การสอบไล่ ภาค 1 ปีการศึกษา 2553
ข้อสอบกระบวนวิชา HIS1001 อารยธรรมตะวันตก
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
1. ความสำคัญของยุคน้ำแข็ง คือ
1. โลกถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็งเกือบจะถึงเขตร้อนในปัจจุบัน
2. เกิดขึ้น 4 ระยะกินเวลาประมาณ 1 ล้านปี
3. มนุษย์ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคน้ำแข็ง
4 ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 2, 8 (H) ระยะที่โลกถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็งจนเกือบจะถึงเขตร้อน โดยเกิดขึ้นทั้งหมด 4 ระยะกินเวลาประมาณ 1 ล้านปีนั้น เราเรียกว่า “ยุคน้ำแข็ง” (Pleistocene) ซึ่งมีความสำคัญต่อเรื่องราวของมนุษยชาติเป็นอย่างมาก เพราะในช่วงระยะเวลาที่น้ำแข็งละลายได้ปรากฏร่องรอยของสิ่งมีชีวิตคือ “มนุษย์” ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก
2. ไพรเมท (Primate) คือ
1. ยุคน้ำแข็งที่เกิดขึ้นในระยะแรก 2. บรรพบุรุษของมนุษย์
3. การรวมตัวของกลุ่มผงและก๊าซในจักรวาล 4. ถ่านหินที่ค้นพบที่หมู่เกาะสปิตเบอร์เกน
ตอบ 2 หน้า 1 – 2, 8 (H) นักประวัติศาสตร์ได้สันนิษฐานว่าแหล่งกำเนิดของมนุษย์น่าจะอยู่ในทวีปเอเชียและแอฟริกา รวมทั้งบริเวณตอนกลางของทวีปเอเชียที่อยู่ติดกับยุโรป คือ บริเวณ ยูเรเชีย (Eurasia) โดยบริเวณดังกล่าวนี้จะมีภูมิอากาศที่เหมาะสำหรับการพัฒนาของไพรเมท (Plimate) ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ ต่อมาบรรดาไพรเมทเหล่านี้ก็ได้กระจัดกระจายออกไปตั้งถิ่นฐานในที่ต่าง ๆ ทั้งในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา
3. ยูเรเชีย (Eurasia) คือ
1. ดิน1แดนในทวีปแอฟริกา 2. ดินแดนตอนกลางของทวีปเอเชียที่ติดต่อกับยุโรป
3. แหล่งกำเนิดของมนุษย์ 4. ถูกข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ
4. ดินแดนที่ไม่ใช่แหล่งกำเนิดของมนุษย์ คือทวีป
1. เอเชีย 2. อเมริกา 3. ออสเตรเลีย 4. ถูกข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ
5. สมัยสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ตามสมัยธรณีวิทยา คือ
1. อาร์เคโอโซอิก 2. พาเลโอโซอิก 3. เมโซโซอิก 4. เซไนโซอิก
ตอบ 2 หน้า 6 – 7, 8 – 9 (H) ประวัติศาสตร์ทางธรณีวิทยาของโลกแบ่งออกตามชั้นของหินได้ 5 สมัยได้แก่ 1. อาร์เคโอโซอิก (Archeozoic) คือ สมัยของสัตว์เซลล์เดียว (1,550 – 825 ล้านปีมาแล้ว) 2. โพรเทโรโซอิก (Proterozoic) คือ สมัยของสัตว์น้ำโบราณไม่มีกระดูกสันหลัง (825 – 500 ล้านปีมาแล้ว) 3. พาเลโอโซอิก (Paleozoic) คือ สมัยของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (500 – 185 ล้านปีมาแล้ว) 4. เมโซโซอิก (Mesozoic) คือ สมัยของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ เช่น ไดโนเสาร์ (185 – 60 ล้านปีมาแล้ว) 5. เซโนโซอิก (Cenozoic) คือ สมัยของสิ่งมีชีวิตที่มีสภาพคล้ายปัจจุบันมากที่สุด (60 ล้านปีมาแล้ว).
6. ความสำคัญของนักชาติพันธุ์วิทยาคือผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับ
1. โครงกระดูก เครื่องมือ และอาวุธในอดีต 2. วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
3. ซากพืชและสัตว์ที่ตกค้างอยู่ตามชั้นของหิน 4. วัฒนธรรมของมนุษย์ในอดีต
ตอบ 2 หน้า 7, 9 (H) ในการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับวิวัฒนาการของโลกและเรื่องราวของมนุษย์ยุคต้นจำเป็นต้องอาศัยงานค้นคว้าของผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ดังนี้
1. นักโบราณคดี คือ ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับซากโครงกระดูก เครื่องมือเครื่องใช้ และอาวุธใน อดีต
2. นักชาติพันธุ์วิทยา คือ ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
3. นักธรณีวิทยา คือ ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับซากพืชและสัตว์ที่ตกค้างอยู่ตามชั้นของหิน
4. นักมานุษยวิทยา คือ ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมของมนุษย์ในอดีต เป็นต้น
7. ยุคก่อนรู้หนังสือจัดอยู่ในยุค
1. หิน 2. โลหะ 3. ประวัติศาสตร์ 4. โบราณ
ตอบ 1 หน้า 7, 37, 2 (H), 9 (H) การแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์มนุษย์จะใช้การประดิษฐ์ตัวอักษรหรือการรู้จักเรียนหนังสือของมนุษย์เป็นเกณฑ์ในการแบ่ง ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ยุค คือ
1. ยุคหิน (ยุคก่อนประวัติศาสตร์) คือ ยุคก่อนการรู้หนังสือ หรือยุคก่อนการประดิษฐ์ตัวอักษรหรือยุคก่อนการสร้างอารยธรรม
2. ยุคโลหะ (ยุคประวัติศาสตร์) คือ ยุครู้หนังสือ หรือยุคที่เริ่มมีการประดิษฐ์ตัวอักษรและเริ่มอยู่รวมกันเป็นหลักแหล่งแบบสังคมเมือง เรียกว่าเป็นสมัยอารยธรรมของมนุษย์
8. มนุษย์ที่ไม่จัดอยู่ในกลุ่ม Homo sapiens คือ
1. Neanderthal 2. Cro-Magnon 3. Grimaldi 4. Chancelade
ตอบ 1 หน้า 11 – 12, 38, 10 (H) มนุษย์ Neanderthal ถือเป็นตัวแทนของมนุษย์ Homo Fabor คือ มนุษย์ที่มีความสามารถเพียงการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ก่อนหน้าสมัยของมนุษย์ Homo Sapiens หรือมนุษย์ฉลาด ซึ่งถือเป็นมนุษย์ที่รู้จักคิดและรู้จักการโต้ตอบ และมีหน้าตาคล้ายมนุษย์ปัจจุบันมากขึ้น จนถือเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน ซึ่งจะมีอยู่ 3 เผ่าพันธุ์ คือ
1. โครมันยอง (Cro-Magnon) คือ คนขาว
2. กริมัลดี (Grimaldi) คือ คนดำ
3. ชานเชอเลด (Chancelade) คือ คนเหลือง หรือผิวสีน้ำตาล
9. ความสำคัญของมนุษย์ยุคหินกลาง คือ
1. รู้จักเพาะปลูก 2. รู้จักเลี้ยงสัตว์ 3. การตั้งถิ่นฐาน 4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 8 – 15, 38 – 39, 9 – 10 (H) ยุคหินแบ่งออกเป็น 4 ยุค คือ
1. ยุคหินแรก เป็นยุคลองผิดลองถูกของมนุษย์
2. ยุคหินเก่า หรือยุคเก็บผลไม้ เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มใช้อาวุธป้องกันตนเอง นุ่งห่มหนังสัตว์ และเก็บผลไม้
3. ยุคหินกลาง เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มรู้จักการเลี้ยงสัตว์ โดยสัตว์ที่นำมาเลี้ยงชนิดแรกคือ สุนัข
4. ยุคหินใหม่ หรือยุคปลูกผลไม้ เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูก จนถึงขั้นควบคุมการผลิตอาหารได้ ทำให้มนุษย์เปลี่ยนจากชุมชนเร่ร่อน มาเริ่มต้นตั้งถิ่นฐานถาวรรวมกันเป็นชุมชนรกราก
10. ประวัติศาสตร์ยุคกลางเริ่มต้นขึ้นเมื่อ
1. กรุงโรมถูกทำลาย 2. กรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกทำลาย
3. การประดิษฐ์แท่นพิมพ์ 4. การค้นพบโลกใหม่
ตอบ 1 หน้า 17, 2 – 3 (H), 16 (H) ในปี ค.ศ. 476 เป็นปีที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกสิ้นสุดลงเพราะถูกพวกอนารยชนเยอรมันเข้ายึดครองและทำลายกรุงโรม ซึ่งถือว่าเป็นปีแห่งการสิ้นสุดของยุคโบราณและเริ่มต้นก้าวเข้ายุคกลาง ทั้งนี้เพราะสังคมเมืองที่ทันสมัยภายใต้การปกครองของพวกโรมันต้องเปลี่ยนมาสู่สมัยแห่งความวุ่นวาย นั่นคือ การแปลงสภาพจากสังคมเมืองมาเป็นสังคมชนบทที่อารยธรรมความเจริญต่าง ๆ ไม่ได้รับการทำนุบำรุงรักษา
11. ทฤษฎีวิวัฒนาการของชาร์ลส์ ดาร์วิน เน้นในเรื่อง
1. พระเจ้าสร้างโลก
2. การปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม
3. การถ่ายทอดพันธุกรรม
4. ถูกข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 18 – 19, 11 (H) ชาร์ลส์ ดาร์วิน นักชาติพันธุ์วิทยาชาวอังกฤษ ได้เขียนหนังสือเรื่อง“ทฤษฎีวิวัฒนาการหรือทฤษฎีพัฒนาการ” (The Theory of Evolution) โดยสรุปคือ
1. สิ่งมีชีวิตถือกำเนิดมาจากสัตว์เชลล์เดียวในทะเล
2. สิ่งมีชีวิตจะค่อย ๆ เปลี่ยนรูปร่างไปตามสภาพแวดล้อม
3. สิ่งมีชีวิตย่อมได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมาจากพ่อและแม่ ดังนั้นทั้งพืชและสัตว์ที่มีชีวิตยืนยาวอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวก็จะถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมนั้นให้ลูกหลานด้วย
4. สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ จะต้องสูญพันธุ์ในที่สุด
12. ความสำคัญของวิชาประวัติศาสตร์ คือ
1. การเรียนรู้เรื่องราวของมนุษย์
2. การค้นคว้าหาหลักฐาน
3. การตรวจสอบซากสิ่งมีชีวิตที่ตกค้างตามชั้นของหิน
4. ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 20, 37, 12 (H) ประวัติศาสตร์คือ การเรียนรู้เกี่ยวกับชาติพันธุ์มนุษย์ ซึ่งน่าจะมีความหมายเป็น 2 นัย คือ 1. การศึกษาทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยกำเนิดมนุษย์มาจนถึงปัจจุบัน 2. ข้อวิจารณ์หรือบันทึกการค้นคว้าทั้งหลายที่ได้คัดเลือกเอามาเฉพาะหัวข้อที่น่าสนใจ ทั้งนี้จะใช้วิธีการศึกษาโดยการค้นคว้าหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ ซากวัสดุ และเรื่องราวที่ได้จารึกไว้เป็นหลักฐาน
13. วัฒนธรรม คือ
1. ความเจริญก้าวหน้า ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์
2. ภาษา
3. ศิลปกรรม
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 21 – 22, 12 (H) วัฒนธรรม คือ ความดีงาม ความเจริญก้าวหน้าในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรือประสบการณ์ทางสังคมทั้งหมดซึ่งกลุ่มมนุษย์ส่งผ่านแก่คนรุ่นต่อมา ได้แก่ ความรู้ ความเชื่อ ภาษา ศิลปกรรม ศิลปะ กฎหมาย ขนบธรรมเนียม มารยาททางสังคมและความสามารถอื่น ๆ ตลอดจนความเคยชินต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถดูความแตกต่างทางวัฒนธรรมของมนุษย์ได้จากศิลปะ ภาษา และพฤติกรรม
14. ทฤษฎีโนแมดทางอารยธรรมเน้นในเรื่อง
1. ผู้ชนะนำเอาอารยธรรมของผู้แพ้ที่เจริญกว่ามาปรับปรุงใช้
2. การเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์ในทะเลทราย
3. ความเสื่อมของสภาพแวดล้อม
4. สภาพทางภูมิศาสตร์มีผลต่อการสร้างอารยธรรม
ตอบ 1 หน้า 26 – 27, 13 (H) ทฤษฎีโนแมด (Nornad Theory) หมายถึง การที่ผู้ชนะนำเอาวัฒนธรรมและอารยธรรมที่เจริญกว่าของผู้แพ้มาเผยแพร่และปรับปรุงใช้ (คำว่า “Nomad” หมายถึง ชนเผ่าที่เร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ) เช่น ในกรณีที่พวกเซไมท์เข้ายึดครองดินแดนของพวกสุเมเรียนและรับเอาอารยธรรมของพวกสุเมเรียนมาปรับปรุงใช้ เป็นต้น
15. อารยธรรมโลก คืออารยธรรม
1. จีน-อินเดีย 2. อียิปต์-เมโสโปเตเมีย 3. กรีก 4. โรมัน
ตอบ 2 หน้า 30 – 31, 14 (H) อารยธรรมอียิปต์และเมโสโปเตเมียได้รับการยกย่องว่าเป็นอารยธรรมโลกซึ่งมีอิทธิพลและมีส่วนสำคัญอย่างมากในการวางรากฐานของอารยธรรมกรีก-โรมันที่ถือเป็นแม่แบบของอารยธรรมตะวันตก ส่วนอารยธรรมจีน-อินเดียนั้นถือเป็นแม่แบบของอารยธรรมตะวันตก
16. ความสำคัญของแม่น้ำไนล์ต่อการสร้างสมอารยธรรมของอียิปต์ คือ
1. ป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอก 2. เป็นที่อยู่ของเทพเจ้าองค์สำคัญของอียิปต์
3. สร้างความอุดมสมบูรณ์และความมั่งคั่งให้แก่อียิปต์ 4. เป็นแหล่งประมงที่สำคัญของอียิปต์
ตอบ 3 หน้า 46, 17 (H) จากทางที่สภาพภูมิประเทศของอียิปต์ล้อมรอบไปด้วยทะเลทราย มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง และมีฝนตกเฉพาะบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ (บริเวณเดลต้า) แม่น้ำไนล์จึงเป็นหัวใจสำคัญที่หลีกเลี่ยงและให้ความชุ่มชื้นแก่อียิปต์ จนทำให้อียิปต์กลายเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำการเกษตรกรรมและ มีความมั่งคั่ง จนสามารถสร้างสมอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ของโลกของโลกในยุคโบราณได้
17. กลุ่มผู้รุกรานจากภายนอกจะสามารถเข้ารุกรานอียิปต์ได้โดยง่ายโดยผ่านบริเวณ
1. แม่น้ำไนล์ 2. ช่องแคบสุเอช 3. ทะเลทราย 4. เดลต้า
ตอบ 2 หน้า 47 – 48, 18 (H) บริเวณเดียวที่เป็นจุดอ่อนทางภูมิศาสตร์ของอียิปต์ คือ บริเวณช่องแคบสุเอซ (Suez) ซึ่งเป็นพื้นที่เชื่อมระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชียตะวันตก และบริเวณที่ราบลุ่ม แม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีสนั้นก็คือแหล่งกำเนิดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ดังนั้นพื้นที่เขตช่องแคบสุเอชจึงเป็นทางเชื่อมหรือสะพานระหว่างสองทวีปและสอง อารยธรรม เป็นเส้นทางการค้า เป็นแหล่งเชื่อมความคิด และเป็นทางเดินของศัตรูผู้รุกรานตลอดสมัยประวัติศาสตร์อันยาวนานของอียิปต์
18. ความสำคัญของสมัยก่อนราชวงศ์อียิปต์ คือ
1. การสร้างปฏิทินแบบสุริยคติขึ้นใช้ 2. การแบ่งดินแดนออกเป็นอียิปต์สูงและอียิปต์ต่ำ
3. มีการปกครองแบบหมู่บ้านและนครรัฐ 4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 51 – 53, 18 – 19 (H) ความสำคัญของสมัยก่อนราชวงศ์อียิปต์ มีดังนี้
1. มีการปกครองแบบหมู่บ้านและมีหัวหน้าปกครอง เมื่อ 5,000 B.C.
