทำให้ยุโรปกลายเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจและความมั่งคั่งที่สุดในโลก เพราะยุโรปเป็นทวีปแรกที่มีการพัฒนาทั่วไปให้เจริญทันสมัยก่อนทวีปอื่น ๆ ทั้งหมด ซึ่งกระบวนการพัฒนาให้เจริญและทันสมัยจะปรากฏในด้านการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ซึ่งนำไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมและการปฏิวัติทางการเมืองตามลำดับ
81. ข้อใดคือหลักการเบื้องต้นของลัทธิเสรีนิยม
1. การต่อสู้ระหว่างชนชั้น
2. การปกครองที่ใช้กฎหมาย คือ อนาธิปไตย
3. การรวมอำนาจอยู่ที่ศูนย์กลาง
4. ความต้องการลัทธิเสรีภาพและความเสมอภาค
ตอบ 4 หน้า 479, 490, 499, (คำบรรยาย) หลักการเบื้องต้นของลัทธิเสรีนิยมเมื่อมีการปฏิวัติทางการเมืองในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 19 ได้แก่ ความต้องการสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคตามกฎหมาย และเรียกร้องการปกครองโดยมีผู้แทน นอกจากนี้ยังได้เรียกร้องให้ล้มเลิกระบบผูกขาดทางการค้า และใช้นโยบายการค้าเสรี (Laissez-Faire) หรือนโยบายปล่อยเสรี คือ การที่รัฐบาลไม่เข้าไปเกี่ยวข้องหรือแทรกแซงทางด้านเศรษฐกิจ
82. ใน ค.ศ. 1688 การปฏิวัติในอังกฤษทำให้เกิดผลอะไร
1. พระราชอำนาจเด็ดขาดมั่นคง 2. ระบบรัฐสภามีอำนาจสูงสุด
3. กษัตริย์ในสภาขุนนาง 4. การสถาปนาจักรภพอังกฤษ
ตอบ 2 หน้า 417, 108 (H) ผลของการปฏิวัติอันรุ่งเรืองในอังกฤษในปี ค.ศ. 1688 มีดังนี้
1. ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในอังกฤษสิ้นสุดลงและเปลี่ยนไปสู่การปกครองในระบอบรัฐสภาซึ่งเป็นการปกครองที่กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2. รัฐสภามีอำนาจสูงสุด 3. ฐานะของพวกโปรเตสแตนต์มีความมั่นคงขึ้น 4. กษัตริย์จะประกาศสงครามจัดกองทัพ หรือแต่งตั้งรัฐมนตรีคนใด ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาก่อน
83. การปฏิวัติทางการเมืองในศตวรรษที่ 19 เป็นความพยายามสร้างการปกครองที่มีอะไรเป็นองค์ประกอบหลัก
1. ระบบการปกครองมีกษัตริย์เหนือกฎหมาย 2. ระบบการปกครองมีรัฐธรรมนูญ
3. ระบบการปกครองมีชนชั้นสูงเป็นใหญ่ 4. ระบบการปกครองมีชนชั้นกรรมาชีพเป็นใหญ่
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 72. ประกอบ
84. การปฏิวัติทางการเมืองในศตวรรษที่ 19 มีหลักการอะไรเป็นสำคัญ
1. การค้าเสรี 2. สิทธิมนุษยชน 3. เชิดชูกษัตริย์ 4. ประชาธิปไตยยูโทเปีย
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 72. ประกอบ
85. การชุมนุมแสดงออกทางการเมืองในโลกปัจจุบัน ส่วนใหญ่เรียกร้องหลักการอะไรของประเทศใด
1. การต่อสู้ระหว่างชนชั้นของเยอรมนี 2. การประกอบการอิสระ
3. ความเป็นธรรมของสังคม 4. อิสรเสรี เสมอภาค และภราดรภาพของฝรั่งเศส
ตอบ 4 หน้า 447, 114 (H), (คำบรรยาย) การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 ได้ส่งผลให้มีการเผยแพร่แนวความคิดของการปฏิวัติออกไปยังประเทศอื่น ๆ ในยุโรปโดยเฉพาะคัมภีร์ของการปฏิวัติใหญ่ ในฝรั่งเศส ได้แก่ คำขวัญที่ว่า “อิสรภาพ (Liberty) เสมอภาค (Equality) และภราดรภาพ (Fraternity)” ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นหลักการที่แพร่หลายและปรากฏในการปฏิวัติทางการเมืองทุกหนแห่งในโลกปัจจุบัน
86. การปฏิวัติฝรั่งเศสทำให้เกิดการปฏิวัติโดยชนชั้นใดในศตวรรษที่ 19
1. ชนชั้นสูง 2. ชนชั้นสามัญ 3. ชนชั้นพระ 4. ชนชั้นกลาง
