การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1001 อารยธรรมตะวันตก
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. สาเหตุที่ทําให้เรารู้ว่าหมู่เกาะสปิตส์เบอร์เกนซึ่งตั้งอยู่ใกล้บริเวณขั้วโลกเหนือมีสภาพอากาศแบบ
กึ่งเมืองร้อนมาก่อน เพราะการขุดพบ
(1) ทองคํา
(2) ซากลาวาภูเขาไฟ
(3) งาช้างโบราณ
(4) ถ่านหินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในพลังงานฟอสซิล
ตอบ 4 หน้า 2, 7 (H) การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกและสิ่งมีชีวิตทั้งหลายจะเกิดขึ้นหมุนเวียน อยู่ตลอดเวลาเป็นเวลาช้านาน ตัวอย่างเช่น การขุดค้นพบแหล่งถ่านหินในบริเวณหมู่เกาะ สปิตส์เบอร์เกน (Spitsbergen) ที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศนอร์เวย์ (Norway) ใกล้กับบริเวณขั้วโลกเหนือ หรือบริเวณที่เส้นขนาน 80 องศาเหนือ ซึ่งปัจจุบันถูกปกคลุมไปด้วย ธารน้ําแข็งนั้น ถือเป็นประจักษ์พยานได้ว่าบริเวณนี้เคยมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ รวมทั้งเคยเป็นเขตป่าไม้และมีอากาศแบบกึ่งเมืองร้อนมาก่อน

Advertisement

2.บริเวณที่ไม่ใช่แหล่งกําเนิดของมนุษย์คือ
(1) ทวีปเอเชีย
(2) ทวีปอเมริกา
(3) ทวีปแอฟริกา
(4) ทวีปยูเรเชีย
ตอบ 2 หน้า 1 – 2, 8 (H) นักประวัติศาสตร์ สันนิษฐานว่าแหล่งกําเนิดของมนุษย์อยู่ในทวีปเอเชีย และแอฟริกา รวมทั้งบริเวณตอนกลางของทวีปเอเชียที่อยู่ติดกับยุโรป คือบริเวณยูเรเชีย (Eurasia) ซึ่งมีภูมิอากาศเหมาะสําหรับการพัฒนาของไพรเมท (Primate) ที่เป็นบรรพบุรุษ ของมนุษย์ ต่อมามนุษย์เหล่านี้ก็ได้กระจัดกระจายออกไปตั้งถิ่นฐานในที่ต่าง ๆ ทั้งในทวีป ยุโรปและทวีปอเมริกา

3. ผู้ที่ทําการศึกษาวิวัฒนาการของมนุษย์คือ
(1) นักโบราณคดี
(2) นักดาราศาสตร์
(3) นักชาติพันธุ์วิทยา
(4) นักธรณีวิทยา
ตอบ 1 หน้า 7, 9 (H) ในการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับวิวัฒนาการของโลกและเรื่องราวของมนุษย์ยุคต้น จําเป็นต้องอาศัยงานค้นคว้าของผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ดังนี้
1. นักโบราณคดี คือ ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับซากโครงกระดูก เครื่องมือเครื่องใช้ และอาวุธ เพื่อให้เข้าใจถึงวิวัฒนาการของมนุษย์
2. นักชาติพันธุ์วิทยา คือ ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์
3. นักธรณีวิทยา คือ ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับซากพืชและซากสัตว์ที่ตกค้างอยู่ตามชั้นของหิน
4. นักมานุษยวิทยา คือ ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องราวบรรพบุรุษของมนุษย์ในปัจจุบัน
5. นักดาราศาสตร์ คือ ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับดวงดาวและระบบจักรวาล

4. ประวัติศาสตร์ยุคโบราณสิ้นสุดลงเมื่อกรุงโรมแตกในปี ค.ศ. 476 สิ่งสําคัญที่ลดบทบาทลงคือ
(1) ศาสนาคริสเตียน
(2) สังคมชนบท
(3) สันตะปาปา
(4) อารยธรรมกรีก-โรมัน
ตอบ 4 หน้า 3 (H), 59 (H), 61 (H) ในปี ค.ศ. 476 เป็นปีที่กรุงโรมซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิ โรมันตะวันตกถูกทําลาย เนื่องจากถูกพวกอนารยชนเยอรมันเข้ายึดครอง ซึ่งถือว่าเป็นปีแห่ง การสิ้นสุดยุคโบราณเข้าสู่ยุคกลางตอนต้นหรือยุคมืด (Dark Age) นั่นคือ เป็นยุคที่ความเจริญ ของอารยธรรมคลาสสิกหรืออารยธรรมกรีก-โรมันได้เสื่อมลง จักรวรรดิโรมันตะวันตกแตกแยก ออกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย เปลี่ยนสภาพจากสังคมเมืองเป็นสังคมชนบท การตัดสินลงโทษมักอ้างอิงถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์และใช้การต่อสู้หรือสาบานตน และเป็นยุคที่เศรษฐกิจซบเซาอย่างมาก

5. มนุษย์ที่จัดอยู่ในกลุ่ม Homo Sapiens คือ
(1) Grimaldi
(2) Chancelade
(3) Cro-Magnon
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 11 – 12, 38, 10 (H) โฮโม เซเปียนส์ (Homo Sapiens) หรือมนุษย์ฉลาด เริ่มปรากฏขึ้น ครั้งแรกในยุคหินเก่าตอนปลาย ซึ่งถือเป็นมนุษย์ที่รู้จักคิดและรู้จักการโต้ตอบ มีหน้าตาคล้ายมนุษย์ ปัจจุบันมากขึ้น และถือว่าเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน (Primate) ซึ่งจะมีอยู่ 3 เผ่าพันธุ์ คือ
1. มนุษย์โครมันยอง (Cro-Magnon) หรือคนผิวขาว
2. มนุษย์กริมัลดี (Grimaldi) หรือคนผิวดํา
3. มนุษย์ชานเซอเลด (Chancelade) หรือคนผิวเหลืองหรือสีน้ําตาล

6. สัตว์ชนิดแรกที่มนุษย์นํามาเลี้ยงในยุคหินกลางคือ
(1) สุนัข
(2) ไก่
(3) หมู
(4) แพะ
ตอบ 1 หน้า 14, 39, 10 (H), (คําบรรยาย) ยุคหินกลาง (Mesolithic) ถือว่าเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง หรือเป็นยุคที่เชื่อมต่อระหว่างยุคหินเก่า (ยุคเก็บผลไม้) กับยุคหินใหม่ (ยุคปลูกผลไม้) นอกจากนี้ ยังเป็นยุคที่มนุษย์อยู่เป็นหลักแหล่ง อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเล ทําอาชีพประมง และเริ่มรู้จัก การเลี้ยงสัตว์ ซึ่งสัตว์ชนิดแรกที่มนุษย์รู้จักนํามาเลี้ยงคือ สุนัข โดยมีจุดประสงค์แรกในการเลี้ยง ก็เพื่อใช้บริโภคเป็นอาหาร

7. ประวัติศาสตร์ยุคกลางสิ้นสุดลงด้วยเหตุการณ์ใด
(1) มีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์
(2) โคลัมบัสค้นพบโลกใหม่
(3) กรุงคอนสแตนติโนเปิลแตก
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 2 – 3 (H) เหตุการณ์สําคัญที่เกิดขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 15 ซึ่งนําไปสู่การสิ้นสุดประวัติศาสตร์ยุคกลางเข้าสู่ยุคใหม่มีดังนี้
1. ค.ศ. 1445 เป็นปีที่โยฮันน์ กูเตนเบิร์ก ชาวเยอรมันประดิษฐ์แท่นพิมพ์ได้สําเร็จ
2. ค.ศ. 1453 เป็นปีที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลซึ่งเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันตะวันออกถูกพวกออตโตมาน เติร์ก เข้ายึดครอง
3. ค.ศ. 1492 เป็นปีที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นักเดินเรือชาวสเปนได้เดินทางไปค้นพบโลกใหม่

