การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1001 อารยธรรมตะวันตก
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1.ข้อใดคือการพิจารณาด้วยวิธีทางธรณีวิทยา
(1) พิจารณาชั้นดินชั้นหิน
(2) พิจารณาเอกสารทางประวัติศาสตร์
(3) พิจารณาเครื่องปั้นโบราณ
(4) ไม่มีข้อใดถูกต้อง
ตอบ 1หน้า 6 – 7, 8 – 9 (1) ธรณีวิทยา คือ การศึกษาซากสิ่งมีชีวิตที่ตกค้างอยู่ตามชั้นดินชั้นหิน ซึ่งประวัติศาสตร์ทางธรณีวิทยาของโลก แบ่งออกเป็น 5 สมัย ได้แก่
1. อาร์เคโอโซอิก (Archeozoic) 1,550 – 825 ล้านปีมาแล้ว เป็นสมัยของสัตว์เซลล์เดียว
2. โพรเทโรโซอิก (Proterozoic) 825 – 500 ล้านปีมาแล้ว เป็นสมัยของสัตว์น้ําโบราณ ไม่มีกระดูกสันหลัง 3. พาเลโอโซอิก (Paleozoic) 500 – 185 ล้านปีมาแล้ว เป็นสมัยที่ เริ่มมีสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ํา
4. เมโซโซอิก (Mesozoic) 185 – 60 ล้านปีมาแล้ว เป็นสมัยของ สัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ เช่น ไดโนเสาร์ 5. เซโนโซอิก (Cenozoic) 60 ล้านปีมาแล้ว เป็นสมัยการกําเนิดของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ในปัจจุบัน
2.การค้นพบถ่านหินที่ใดแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกและสิ่งมีชีวิต
(1) เกาะมาดากัสก้า
(2) เกาะกาลาปากอส
(3) หมู่เกาะสปิตเบอร์เกน
(4) เกาะอังกฤษ
ตอบ 3 หน้า 2, 7 (H) การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกและสิ่งมีชีวิตทั้งหลายจะเกิดขึ้นหมุนเวียนอยู่ ตลอดเวลาเป็นเวลาช้านาน ตัวอย่างเช่น การขุดค้นพบแหล่งถ่านหินในบริเวณหมู่เกาะสปิตเบอร์เกน (Spitbergen) ที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศนอร์เวย์ใกล้กับบริเวณขั้วโลกเหนือ หรือบริเวณ ที่เส้นขนาน 80 องศาเหนือ ซึ่งปัจจุบันถูกปกคลุมไปด้วยธารน้ําแข็งนั้น อันเป็นประจักษ์พยานว่าบริเวณนี้เคยเป็นเขตป่าไม้และมีอากาศแบบกึ่งเมืองร้อนมาก่อน
3. มนุษย์ถือกําเนิดขึ้นในยุคสมัยทางธรณีวิทยาที่มีการปรับเปลี่ยนทุกระยะ 4 ครั้งต่อ 1 รอบ ยุคใด
(1) Archeozoic
(2) Pleistocene
(3) Cenozoic
(4) Mesozoic
ตอบ 2 หน้า 2, 8 (H), (คําบรรยาย) ยุคน้ําแข็ง (Pleistocene) เป็นยุคที่ธารน้ําแข็งปกคลุมส่วนต่าง ๆ ของโลก ซึ่งเริ่มประมาณ 1 ล้านปีมาแล้ว โดยพบว่ามนุษย์ถือกําเนิดขึ้นในยุคสมัยทางธรณีวิทยา ที่มีการปรับเปลี่ยนทุกระยะ 4 ครั้งต่อ 1 รอบในยุคดังกล่าวนี้ ระยะสุดท้ายคือ ระยะนานที่สุด ประมาณ 150,000 ปี หรืออย่างน้อยที่สุดประมาณ 25,000 ปีมาแล้ว
4.บรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน (Primate) คือข้อใด
(1) โฮโม อีเรคตัส
(2) โฮโม เซเปียนส์
(3) โฮโม นีแอนเดอเล
(4) ออสตาโรพิเธคัส
ตอบ 2 หน้า 11 – 12, 38, 1C (H) โฮโมเซเปียนส์ (Homo sapiens) หรือมนุษย์ฉลาด เริ่มปรากฏขึ้น ครั้งแรกในยุคหินเก่าตอนปลาย ซึ่งถือเป็นมนุษย์ที่รู้จักคิดและรู้จักการโต้ตอบ มีหน้าตาคล้ายมนุษย์ ปัจจุบันมากขึ้น และถือว่าเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน (Primate) ซึ่งจะมีอยู่ 3 เผ่าพันธุ์ คือ
1. มนุษย์โครมันยอง (Cro-Magnon) หรือคนผิวขาว
2. มนุษย์กริมัลดี (Grimaldi) หรือ คนผิวดําา
3. มนุษย์ชานเซอเลด (Chancelade) หรือคนผิวเหลืองหรือสีน้ำตาล
5. ในยุคหินใหม่ มนุษย์มีวิวัฒนาการมาถึงขั้นใด
(1) เริ่มรู้จักการเพาะปลูก
(2) เริ่มรู้จักการล่าสัตว์
(3) เริ่มรู้จักการใช้ไฟ
(4) เริ่มตั้งรกรากและสร้างอารยธรรม
ตอบ 4 หน้า 14, 39, 10 (H), (คําบรรยาย) ยุคหินใหม่ (Neolithic / New Stone Age) เป็นยุคที่มนุษย์ รู้จักเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูก รวมทั้งเป็นยุคของการสร้างสมอารยธรรมในระยะแรก ๆ ของโลก กล่าวคือ มีการเปลี่ยนจากชุมชนเร่ร่อนเป็นชุมชนรกราก หรือเป็นยุคที่เริ่มมีการตั้งถิ่นฐานเป็น ครั้งแรก มีหัวหน้าปกครอง มีการแบ่งงานกันทํา และเริ่มดํารงชีวิตแบบสังคมเมือง (Urban Life) ซึ่งถือว่าเป็นสมัยอารยธรรม (Civilization) ของมนุษย์
6. จุดประสงค์แรกในการเลี้ยงสัตว์ของมนุษย์ คือข้อใด
(1) เพื่อใช้แรงงานทางการเกษตร
(2) เพื่อประกอบพิธีกรรม
(3) เพื่อใช้เป็นอาหาร
(4) เพื่อเป็นเพื่อน
ตอบ 3 หน้า 14, 39, 10 (H), (คําบรรยาย) ยุคหินกลาง (Mesolithic) ถือว่าเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง หรือเป็นยุคที่เชื่อมต่อระหว่างยุคหินเก่า (ยุคเก็บผลไม้) กับยุคหินใหม่ (ยุคปลูกผลไม้) นอกจากนี้ ยังเป็นยุคที่มนุษย์อยู่เป็นหลักแหล่ง อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเล ทําอาชีพประมง และเริ่มรู้จัก การเลี้ยงสัตว์ ซึ่งสัตว์ชนิดแรกที่มนุษย์รู้จักนํามาเลี้ยงคือ สุนัข โดยมีจุดประสงค์แรกในการเลี้ยง ก็เพื่อใช้บริโภคเป็นอาหาร
7.ระบบการปกครองที่ได้รับอิทธิพลผสมระหว่างอนารยชนและโรมัน คือ
(1) เทวสิทธิกษัตริย์
(2) สมบูรณาญาสิทธิราชย์
(3) ประชาธิปไตย
(4) ศักดินาสวามิภักดิ์
ตอบ 4 หน้า 17, 222 – 223, คําบรรยาย) ในช่วงยุคกลางของยุโรป (ค.ศ. 500 – 1500) สภาพบ้านเมือง ของยุโรปเสื่อมโทรม กษัตริย์ไม่มีความสามารถ มีพวกอนารยชนเยอรมันเข้ามารุกรานอยู่ตลอดเวลา และมีโจรผู้ร้ายชุกชุม ส่งผลให้ประชาชนได้รับความยากลําบากมาก จนต้องหันไปขอความคุ้มครอง จากพวกขุนนางแทน ด้วยเหตุนี้จึงทําให้เกิดระบอบการเมืองใหม่ที่เรียกว่า ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ หรือระบอบฟิวดัล (Feudalism) ขึ้น ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่ได้รับอิทธิพลผสมระหว่าง ประเพณีเดิมของทั้งโรมันและอนารยชนเยอรมัน
8. ข้อใดจัดเป็นหลักฐานดั้งเดิม Primary Record
(1) บทความ
(2) วารสาร
(3) หนังสือพิมพ์
(4) จารึก
ตอบ 4 หน้า 21, 12 (H), (คําบรรยาย) เรื่องราวที่ได้จารึกไว้เป็นหลักฐาน (Written Record) เป็น หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานที่สําคัญ ที่สุดในการศึกษาเรื่องราวของมนุษย์สมัยประวัติศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. หลักฐานดั้งเดิม (Primary Record) เช่น จารึกโบราณ หลักศิลาจารึก สนธิสัญญา จดหมายเหตุ เอกสารทางการทูต แถลงการณ์ของรัฐบาล พงศาวดาร ฯลฯ
2. หลักฐานรอง (Secondary Record) ได้แก่ หนังสือที่เรียบเรียงมาจากหลักฐานดั้งเดิม เช่น บทความ วารสาร หนังสือพิมพ์ ตําราอารยธรรมตะวันตก ฯลฯ
9.พวกเซไมท์เข้ายึดครองและรับอารยธรรมของพวกสุเมเรียนมาใช้ เป็นลักษณะของทฤษฎีใด
(1) ทฤษฎีภูมิศาสตร์
(2) ทฤษฎีโนแมด
(3) ทฤษฎีดินเสื่อม
(4) ทฤษฎีศาสนา
ตอบ 2 หน้า 26 – 27, 13 (-) ทฤษฎีโนแมด (Nomad Theory) หมายถึง การที่ผู้ชนะยอมรับเอา อารยธรรมที่เจริญกว่าของผู้แพ้มาเผยแพร่และปรับใช้ เช่น กรณีที่พวกเซไมท์เข้ายึดครอง ดินแดนของพวกสุเมเรียน และรับเอาอารยธรรมของพวกสุเมเรียนมาปรับใช้ เป็นต้น
10. อารยธรรมใดที่ได้รับการขนานนามว่า “ของขวัญจากลุ่มแม่น้ําไนล์”
(1) อารยธรรมกรีก
(2) อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
(3) อารยธรรมอียิปต์
(4) อารยธรรมโรมัน
ตอบ 3 หน้า 46, 17 (H) เฮโรโดตัส (Herodotus) เป็นนักปราชญ์ชาวกรีกที่ได้กล่าวไว้ว่า “อียิปต์คือ ของขวัญจากลุ่มแม่น้ําไนล์” (Egypt is a gift of the Niles) ทั้งนี้เพราะสภาพภูมิประเทศของอียิปต์จะล้อมรอบไปด้วยทะเลทราย มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง และมีฝนตกเฉพาะบริเวณเดลต้า แม่น้ำไนล์จึงเป็นหัวใจสําคัญที่หล่อเลี้ยงและให้ความชุ่มชื้นแก่อียิปต์ จนทําให้อียิปต์เป็นดินแดน ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทําเกษตรกรรม และมีความมั่งคั่งจนสามารถสร้างสมอารยธรรม อันยิ่งใหญ่ของโลกในยุคโบราณได้
11. สันนิษฐานว่าแหล่งกําเนิดของมนุษย์อยู่ในทวีป
(1) ยุโรป
(2) เอเชียและแอฟริกา
(3) ออสเตรเลีย
(4) อเมริกา
ตอบ 2 หน้า 1 – 2, 8 (H) นักประวัติศาสตร์ สันนิษฐานว่าแหล่งกําเนิดของมนุษย์อยู่ในทวีปเอเชียและ แอฟริกา รวมทั้งบริเวณตอนกลางของทวีปเอเชียที่อยู่ติดกับยุโรป คือบริเวณยูเรเชีย (Eurasia) ซึ่งมีภูมิอากาศเหมาะสําหรับการพัฒนาของไพรเมท (Primate) ที่เป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ ต่อมา มนุษย์เหล่านี้ก็ได้กระจัดกระจายออกไปตั้งถิ่นฐานในที่ต่าง ๆ ทั้งในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา
12. จุดมุ่งหมายของการสร้างปฏิทินของอารยธรรมสมัยแรก คือข้อใด
(1) เพื่อการจัดระบบสังคมในเรื่องวันหยุดและการแบ่งงาน
(2) เพื่อต้องการทราบระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลเพื่อทําการเกษตร
(3) เพื่อใช้สําหรับวัน เวลา ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 35 – 36, 14 (H), (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายของการสร้างปฏิทินของอารยธรรมในสมัยแรก คือ เพื่อต้องการทราบระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงฤดูกาล และการกําหนดระยะเวลาในแต่ละปี ซึ่งเป็นประโยชน์ในการทําเกษตรกรรม เช่น ปฏิทินสุริยคติของอียิปต์ เป็นต้น
13. จูเลียส ซีซาร์ นําปฏิทินสุริยคติมาประยุกต์ใช้กับอาณาจักรโรมัน ซึ่งเป็นมรดกจากอารยธรรมใด
(1) อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
(2) อารยธรรมมายา
(3) อารยธรรมอินคา
(4) อารยธรรมอียิปต์
ตอบ 4 หน้า 52, 50 – 51 (H) ในปี 46 B.C. จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) ได้นําเอาปฏิทินแบบสุริยคติ ของอียิปต์มาเผยแพร่และประยุกต์ใช้กับอาณาจักรโรมัน ซึ่งปฏิทินดังกล่าวนี้ยังคงใช้สืบเนื่องมา จนถึงปัจจุบัน โดยชื่อเดือนกรกฎาคม หรือ July ก็ได้มาจากชื่อของ Julius Caesar นั่นเอง
14. มนุษย์รู้จักใช้ไฟที่เกิดจากธรรมชาติให้ความอบอุ่น และประกอบอาหารในยุคใด
(1) หินเก่า
(2) หินแรก
(3) หินเก่าตอนต้น
(4) หินกลาง
ตอบ 3 หน้า 8 – 9, 9 – 10 (H) ยุคหินเก่าตอนต้น หรือ “ยุคล่าสัตว์” (The Age of the Hunter) เป็นสมัยที่มนุษย์รู้จักใช้หินเป็นอาวุธในการล่าสัตว์ อาศัยอยู่ในถ้ํา รู้จักใช้ไฟที่เกิดจากธรรมชาติ มาให้ความอบอุ่น และประกอบอาหารให้สุก มีร่างกายยึดตรง พูดได้ และมีมันสมองใหญ่ มนุษย์ในสมัยนี้ปรากฏตัวเป็นครั้งแรกในแอฟริกา ซึ่งรู้จักกันในชื่อ East African Man
15. ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) การประดิษฐ์ Papyrus ทําจากต้นกก ต้นอ้อ ริมแม่น้ําไนล์
(2) Book of the Death คือหนังสือตัดสินความดีหลังจากเสียชีวิตของชาวอียิปต์
(3) อักษร Cuneiform มีลักษณะเป็นรูปลิ่ม กดทับลงบนแผ่นดินเหนียว
(4) ชาวเมโสโปเตเมียรับวิธีการสร้างปฏิทินจากอียิปต์