ตอบ 4 หน้า 461 – 462, 114 – 115 (H) การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 เป็นการปฏิวัติภายใต้การนำของชนชั้นกลางที่ต้องการล้มระบอบอภิสิทธิ์และต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบเก่าหรือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่การปกครองในระบอบสาธารณรัฐ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อการปฏิวัติทางการเมืองของยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 17 – 20 (ดูคำอธิบายข้อ 72. ประกอบ)
87. นักเสรีนิยมเรียกร้องต้องการอะไรเป็นเบื้องต้นในการปฏิวัติทางการเมืองในศตวรรษที่ 19
1. ล้มล้างสมาคมการค้า 2. ล้มเลิกระบบผูกขาดการค้า 3. สิทธิยับยั้งกฎหมาย
4. ล้มเลิกอภิสิทธิ์
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 81. ประกอบ
88. ความขัดแย้งทางการเมืองในศตวรรษที่ 19 เป็นความขัดแย้งเรื่องอะไร
1. ระดับขั้นตอนของสิทธิเสรีภาพและรูปแบบการปกครอง
2. สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล และเจตจำนงส่วนรวม
3. วิธีการเลือกตั้งประธานาธิบดี 4. รัฐสภามีอำนาจมากเกินไป
ตอบ 1 หน้า 472, 477 – 479, 118 (H) (คำบรรยาย) ในศตวรรษที่ 19 ความขัดแย้งทางการเมืองในยุโรปเป็นความขัดแย้งระหว่างฝ่ายเสรีนิยมกับฝ่ายอนุรักษ์นิยมใน 2 ประเด็น คือ
1. รูปแบบการปกครอง คือ ฝ่ายเสรีนิยมเรียกร้องการรวมชาติเพื่อการปกครองระบอบกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ในขณะที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมจะต่อสู้เพื่อรักษาระบอบเก่า คือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
2. ระดับขั้นตอนของสิทธิเสรีภาพ คือ ฝ่ายอนุรักษนิยมต้องการที่จะฟื้นฟูสถาบันกษัตริย์ตามระบอบเก่า ซึ่งเป็นระบอบที่ขัดขวางสิทธิหน้าที่มนุษยชน ในขณะที่ฝ่ายเสรีนิยมเรียกร้องเสรีภาพและความเสมอภาค โดยเฉพาะสิทธิร่วมทางการเมือง
89. ตามระบอบเก่าของศตวรรษที่ 18 กบฏประชาชนถือว่าเป็นอะไร
1. ทรยศต่อรัฐ
2. สิทธิชอบธรรม
3. ทรยศต่อฟ้าดิน
4. ผิดบาปใหญ่หลวง
ตอบ 4 หน้า 402 – 403, (คำบรรยาย) ตามระบอบเก่าหรือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 17 – 18 กษัตริย์ทรงอ้างว่าเป็นตัวแทนของพระผู้เป็นเจ้าที่ถูกส่งลงมาปกครองมนุษย์และทรงได้รับอำนาจเทวสิทธิ์มาจากพระเจ้า ซึ่งต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น ดังนั้นประชาชนจึงไม่มีสิทธิที่จะปลดกษัตริย์ออกจากตำแหน่ง เพราะถ้าหากคิดล้มกษัตริย์จะถือว่าเป็นความผิดและเป็นบาปใหญ่หลวง นอกจากนี้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ยังถือว่าความคิดริเริ่มของผู้ปกครอง คือ นโยบายแห่งรัฐ พระราชสำนักเป็นศูนย์กลางของรัฐบาลกลาง และมี กฎหมายสนองตอบที่ให้คุณให้โทษแก่บรรดาขุนนางและข้าราชการทั้งหลาย
90. เหตุใดประชาชนทั่วไปส่งเสริมให้มีการสร้างระบอบการปกครองใหม่ในต้นยุคใหม่
1. ไม่นิยมเจ้า
2. ไม่นิยมพ่อค้า
3. ไม่นิยมชนชั้นกลาง
4. ไม่นิยมพระและขุนนาง
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 70. ประกอบ
91. ระบอบเก่าเป็นระบอบการปกครองที่ใช้อำนาจแบบใดในศตวรรษที่ 18
1. รวมอำนาจ
2. กระจายอำนาจ
3. กึ่งรวมอำนาจ
4. กึ่งกระจายอำนาจ
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 72. ประกอบ
92. ระบอบการปกครองใดที่ถือว่าความคิดริเริ่มของผู้ปกครองคือนโยบายแห่งรัฐ โดยมีกฎหมายสนองตอบ
1. ระบบทรราชย์
2. ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
3. ระบอบประชาธิปไตย
4. ระบอบกงสุล
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 89. ประกอบ