2. มีการสร้างปฏิทินแบบสุริยคติที่ปีหนึ่งมี 365 ¼ วัน ในปี 4241 B.C.
3. มีการปกครองแบบนครรัฐ (City states) และแบ่งเป็นจังหวัด ในราว 3,200 B.C.
4. ดินแดนบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ตอน เรียกว่า Land of Two Lands คือ อียิปต์สูงหรืออียิปต์บน และอียิปต์ต่ำหรืออียิปต์ล่าง ฯลฯ
19. คำว่า “ฟาโรห์” มีความหมายที่แท้จริง คือ
1. กษัตริย์หรือผู้ปกครอง 2. เทพเจ้า 3. พีระมิด 4. พระราชวังหรือเรือนหลวง
ตอบ 4 หน้า 53, 19 (H) ฟาโรห์ (Pharoh) เป็นคำที่ใช้เรียกตำแหน่งกษัตริย์อียิปต์โบราณมาจากคำภาษาอียิปต์ว่า “Per-O” ซึ่งหมายถึง พระราชวัง (Great House) หรือเรือนหลวง (Royal House) นั่นเอง
20. ความสำคัญของสมัยประชาธิปไตยของอียิปต์ คือ
1. สมัยอาณาจักรกลาง
2. สมัยที่ประชาชนช่วยฟาโรห์ยึดอำนาจคืนจากพวกขุนนาง
3. สมัยที่ฟาโรห์อนุญาตให้ประชนเช่นเข้ารับราชการ 4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 55 – 56, 99, 20 (H) สมัยอาณาจักรกลางของอียิปต์ (2,000 B.C. – 1,73O B.C.) เป็นสมัยที่ฟาโรห์สามารถยึดอำนาจคืนมาจากขุนนางโดยได้รับความช่วยเหลือจากประชาชนจึงทรงให้รางวัลแก่ประชาชนโดยอนุญาตให้สามัญชนเข้ารับราชการ รวมทั้งให้สิทธิในการปกครองซึ่งถือได้ว่าเป็นสมัยเริ่มต้นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของอียิปต์ แต่การยึดอำนาจกลับคืนมาของฟาโรห์ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จสมบูรณ์ เพราะฟาโรห์ได้สูญอำนาจลงทีละน้อยเนื่องจากขุนนางค่อย ๆ รวบอำนาจ และต่อมาในปี 1730 B.C. อียิปต์ก็ถูกรุกรานโดยพวกฮิคโซสที่รู้จักการใช้ม้าและรถศึก ทำให้สามารถยึดครองอียิปต์ได้นานถึง 150 ปี
21. สมัยจักรวรรดิของอียิปต์เกิดขึ้นเมื่อ
1. มีการเปลี่ยนแปลงจากการสร้างพีระมิดมาเป็นการสร้างวิหาร
2. สามารถขับไล่พวกฮิคโซสออกจากอียิปต์
3. มีความรุ่งเรืองทางการค้า
4. พวกพระและขุนนางขึ้นมามีอำนาจ
ตอบ 1 หน้า 56 – 57, 20 (H) สมัยอาณาจักรใหม่หรือสมัยจักรวรรดิของอียิปต์ (1,580 B.C. – 1,090 B.C.) เกิดขึ้นเมื่ออียิปต์สามารถขับไล่พวกฮิคโซสออกจากอียิปต์ได้สำเร็จ แล้วฟาโรห์ก็เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดและปกครองด้วยอำนาจเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียวโดยมีการสร้างกองทัพบกและเรือ รับรูปแบบการใช้ม้าและรถศึกจากฮิคโซส และเริ่มมีการใช้เหล็กด้วย นอกจากนี้ยังนิยมสร้างวิหารตามไหล่เขาและหน้าผาอย่างใหญ่โตมโหฬาร เพื่อแสดงอำนาจและความมั่งคั่งของฟาโรห์แทนการสร้างพีระมิด
22. ความสำคัญของการปฏิรูปศาสนาของฟาโรห์อาเมนโฮโตปที่ 4 คือ
1. การนับถือเทพเจ้าองค์เดียว
2. การนับถือเทพเจ้าหลายองค์
3. การลดอำนาจของพวกพระ
4. ถูกข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 หน้า 58, 106, 21 (H) ความสำคัญของการปฏิรูปศาสนาของฟาโรห์อาเมนโฮโตปที่ 4 คือ
1. ต้องการปฏิรูปศาสนาเพี่อผลทางการเมืองคือ เปลี่ยนให้ชาวอียิปต์หันมานับถือสุริยเทพอาเมนเป็นเทพเจ้าเพียงองค์เดียวเท่านั้น และทรงเปลี่ยนพระนามของพระองค์เป็นอิคนาเตน (Ikhnaten) หมายถึง พระองค์ผู้ทรงเป็นที่พอพระทัยของอาเตน โดยถือว่าเป็นการสร้างอำนาจให้กับตนเองอีกทางหนึ่ง
2. ทรงต้องการตัดทอนหรือลดอำนาจของพวกพระ ซึ่งร่ำรวยขึ้นจากทรัพย์สินที่บรรดาหัวเมืองนำมาถวาย
23. จุดมุ่งหมายในการทำมัมมี่ของพวกอียิปต์ คือ
1. คิดจะกลับมาเกิดใหม่ในโลกหน้า 2. การเก็บรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อย
3. เพื่อการทดลองทางการแพทย์ 4. ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 64 – 65, 22 (H) ชาวอียิปต์มีความเชื่อเรื่องวิญญาณเป็นอมตะและชีวิตพลังความตายเป็นพวกมองโลกในแง่ดี และคิดหวังจะกลับมาเกิดใหม่ในโลกหน้า ด้วยเหตุนี้ชาวอียิปต์จึงมีวิธีเก็บรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยด้วยการทำเป็นมัมมี่ และสร้างพีระมิดไว้เก็บพระศพของฟาโรห์โดยฝังไปพร้อม ๆ กับข้าวของเครื่องใช้และอาหาร
24. สาเหตุที่นำความเสื่อมมาสู่อียิปต์ คือ
1. การรุกรานจากภายนอก 2. สงครามกลางเมือง
3. การเกิดโรคระบาด 4. ข้าวยากหมากแพง
ตอบ 1 หน้า 65, 22 (H) เมื่อประมาณ 1,100 B.C. อียิปต์เริ่มเสื่อมลงเนื่องจากการทำสงคราม และถูกรุกรานจากภายนอก นับตั้งแต่การทำสงครามกับพวกฮิทโทท์ อัสสิเรียน เปอร์เซีย และในปี 332 B.C. อียิปต์ก็ถูกยึดครองโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งกรีก ซึ่งพระองค์ได้ทรงสร้างเมืองอเล็กซานเดรียไว้ตรงปากแม่น้ำไนล์ เพื่อเป็นศูนย์กลางการปกครองและอารยธรรมไว้ในอียิปต์
25. คำว่า “Mesopotamia” มีความหมายถึง
1. Land of Two Lands 2. Land of Babylonia
3. Land between Rivers 4. Land of the Desert
ตอบ 3 หน้า 64 – 67, 22 – 23 (H) คำว่า “เมโสโปเตเมีย” (Mesopotamia) เป็นภาษากรีก แปลว่า “ดินแดนระหว่างแม่น้ำ” (Land between Rivers) เพราะตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีส ซึ่งบางครั้งน้ำในแม่น้ำก็ไหลล้นฝั่งแต่บางครั้งก็แห้งจนคาดคะเนไม่ได้ ทำให้ประชาชนที่มีอยู่หลายเชื้อชาติ (สุเมเรียน เซไมท์ และอินโด -ยุโรป) ในดินแดนนี้เดือดร้อนและทำสงครามแย่งชิงอำนาจกันอยู่ตลอดเวลา จนส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่กลายเป็นพวกมองโลกในแง่ร้าย ปลงทุกข์หวาดกลัว และไม่คิดเรื่องกลับมาเกิดใหม่
26. ความแตกต่างระหว่างอารยธรรมอียิปต์กับเมโสโปเตเมีย คือ
1. อียิปต์หวังจะกลับมาเกิดใหม่ แต่เมโสโปเตเมียไม่หวังจะกลับมาเกิดใหม่
2. อียิปต์เป็นที่อยู่ของกลุ่มชนหลายเชื้อชาติ แต่เมโสโปเตเมียเป็นที่อยู่ของชนเชื้อชาติเดียว
3. สถานภาพของสตรีในเมโสโปเตเมียดีกว่าอียิปต์
4. แม่น้ำที่ไหลผ่านเมโสโปเตเมียให้ความอุดมสมบูรณ์มากกว่าแม่น้ำที่ไหลผ่านอียิปต์
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 23. และ 25. ประกอบ
27. ตัวอักษรที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในดินแดนเมโสโปเตเมียเป็นตัวอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้นใช้โดยพวก
1. อียิปต์
2. สุเมเรียน
3. อัคเคเดียน
4. ฮิทไทท์
ตอบ 2 หน้า 69 – 71, l00, 22 – 24 (H) มรดกทางอารยธรรมที่สำคัญของชาวสุเมเรียน ได้แก่
1. ประดิษฐ์ตัวอักษรคูนิฟอร์มหรืออักษรรูปลิ่มขึ้นมาใช้กันอย่างแพร่หลายในเมโสโปเตเมีย
2. สร้างสถาปัตยกรรมด้วยอิฐที่เรียกว่า “ซิกกูแรต” (Ziggurats)
3. ทำปฏิทินจันทรคติขึ้นใช้โดยปีหนึ่งจะมี 354 วัน
4. การนับหน่วย 60, 10 และ 6 มีผลต่อการนับเวลาและการคำนวณทางเรขาคณิต
5. ใช้กฎหมายที่มีลักษณะสนองตอบ คือ “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน”
28. พวกอมอไรท์หรือพวกบาบิโลนเก่ามีผลงานทางอารยธรรมที่สำคัญ คือ
1. ตัวอักษร 2. การนับหน่วย 60 3. กฎหมาย 4. สถาปัตยกรรมชิกกูแรต
ตอบ 3 หน้า 72 – 74, 24 (H) มรดกทางอารยธรรมที่สำคัญของพวกอมอไรท์หรือพวกบาบิโลนเก่า คือ ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (Code of Hammurabi) ของกษัตริย์ฮัมมูราบี ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากกฎหมายของพวกสุเมเรียนที่อาศัยหลัก Lex Talionis (ลัทธิสนองตอบ) คือ ตาต่อตา ฟันต่อกน ซึ่งประมวลกฎหมายนี้ได้ใช้ต่อมาจนถึงสมัยของกฎหมายโรมัน
29. กลุ่มชนที่นำม้าเข้ามาใช้ในดินแดนเมโสโปเตเมียเป็นพวกแรก คือ
1. ฮิคโชส
2. แคสไซท์
3. อียิปต์
4. สุเมเรียน
ตอบ 2 หน้า 76, 80, 24 (H) ในปี 1750 B.C. พวกเเคสไซท์ (Kassites) ซึ่งเป็นอนารยชนเผ่าเซไมท์หรือเซมิติกในดินแดนเมโสโปเตเมีย ได้นำเอาม้าและรถศึกเข้ามาใช้ในบาบิโลเนียเป็นพวกแรกและเข้ายึดกรุงบานิโลนจากพวกอมอไรท์ได้สำเร็จ แต่พวกแคสไซท์ก็มีอำนาจอยู่ในระหว่างปี 1750 – 900 B.C. เท่านั้น จึงถูกพวกอัสสิเรียนขับไล่และเข้ายึดครองกรุงบาบิโลนแทน
30. สิ่งที่พวกฮิทไทท์ทิ้งไว้เป็นมรดกแก่ดินแดนตะวันออกใกล้ คือ
1. การใช้ม้า
2. การใช้เหล็ก
3. การผสมผสานตัวอักษรคูนิฟอร์มและเฮียโรกลิฟิกเข้าด้วยกัน
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 78 – 79, 25 (H) ผลงานทางด้านอารยธรรมของฮิทไทท์ คือ 1. นำเหล็กมาถลุงและหลอมใช้เป็นชาติแรก และรู้จักใช้ม้าในการรบ 2. ปรับปรุงและผสมผสานตัวอักษรคูนิฟอร์มของชาวสุเมเรียนและตัวอักษรเฮียโรกลิฟิกของอียิปต์ให้ใช้ง่ายขึ้น 3. กฎหมายเลียนแบบกฎหมายฮัมมูราบี แต่จะลงโทษด้วยการชดใช้แทนการแก้แค้น 4. ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้แก่พวกฟรีเจียนและลิเดียน ซึ่งต่อมากลุ่มชนทั้งสองก็ได้ถ่ายทอดวัฒนธรรมต่อให้แก่พวกกรีกซึ่งได้กลายมาเป็นผู้นำในการวางรากฐานให้แก่อารยธรรมตะวันตกในปัจจุบัน
31. ผลงานที่สำคัญของกษัตริย์อัสซูร์บานิพัลแห่งอัสสิเรีย คือ
1. ห้องสมุด
2. การแกะสลักภาพนูน
3. นิยายเรื่องการสร้างโลก
4. ถ่ายทอดอารยธรรมให้แก่พวกโรมัน
ตอบ 1 หน้า 82, 26 (F1) ผลงานสำคัญของกษัตริย์อัสซูร์บานิพัลแห่งอัสสิเรีย คือ ทรงสร้างหอสมุดที่กรุงนิเนอเวห์ ซึ่งถือเป็นห้องสมุดแห่งแรกของเอเชียตะวันตก และเป็นที่มาของการสร้างห้องสมุดในปัจจุบัน โดยภายในห้องสมุดได้บรรจุแผ่นดินเหนียวถึง 22,000แผ่น ส่วนใหญ่เป็นพวกเพลงสวดสำหรับพิธีทางศาสนาของพวกสุเมเรียน นิยายปรัมปราเกี่ยวกับการสร้างโลกครั้งใหญ่ตำราไวยากรณ์และตำราแพทย์
32. ผลงานที่สำคัญของพวกแคลเดียนหรือบาบิโลนใหม่ คือ
1. การทำลายจักรวรรดิอัสสิเรีย 2. การสร้างสวนลอย
3. วิชาดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ 4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 82 – 83, 26 (H) ผลงานสำคัญของพวกแคลเดียนหรือบาบิโลนใหม่ คือ
1. กษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ได้ร่วมมือกับพวกมีดส์หรือมีเดียทำลายจักรวรรดิอัสสิเรียและสถาปนาจักรวรรริแคลเดียหรือบาบิโลนใหม่ (New-Babylonia) 2. สร้างสวนลอยแห่งนครบาบิโลน 3. มีผลงานทางด้านวิชาโหราศาสตร์และดาราศาสตร์ โดยได้ค้นพบดาวเคราะห์ 5 ดวง คือ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์ เมื่อมารวมกับดวงอาทิตย์และดวงจันทร์กลายเป็นเทพผู้ยิ่งใหญ่ 7 องค์ ซึ่งนับเป็นมรดกทางอารยธรรมที่ใช้เรียกขานวันต่าง ๆ 7 วันใน 1 สัปดาห์ในปัจจุบัน
33. ความสำคัญของพวกฟินิเชียนกับพวกอราเมียน คือ
1. เป็นชนเผ่าเซไมท์เหมือนกัน
2. ฟินิเชียนเป็นพ่อค้าทางทะเล อราเมียนเป็นพ่อค้าทางบก
3. ภาษาอราเมียน คือ ภาษาที่พระเยซูและสาวกใช้เพื่อเผยแผ่ศาสนา
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 84 – 87, 27 (H) ความสำคัญของพวกฟินิเชียนและเราเมียน คือ
1. เป็นชนเผ่าเซไมท์ (เซมิติก) เหมือนกันและมีดินแดนที่อยู่ใกล้กัน
2. ฟินิเชียนเป็นพ่อค้าทางทะเลที่ยิ่งใหญ่ในย่านเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนอราเมียนเป็นพ่อค้าทางบกที่ยิ่งใหญ่ในเขตตะวันออกใกล้ (เอเชียตะวันตก)
3. พยัญชนะของฟินิเชียนได้กลายเป็นรากฐานของตัวอักษรกรีกและโรมันในเวลาต่อมาส่วนภาษาอราเมียนเป็นภาษากลางของกลุ่มเอเชียตะวันตก และเป็นภาษาที่พระเยชูและสาวกใช้ในการสอนศาสนา
34. ความสำคัญของพวกเฮบรูว์ คือ
1. มี The Old Testament เป็นคัมภีร์ทางศาสนา 2. มีอับราฮัมและกษัตริย์เดวิดเป็นที่สำคัญ
3. ถูกทำลายล้างโดยพวกโรมัน 4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 87 – 90, 28 – 30 (H) ความสำคัญของพวกเฮบรูว์หรือพวกยิว ได้แก่
1. มีบรรพบุรุษที่สำคัญ คือ อับราฮัม, ยาคอบหรืออิสราเอล, โมเสส, กษัตริย์ซอล, กษัติย์เดวิดและกษัตริย์โซโลมอน
2. เป็นชนชาติที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อคริสต์ศาสนา เพราะพระคัมภีร์เก่า (The old Testament) ของพวกเฮบรูว์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของพระคัมภีร์ไบเบิล (The Holy Bible) –ของศาสนาคริสต์
3. ถูกพวกโรมันทำลายโดยสงครามแบบเบ็ดเสร็จในระหว่างปี ค.ศ. 132 – 135 ฯลฯ
35. ความสำคัญของกษัตริย์ ครีซัสแห่งลิเดีย คือ
1. มั่งคั่งจากการค้า 2. การทำเหรียญทองผสมเงินขึ้นใช้
3. พ่ายแพ้พวกเปอร์เซียในปี 546 B.C. 4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 92 – 93, 30 (H) ความสำคัญของกษัตริย์ครีซัสแห่งลิเดีย ได้แก่
1. เป็นกษัตริย์ที่มั่งคั่งมากจากการค้ากับดินแดนแถบลุ่มน้ำไทกริส-ยูเฟรทีสและหมู่เกาะอีเจียน
2. ทำเหรียญทองผสมเงินขึ้นใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนตามน้ำหนักของเหรียญ ซึ่งถือเป็นมรดกทางอารยธรรมที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน
3. ทำสงครามกับเปอร์เซียจนในที่สุดก็ถูกยึดครองโดยพระเจ้าไชรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียในปี 546 B.C.
36. ความสำคัญของกษัตริย์ดาริอุสแห่งเปอร์เชีย คือ
1. ทรงอุปถัมภ์ศาสนาโซโรแอสเตอร์ 2. ขยายจักรวรรดิออกไปอย่างกว้างขวาง
3. พ่ายแพ้สงครามมาราธอนต่อพวกเอเธนส์ในปี 490 B.C. 4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 93 – 96, 143, 31 (H), 46 (H) ความสำคัญของกษัตริย์ดาริอุสมหาราชแห่งเปอร์เซีย มีดังนี้
1. ขยายจักรวรรดิออกไปอย่างกว้างขวางโดยแบ่งเขตออกเป็น 20 มณฑล เรียกว่า “Satrapies”
2. สร้างถนนไปตามเมืองต่าง ๆ ทั่วจักรวรรดิ เรียกว่า “เส้นทางพระราชา” (The King’s Highway) เพื่อใช้ประโยชน์ในการปกครอง การสื่อสาร และการค้า
3. ทรงอุปถัมภ์ศาสนาเซโรแอสเตอร์ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ
4. ทรงพ่ายแพ้ต่อพวกกรีกเอเธนส์ในสงครามมาราธอนในปี 490 B.C. ฯลฯ
37. ประชาชาติกลุ่มอารยธรรมอีเจียนทีทำสงครามกับพวกกรีกในสงครามม้าไม้ในมหากาพย์อีเลียด คือพวก
1. ครีตัน 2. ไมซีเนียน 3. ทรอย 4. เปอร์เซีย
ตอบ 3 หน้า 110 – 111, 113, 35 – 37 (H) พวกโทรจันหรือทรอย ถือเป็นประชาชาติกลุ่มอารยธรรมอีเจียนแหล่งสุดท้ายที่พยายามต่อสู้กับผู้รุกรานชาวกรีก จนเป็นต้นกำเนิดให้จินตกวีตาบอดชื่อโฮเมอร์ (Homer) แต่งมหากาพย์อีเลียด (Iliad) เล่าเรื่องราวการทำสงครามม้าไม้ (Trojan War) ระหว่างพวกกรีกกับทรอย จนเป็นเหตุให้ทรงทรอยต้องล่มสลายไปในที่สุด
38. ความสำคัญของศาสนาของชาวกรีก คือ
1. เน้นในเรื่องพระธรรมคำสั่งสอน 2. การนับถือเทพเจ้าเพียงองค์เดียว
3. เน้นในเรื่องการเกิดใหม่ในโลกหน้า
4. ความต้องการคำอธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเพื่อเป็นประโยชน์แก่ตนเอง
ตอบ 4 หน้า 114 – 115, 39 (H) ความเชื่อเรื่องศาสนาของกรีกในยุคกษัตริย์ หรือยุคที่เริ่มการปกครองแบบนครรัฐนั้น ชาวกรีกจะเน้นความต้องการให้ศาสนาอธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ การควบคุมตนเอง ความเจริญรุ่งเรืองของตนเอง และการทำมาหากิน รวมทั้งหนทางที่จะได้ผลประโยชน์ เช่น การมีอายุยืน โชคดี และเพาะปลูกได้ผล โดยจะไม่เน้นเรื่องจริยธรรมทางศาสนา การช่วยให้พ้นบาปหรือให้พรใด ๆ หรือชีวิตหลังความตาย
39. ชาวกรีก เรียกตนเองว่า
1. Hellenes 2. Hellas 3. Hellen1c 4. Hellenistic
ตอบ 1 หน้า 117, 38 (H) ชาวกรีกโบราณแม้จะแยกกันอยู่เป็นนครรัฐ แต่ก็รู้ตัวว่าเป็นชาวกรีกเหมือนกัน เพราะมีภาษาพูดและนับถือศาสนาเดียวกัน โดยชาวกรีกจะเรียกตนเองว่า เฮลเลนส์ (Hellenes) และเรียกดินแดนที่ตนอาศัยอยู่ว่า เฮลลัส (Hellas) ส่วนพวกที่ไม่พูดภาษากรีกจะถูกเรียกว่า พวกป่าเถื่อน (Barbarians)
40. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับนครรัฐสปาร์ตา
1. สืบเชื้อสายมาจากพวกดอเรียน
2. มีสภาพภูมิศาสตร์อยู่ในหุบเขาไม่ติดชายฝั่งทะเล
3. แก้ปัญหาทางเศรษฐกิจโดยการทำสงคราม
4. ชาวสปาร์ตามีภารกิจต่อรัฐน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบทับชนกลุ่มอื่น ๆ
ตอบ 4 หน้า 118 – 121, 40 – 41 (H) ลักษณะสำคัญของนครรัฐสปาร์ตา คือ
1. ชาวสปาร์ตาสืบเชื้อสายมาจากพวกตอเรียน
2. มีสภาพภูมิศาสตร์อยู่ในหุบเขาไม่ติดชายฝั่งทะเล ทำให้ไม่มีกำแพงธรรมชาติป้องกันเหมือนนครรัฐอื่น
3. แก้ปัญหาทางเศรษฐกิจโดยการทำสงครามปราบปรามนครรัฐอื่น ๆ
4. ปกครองแบบเผด็จการทหารเบ็ดเสร็จ เพื่อควบคุมพวกทาสที่มีจำนวนมากกว่า
5. ชาวสปาร์ตาเป็นผู้แบกภาระของรัฐไว้หนักที่สุด เพราะต้องเป็นทหารตั้งแต่อายุ 20 – 60 ปี
41. ยุคทองและยุคประชาธิปไตยของนครรัฐเอเธนส์เป็นสมัยที่อยู่ภายใต้การปกครองของ
1. ดราโค
2. โซลอน
3. คลิสเธนีส
4. เพริคลิส
ตอบ 4 หน้า 127, 130, 43 (H) ในสมัยที่เพริคลิสได้รับการเลือกตั้งให้เป็นผู้ปกครองเอเธนส์นั้น (ราวปี 461 – 429 B.C.) เขาได้ทำให้เอเธนส์กลายเป็นบรมครูของนครรัฐกรีกทั้งมวล ซึ่งถือว่าเป็นยุคทองของเอเธนส์ นอกจากนี้ยังเป็นยุคที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมในกิจกรรมทางการเมืองมากที่สุด ดังนั้นจึงนับเป็นสมัยประชาธิปไตยของเอเธนส์อีกด้วย
42. รัฐในอุดมคติของอริสโตเติล คือ
1. การปกครองโดยกลุ่มคนฉลาด 2. การปกครองโดยการใช้กฎหมาย
3. การปกครองแบบเผด็จการ 4. การปกครองแบบประชาธิปไตย
ตอบ 2 หน้า 142, 45 (H) ในด้านการปกครองนั้น อริสโตเติลไม่เน้นที่คณะบุคคลเหมือนเพลโตแต่เขาถือว่ารัฐในอุดมคติจะต้องมีการปกครองโดยการใช้กฎหมายเป็นหลัก มิใช่ตัวบุคคลเนื่องจากกฎหมายเกิดจากเหตุผล ซึ่งเป็นผลของความคิดอย่างรอบคอบและสมดุลแล้วนั่นเอง
43. การวิ่งมาราธอนในปัจจุบันเป็นผลมาจาก
1. การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในยุคโบราณ 2. การทำสงครามระหว่างเอเธนส์กับสปาร์ตา
3. การทำสงครามระหว่างเอเธนส์กับเปอร์เซีย 4. การบูชาเทพเจ้าประจำปีที่ทุ่งราบมาราธอน
ตอบ 3 หน้า 143, 46 (H) สงครามเปอร์เซียหรือสงครามมาราธอน เป็นการทำสงครามระหว่างกรีกเอเธนส์กับเปอร์เซียในปี 49O B.C. โดยในสงครามครั้งนี้ได้เกิดมีวีรบุรุษชาวเอเธนส์ชื่อเฟดิปปิดิส ซึ่งวิ่ง 2 วัน 2 คืนระหว่างเอเธนส์กับสปาร์ตาเพื่อขอกำลังทหารและแจ้งข่าวชัยชนะของเอเธนส์จนตัวเขาขาดใจตาย จึงเป็นตำนานให้เกิดการแข่งขันวิ่งมาราธอนเป็นระยะทาง 26 ไมล์ เมื่อมีการพื้นฟูกีฬาโอลิมปิกขึ้นใหม่ใน ค.ศ. 1896
44. สาเหตุที่พระเจ้าฟิลิปแห่งมาสิโดเนียสามารถรวบรวมนครรัฐกรีกเข้าด้วยกันได้สำเร็จในปี 338 B.C. คือ
1. การเกิดสงครามภายในนครรัฐกรีก 2. การได้รับความช่วยเหลือจากเปอร์เชีย
3. มาสิโดเนียมีความเจริญทางเทคโนโลยีมากกว่านครรัฐอื่น ๆ 4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 143 – 144, 46 (H) ในปี 431 – 404 B.C. นครรัฐสปาร์ตาและเอเธนส์ของกรีกได้ทำสงครามภายในระหว่างกันเอง เรียกว่า “สงครามเพลอปอนเนเชียน” (The Peloponnesian War) ซึ่งเกิดขึ้นบนคาบสมุทรเพลอปอนเนซุสเป็นส่วนใหญ่ ทำให้บรรดานครรัฐกรีกอ่อนแอลง จนเปิดโอกาสให้พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งมาสิโดเนียยกกองทัพทหารฟาลังก์ (Phalanx) เข้ายึดครองนครรัฐกรีกได้ทั้งหมด และสามารถรวบรวมนครรัฐกรีกซึ่งไม่เคยรวมกันเป็นรัฐเดียวเข้าไว้ด้วยกันได้เป็นผลสำเร็จในปี 338 B.C.