ตอบ 4 หน้า 36, 69 – 70, 23 – 24 (H) ปฏิทินของชาวสุเมเรียน (Sumerians) ในดินแดน เมโสโปเตเมียเป็นปฏิทินแบบจันทรคติ ซึ่งเกิดขึ้นจากการสังเกตดวงจันทร์บนท้องฟ้า โดยกําหนดให้หนึ่งปีมี 354 วัน ในขณะที่ปฏิทินแบบสุริยคติของชาวอียิปต์เกิดขึ้นจาก การสังเกตระยะเวลาการขึ้นลงของแม่น้ําไนล์ โดยกําหนดให้หนึ่งปีมี 365 วัน
16. ข้อใดเป็นลักษณะของดินแดนเมโสโปเตเมีย
(1) เป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์
(2) มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติ
(3) เป็นผู้คิดประดิษฐ์ปฏิทินแบบจันทรคติ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 65 – 69, 73, 23 – 24 (H), (คําบรรยาย) ลักษณะของดินแดนเมโสโปเตเมีย มีดังนี้
1. เป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์
2. เป็นดินแดนที่ตั้งอยู่เปิดเผย ไม่มีปราการทางธรรมชาติป้องกันการรุกรานจากศัตรู
3. มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติเข้ามาอยู่รวมกัน
4. มีชาวสุเมเรียนเป็นผู้คิดประดิษฐ์ปฏิทินแบบจันทรคติ
5. เป็นแหล่งกําเนิดกฎหมายฉบับแรกของโลก คือประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (The Code of Hammurabi) ของพระเจ้าฮัมมูราบี เป็นต้น
17. กลุ่มชนที่ได้รับฉายาว่า “พ่อค้าทางบก” คือกลุ่มใด
(1) อัคคาเดียน
(2) แคลเดียน
(3) อราเมียน
(4) ฟินิเซียน
ตอบ 3 หน้า 86 – 87, 27 (H) ความสําคัญของพวกอราเมียน คือ
1. ภาษาอราเมียนเป็นภาษากลางของกลุ่มเอเชียตะวันตก และเป็นภาษาที่พระเยซูและเหล่าสาวกใช้ในการสอนศาสนา
2. พวกอราเมียนได้รับฉายาว่าเป็น “พ่อค้าทางบก” ที่ยิ่งใหญ่ในเขตตะวันออกใกล้ (Near East) หรือบริเวณเอเชียตะวันตก
18.Pharaoh ผู้ปกครองอียิปต์ปกครองภายใต้ระบอบใด
(1) เทวาธิปไตย
(2) ประชาธิปไตย
(3) อนาธิปไตย
(4) อภิชนาธิปไตย
ตอบ 1 หน้า 53, 60, 19 (H), (คําบรรยาย) การปกครองของอียิปต์ในสมัยอาณาจักรเก่าหรือ สมัยพีระมิดเป็นแบบเทวาธิปไตย โดยมีฟาโรห์ (Pharaoh) เป็นประมุขสูงสุด และทรงเป็น เทวกษัตริย์ที่มีฐานะเป็นโอรสของเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์คือ สุริยเทพเรหรือรา (Re / Ra) โดยทรงทําหน้าที่เป็นทั้งหัวหน้ารัฐบาลและหัวหน้าพระ เป็นผู้พิพากษาสูงสุด รวมทั้งเป็น ผู้บังคับบัญชาการกองทัพและบัญชาการทางด้านพลเรือนด้วย
19. ข้อใดไม่ใช่ผลงานของชาวสุเมเรียน
(1) อักษรคูนิฟอร์ม
(2) การนับหน่วย 60
(3) ศาสนาโซโรแอสเตอร์
(4) วิหารซิกกูแรต
ตอบ 3 หน้า 69 – 71, 23 – 24 (H) อารยธรรมที่สําคัญของชาวสุเมเรียน คือ
1. การประดิษฐ์ตัวอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) หรือตัวอักษรรูปลิ่ม โดยใช้ลิ่มหรือวัสดุ ที่มีความแข็ง กดทับลงบนแผ่นดินเหนียว แล้วนําไปตากแดดหรือเผาไฟให้แห้ง
2. การสร้างสถาปัตยกรรมด้วยอิฐที่เรียกว่า “ซิกกูแรต” (Ziggurats) เพื่อใช้เป็นวิหารของเทพเจ้า
3. การทําปฏิทินแบบจันทรคติขึ้นใช้ โดยหนึ่งปีจะมี 354 วัน
4. การนับหน่วย 60 เช่น 1 ชั่วโมง มี 60 นาที, 1 นาที มี 60 วินาที เป็นต้น
20. ผู้ที่เรียกชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์ตามชื่อของดวงดาวในระบบสุริยะ คือกลุ่มใด
(1) ฟินิเซียน
(2) แคลเดียน
(3) ฮิบรู
(4) ฮิทไทท์
ตอบ 2 หน้า 82 – 84, 26 (H) ผลงานที่สําคัญของกลุ่มแคลเดียน คือ
1. การสร้างสวนลอยแห่งนครบาบิโลน (Hanging Garden of Babylonia)
2. การเรียกชื่อวันต่าง ๆ ทั้ง 7 วันใน 1 สัปดาห์ตามชื่อของดวงดาวในระบบสุริยะ
3. การหาระยะเวลาที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลก เวลาที่เกิดสุริยคราสและจันทรคราส และคํานวณความยาวของปีทั้งหมดได้อย่างแม่นยํา
21. กลุ่มคนที่ปรับปรุงอักษรพยัญชนะ 22 ตัว และถ่ายทอดให้กับอักษรกรีก-โรมัน คือกลุ่มใด
(1) ฟินิเซียน
(2) แคลเดียน
(3) ฮิบรู
(4) ฮิทไทท์
ตอบ 1 หน้า 84 – 85, 27 (H), (คําบรรยาย) ชาวฟินิเซียน (Phoenicians) ได้รับการยกย่องว่าเป็น“พ่อค้าทางทะเล” ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 11 B.C. หรือประมาณปี 1000 B.C. นอกจากนี้ ชาวฟินิเซียนยังได้ชื่อว่าเป็นนักลอกเลียนและนักปรับปรุงโดยเลียนแบบการปกครองมาจากอียิปต์และบาบิโลเนียผ่านทางการค้าขาย รวมทั้งรับรูปแบบตัวอักษรเฮียโรกลิฟิกของอียิปต์ และ ตัวอักษรคูนิฟอร์มของสุเมเรียนมาดัดแปลงเป็นของตน เพื่อใช้จดบันทึกทางการค้า โดยปรับปรุง อักษรพยัญชนะ 22 ตัว ซึ่งต่อมาตัวอักษรดังกล่าวก็ถูกถ่ายทอดให้กับอักษรกรีก-โรมัน
22. ลักษณะโดดเด่นของชาวอัสสิเรียน คือข้อใด
(1) เป็นผู้ถ่ายทอดระบบการใช้ปฏิทินให้กับกรีก-โรมัน
(2) การผลิตเหรียญกษาปณ์ครั้งแรก, มีความเชี่ยวชาญทางด้านการพาณิชย์
(3) มีความเชี่ยวชาญในด้านการทําสงครามและรูปสลักนูนต่ํา, มีนิสัยดุร้าย
(4) ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ชอบสร้างสรรค์งานศิลปะ
ตอบ 3 หน้า 80 – 82, 25 – 26 (H) ลักษณะโดดเด่นของชาวอัสสิเรียน คือ
1. เป็นพวกนักรบที่มีนิสัยดุร้ายป่าเถื่อน และมีความเชี่ยวชาญในด้านการทําสงคราม
2. เป็นชนชาติแรกที่จัดระเบียบการปกครองจักรวรรดิอย่างมีระบบ
3. สร้างหอสมุดแห่งแรกของเอเชียตะวันตกคือ หอสมุดที่กรุงนิเนอเวห์ในสมัยพระเจ้า อัสซูร์บานิพัล
4. ชาวอัสสิเรียนได้รับฉายาว่าเป็น “ชาวโรมันตะวันออก” เพราะมีลักษณะเหมือนชาวโรมัน
5. ศิลปะที่มีชื่อเสียงมากของอัสสิเรียนคือ การแกะสลักภาพนูนต่ําซึ่งสะท้อนถึงลักษณะ ที่ดุร้ายของชาวอัสสิเรียน เป็นต้น
23. ข้อใดคือกษัตริย์คนสําคัญของเปอร์เซีย
(1) ซากอน
(2) คริซัส
(3) อัสซูร์บานิพัล
(4) ดาริอุส
ตอบ 4 หน้า 93 – 95, 31 (H) พระเจ้าตาริอุสมหาราช เป็นกษัตริย์คนสําคัญของเปอร์เซีย ทรงมีฉายาว่า “King of Kings” โดยมีผลงานที่สําคัญดังนี้
1. ขยายจักรวรรดิเปอร์เซียออกไปอย่างกว้างขวาง โดยแบ่งเขตปกครองออกเป็น 20 มณฑล
2. สร้างถนนไปตามเมืองต่าง ๆ ทั่วจักรวรรดิ มีชื่อว่า “เส้นทางพระราชา” (The King’s Highway) มีระยะทางประมาณ 1,600 ไมล์
3. มีการวางระบบสื่อสารระหว่างเมืองหลวงถึงมณฑลและการวางกําลังทหารไว้ตาม จุดยุทธศาสตร์สําคัญ ๆ เพื่อการควบคุมเมืองขึ้น
4. มีการเก็บบัญชีภาษีไว้ที่เมืองหลวง เพื่อเป็นการควบคุมการเงิน
24. ศาสนาที่มีความเชื่อ คําสอน ว่าทุกสิ่งมีทั้งด้านมืดและด้านสว่าง ถือว่าเป็นศาสนาแห่งเหตุผลในยุคโบราณคือศาสนาใด
(1) อิสลาม
(2) ยูดาย
(3) เอเดรียน
(4) โซโรแอสเตอร์
ตอบ 4 หน้า 96 – 98, 31 (H) ลักษณะสําคัญของศาสนาโซโรแอสเตอร์ (Zoroaster) คือ
1. เป็นศาสนาประจําชาติของเปอร์เซีย โดยมีโซโรแอสเตอร์เป็นศาสดา
2. สอนว่าทุกสิ่งในโลกนี้มีทั้งด้านมืดและด้านสว่าง ซึ่งต่อสู้เอาชนะกันตลอดเวลา โดยมี พระอนุรา มาสดา (Ahura Mazda) เป็นเทพแห่งแสงสว่างและความดี และมือหริมัน (Aharyman) เป็นเทพแห่งความมืดและความชั่ว
3. เป็นศาสนาแห่งจริยธรรมและเหตุผล โดยเชื่อว่าตายไปแล้วจะต้องได้รับผลกรรมที่เคยทําไว้เมื่อยังมีชีวิตอยู่
4. เป็นศาสนาที่ประกาศสัจธรรมเป็นศาสนาแรกของโลกตะวันตก
5. เป็นศาสนาที่มีการบูชาไฟ เป็นต้น
25. ข้อใดไม่ใช่ผลจากแม่น้ําไนล์
(1) การสังเกต น้ำขึ้น-น้ำลง เพื่อทําปฏิทิน
(2) การสร้างพีระมิดบูชาเทพเจ้า
(3) เกษตรกรรม
(4) การประดิษฐ์ปฏิทินแบบจันทรคติ
ตอบ 4 หน้า 46 – 47, 53 – 54, 17 – 18 (H) ความสําคัญของแม่น้ําไนล์ที่มีผลต่อการสร้างอารยธรรม ของอียิปต์ มีดังนี้
1. ทําให้อียิปต์เป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทํา เกษตรกรรม โดยเฉพาะการปลูกข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์
2. การสังเกต น้ำขึ้น-น้ำลงของแม่น้ำไนล์เพื่อทําการชลประทาน ได้นําไปสู่การประดิษฐ์ปฏิทินแบบสุริยคติ
3. การสร้างพีระมิดบูชาเทพเจ้า เพราะเชื่อว่าการที่แม่น้ําไนล์อุดมสมบูรณ์นั้นเป็นการกระทําของเทพเจ้า
4. การขึ้นลงของแม่น้ำไนล์เกิดขึ้นจากอิทธิพลของฟาโรห์ นั่นคือ เมื่อฟาโรห์ยังทรงมีพระชนม์อยู่จะมีฐานะเป็นเทพโฮรัส (Horus) โอรสของเทพโอซิริส (Osiris) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งแม่น้ําไนล์ เมื่อสิ้นพระชนม์แล้วก็จะกลับไปเป็นเทพโอซิริสอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งแสดงถึงความเชื่อเกี่ยวกับการแบ่งภาคเป็นฟาโรห์มาปกครอง เป็นต้น
26. ศูนย์กลางการค้าขายทางทะเลในช่วงสมัยอารยธรรมอียิปต์-เมโสโปเตเมีย คือข้อใด
(1) ทะเลแดง
(2) ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
(3) ทะเลสาบแคสเปียน
(4) คลองสุเอซ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ศูนย์กลางการค้าขายทางทะเลในสมัยอารยธรรมอียิปต์และเมโสโปเตเมีย คือ ในน่านน้ำทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยชาวอียิปต์จะค้าขายทางเรือโดยใช้วิธีการแลกเปลี่ยนสินค้า กับกลุ่มชนในดินแดนเมโสโปเตเมีย อันได้แก่ ปาเลสไตน์ ฟินิเซีย ซีเรีย และเอเชียไมเนอร์
27. การทํามัมมี่ของชาวอียิปต์สัมพันธ์กับความเชื่อในข้อใด
(1) เชื่อในเรื่องชีวิตหลังความตาย
(2) บูชาเทพเจ้า
(3) เชื่อว่าจะทําให้บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 64 – 65, 22 (1) ชาวอียิปต์มีความเชื่อเรื่องวิญญาณเป็นอมตะและชีวิตหลังความตาย เป็นพวกมองโลกในแง่ดี และคิดหวังจะกลับมาเกิดใหม่ในโลกหน้า ด้วยเหตุนี้ชาวอียิปต์จึงมีวิธีเก็บรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยด้วยการทําเป็นมัมมี่ และสร้างพีระมิดไว้เก็บพระศพของฟาโรห์ โดยฝังไปพร้อม ๆ กับข้าวของเครื่องใช้และอาหาร
28. การใช้ลิ่มหรือวัสดุที่มีความแข็ง กดทับลงบนแผ่นดินเหนียว เป็นลักษณะของตัวอักษรใด
(1) เฮียโรกลิฟิก
(2) ฟินิเซียน
(3) กรีก
(4) คูนิฟอร์ม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ
29. บริเวณ “สุเอซ” ของอียิปต์โบราณ มีลักษณะสําคัญอย่างไร
(1) ศูนย์กลางการค้าขายทางทะเล
(2) จุดอ่อนของอียิปต์ทางด้านการป้องกันประเทศ
(3) ต้นกําเนิดของแม่น้ําศักดิ์สิทธิ์จากเทพเจ้า
(4) แม่น้ำสายหลักที่ใช้ในการทําการเกษตรของอารยธรรมอียิปต์
ตอบ 2 หน้า 47 – 48, 18 (H) บริเวณที่เป็นจุดอ่อนของอียิปต์ทางด้านการป้องกันประเทศ คือ บริเวณช่องแคบ “สุเอช” (Suez) ซึ่งเป็นพื้นที่เชื่อมระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชียตะวันตก บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรตีส ซึ่งเป็นแหล่งกําเนิดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ดังนั้นพื้นที่ บริเวณนี้จึงเป็นทางเชื่อมหรือสะพานระหว่าง 2 ทวีปและ 2 อารยธรรม เป็นเส้นทางการค้า และเป็น แหล่งเชื่อมความคิด อีกทั้งยังเป็นทางเดินของศัตรูผู้รุกรานตลอดสมัยประวัติศาสตร์อันยาวนานของอียิปต์โบราณ