93. หัวใจหลักของการปฏิวัติทางการเมืองตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 17 คืออะไร
1. การล้มล้างระบอบประชาธิปไตย
2. การขจัดอำนาจทรงพลังของคริสตจักร
3. การล้มล้างระบบเทวราชาธิปไตย
4. การสถาปนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ตอบ 3 (คำบรรยาย) หัวใจหลักของการปฏิวัติทางการเมืองในยุโรประหว่างปี ค.ศ. 1650 – 1917 เกิดขึ้นเนื่องมาจากความต้องการล้มล้างระบบเทวราชาธิปไตย นั่นคือ ระบอบที่กษัตริย์ตั้งตนเป็นเทพและมีสิทธิที่จะปกครองประชาชน เพราะได้รับความเห็นชอบจากพระผู้เป็นเจ้าเบื้องบนแล้ว ซึ่งตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ได้เกิดกระแสความไม่นิยมในระบอบนี้ เพราะปิดกั้นสิทธิและหน้าที่ของมนุษยชน โดยเฉพาะสิทธิเสรีภาพทางการเมือง
94. สมัยประเทืองปัญญามีความคิดหลักอะไร
1. มนุษย์อยู่ภายใต้ชะตาฟ้าลิขิต
2. ธรรมชาติมีกฎเกณฑ์แน่นอน
3. มนุษย์ควรถูกปกครองอย่างไร
4. รู้จักมนุษย์โดยเรียนรู้จากธรรมชาติ
ตอบ 3 หน้า 442 – 443 ในสมัยประเทืองปัญญา (The Enlightenment) ความสนใจของมนุษย์ในชาติตะวันตกจะเน้นความคิดหลักที่ว่า “มนุษย์ควรจะถูกปกครองอย่างไร” นอกจากนี้ยังเป็นยุคที่เน้นความสำคัญของเหตุผลมนุษย์ในฐานะที่เป็นพื้นฐานแห่งความเจริญก้าวหน้าโดยมีการคิดตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์คือ เชื่อในสิ่งที่พิสูจน์ได้ และที่สำคัญที่สุดคือ เป็นยุคที่มีการเทิดทูนสภาวะของปัจเจกชนอย่างเต็มกำลัง
95. ประเทศใดในปลายศตวรรษที่ 18 ที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นตำรับระบอบเก่า แต่ก็เป็นแกนกลางของการสร้างระบอบใหม่ด้วย
1. อังกฤษ
2. ฝรั่งเศส
3. เยอรมนี
4. รัสเชีย
ตอบ 2 หน้า 403, 114 – 115 (H), (คำบรรยาย) พื้นฐานแห่งการปฏิวัติทางการเมืองในยุโรปในปลายศตวรรษที่ 18 คือ การปฏิบัติในฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1789 เนื่องจากฝรั่งเศสได้ชื่อว่าเป็นต้นตำรับหรือแกนกลางของระบอบเก่า (ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์) แต่ต่อมาฝรั่งเศสก็กลายเป็นแกนกลางแห่งการปฏิวัติเพื่อสร้างระบอบใหม่ (ระบอบประชาธิปไตย) ของศตวรรษที่ 19 ด้วย และถึงแม้ผลของการปฏิวัติฝรั่งเศสจะลงเอยด้วยการปกครองตามระบอบเก่าเหมือนเดิม แต่ก็ถือว่าฝรั่งเศสเป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่ความคิดในการปฏิวัติให้ขยายไปยังประเทศอื่น ๆ ทั่วยุโรป
96. ระบอบใหม่ของศตวรรษที่ 19 คือระบบอะไร
1. ระบอบคอมมิวนิสต์
2. ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
3. ระบอบประชาธิปไตย
4. ระบอบสังคมนิยม
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 95. ประกอบ
97. ในศตวรรษที่ 19 มีปัจจัยใดประจวบเหมาะในการล้มล้างระบอบเก่า
1. ความทุกข์ยาก ความไม่พอใจทางการเมือง และความไม่เป็นธรรมในสังคม
2. ชนชั้นสูงตกต่ำ ชนชั้นกลางปลุกระดมมวลชนโฆษณาชวนเชื่อ
3. ลัทธิเสรีประชาธิปไตยขัดแย้งกับลัทธิสังคมนิยม
4. การนัดหยุดงานและขบวนการเรียกร้องขอสิทธิทางการเมือง
ตอบ 1 (คำบรรยาย) ในศตวรรษที่ 19 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการล้มล้างระบอบเก่ามี 3 ประการ คือ
1. ความตกต่ำทางเศรษฐกิจ ทำให้เกิดความทุกข์ยาก
2. ความไม่พอใจทางการเมือง
3. ความไม่เป็นธรรมในสังคม
98. ตั้งแต่ ค.ศ. 1871 แผนที่ยุโรปเปลี่ยนครั้งใหญ่สืบเนื่องจากอะไร
1. การรวมเบลเยียม
2. การรวมเยอรมนี
3. การรวมโปแลนด์
4. บอลข่านมีเอกราช