45. การปั้นพระพุทธรูปในอินเดียเป็นผลมาจาก
1. การทำสงครามระหว่างกรีกกับเปอร์เซีย
2. การรุกรานอินเดียโดยกองทัพของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์
3. เมื่อกรุงทรอยแตกพวกศิลปินทรอยได้หนีไปยังอินเดีย
4. อินเดียได้รับการถ่ายทอดการบินมาจากเปอร์เซีย
ตอบ 2 หน้า 152, 47 (H) (คำบรรยาย) อิทธิพลที่อินเดียได้รับจากกรีกในสมัยที่ถูกรุกรานโดยกองทัพของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช คือ ประติมากรรมหรือการปั้น ซึ่งที่เด่นชัดก็คือ การปั้นพระพุทธรูป ซึ่งพระพุทธรูปของอินเดียในระยะแรกนั้นจะมีลักษณะคล้ายกับ เทพเจ้าอพอลโลของกรีกมาก
46. สาธารณรัฐโรมันเกิดขึ้นจากการที่ชาวโรมันสามารถขับไล่อิทธิพลของพวก…..ออกไปจากกรุงโรมได้สำเร็จ
1. ละติน 2. อีทรัสกัน 3. คาร์เถจ 4. กรีก
ตอบ 2 หน้า 159, 48 – 49 (H) ในศตวรรษที่ 8 B.C. พวกอีทรัสกันซึ่งเป็นกลุ่มทหารรับจ้างจากเอเชียน้อย ได้เข้ามาปกครองโรมันในระบอบกษัตริย์อย่างกดขี่ จนในปี 509 B.C. พวกแพทริเชียน ซึ่งเป็นกลุ่มชนชั้นสูงของชาวโรมัน ก็ขับไล่อิทธิพลของพวกอีทรัสกันออกไปจากกรุงโรมได้สำเร็จจากนั้นชาวโรมันก็เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบกษัตริย์มาเป็นระบอบสาธารณรัฐ และดำรงอยู่ต่อมานานถึงประมาณ 500 ปี
47. สงครามปูนิท คือสงครามที่พวกโรมันทำกับพวก…..
1. ละติน 2. อีทรัสกัน 3. คาร์เถจ 4. กรีก
ตอบ 3 หน้า 163, 50 (H) สงครามปูนิก (The punic War) เป็นสงครามระหว่างโรมันกับคาร์เถจที่ทำกันถึง 3 ครั้ง ในช่วงระหว่างปี 264 – 149 B.C. ซึ่งสงครามจบลงด้วยชัยชนะของโรมันทำให้โรมันสามารถยึดครองเกาะซิซิลี่ แอฟริกาเหนือ สเปน และฝรั่งเศส
48. สำนวน “Cussing the Rubicon” มีความหมายถึง
1. การไปตายเอาดาบหน้า
2. ชัยชนะที่ได้มาแต่ผู้ชนะก็ได้รับความเสียหายเป็นอันมาก
3. การตัดสินใจเดินข้ามแม่น้ำ 4. การตัดสินใจเข้าโจมตีอียิปต์
ตอบ 1 หน้า 166, 50 (H) ในปี 49 B.C. จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) ได้นำกองทัพข้ามแม่น้ำ รูบิคอง (Rubicon) ซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างอิตาลีกับซิซัลไปน์โกล เข้าไปในกรุงโรมเพื่อทำสงครามแย่งชิงอำนาจกับปอมเปย์ และจากเหตุการณ์นี้ได้ทำให้เกิดสำนวนภาษาอังกฤษว่า “Crossing the Rubicon” ซึ่งมีความหมายว่า “ไปตายเอาดาบหน้า หรือการตกลงใจที่เด็ดเดี่ยว”
49. ผู้ที่นำปฏิทินแบบสุริยคติของอียิปต์มาเผยแพร่ใช้ในสาธารณรัฐโรมัน คือ
1. พระนางคลีโอพัตรา 2. จูเลียส ซีชาร์ 3. ปอมเปย์ 4. บรูตัส
ตอบ 2 หน้า 52, 50 – 51 (H) (ดูคำอธิบายข้อ 18. ประกอบ) ในปี 46 B.C. จูเลียส ซีซาร์ ได้นำเอาปฏิทินแบบสุริยคติของอียิปต์มาเผยแพร่และนำมาดัดแปลงใช้ในสาธารณรัฐโรมัน ซึ่งปฏิทินดังกล่าวก็ยังคงใช้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยชื่อเดือนกรกฎาคมหรือ July ก็มาจากชื่อของ Julius Caesar นั่นเอง ส่วนชื่อเดือนสิงหาคม หรือ August จะมาจากชื่อของจักรพรรคิออกุสตุสที่ 1 (Augustus I หรือ Augustus Caesar ซึ่งปกครองจักรววรรดิโรมันในปี 27 B.C.
50. ชื่อเดือนที่ได้มาจากชื่อของจักรพรรดิออกุสตุสที่ 1 (Augustus I) คือเดือน
1. มิถุนายน 2. กรกฎาคม 3. สิงหาคม 4. กันยายน
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 49. ประกอบ
51. คำว่า “Gladiator” มีความหมายถึง
1. ถนนโรมัน
2. ปูนซีเมนต์ซึ่งพวกโรมันนำมาใช้เป็นพวกแรก
3. กีฬาที่มีการต่อสู้ระหว่างคนกับคนและคนกับสัตว์
4. สถานที่แข่งรถศึกของพวกโรมัน
ตอบ 3 หน้า 177 – 176, 52 (H) คำว่า กลาดิเอเตอร์ (Gladiator) หมายถึง กีฬาที่มีการต่อสู้แบบรุนแรงระหว่างคนกับคนและคนกับสัตว์ ซึ่งจะต่อสู้กันถึงตาย จึงนับเป็นกีฬาที่ป่าเถื่อนแต่เป็นที่นิยมกันในจักรวรรดิโรมัน โดยจะจัดแข่งขันกันในสนามแข่งขันที่ใหญ่ที่สุด เรียกว่าสนามกีฬาโคลอสเซียม (Colosseum) ในกรุงโรม
52. ภาษาของชาติใดที่ไม่ได้สืบทอดมาจากภาษา Romance หรือภาษาละติน
1. อิตาเดียน 2. ฝรั่งเศส 3. สเปน 4. อังกฤษ
ตอบ 4 หน้า 180, 53 (H) ภาษาละตินเป็นต้นกำเนิดของภาษาโรมานซ์สมัยใหม่ (Romance Language) ซึ่งได้แก่ ภาษาอิตาเลียน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส และภาษารูมาเนีย ส่วนภาษาอังกฤษนั้นมีต้นกำเนิดส่วนใหญ่มาจากภาษาเยอรมัน แต่ก็มีคำในภาษาอังกฤษถึง 1 ใน 3 ที่มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน
53. ผู้ที่ทำให้เปิดวิชาเทววิทยา (Theology) ขึ้นคือ
1. พระเยชู 2. เชนต์ปอล 3. เซนต์ปีเตอร์ 4. เซนต์เจมส์
ตอบ 2 หน้า 183, 53 (H) เซนต์ปอลได้สร้างกฎเกณฑ์ทางศาสนาต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับคำสอนของพระเยซู และเป็นคนแรกที่ทำให้เกิดวิชาเทววิทยา (Theology) ขึ้น ซึ่งทำให้ผู้เลื่อมใสได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้าเรื่องของศาสนาและพระเจ้ามากขึ้นกว่าเดิม
54. คริสต์ศาสนาที่นับถือในอาณาจักรโรมันตะวันออกนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1054 เป็นต้นมา เป็นที่รู้จักกันในนาม
1. Roman Catholic 2. Greek Orthodox 3. Protestant 4. Puritan
ตอบ 2 หน้า 185, 239, 321, 54 (H) ในปี ค.ศ. 1054 ศาสนาคริสต์ได้แยกออกจากกันเป็น 2 นิกายอิสระ คือ
1. นิกายกรีกออร์ธอดอกส์ (Greek Orthodox) นับถือกันในอาณาจักรโรมันตะวันออกโดยมีแพทริอาร์ช (Patriarch) แห่งกรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นประมุข
2. นิกายโรมันคาทอลิก (Ronan Catholic) นับถือกันในอาณาจักรโรมันตะวันตกโดยมีสันตะปาปา (Pope) ที่กรุงโรมเป็นประมุข
55. พืชชนิดใดไม่ได้มีถิ่นกำเนิดมาจากโลกใหม่
1. Tobacco 2. Potato 3. Tomato 4. Apple
ตอบ 4 หน้า 55 (H) พืชที่มีถิ่นกำเนิดมาจากโลกใหม่และถูกนำไปเผยแพร่โดยชาวยุโรป ได้แก่ ยาสูบ (Tobacco), มันฝรั่ง (Potato), มะเขือเทศ (Tomato), โกโก้ (Cacao), หมากฝรั่ง (Gum) ข้าวโพด (Maize) เป็นต้น
56. ลักษณะเด่นของยุคกลาง คือ
1. คนไม่ค่อยรู้หนังสือ 2. ศาสนจักรมีอำนาจสูงสุด
3. ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ 4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 208, 59 (H) ลักษณะเด่นของยุคกลาง คือ
1. คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้หนังสือ แต่จะเรียนรู้ด้วยวิธีการฝึกทักษะ หรือการเรียนรู้ด้วยของจริงจากการดู การฟัง และการฝึกวิชาชีพ
2. ศาสนจักรมีอำนาจสูงสุด มีอิทธิพลเหนือสังคมและความเชื่อของผู้คนในสมันนั้น
3. มีการปกครองเป็นแบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism)
4. พวกอนารยชน คริสต์ศาสนา และระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ เป็นสถาบันที่มีบทบาทเด่นในการผสมผสานและพัฒนาในยุคกลาง
57. พวกอนารยชนลอมบาร์ดได้อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศใดในปัจจุบัน
1. อังกฤษ 2. อิตาลี 3. ฝรั่งเศส 4. เยอรมนี
ตอบ 2 หน้า 212, 60 (H) หลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกแล้ว พวกอนารยชนลอมบาร์ด (The Lombards) ก็เริ่มรุกรานอิตาลีในปี ค.ศ. 568 โดยยึดภาคเหนือของลุ่มแม่น้ำโปไว้เป็นที่มั่นแล้วขยายอำนาจลงไปทางตอนใต้ของแหลมอิตาลี และได้ก่อตั้งแคว้นลอมบาร์รีขึ้น ทำให้ต่อมาดินแดนแบบนี้จึงได้ชื่อว่าแค้วนลอมบาร์ดี
58. ภาษาที่เป็นลายลักษณ์อักษรภาษาแรกของพวกเยอรมัน คือภาษาของพวก
1. กอธ 2. เบอร์กันเดียน 3. แฟรงค์ 4. แวนเดิล
ตอบ 1 หน้า 211, 60 (H) ภาษาลายลักษณ์อักษรภาษาแรกของพวกเยอรมัน คือ ภาษาของพวกกอธ(Goths) หรือภาษากอธ (Gothic) ซึ่งเป็นอนารยชนชาวเยอรมันตะวันออก (East Germans) พวกแรกที่เดินทางเข้าไปในรัสเซียจนถึงบริเวณทะเลดำ เมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 3
59. สาเหตุความเสื่อมของราชวงค์เมโรแวงเจียนของพวกแฟรงค์ คือ
1. การเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์
2. การแบ่งดินแดนให้แก่พระราชโอรสทุกพระองค์
3. การทำสงครามแย่งชิงดินแดนระหว่างพระราชโอรสเมื่อกษัตริย์องค์เดิมสิ้นพระชนม์
4. ถูกข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 215 – 216, 62 (H) เมื่อกษัตริย์โคลวิสของพวกแฟรงค์สิ้นพระชนม์ลงใน ค.ศ. 511 ราชวงศ์เมโรแวงเจียนค่อย ๆ เสื่อมอำนาจ เนื่องจากประเพณีที่กษัตริย์ทรงแบ่งดินแดนในอาณาจักรให้แก่พระราชโอรสทุกพระองค์ ทำให้อาณาจักรแตกแยก และเกิดการทำสงครามแย่งชิงดินแดนกันเองระหว่างพระราชโอรส จนในที่สุดอำนาจก็ตกไปอยู่กับสมุหราชมณ-เทียรและนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 738 (ปลายศตวรรษที่ 8) เป็นต้นมานั้น กษัตริย์เมโรแวงเจียนก็กลายเป็น “กษัตริย์ที่ไม่ทำอะไร” (Do nothing Kings) หรือกษัตริย์ที่ขี้เกียจ (Sluggard Kings)
60. การบริจาคที่ดินของเปแปง (Donation of Pepin) ให้แก่สันตะปาปาในปี ค.ศ. 752 มีผลติดตามมา คือ
1. ทำให้อำนาจทางการเมืองของเปแปงมั่นคงยิ่งขึ้น
2. เปแปงได้รับการสนับสนุนทางการเมืองจากสันตะปาปา
3. ทำให้เกิดรัฐสันตะปาปาขึ้นในเวลาต่อมา
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 217, 319, 62 – 63 (H) เมื่อเปแปงที่ 3 ขึ้นเป็นกษัตริย์ของราชวงศ์คาโรแลงเจียนในปีค.ศ. 752 แล้ว เปแปงก็ต้องการการสนับสนุนทางการเมือง จึงเข้ายึดครองอาณาจักรภาคกลางในอิตาลีของพวกลอมบาร์ด และนำไปถวายแก่สันตะปาปา เรียกว่า การบริจาคที่ของเปแปง (Donation of Pepin) ซึ่งมีผลตามมาคือ เกิดรัฐสันตะปาปา (Papal States) และเป็นการเริ่มอำนาจทางการเมืองของสันตะปาปาในอิตาลี ซึ่งยืนยงต่อมาจนถึง ค.ศ. 1870
61. ความสำคัญของจักรพรรดิชาร์เลอมาญ คือ
1. รวบรวมดินแดนในยุโรปเข้าด้วยกันเป็นปึกแผ่น
2. ได้รับการสวมมงกุฎเป็นจักรพรรดิจากสันตะปาปาในปี ค.ศ. 800
3. ฟื้นฟูศิลปวิทยาขึ้นมาใหม่ภายหลังจากกรุงโรมแตกในศตวรรษที่ 5
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 217 – 220, 63 (H) ความสำคัญของจักรพรรดิชาร์เลอมาญ (Charlemagne) คือ