30. เทพเจ้าสูงสุดของอียิปต์ที่มีความเชื่อเกี่ยวกับการแบ่งภาคเป็นฟาโรห์มาปกครอง คือเทพองค์ใด
(1) อานูบิส-ซุส
(2) ไอซิส-โอซิริส
(3) โอซิริส-โฮรัส
(4) ซุส-โพเซดอน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ
31. สมัยที่อียิปต์เริ่มมีการสั่งสมกองทัพและสร้างวิหาร อยู่ในสมัยใด
(1) สมัยก่อนราชวงศ์
(2) สมัยขุนนาง
(3) สมัยอาณาจักรเก่า
(4) สมัยอาณาจักรใหม่
ตอบ 4หน้า 56 – 57, 20 (H) สมัยอาณาจักรใหม่หรือสมัยจักรวรรดิของอียิปต์ (1580 – 1090 B.C.) เป็นสมัยที่ฟาโรห์มีอํานาจมากที่สุด เพราะหลังจากที่ขุนนางอียิปต์สามารถขับไล่พวกฮิคโซส (Hyksos) ออกจากอียิปต์ได้สําเร็จแล้ว ฟาโรห์ได้ทรงดึงอํานาจคืนจากพวกขุนนางและพระ จากนั้นจึงทรงปกครองด้วยอํานาจเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียว มีการสั่งสมกองทัพทั้งกองทัพบกและ กองทัพเรือ เริ่มใช้นโยบายรุกรานเพื่อนบ้านเอาไว้เป็นรัฐกันชน และที่สําคัญก็คือ การเปลี่ยนจาก การสร้างพีระมิดมาเป็นการสร้างวิหารตามไหล่เขาและหน้าผาอย่างใหญ่โตมโหฬาร เพื่อแสดงอํานาจและความมั่งคั่งของฟาโรห์
32. พีระมิด สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใด
(1) สถานที่เก็บรักษาพระศพของฟาโรห์
(2) สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา บูชาเทพเจ้า
(3) พระราชวังที่ประทับของฟาโรห์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 53 – 54, 64 – 65, 19 (H), 21 (H) การสร้างพีระมิดในสมัยอาณาจักรเก่าของอียิปต์นั้น เป็นการสร้างเพื่อถวายแก่ฟาโรห์ โดยมีจุดประสงค์สําคัญ 2 ประการ คือ
1. เชื่อว่าเมื่อฟาโรห์สิ้นพระชนม์ไปแล้วก็จะได้ไปร่วมมือกับเทพเจ้าเพื่อนําความอุดมสมบูรณ์
มาให้แก่อียิปต์เหมือนในสมัยที่ฟาโรห์ยังมีชีวิตอยู่
2. จากความเชื่อในเรื่องวิญญาณเป็นอมตะและโลกหน้า ทําให้มีการสร้างพีระมิดไว้เก็บรักษา พระศพของฟาโรห์ เพื่อรอการฟื้นคืนพระชนม์ชีพ
33. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับกีฬาโอลิมปิก
(1) เทพเจ้ากรีก
(2) ภูเขาซีนาย
(3) ช่อมะกอกศักดิ์สิทธิ์
(4) ระยะเวลา 1 โอลิมเปียด
ตอบ 2 หน้า 115, 39 (H), (คําบรรยาย) ชาวกรีกเชื่อว่าเทพเจ้ามักจะพอใจในการแสดงออกถึง ความกล้าหาญและความเข้มแข็งของมนุษย์ จึงได้จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (Olympic Games) ขึ้นทุก ๆ 4 ปี เพื่อถวายแก่เทพซีอุส (Zeus) ซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุดของกรีก โดย ผู้ที่ชนะจะได้รับมงกุฏที่ทําด้วยก้านมะกอกหรือช่อมะกอกศักดิ์สิทธิ์ และจะเรียกระยะเวลา 4 ปี ระหว่างการแข่งขันแต่ละครั้งว่า โอลิมเปียด (Olympiad) หรือระยะเวลา 1 โอลิมเปียด กีฬาโอลิมปิกได้มีการจัดขึ้นครั้งแรกในปี 776 B.C. และถูกยกเลิกในสมัยกษัตริย์ธีโอโดซีอุสในปี ค.ศ. 393
34. อารยธรรมเฮลเลนิสติก เกิดขึ้นในสมัยใด
(1) สมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช
(2) สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
(3) หลังสงครามเมืองทรอย
(4) หลังสงครามคาบสมุทรเพลอปอนนิซุส
ตอบ 1 หน้า 146, 38 (H), 47 (H) อารยธรรมกรีกโบราณ แบ่งออกเป็น 2 สมัย คือ
1. สมัยเฮลเลนิก (Hellenic) เป็นอารยธรรมกรีกแท้ หรือสมัยก่อนพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ มหาราช โดยเริ่มตั้งแต่สมัยการอพยพของพวกอินโด-ยุโรป ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวกรีก
2. สมัยเฮลเลนิสติก (Hellenistic) เป็นอารยธรรมผสมระหว่างอารยธรรมกรีกเฮลเลนิก (ตะวันตก) กับอารยธรรมเปอร์เซีย (ตะวันออก) ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช
35. นครรัฐที่ปกครองระบอบเผด็จการทหารในดินแดนกรีก คือข้อใด
(1) ทรอย
(2) สปาร์ตา
(3) เอเธนส์
(4) อิกทาก้า
ตอบ 2 หน้า 118 – 121, 40 – 41 (H) ลักษณะสําคัญของนครรัฐสปาร์ตา คือ
1. เป็นดินแดนที่อยู่ในหุบเขา ไม่ติดชายฝั่งทะเล ทําให้ไม่มีกําแพงธรรมชาติป้องกัน เหมือนนครรัฐอื่น และทําให้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ
2. แสวงหาความมั่งคั่งโดยการทําสงครามปราบปรามนครรัฐอื่น ๆ ทําให้มีทาส เชลยศึกเป็นจํานวนมาก
3. ปกครองระบอบเผด็จการทหารหรือเผด็จการเบ็ดเสร็จ (Totalitarian Government)
4. ชาวสปาร์ตาเป็นผู้แบกภาระของรัฐไว้หนักที่สุด เพราะต้องเป็นทหารตั้งแต่อายุ 20 – 60 ปี เพื่อควบคุมพวกทาสซึ่งมีจํานวนมากกว่า เป็นต้น
36. การตรวจสอบความแข็งแรงสมบูรณ์ของเด็กเกิดใหม่ในรัฐสปาร์ตาเป็นหน้าที่ของใคร
(1) กลุ่มพาริเชียน
(2) คณะตรีบูน
(3) สภาซีเนท
(4) คณะเอเฟอร์
ตอบ 4 หน้า 119 – 120, 122, 41 (H) คณะเอเฟอร์ หรือกลุ่มผู้มีอํานาจสูงสุดในนครรัฐสปาร์ตา มีหน้าที่สําคัญดังนี้
1. กําหนดโชคชะตาของเด็กเกิดใหม่ทุกคน นั่นคือ เมื่อมีเด็กเกิดใหม่ ต้องนําไปให้คณะเอเฟอร์ตรวจสอบความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกาย ถ้าเด็กพิการหรือ อ่อนแอก็จะถูกนําไปทิ้งหน้าผาเพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อสังคม
2. สามารถถอดถอนหรือ สั่งประหารกษัตริย์ได้
3. ควบคุมระบบการศึกษา
4. มีอํานาจเหนือกฎหมายและสภา
37. กีฬาโอลิมปิกถูกยกเลิกในสมัยใด
(1) จูเลียส ซีซาร์
(2) พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช
(3) กษัตริย์ธีโอโดซีอุส
(4) กษัตริย์จัสติเนียน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ
38. Greco-Buddhist Arts ส่งผลให้กับศิลปะใด
(1)ศิลปะอินเดีย
(2) ศิลปะเฮลเลนิสติก
(3) ศิลปะลังกา
(4) ศิลปะโรมัน
ตอบ 1 หน้า 152, 47 (H), (คําบรรยาย) ในสมัยที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชกษัตริย์ของกรีก
ได้ยกกองทัพขยายอํานาจมาถึงชายแดนอินเดียบริเวณลุ่มแม่น้ําสินธุ์ในปี 323 BC. ส่งผลให้ ชาวอินเดียในแคว้นคันธาระได้รับอิทธิพลทางด้านการปั้นหรือประติมากรรมจากกรีก นั่นคือ ศิลปะการปั้นพระพุทธรูปแบบกรีก (Greco-Buddhist Arts) โดยจะเห็นว่าพระพุทธรูปของอินเดียในระยะแรกนั้นมีลักษณะเหมือนเทพอพอลโลของกรีก
39. กลุ่มชนดั้งเดิมในพื้นที่บริเวณคาบสมุทรอิตาลี ก่อนการบุกรุกของชาวเยอรมัน คือกลุ่มใด
(1) Plebeian
(2) Latin
(3) Greek
(4) Etruscan
ตอบ 2 หน้า 158 – 159, 48 (1) บรรพบุรุษของชาวโรมันคือ พวกอินโด-ยุโรป ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในคาบสมุทรอิตาลีเมื่อประมาณปี 2000 – 1000 B.C. ก่อนการรุกรานของอนารยชนเยอรมัน โดยหนึ่งในบรรดาพวกที่อพยพเข้ามาคือ พวกละติน (Latin) ซึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มแม่น้ํา ไทเบอร์ (Fiber) และได้สร้างกรุงโรมขึ้นบนฝั่งแม่น้ํานี้เมื่อปี 753 B.C. ต่อมาบริเวณนี้จึงได้ชื่อว่า “ที่ราบละติอุม” (Plain of Latium) และทําให้ชาวละตินกลุ่มนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “โรมัน”
40. ข้อใดจัดเป็นอารยธรรมกรีกแท้
(1) ครีตัน ไมนวน
(2) เฮลเลนิก
(3) เฮลเลนิสติก
(4) โทรจัน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ
41. เทพเจ้าของชาวกรีก-โรมัน มีลักษณะอย่างไร
(1) เชื่อในเรื่องความสมดุล ความมืด-ความสว่าง / ความดีความชั่ว
(2) ประกอบพิธีกรรมอย่างเคร่งครัด โดยมีพระเป็นสื่อกลาง
(3) เทพเจ้ามีลักษณะใกล้เคียงมนุษย์ มีอารมณ์ ความรู้สึก
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 115, 39 (H) ชาวกรีก-โรมันมีความเชื่อในเรื่องวิญญาณและอํานาจลึกลับต่าง ๆ โดยเชื่อว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังสิ่งลึกลับเหล่านั้นก็คือ เทพเจ้า ซึ่งเทพเจ้าจะมีรูปร่างหน้าตา อารมณ์ และความรู้สึกเช่นเดียวกับมนุษย์ ทั้งนี้ชาวโรมันจะรับเอาเทพเจ้าของกรีกมาทั้งหมด แต่มีการ แปลงชื่อใหม่ โดยเทพเจ้าที่สําคัญ เช่น เทพซีอุส (Zeus) เป็นเทพเจ้าสูงสุด พวกโรมันเรียกว่า “จูปิเตอร์” (Jupiter), เทพโพไซดอน (Poseidon) เป็นเจ้าแห่งทะเล พวกโรมันเรียกว่า “เนปจูน” (Neptune) เป็นต้น
42. การต่อสู้ระหว่างทาส-สัตว์ / ทาล-ทาส เพื่อให้ได้รับความเป็นอิสระ คือข้อใด
(1) Gradiator Combat
(2) Mortal Combat
(3) Circus Maximus
(4) Amphitheater
ตอบ 1 หน้า 177 – 179, 52 (H) ชาวโรมันเป็นกลุ่มชนที่นิยมการกีฬาและความบันเทิง ซึ่งที่ได้รับความนิยมมาก ได้แก่
1. การแข่งรถศึกเทียมม้าที่ Circus Maximus ซึ่งเป็นสนามที่จุคนดูได้ประมาณ 150,000 คน
2. การแข่งขันกีฬากลาดิเอเตอร์ (Gradiator Combat) ที่สนามโคลอสเซียม (Colosseum) ในกรุงโรม ซึ่งจะเป็นการต่อสู้ระหว่างคนซึ่งอาจเป็นนักสู้ถืออาวุธ พวกฟรีดแมน หรือทาส กับทาส หรือทาสกับสัตว์ที่ดุร้ายก็ได้ ในกรณีที่เป็นการต่อสู้ของพวกทาส หากชนะก็จะแลกกับการได้รับอิสรภาพ
3. การจัดการแสดงละครที่โรงมหรสพรูปครึ่งวงกลม (Amphitheater) ซึ่งเป็นโรงละครขนาดใหญ่ในกรุงโรม
43. กฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของชาวโรมัน คือข้อใด
(1) กฎหมายสิบสองโต๊ะ
(2) กฎหมายฮัมมูราบี
(3) กฎหมายโซลอน
(4) กฎหมายจัสติเนียน
ตอบ 1 หน้า 161, 49 (H), (คําบรรยาย) ในปี 450 B.C. ได้มีการประกาศใช้ “กฎหมายสิบสองโต๊ะ” ซึ่งเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของชาวโรมัน โดยจารึกลงบนแผ่นทองแดง 12 แผ่น แล้วนําไปติดที่ฟอรัมเพื่อประกาศให้ราษฎรได้ทราบโดยทั่วไป
44. ปรัชญามนุษยนิยม “Man is the measure of all things” เป็นแนวคิดของใคร
(1) Sophists
(2) Plato
(3) Aristotte
(4) Socrates
ตอบ 1 หน้า 137, 140, 45 (F), (คําบรรยาย) ปรัชญากรีกจัดเป็นปรัชญามนุษยนิยม ดังที่โปรตากอรัส (Protagoras) นักปรัชญากลุ่มโซฟิสต์ (Sophists) ได้กล่าวไว้ว่า “มนุษย์คือเครื่องวัดทุกสิ่ง (Man is the measure of all things) ซึ่งเท่ากับเป็นการสรุปทัศนคติทั้งหมดของชาวกรีก หรือ อาจกล่าวได้ว่ากรีกเป็นนักมนุษยธรรมนิยม (Humanistic)
45. สงครามใดที่ทําให้นครรัฐกรีกอ่อนแอลง
(1) สงครามเปอร์เซียน
(2) สงครามปูนิก
(3) สงครามเพลอบ่อนนิซุส
(4) สงครามกรุงทรอย
ตอบ 3 หน้า 144, 46 (H), (คําบรรยาย) ในระหว่างปี 431 – 404 B.C. นครรัฐต่าง ๆ ของกรีก ได้ทําสงครามภายในระหว่างกันเอง เรียกว่า สงครามเพลอปอนนี้เซียน (The Peloponnesian War) หรือบางครั้งอาจเรียกว่า สงครามเพลอปอนนิซุส (Peloponnesus) ทั้งนี้เนื่องจากเกิดขึ้น บนคาบสมุทรเพลอปอนนิซุสเป็นส่วนใหญ่ ทําให้บรรดานครรัฐกรีกอ่อนแอลง จนเปิดโอกาสให้ พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งมาซิโดเนีย ยกกองทัพทหารฟาแลงซ์ (Phalanx) เข้ายึดครองนครรัฐกรีก ได้ทั้งหมด และสามารถรวบรวมนครรัฐกรีกซึ่งไม่เคยรวมกันเป็นรัฐเดียวเข้าไว้ด้วยกันได้เป็นผลสําเร็จในปี 338 B.C.