ตอบ 2 หน้า 512 – 519, 119 (H), 24 – 129 (H), (คำบรรยาย) จากการที่ประเทศอิตาลีและเยอรมนีสามารถรวมประเทศได้เป็นผลสำเร็จในปี ค.ศ. 1870 และ ค.ศ. 1871 ตามลำดับ ได้แสดงให้เห็นถึงชัยชนะของลัทธิชาตินิยมและเสรีนิยมว่ามีบทบาทส่งเสริมทำให้เกิดการรวมประเทศเยอรมนีและอิตาลีขึ้นซึ่งนับเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้แผนที่ยุโรปเปลี่ยนแปลงไปและส่งผลให้ดุลยภาพแห่งอำนาจ (Balance of Power) ได้เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เนื่องจากเกิดประเทศมหาอำนาจขึ้นคือ ประเทศเยอรมนีและอิตาลี
99. การล่าอาณานิคมอีกตั้งแต่ ค.ศ. 1871 เกิดจากความจำเป็นด้านใด
1. การแผ่ขยายอำนาจทั่วโลกยุโรป
2. การแผ่ขยายการค้าไปทั่วโลก
3. การสร้างพันธมิตร
4. เศรษฐกิจการเกษตรเติบใหญ่
ตอบ 2 หน้า 523 – 524, 130 – 131 (H) สาเหตุที่ทำให้ในระหว่างปี ค.ศ. 1871 – 1914 ประเทศมหาอำนาจในยุโรปซึ่งมีอังกฤษ ฝรั่งเศส และฮอลันดาเป็นผู้นำ ต้องออกมาแสวงหาอาณานิคมในทวีปแอฟริกาและเอเชียนั้น เป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจการค้าไปทั่วโลก และการเพิ่มขึ้นของจำนวนพลเมือง จึงมีความจำเป็นต้องมีการออกแสวงหาอาณานิคมเพื่อเป็นตลาดการค้า ตลาดลงทุน แหล่งวัตถุดิบ จัดตั้งฐานทัพและเพื่อระบายพลเมือง
100. การรวมตัวกันเป็นพันธมิตรในยุโรปตั้งแต่ ค.ศ. 1907 มาจากความหวาดกลัวอะไร
1. กลัวอังกฤษ
2. กลัวเยอรมนี
3. กลัวฝรั่งเศส
4. กลัวรัสเชีย
ตอบ 2 หน้า 530 – 531 (คำบรรยาย) การรวมตัวกันเป็นพันธมิตรในยุโรประหว่างอังกฤษ ฝรั่งเศสและรัสเซีย โดยมีการทำสัญญาเป็นกลุ่มไตรพันธมิตร (Triple Entente) ตั้งแต่ ค.ศ. 1907 นั้นมีสาเหตุมาจากความหวาดกลัวว่าเยอรมนีจะคิดสร้างจักรวรรดิขึ้นในยุโรป จึงมีการรวมตัวกันขึ้นเพื่อถ่วงดุลกับกลุ่มไตรพันธไมตรี (Triple AIIiance) อันประกอบด้วย เยอรมนี อิตาลี ออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งรวมตัวเป็นพันธมิตรมาตั้งแต่ ค.ศ. 1882 ส่งผลให้บรรดามหาอำนาจในยุโรปแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย นับตั้งแต่ค.ศ. 1907 เป็นต้นมา
101. ระบบพันธมิตรแบบบิสมาร์คเป็นระบบพันธมิตรแบบใด ในภาวะใด
1. แบบตั้งรับในยามศึก
2. แบบรบรุกในยามสงบ
3. แบบป้องปรามในยามสงบ
4. แบบตั้งรับในยามสงบ
ตอบ 4 หน้า 529 – 530, 562, (คำบรรยาย) บิสมาร์จัดตั้งระบบพันธมิตรขึ้นในปี ค.ศ. 1882 โดยมีจุดมุ่งหมายเพี่อป้องกันความขัดแย้งระหว่างเยอรมนีกับฝรั่งเศสในเรื่องดินแดนอัลซัสลอเรนน์เป็นหลักทำให้บิสมาร์คต้องพยายามปิดล้อมฝรั่งเศสให้อยู่โดดเดี่ยวโดยการจัดตั้งระบบพันธมิตรที่แข็งแกร่งขึ้นเพื่อมิให้พันธมิตรฝ่ายฝรั่งเศสซึ่งอาจรวมตัวกันได้ในวันข้างหน้าสามารถทำการโจมตีได้ทั้งนี้ระบบพันธมิตรแบบบิสมาร์คเป็นระบบพันธมิตรแบบตั้งรับในยามสงบซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่เกิดการทูตแบบใหม่ขึ้น
102. มีดินแดนใดในยุโรปตั้งแต่ ค.ศ. 1871 – 1914 ที่อาจกลายเป็นข้อพิพาทระหว่างประเทศและนำไปสู่สงครามได้
1. สุเดเตนและดานซิก
2. โปแลนด์และกรีซ
3. อัลซัส-ลอเรนน์ และบอลข่าน
4. ถูกข้อ 1 และ 3
ตอบ 3 หน้า 518 – 519, 531 – 533, 132 – 133 (H), (คำบรรยาย) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1817 – 1914 ยุโรปมีดินแดนที่เป็นข้อพิพาทระหว่างประเทศและเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 คือ 1. ดินแดนอัลซัส-ลอเรนน์ ซึ่งเป็นกรณีพิพาทระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนี ผลคือเยอรมนีได้ครอบครองดินแดนนี้ ทำให้ฝรั่งเศสต้องการแก้แค้นเยอรมนี และต้องการดินแดนแคว้นอัลซัส-ลอเรนน์คืนมา 2. คาบสมุทรบอลข่าน ซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจตะวันตกในยุโรปที่ต่างมุ่งแสวงหาประโยชน์อย่างเต็มที่ จนบานปลายกลายเป็นชนวนให้สงคราม