1. ทรงรวบรวมดินแดนในยุโรปตะวันตกเข้าด้วยกันเป็นปึกแผ่น
2. ทรงได้รับการสวมมงกุฎเป็นจักรพรรดิจากสันตะปาปาลีโอที่ 3 ในปี ค.ศ. 800 ซึ่งเท่ากับเป็นการฟื้นฟูจักรวรรดิโรมันตะวันตกขึ้นมาใหม่ โดยมีจักรพรรดิเป็นชาวเยอรมัน
3. มีการฟื้นฟูศิลปวิทยาคาโรแลงเจียนขึ้นมาใหม่คือ การผสมผสานอารยธรรมคลาสสิกกับรูปแบบประเพณีของอนารยชน ฯลฯ
62. ความหมายของคำว่า “Fiefs” คือ
1. เจ้าของที่ดิน
2. ผู้เช่าที่ที่ดิน
3. ที่ดินที่เป็นพันธะระหว่างเจ้าของที่ดินกับผู้ใช้ประโยชน์จากที่ดิน
4. ที่ดินของพวกทาสติดที่ดิน
ตอบ 3 หน้า 223, 65 (H) ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์หรือระบอบฟัวดัล (Feudalism/Feudal) มาจากคำว่า “Feuda” หรือ“Fiefs” ซึ่งหมายถึง ที่ดินที่เป็นพันธะระหว่างเจ้าของที่ดินหรือเจ้า (Lord) กับผู้ใช้ประโยชน์จากที่ดินหรือข้า (Vassals)
63. ความสำคัญของเงินช่วย Aids ในระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ คือ
1. เพื่อจัดทัพไปทำสงครามครูเสด
2. เพื่อไถ่ตัวเจ้าเมื่อถูกจับเป็นเชลย
3. เพื่อจ่ายแก่บุตรของเจ้าเมื่อได้รับการแต่งตั้งเป็นอัศวิน
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 229 Aids คือ เงินช่วยที่ข้าผู้เช่าที่ดินจะต้องจ่ายให้แก่เจ้าเพื่อใช้ในโอกาสต่าง ๆ ได้แก่
1. เพื่อจัดทัพไปทำสงครามศาสนาหรือสงครามครูเสด
2. เพื่อไถ่ตัวเจ้าเมื่อถูกจับไปเป็นเชลยสงคราม
3. เพื่อจ่ายแก่บุตรชายของเจ้าเมื่อได้รับการแต่งตั้งเป็นอัศวิน
4. เพื่อจ่ายในการแต่งงานลูกคนโตของเจ้า
64. ความสำคัญของการบัพพาชนียกรรม (Excommunication) และ interdict คือ
1. การประกาศสันติสุขแห่งพระเจ้า 2. ระยะพักรบเพื่อพระผู้เป็นเจ้า
3. เป็นการลงโทษทางศาสนา 4. เป็นการแต่งตั้งพระในตำแหน่งสูง ๆ
ตอบ 3 หน้า 240, 321, 66 (H) มาตรการลงโทษทางศาสนาคริสต์ มีดังนี้
1. Excommunication หรือการบัพพาชนียกรรม คือ การประกาศขับไล่บุคคลให้เป็นพวกนอกศาสนา หรือพากนอกรีต (Heretic) ทำให้ไม่มีใครคบด้วย
2. Interdict คือ การประกาศให้เป็นดินแดนนอกศาสนา ห้ามทำพิธีกรรม และบางกรณีอาจตัดกลุ่มชนออกจากศาสนา ซึ่งถือว่าเป็นการลงโทษที่รุนแรงที่สุด ส่งผลให้คนเกรงกลัวเชื่อฟังศาสนา และทำให้ศาสนาคริสต์มั่นคงเป็นปึกแผ่นอยู่ได้ในยุคกลาง
65. สาเหตุสำคัญที่นำความเสื่อมมาสู่ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ คือ
1. สงครามครูเสด 2. ความเจริญทางการค้า 3. การเกิดโรคระบาด 4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 237, 66 – 67 (H) สาเหตุสำคัญที่ทำให้ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์หรือระบอบฟิวดัล๘ เสื่อมลงได้แก่
1. สงครามครูเสด ทำให้พวกขุนนางตายไปจำนวนมาก กษัตริย์จึงมีอำนาจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
2. ความเจริญทางการค้า ซึ่งเป็นผลมาจากสงครามครูเสด
3. ความสำเร็จในการผลิตกระสุนดินปืน ทำให้อัศวินสวมเกราะและป้อมปราการหมดความหมาย
4. การเกิดโรคระบาดในศตวรรษที่ 14 คือ กาฬโรค ทำให้ประชากรลดลง พวกทาศติดที่ดินจึงหางานทำได้ง่ายขึ้น
66. จักรพรรดิโรมันผู้ทรงยอมรับเอาคริสต์ศาสนามาเป็นศาสนาประจำชาติในปี ค.ศ. 380 คือ
1. คอนสแตนติน 2. ทีโอโดซิอุส 3. เนโร 4. ออกุสตุสที่ 1
ตอบ 2 หน้า 165, 54 (H) ในปี ค.ศ. 380 เป็นปีที่สำคัญต่อบทบาทของศาสนาคริสต์ เมื่อจักรพรรดิ ทีโอโดซิอุส (Theodosius) ได้ทรงประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาติของจักรวรรติโรมันทำให้ศาสนาคริสต์มีบทบาทางการเมืองของโรมันอย่างแท้จริง จนกระทั่งกลายเป็นองค์การทางศาสนาและการเมืองที่สำคัญและมีบทบาทมากที่สุดในพระวัติศาสตร์
67. จักรพรรดิเยอรมันผู้ได้รับการสวมมงกุฎจากสันตะปาปาในปี ค.ศ. 962 เพื่อสถาปนาจักรวรรดิโรมัน
อันศักดิ์สิทธิ์ขึ้นเช่นเดียวกับสมัยจักรพรรดิชาร์เลอมาญ คือ
1. คอนราด 2. ฟิลิป 3. ออตโตที่ 1 4. เฮนรี่ที่ 1
ตอบ 3 หน้า 246 – 247, 69 (H) ในปี ค.ศ. 962 พระเจ้าออตโตที่ 1 แห่งแซกโซนี ได้รับการสวมมงกุฎจากพระสันตะปาปาจอห์นที่ 12 ให้ดำรงตำแหน่งเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire) เช่นเดียวกับที่จักรพรรดิชาร์เลอมาญเคยได้รับ แต่จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ของจักรพรรดิออตโตที่ 1 จะประกอบไปด้วยดินแดนเยอรมนีและอิตาลี ซึ่งทำให้พระองค์มีอำนาจยิ่งใหญ่ในยุโรปในฐานะพระจักรพรรดิผู้ปกครองเยอรมนี และยังได้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์แห่งอิตาลีอีกด้วย
68. โบสถ์เชนต์โซเฟียในกรุงคอนสแตนติโนเปิลสร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิ
1. ลีโอ 2. จัสติเนียน 3. เนโร 4. ทราจัน
ตอบ 2 หน้า 252 – 253, 70 (H) ผลงานที่สำคัญของจักรพรรดิจัสติเนียนแห่งจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้แก่
1. ขยายอาณาเขตออกไปถึงภาคเหนือของแอฟริกา ภาคใต้ของสเปนและอิตาลีในยุโรปตะวันตก
2. สร้างประมวลกฎหมายจัสติเนียน (Corpus Juris Civillis) ในปี ค.ศ. 529
3. สร้างโบสถ์เซนต์โซเฟีย (Santa Sophia) ในกรุงคอนสแตนติโนเปิลเมื่อ ค.ศ. 537
69. ความพ่ายแพ้ของจักรพรรดิเฟรเดอริก บาร์บารอสซา ต่อสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3 ตามสนธิสัญญาสันติภาพคองสตังซ์ในปี ค.ศ. 1183 มีผลที่ติดตามมา คือ
1. สิ้นสุดการรวมดินแดนเยอรมนีเข้ากับอิตาลี
2. ดินแดนเยอรมนีแตกแยกออกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย
3. สันตะปาปาได้ขึ้นดำรงตำแหน่งจักรพรรดิ 4. ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 261, 71 – 72 (H) จากความพ่ายแพ้ของจักรพรรดิเฟรเดอริกที่ 1 บาร์บารอสซาต่อสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3ในสงครามระหว่างอาณาจักรกับศาสนจักร ทำให้จักรพรรดิต้องทำสนธิสัญญาสันติภาพคองสตังซ์กับพวกลอมบาร์ดในปี ค.ศ. 1183 ซึ่งมีผลตามมา คือ
1. แคว้นลอมบาร์ดเป็นอิสระและได้ปกครองตนเอง
2. สิ้นสุดการรวมดินแดนอิตาลีเข้ากับเยอรมนี
3. อาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ดินแดนเยอรมนี) แตกแยกออกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย
70. ขุนนางฝรั่งเศสผู้สามารถยกกองทัพไปตีอังกฤษได้สำเร็จและปราบดาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์อังกฤษในปี ค.ศ. 1066 คือ
1. ฟิลิป ออกัสตัส 2. วิลเลียมแห่งนอร์มังดี 3. อองรี 4. หลุยส์
ตอบ 2 หน้า 271, 72 (H) 74 (H) ในปี ค.ศ. 1066 วิลเลียมแห่งนอร์มังดี ขุนนางฝรั่งเศสซึ่งมีฐานะ เป็นข้า (Vassal) ของกษัตริย์ฝรั่งเศสได้ยกกองทัพเข้ายึดครองอังกฤษได้สำเร็จ และได้ปราบดาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์อังกฤษ คือ กษัตริย์วิลเลียมที่ 1 หรือวิลเลียมผู้พิชิต (William the Conqueror) ซึ่งมีผลให้กษัตริย์อังกฤษมี 2 สถานภาพ คือ เป็นเจ้า (Lold) สูงสุดในอังกฤษและเป็นข้า (Vassal) ของกษัตริย์ฝรั่งเศสเมื่อไปถือครองดินแดนในฝรั่งเศส ซึ่งจะกลายมาเป็นชนวนของสงครามร้อยปีระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสในเวลาต่อมา
71. การที่พระเจ้าจอห์นกษัตริย์อังกฤษถูกพวกขุนนางบังคับให้ลงนามในเออสาร Magna Carta ในปี ค.ศ.1215 ทำให้มีผลติดตามมา คือ
1. เป็นจุดเริ่มต้นของระบอบรัฐสภาในอังกฤษ
2. กษัตริย์อังกฤษจะต้องอยู่ภายใต้อำนาจของพวกขุนนาง
3. กษัตริย์อังกฤษต้องขอความช่วยเหลือจากกษัตริย์ฝรั่งเศส
4. ทำให้การเก็บภาษีมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
ตอบ 1 หน้า 275, 75 (H), 108 (H) ในปี ค.ศ. 1215 พระเจ้าจอห์นกษัตริย์อังกฤษทรงถูกพวกขุนนางบังคับให้ลงนามในรัฐธรรมนูญแมกนา คาร์ตา (Magna Carta หรือ The Great Charter) ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของอังกฤษ โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้เดิมผลให้กษัตริย์ถูกลดอำนาจในการตัดสินคดี และการจัดเก็บภาษีต้องทำด้วยความยุติธรรม ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองในระบอบรัฐสภาของอังกฤษ และเป็นการปกครองที่กษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
72. สงครามครูเสดครั้งที่ 4 มีผลทำให้กองทัพครูเสดยึดครองกรุง….ได้สำเร็จ
1. เยรูซาเล็ม 2. คอนสแตนติโนเปิล 3. ไคโร 4. แบกแดด
ตอบ 2 หน้า 283, 76 (H) สงครามครูเสดครั้งที่ 4 (ค.ศ. 1202 – 1204) เป็นสงครามระหว่างพวกคริสเตียนในจักรวรรดิโรมันตะวันตกกับจักรวรรดิโรมันตะวันออกด้วยกันเองเนื่องจากกองทัพครูเสดของจักรวรรดิโรมันตะวันตกภายใต้การนำของสาธารณรัฐเวนิสและวารสนับสนุน ของสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 ได้เข้ายึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิลซึ่งเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันตะวันออกได้สำเร็จ
73. ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ “ประกาศทอง” (The Golden Bull) ในปี ค.ศ. 1356 แล้ว ผู้มีสิทธิในการเลือกตั้งจักรพรรดิของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ คือ
1. สันตะปาปา
2. คณะผู้เลือกตั้ง 7 คน
3. จักรพรรดิแห่งอาณาจักรโรมันตะวันออก
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 292 – 293, 78 (H) ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับประกาศทอง (The Goden Bull) ในปี ค.ศ. 1356โดยจักรพรรดิชาร์ลที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์กนั้น ได้กำหนดให้เจ้าผู้ครองแคว้นในอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (เจ้าเยอรมัน) 7 องค์ หรือจัดเป็นคณะผู้เลือกตั้ง 7 คน เป็นผู้มีสิทธิเลือกจักรพรรดิองค์ใหม่โดยไม่ต้องมีการรับรองจากศาสนจักร จึงถือเป็นการตัดสิทธิในการเลือกจักรพรรดิของสันตะปาปาออกไป
74. ผลของสงครามร้อยปีระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสซึ่งต้นสุดลงในปี ค.ศ. 1453 คือ