8. โลหะที่สามารถทําให้กลุ่มชนผู้นํามาใช้กลายเป็นมหาอํานาจทางทหาร ได้แก่
(1) ทองแดง
(2) ตะกั่ว
(3) เหล็ก
(4) บรอนซ์
ตอบ 3 หน้า 33 – 34, 14 (H) การเรียนรู้การใช้โลหะของมนุษย์ในอารยธรรมสมัยแรกนั้น มนุษย์ ได้รู้จักวิธีการหลอมทองแดง แล้วนําทองแดงนั้นมาเป็นอาวุธ เครื่องมือเครื่องใช้ รวมทั้ง เป็นเครื่องประดับ ต่อมาจึงเริ่มเรียนรู้การนําทองแดงมาผสมกับดีบุกกลายเป็นทองบรอนซ์ ต่อจากนั้นก็เริ่มรู้จักการหลอมเหล็กขึ้นใช้ ซึ่งเหล็กได้เป็นเครื่องมือสําคัญในการขยายอํานาจ ของมนุษย์ในเวลาต่อมา

9. ความสําคัญของวิชาประวัติศาสตร์คือการเรียนรู้เกี่ยวกับ
(1) พืชและสัตว์
(2) เรื่องราวสาเหตุและผลที่เกิดจากการกระทําของมนุษย์
(3) เครื่องมือเครื่องใช้ในยุคโบราณ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 20 – 21, 37, 12 (H) ประวัติศาสตร์ คือ การเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับสาเหตุและผล จากการกระทําของมนุษย์ หรือการเรียนรู้เกี่ยวกับชาติพันธุ์ของมนุษย์ ซึ่งน่าจะมีความหมาย เป็น 2 นัย คือ
1. การศึกษาทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยกําเนิดมนุษย์มาจนถึงปัจจุบัน
2. ข้อวิจารณ์หรือบันทึกการค้นคว้าทั้งหลายที่ได้คัดเลือกเอามาเฉพาะหัวข้อที่น่าสนใจ ทั้งนี้จะใช้วิธีการศึกษาโดยการค้นคว้าหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ซากวัสดุ และเรื่องราวที่ได้จารึกไว้เป็นหลักฐาน

10. หลักศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคําแหง ถือเป็น……ทางประวัติศาสตร์
(1) หลักฐานดั้งเดิม
(2) การวิจารณ์ภายใน
(3) การวิจารณ์ภายนอก
(4) หลักฐานรอง
ตอบ 1หน้า 21, 12 (H), (คําบรรยาย) เรื่องราวที่ได้จารึกไว้เป็นหลักฐาน (Written Records) คือ การจดบันทึกต่าง ๆ ที่มีขึ้นเมื่อมนุษย์รู้จักการเขียนหนังสือแล้ว ซึ่งใช้เป็นหลักฐานในการศึกษา เรื่องราวของมนุษย์สมัยประวัติศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. หลักฐานดั้งเดิมหรือหลักฐานชั้นต้น (Primary Records) เช่น หลักศิลาจารึก สนธิสัญญา จดหมาย เอกสารทางการทูต แถลงการณ์ของรัฐบาล ฯลฯ ซึ่งถือเป็นหลักฐานที่สําคัญที่สุด ของวิธีการศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ ในสมัยประวัติศาสตร์
2. หลักฐานรอง (Secondary Records) คือ หนังสือที่เรียบเรียงมาจากหลักฐานดั้งเดิม

11. ทฤษฎีที่แสดงให้เห็นถึงความเสื่อมของการสร้างสมอารยธรรม คือทฤษฎีใด
(1) ภูมิศาสตร์
(2) ภูมิประเทศ
(3) ดินเสื่อม
(4) การเอาชนะสิ่งแวดล้อม
ตอบ 3 หน้า 26 – 27, 13 (H) ทฤษฎีที่แสดงถึงปัจจัยของการเกิดอารยธรรม มีดังนี้
1. ทฤษฎีภูมิศาสตร์ คือ การมีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม
2. ทฤษฎีภูมิประเทศ เช่น ดินแดนที่อยู่ติดกับทะเลหรือดินแดนที่ไม่ได้อยู่ติดกับทะเล
3. ทฤษฎีเพื่อการเอาชนะธรรมชาติ เช่น การสร้างระบบชลประทาน
4. ทฤษฎีโนแมด คือ การที่ผู้ชนะนําเอาวัฒนธรรมที่เจริญกว่าของผู้แพ้มาเผยแพร่และปรับใช้
5. ศาสนา คือ สิ่งที่ช่วยทําให้คนป่าเถื่อนเปลี่ยนสภาพมาเป็นอารยชนได้
6. ทฤษฎีดินเสื่อม คือ ทฤษฎีแห่งความเสื่อมของการสร้างสมอารยธรรม ซึ่งเป็นผลมาจาก การตัดไม้ทําลายป่า ทําให้เสียความสมดุลของธรรมชาติ รวมทั้งทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและสภาพอากาศ

12. ผู้ที่เสนอทฤษฎีที่ว่าสิ่งมีชีวิตถือกําเนิดมาจากสัตว์เซลล์เดียวในทะเลคือ
(1) ชาร์ลส์ ดาร์วิน
(2) เลสลี ไวท์
(3) อีบี ไทเลอร์
(4) อาร์โนลด์ เจ. ทอยน์บี
ตอบ 1 หน้า 18 – 19, 11 (H) ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) นักชาติพันธุ์วิทยาชาวอังกฤษ ได้เขียนหนังสือเรื่อง ทฤษฎีวิวัฒนาการ (The Theory of Evolution) ซึ่งมีสาระสําคัญคือ
1. สิ่งมีชีวิตถือกําเนิดมาจากสัตว์เซลล์เดียวในทะเล
2. สิ่งมีชีวิตจะค่อย ๆ เปลี่ยนรูปร่างไปตามสภาพแวดล้อม
3. สิ่งมีชีวิตย่อมได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมาจากพ่อและแม่
4. สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ ก็จะต้องสูญพันธุ์ไปในที่สุด

13. ความสําคัญของแม่น้ําไนล์ต่ออียิปต์คือ
(1) ช่วยป้องกันการรุกรานจากข้าศึก
(2) ช่วยทําให้อียิปต์เกิดความอุดมสมบูรณ์และมั่งคั่งจากการทําเกษตรกรรม
(3) ช่วยทําให้อียิปต์เป็นมหาอํานาจทางทหาร
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 46 – 47, 17 – 18 (H) ปัจจัยทางธรรมชาติที่ช่วยสร้างสมอารยธรรมของอียิปต์ ได้แก่
1. ได้รับความชุ่มชื้นจากแม่น้ําไนล์ ทําให้อียิปต์กลายเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์และ มีความมั่งคั่ง
2. มีทะเลทรายช่วยกันให้พ้นจากเขตอากาศร้อนและความกดอากาศต่ํา นอกจากนี้ยังเป็น ปราการทางธรรมชาติที่ช่วยป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอกจนสามารถสร้างสมอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ของโลกในยุคโบราณได้
3. สภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้งของอียิปต์ ช่วยรักษาสิ่งที่มีค่าทางอารยธรรม อันได้แก่ สภาพศิลปะและสถาปัตยกรรมไม่ให้เกิดความเสียหายได้
4. กระแสลมจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่พัดลงใต้อย่างสม่ำเสมอ ช่วยอํานวยความสะดวกต่อการเดินทางค้าขายทางทะเล
5. ถึงแม้อียิปต์จะขาดแคลนป่าไม้ แต่ก็มีดินเหนียว หินแกรนิต หินทราย และหินฝุ่น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการก่อสร้างของอียิปต์