103. สงครามโลกครั้งที่ 1 อุบัติขึ้นเมื่อมีความขัดแย้งใดที่หาข้อยุติมิได้
1. ความขัดแย้งระหว่างเยอรมนีกับฝรั่งเศส
2. ความขัดแย้งระหว่างออสเตรียกับเซอร์เบีย
3. ความขัดแย้งระหว่างออสเตรียกับอิตาลี
4. ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับออสเตรีย
ตอบ 2 หน้า 534 – 535, 562, 133 (H), (คำบรรยาย) สงครามโลกครั้งที่ 1 อุบัติขึ้นเมื่อมีความขัดแย้ง ระหว่างออสเตรีย – ฮังการี กับเซอร์เบียใน ค.ศ. 1914 โดยมีสาเหตุสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ที่นักศึกษาชาวเซิร์บลอบปลงพระชนม์อาร์ชดยุก ฟรานชิส เฟอร์ดินานด์ มกุฎราชกุมารออสเตรียทำให้ออสเตรียยื่นคำขาดให้เซอร์เบียปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของตนภายใน 24 ชั่วโมง แต่เชอร์เบียไม่ยอมจึงทำให้บรรดามหาอำนาจที่รวมตัวกันเป็นระบบพันธมิตรของทั้ง 2 ฝ่ายใช้กำลังทำสงครามกันจนก่อให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในที่สุด
104. ภาวะใดหนุนนำให้ผู้คนในเยอรมนีและอิตาลีนิยมลัทธิฟาสซิสต์
1. พลังอำนาจทหาร
2. พลังอำนาจเศรษฐกิจ
3. ภาวะเศรษฐกิจทรุด
4. ภาวะจลาจลภายใน
ตอบ 3 หน้า 544, (คำบรรยาย) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ระบอบฟาสซิสต์ (Facism) เป็นที่นิยมทั้งในเยอรมนีและอิตาลีเนื่องจาก 1. ระบอบประชาธิปไตยแก้ปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไม่ได้
2. เกิดความยากไร้และคับแค้นใจเพราะภาวะเศรษฐกิจตกต่ำระหว่างปี ค.ศ. 1929 – 1934
3. กลัวลัทธิคอมมิวนิสต์
105. ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 บรรดามหาอำนาจผู้ชนะร่วมกันจัดตั้งองค์การสันนิบาตแห่งชาติขึ้นตามหลักการอะไร
1. ประชาธิปไตย
2. การอยู่ร่วมกันโดยสันติ
3. ความมั่นคงร่วมกัน
4. ธรรมย่อมเหนืออธรรม
ตอบ 3 หน้า 540 – 541, 135 (H), (คำบรรยาย) องค์การสันนิบาตชาติ (The League of Nations) จัดตั้งขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อปี ค.ศ. 1920 ซึ่งเป็นองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อสันติภาพและความมั่นคงร่วมกัน โดยมุ่งขจัดความขัดแย้ง เป็นตุลาการระหว่างประเทศดำเนินการลดอาวุธและขจัดทูตลับ ซึ่งผลงานที่สำคัญของสันนิบาตชาติคือ ฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจได้สำเร็จพอสมควร แต่ไม่สามารถรักษาสันติภาพและระเบียบแบบแผนไว้ได้ ซึ้งส่งผลให้สันนิบาตชาติอ่อนแอเนื่องจากไม่มีกองทัพเป็นของตนเอง
106. เหตุใดอังกฤษและฝรั่งเศสจึงมีนโยบายผ่อนปรนต่อเยอรมนีใน ค.ศ. 1939
1. เพราะกลัวเยอรมนีไม่พอใจ
2. เพราะไม่พร้อมที่จะรบกับเยอรมนี
3. เพราะเยอรมนีมีรัสเซียเป็นพันธมิตร
4. เพราะเยอรมนีปฏิบัติตามสนธิสัญญาแวร์ชายส์
ตอบ 2 หน้า 545 – 546, 549 – 550 (คำบรรยาย) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลง อังกฤษ และฝรั่งเศสได้ใช้นโยบายผ่อนปรน (Appeasement Policy) กับเยอรมนีมาโดยตลอดจนถึง ค.ศ. 1939 ทั้งนี้เพราะยังไม่ต้องการสงครามและไม่พร้อมที่จะรบกับเยอรมนี แต่เมื่อกองทัพเยอรมนีบุกโปแลนด์และไม่ยอมถอนทหารออกจากโปแลนด์ทำให้อังกฤษกับฝรั่งเศสต้องรับประกันความปลอดภัยของโปแลนด์และประกาศทำสงครามกับเยอรมนี ซึ่งถือเป็นการยุตินโยบายผ่อนปรนและก่อให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในที่สุด