46. ผู้ที่วางรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย “การบริหารในมือคนส่วนใหญ่” คือใคร
(1) ดราโค
(2) โซลอน
(3) เพริดลิส
(4) คลิสเธนีส
ตอบ 4 หน้า 126 – 127, 43 (H) คลิสเธนีส (Cleisthenes) เป็นผู้ที่วางรากฐานการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยในเอเธนส์เป็นคนแรก ทําให้ประชาธิปไตยมีความหมายว่า
“การบริหารอยู่ในมือของคนส่วนใหญ่” ซึ่งการปฏิรูปที่สําคัญ ได้แก่
1. กําจัดอิทธิพลของครอบครัวที่มีอํานาจทางการเมือง
2. จัดตั้งสภา 500 แทนสภา 400 ของโซลอน และแบ่งเอเธนส์ออกเป็น 10 เขต แต่ละเขตมีสมาชิก 50 คน
3. นําเอาระบบออสตราซิสม์ (Ostracism) มาใช้ ซึ่งเป็นการเนรเทศบุคคลที่ไม่พึงปรารถนา ออกจากนครเอเธนส์
47. Dark Age (ยุคมืด) ทางอารยธรรมอยู่ในช่วงใด
(1) ยุคกลางตอนต้น
(2) ยุคกลางตอนกลาง
(3) ยุคกลางอันรุ่งเรือง
(4) ยุคกลางตอนปลาย
ตอบ 1 หน้า 205 – 206, 214, 318, 59 (H) ยุคกลางตอนต้น ถูกเรียกว่า “ยุคมืด” (Dark Age) เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าของอารยธรรมคลาสสิก หรืออารยธรรมกรีก-โรมัน ได้หยุดชะงักลง ในดินแดนยุโรปตะวันตก พร้อมกับการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ทั้งนี้เพราะถูก อนารยชนกลุ่มต่าง ๆ เข้ามารุกรานอยู่เสมอ ทําให้สภาพบ้านเมืองเกิดความสับสนวุ่นวาย การค้าซบเซาเพราะถนนหนทางถูกตัดขาด มีโจรผู้ร้ายออกทําการปล้นสะดมทั่วไป บรรดา ช่างฝีมือกลายเป็นคนว่างงาน ชาวเมืองต้องอพยพหลบหนีออกไปอยู่ชนบท ส่งผลทําให้ ศิลปวิทยาการต่าง ๆ ไม่ได้รับความสนใจอีกต่อไป
48. พื้นที่ใดภายหลังพัฒนาเป็นนครรัฐสันตะปาปา
(1) Byzantium
(2) Papal States
(3) Latium
(4) Constantinopte
ตอบ 2 หน้า 217, 62 – 63 (H) เมื่อเปแปงที่ 3 (Pepin III) ได้ขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ คาโรแลงเจียนของพวกแฟรงค์ในปี ค.ศ. 752 แล้ว เปแบ่งก็ต้องการการสนับสนุนทาง การเมืองจากฝ่ายศาสนจักร ดังนั้นพระองค์จึงเอาใจสันตะปาปาด้วยการยึดครองอาณาจักร ทางภาคกลางของพวกลอมบาร์ด และนําไปถวายแก่สันตะปาปา เรียกว่า การบริจาคที่ของ เปแปง (Donation of Pepin) ต่อมาดินแดนแห่งนี้ก็คือ นครรัฐสันตะปาปา (Papal States) ซึ่งมีอํานาจทางการเมืองมาจนถึงปี ค.ศ. 1870
49. ชนชาติชาวเอเชียที่เข้ามารุกรานในเขตพื้นที่ Chaton ในช่วงปี A.D. 451 คือชนชาติใด
(1) Huns
(2) Vandals
(3) Franks
(4) Visigoths
ตอบ 1 หน้า 212, 60 (H) ฮั่น (Huns) เป็นอนารยชนเผ่ามองโกลที่มาจากทวีปเอเชียที่รุกไล่พวกกอธ (Goths) เข้าไปในจักรวรรดิโรมันและได้เข้าคุกคามยุโรปตะวันตก โดยมีผู้นําคือ อัตติลา (Attila) แต่ในที่สุดก็ต้องเป็นฝ่ายพ่ายแพ้แก่เมโรเวกในการรบที่เมืองซาลอง (Chalon) ในปี ค.ศ. 451 (A.D. 451) หลังจากนั้นพวกฮั่นก็หมดอํานาจไปในปี ค.ศ. 454
50. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองอาณาจักรโรมันโดยพวกอนารยชน
(1) มีชีวิตแบบสังคมชนบท ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
(2) ไม่ใช้กฎหมายเป็นแบบแผน เน้นความรุนแรง การตัดสินแบบไม่ยุติธรรม
(3) เกิดการต่อสู้และสงครามระหว่างกลุ่มอนารยชนตลอดเวลา
(4) มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ตอบ 4 หน้า 214 – 215, 61 (H), (คําบรรยาย) การปกครองอาณาจักรโรมันโดยพวกอนารยชน มีลักษณะที่สําคัญดังนี้
1. แตกแยกออกเป็นเคว้นเล็กแคว้นน้อยมากกว่าที่จะรวมกันเป็นปึกแผ่น
2. พวกอนารยชนไม่สร้างเมืองเหมือนพวกกรีก-โรมัน มีวิถีชีวิตแบบสังคมชนบทประกอบอาชีพเกษตรกรรม
3. พวกอนารยชนมักทําสงครามระหว่างกันอยู่ตลอดเวลา จึงไม่มีเวลาพอที่จะทํานุบํารุง ศิลปวัฒนธรรม ทําให้อารยธรรมกรีก-โรมันเสื่อมลง
4. พวกอนารยชนไม่ใช้กฎหมายที่เป็นแบบแผน เน้นความรุนแรง การตัดสินเป็นแบบ ไม่ยุติธรรม โดยจะขึ้นอยู่กับการใช้อํานาจและสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นตัวกําหนด เป็นต้น
51.ระบบ Feudalism เป็นความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของทรัพย์สินกับผู้เช่าทรัพย์สิน คําว่า “ทรัพย์สิน” หมายถึงข้อใด
(1) ทอง / โลหะมีค่า
(2) แรงงาน / ทาส
(3) ที่อยู่อาศัย
(4) ที่ดิน
ตอบ 4 หน้า 223 – 224, 64 – 65 (H), (คําบรรยาย) ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ หรือระบอบฟิวดัล (Feudalism / Feudal) เป็นความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของที่ดินกับผู้ใช้ประโยชน์จากที่ดินหรือ ผู้เช่าที่ดินผืนนั้น เจ้าของที่ดินคือกษัตริย์หรือขุนนาง เรียกว่า เจ้า (Lord) ส่วนผู้ใช้ประโยชน์ จากที่ดิน เรียกว่า ข้า (Vassal) โดยคําว่า Feudalism หรือ Feudal มาจากคําว่า Fiefs หรือ Feuda ซึ่งหมายถึง “ที่ดิน” นั่นเอง
52. เครื่องมือของคริสตจักรต่อสังคมในข้อใด มีการกําหนดวันเวลายุติการทําสงคราม ตั้งแต่คืนวันพุธ
ถึงเช้าวันจันทร์
(1) Truce of God
(2) Interdict
(3) Excommunication
(4) Peace of God
ตอบ 1 หน้า 231 – 232, 65 – 66 (H) ในยุคกลางมักมีสงครามแย่งชิงที่ดินระหว่างขุนนางอยู่บ่อยครั้ง สันตะปาปาจึงออกประกาศให้มีการหยุดพักรบเป็นการชั่วคราวใน 2 กรณี คือ
1. ประกาศสันติสุขแห่งพระผู้เป็นเจ้า หรือ Peace of God คือ ให้การพิทักษ์รักษาแก่บุคคล และสถานที่บางแห่งยามที่มีสงคราม เช่น โบสถ์ วิหาร สํานักชี และคนของวัด
2. ประกาศระยะพักรบเพื่อพระผู้เป็นเจ้า หรือ Truce of God คือ ห้ามทําการรบตั้งแต่ พระอาทิตย์ตกดินในวันพุธ ไปจนถึงพระอาทิตย์ขึ้นในเช้าวันจันทร์
53. ข้อใดไม่ใช่ราชอาณาจักรสําคัญในยุคกลาง
(1) The Holy Roman Empire
(2) Byzantine Empire
(3) Moslem Empire
(4) Roman
ตอบ 4 หน้า 246, 251, 255, 69 – 70 (H) ราชอาณาจักรสําคัญในยุคกลาง ได้แก่
1. จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (The Holy Roman Empire)
2. จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire)
3. จักรวรรดิมอสเล็ม (Mostem Empire)
54. สงครามครูเสด เป็นสงครามความขัดแย้งระหว่างศาสนาใด
(1) คริสต์-ยูดาย
(2) ยูดาย-อิสลาม
(3) คริสต์-อิสลาม
(4) คาทอลิก-โปรเตสแตนต์
ตอบ 3 หน้า 280, 284, 76 (H), (คําบรรยาย) สงครามครูเสดในยุคกลาง ถือเป็นสงครามมหายุทธ์ ที่มีรัฐและฝ่ายต่าง ๆ เข้าร่วมสงครามมากมาย ซึ่งกินระยะเวลาร่วม 200 ปี (รวมทั้งหมด 8 ครั้ง) โดยเป็นสงครามระหว่างศาสนาคริสต์กับศาสนาอิสลาม หรือระหว่างพวกคริสเตียน กับพวกมุสลิมหรือมอสเค็ม เพื่อแย่งกันครอบครองกรุงเยรูซาเล็ม และเมื่อสิ้นสุดสงคราม พวกคริสเตียนก็ไม่สามารถยึดกรุงเยรูซาเล็มคืนจากพวกมอสเล็มได้ จึงถือว่าเป็น “ความล้มเหลว ที่ประสบความสําเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์” เพราะชาวยุโรปได้รับบทเรียนต่าง ๆ จาก พวกอาหรับและอิสลามอื่น ๆ เป็นอันมาก
55. พระนักรบสํานักใดเกิดขึ้นระหว่างสงครามครูเสด ภายหลังมีหน้าที่เป็นกองกําลังรักษาและถวายอารักขา
สันตะปาปา
(1) สํานักเทมปลาร์
(2) สํานักฮอสปิแตร์เลอร์
(3) สํานักเจซูอิท
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 243, 68 (H) สํานักสงฆ์นิกายโรมันคาทอลิกที่ตั้งขึ้นในระหว่างสงครามครูเสด คือ
1. สํานักเทมปลาร์ (Templars) เป็นทั้งพระและนักรบในสงครามครูเสด ภายหลังมีหน้าที่เป็นกองกําลังรักษาและถวายอารักขาสันตะปาปา
2. สํานักฮอสปิแตร์เลอร์ (Hospitalers) เป็นพระที่ช่วยรักษาพยาบาลทหารและประชาชนฝ่ายตนที่ได้รับบาดเจ็บจากการรบ
56. สงครามครูเสดครั้งใดเป็นการสู้รบระหว่างชาวคริสต์ด้วยกัน
(1) ครั้งที่ 1
(2) ครั้งที่ 3
(3) ครั้งที่ 4
(4) ครั้งที่ 8
ตอบ 3 หน้า 283, 76 (H), (คําบรรยาย) สงครามครูเสดครั้งที่ 4 (ค.ศ. 1202 – 1204) เป็นสงคราม ระหว่างชาวคริสต์ด้วยกันเอง โดยกองทัพครูเสดภายใต้การนําของสาธารณรัฐเวนิส และการ สนับสนุนของสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 ได้เข้ายึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิล แทนที่จะ ยกกองทัพไปยึดกรุงเยรูซาเล็ม
57. ข้อใดคือผลของสงครามระหว่าง Pope Alexander III + สมาคมลอมบาร์ด
(1) Italy แยกออกจาก Germany
(2) เกิดนครรัฐสันตะปาปา
(3) Germany สามารถรวมประเทศได้
(4) เกิดสัญญา Treaty of Verdun
ตอบ 1 หน้า 260 – 261, 71 – 72 (H) จักรพรรดิเฟรเดอริก บาร์บารอสซา (Frederick Barbarossa) ไม่สามารถที่จะรวมเยอรมนีได้สําเร็จ มีสาเหตุมาจากการที่จักรพรรดิทรงเน้นว่าอาณาจักรต้อง เป็นฝ่ายปกครองศาสนจักร ทําให้สันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3 (Pope Alexander III) ไม่พอใจ จักรพรรดิ จึงร่วมกับกลุ่มพ่อค้าและชาวเมืองอิตาลีตั้งสมาคมลอมบาร์ดต่อต้านจักรพรรดิ รวมไปถึง ขุนนางเยอรมันไม่ต้องการให้จักรพรรดิมีอํานาจแข็งแกร่งเกินไปจึงไม่ช่วยรบ ซึ่งผลปรากฏว่า จักรพรรดิเป็นฝ่ายพ่ายแพ้จึงมีการทําสนธิสัญญาสันติภาพของสตังซ์ (Peace of Constance) ในปี ค.ศ. 1183 โดยมีผลตามมาคือ
1. แคว้นลอมบาร์ดีเป็นอิสระและได้ปกครองตนเอง
2. สิ้นสุดการรวมกันระหว่างอิตาลี (Italy) และเยอรมนี (Germany) ลงโดยสิ้นเชิง ซึ่งทําให้ อิตาลีแยกออกจากเยอรมนี
3. ดินแดนเยอรมนีแตกแยกออกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย
58.อนารยชนชาว Franks ที่สามารถรวบรวมอาณาจักรของอนารยชนทั่วยุโรปเป็นอาณาจักรใหญ่ มีการปกครองในระบอบกษัตริย์ สถาปนาราชวงศ์ใดเป็นราชวงศ์แรก
(1) Merovingian
(2) Carolingian
(3) Capetien
(4) Tudor
ตอบ 1 หน้า 215 – 217, 61 – 62 (H), (คําบรรยาย) พวกแฟรงค์ (Franks) เป็นอนารยชน ที่สามารถรวบรวมดินแดนยุโรปตะวันตกให้เป็นปึกแผ่นได้อีกครั้ง ภายหลังจากการล่มสลาย ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก โดยได้ก่อตั้งอาณาจักรขึ้นภายใต้การนําของ 2 ราชวงศ์ คือ
1. อาณาจักรเมโรแวงเจียน (Merovingian Kingdom) ผู้ก่อตั้งคือ กษัตริย์โคลวิส (Colvis) ซึ่งได้สถาปนาราชวงศ์เมโรแวงเจียนขึ้นเป็นราชวงศ์แรกในปี ค.ศ. 481
2. อาณาจักรคาโรแลงเจียน (Carolingian Kingdom) ผู้ก่อตั้งคือ เปแปงที่ 3 (Pepin III) ซึ่ง ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ใหม่คือ ราชวงศ์คาโรแลงเจียนในปี ค.ศ. 751
59. ข้อใดมีความสัมพันธ์กับ Magna Carta : The Great Charter
(1) John the Lackland
(2) อาณาจักรแฟรงค์
(3) Chartes Martel, The Hammer
(4) กษัตริย์ประเทืองปัญญา
ตอบ 1หน้า 275, 75 (H), (คําบรรยาย) พระเจ้าจอห์น หรือ “กษัตริย์ผู้ไร้แผ่นดิน” (John the Lackland) ทรงถูกพวกขุนนางอังกฤษบังคับให้ลงนามในรัฐธรรมนูญแมกนา คาร์ตา (Magna Carta) หรือ “The Great Charter” ในปี ค.ศ. 1215 ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของอังกฤษ โดยมีหลักการที่สําคัญคือ กําหนดให้ทุกชนชั้นต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย นอกจากนี้ยังจํากัดอํานาจของกษัตริย์ ให้ศาลยุติธรรมทําหน้าที่ตัดสินคดีความของเสรีชน การจัดเก็บภาษีต้องทําด้วยความยุติธรรม และมีการกล่าวถึงตัวบทกฎหมายอีกด้วย ซึ่งนับว่า เป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองในระบอบรัฐสภา หรือการปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญของอังกฤษ
60. ผลของสงครามใดเป็นการเปลี่ยนมหาอํานาจทางทะเล จากสเปนเป็นอังกฤษ
(1) World War I
(2) War of the Roses
(3) Armada War
(4) Hundred Years War
ตอบ 3 หน้า 388 – 389, 87 (H), 100 — 101 (H) สงครามอาร์มาดา (Armada War) ในปี ค.ศ. 1588 เป็นสงครามทางทะเลระหว่างพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน กับพระราชินีเอลิซาเบทที่ 1 แห่งอังกฤษ ซึ่งผลปรากฏว่าอังกฤษเป็นฝ่ายชนะ ส่งผลให้สเปนหมดอิทธิพลในยุโรป ในขณะที่อังกฤษกลายเป็นมหาอํานาจทางทะเลแทนสเปน
61. สํานักสงฆ์ของนิกายเบเนดิกไตน์ มีบทบาทสําคัญในยุคกลางตรงตามข้อใด
(1) มีส่วนร่วมสําคัญในสงครามครูเสด
(2) แจกจ่ายอาหารและให้ที่พักแก่คนยากจนและคนเจ็บ
(3) มุ่งวิพากษ์วิจารณ์ชีวิตที่หรูหราของสันตะปาปาและพระชั้นสูง
(4) ส่งเสริมการค้นคว้าวิทยาการใหม่ ๆ
ตอบ 2 หน้า 242, 68 (H) สํานักเบเนดิกไตน์ (Benedictines) เป็นคณะสงฆ์ที่ตัดขาดทางโลก โดยมีผู้นําคือ เซนต์เบเนดิก (St. Benedict) เป็นพวกพระที่เรียกว่า “monk” ซึ่งพระ ในสํานักสงฆ์นี้ได้มีส่วนช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมในยุคกลางเป็นอย่างมาก เช่น
1. ส่งเสริมการศึกษาด้วยการจัดตั้งโรงเรียน และคัดลอกเอกสารโบราณ
2. แจกจ่ายอาหารและให้ที่พักแก่คนยากจน คนเจ็บ เด็กกําพร้าและแม่หม้าย
3. พระจะไถหว่านที่ดินและเป็นตัวอย่างแก่ชาวบ้านอื่น ๆ โดยนําเอาวิธีเพาะปลูกที่ได้ผลดี ที่สุดมาใช้ เป็นต้น
62. เพราะเหตุใด “ศาสนจักร” กับ “อาณาจักร” ในช่วงยุคกลางจึงมักขัดแย้งกันอยู่เสมอ
(1) สันตะปาปามักจะมองว่ากษัตริย์บริหารบ้านเมืองไม่ดีพอ
(2) กษัตริย์มักจะมองว่าสันตะปาปามีความประพฤติไม่ถูกต้อง
(3) มีความขัดแย้งเรื่องพิธีกรรมต่อพระเจ้า
(4) มีความขัดแย้งในเรื่องของอํานาจ และมักจะแทรกแซงกันอยู่เสมอ
ตอบ 4 หน้า 243, 68 (H), (คําบรรยาย) ความขัดแย้งในเรื่องการแต่งตั้งตําแหน่งทางศาสนาเป็นความขัดแย้งระหว่างสันตะปาปาฝ่ายศาสนจักรกับกษัตริย์และพวกขุนนางฝ่ายอาณาจักร ทั้งนี้เพราะวัดมีฐานะเป็นข้า (Vassal) ของกษัตริย์และพวกขุนนางซึ่งมอบที่ดินให้แก่วัด ขณะเดียวกันวัดก็อยู่ภายใต้อํานาจของสันตะปาปา ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ศาสนจักรหรือ อาณาจักรใครควรมีอํานาจในการแต่งตั้งหัวหน้าพระ ด้วยเหตุนี้เองจึงทําให้ศาสนจักรกับ อาณาจักรในช่วงยุคกลางมีความขัดแย้งในเรื่องอํานาจ และมักจะแทรกแซงกันอยู่เสมอ
63. เครื่องมือสําคัญของสันตะปาปาในการจัดการความขัดแย้งกับกษัตริย์ในยุโรป คือข้อใด
(1) การขับออกจากศาสนา
(2) การยกกองทัพไปปราบปราม
(3) การใช้นโยบายทางการทูต
(4) การคว่ําบาตรทางเศรษฐกิจ
ตอบ 1 หน้า 243, 250, 66 (H), (คําบรรยาย) การบัพพาชนียกรรม (Excommunication) คือ การประกาศขับไล่บุคคลใดบุคคลหนึ่งให้เป็นพวกนอกศาสนา หรือการขับออกจาก ศาสนา ทําให้ไม่มีใครมาคบด้วยหรือถ้าเป็นกษัตริย์ก็จะถูกต่อต้านจากประชาชน ซึ่งการ บัพพาชนียกรรมนี้ถือว่าเป็นเครื่องมือสําคัญของสันตะปาปาในการจัดการความขัดแย้งกับ กษัตริย์ในยุโรป ตัวอย่างเช่น กรณีพิพาทระหว่างสันตะปาปาเกรเกอรีที่ 7 กับจักรพรรดิ เฮนรีที่ 4 เป็นต้น
64. ศูนย์กลางของจักรวรรดิไบแซนไทน์คือข้อใด
(1) เอเธนส์
(2) อเล็กซานเดรีย
(3) เยรูซาเล็ม
(4) คอนสแตนติโนเปิล
ตอบ 4 หน้า 251 – 252, 69 -70 (H) จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงตั้งจักรวรรดิโรมันตะวันออก หรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ขึ้นในปี ค.ศ. 330 โดยมีเมืองหลวงหรือศูนย์กลางของจักรวรรดิ คือ คอนสแตนติโนเปิล ทั้งนี้ประชากรส่วนใหญ่จะมีเชื้อสายกรีก พูดภาษากรีก และนับถือศาสนาคริสต์นิกายกรีกออร์ธอดอกซ์
65. ชนชั้นใดที่ใช้ชีวิตในระบบเศรษฐกิจแบบเงินตราและจะกลายเป็นชนชั้นกลางในเวลาต่อมา
(1) ขุนนาง
(2) อัศวิน
(3) พ่อค้า
(4) ชาวนา
ตอบ 3 หน้า 285 – 286, 77 (H), (คําบรรยาย) ภายหลังสงครามครูเสดได้เกิดชนชั้นใหม่ คือ ชนชั้นกลางหรือพวก Burghers หรือพวกที่อาศัยอยู่ในเมือง (Burgs) ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ ที่เรียกตนเองว่า เสรีชน (Free Man) โดยคนกลุ่มนี้จะดําเนินชีวิตและประกอบอาชีพอิสระ คือ ทําการค้าและอุตสาหกรรม มีการใช้เงินตราแลกเปลี่ยน และปกครองตนเอง จึงเป็น พวกที่มีความมั่งคั่งที่ใช้ชีวิตอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบเงินตรา และเปลี่ยนสังคมให้นับถือ ความมั่งคั่งจนกลายเป็นชนชั้นกลางในเวลาต่อมา ซึ่งการเติบโตของชนชั้นกลางมีบทบาทสําคัญในการทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงปลายยุคกลาง
66. ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้จักรพรรดิเฟรเดอริก บาร์บารอสซา ไม่สามารถที่จะรวมเยอรมนีได้สําเร็จ
(1) สันตะปาปาไม่พอใจจักรพรรดิ
(2) ขุนนางเยอรมันไม่ต้องการให้จักรพรรดิมีอํานาจแข็งแกร่งเกินไปจึงไม่ช่วยรบ
(3) กลุ่มพ่อค้าและชาวเมืองอิตาลีตั้งสมาคมลอมบาร์ดเพื่อต่อต้านจักรพรรดิ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 57. ประกอบ
67. ราชวงศ์แฮปสเบิร์กมีอํานาจปกครองอาณาจักรในข้อใด
(1) อังกฤษ
(2) ฝรั่งเศส
(3) โรมันอันศักดิ์สิทธิ์
(4) ไบแซนไทน์
ตอบ 3 หน้า 292 – 293, 78 (H) จักรพรรดิชาร์ลที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์ก ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับประกาศทองในปี ค.ศ. 1356 โดยกําหนดให้เจ้าผู้ครองแคว้นในอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (เจ้าเยอรมัน) 7 องค์ หรือจัดเป็นคณะผู้เลือกตั้ง 7 คน (7 Electors) เป็นผู้เลือกจักรพรรดิองค์ใหม่ โดยไม่ต้องมีการรับรองจากศาสนจักร ซึ่งถือว่าเป็นการตัดสิทธิของสันตะปาปาออกจากการเลือกตั้ง จักรพรรดิองค์ใหม่แห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1438 เป็นต้นมา กษัตริย์แห่งราชวงศ์แฮปสเบิร์กแห่งออสเตรียมักจะได้รับการเลือกตั้งเป็นจักรพรรดิแห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
68. ชนกลุ่มใดที่นําระบบฟิวดัลจากฝรั่งเศสเข้าสู่เกาะอังกฤษ
(1) วิสิกอธ
(2) นอร์มัน
(3) บริตัน
(4) แซกซอน
ตอบ 2 หน้า 271 – 273, 72 (H), 74 (H), (คําบรรยาย) กษัตริย์วิลเลียมที่ 1 (William I) แห่งนอร์มัน ทรงนํากองทัพเข้ารุกรานอังกฤษ สามารถรบชนะพวกแองโกลแซกซอน และเข้ายึดครองอังกฤษได้สําเร็จในปี ค.ศ. 1066 อีกทั้งได้นําเอาระบบฟิวดัลจากฝรั่งเศส เข้าสู่เกาะอังกฤษ ซึ่งทําให้มีผลตามมาคือ
1. กษัตริย์อังกฤษทรงมี 2 สถานภาพคือ มีฐานะเป็นเจ้า (Lord) สูงสุดในอังกฤษ แต่ต้อง มีฐานะเป็นข้า (Vassal) ของกษัตริย์ฝรั่งเศส ซึ่งจากสภาพดังกล่าวได้กลายเป็นชนวน ของสงครามร้อยปีระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสในเวลาต่อมา
2. ภาษาฝรั่งเศสกลายเป็นภาษาของชนชั้นสูงและเป็นภาษาทางการในอังกฤษ
3. การนํารูปแบบแมเนอร์ (Manorial System) เข้ามาใช้ในอังกฤษ เป็นต้น
69. กฎบัตร แมกนา คาร์ตา ของอังกฤษ ในปี 1215 มีสาระสําคัญตามข้อใด
(1) จํากัดอํานาจของกษัตริย์
(2) เพิ่มความแข็งแกร่งด้านการทหาร
(3) ให้เสรีภาพทางการค้า
(4) ส่งเสริมอํานาจทางศาสนา
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ
70. การที่สันตะปาปาพยายามหาหนทางแต่งตั้งพระชั้นสูง และพยายามปรับปรุงระบบภาษีศาสนาให้มั่นคง เป็นหนึ่งในกระบวนการตามข้อใด
(1) พยายามปลดปล่อยศาสนจักรจากการควบคุมของอาณาจักร
(2) พยายามขยายอาณาเขตพื้นที่ของรัฐสันตะปาปา
(3) พยายามปรับปรุงศีลธรรมของประชาชน
(4) พยายามปรับปรุงความประพฤติของพระ
ตอบ 1 หน้า 278, (คําบรรยาย) ในยุคกลางพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7 เชื่อว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้าง มนุษย์ และพระคือตัวแทนของพระเจ้าในการชี้นํามนุษย์ ดังนั้นพระสันตะปาปาจึงควรเป็น ผู้นําของทุกสถาบันด้วยการดําเนินการคือ ปลดปล่อยศาสนจักร (วัด) จากการควบคุมของ ฝ่ายอาณาจักรโดยการเรียกร้องให้สันตะปาปาเป็นผู้แต่งตั้งพระชั้นสูง ให้สันตะปาปามีอํานาจสูงสุดในศาสนจักร และปรับปรุงระบบภาษีเพื่อให้สันตะปาปามีฐานะทางการเงินที่มั่นคง
71. แม้ฝ่ายคริสต์จะพ่ายแพ้ในสงครามครูเสด แต่ผลพลอยได้ที่สําคัญของยุโรปตรงกับข้อใด
(1) ได้แบ่งเมืองเยรูซาเล็มมาหนึ่งในห้าส่วน
(2) ทําให้ศาสนจักรกรีกออร์ธอดอกซ์มีอํานาจมากขึ้น
(3) กระตุ้นให้เกิดการค้าระหว่างดินแดนมากขึ้น เพราะมีความต้องการสินค้าใหม่ ๆ
(4) ทําให้เกิดการแปลงานเขียนของโรมันและกรีกมากขึ้น
ตอบ 3 หน้า 284 – 285, 77 (H), (คําบรรยาย) ฝ่ายคริสต์แม้จะพ่ายแพ้ในสงครามครูเสด แต่ผลพลอยได้ที่สําคัญของยุโรป คือ
1. เมืองและนครรัฐต่าง ๆ ที่ส่งของช่วยเหลือในสงครามมีอํานาจในการค้าขายมากขึ้น
2. มีการนําเงินและทองเข้ามาในยุโรปมากขึ้น การค้าแบบแลกเปลี่ยนสินค้าก็ค่อย ๆ เลิกไป และหันมาใช้เงินในการซื้อขาย
3. กระตุ้นให้เกิดการค้าระหว่างดินแดนมากขึ้น เพราะมีความต้องการสินค้าใหม่ ๆ เช่น เครื่องเทศจากภาคตะวันออกไปเผยแพร่ในยุโรปตะวันตก เป็นต้น
72. ปรากฏการณ์ในข้อใดที่มีบทบาทสําคัญในการทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงปลายยุคกลาง
(1) การมีบทบาทของชาวยิว
(2) การลดภาษีของศาสนจักร
(3) การเกิดบรรษัทร่วมทุน
(4) การเติบโตของชนชั้นกลาง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 65. ประกอบ
73.ข้อใดคือบทบาทของสมาคมการค้าหรือ “กิลด์” ในช่วงปลายยุคกลาง
(1) กําหนดราคาและคอยดูแลคุณภาพของสินค้า
(2) ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของแรงงาน
(3) มีส่วนในการก่อตั้งสหภาพคนงาน
(4) ดูแลและควบคุมเฉพาะการค้าระหว่างประเทศ
ตอบ 1 หน้า 289 – 290, (คําบรรยาย) บทบาทสมาคมการค้าหรือ “กิลด์” ในช่วงปลายยุคกลางได้แก่
1. กําหนดชั่วโมงการทํางานและค่าแรงของคนงาน
2. กําหนดราคาที่แน่นอน และคอยดูแลคุณภาพและปริมาณของสินค้า
3. ให้ความช่วยเหลือแก่ภรรยาและบุตรของสมาชิกผู้เสียชีวิตจากการทํางาน
4. จัดให้คนงานได้รับความบันเทิงในวันหยุด เป็นต้น
74. ในช่วงปลายยุคกลาง บริเวณใดของยุโรปที่เป็นเมืองสําคัญทางการค้า
(1) โรมันอันศักดิ์สิทธิ์
(2) คาบสมุทรอิตาลี
(3) คาบสมุทรไอบีเรีย
(4) แถบสแกนดิเนเวีย
ตอบ 2 หน้า 286, 77 (H), (คําบรรยาย) ในช่วงปลายยุคกลางนั้นเกิดเมืองสําคัญทางการค้าในคาบสมุทรอิตาลี เช่น เวนิส เจนัว และปิซ่า ส่วนแคว้นฟลานเดอร์ (เบลเยียม) คือศูนย์กลาง ทางการค้าระหว่างทะเลบอลติกกับทะเลเหนือ และเป็นเมืองรับสินค้าของอังกฤษเข้าสู่ประเทศบนภาคพื้นทวีป
75. สาเหตุสําคัญของสงคราม 100 ปี ในช่วงปลายยุคกลาง คือข้อใด
(1) กษัตริย์ฝรั่งเศสอ้างสิทธิในบัลลังก์อังกฤษ
(2) กษัตริย์อังกฤษอ้างสิทธิในบัลลังก์ฝรั่งเศส
(3) อังกฤษและฝรั่งเศสขัดแย้งด้านการค้า
(4) อังกฤษและฝรั่งเศสขัดแย้งทางศาสนา
ตอบ 2 หน้า 296 – 297, 79 (H) สาเหตุปัจจุบันที่ทําให้เกิดสงคราม 100 ปี ระหว่างอังกฤษกับ ฝรั่งเศสในช่วงปลายยุคกลาง เนื่องจากกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 3 (Edward III) แห่งอังกฤษ ทรงเรียกร้องสิทธิในการขึ้นครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศส เมื่อกษัตริย์ฝรั่งเศสสิ้นพระชนม์ลง โดยไม่มีรัชทายาท แต่พวกขุนนางฝรั่งเศสไม่ยินยอมโดยอ้างกฎหมายที่เรียกว่า “Salic Law” เพื่อตัดสิทธิในราชบัลลังก์ของพระองค์ ดังนั้นพระองค์จึงประกาศสงครามกับฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1337 และสงครามได้ดําเนินมาจนถึงปี ค.ศ. 1453