14. ความสําคัญของทะเลทรายต่อการสร้างสมอารยธรรมอียิปต์คือ
(1) ทําให้ชาวอียิปต์เกิดความอดทน
(2) เป็นวัสดุก่อสร้างที่สําคัญ
(3) ป้องกันการรุกรานของข้าศึก
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ

15. ความสําคัญของปฏิทินอียิปต์คือ
(1) เป็นผลพลอยได้มาจากการทําระบบชลประทาน
(2) เป็นปฏิทินแบบสุริยคติ
(3) ได้รับแบบอย่างมาจากเมโสโปเตเมีย
(4) ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 63, 22 (H), (คําบรรยาย) การสร้างปฏิทินแบบสุริยคติของอียิปต์ในปี 4241 8.C. เป็นผลมาจากการที่ฟาโรห์ได้ส่งคนไปสังเกตการขึ้นลงของระดับน้ําในแม่น้ําไนล์แล้วจดบันทึก วัน เวลา ฤดูกาลเป็นสถิติ เพื่อการทําระบบชลประทาน ซึ่งปฏิทินสุริยคติจะมีประโยชน์อย่างมาก ต่อการทําเกษตรกรรม เพราะทําให้ทราบระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล และทําให้รู้ สภาวะการขึ้นลงของแม่น้ําไนล์ได้อย่างแม่นยํา

16. การสร้างพีระมิดของอียิปต์นิยมสร้างในสมัยใด
(1) อาณาจักรเก่า
(2) ขุนนาง
(3) อาณาจักรกลาง
(4) อาณาจักรใหม่
ตอบ 1 หน้า 53 – 54, 64 – 65, 119 (H), 21 (H) การสร้างพีระมิดในสมัยอาณาจักรเก่าของอียิปต์นั้น เป็นการสร้างเพื่อถวายแก่ฟาโรห์ โดยมีจุดประสงค์สําคัญ 2 ประการ คือ
1. เชื่อว่าเมื่อฟาโรห์สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ก็จะได้ไปร่วมมือกับเทพเจ้าเพื่อนําความอุดมสมบูรณ์ มาให้แก่อียิปต์เหมือนในสมัยที่ฟาโรห์ยังมีชีวิตอยู่
2. จากความเชื่อในเรื่องวิญญาณเป็นอมตะและโลกหน้า ทําให้มีการสร้างพีระมิดไว้เก็บรักษา พระศพของฟาโรห์ เพื่อรอการฟื้นคืนพระชนม์ชีพ

17. สมัยประชาธิปไตยของอียิปต์เกิดขึ้นเพราะ
(1) ประชาชนช่วยฟาโรห์ยึดอํานาจคืนมาจากพวกขุนนาง
(2) พวกขุนนางยึดอํานาจจากฟาโรห์แล้วจึงมอบประชาธิปไตยให้แก่ประชาชน
(3) ฟาโรห์ตอบแทนบุญคุณประชาชนที่ช่วยยึดอํานาจคืนจากพวกขุนนาง โดยยินยอมให้ประชาชนสามารถเข้ารับราชการได้
(4) ถูกข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 หน้า 55 – 56, 20 (H) การปกครองของอียิปต์ในสมัยอาณาจักรกลาง (2000 – 1730 B.C.) เป็นสมัยที่ฟาโรห์ทรงยึดอํานาจคืนมาจากพวกขุนนางโดยได้รับความช่วยเหลือจากประชาชน พระองค์จึงทรงตอบแทนประชาชนด้วยการอนุญาตให้สามัญชนเข้ารับราชการได้ ซึ่งถือว่าเป็น สมัยเริ่มต้นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของอียิปต์ ต่อมาในปี 1730 B.C. อียิปต์ก็ถูก รุกรานเป็นครั้งแรกโดยพวกฮิคโซส (Hyksos) ผ่านทางบริเวณช่องแคบสุเอซ ซึ่งพวกฮิคโซสรู้จักการใช้ม้าและรถศึกในการทําสงคราม จึงทําให้สามารถยึดครองอียิปต์ต่ําบริเวณเดลต้าได้สําเร็จ เป็นเวลานานถึง 150 ปี

18. เมื่อมนุษย์เปลี่ยนสังคมจากเร่ร่อนมาเป็นการตั้งรกราก นั่นคือการที่มนุษย์
(1) เริ่มสร้างสมอารยธรรม
(2) มีการแบ่งงานกันทํา
(3) พยายามเอาชนะสิ่งแวดล้อม (ชลประทาน)
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 13 (H), (คําบรรยาย) จุดเริ่มของการสร้างสมอารยธรรมของมนุษย์เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ เปลี่ยนจากการเร่ร่อนมาเป็นการตั้งรกราก หลังจากนั้นจึงทําให้มีการแบ่งงานกันทํา มีความ พยายามที่จะเอาชนะธรรมชาติ (ชลประทาน) มีการประดิษฐ์ตัวอักษร รวมทั้งมีการเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ จนส่งผลให้เกิดอารยธรรมหรือความเจริญขึ้น

19. การรับอารยธรรมของผู้แพ้มาปรับใช้ คือทฤษฎีใด
(1) โนแมด
(2) ดินเสื่อม
(3) การเอาชนะสิ่งแวดล้อม
(4) ภูมิประเทศ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

20. อารยธรรมที่ไม่ได้ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ํา คืออารยธรรมใด
(1) อียิปต์
(2) เมโสโปเตเมีย
(3) กรีก
(4) โรมัน
ตอบ 3 หน้า 13 (H), 35 (H), 48 (H) อารยธรรมที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ ได้แก่
1. อารยธรรมอียิปต์ ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์
2. อารยธรรมเมโสโปเตเมีย ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรตีส
3. อารยธรรมจีน ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ําฮวงโหหรือแม่น้ำเหลือง
4. อารยธรรมอินเดีย ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ
5. อารยธรรมโรมัน ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำไทเบอร์

21. สิ่งที่พวกฮิคโซสนํามาเผยแพร่ให้แก่ชาวอียิปต์คือ
(1) การใช้ม้าและรถศึก
(2) การก่อสร้าง
(3) การใช้ทองแดง
(4) การทําชลประทาน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

22. สิ่งก่อสร้างที่สําคัญในสมัยจักรวรรดิของอียิปต์คือ
(1) เขื่อน
(2) พีระมิด
(3) พระราชวัง
(4) วิหาร
ตอบ 4 หน้า 56 – 57, 20 (H) สมัยอาณาจักรใหม่หรือสมัยจักรวรรดิของอียิปต์ (1580 B.C. – 1090 B.C.) เป็นสมัยที่ฟาโรห์มีอํานาจสูงสุดแต่เพียงผู้เดียว เพราะหลังจากที่ขุนนางอียิปต์สามารถขับไล่ พวกฮิคโซสออกจากอียิปต์ได้สําเร็จแล้ว ฟาโรห์ได้ทรงดึงอํานาจคืนจากพวกขุนนางและพระ จากนั้นจึงทรงปกครองด้วยอํานาจเด็ดขาด มีการสั่งสมกองทัพทั้งกองทัพบกและกองทัพเรือ เริ่มใช้นโยบายรุกรานเพื่อนบ้านเอาไว้เป็นรัฐกันชน และที่สําคัญก็คือ การเปลี่ยนจากการสร้าง พีระมิดมาเป็นการสร้างวิหารตามไหล่เขาและหน้าผาอย่างใหญ่โตมโหฬาร เพื่อแสดงอํานาจและความมั่งคั่งของฟาโรห์