1. ทำให้ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์เสื่อม 2. ทำให้เกิดความรู้สึกชาตินิยม
3. กษัตริย์มีอำนาจเพิ่มขึ้น 4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 299, 79 (H) ผลของสงครามร้อยปี (ค.ศ. 1337 – 1453) ระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสมีดังนี้ คือ
1. เป็นการสิ้นสุดระบอบฟิวดัลหรือระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ทั้งในอังกฤษและฝรั่งเศส เพราะพวกขุนนางตายไปเป็นจำนวนมาก และยังส่งผลให้กษัตริย์มีอำนาจเพิ่มขึ้น
2. ทำให้เกิดความรู้สึกชาตินิยมขึ้นทั้ง 2 ชาติ กษัตริย์สามารถรวมชาติได้สำเร็จ
3. อังกฤษได้เลิกใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ
75. “สมัยการคุมขังแห่งบาบิโลเนีย” (Babylonian Captivity 1305 – 1377) มีความสำคัญ คือ
1. สันตะปาปาเสด็จมาประทับที่เมืองอาวิญยอง
2. สันตะปาปาตกอยู่ภายใต้อำนาจของกษัตริย์ฝรั่งเศส
3. แสดงให้เห็นถึงความเสื่อมอำนาจของสันตะปาปา
4 ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 300 – 303, 80 – 81 (H) สมัยการคุมขังแห่งบาบิโลเนียในตอนปลายยุคกลาง(Babylonian Captivity 1305 – 1377) เป็นสมัยที่มีการเปรียบเทียบสันตะปาปาว่าเป็นเหมือนกับพวกยิวที่ถูกกวาดต้อนไปอยู่กรุงบาบิโลนในยุคโบราณ เนื่องจากสันตะปาปาได้ย้ายที่ประทับจากกรุงโรมในอิตาลีมาอยู่ที่เมืองอาวิญยองในฝรั่งเศส ซึ่งมีผลตามมาคือ
1. สันตะปาปาตกอยู่ภายใต้อำนาจของกษัตริย์ฝรั่งเศสที่มีสิทธิแต่งตั้งและถอดถอนสันตะปาปา
2. สันตะปาปามิได้มีฐานะเป็นประมุขสากลอีกต่อไป
3. แสดงให้เห็นถึงความเสื่อมอำนาจของส้นตะปาปาและศาสนจักร
76. ความสำเร็จของการสถาปนารัฐชาติของพระเจ้าเฟอร์ดินานกับพระนางอิสซาเบลลาแห่งสเปน คือ
1. การยึดกรุงเยรูซาเล็มจากพวกมอสเล็ม 2. การยึดกรานมาดาจากมัวร์
3. การเข้ายึดครองโปรตุเกส 4. การทำสงครามจนได้รับชัยชนะจากฝรั่งเศส
ตอบ 2 หน้า 267, 335 – 336, 86 – 87 (H) การรวมสเปนที่เข้มแข็งที่สุดเกิดขึ้นเมื่อกษัตริย์อาทอลิก(The catholic Kings) แห่งสเปน คือ พระเจ้าเฟอร์ดินานที่ 2 แห่งอรากอน และพระราชนี-อิสซาเบลลาที่ 1 แห่งคาสติล ได้ทรงอภิเษกสมรสและร่วมกันทำสงครามครูเสดจนสามารถขับไล่พวกมัวร์ออกจากสเปนและยึดอาณาจักรกรานาตาคืนมาได้สำเร็จในเดือนมกราคม ค.ศ. 1492 ทำให้การปกครองโดยมุสลิมในสเปนสิ้นสุดลง และสามารถสถาปนารัฐชาติได้สำเร็จมั่นคงตั้งแต่ ค.ศ. 1469 – 1516
77. ในสมัยศตวรรษที่ 15 ดินแดนที่ยังไม่ได้รวมตัวเป็นรัฐชาติ คือ
1. เยอรมนี 2. อิตาลี 3. โปรตุเกส 4. ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 332, 393, 86 (H) ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นสมัยการกำเนิดรัฐชาติภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และได้ประสบความสำเร็จใน 4 ประเทศ คือ สเปน โปรตุเกส ฝรั่งเศส และอังกฤษ ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากความเสื่อมของระบอบฟิวดัล และความสำนึกในความเป็นชาติ
78. ลักษณะที่สำคัญของลัทธิพาณิชย์ชาตินิยม (Mercantilism) คือ
1. การควบคุมเศรษฐกิจโดยรัฐบากแห่งชาติ 2. รัฐบาลหาเงินมาเพื่อขยายกองทัพ
3. การพึ่งพาเศรษฐกิจชาติอื่น ๆ ให้น้อยที่สุด 4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 339 – 340, 88 (H) ลักษณะที่สำคัญของลัทธิพาณิชย์ชาตินิยม (Mercantilism) ได้แก่
1. รัฐบาลแห่งชาติเป็นผู้ควบคุมเศรษฐกิจทั้งหมด
2. นายทุนจะได้รับการส่งเสริมทางการค้า
3. รัฐบาลนำเงินที่ได้จากการค้าไปสร้างกองทัพเพื่อป้องกันการรุกรานจากชาติอื่น
4. บังคับให้ประเทศอาณานิคมค้าขายกับเมืองแม่เท่านั้น
5. พึ่งพาเศรษฐกิจของชาติอื่น ๆ ให้น้อยที่สุด
6. เน้นการแข่งขันทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างรัฐชาติ
79. ชาวโปรตุเกสคนแรกที่ค้นพบเส้นทางเดินเรือมาสู่อินเดีย คือ
1. ไดแอซ 2. วาสโก ดา กามา 3. คาบรัล 4. แมกเจลแลน
ตอบ 2 หน้า 336, 351, 90 (H) ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 โปรตุเกสเบนชาติแรกที่เป็นผู้นำในการเดินเรือเข้ามาในทวีปเอเชีย โดยนักเดินเรือคนสำคัญ คือ วาสโก ดา กามา (Vasco da Gama)สามารถเดินเรืออ้อมทวีปแอฟริกา ไปถึงอินเดียในปี ค.ศ. 1498 ได้สำเร็จเป็นคนแรก
80. สนธิสัญญาทอร์เดเซลลัส ค.ศ. 1494 โดยสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 เป็นสนธิสัญญาเพื่อแบ่งเขตสำรวจทางทะเลระหว่างประเทศ……. กับประเทศ……..
1. สเปน โปรตุเกส 2. โปรตุเกส อังกฤษ 3. อังกฤษ สเปน 4. สเปน ฝรั่งเศส
ตอบ 1 หน้า 351, 90 (H) จากข้อพิพาทในการสำรวจดินแดนอเมริกา ได้ทำให้เกิดสนธิสัญญา ทอร์เดเซลลัส (The Treaty of Tordesillas) ขึ้นในปี ค.ศ. 1494 โดยสันตะปาปาอเล็กซาน- เดอร์ที่ 6 ทรงให้ลากเส้นสมมุติเพื่อแบ่งเขตการสำรวจทางทะเลระหว่างสเปนกับโปตุเกส ซึ่งส่งผลให้สเปนได้สิทธิการสำรวจทางตะวันตกและโปรตุเกสได้สิทธิการสำรวจทางตะวันออก
81. การฟื้นฟูศิลปวิทยาการก่อให้เกิดผลตามมา คือ
1. วรรณคดีซึ่งให้ความสนใจในเรื่องของมนุษย์
2. ศิลปวิทยาการแพร่ขยายเพราะการพิมพ์
3. การปฏิรูปศาสนา
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 355 – 357, 372 – 375 ผลจากการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Ronaissance) ได้แก่
1. เกิดวรรณคดีซึ่งให้ความสนใจ ในเรื่องมนุษย์ (Humanism)
2. เกิดการปกครองในระบอบราชาธิปไตย
3. เกิดการประดิษฐ์แทนพิมพ์ จึงทำให้ศิลปวิทยาการแพร่ขยายได้สะดวกรวดเร็วขึ้น
4. เกิดการปฏิวัติวิทยาศาสตร์
5. เกิดการปฏิรูปศาสนา ฯลฯ
82. หนังสือ The Prince โดยมาเคียเวลลี พิมพ์ในปี ค.ศ. 1513 มีจุดประสงค์ในการเขียนเพื่อ
1. หาผู้ปกครองที่ฉลาดและเข้มแข็ง 2. การได้มาซึ่งอำนาจ
3. การรวมอิตาลีเข้าด้วยกัน 4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 362, 94 (H) จุดประสงค์ที่มาเคียเวลลีเขียนหนังสือเรื่อง “The Prince” ซึ่งพิมพ์ในปีค.ศ. 1513 คือ ต้องการที่จะรวมอิตาลีให้อยู่ภายใต้การปกครองเดียวกัน โดยมีผู้ปกครองที่ฉลาดและเข้มแข็ง เป็นผู้ที่มีความรักชาติอย่างจริงใจ ใช้นโยบายเด็ดขาด และมีวิธีการได้มาซึ่งอำนาจโดยไม่คำนึงถึงถึงศีลธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ยุติธรรม หรือเกียรติยศชื่อเสียง
83. สาเหตุปัจจุบันที่ทำให้เกิดการปฏิรูปศาสนาขึ้นในศตวรรษที่ 16 คือ
1. พระไม่อยู่ในศีลธรรม 2. พิธีกรรมทางศาสนามีมากเกินไป
3. สันตะปาปาเข้าไปยุ่งเกี่ยวทางการเมือง 4. การขายใบไม่บาป
ตอบ 4 หน้า 378, 98 (H), 103 (H) สาเหตุปัจจุบันที่ทำให้เกิดการปฏิรูปศาสนาขึ้นในศตวรรษที่ 16 คือ การที่สันตะปาปาลีโอที่ 10 ขายใบไถ่บาปในดินแดนเยอรมนี เพื่อนำเอาเงินไปบูรณะโบสถ์เซนต์ปีในกรุงโรม พระองค์จึงถูกโจมตีจากมาร์ติน ลูเธอร์ พระชาวเยอรมันซึ่งเป็นบุคคลแรกที่มีบทบาทในการริเริมให้มีการปฏิรูปศาสนาขึ้นในยุโรป จนกลายเป็นจุดเริ่มต้น ของการประท้วงทางศาสนาและเป็นที่มาของคำว่า “Protestant” ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1529
84. นิกายที่ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่ม Protestant คือ
1. Lutheranism 2. Jesuit 3. Calvinism 4. Presbyterian
ตอบ 2 หน้า 386, 101 (F) ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestant) แบ่งออกเป็นนิกายต่าง ๆ ดังนี้
1. นิกายลูเธอรันนิสม์ (Lutheranism)
2. นิกายคาลวินิสม์ (Calvinism)
3. นิกายเพสไบทีเวียน (Presbyterins)
4. นิกายอังกฤษ (Anglican Church/Church of England)
85. บุคคลคนแรกที่ทำให้เกิดการปฏิรูปศาสนาขึ้นในยุโรป คือ
1. อิรัสมัส 2. มาร์ติน ลูเธอร์ 3. อูลริค สวิงกลิ 4. จอห์น คาลแวง
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 83. ประกอบ
86. การประกาศใช้พระราชบัญญัติ Act of supremacy ในปี ค.ศ. 1534 ในสมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ทำให้มีผลติดตามมา คือ
1. กษัตริย์อังกฤษคือผู้ควบคุมศาสนจักรในอังกฤษ
2. เกิดนิกาย Church of England
3. กษัตริย์อังกฤษยึดที่ดินของวัดมาเป็นของกษัตริย์ 4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 383, 99 (H) พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ทรงปฏิรูปศาสนาในอังกฤษ โดยให้รัฐสภาออกฎหมาย The Act of supremacy ในปี ค.ศ. 1534 ซึ่งทำให้มีผลติดตามมา คือ
1. กษัตริย์ขึ้นมาเป็นประมุขทางศาสนาและควบคุมศาสนจักรในอังกฤษแทนสันตะปาปา
2. กษัตริย์ทรงยึดทรัพย์สินและที่ดินของวัดมาแจกจ่ายให้ขุนนางที่สนับสนุนพระองค์
3. อังกฤษเปลี่ยนศาสนามาเป็น “Catholic without Pope” ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1563 จะเรียกศาสนาในอังกฤษว่า “นิกายอังกฤษ” (Church of England)
87. การจัดตั้งศาลพิเศษทางศาสนา (Inquisition) ทำให้ดินแดน…และ….. รอดพ้นจากการขยายอิทธิพลของพวกโปรเตสแตนต์
1. อังกฤษ ฝรั่งเศส 2. ฮอลันดา เบลเยียม 3. เยอรมนี สวีเดน 4. สเปน อิตาลี
ตอบ 4 หน้า 385, 99 (H) การต่อต้านการปฏิรูปศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ของฝ่ายคาทอลิกประการหนึ่งคือ จารจัดตั้งศาลพิเศษทางศาสนา (Inquisition) เพื่อต่อต้านการกระทำของพวกนอกรีตหรือพวกโปรเตสแตนต์ โดยมีการลงโทษอย่างรุนแรง เช่น การเผาทั้งเป็น ซึ่งศาลพิเศษทางศาสนาประสบความสำเร็จในการปราบปรามพวกนอกรีตเป็นจำนวนมากในสเปนและอิตาลี จึงทำให้ทั้งสองประเทศนี้รอดพ้นจากการขยายอิทธิพลของพวกโปรเตสแตนต์
88. ผลของการปฏิรูปศาสนา คือ
1. การสิ้นสุดสภาพศาสนาสากล
2. การยึดมั่นในพระคัมภีร์และการเกิดความรู้สึกชาตินิยม
3. การเกิดสงครามศาสนา 4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 386, 101 (H) ผลของการปฏิรูปศาสนา คือ
1. การสิ้นสุดของสภาพศาสนาสากล คือ นิกายคาทอลิกไม่ใช่คริสต์ศาสนานิกายเดียวของยุโรปตะวันตกอีกต่อไป เกิดนิกายโปรเตสแตนต์มากมายหลายนิกาย