107. อิตาลีและเยอรมนีต่างรวมประเทศได้โดยใช้วิธีใด
1. ยุทธวิธี
2. สันติวิธีทางการทูต
3. ธรรมยุทธ์
4. ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 512 – 519, 125 – 129 (H), (คำบรรยาย) ประเทศอิตาลีและเยอรมนีรวมชาติได้สำเร็จในระหว่างปี ค.ศ. 1870 – 1871 โดยใช้วิธีดังนี้คือ 1. ยุทธวิธี คือ อิตาลีใช้วิธีทำสงครามโดยการปราบออสเตรียส่วนเยอรมนีใช้ “นโยบายเลือดและเหล็ก” ทำสงครามถึง 3 ครั้งคือ สงครามกับเดนมาร์กเรื่องดินแดนชเลสวิก-โฮลสไตน์, สงครามกับออสเตรีย และสงครามกับฝรั่งเศส 2. สันติวิธีทางการทูต คือ อิตาลีผูกมิตรกับมหาอำนาจคือฝรั่งเศสให้เข้ามาช่วย ส่วนเยอรมนีใช้วิธีเจรจารักษาไมตรีกับนานาประเทศ
108. ในการปฏิวัติในรัสเซียเมื่อ ค.ศ. 1917 ประชาชนเรียกร้องต้องการอะไร
1. อิสรเสรี เสมอภาค และภราดรภาพ
2. ระบอบประชาธิปไตย
3. สันติภาพ ขนมปัง และที่ดิน
4. สงบศึกและล้มล้างซาร์
ตอบ 3 หน้า 537, 136 (H), (คำบรรยาย) การปฏิวัติครั้งใหญ่ในรัสเซียเมื่อปี ค.ศ. 1917 เป็นการปฏิวัติที่ล้มระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แล้วเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก 1. การปกครองล้าหลังตามไม่ทันสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง 2. เป็นผลกระทบมาจากการที่รัสเซียเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 ประชาชนจึงต้องการสันติภาพ 3. แรงกดดันจากความยากไร้ของประชาชน คือประชาชนต้องการขนมปังและที่ดินทำมาหากิน ฯลฯ
109. ระบอบฟาสซิสต์และระบอบคอมมิวนิสต์มีลักษณะใดที่เหมือนกันในการปกครอง
1. การกระจายอำนาจ
2. การใช้อำนาจโดยประธานพรรค
3. การใช้อำนาจโดยพรรค 1 พรรค
4. การมีสำนักการเมือง (Politburo) เป็นหลัก
ตอบ 3 หน้า 541 – 543, 137 – 138 (H), (คำบรรยาย) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้เกิดขบวนการชาตินิยม ที่เรียกว่า ระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จขึ้น ซึ่งเป็นการปกครองที่ผู้นำเดี่ยวมีอิทธิพลครอบงำหรืออาจอยู่ในรูปองค์กรผู้นำพรรคการเมือง 1 พรรค ใช้อำนาจเด็ดขาดแต่พรรคเดียวแบ่งออกเป็น 2 แบบ ซึ่งมีลักษณะตรงข้ามกัน ได้แก่ 1. ระบอบคอมมิวนิสต์ (เผด็จการซ้าย) เป็นขบวนการต่อต้านลัทธิทุนนิยมประชาธิปไตย 2. ระบอบฟาสซิสต์ (เผด็จการขวา) เกิดขึ้นในอิตาลีและขยายต่อมายังเยอรมนี เรียกว่า ลัทธินาซี เป็นขบวนการชาตินิยมที่ต่อต้านการขยายตัวของระบอบคอมมิวนิสต์และโลกเสรีประชาธิปไตย
110. การทูตยุคใหม่ยึดถือหลักการใดในการมีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุโรป
1. การเป็นพันธมิตร
2. การมีผู้นำกลุ่มประเทศ
3. การจัดตั้งสันนิบาต
4. การถ่วงดุลอำนาจ
ตอบ 4 (คำบรรยาย) หลักความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศในยุโรปตั้งแต่ยุคใหม่เป็นต้นมานั้นได้กำหนดว่าทุกประเทศต้องเคารพในหลักการถ่วงดุลอำนาจไม่ให้ประเทศใดมีอำนาจมากจนเกินไปโดยเชื่อว่าสันติภาพและความมั่นคงจะคงอยู่ได้นั้นขึ้นอยู่กับการรักษาสมดุจหรือดุลยภาพแห่งอำนาจถ้ามหาอำนาจใดล่วงละเมิดหลักการถ่วงดุลอำนาจโดยการขยายอาณาเขตออกไปเพื่อตั้งตนเป็นใหญ่บรรดามหาอำนาจที่เหลือก็จะรวมตัวกันจัดตั้งเป็นพันธมิตรเพื่อเข้าไปล้อมปราบ หรือเรียกร้องค่าเสียหายชดเชย หรือใช้กำลังยับยั้งโดยการรวมกลุ่มรบเพื่อสั่งสอน แต่จะไม่เข้าไปทำลายรัฐ
111. ข้อใดคือมาตรการลงโทษรัฐที่ถ่วงละเมิดหลักการถ่วงดุลอำนาจในยุคใหม่
1. การตั้งศาลพิพากษา
2. การใช้กำลังยับยั้ง