23. จุดมุ่งหมายสําคัญของการปฏิรูปศาสนาของฟาโรห์อาเมนโฮเตปที่ 4 คือ
(1) เพื่อลดจํานวนเทพเจ้า
(2) เพื่อย้ายเมืองหลวง
(3) เพื่อเป็นการยกย่องดวงจันทร์
(4) เพื่อลดอํานาจของพวกพระ
ตอบ 4 หน้า 58, 21 (H) ฟาโรห์อาเมนโฮเตปที่ 4 (อิคนาเทน) ของอียิปต์ ทรงปฏิรูปศาสนาโดยทรง ให้ยกเลิกการนับถือเทพเจ้าองค์อื่น ๆ ทั้งหมด แล้วให้ชาวอียิปต์หันมานับถือเทพอาเตน (Aten) เพียงองค์เดียวเท่านั้น รวมทั้งทรงย้ายเมืองหลวงจากทีบีส (Tebes) ไปอยู่ที่เทล เอล อามาร์นา (Tell et Amana) ซึ่งการกระทําดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายที่สําคัญเพื่อผลทางการเมือง คือ เป็นการ ลดอํานาจของพวกพระอามอนที่ร่ํารวยขึ้นจากทรัพย์สินที่บรรดาหัวเมืองนํามาถวาย และยังถือเป็นจุดเริ่มต้นของการนับถือพระเจ้าองค์เดียว

24. การทํามัมมี่ของพวกอียิปต์มีจุดประสงค์ที่สําคัญคือ
(1) การมองโลกในแง่ร้าย
(2) การรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อย
(3) ความหวังที่จะกลับมาเกิดใหม่
(4) ถูกข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 64 – 65, 22 (H) ชาวอียิปต์มีความเชื่อเรื่องวิญญาณเป็นอมตะและชีวิตหลังความตาย เป็นพวกมองโลกในแง่ดี และคิดหวังจะกลับมาเกิดใหม่ในโลกหน้า ด้วยเหตุนี้ชาวอียิปต์จึงมีวิธีเก็บรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยด้วยการทําเป็นมัมมี่ และสร้างพีระมิดไว้เก็บพระศพของฟาโรห์ โดยฝังไปพร้อม ๆ กับข้าวของเครื่องใช้และอาหาร

25. สาเหตุที่ทําให้ชาวเมโสโปเตเมียมีทัศนคติมองโลกในแง่ร้ายเพราะ
(1) บริเวณนี้มีกลุ่มชนหลายกลุ่มอาศัยอยู่จึงเกิดสงครามขึ้นตลอดเวลา
(2) การไหลท่วมของแม่น้ําไทกริส-ยูเฟรตีส นําความเดือดร้อนมาให้
(3) เทพเจ้าที่นับถือมีแต่ความดุร้าย
(4) ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 65 – 68, 23 (H), (คําบรรยาย) ปัจจัยที่ทําให้ชาวเมโสโปเตเมียมองโลกในแง่ร้าย ปลงทุกข์ หวาดกลัว จนทําให้ไม่คิดที่จะกลับมาเกิดใหม่อีก มีดังนี้
1. เมโสโปเตเมียเป็นที่อยู่ของกลุ่มชนหลายเชื้อชาติ จึงทําให้เกิดการทําสงครามแย่งชิงอํานาจกันอยู่ตลอดเวลา
2. เมโสโปเตเมียไม่มีปราการทางธรรมชาติเพื่อป้องกันการรุกรานจากภายนอกเหมือนกับอียิปต์ ที่มีทะเลทราย จึงถูกรุกรานได้ง่าย
3. การไหลท่วมล้นฝั่งของแม่น้ําไทกริส-ยูเฟรตีสในแต่ละปีมีความรุนแรง จนสร้างความลําบาก และความเสียหายให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณสองฝั่งแม่น้ําเป็นอย่างมาก
4. พื้นที่ไม่มีความอุดมสมบูรณ์ ทําให้มีการแย่งชิงอาหารและทรัพยากรธรรมชาติ

26. กลุ่มชนผู้วางรากฐานทางอารยธรรมไว้ในเมโสโปเตเมียคือ
(1) เปอร์เซียน
(2) สุเมเรียน
(3) อัสสิเรียน
(4) แคลเดียน
ตอบ 2 หน้า 68 – 71, 23 – 24 (H) สุเมเรียน เป็นชนชาติแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานและวางรากฐานทาง อารยธรรมในดินแดนเมโสโปเตเมีย มรดกทางอารยธรรมที่สําคัญของชาวสุเมเรียนมีดังนี้
1. มีการประดิษฐ์ตัวอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) หรืออักษรรูปลิ่ม โดยใช้เหล็กแหลมกดลง บนแผ่นดินเหนียวแล้วจึงนําไปตากให้แห้ง เมื่อประมาณ 3500 B.C
2. มีการสร้างสถาปัตยกรรมด้วยอิฐที่เรียกว่า “ซิกกูแรต” (Ziggurats) เพื่อใช้เป็นวิหารของเทพเจ้า
3. มีการทําปฏิทินแบบจันทรคติขึ้นใช้ โดยหนึ่งปีจะมี 354 วัน
4. มีการนับหน่วย 60, 10 และ 6 ซึ่งมีผลต่อการนับเวลาเพื่อประดิษฐ์นาฬิกาและการคํานวณ ทางเรขาคณิตในปัจจุบัน
5. ใช้กฎหมายที่มีลักษณะสนองตอบ หรือ “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” เป็นต้น

27. ผลงานที่สําคัญของกษัตริย์ฮัมมูราบีคือ
(1) สิ่งก่อสร้าง
(2) กฎหมาย
(3) ศาสนา
(4) การชลประทาน
ตอบ 2 หน้า 73 – 74, 24 (H) พระเจ้าฮัมมูราบีแห่งจักรวรรดิบาบิโลเนีย ได้ทรงร่างประมวลกฎหมาย ฮัมมูราบี (The Code of Hammurabi) ขึ้นมาใช้ โดยจารึกด้วยอักษรคูนิฟอร์มลงบนแผ่นหิน ไดโดไรท์สีดําซึ่งสูง 8 ฟุต ดังนั้นจึงถือว่าเป็นกฎหมายที่มีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรฉบับแรก ของโลก ทั้งนี้ประมวลกฎหมายฮัมมูราบีจะอาศัยหลักลัทธิสนองตอบ (Lex Tationis) หรือตาต่อตา ฟันต่อฟัน ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากกฎหมายของสุเมเรียน

28. พวกที่นํามาเข้ามาใช้เป็นพวกแรกในดินแดนเมโสโปเตเมีย
(1) สุเมเรียน
(2) แคสไซท์
(3) ฮิคโชส
(4) อัคคาเดียน
ตอบ 2 หน้า 76 – 77, 24 (H) แคลไซท์ เป็นอนารยชนที่เข้ายึดกรุงบาบิโลนจากพวกอะมอไรท์ได้สําเร็จ และเป็นชนกลุ่มแรกที่นํามาเข้ามาใช้เป็นครั้งแรกในดินแดนเมโสโปเตเมีย ซึ่งส่งผลให้ดินแดน บาบิโลเนียเริ่มมีการใช้ม้าเทียมเข้ากับรถศึกเพื่อใช้ในการรบ และใช้ในงานอื่น ๆ เช่น เป็นพาหนะ และบรรทุกสินค้า ใช้ม้าในการส่งข่าวสารระหว่างเมืองต่าง ๆ ทําให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ทําให้สามารถแย่งชิงดินแดนอื่น ๆ มาเป็นของตนได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น

29. พวกที่รู้จักวิธีการถลุงเหล็กเป็นพวกแรกในดินแดนเมโสโปเตเมียคือ
(1) ฮิทไทท์
(2) มีดส์
(3) ลิเดียน
(4) สุเมเรียน
ตอบ 1 หน้า 78 – 79, 25 (H), (คําบรรยาย) ผลงานทางด้านอารยธรรมของฮิทไทท์ มีดังนี้
1. นําเหล็กมาถลุงและหลอมใช้เป็นพวกแรกในดินแดนเมโสโปเตเมีย รวมทั้งรู้จักใช้ม้าและรถศึกในการรบ
2. ปรับปรุงและผสมผสานตัวอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) ของชาวสุเมเรียนและตัวอักษร เฮียโรกลิฟิก (Hieroglyphic) ของอียิปต์ให้ใช้ง่ายขึ้น ซึ่งต่อมาได้ส่งต่อให้กับอารยธรรมโรมัน
3. กฎหมายเลียนแบบกฎหมายฮัมมูราบี แต่จะลงโทษด้วยการชดใช้หรือการลงโทษพอเข็ดหลาบ แทนการแก้แค้นแบบลัทธิสนองตอบ
4. ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้แก่พวกฟรีเจียนและลิเดียน ซึ่งต่อมากลุ่มชนทั้งสองก็ได้ถ่ายทอด วัฒนธรรมต่อให้แก่พวกกรีก ซึ่งได้กลายมาเป็นผู้นําในการวางรากฐานให้แก่อารยธรรมตะวันตกในปัจจุบัน