76. บทบาทสําคัญของ โจน ออฟ อาร์ค ในช่วงสงคราม 100 ปี คือข้อใด
(1) นําทัพฝรั่งเศสเข้ายึดครองเกาะอังกฤษ
(2) นําทัพฝรั่งเศสเข้ายึดครองบริเวณนอร์มังดี
(3) เข้าร่วมสงครามและได้รับชัยชนะหลายครั้ง
(4) เอาชนะอังกฤษได้ที่ก็เยนและยึดดินแดนคืนได้
ตอบ 3 หน้า 298 – 299, 79 (H) ในช่วงสงคราม 100 ปี ได้เกิดวีรสตรีชาวฝรั่งเศสชื่อ โจน ออฟ อาร์ค (Joan of Arc) ขึ้น โดยเป็นสตรีที่เข้าร่วมสงครามและได้รับชัยชนะหลายครั้ง แต่ในที่สุดก็ถูก อังกฤษจับไปเผาในฐานะเป็นพวกนอกรีต (แม่มด) ซึ่งการตายของโจนได้ส่งผลให้ชาวฝรั่งเศส เกิดความรู้สึกชาตินิยมหันกลับมาปรองดองกัน จนสามารถเอาชนะฝ่ายอังกฤษได้ที่ปารีสในปี ค.ศ. 1436 และยึดดินแดนคืนได้ตามลําดับคือ รูอัง นอร์มังดี และกี่เยน
77. ชนชาติใดที่มีส่วนสําคัญในการทําให้จักรวรรดิไบแซนไทน์ล่มสลายลงในปี 1453
(1) อาหรับ
(2) ออตโตมัน เติร์ก
(3) ฮาน
(4) มองโกล
ตอบ 2 หน้า 255, 54 (H), 70 (H) จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ล่มสลายลง ในปี ค.ศ. 1453 เพราะถูกพวกออตโตมัน เติร์ก (Ottoman Turks) ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม เข้ายึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิล หลังจากนั้นอารยธรรมไบแซนไทน์จึงถูกถ่ายทอดให้แก่ รัสเซียทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม ปฏิทิน ตัวอักษร และนิกายกรีกออร์ธอดอกซ์ได้ย้ายศูนย์กลาง ไปอยู่ที่ประเทศรัสเซีย เรียกว่านิกาย Russian Orthodox
78. นักคิดในข้อใดที่เห็นว่าการเมืองและศีลธรรมเป็นคนละส่วน และไม่ควรนํามาปะปนกันหรือพิจารณารวมกัน
(1) โทมัส ฮอบส์
(2) โบแดง
(3) มาเคียเวลลี
(4) ดังเต้
ตอบ 3 หน้า 334, 94 (H), (คําบรรยาย) มาเคียเวลลี (Machiavelli) เห็นว่า การเมืองและศีลธรรม เป็นคนละส่วน และไม่ควรนํามาปะปนหรือพิจารณารวมกัน โดยผลงานสําคัญของเขาคือ The Prince ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับราชาธิปไตยหรือรัฐบาลที่มีอํานาจเด็ดขาด และมีความสําคัญ ในแง่ของการเมืองที่ว่า “The end always justifies the means” หรือการทําให้บรรลุ จุดมุ่งหมายโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง โดยไม่คํานึงถึงศีลธรรม
79. ข้อใดเป็นหลักการสําคัญของลัทธิพาณิชย์นิยม
(1) ให้ระบบเศรษฐกิจเป็นไปตามกลไกตลาดโดยที่รัฐไม่แทรกแซง
(2) ผลิตสินค้าเพื่อยังชีพเป็นหลัก
(3) ซื้อสินค้าจากชาติอื่นให้น้อยที่สุด ส่งออกสินค้าให้มากที่สุด
(4) ระบบการค้าอยู่ภายใต้การควบคุมของประชาชนส่วนใหญ่
ตอบ 3 หน้า 339 – 340, 88 (H), (คําบรรยาย) ระบบเศรษฐกิจและการค้าทางทะเลตั้งแต่ ปลายศตวรรษที่ 15 – 16 ในยุโรปตะวันตก เรียกว่า “ลัทธิพาณิชย์นิยม” (Mercantilism) ซึ่งหมายถึง การควบคุมเศรษฐกิจโดยรัฐบาลแห่งชาติ ซึ่งเป็นการผสมกลมกลืนระหว่างลัทธิ ชาตินิยมกับลัทธินายทุนใหม่ พวกนายทุนจะได้รับการส่งเสริมทางการค้าจากรัฐบาล โดยลัทธินี้ มีแนวคิดพื้นฐานที่ว่าชาติจะมั่นคงได้ก็ต่อเมื่อมีการพึ่งพาทางเศรษฐกิจจากชาติอื่นน้อยที่สุดดังนั้นจึงพยายามที่จะซื้อสินค้าจากชาติอื่นให้น้อยที่สุด แต่จะพยายามขายหรือส่งออกสินค้าให้ได้มากที่สุด
80. ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้สเปนสามารถรวบรวมดินแดนได้ในคริสต์ศตวรรษที่ 15
(1) การคิดค้นอาวุธชนิดใหม่
(2) การแต่งงานระหว่างเจ้าคาสติลกับอรากอน
(3) การเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส
(4) การได้ทองจํานวนมากจาก “โลกใหม่”
ตอบ 2 หน้า 267, 73 (H), (คําบรรยาย) ยุคแห่งการยึดอํานาจคืนของพวกคริสเตียนจากพวกมัวร์ (Moors) ในสเปน เรียกว่ายุค Reconquest หรือ Reconguista โดยยุคนี้สิ้นสุดลงเมื่อมีการรวม อาณาจักรคริสเตียน 2 แห่งเข้าด้วยกัน ซึ่งเกิดจากการแต่งงานระหว่างเจ้าคาสติลกับอรากอน นั่นคือ การอภิเษกสมรสระหว่างพระราชินีอิซาเบลลาที่ 1 แห่งคาสติล กับพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ ที่ 2 แห่งอรากอน ซึ่งได้ร่วมกันปกครองในฐานะเป็นกษัตริย์คาทอลิกทําสงครามกับพวกมัวร์ จนมีชัยชนะในปี ค.ศ. 1492 ซึ่งเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้สเปนสามารถรวบรวมดินแดนได้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 นั่นเอง
81.กระบวนการในข้อใดที่ทําให้เกิดพัฒนาการทางการเมืองหรือการกําเนิดชาติรัฐในยุโรปช่วงต้นสมัยใหม่
(1) ความเสื่อมของระบอบฟิวดัล
(2) การติดต่อสัมพันธ์กับจีน
(3) การคัดค้านอํานาจของสันตะปาปาและศาสนจักร
(4) ความพยายามรวบอํานาจเข้าสู่ศูนย์กลางของกษัตริย์ในหลายรัฐ
ตอบ 1 หน้า 332, 86 (H) พัฒนาการทางการเมืองหรือการกําเนิดชาติรัฐ (National States) ของ ยุโรปช่วงต้นสมัยใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 นั้นมีสาเหตุมาจากความเสื่อมของระบอบฟิวดัล และความสํานึกในความเป็นชาติ
82. ข้อใดเป็นเหตุผลหลักที่ชาวโปรตุเกสและสเปนถึงพยายามออกเรือเพื่อสํารวจทางทะเล
(1) เพื่อค้นหาเส้นทางการค้าไปยังทวีปเอเชีย
(2) เพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
(3) เพราะต้องการเผยแพร่ศาสนา
(4) ค้นหาเส้นทางการเดินทัพใหม่ ๆ
ตอบ 1 หน้า 351, 87 (H) เหตุผลหลักที่ชาวโปรตุเกสและสเปนพยายามออกเรือเพื่อสํารวจทางทะเล คือ ต้องการสํารวจค้นหาเส้นทางการค้าไปยังทวีปเอเชียและแอฟริกา ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังการ สถาปนาประเทศโปรตุเกสในปี ค.ศ. 1139 จนนําไปสู่การปฏิวัติทางการค้าในที่สุด
83. ข้อใดเป็นปัจจัยสําคัญที่สุดที่ทําให้ความรู้ต่าง ๆ แพร่หลายได้อย่างรวดเร็วในโลกตะวันตกช่วงต้นสมัยใหม่
(1) การเปิดเส้นทางการค้าใหม่ ๆ
(2) การประดิษฐ์แท่นพิมพ์สมัยใหม่
(3) การติดต่อกับโลกอาหรับ
(4) การถกเถียงในศาสนจักร
ตอบ 2 หน้า 359, 372, 3 (H), 96 (H) โจฮันน์ กูเตนเบิร์ก (Johann Gutenberg) ช่างทองชาวเยอรมัน เป็นบุคคลแรกที่ได้รับการยกย่องในการประดิษฐ์แท่นพิมพ์สมัยใหม่ได้สําเร็จในปี ค.ศ. 1445 ซึ่งการพิมพ์นี้มีผลต่อการปฏิวัติอารยธรรมยุโรปตะวันตกเป็นอย่างมาก เพราะทําให้ความรู้ต่าง ๆ แพร่หลายได้อย่างรวดเร็วในโลกตะวันตกต้นสมัยใหม่ ทําให้หนังสือหาอ่านได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะการศึกษาทางด้านศาสนา ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนําไปสู่การปฏิรูปศาสนาในเวลาต่อมา
84. นักเดินเรือในข้อใดเป็นคนแรกที่สามารถเดินเรืออ้อมแหลมกู๊ดโฮปไปยังอินเดียได้
(1) วาสโก ดา กามา
(2) โคลัมบัส
(3) ไดแอซ
(4) แมเจลแลน
ตอบ 1 หน้า 336, 351, 90 (H), (คําบรรยาย) ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 โปรตุเกสภายใต้การนํา ของเจ้าชายเฮนรี (Henry) กษัตริย์นักเดินเรือ เป็นผู้เริ่มการสํารวจทางเรือเป็นชาติแรก โดยมีนักเดินเรือที่สําคัญ คือ
1. ไดแอช (Diaz) เดินทางไปถึงปลายสุดของทวีปแอฟริกา (แหลมกู๊ดโฮป) ในปี ค.ศ. 1487
2. วาสโก ดา กามา (Vasco da Gama) เป็นคนแรกที่สามารถเดินเรืออ้อมแหลมกู๊ดโฮป ไปถึงอินเดียได้สําเร็จในปี ค.ศ. 1498
3. คาบรัล (Cabral) เดินทางไปถึงบราซิลในปี ค.ศ. 1500
85. ศิลปวิทยาของอารยธรรมใดที่ได้รับความสนใจหรือฟื้นฟูขึ้นในอิตาลีช่วงเรอเนสซองส์
(1) ไบแซนไทน์
(2) กรีก-โรมัน
(3) ยุคกลาง
(4) อียิปต์
ตอบ 2 หน้า 356 – 358, 92 (H) การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ หรือ “เรอเนสซองส์” (Renaissance) ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 คือการเกิดใหม่ของอารยธรรมคลาสสิกหรือการฟื้นฟูอารยธรรม กรีก-โรมันขึ้นมาใหม่ ซึ่งในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการจะเน้นความสําคัญของมนุษย์ มนุษยนิยม (Humanism) รวมทั้งการแสดงออกของปัจเจกบุคคลและประสบการณ์ทางโลกปรัชญา ดังนั้นจึงนับว่ามีความแตกต่างจากยุคกลางซึ่งถูกครอบงําจากคริสต์ศาสนาโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ การฟื้นฟูศิลปวิทยาการเกิดขึ้นครั้งแรกที่เมืองฟลอเรนซ์ในแหลมอิตาลี ก่อนที่จะแพร่ขยายเข้าไปในประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ
86. ข้อใดคือลักษณะสําคัญของศิลปะในสมัยเรอเนสซองส์
(1) เลียนแบบลักษณะการเขียนภาพในยุคกลาง
(2) มักจะเขียนเรื่องราวชีวประวัติของพระเยซู
(3) มีการเขียนงานศิลปะแบบ Perspective และสมจริงมากขึ้น
(4) เขียนภาพในแนวนามธรรมที่เน้นรูปทรง เส้น สี มากกว่าความสมจริง
ตอบ 3 หน้า 356 – 357, 363, (คําบรรยาย) ลักษณะสําคัญของความคิดในสมัยเรอเนสซองส์ (ค.ศ. 1300 – 1500) มีดังนี้
1. เน้นความสําคัญของมนุษย์ในฐานะศูนย์กลางแห่งจักรภพ
2. ในวรรณคดีจะย้ําความสนใจในเรื่องมนุษยนิยม เพื่อหาหนทางทําความเข้าใจในมนุษย์
3. มีการเขียนงานศิลปะแบบ Perspective ทําให้ภาพเป็นธรรมชาติและสมจริงมากขึ้น
4. เน้นถึงเหตุการณ์ที่แสดงออกถึงความคิดของแต่ละคน เป็นต้น
87. ข้อใดเป็นผู้มีบทบาทสําคัญต่อการเกิดการปฏิรูปศาสนา
(1) กาลิเลโอ
(2) ฟรานซิส เบคอน
(3) อีรัสมัส
(4) มาร์ติน ลูเธอร์
ตอบ: 4 หน้า 378 – 379, 98 (H) มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) พระชาวเยอรมัน เป็นผู้ที่มีบทบาท สําคัญในการเริ่มการปฏิรูปศาสนา ซึ่งได้เขียนคําประท้วง 95 ข้อ ไปติดที่โบสถ์ในแคว้นแซกโซนี ทําให้มีผู้เห็นด้วยว่าไม่ควรนําเงินของเยอรมันไปสร้างวัดในอิตาลี เหตุการณ์ดังกล่าวนั้นนับเป็น จุดเริ่มต้นของการประท้วงทางศาสนา และเป็นที่มาของคําว่า “Protestant” ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1529
88. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่ทําให้เกิดการปฏิรูปศาสนา
(1) พระชั้นสูงมีความเป็นอยู่ที่ฟุ้งเฟ้อ และมักเรียกเก็บภาษีสูงขึ้น
(2) ศาสนาแบบเดิมใส่ใจเรื่องพิธีกรรมมากกว่าแก่นแท้
(3) การไปถึงทวีปอเมริกา ทําให้เกิดการตั้งคําถามต่อสิ่งที่เขียนไว้ในไบเบิล
(4) แนวคิดมนุษยนิยมที่ส่งเสริมให้มนุษย์ใส่ใจกับโลกปัจจุบันมากกว่าโลกหน้า
ตอบ 3 หน้า 377, 97 (H), (คําบรรยาย) ปัจจัยที่ทําให้เกิดการปฏิรูปศาสนา ได้แก่
1. สันตะปาปาหรือพระชั้นสูงมีความเป็นอยู่ที่ฟุ้งเฟ้อและฟุ่มเฟือย และมักเรียกเก็บภาษีสูงขึ้น
สําหรับนําไปใช้จ่ายในสํานักวาติกัน
2. ศาสนาแบบเดิมใส่ใจเรื่องพิธีกรรมมากกว่าแก่นแท้ของศาสนา
3. มีการวิพากษ์วิจารณ์การฉ้อฉลและความประพฤติไม่ดีของพระ
4. นักมนุษยนิยมเผยแพร่แนวคิดที่ว่ามนุษย์ควรใส่ใจกับโลกปัจจุบัน มากกว่าโลกหน้า (ชีวิตหลังความตาย) เพราะไม่มีประโยชน์ เป็นต้น
89. ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้พระเจ้าเฮนรีที่ 8 ทําการปฏิรูปศาสนาในอังกฤษ
(1) ไม่พอใจการขายใบไถ่บาปของสันตะปาปา
(2) ต้องการหย่าขาดจากมเหสี แต่ศาสนจักรไม่ยอม
(3) สันตะปาปาไม่ยอมรับการขึ้นสู่บัลลังก์ของพระองค์
(4) ไม่พอใจการปฏิบัติตัวของพระในอังกฤษ