2. การสิ้นสุดเอกภาพทางการเมืองของยุโรปและเปลี่ยนไปเป็นการสร้างสปิริตชาตินิยม
3. เน้นความเชื่อมั่นในศาสนาเพียงหนึ่งเดียว คือ โปรเตสแตนต์เชื่อมั่นในพระคัมภีร์ ไบเบิล ส่วนคาทอลิกเชื่อมั่นในวัด
4. กษัตริย์และชนชั้นกลาง (พ่อค้า) มีอำนาจมากขึ้นและเกิดระบบเศรษฐกิจทุนนิยม
5. เกิดสงครามศาสนาและสงครามชิงดินแดนในโลกใหม่
89. ก่อนเกิดการปฏิรูปศาสนา ดัทช์เคยเป็นอาณานิคมของ……. มาก่อน
1. อังกฤษ 2. ฝรั่งเศส 3. สเปน 4. โปรตุเกส
ตอบ 3 หน้า 387 – 388, 100 (H) ดัทช์เคยเป็นอาณานิคมของสเปนและนับถือนิกายคาทอลิกมาก่อนเมื่อเกิดการปฏิรูปศาสนาพวกดัทช์ได้เปลี่ยนไปเป็นโปรเตสแตนต์นิกายคาลวินิสม์ ทำให้พระเจ้าฟิลิปที่ 2 ของสเปนนำเอาระบบศาลพิเศษทางศาสนาเข้าไปใช้กับพวกดัตช์ ส่งผลให้พวกดัทช์ก่อการปฏิวัติแยกตัวออกจากการปกครองของสเปนและได้ประกาศ เอกราชในปี ค.ศ. 1581 เรียกว่า สหพันธ์สาธารณรัฐ แต่ได้เอกราชอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1648
90. สงคราม 30 ปี (ค.ศ. 1618 – 1648) เป็นสงครามศาสนาครั้งสุดท้ายในยุโรป มีผลทำให้การรวม….ช้าไปถึง 200 ปี
1. อิตาลี 2. เยอรมนี 3. สวิตเซอร์แลนด์ 4. ออสเตรีย
ตอบ 2 หน้า 390 – 391, 101 (H) สงครามยุโรปหรือสงคราม 30 ปี (ค.ศ. 1618 – 1648) เป็นสงครามศาสนาครั้งสุดท้ายของยุโรปที่เกิดขึ้นในอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (เยอรมนี) ระหว่างพวกโปรเตสแตนต์ซึ่งมีประเทศผู้นำคือ อังกฤษและฝรั่งเศส กับพวกคาทอลิกซึ่งมีประเทศผู้นำคือ สเปน ซึ่งในที่สุดสงครามก็จบลงด้วยชัยชนะของพวกโปรเตสแตนต์และฝรั่งเศส ทำให้ฝรั่งเศสกลายเป็นมหาอำนาจในยุโรปแทนที่สเปน และดินแดนเยอรมนีได้รับความเสียหายเป็นอย่างมากทำให้การรวมเยอรมนีช้าไปเป็นเวลา 200 ปี
91. ความสำเร็จของริเชอลิเชอลิเออในการนำฝรั่งเศสเข้าร่วมในสงคราม 30 ปี คือ การทำลายอำนาจของพวก…..ในยุโรป
1. อังกฤษ
2. สเปน
3. รัสเซีย
4. ดัทช์
ตอบ 2 หน้า 404, 407, 106 (H) จุดประสงค์สำคัญที่ทำให้บาทหลวงริเชอลิเอออัครมหาเสนาบดีของพระเจ้าหลุยส์ที่ 13แห่งฝรั่งเศสซึ่งเป็นคาทอลิก นำฝรั่งเศสเข้าสู่สงคราม 30 ปีร่วมกับฝ่ายโปรเตสแตนต์ในเยอรมนี คือ การมุ่งทำลายล้างราชวงศ์แฮปสเบิร์ก (Hapsburg) ของสเปนซึ่งปกครองดินแดนปิดล้อมฝรั่งเศสในขณะนั้นให้ได้ นอกจากนี้ก็เพื่อผลทางการค้า ความมั่นคงในเขตทะเลบอลติก และการรักษาสถานภาพของแคว้นเยอรมนีก่อนสงคราม
92. กษัตริย์ฝรั่งเศสผู้ทรงยกเลิกโองการแห่งเมืองนังส์ (Edict of Nantes) ซึ่งเป็นข้อประนีประนอมทางศาสนาในปี ค.ศ. 1685 คือ
1. เฮนรี่ที่ 4
2. หลุยส์ที่ 13
3. หลุยส์ที่ 14
4. หลุยส์ที่ 15
ตอบ 3 หน้า 404, 409, 106 (H) ในปี ค.ศ. 1598 พระเจ้าเฮนรี่ที่ 4 ซึ่งเป็นอดีตหัวหน้าพวกฮิวเกอโนต์ (พวกโปรเตสแตนต์ในฝรั่งเศส) ได้ทรงออกโองการแห่งเมืองนังส์ (Edict of Nantes) เพื่อให้เกิดการประนีประนอมและความเสมอภาคทางศาสนาขึ้นในฝรั่งเศส แต่ต่อมาในปี ค.ศ. 1685 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ทรงยกเลิกโองการแห่งเมืองนังส์และปราบปรามพวกฮิวเกอโนต์อย่างรุนแรง ส่งผลให้การอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของฝรั่งเศสกระทบกระเทือนเป็นอย่างยิ่ง
93. การต่อสู้ระหว่างพระเจ้าชาร์ลที่ 1 กับพวกเพียวริตันในรัฐสภามีผลตามมา คือ
1. อังกฤษเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบสาธารณรัฐ
2. รัฐสภาตกอยู่ภายใต้อำนาจของกษัตริย์
3. อังกฤษปกครองแบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
4. อังกฤษเปลี่ยนกลับไปนับถือนิกายคาทอลิก
ตอบ 1 หน้า 411 – 413, 107 (H) ในปี ค.ศ. 1642 – 1649 ได้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในอังกฤษซึ่งมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างพระเจ้าชาร์ลที่ 1 กับพวกเพียวริตัน (Puritans) ในรัฐสภาอังกฤษ ในกรณีที่พระองค์ต้องกการหาเงินเพื่อไปปราบปรามการกบฏของพวก สก็อตแต่สงครามก็จบลงด้วยชัยชนะของรัฐสภา และพระเจ้าชาร์ลที่ 1 ถูกตัดสินประหารชีวิต ซึ่งถือว่าเป็นการสิ้นสุดสมัยการปกครองในระบอบเทวสิทธิ์ในอังกฤษ และเปลี่ยนแปลงไปสู่การไปสู่การปกครองในระบอบสาธารณรัฐ (Republic)
94. ผลงานที่สำคัญของพระเจ้าเฟรเดอริกมหาราชแห่งปรัสเซียกับพระนางแคเทอรีนแห่งรัสเซีย คือ การแบ่งประเทศ……
1. ออสเตรีย 2. โปแลนด์ 3. ฮังการี 4. โรมาเนีย
ตอบ 2 หน้า 427, 109 (H) พระนางแคเทอรีนมหาราชินีแห่งรัสเชียได้ร่วมกับปรัสเซียและออสเตรียทำการแบ่งประเทศโปแลนด์ถึง 3 ครั้ง คือ 1. ในปี ค.ศ. 1772 ร่วมกับพระเจ้าเฟรเดอริกมหาราชแห่งปรัสเซีย และออสเตรีย ทำให้รัฐบาลโปแลนด์ต้องออกกฎหมายยกเลิก “Liberum Veto” ในปี ค.ศ. 1791 2. ในปี ค ศ. 1793 ร่วมกับปรัสเซีย จนทำให้เกิดจลาจลใน โปแลนด์ซึ่งสร้างความตกใจให้แก่ยุโรปตะวันออกทั้งหมด 3. ในปี ค.ศ. 1795 ร่วมกับ ปรัสเซียและออสเตรีย ซึ่งเป็นผลทำให้โปแลนด์หายไปจากแผนที่ของยุโรปนับตั้งแต่นั้น
95. ในยุคแห่งเหตุผล (Age of Reason 1650 – 1815) เหตุและผลทางวิทยาศาสตร์มีบทบาทมากขึ้น สิ่งที่ลดความสำคัญลง คือ
1. ความคลั่งไคล้ในศาสนา
2. ศรัทธาและความเชื่อมั่นทางศาสนา
3. ความเชื่อมั่นในตัวเองหรือความเป็นมนุษย์
4. ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 432, 110 (H) ยุคแห่งเหตุผล (Age of Reason) คือ ตลอดสมัยระหว่างปี ค.ศ.1650 – 1815 เป็นยุคที่สงครามนองเลือดที่เกิดจากความคลั่งไคล้ในศาสนาเริ่มลดความรุนเเรงลงและความศรัทธาเชื่อมั่น (Faith) ทางศาสนาเริ่มเปิดทางให้กับหลักเหตุและผล (Reason) มากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากแรงกระตุ้นของการค้นคว้าทางวิยาศาสตร์ที่ได้สร้างหลักการซักถามการให้เหตุผล และการหาคำตอบมาพิสูจน์ให้ได้ โดยวิธีการทดลองทางวิทยศาสตร์
96. การค้นพบที่สำคัญในยุคประเทืองปัญญา (Age of Enlightenment 1700 – 1789) คือ
1. แรงดึงดูดหรือแรงโน้มถ่วงของโลกและจักรวาลโดยเซอร์ไอแซค นิวตัน
2. แนวปรัชญาสวรพเทวนิยมของสปินโนซา
3. ทฤษฎีการเมืองของโทมัส ฮอบบ์
4. ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ของอดัม สมิธ
ตอบ 1 หน้า 430, 432, 437 – 438, 110 – 111 (H) ยุคประเทืองปัญญา (Age of Enlightenment) คือ ส่วนหนึ่งของยุคแห่งเหตุผล ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1700 – 1789 ซึ่งมีการค้นพบที่สำคัญ ได้แก่ การค้นพบกฎความโน้มถ่วงหรือกฎการดึงดูดของโลก และจักรวาลเรื่องโลกและดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์โคจรรอบโลก โดยเซอร์ไอแซก นิวตันจากงานพิมพ์ที่เรียกสั้น ๆ ว่า Principia ในปี ค.ศ. 1687
97. นักปรัชญาทางการเมืองผู้มีอิทธิพลต่อการปฏิวัติอเมริกาในปี ค.ศ. 1776 คือ
1. รุสโซ 2. จอห์น ล็อค 3. โทมัส ฮอบบ์ 4. ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 441, 446 – 447, 454, 112 – 113 (H) จอห์น ล็อค และรุสโซ เป็นนักปรัชญาทางการเมืองผู้เสนอแนวคิดสัญญาประชาคม (The Social Contract) ซึ่งมีอิทธิพลต่อการปฏิวัติอเมริกาในปี ค.ศ. 1776 โดยแนวความคิดของพวกเขาได้ไปปรากฏในคำประกาศอิสรภาพ (Declaration of Independence) ของชาวอาณานิคม ซึ่งเท่ากับเป็นการสถาปนาประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้น
98. การปฏิวัติอเมริกาในปี ค.ศ. 1776 มีอิทธิพลทำให้เกิดการปฏิวัติขึ้นประเทศ…. ในเวลาต่อมา
1. อังกฤษ 2. ฝรั่งเศส 3. สเปน 4. ออสเตรีย
ตอบ 2 หน้า 456, 114 – 115 (H) การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 นั้น ได้รับอิทธิพลมาจากการปฏิวัติอันรุ่งเรืองของอังกฤษในปี ค.ศ. 1688 และการปฏิวัติอเมริกาในปี ค.ศ. 1776 ทำให้ฝรั่งเศสนำแนวทางจากทั้งสองประเทศนี้มาเป็นแบบของตน กล่าวคือ ดำเนินการปฏิบัติงานตามแบบอังกฤษ แต่ดำเนินการเรื่องการประกาศสิทธิมนุษยชนตามแบบอเมริกา
99. สาเหตุปัจจุบันที่นำไปสู่การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 คือ
1. การปกครองแบบกดขี่ 2. ปัญหาทางด้านการคลัง
3. ความไม่เสมอภาคทางสังคม 4. ความขัดแย้งในกลุ่มพวกขุนนาง
ตอบ 2 หน้า 114 – 115 (H) สาเหตุปัจจุบันที่นำไปสู่การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1769 คือ ปัญหาทางการคลัง ทั้งนี้เพราะพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ไม่มีเงินเพียงพอที่จะใช้จ่ายในการบริหารประเทศจึงเรียกประชุมสภาฐานันดรในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1789 เพื่อร่วมมือกันหาวิธีแก้ไขปัญหา แต่ก็ตกลงกันไม่ได้ ทำให้กลุ่มฐานันดรที่ 3 คือ สามัญชนที่ประกอบด้วยชนชั้นกลาง ช่างฝีมือ และชาวนา แยกตัวออกมาตั้งสภาแห่งชาติของฝรั่งเศส ซึ่งได้กลายเป็นชนวนนำไปสู่การปฏิวัติในที่สุด
100. การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 ทำให้ฝรั่งเศสเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบ
1. สาธารณรัฐ 2. สมบูรณาญาสิทธิราชย์
3. กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ 4. เผด็จการ
ตอบ 1 หน้า 461 – 462, 114 – 115 (H) การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 เป็นการปฏิวัติภายใต้การนำของชนชั้นกลางที่ต้องการล้มระบอบอภิสิทธิ์และต้องการเข้ามามีส่วนรวมในการปกครอง ซึ่งภาคหลังการปฏิวัติทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบเก่าหรือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่การปกครองในระบอบสาธารธนรัฐ นอกจากนยังส่งผลกระทบต่อภายนอก คือ การเกิดสงครามและเผยแพร่ความคิดของการปฏิวัติออกไปยังประเทศอื่น ๆ ในยุโรป
101. การปิดล้อมทางเศรษฐกิจ (Continental System) คือยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่นโปเลียนห้ามไม่ให้ประเทศที่เป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสทำการติดต่อค้าขายกับประเทศ…….