30. ผลงานของกษัตริย์อัสซูร์บานิพลของอัสสิเรียคือ
(1) กฎหมาย
(2) การสร้างห้องสมุด
(3) การถลุงเหล็ก
(4) การทําชลประทาน
ตอบ 2 หน้า 82, 26 (H) ผลงานสําคัญของกษัตริย์อัสซูร์บานพัลแห่งอัสสิเรีย คือ การสร้างห้องสมุด ที่กรุงนิเนอเวห์ โดยทรงให้มีการรวบรวมแผ่นดินเหนียวประมาณ 22,000 แผ่นเข้าด้วยกัน ซึ่งนับเป็นห้องสมุดแห่งแรกของเอเชียตะวันตก และเป็นที่มาของการสร้างห้องสมุดในปัจจุบันโดยแผ่นดินเหนียวเหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้บันทึกเพลงสวดสําหรับพิธีทางศาสนาของพวกสุเมเรียน นิยายปรัมปราเกี่ยวกับการสร้างโลกครั้งใหญ่ ตําราไวยากรณ์ และตําราแพทย์

31. ผลงานที่สําคัญของพวกแคลเดียนหรือบาบิโลนใหม่คือ
(1) สวนลอย
(2) โหราศาสตร์และดาราศาสตร์
(3) การกวาดต้อนชาวยิว
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 82 – 34, 26 (H), 29 (H) ผลงานที่สําคัญของพวกแคลเดียนหรือพวกบาบิโลนใหม่ มีดังนี้
1. มีการสร้าง “สวนลอยแห่งนครบาบิโลน” ขึ้นในสมัยกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ ซึ่งชาวกรีกนับเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก
2. มีความเจริญทางด้านโหราศาสตร์ นั่นคือ ชาวแคลเดียนเป็นผู้ริเริ่มการเรียกชื่อวันต่าง ๆ ทั้ง 7 วันใน 1 สัปดาห์ตามชื่อของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
3. มีความเจริญทางด้านดาราศาสตร์ นั่นคือ สามารถคํานวณหาระยะเวลาที่ดวงจันทร์ หมุนรอบโลก รวมทั้งเวลาที่เกิดสุริยคราสและจันทรคราสได้อย่างแม่นยํา
4. ในปี 587 B.C. กษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ ได้ยกกองทัพมาตีกรุงเยรูซาเล็มของอาณาจักรยูดาห์ แล้วกวาดต้อนชาวยิวหรือชาวฮิบรูไปอยู่ที่กรุงบาบิโลน (Babylonian Captivity)

32. ความสําคัญของพวกฟินิเซียนคือ
(1) นักรบผู้เก่งกล้า
(2) ผู้ให้กําเนิดศาสนาคริสเตียน
(3) พ่อค้าทางทะเลและการประดิษฐ์ตัวอักษร
(4) พ่อค้าทางบก
ตอบ 3 หน้า 84 – 85, 27 (H) ความสําคัญของพวกฟินิเซียน มีดังนี้
1. เป็นพ่อค้าทางทะเลที่ยิ่งใหญ่ในย่านเมดิเตอร์เรเนียนในศตวรรษที่ 11 B.C. เป็นนักต่อเรือ นักเดินเรือ และนักล่าอาณานิคม
2. เป็นนักลอกเลียนและนักปรับปรุง โดยลอกเลียนแบบอย่างการปกครองจากอียิปต์และบาบิโลเนียผ่านทางการค้า
3. รับรูปแบบตัวอักษรเฮียโรกลิฟิกของอียิปต์และตัวอักษรคูนิฟอร์มของสุเมเรียนมาดัดแปลง เป็นของตนเอง เพื่อการจดบันทึกทางการค้า ต่อมาตัวอักษรดังกล่าวก็ถูกถ่ายทอดให้แก่ พวกกรีกและพวกโรมัน

33. ความสําคัญของพวกอราเมียนคือ
(1) เป็นพวกพ่อค้าทางบก
(2) ภาษาอราเมียนคือภาษาที่พระเยซูใช้สอนศาสนา
(3) เป็นพวกพ่อค้าทางทะเล
(4) ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 86 – 87, 27 (H) ความสําคัญของพวกอราเมียน มีดังนี้
1. ภาษาอาเซียนหรือภาษาอราเมอิกเป็นภาษากลางของกลุ่มเอเชียตะวันตก และเป็นภาษา ที่พระเยซูและเหล่าสาวกใช้ในการสอนศาสนาในดินแดนปาเลสไตน์
2. พวกอราเมียนได้รับฉายาว่าเป็น “พ่อค้าทางบกที่ยิ่งใหญ่ในเขตตะวันออกใกล้” (Near East) หรือบริเวณเอเชียตะวันตก

34. ความสําคัญของกษัตริย์ครีซัสแห่งลิเดียคือ
(1) เก่งในการทําสงคราม
(2) ทําเหรียญกษาปณ์ขึ้นใช้
(3) มั่งคั่งจากการค้าขาย
(4) ถูกข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 92 – 93, 30 (H) ผลงานที่สําคัญของกษัตริย์ครีซัสแห่งลิเดีย มีดังนี้
1. เป็นกษัตริย์ที่มีความมั่งคั่งมากจากการค้าขายกับดินแดนแถบลุ่มแม่น้ําไทกริส-ยูเฟรตีสและ หมู่เกาะอีเจียน
2. มีการผลิตเหรียญกษาปณ์หรือทําเหรียญทองผสมเงินขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อ ใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนตามน้ําหนักของเหรียญ ซึ่งถือว่าเป็นมรดกทางอารยธรรมที่ตกทอด มาจนถึงปัจจุบัน
3. ทําสงครามกับเปอร์เซียจนในที่สุดก็ถูกยึดครองโดยพระเจ้าไซรัสมหาราช แห่งเปอร์เซียในปี 546 B…

35. ความสําคัญของศาสนาโซโรแอสเตอร์คือ
(1) เป็นศาสนาของพวกเปอร์เซีย
(2) นับถือเทพเจ้าแห่งแสงสว่าง
(3) ถือว่าแสงสว่างเป็นตัวแทนของความดี
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 96 – 98, 31 (H) ลักษณะที่สําคัญของศาสนาโซโรแอสเตอร์ มีดังนี้
1. เป็นศาสนา ประจําชาติของเปอร์เซีย
2. เป็นศาสนาที่นับถือพระเจ้าองค์เดียวศาสนาแรกของเอเชียตะวันตก โดยมีโซโรแอสเตอร์เป็นศาสดา
3. มีลักษณะเป็นทวิเทพ คือ พระเจ้าองค์เดียวเป็นพระเจ้า ทั้งความดีและความชั่ว ซึ่งพระเจ้าแห่งความดีคือ พระอายุรา มาสดา เป็นเทพเจ้าแห่งแสงสว่าง และความดี ส่วนพระเจ้าแห่งความชั่วคือ อหริมัน เป็นเทพเจ้าแห่งความมืดและความชั่วร้าย
4. เป็นศาสนาที่ประกาศสัจธรรมเป็นศาสนาแรกของโลกตะวันตก
5. เป็นศาสนาที่มีการบูชาไฟ เป็นต้น