3. การเจรจาต่อรองผลประโยชน์
4. การอัปเปหิจากเวทีโลก
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 110. ประกอบ
112. พฤติกรรมใดแสดงว่าชาวยุโรปเป็นผู้เจริญ รู้จักแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธีใน ค.ศ. 648
1. การประชุมที่เวียนนา
2. การประชุมที่เบอร์ลิน
3. การประชุมที่เวสต์ฟาเลีย
4. การประชุมที่แวร์ชายส์
ตอบ 3 หน้า 390 – 391, 408, 101 (H), (คำบรรยาย) สนธิสัญญาที่เวสต์ฟาเลีย (Westphalia) ในปี ค.ศ. 1648 นับเป็นการประชุมร่วมกันโดยสันติวิธีระหว่างมหาอำนาจชาติต่าง ๆ เป็นครั้งแรกในยุโรป โดยเป็นสนธิสัญญาสันติภาพที่ยุติสงคราม 30 ปีซึ่งเป็นสงครามศาสนาครั้งสุดท้ายของยุโรปที่เกิดขึ้นในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (เยอรมนี) ในระหว่างปี ค.ศ. 1618 – 1648 ส่งผลให้จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ถูกแบ่งแยกเป็นรัฐอิสระถึง 300 รัฐ และดินแดนเยอรมนีได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก ทำให้การรวมเยอรมนีช้าไปเป็นเวลา 200 ปี
113. ใน ค.ศ. 1648 จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ถูกบงการให้แบ่งแยกเป็นรัฐอิสระ โดยสนธิสัญญาใด
1. แวร์ซายส์
2. เวสต์ฟาเลีย
3. เบอร์ลิน
4. มิวนิค
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 112. ประกอบ
114. เหตุใดบรรดามหาอำนาจในยุโรปจึงรวมตัวเป็นพันธมิตรถึง 3 ครั้งเพื่อปราบฝรั่งเศส
1. เพราะฝรั่งเศสต้องการเป็นเจ้าโลก
2. เพราะฝรั่งเศสเผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายของตนในยุโรป
3. เพราะฝรั่งเศสคิดสร้างจักรวรรดิในยุโรป
4. เพราะฝรั่งเศสเป็นศูนย์กลางของลัทธิสังคมนิยม
ตอบ 3 หน้า 464, 466, 468 – 469 (คำบรรยาย) ในยุคใหม่จนถึงปัจจุบันนั้น ประเทศมหาอำนาจที่พยายามตั้งตนเป็นใหญ่เพราะต้องการสร้างจักรวรรดิในยุโรป จนถูกชาติมหาอำนาจอื่น ๆ รวมตัวเป็นพันธมิตรเพื่อล้อมปราบอยู่หลายครั่ง ได้แก่ ประเทศฝรั่งเศส โดยเฉพาะในยุคนโปเลียนที่ยุโรปเกือบทั้งหมดยกเว้นอังกฤษต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของฝรั่งเศส ทำให้มหาอำนาจในยุโรปต้องรวมตัวกันเป็นพันธมิตรถึง 3 ครั้ง เพื่อล้อมปราบฝรั่งเศส นอกจากนี้ก็ยังมีประเทศสเปนในสมัยสงคราม 30 ปี และประเทศเยอรมนีในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2
115. บรรดามหาอำนาจภายหลัง ค.ศ. 1815 ได้พยายามต้านทานคลื่นปฏิวัติด้วยวิธีการใด
1. ปฏิบัติการไล่ล่าแกนนำ 2. ระบบข่าวกรองเป็นเครือข่ายระหว่างประเทศ
3. สร้างพันธมิตรกับคริสตจักร 4. ความร่วมมือทางการทูต
ตอบ 4 หน้า 477 – 479, (คำบรรยาย) ในระหว่าง ค.ศ. 1815 – 1848 ได้เกิดคลื่นปฏิวัติเสรีนิยมขึ้นในยุโรปโดยมีศูนย์กลางของการปฏิวัติอยู่ที่กองทัพ มหาวิทยาลัย และสมาคมลับ ทำให้บรรดามหาอำนาจในยุโรปต้องใช้ความร่วมมือทางการทูตระหว่างประเทศ โดยการจัดตั้งสมาคมยุโรป (Concert of Europe) และใช้วิธีการแทรกแซงทางทหาร เพื่อต้านทานและบดขยี้คลื่นปฏิวัติในยุโรปไม่ให้เกิดขึ้นโดยมีผู้นำของการทูตแบบนี้ คือ เจ้าชายเมตเตอร์นิกแห่งออสเตรียจึงเรียกเหตุการณ์ในยุคนี้ว่า ยุคเมตเตอร์นิก หรือยุคแห่งการต่อต้านระบอบเสรีนิยม
116. ข้อใดคือสาเหตุที่ทำให้เยอรมนีถูกแบ่งประเทศใน ค.ศ. 1945
1. ผู้ชนะบงการให้แบ่ง 2. การยึดครองโดยแบ่งเขต
3. สนธิสัญญาแวร์ซายส์ 4. รัสเซียบงการ