1. ฮอลันดา
2. สหรัฐอเมริกา
3. อังกฤษ
4. โปรตุเกส
ตอบ 3 หน้า 469, 117 (H) ในปี ค.V. 1808 ยุโรปเกือบทั้งหมดต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพระจักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศส ยกเว้นประเทศอังกฤษที่นโปเลียนยึดครองไม่ได้เพราะอังกฤษเป็นเกาะและเป็นมหาอำนาจทางทะเล ดังนั้นนโปเลียนจึงใช้วิธีการปิดล้อมอังกฤษทางเศรษฐกิจ (Continental system) ไม่ให้มีการค้าขายระหว่างประเทศบนภาคพื้นยุโรปกับอังกฤษ ทำให้ฝรั่งเศสและประเทศที่เป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส เช่น ประเทศรัสเซียต้องเดือดร้อนเพราะขาดแคลนสินค้า
102. สงครามที่ทำให้นโปเลียนหมดอำนาจ คือสงครามที่ทำกับประเทศ
1. ฮอลันดา
2. รัสเซีย
3. อังกฤษ
4. ออสเตรีย
ตอบ 2 หน้า 470, 117 (H) ในปี ค.ศ. 1810 รัสเชียได้ยกเลิกการเข้าร่วมกับฝรั่งเศสในการปิดล้อมอังกฤษทางเศรษฐกิจ ซึ่งได้สร้างความไม่พอใจให้แก่พระจักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก ดังนั้นในปี ค.ศ. 1812 นโปเลียนจึงเกณฑ์ทหารทั้งหมดประมาณ 6แสนคนบุกรัสเซียแต่ก็ต้องพ่ายแพ้ต่อความหนาวและกองทัพของรัสเซียจนต้องถอยทัพกลับมา ส่งผลให้นโปเลียนหมดอำนาจจนต้องสละบัลลังก์ไปในปี ค.ศ. 1814 และถูกเนรเทศไปอยู่ที่เกาะเอลบา
103. ภายหลังการประชุมที่เวียนนา (Congress of Vienna 1814 – 1815) สิ้นสุดลง ยุโรปได้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่ม
1. เสรีนิยม
2. ประชาธิปไตย
3. อนุรักษ์นิยม
4. สาธารณรัฐนิยม
ตอบ 3 หน้า 472 – 473, 118 (H) ภายหลังการประชุมที่เวียนนา (Congress of Vienna) สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1815 แล้ว ยุโรปก็ต้องตกอยู่ภายใต้การชี้นำของเจ้าชายเมตเตอร์นิกซึ่งเป็นเสนาบดีของอาณาจักรออสเตรีย และเป็นพวกอนุรักษนิยมที่ต่อสู้เพื่อรักษาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยทำการต่อต้านระบอบเสรีนิยมประชาธิปไตย ลัทธิชาตินิยมและระบอบอุตสาหกรรมอย่างเต็มที่ ทำให้ยุคสมัยของคองเกรสแห่งเวียนนาถูกเรียกว่า “ยุคเมตเตอร์นิก” (ค.ศ. 1815 – 1848)
104. บุคคลผู้มีบทบาทเด่นทางการเมืองในยุโรปโนระหว่างปี ค.ศ. 1815 – 1848 ภายหลังการประชุมที่เวียนนาสิ้นสุดลง คือ
1. ชาร์ล อัลเบิร์ท
2. ลอร์ดคาสเซิลเร
3. เมตเตอร์นิก
4. หลุยส์ที่ 18
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 103. ประกอบ
105. สมัยเริ่มการปฏิวัติอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมที่สำคัญของอังกฤษ คืออุตสาหกรรม
1. ทอผ้า
2. เหล็กกล้า
3. การผลิตอาหาร
4. การขนส่ง
ตอบ 1 หน้า 495 – 496, 562, 123 (H) การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษในระหว่างปี ค.ศ. 1760 – 1830โดยเริ่มจากการประดิษฐ์เครื่องจักรเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมทอผ้าซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมแรกที่มีการปฏิวัติ หลังจากนั้นการปฏิวัติอุตสาหกรรมจึงได้แพร่ขยายไปในประเทศต่าง ๆ บนภาคพื้นยุโรป สหรัฐอเมริกา และในทวีปเอเชีย
106. ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่อังกฤษนำมาใช้ในช่วงที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม คือทฤษฎีของ
1. โทมัส มัลธัส
2. อดัม สมิธ
3. เดวิด ริคาร์โด
4. จอห์น สจ๊วต มิลล์
ตอบ 2 หน้า 430, 499 – 500, 502 ในช่วงที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษนั้น อังกฤษได้นำทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ของอดัม สมิธ (Adam Smith) มาใช้ คือ นโยบายการค้าเสรี(Laissez-faire) หรือนโยบายปล่อยเสรี ซึ่งเขาได้ให้ทัศนะว่าบุคคลควรมีโอกาสแสวงหากำไรของตนทางเศรษฐกิจ โดยไม่ถูกควบคุมด้วยกฎเกณฑ์การค้าแบบพาณิชย์นิยม (Mercantilism) ซึ่งมีลักษณะเป็นการค้าแบบผูกขาดเฉพาะแห่ง
107. ลัทธิที่เน้นการควบคุมอุตสาหกรรมของประเทศโดยสหภาพกรรมกร คือลัทธิ
1. อนาธิปไตย
2. ซินติคาลิสม์
3. สังคมนิยมคริสเตียน
4. สังคมนิยมปฏิวัติ
ตอบ 2 หน้า 507 ลัทธิซินดิคาลิสม์ (Syndicalism) คือ ลัทธิที่เน้นการควบคุมอุตสาหกรรมของประเทศ โดยสหพันธ์กรรมกร ซึ่งจะส่งเสริมให้มีการรวมตัวจัดตั้งกลุ่มกรรมกรในอุตสาหกรรมทั้งหมดเป็นสหภาพโดยไม่มีการแบ่งเป็นอาชีพหรือความชำนาญ และไม่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้มีการก่อวินาศกรรมทำลาย ซึ่งส่วนใหญ่ลัทธินี้จะแพร่หลายไปในฝรั่งเศส อิตาลี และสเปนตามลำดับ
108. ประเทศที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการรวมอิตาลี คือ
1. ออสเตรีย
2. รัสเซีย
3. ปรัสเซีย
4. ฝรั่งเศส
ตอบ 1 หน้า 515, 125 – 127 (H) ศัตรูสำคัญที่เป็นอุปสรรคในการรวมอิตาลี คือ ออสเตรียซึ่งได้เข้าครอบครองดินแดนลอมบาร์ดีและเวเนเทียในแหลมอิตาลี ส่วนรัฐผู้นำในการรวมอิตาลีเข้าด้วยกัน คือ อาณาจักรปิเอดมอนต์-ซาร์ดิเนีย ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ราชวงศ์ ซาวอยซึ่งได้ทำสงครามต่อสู้เพื่อรวมอิตาลีเรื่อยมา จนกระทั่งการรวมอิตาลีประสบความสำเร็จสมบูรณ์เมื่อกองทหารอิตาลีบุกเข้ายึดกรุงโรมมาเป็นเมืองหลวงได้ในปี ค.ศ. 1871
109. รัฐผู้นำในการรวมอิตาลีเข้าร่วมด้วยกัน คือ
1. ฟลอเรนซ์
2. ซาร์ดิเนีย
3. เวเนเทีย
4. ลอมบาร์ดี
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 108. ประกอบ
110. นโยบาย “เลือดและเหล็ก” ของบิสมาร์ค คือ
1. เน้นการทำอุตสาหกรรม
2. การทำให้ปรัสเชียเป็นศูนย์กลางทางการทูต
3. การออกแสวงหาอาณานิคม
4. การใช้สงครามเป็นเครื่องมือในการรวมเยอรมนี
ตอบ 4 หน้า 517 – 519, 128 – 129 (H) บิสมาร์ค (Bismarck) อัครมหาเสนาบดีของปรัสเซียซึ่งเป็นผู้นำในการรวมเยอรมนี ได้ประกาศใช้นโยบายเลือดและเหล็กในการรวมเยอรมนีเข้าด้วยกัน โดยใช้วิธีการให้ปรัสเซียทำสงครามถึง 3 ครั้ง คือ
1. สงครามกับเดนมาร์กเรืองดินแดนชเลสวีก-โฮลสไตน์ ในปี ค.ศ. 1864
2 สงครามกับออสเตรเลียในปี ค.ศ. 1866
3. สงครามกับฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1870 – 1871 ซึ่งฝรั่งเศสเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ทำให้บิสมาร์คสามารถจัดตั้งประเทศเยอรมนีได้สำเร็จโนปี ค.ศ. 1871 ที่ห้องกระจกในพระราชวังแวร์ซายส์ประเทศฝรั่งเศส
111. การรวมชาติเยอรมนีประสบความสำเร็จเป็นผลมาจากการพ่ายแพ้สงครามของประเทศ.
1. อังกฤษ
2. รัสเซีย
3. ฝรั่งเศส
4. สเปน
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 110. ประกอบ
112. ในช่วงของการปฏิบัติทางปัญญายุคใหม่ (ค.ศ. 1830 – 1914) ผู้ที่แสดงทัศนะเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องเพศจะมีผลต่อมนุษย์ทั้งทางด้านประสาทและจิตวิทยา คือ
1. ซิกมันด์ ฟรอยด์
2. อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
3. ชาร์ลส์ ดาร์วิน
4. นิทเช่
ตอบ 1 หน้า 521 – 522, 130 (H) ในยุคแห่งการปฏิวัติทางปัญญายุคใหม่ (ค.ศ. 1830 – 1914) นั้น ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) นักวิทยาศาสตร์ชาวยิวในออสเตรีย ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องเพศไว้ในหนังสือ “Studies of Hysteria” ในปี ค.ศ. 1895 โดยเขาเห็นว่าเรื่องเพศนั้นจะมีผลต่อมนุษย์ทั้งทางด้านประสาทและจิตวิทยา
113. ประเทศที่ไม่ได้เป็นเอกราชในสมัยจักรวรรดินิยมยุคใหม่ (ค.ศ. 1871 – 1914) คือ
1. เอธิโอเปีย 2. ไลบีเรีย 3. จีน 4. เวียดนาม
ตอบ 4 หน้า 523, 525, 130 – 131 (H) จักรวรรดินิยมยุคใหม่ (ค.ศ. 1871 – 1914) คือยุคที่ประเทศมหาอำนาจในยุโรปได้ออกมาแสวงหาอาณานิคมในทวีปแอฟริกาและเอเชีย ทำให้ทวีปแอฟริกาเหลือประเทศเอกราชเพียง 2 ประเทศ คือ เอธิโอเปีย (อบิสสิเนีย)และไลบีเรีย ส่วนในทวีปเอเชียเหลือประเทศเอกราช 3 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น และไทย (ส่วนประเทศเวียดนาม กัมพูชา และลาว เป็นอาณานิคมของรัฐบาลฝรั่งเศส)
114. ปัจจัยทางเศรษฐกิจซึ่งผลักดันให้ชาติมหาอำนาจในยุโรปออกมาแสวงหาอาณานิคมในสมัยจักรวรรดินิยมยุคใหม่ คือ
1. ความต้องการทาสแรงงาน
2. เป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม
3. ความต้องการสินค้าจากภาคตะวันออก
4. การเผยแผ่ศาสนาก่อให้เกิดความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
ตอบ 2 หน้า 524, 131 (H) สาเหตุที่มหาอำนาจยุโรปออกมาแสวงหาอาณานิคมในสมัยจักรวรรดินิยมยุคใหม่ มีดังนี้
1. ปัจจัยทางเศรษฐกิจถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเพิ่มจำนวนพลเมือง จึงต้องแสวงหาอาณานิคมเพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบ ตลาด การจัดตั้งฐานทัพ และเพื่อระบายพลเมือง
2. เพื่อแสดงถึงความเป็นประเทศมหาอำนาจในยุโรป
3. เพื่อเผยแผ่ศาสนา
4. ลัทธิชาตินิยมที่ชาวยุโรปต้องการเข้าครอบครองดินแดนที่มีอารยธรรมหรือวัฒนธรรมต่ำกวา
115. บิสมาร์คจัดทำสนธิสัญญาสันนิบาตสามจักรพรรดิขึ้นในปี ค.ศ. 1873 เพื่อต้องการทำให้ประเทศ ….อยู่อย่างโดดเดี่ยว
1. อังกฤษ
2. รัสเซีย
3. ออสเตรีย
4. ฝรั่งเศส
ตอบ 4 หน้า 529 บิสมาร์ค นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ได้จัดทำสนธิสัญญาสันนิบาตสามจักรพรรดิ (The Three Emperors League) ขึ้นในปี ค.ศ. 1873 ซึ่งเป็นการเข้าร่วมภาคีระหว่างจักรพรรดิฟรานซิส โจเซฟแห่งออสเตรีย-ฮังการี ไกเซอร์ วิลเลียมที่ 1 แห่งเยอรมนี และพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อโดดเดี่ยวฝรั่งเศส แต่เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับออสเตรีย-ฮังการีเรื่องผลประโยชน์ในคาบสมุทรบอลข่านก็ส่งผลให้ความต้องการโดดเดี่ยวฝรั่งเศสไม่ประสบความสำเร็จ
116. ประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกอยู่ในกลุ่มไตรพันธมิตร (Triple Entente) คือ
1. อังกฤษ 2. ฝรั่งเศส 3. อิตาลี 4. รัสเซีย
ตอบ 3 หน้า 529 – 533, 133 (H) ก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 มหาอำนาจในยุโรปแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายไตรพันธไมตรี (Triple Alliance) ได้แก่ เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี
2. ฝ่ายไตรพันธมิตร (Triple Entente) ได้แก่ ฝรั่งเศส รัสเซีย และอังกฤษ
117. ประเทศที่ไม่ได้อยู่ในฝ่ายประเทศมหาอำนาจกลาง (Central Power) ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 คือ
1. เยอรมนี 2. อิตาลี 3. ออสเตรีย-ฮังการี 4. บัลแกเรีย
ตอบ 2 หน้า 535, 133 – 134 (H) เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี ค.ศ. 1914 มหาอำนาจในยุโรปได้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายมหาอำนาจกลาง (The Central Powers) ได้แก่ เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี ตุรกี และบัลแกเรีย.
2. ฝ่ายสัมพันธมิตร (The Allied Powers) ได้แก่ ฝรั่งเศส รัสเซีย อังกฤษ เซอร์เบีย อิตาลี(ซึ่งถอนตัวจากฝ่ายไตรพันธไมตรีในปี ค.ศ. 1915) สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และไทย
118. ประเทศที่ถอนตัวออกในระหว่างที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914 – 1918) คือ
1. สหรัฐอเมริกา 2. ออสเตรีย-ฮังการี 3. รัสเซีย 4. บัลแกเรีย
ตอบ 3 หน้า 537, 543, 134 (H), 36 – 137 (H) ในเดือนพฤศจิกายนปี ค.ศ. 1917 ได้เกิดเหตุการณ์ปฏิวัติครั้งใหญ่ในรัสเซีย ภายใต้การนำของพรรคบอลเชวิค โดยมีเลนินเป็นผู้นำ ซึ่งได้ส่งผลให้รัสเซียจำเป็นต้องถอนตัวออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914 – 1918) และบอลเชวิคได้ดำเนินการตามหลักสังคมนิยม โดยเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์และก่อตั้งเป็นสหภาพโซเวียต จนส่งผลให้ลัทธิคอมมิวนิสต์แพร่ขยายไปทั่วยุโรปและทุกส่วนต่าง ๆ ของโลก
119. ก่อนที่จะบุกโปแลนด์ ฮิตเลอร์ ได้ทำการยึดครองประเทศ
1. ออสเตรีย 2. เชคโกสโลวะเกีย 3. เบลเยียม 4. ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 548 – 550 วิกฤตการณ์ตึงเครียดก่อนที่ฮิตเลอร์จะนำกองทัพเยอรมนีบุกโปแลนด์ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 อันเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น ได้แก่
1. เยอรมนีได้รวมเอาออสเตรียเข้าเป็นแคว้นหนึ่งของเยอรมนี
2. การรวมแคว้นซูเดเทนของเชคโกสโลวะเกียเข้าเป็นแคว้นหนึ่งของเยอรมนี
3. เยอรมนียึดแคว้นเมเมลคืนจากลิทัวเนีย 4. อิตาลีรุกรานอัลบาเนีย
120. สิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นในระหว่างที่เกิดวิกฤตการณ์สงครามเย็น คือ
1. การแข่งขันกันสะสมอาวุธ
2. สงครามระหว่างสหรัฐอเมริกากับโซเวียตรัสเซีย
3. การแข่งขันทางด้านอวกาศ
4. การโฆษณาชวนเชื่อ
ตอบ 2 หน้า 559, 139 (H) ลักษณะสำคัญของสงครามเย็น คือ
1. เป็นสงครามที่เกิดจากความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมระหว่างฝ่ายโลกเสรีประชาธิปไตย ซึ่งมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำกับฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์ซึ่งมีโซเวียตรัสเซียเป็นผู้นำ
2. ไม่มีการทำสงครามแบบเบ็ดเสร็จ (Total War) ที่มีการเผชิญหน้ากันโดยตรง แต่จะใช้วิธีการทำสงครามจิตวิทยาหรือสงครามตัวแทน (Proxy War) เช่น สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม ฯลฯ
3. แข่งกันหาพันธมิตรโดยใช้วิธีทางการทูตและการโฆษณาชวนเชื่อ
4. มีการแข่งขันกันสะสมอาวุธและแข่งขันวิทยาการทางด้านอวกาศ