ตอบ 2 หน้า 383, 99 (H), (คําบรรยาย) การปฏิรูปศาสนาในอังกฤษเกิดขึ้นเพราะพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ ต้องการหย่าขาดจากพระนางแคทเทอรีนแห่งอรากอนเพื่ออภิเษกสมรสใหม่กับ แอน โบลีน แต่ศาสนจักร (สันตะปาปา) ไม่ยินยอม พระเจ้าเฮนรีที่ 8 จึงตัดขาดจากองค์กร คริสตจักรที่กรุงโรม และทรงให้รัฐสภาออกกฎหมายที่เรียกว่า “The Act of Supremacy ในปี ค.ศ. 1534 เพื่อแต่งตั้งให้พระองค์เป็นประมุขทางศาสนาในอังกฤษแทนสันตะปาปา หรือ “Catholic without Pope” ซึ่งส่งผลทําให้อังกฤษเปลี่ยนศาสนาเป็นโปรเตสแตนต์ที่เรียกว่า นิกายอังกฤษ (Anglican Church / Church of England)
90.สงครามสามสิบปี (ค.ศ. 1618 – 1648) สิ้นสุดลงด้วยสนธิสัญญาฉบับใด
(1) สนธิสัญญาอ๊อกซเบิร์ก
(2) สนธิสัญญาแห่งเมืองนังต์
(3) สนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย
(4) สนธิสัญญาพิเรนิส
ตอบ 3 หน้า 390 – 391, 10: (H) สงครามสามสิบปี (ค.ศ. 1618 – 1648) หรือสงครามยุโรป เป็น สงครามศาสนาครั้งสุดท้ายที่เกิดขึ้นในยุโรปในดินแดนเยอรมนี (อาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์) ระหว่างพวกโปรเตสแตนต์ซึ่งมีประเทศผู้นําคือ อังกฤษและฝรั่งเศส กับพวกคาทอลิกซึ่งมีประเทศ ผู้นําคือ สเปน สงครามนี้สิ้นสุดลงด้วยการทําสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) โดยเป็นชัยชนะของพวกโปรเตสแตนต์และฝรั่งเศส ทําให้ฝรั่งเศสกลายเป็นมหาอํานาจในยุโรปแทนที่สเปน และดินแดนเยอรมนีได้รับความเสียหายเป็นอย่างมากทําให้การรวมเยอรมนีช้าไป เป็นเวลา 200 ปี
91. แนวคิดข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789
(1) เสรีนิยม
(2) มาร์กซิส
(3) ชาตินิยม
(4) รัฐธรรมนูญนิยม
ตอบ 2 หน้า 456, 114 – 116 (H), (คําบรรยาย) การปฏิวัติฝรั่งเศสปี ค.ศ. 1789 เป็นการปฏิวัติของ พวกเสรีนิยม (Liberalism) ซึ่งเป็นการปฏิวัติภายใต้การนําของกลุ่มชนชั้นกลางที่ต้องการยกเลิก ระบอบอภิสิทธิ์ลงในฝรั่งเศส อีกทั้งยังได้รับอิทธิพลของรัฐธรรมนูญนิยมซึ่งต้องการเลียนแบบ รัฐสภาของอังกฤษ และอิทธิพลของแนวคิดแบบชาตินิยม (Nationalism) โดยฝูงชนปารีสได้บุก เข้าไปทําลายคุกบาสติลในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 ซึ่งเป็นที่คุมขังบุคคลที่เป็นศัตรูของรัฐ และเป็นเครื่องหมายของการปกครองระบอบเก่า ได้ทําให้วันที่ 14 กรกฎาคมของทุกปี กลายเป็น วันชาติของฝรั่งเศสเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
92. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการปฏิวัติอเมริกา ค.ศ. 1776
(1) วันประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกาคือวันที่ 4 สิงหาคม
(2) กองทัพฝรั่งเศสเป็นพันธมิตรกับอังกฤษรบกับกองทัพชาวอาณานิคมอเมริกัน
(3) คําประกาศอิสรภาพได้รับอิทธิพลจากแนวคิดนักปรัชญาเสรีนิยม เช่น จอห์น ล็อค
(4) รัฐบาลอังกฤษใช้แนวคิดการค้าเสรีในอาณานิคมอเมริกาก่อนสมัยการปฏิวัติ
ตอบ 3 หน้า 454, 113 (H), (คําบรรยาย) จอห์น ล็อค (John Locke) และรุสโซ (Rousseau) เป็น นักปรัชญาเสรีนิยม ซึ่งมีอิทธิพลต่อการปฏิวัติอเมริกาปี ค.ศ. 1776 โดยแนวความคิดของพวกเขา ได้ไปปรากฏในคําประกาศอิสรภาพ (The Declaration of Independence) ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 เพื่อสถาปนาประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้น โดยมีโทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) เป็นผู้ร่างคําประกาศอิสรภาพดังกล่าว
93. ใครคือผู้ค้นพบจุดดับบนดวงอาทิตย์
(1) โคเปอร์นิคัส
(2) นิวตัน
(3) เคปเลอร์
(4) กาลิเลโอ
ตอบ 4 หน้า 437, 111 (H) ผลงานที่สําคัญของกาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) ได้แก่
1. เป็นผู้ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ส่องดูภูเขาและหุบเขาบนดวงจันทร์ วงแหวนของดาวเสาร์และค้นพบจุดดําหรือจุดดับบนดวงอาทิตย์และพบว่าดวงจันทร์หมุนรอบดาวพฤหัสบดี
2. เป็นผู้พิสูจน์การหมุนของดวงอาทิตย์
3. เป็นผู้พิสูจน์ว่าสิ่งของที่มีน้ำหนักเบาและหนักนั้นจะตกถึงพื้นในเวลาเดียวกัน ถ้าปราศจากการต้านทานของอากาศ เป็นต้น
94. ใครคืออัครมหาเสนาบดีคู่พระทัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 13
(1) โวลแตร์
(2) ซุลลี
(3) ริเชอลิเออ
(4) มาซารินี
ตอบ 3 หน้า 404, 407, 106 (H) บาทหลวงเชอลิเออ (ค.ศ. 1624 – 1642) เป็นอัครมหาเสนาบดี คู่พระทัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 และเป็นผู้นําฝรั่งเศสซึ่งเป็นคาทอลิกเข้าสู่สงครามสามสิบปี ร่วมกับกษัตริย์กุสตาอุส อดอลฟุส แห่งสวีเดนซึ่งเป็นโปรเตสแตนต์ โดยมีจุดประสงค์สําคัญ คือ การมุ่งทําลายล้างราชวงศ์แฮปสเบิร์กที่ปกครองทั้งสเปนและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นการปิดล้อมฝรั่งเศสในขณะนั้นให้ได้ ทําให้ภายหลังสงครามฝรั่งเศสได้กลายมาเป็น มหาอํานาจในยุโรปแทนที่สเปน
95. นักคิดคนใดเห็นว่าอํานาจอธิปไตยควรอยู่กับผู้มีอํานาจอย่างสมบูรณ์เพื่อไม่ให้สังคมวุ่นวาย
(1) ฮอบส์
(2) ล็อค
(3) รุสโซ
(4) มาร์กซ์
ตอบ 1 หน้า 440 – 441, 112 (H), (คําบรรยาย) โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbs) ชาวอังกฤษ เป็น นักปรัชญาที่เขียนวิเคราะห์สนับสนุนการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolutism) ไว้ในหนังสือ Leviathan โดยเขาเห็นว่า อํานาจอธิปไตยควรอยู่กับกษัตริย์ผู้มีอํานาจอย่างสมบูรณ์ (Absolute Power) เพื่อไม่ให้สังคมวุ่นวายหรือเกิดลัทธิอนาธิปไตยขึ้นอีก
96. ใครคือผู้ปกครองคนสําคัญของอังกฤษ (ค.ศ. 1653 – 1658) ในสมัยการปกครองแบบคอมมอนเวลท์
(1) พระนางอลิซาเบทที่ 1
(2) โอลิเวอร์ ครอมเวลล์
(3) วิลเลียม พิตต์
(4) จอห์น ล็อค
ตอบ 2 หน้า 414, 107 (H) เมื่ออังกฤษเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบสาธารณรัฐภายใต้ชื่อว่า สาธารณรัฐเพียวริตัน (Puritan Republic) แล้ว อังกฤษก็อยู่ภายใต้การปกครองของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ (ค.ศ. 1653 – 1658) ซึ่งเป็นการปกครองแบบคอมมอนเวลท์ (Commonwealth)
97. สถาปัตยกรรมในพระราชวังแวร์ซายส์ เป็นศิลปะรูปแบบใด
(1) ศิลปะนีโอคลาสิก
(2) ศิลปะโรมมาเนสก์
(3) ศิลปะบารอค
(4) ศิลปะโรแมนติก
ตอบ 3 หน้า 406, 428, 488 ศิลปะบารอก (The Baroque Style) เป็นสถาปัตยกรรมที่ใช้เนื้อที่มาก และมีเส้นโค้ง เช่น พระราชวังแวร์ซายส์ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีความเจริญทางด้านดนตรีแบบบารอคซึ่งรุ่งเรืองที่สุดในงานประพันธ์เพลงของ โจฮันน์ ซีบาสเตียน บัค ชาวเยอรมัน โดยผลงานที่มีชื่อเสียงมากก็คือ St. Matthew Passion (ค.ศ. 1729)
98. วันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 เกิดเหตุการณ์สําคัญใดในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส
(1) ทําลายพระราชวังแวร์ซายส์
(2) ทําลายคุกบาสติล
(3) ทําลายพระราชวังลูฟวร์
(4) การปฏิวัติอันรุ่งเรือง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ
99. อะไรคือวัตถุประสงค์หลักของระบบ “The Continental System” ในสมัยจักรพรรดินโปเลียน
(1) เพื่อสร้างพันธมิตรรัฐต่าง ๆ ในยุโรปเพื่อต่อต้านปรัสเซีย
(2) เพื่อสร้างระบบการค้าร่วมในทวีปยุโรป
(3) เพื่อสร้างแรงกดดันทางเศรษฐกิจแก่อังกฤษ
(4) พระเจ้านโปเลียนต้องการสงบศึกกับประเทศเพื่อนบ้าน
ตอบ 3 หน้า 469, 117 (H), (คําบรรยาย) ระบบ The Continental System ในสมัยจักรพรรดินโปเลียน มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างแรงกดดันทางเศรษฐกิจแก่อังกฤษ ไม่ให้มีการค้าขายระหว่างประเทศ บนภาคพื้นยุโรปกับอังกฤษ ซึ่งทําให้ฝรั่งเศสและประเทศที่เป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส เช่น ประเทศรัสเซีย ต้องเดือดร้อนเพราะขาดแคลนสินค้า
100. ขบวนการโรแมนติกเป็นปฏิกิริยาที่ต่อต้านแนวคิดอะไร
(1) แนวคิดเหตุผลนิยมในยุคประเทืองปัญญา
(2) นิกายโรมันคาทอลิก
(3) แนวคิดชาตินิยม
(4) มาร์กซิส
ตอบ 1 หน้า 473 – 474, 119 (H) ขบวนการโรแมนติก (Romanticism) เป็นขบวนการที่ต่อต้าน ข้อจํากัดของศตวรรษที่ 18 หรือเป็นปฏิกิริยาที่ต่อต้านแนวคิดเหตุผลนิยม (Rationalism) ในยุคประเทืองปัญญา แต่จะเน้นที่อารมณ์ ความรู้สึก และปัจเจกชน หรือเน้นที่ตัวบุคคล ซึ่งต่อมาขบวนการนี้ได้เข้าร่วมกับขบวนการชาตินิยมและเสรีนิยม ลุกฮือขึ้นทั่วยุโรปเพื่อทําการปฏิวัติ
101. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับ “ประกาศแห่งสิทธิ” (Bill of Rights) ค.ศ. 1689 ในการปฏิวัติอันรุ่งเรือง
(1) พระเจ้าแผ่นดินทรงออกกฎหมายโดยไม่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภามิได้
(2) การร่างรัฐธรรมนูญที่มีลายลักษณ์อักษรเพื่อเป็นหลักประกันสิทธิและเสรีภาพ
(3) การตัดสินคดีความต้องผ่านการพิจารณาจากลูกขุน
(4) กษัตริย์อังกฤษทุกพระองค์ต้องนับถือนิกายแองกลิคัน
ตอบ 2 หน้า 417 ประกาศแห่งสิทธิ (Bill of Rights) ค.ศ. 1689 ในการปฏิวัติอันรุ่งเรือง มีใจความว่า
1. พระเจ้าแผ่นดินจะทรงออกกฎหมาย เก็บภาษี หรือจัดตั้งกองทัพโดยไม่ผ่านความเห็นชอบ ของรัฐสภามิได้
2. ประชาชนมีสิทธิที่จะถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ โดยไม่ต้องเกรงกลัวต่อการลงโทษ
3. การตัดสินคดีต่าง ๆ ต้องได้รับการพิจารณาจากคณะลูกขุน
4. กษัตริย์อังกฤษทุกพระองค์ต้องนับถือนิกายแองกลิคัน เป็นต้น
102. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะที่โดดเด่นของพระเจ้าเฟรเดอริกมหาราช (ค.ศ. 1740 – 1786)
(1) มีกองทัพเข้มแข็ง
(2) ทรงชอบงานเขียนปรัชญาในยุคประเทืองปัญญา
(3) ทรงไม่ชอบดนตรี
(4) ทรงชื่นชมหนังสือ The Prince
ตอบ 3 หน้า 419, 108 (H) คุณลักษณะที่โดดเด่นของพระเจ้าเฟรเดอริกมหาราช (ค.ศ. 1740 – 1786) ได้แก่
1. ทรงเป็นกษัตริย์ทรงภูมิธรรมหรือกษัตริย์ประเทืองปัญญา
2. ทรงชื่นชมหนังสือ The Prince ของมาเคียเวลลี
3. ทรงชอบหนังสือดนตรีและงานเขียนปรัชญาในยุคประเทืองปัญญา
4. ทรงพยายามหาเงินเพื่อสร้างกองทัพและรัฐบาลที่เข้มแข็ง เป็นต้น
103. บุคคลใดไม่ได้อยู่ในอุตสาหกรรมทอผ้า
(1) จอห์น เคย์
(2) เจมส์ ฮาร์กรีฟ
(3) แซมมวล ครอมป์ตัน
(4) ชาร์ล เทาว์เซนต์
ตอบ 4 หน้า 496 – 497 บุคคลที่อยู่ในอุตสาหกรรมทอผ้า ได้แก่
1. จอห์น เคย์ (John Kay) ประดิษฐ์ที่กระตุก
2. เจมส์ ฮาร์กรีฟ (James Hargreaves) ประดิษฐ์เครื่องปั่นด้าย
3. แซมมวล ครอมป์ตัน (Samuel Crompton) ประดิษฐ์เครื่องปั่นด้าย
4. เอดมันด์ คาร์ทไรท์ (Edmund Cartwright) ประดิษฐ์หูกทอผ้า เป็นต้น
104. ใครคือผู้ที่นําสถิติประชากรมาวิเคราะห์ในเชิงเศรษฐศาสตร์
(1) จอห์น สจ๊วต มิลล์
(2) เดวิด ริคาร์โด
(3) โทมัส มัลธัส
(4) อดัม สมิธ
ตอบ 3 หน้า 502, (คําบรรยาย) โทมัส มัลธัส (Thomas Malthus) ชาวอังกฤษ เป็นผู้ที่นําสถิติ ประชากรมาวิเคราะห์ในเชิงเศรษฐศาสตร์ และถือว่าเป็นนักเศรษฐศาสตร์คนแรกที่ใช้วิชาสถิติ มาประยุกต์เข้ากับอัตราการเกิดของประชากร โดยมีงานวิทยานิพนธ์คือ Matthusian Doctrineซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเพิ่มจํานวนประชากรซึ่งถ้าไม่มีการตรวจสอบแล้วจะมีอัตราเพิ่มขึ้น(ตามหลักเรขาคณิต) มากกว่าหนทางในการดํารงอยู่ (ตามหลักคณิตศาสตร์)