ตอบ 2 หน้า 556, (คำบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1945 เยอรมนีถูกแบ่งออกเป็น 4 เขต ภายใต้การยึดครองโดยแบ่งเขต ซึ่งเบอร์ลินทั้งหมดจะอยู่ในเขตยึดครองของรัสเซีย แต่ก็ให้อยู่ภายใต้การปกครองของ 4 ชาติฝ่ายสัมพันธมิตร คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และโซเวียตรัสเซีย ทำให้เยอรมนีถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศ คือ 1. เยอรมนีตะวันออก ภายใต้การยึดครองของสหภาพโซเวียต มีชื่อเรียกว่า “สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี” 2. เยอรมนีตะวันตก ภายใต้การดูแลของอังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา มีชื่อเรียกว่า “สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี”
117. ประเทศใดที่เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สองแล้วได้รับประโยชน์เป็นการขยายดินแดนภายใต้อิทธิพลของตนมากที่สุดใน ค.ศ. 1948
1. สหรัฐอเมริกา 2. อังกฤษ 3. ฝรั่งเศส 4. รัสเซีย
ตอบ 4 (คำบรรยาย) ตามข้อตกลงยัลต้า (Yalta) และปอตสดัม (Potsdom) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ส่งผลให้ประเทศรัสเซียสามารถแพร่ขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ไปสู่ยุโรปตะวันออกตั้งแต่ทะเลบอลติก ไปจนถึงทะเลดำได้สำเร็จ ทำให้รัสเซียสามารถขยายดินแดนภายใต้อิทธิพลของตนได้มากที่สุดใน ค.ศ. 1948 และรวมตัวกันเป็นสหภาพโซเวียต
118. ลักษณะพิเศษของสงครามเย็นคืออะไร
1. การต่อสู้ด้วยกำลังอย่างถึงที่สุด 2. เป็นสงครามในแบบเบ็ดเสร็จ
3. การต่อสู้ทุกรูปแบบยกเว้นสงครามโดยตรง 4. สงครามจรยุทธ์โดยประชาชน
ตอบ 3 หน้า 559, 139 (H) ลักษณะสำคัญของสงครามเย็น (ค.ศ. 1945 – 1991) คือ 1. เป็นสงครามที่เกิดจากความขัดแย้งทางด้านพลังลัทธิอุดมการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ระหว่างโลก 2 ฝ่าย คือ โลกเสรีประชาธิปไตยซึ่งมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำกับฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีโซเวียตรัสเชียเป็นผู้นำ 2. มีการต่อสู้ทุกรูปแบบยกเว้นการทำสงครามแบบเบ็ดเสร็จที่มีการเผชิญหน้ากันโดยตรงแต่จะใช้วิธีการทำสงครามจิตวิทยาหรือสงครามตัวแทน (Proxy War) เช่น สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม ฯลฯ 3. แข่งกันหาพันธมิตรโดยใช้วิธีทางการทูตและการโฆษณาชวนเชื่อ 4. มีการแข่งขันกันสะสมอาวุธ และแข่งขันวิทยาการทางด้านอวกาศ
119. เมื่อ ค.ศ. 1945 การแบ่งโลกเป็น 2 ฝ่ายคือ โลกเสรีและโลกคอมมิวนิสต์ เป็นการแบ่งตามเกณฑ์ใด
1. พลังอำนาจทางทหาร 2. พลังอำนาจทางเศรษฐกิจ
3. พลังลัทธิอุดมการณ์ 4. พลังอำนาจทางการเมืองโลก
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 118. ประกอบ
120. โลกเสรีตอบโต้การแพร่ขยายอำนาจของลัทธิคอมมิวนิสต์ด้วยวิธีการใด
1. ตั้งองค์การสหประชาชาติ 2. ตั้งองค์การนาโต้
3. ตั้งองค์การโคมินเทอร์น 4. ตั้งระบบสัญญาโคเมคอน
ตอบ 2 หน้า 559 – 560 (HI 103 เลขพิมพ์ 46197 หน้า 545 – 546) ในยุคสงครามเย็นฝ่ายโลกเสรีและโลก คอมมิวนิสต์ต่างก็หามาตรการเพื่อนำมาใช้ตอบโต้กัน กล่าวคือ ฝ่ายโลกเสรีนำโดยสหรัฐอเมริกาได้ประกาศหลักการทรูแมน (Truman Doctrie) และแผนการมาร์แซล (The Marshall Plan) รวมทั้งจัดตั้งองค์การนาโต้ (NATO) เพื่อความร่วมมือทางทหารและปิดล้อมการแพร่ขยายอำนาจของคอมมิวนิสต์ ส่วนฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์นำโดยสหภาพโซเวียตก็จัดตั้งองค์การโคมินเทอร์(Comintern) และแผนโมโลตอฟ รวมทั้งจัดตั้งกลุ่มประเทศสนธิสัญญาวอร์ซอ (The Warsaw Pact) เพื่อตอบโต้ปฏิบัติการของตะวันตกโดยเฉพาะองค์การนาโต้