36. อารยธรรมเดิมที่มีอยู่ก่อนที่บรรพบุรุษกรีกจะอพยพเข้ามาอยู่ในคาบสมุทรกรีก คืออารยธรรม
(1) เฮเลนิสติก
(2) เฮเลนิก
(3) อีเจียน
(4) อินโด-ยูโรเปียน
ตอบ 3 หน้า 110 – 111, 35 (H), 38 – 39 (H) อารยธรรมอีเจียน (Aegean Civilization) เป็น อารยธรรมที่มีอยู่ก่อนที่บรรพบุรุษของชาวกรีกหรือพวกอินโด-ยูโรเปียนจะอพยพเข้ามาอยู่ บริเวณคาบสมุทรกรีก จัดเป็นอารยธรรมของชนเผ่าเซไมท์ซึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณรอบ ๆ ทะเลอีเจียน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ อารยธรรมศรีตันหรือไม่นวน, อารยธรรมไมซีเนียน หรืออารยธรรมเฮลลาดึก และอารยธรรมทรอย

37.Iliad หรือสงครามม้าไม้เป็นสงครามระหว่างพวกกรีกกับพวก
(1) คอนอสซุส
(2) ทรอย
(3) ไมเซเน
(4) สปาร์ตา
ตอบ 2 หน้า 111, 113, 35 – 37 (H) มหากาพย์อีเลียด (Iliad) แต่งโดยกวีตาบอดผู้ยิ่งใหญ่ชื่อโฮเมอร์ (Homer) เป็นเรื่องราวของการทําสงครามม้าไม้หรือสงครามเมืองทรอย (Trojan War) ซึ่งเป็น การสู้รบระหว่างเมืองทรอยและนครรัฐสปาร์ตาของกรีก โดยมีจุดประสงค์เพื่อแย่งชิงพระนางเฮเลน (Helen) นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงเรื่องม้าไม้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของนักรบผู้ใช้ม้าในการทํา สงครามซึ่งมีชัยเป็นครั้งแรก

38. สาเหตุที่ทําให้พวกกรีกต้องปกครองแบบนครรัฐ เพราะปัญหาทางด้าน
(1) การเมือง
(2) เศรษฐกิจ
(3) ศาสนา
(4) ภูมิศาสตร์
ตอบ 4 หน้า 110, 112 – 113, 38 (H) สาเหตุที่ทําให้กรีกยุคโบราณมีการปกครองแบบนครรัฐ คือ
1. ปัญหาทางสภาพภูมิศาสตร์ เนื่องจากกรีกมีภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง และเป็นเกาะอยู่ติดชายฝั่งทะเลที่เว้า ๆ แหว่ง ๆ พื้นที่ไม่ติดต่อกัน และหาที่ราบยาก จนกลายเป็นพรมแดนที่แบ่งแยกชาวกรีกออกจากกันและเป็นอิสระต่อกัน
2. ชาวกรีกมีนิสัยรักความเป็นอิสระ

39. ชาวกรีกเรียกตัวเองว่า
(1) เฮลลัส
(2) โทรจัน
(3) เฮลเลนส์
(4) ละติน
ตอบ 3 หน้า 117, 38 (H) ชาวกรีกโบราณแม้จะแยกกันอยู่เป็นนครรัฐ แต่ก็รู้ตัวว่าเป็นชาวกรีกเหมือนกัน โดยชาวกรีกมักจะเรียกตัวเองว่า “เฮลเลนส์” (Hellenes) และเรียกดินแดนที่ตนอาศัยอยู่ว่า “เฮลลัส” (Hellas) ส่วนพวกที่ไม่พูดภาษากรีกจะถูกเรียกว่า “พวกป่าเถื่อน” (Barbarians)

40. ผู้เข้าแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเมื่อชนะเลิศแล้วจะได้รับรางวัลคือ
(1) ช่อมะกอก
(2) เหรียญรางวัล
(3) ที่ดิน
(4) ทองคํา
ตอบ 1 หน้า 115, 39 (H) ชาวกรีกโบราณเชื่อว่าเทพเจ้ากรีกมักพอใจในการแสดงออกถึงความกล้าหาญ และความเข้มแข็งของมนุษย์ จึงได้จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกขึ้นทุก ๆ 4 ปี เพื่อถวายแด่เทพ ซีอุส (Zeus) ซึ่งในการแข่งขันครั้งแรกจะมีเฉพาะกีฬาวิ่งแข่ง โดยผู้ชนะจะได้รับมงกุฎที่ทําด้วย ก้านมะกอกหรือช่อมะกอกศักดิ์สิทธิ์ ทั้งนี้กีฬาโอลิมปิกจัดขึ้นครั้งแรกในปี 776 B.C. โดยเรียก ระยะเวลา 4 ปีระหว่างการแข่งขันแต่ละครั้งว่า “โอลิมเปียด” (Olympiad)

41. พวกทรราชกรีกเป็นพวก………มาก่อน
(1) พระ
(2) ขุนนาง
(3) พ่อค้า
(4) ทหาร
ตอบ 3 หน้า 116 – 117, 40 (H) ทรราชกรีก (Tyrants) คือ ผู้ที่ก้าวขึ้นสู่อํานาจด้วยการใช้กําลัง ไม่ใช่ด้วยการสืบสายโลหิต ส่วนใหญ่ทรราชจะมาจากพ่อค้าที่อ้างว่าจะปกป้องคนจนจาก พวกขุนนางและข้าราชการ เน้นการปกครองเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนโดยช่วยส่งเสริมการค้าและเคร่งครัดในการร่างประมวลและการใช้กฎหมาย ซึ่งสามารถแก้ไข ปัญหาได้ดี ต่อมาเมื่อมีการสืบทอดสายโลหิต พวกทรราชคนต่อมาหลงอํานาจและปกครอง แบบกดขี่ จึงถูกประชาชนร่วมมือกันขับไล่ออกจากอํานาจ

42. สาเหตุสําคัญที่ทําให้นครรัฐสปาร์ตาปกครองแบบเผด็จการทหารเพราะ
(1) ปัญหาภูมิประเทศไม่ได้อยู่ติดกับทะเล
(2) ไม่ชอบทําการค้า
(3) เพื่อควบคุมพวกชาวต่างชาติ
(4) ไม่นิยมการปกครองแบบประชาธิปไตย
ตอบ 1 หน้า 118 – 121, 40 (H), (คําบรรยาย) สาเหตุที่ทําให้นครรัฐสปาร์ตาต้องปกครองแบบ เผด็จการทหารหรือแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ มีดังนี้
1. ชาวสปาร์ตาสืบเชื้อสายมาจากพวกดอเรียน ซึ่งเป็นพวกอินโด-ยุโรปพวกสุดท้ายที่อพยพ เข้ามาอยู่ในคาบสมุทรกรีก
2. มีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ไม่เอื้อต่อการประกอบอาชีพ กล่าวคือ เป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ในหุบเขาและไม่ติดชายฝั่งทะเล ทําให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ
3. ชาวสปาร์ตาแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจด้วยการทําสงครามปราบปรามนครรัฐอื่น ๆ ทําให้มีจํานวน ทาสและเชลยศึกมากกว่าชาวสปาร์ตาแท้ ๆ จึงต้องมีการควบคุมพวกทาสแบบเผด็จการทหาร

43. นครรัฐกรีกที่เป็นแม่แบบของการปกครองแบบประชาธิปไตยและเป็นแม่แบบของอารยธรรมตะวันตก คือ
(1) สปาร์ตา
(2) มาซิโดเนีย
(3) คอรินส์
(4) เอเธนส์
ตอบ 4 หน้า 127, 130, 40 (H), 42 (H) ในระหว่างสมัยของการปฏิรูปประชาธิปไตย (600 – 500 B.C.) นครรัฐเอเธนส์ได้พัฒนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตยก้าวหน้าไปได้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในสมัยของเพริดลิสนั้นถือว่าระบอบประชาธิปไตยได้พัฒนาไปถึงจุดสูงสุด จนทําให้สมัยนี้ได้ชื่อว่า เป็น “ยุคทองของเอเธนส์” และทําให้นครรัฐเอเธนส์กลายเป็น “บรมครูของนครรัฐกรีกหรือ ชาวเฮลลัสทั้งมวล” ดังนั้นนครรัฐเอเธนส์จึงถือว่าเป็นต้นกําเนิดและแม่แบบของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและของอารยธรรมตะวันตก

44. จูเลียส ซีซาร์ นําปฏิทินแบบสุริยคติมาจากดินแดนใด
(1) สุเมเรียน
(2) อียิปต์
(3) อราเมียน
(4) เมโสโปเตเมีย
ตอบ 2 หน้า 52, 50 – 51 (H) ในปี 46 B.C. จูเลียส ซีซาร์ ได้นําเอาปฏิทินแบบสุริยคติของอียิปต์ มาเผยแพร่และนํามาดัดแปลงใช้ในสาธารณรัฐโรมัน ซึ่งปฏิทินดังกล่าวก็ยังคงใช้สืบเนื่องมา จนถึงปัจจุบัน โดยชื่อเดือนกรกฎาคมหรือ July ก็มาจากชื่อของ Julius Caesar นั่นเอง

45. การแย่งชิงอํานาจทางการเมืองภายหลังสมัยสันติสุขโรมัน ทําให้ท้ายที่สุดจักรวรรดิโรมันตะวันตกก็ล่มสลายโดยฝีมือของชาว
(1) ฮั่น
(2) อีทรัสคัน
(3) เติร์ก
(4) เยอรมัน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

46. นักปราชญ์ชาวกรีกผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของวิชาแพทยศาสตร์คือ
(1) พิทากอรัส
(2) เฮโรโดตัส
(3) พิทากอรัส
(4) ฮิปโปเครตีส
ตอบ 4 หน้า 136, 44 (H) ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของวิชา แพทยศาสตร์” ซึ่งเขาแสดงความเห็นว่า โรคทุกชนิดมีสาเหตุมาจากธรรมชาติ ไม่ใช่เพราะ พระเจ้าลงโทษ ดังนั้นการรักษาที่ดีที่สุดจึงควรเป็นการพักผ่อนอยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์ และ การควบคุมอาหาร นอกจากนี้เขายังเป็นแพทย์ที่มีอุดมคติสูงส่ง ซึ่งปรากฏเป็นหลักปฏิญาณ ของแพทย์ในปัจจุบันที่เรียกว่า “Hippocratic Oath

47. ความสําคัญของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชคือ
(1) สร้างเมืองอเล็กซานเดรียในอียิปต์
(2) ทําลายจักรวรรดิเปอร์เซีย
(3) รุกรานอินเดียจนเป็นที่มาของการสร้างพระพุทธรูป
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 144 – 146, 152, 46 – 47 (H) ผลงานของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชของกรีก ได้แก่
1. สร้างเมืองอเล็กซานเดรียขึ้นบริเวณปากแม่น้ําไนล์ในอียิปต์ เพื่อเป็นศูนย์กลางอารยธรรมเฮลเลนิสติก
2. ในปี 334 B.C. ทรงยกกองทัพจากกรีซผ่านเอเชียน้อย ซีเรีย ปาเลสไตน์ อียิปต์ และเมโสโปเตเมีย เข้าทําลายจักรวรรดิเปอร์เซีย และยกกองทัพมารุกรานอินเดียในปี 326 B.C.
3. อิทธิพลทางด้านการปั้นหรือประติมากรรมพระพุทธรูปสมัยแรกในประเทศอินเดีย โดย พระพุทธรูปของอินเดียในระยะแรกนั้นจะมีลักษณะคล้ายเทพอพอลโลของกรีก
4. ทรงสร้างศูนย์กลางของอารยธรรมใหม่ นั่นคือ อารยธรรมเฮลเลนิสติก (Hellenistic) ที่มีลักษณะผสมกันระหว่างตะวันออกและตะวันตก

48. ก่อนที่ชาวโรมันจะเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นสาธารณรัฐ ชาวโรมันถูกปกครองโดยพวกใด
(1) เปอร์เซีย
(2) อีทรัสคัน
(3) กรีก
(4) คาร์เทจ
ตอบ 2 หน้า 158 – 159, 48 – 49 (H) ในศตวรรษที่ 8 B.C. พวกอีทรัสคัน (Etruscan) ซึ่งเป็นกลุ่มทหารรับจ้างจากเอเชียน้อยได้เข้ายึดครองภาคเหนือและภาคตะวันตกของแหลมอิตาลี รวมทั้งเข้ายึดครองกรุงโรมและทําการปกครองพวกโรมันด้วยการปกครองในระบอบกษัตริย์ อย่างกดขี่ ต่อมาในปี 509 8.C. ได้ถูกพวกแพทริเซียน (Patricians) ซึ่งเป็นกลุ่มชนชั้นสูง ชาวโรมันขับไล่ออกจากกรุงโรมและตั้งคณะรัฐบาลของตนเอง เปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบกษัตริย์มาเป็นระบอบสาธารณรัฐและดํารงอยู่ต่อมานานถึงประมาณ 500 ปี

49. อารยธรรมโรมันมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งคืออารยธรรม
(1) เฮลเลนิก
(2) เฮลเลนิสติก
(3) ละติน
(4) คลาสสิก
ตอบ 3 หน้า 158, 47 – 48 (H), (คําบรรยาย) อารยธรรมโรมันเป็นอารยธรรมของพวกอินโด-ยุโรป ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในคาบสมุทรอิตาลีเมื่อประมาณ 2000 – 1000 B.C. โดยหนึ่งในบรรดา พวกที่อพยพเข้ามาคือ พวกละติน (Latin) ซึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มแม่น้ําไทเบอร์ (Tiber) ต่อมาบริเวณนี้จึงได้ชื่อว่า ที่ราบละติอุม (Plain of Latium) โดยพวกละตินกลุ่มนี้ได้สร้างกรุงโรม (Rome) ขึ้นบนฝั่งแม่น้ําไทเบอร์เมื่อปี 753 BC. และทําให้ชาวละตินกลุ่มนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “โรมัน” หรืออารยธรรมโรมันมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “อารยธรรมละติน” นั่นเอง

50. สัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของกรุงโรมคือ
(1) หมี
(2) สุนัขป่า
(3) แพะ
(4) วัว
ตอบ 2 หน้า 158, 48 (H) ในมหากาพย์อีเนียดของเวอร์จิลได้กล่าวถึงตํานานการสร้างกรุงโรมไว้ว่า โรมิวลุส (Romulus) และเรมุส (Remus) โอรสแฝดของนางซิลเวียกับเทพเจ้ามาร์ส (Mars) เป็นผู้สร้างกรุงโรมขึ้นในปี 753 B.C. โดยได้รอดชีวิตจากการที่ถูกอมูลิอุสจับใส่ตะกร้าลอยน้ํา และได้รับความช่วยเหลือจากหมาใน (หมาป่า) ดังนั้นหมาในจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของกรุงโรม ด้วยเหตุนี้เองคนอิตาลีที่ไม่ชอบโรมันจึงเรียกพวกโรมันว่า “พวกลูกหมาใน

51. ผู้ปกครองคนสุดท้ายของสาธารณรัฐโรมันคือ
(1) ติตุส
(2) บรูตุส
(3) ซุลลา
(4) จูเลียส ซีซาร์
ตอบ 4 หน้า 167 – 169, 50 – 51 (H) ในระหว่างปี 49 – 44 B.C. จูเลียส ซีซาร์ ได้เป็นใหญ่แต่เพียง ผู้เดียวในสาธารณรัฐโรมัน โดยประชาชนถือว่าซีซาร์เป็นสมมุติเทพ และเป็นผู้ปกครองแบบ เผด็จการตลอดชีพ ทั้งนี้หลังจากซีซาร์สิ้นพระชนม์แล้ว ก็เกิดการแย่งชิงอํานาจซึ่งกันและกัน ในกรุงโรม ในที่สุดออกเตเวียน หลานชายและมีฐานะเป็นบุตรบุญธรรมของซีซาร์ได้รับชัยชนะ และได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์แรกของโรมัน โดยมีพระนามใหม่ว่า “ออกุสตุสที่ 1” หรือ “ออกุสตุส ซีซาร์” พร้อมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสาธารณรัฐโรมัน มาเป็นจักรวรรดิโรมันในปี 27 B.C.