105. ชาร์ลส์ ดาร์วิน มีบทบาทสําคัญต่อแนวคิดเรื่องใด
(1) ปมเอดิปัส
(2) ทฤษฎีสัมพันธภาพ
(3) ทฤษฎีวิวัฒนาการมนุษย์
(4) การค้าเสรี
ตอบ 3 หน้า 18 – 19, 11 (H) ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) นักชาติพันธุ์วิทยาชาวอังกฤษ ได้เขียนหนังสือเรื่อง ทฤษฎีวิวัฒนาการ (The Theory of Evolution) ซึ่งมีสาระสําคัญคือ
1. สิ่งมีชีวิตถือกําเนิดมาจากสัตว์เซลล์เดียวในทะเล
2. สิ่งมีชีวิตจะค่อย ๆ เปลี่ยนรูปร่างไปตามสภาพแวดล้อม
3. สิ่งมีชีวิตย่อมได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมาจากพ่อและแม่
4. สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ ก็จะต้องสูญพันธุ์ไปในที่สุด
106. ใครคือนักคิดเศรษฐศาสตร์ที่เสนอนโยบายการค้าเสรี (Laissez-Faire)
(1) รุสโซ
(2) ไอแซค นิวตัน
(3) โทมัส ฮอบส์
(4) อดัม สมิธ
ตอบ 4 หน้า 430, 499 – 500, 502, (คําบรรยาย) อดัม สมิธ (Adam Smith) บิดาของเศรษฐศาสตร์ สมัยใหม่ ได้เสนอนโยบายการค้าเสรี (Laissez-Faire) หรือนโยบายปล่อยเสรี คือ การที่รัฐบาล จะต้องไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วยการตั้งข้อจํากัดทางการค้าอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ควรปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งเขาได้ให้ทัศนะว่าบุคคลควรมีโอกาสแสวงหากําไรของตนทางเศรษฐกิจโดย ไม่ถูกควบคุมและจํากัดด้วยลัทธิพาณิชย์นิยม (Mercantilism) ซึ่งมีลักษณะเป็นการค้าผูกขาดเฉพาะแห่ง
107. ข้อใดไม่ใช่บุคคลที่มีความโดดเด่นทางวิทยาศาสตร์
(1) อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
(2) อเลสซานโดร โวลตา
(3) เฟรเดอริก โชแปง
(4) โรเบิร์ต บอยล์
ตอบ 3 หน้า 521 – 522, 133 (H), (คําบรรยาย) บุคคลที่มีความโดดเด่นทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่
1. ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) คิดค้นทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
2. ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ให้ทัศนะเกี่ยวกับเรื่องเพศที่มีผลต่อมนุษย์ทางด้านประสาทและจิตวิทยา
3. อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) คิดค้นทฤษฎีแห่งความสัมพันธ์
4. อเลสซานโดร โวลตา (Alessandro Volta) คิดค้นแบตเตอรี่ไฟฟ้า
5. โรเบิร์ต บอยล์ (Robert Boyle) คิดค้นกฎของบอยล์ เป็นต้น
108. นักคิดคนใดที่มีแนวคิดแบบอนาธิปไตย
(1) ปิแอร์ พรูดอง
(2) คาร์ล มาร์กซ์
(3) อดัม สมิธ
(4) เจเรือมี เบนธัม
ตอบ 1 หน้า 505 – 506 อนาธิปไตย (Anarchism) เป็นลัทธิต่อต้านระบบนายทุนที่มีแนวความคิด รุนแรงกว่าสังคมนิยมมาก เพราะสังคมนิยมจะเน้นที่การรวมกลุ่ม แต่อนาธิปไตยจะทําลาย อํานาจทุกชนิด ทั้งความคิดเรื่องการปกครองโดยรัฐ ระเบียบประเพณี และระบบชนชั้นเหล่านี้ จะต้องไม่มีเหลืออีกในโลก เนื่องจากลัทธินี้เชื่อว่าทุกรัฐบาลล้วนกดขี่ โดยนักคิดคนสําคัญของ ลัทธินี้ได้แก่ วิลเลียม กอดวิน, ปิแอร์ พรูดอง และไมเคิล บูกานิน
109. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับแนวคิดของคาร์ล มาร์กซ์
(1) แนวคิดของมาร์กซ์ได้รับอิทธิพลจากเฮเกล
(2) เป้าหมายทางการเมืองของมาร์กซ์คือสังคมไร้ชนชั้น
(3) มาร์กซ์ยอมรับว่าแนวคิดของตนเองเป็นแบบสังคมยูโทเปีย
(4) เขาเห็นด้วยกับระบบทุนนิยม
ตอบ 1 หน้า 504 สังคมนิยมปฏิวัติ (The Revolutionary Socialism) ของคาร์ล มาร์กซ์ ได้รับอิทธิพล จากวิภาษวิธี (Dialectic) ของเฮเกล โดยมาร์กซ์ได้ชื่อว่าเป็น “ศาสดาพยากรณ์ของชนชั้นกรรมาชีพ” แต่ผลงานของเขาทําให้สาวกต่อมานิยมเรียกลัทธิของตนว่า “ลัทธิคอมมิวนิสต์” มากกว่าที่จะเรียกว่า “ลัทธิสังคมนิยม” ทั้งนี้เพื่อต้องการกําหนดลักษณะลัทธิของตนให้ แตกต่างไปจากพวกยูโทเปียและสังคมนิยมคาทอลิกนั่นเอง
110. สาเหตุสําคัญที่ทําให้จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 สามารถทํารัฐประหารได้สําเร็จในปี 1851
(1) พระองค์ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนฝรั่งเศสทุกชนชั้น
(2) ชนชั้นกลางต้องการให้พวกโซเชียลิสต์มีอํานาจทางการเมือง
(3) พระองค์เป็นพระราชโอรสของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1
(4) พระองค์ได้รับการสนับสนุนจากสหราชอาณาจักรให้ทํารัฐประหาร
ตอบ 1 หน้า 510, (คําบรรยาย) จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 สามารถทํารัฐประหารได้สําเร็จในปี ค.ศ. 1851 เพราะพระองค์ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนฝรั่งเศสทุกชนชั้น ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ พระองค์เอาใจประชาชนด้วยการส่งกองทัพไปช่วยพระสันตะปาปาที่โรมใน ค.ศ. 1849 ทรง ดําเนินการปราบปรามฝ่ายนิยมสาธารณรัฐของมาสลินี และช่วยให้พระสันตะปาปาไพอัสที่ 9 ดํารงตําแหน่งอยู่ได้ นอกจากนี้ยังเอาใจกรรมกรด้วยการร่างพระราชบัญญัติควบคุมการ ทํางานของกรรมกรวันละ 12 ชั่วโมงอีกด้วย
111. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับแนวคิดทางการเมืองของบิสมาร์ก
(1) สนับสนุนแนวคิดเสรีนิยม
(2) เป็นผู้นําประชาธิปไตย
(3) เป็นนักคิดอนุรักษนิยม
(4) สนับสนุนแนวคิดของมาร์กซ์
ตอบ 3 หน้า 517 – 518, 128 – 129 (H), (คําบรรยาย) บิสมาร์ก (Bismarck) เป็นนักคิดอนุรักษนิยม หรือพวกหัวเก่า ซึ่งต่อต้านฝ่ายเสรีนิยมอย่างรุนแรง โดยเขาประกาศใช้นโยบาย “เลือดและเหล็ก” (Blood and Iron) ในการบริหารประเทศ และดําเนินนโยบายรวมเยอรมนีโดยใช้วิธีการ ทําสงครามถึง 3 ครั้ง จนกระทั่งสามารถจัดตั้งจักรวรรดิเยอรมันได้สําเร็จในปี ค.ศ. 1871 ที่ห้องกระจกในพระราชวังแวร์ซายส์ ประเทศฝรั่งเศส
112. แนวคิดใดที่ส่งเสริมความชอบธรรมของลัทธิจักรวรรดินิยม
(1) แนวคิดดาร์วิน
(2) แนวคิดเลนิน
(3) แนวคิดมาร์กซิส
(4) แนวคิดจิตวิเคราะห์
ตอบ 2 หน้า 524, (คําบรรยาย) แนวคิดของเลนิน (Lenin) ในเรื่อง “Imperialism The Highest Stage of Capitalism” (1916) นั้นเป็นแนวคิดที่ส่งเสริมความชอบธรรมของลัทธิจักรวรรดินิยม โดยเห็นว่า จักรวรรดินิยมนั้นจะปรากฏในฐานะที่เป็นพัฒนาการและการดํารงอยู่ของลักษณะ พื้นฐานของระบบทุนนิยมโดยทั่วไป นั่นคือ ระบบทุนนิยมโดยทั่วไปนั้น เมื่อมีการพัฒนาตนเอง และดํารงอยู่มาจนถึงระดับหนึ่งก็จะกลายเป็นจักรวรรดินิยมขึ้นมา แต่ทุนนิยมจะกลายเป็น จักรวรรดินิยมทุนนิยม (Capitalist Imperialism) ก็ต่อเมื่อมันพัฒนาไปถึงขั้นสูงสุด
113. อาณานิคมใดไม่ถูกฝรั่งเศสปกครอง
(1) ตูนีเซีย
(2) เวียดนาม
(3) ลาว
(4) พม่า
ตอบ 4 หน้า 525, 132 (H) อาณานิคมที่เคยถูกฝรั่งเศสปกครอง ได้แก่ แอลจีเรีย ตูนีเซีย เวียดนาม ลาว เขมร (กัมพูชา) ฯลฯ
114. ประเทศใดไม่ได้อยู่ในกลุ่มไตรพันธไมตรี (Triple Alliance) ค.ศ. 1882
(1) รัสเซีย
(2) ออสเตรีย-ฮังการี
(3) เยอรมนี
(4) อิตาลี
ตอบ 1 หน้า 529 – 531, 133 (H) ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 มหาอํานาจในยุโรปแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
1. กลุ่มไตรพันธไมตรี (Triple Alliance) ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี
2. กลุ่มไตรพันธมิตร (Triple Entente) ประกอบด้วย ฝรั่งเศส รัสเซีย และอังกฤษ
115. ประเทศใดอยู่ในกลุ่มไตรพันธมิตร (Triple Entente)
(1) สวีเดน
(2) ฝรั่งเศส
(3) เยอรมนี
(4) อิตาลี
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 114. ประกอบ
116. ผู้นําคนใดคือผู้ถูกสังหารจนนําไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1
(1) ไกเซอร์วิลเฮล์มที่ 2
(2) ฮิตเลอร์
(3) อาร์ชบุ๊ก ฟรานซิส เฟอร์ดินานด์
(4) มุสโสลินี
ตอบ 3 หน้า 534 – 535, 562, 133 (H) ชนวนเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1 คือเหตุการณ์การลอบปลง พระชนม์ อาร์ชบุ๊ก ฟรานซิส เฟอร์ดินานด์ (Archduke Francis Ferdinand) มงกุฎราชกุมาร ออสเตรีย ที่ซาราเจโว เมืองหลวงของแคว้นบอสเนีย ประเทศเซอร์เบีย เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 โดยนักศึกษาชาวเซิร์บชื่อ กาวริโล ปรินซิป (Gavrilo Princip) ทําให้ออสเตรีย ตัดสินใจยื่นคําขาดต่อเซอร์เบียให้ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของตนภายใน 24 ชั่วโมง แต่เซอร์เบียไม่อาจรับได้ ดังนั้นฝ่ายสนับสนุนทั้งสองข้างจึงถูกผลักดันให้ใช้กําลังเข้าประหัตประหารกัน จนลุกลามกลายเป็นสงครามโลกครั้งที่ 1 ในเวลาต่อมา
117. พรรคใดคือผู้นําในการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917
(1) พรรคบอลเชวิค
(2) พรรคเป็นเชวิค
(3) พรรคนาซี
(4) พรรคฟาสซิสแห่งชาติ
ตอบ 1 หน้า 537, 134 – 136 (H) การปฏิวัติรัสเซียปี ค.ศ. 1917 ภายใต้การนําของพรรคบอลเชวิค โดยมีเลนินเป็นผู้นํา ได้ส่งผลให้รัสเซียจําเป็นต้องถอนตัวออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และ ทําให้รัสเซียเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ และก่อตั้งเป็นสหภาพโซเวียต จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1918 เลนินก็ได้ทําสนธิสัญญาสงบศึกเบรสท์-ลิตอฟ (Brest-Litovsk) กับฝ่ายเยอรมนี
118. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่สอง
(1) ความไร้ประสิทธิภาพขององค์การสันนิบาตชาติ
(2) เศรษฐกิจของประเทศที่มีอาณานิคมมั่นคง ในขณะที่ประเทศที่ไร้อาณานิคมกลับตกต่ำ
(3) เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก
(4) กองทัพเยอรมันบุกโปแลนด์ ค.ศ. 1939
ตอบ 2 หน้า 546 – 547, 550, 138 (H) สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939 – 1945) คือ
1. ความอ่อนแอหรือความไร้ประสิทธิภาพขององค์การสันนิบาตชาติ
2. ความต้องการขยายดินแดนของประเทศมหาอํานาจซึ่งไม่มีอาณานิคมเหมือนชาติมหาอํานาจชาติอื่น ๆ
3. สภาวะเศรษฐกิจตกต่ําทั่วโลก (The Great Depression) ในปี ค.ศ. 1929
4. กองทัพเยอรมันบุกโปแลนด์ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939
5. ความไม่เป็นธรรมในการทําสนธิสัญญาภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นต้น
119. ข้อใดไม่ใช่ประเทศในฝ่ายอักษะ
(1) อิตาลี
(2) เยอรมนี
(3) จีน
(4) ญี่ปุ่น
ตอบ 3 หน้า 138 (H), (คําบรรยาย) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศมหาอํานาจ ได้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายอักษะ (Axis Powers) ประกอบด้วย อิตาลี เยอรมนี ญี่ปุ่น ฯลฯ
2. ฝ่ายสัมพันธมิตร (Allied Powers) ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต จีน ฯลฯ
120. ประเทศใดต่อไปนี้ไม่ใช่สมาชิกถาวรแห่งองค์การสหประชาชาติ
(1) เยอรมนี
(2) ฝรั่งเศส
(3) จีน
(4) สหภาพโซเวียต
ตอบ 1 หน้า 559, (คําบรรยาย) คณะมนตรีความมั่นคง (Security Council) แห่งองค์การสหประชาชาติ ประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท คือ
1. สมาชิกถาวรมี 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต อังกฤษ ฝรั่งเศส และจีน
2. สมาชิกไม่ถาวรหรือสมาชิกสมทบมี 10 ประเทศ ซึ่งเป็นสมาชิกที่สมัชชาใหญ่เป็นผู้เลือกด้วย การลงคะแนนเสียง 2 ใน 3 โดยอยู่ในตําแหน่งคราวละ 2 ปี