52. จักรพรรดิองค์แรกของจักรวรรดิโรมันคือ
(1) เวสปาเขียน
(2) เนโร
(3) คอนสแตนติน
(4) ออกุสตุส ซีซาร์
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

53. กลุ่มชนพวกแรกที่รู้จักการใช้ซีเมนต์คือ
(1) โรมัน
(2) อีทรัสคัน
(3) กรีก
(4) คาร์เทจ
ตอบ 1 หน้า 176, 178 179, 52 (H) วิศวกรชาวโรมันถือว่าเป็นพวกแรกที่รู้จักการใช้ซีเมนต์ ซึ่งจะเห็นได้จากผลงานทางด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม เช่น การสร้างถนน การสร้าง สะพาน การทําท่อส่งน้ํา การก่อสร้างแอมพิเธียเตอร์ การก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เป็นต้น ทั้งนี้การก่อสร้างของโรมันส่วนใหญ่ได้รับแบบอย่างมาจากกรีก

54.สมัย Pax Romana หรือสมัยสันติสุขโรมัน คือสมัยใด
(1) สาธารณรัฐโรมัน
(2) การปราบปรามพวกคริสเตียน
(3) เจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้านและไม่มีใครมารุกรานเป็นเวลา 200 ปี
(4) ที่โรมันเข้าทําลายพวกยิว
ตอบ 3 หน้า 169 – 171, 51 (H) ความสําคัญของสมัยการปกครองของจักรพรรดิออกุสตุสที่ 1 มีดังนี้
1. เป็นสมัยสันติสุขโรมัน (Pax Romana : 27 B.C. – A.D. 180) ซึ่งเกิดขึ้นจากอานุภาพของ จักรพรรดิออกุสตุสที่ 1 ทําให้ไม่มีกลุ่มชนใดมารุกรานจักรวรรดิโรมันเป็นเวลาร่วม 200 ปี และมีความเจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้าน
2. เป็นยุคทองของโรมัน (Roman’s Golden Age)
3. ได้ชื่อว่าเป็น “ยุคปรินซิเปท” (Principate) นั่นคือ ออกุสตุสทรงพอพระทัยในตําแหน่ง พลเมืองโรมันหมายเลขหนึ่ง (Princeps) มากกว่าตําแหน่งจักรพรรดิ
4. เป็นสมัยที่พระเยซูคริสต์ ประสูติที่เมืองเบธเลเฮมในมณฑลจูเดียซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมัน

55. อารยธรรมอินเดียนในทวีปอเมริกาถูกค้นพบและถูกทําลายโดยพวก
(1) สเปน
(2) ดัตช์
(3) ฝรั่งเศส
(4) อังกฤษ
ตอบ 1 หน้า 188 – 189, 351, 55 (H) อารยธรรมอินเดียนในทวีปอเมริกาหรืออารยธรรมเก่าในโลกใหม่ ถูกค้นพบโดยโคลัมบัส (Columbus) นักเดินเรือชาวสเปนในปี ค.ศ. 1492 แต่ต่อมาอารยธรรม เหล่านี้ก็ถูกทําลายโดยพวกสเปนเช่นเดียวกัน นั่นคือ คอร์เตส (Cortes) ได้เข้าทําลายอารยธรรม ของพวกแอสเทคในเม็กซิโกระหว่างปี ค.ศ. 1519 – 1521 และปิซาโร (Pizarro) ได้เข้าทําลาย อารยธรรมของพวกอินคาในเปรูในปี ค.ศ. 1532

56. ข้อใดไม่ใช่อารยธรรมโบราณในโลกใหม่
(1) อินคา
(2) สุเมเรียน
(3) มายา
(4) แอสเท็ค
ตอบ 2 หน้า 189, 55 (H) อารยธรรมโบราณในโลกใหม่ หมายถึง อารยธรรมโบราณในทวีปอเมริกา ซึ่งมีเพียง 3 พวกที่มีอารยธรรมสูงเทียบเท่ากับอารยธรรมอียิปต์และเมโสโปเตเมีย ได้แก่
1. มายา (Maya) มีศูนย์กลางอารยธรรมอยู่ในอเมริกากลางและกัวเตมาลา
2. แอสเทค (Aztec) มีศูนย์กลางอารยธรรมอยู่ในเม็กซิโก
3. อินคา (Inca) มีศูนย์กลางอารยธรรมอยู่ในเปรู

57. จักรพรรดิชาวแฟรงก์ผู้ได้รับการสวมมงกุฎจากสันตะปาปาในปี ค.ศ. 800 คือ
(1) ชาร์ลส์ มาร์แตล
(2) โคลแตร์
(3) โคลวิส
(4) ชาร์เลอมาญ
ตอบ 4 หน้า 218 – 220, 63 (H) ชาร์เลอมาญมหาราช (Charlemagne the Great) เป็นกษัตริย์ ชาวแฟรงก์ที่ทรงอานุภาพมากที่สุดของราชวงศ์คาโรแลงเจียน โดยในปี ค.ศ. 800 พระองค์ ได้รับการสวมมงกุฎจากสันตะปาปาลีโอที่ 3 (Leo III) เพื่อแสดงอํานาจความยิ่งใหญ่ของ ศาสนจักรเหนืออาณาจักร ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วสันตะปาปามิได้มีสิทธิในการแต่งตั้ง จักรพรรดิ และได้ทรงประกาศว่า ชาร์เลอมาญมหาราชเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่ของจักรวรรดิ โรมัน ซึ่งเท่ากับเป็นการฟื้นฟูจักรวรรดิโรมันตะวันตกขึ้นมาใหม่ โดยจักรพรรดิชาวเยอรมัน

58. ภายหลังจากที่กรุงโรมแตกพวกอนารยชนเยอรมันกลุ่มที่อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในสเปนในสมัยศตวรรษที่ 5 คือ
(1) ลอมบาร์ด
(2) วิสิกอธ
(3) แองโกลและแซกซัน
(4) แฟรงก์
ตอบ 2 หน้า 211, 73 (H) ภายหลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในสมัยศตวรรษที่ 5 (ปี ค.ศ. 476) อนารยชนเยอรมันตะวันออกเผ่าวิสิกอธ (Visigoths) ก็ได้เข้าไปตั้งถิ่นฐานและ
ปกครองสเปนเป็นระยะเวลาร่วม 300 ปี จนกระทั่งถูกพวกมัวร์ที่นับถือศาสนาอิสลามจาก แอฟริกาเหนือเข้ายึดครองในปี ค.ศ. 711

59. สนธิสัญญาแวร์ดังปี ค.ศ. 843 แบ่งจักรวรรดิแฟรงก์ออกเป็นประเทศอะไรบ้างในปัจจุบัน
(1) อิตาลี – ฝรั่งเศส
(2) เยอรมนี – อิตาลี
(3) อังกฤษ – ฝรั่งเศส
(4) ฝรั่งเศส – เยอรมนี
ตอบ 4 หน้า 220 – 221, 64 (H) ผลของสนธิสัญญาแวร์ดังในปี ค.ศ. 843 เป็นจุดกําเนิดของ ประเทศฝรั่งเศส (France) และเยอรมนี (Germany) ในปัจจุบัน โดยมีการแบ่งจักรวรรดิของ จักรพรรดิชาร์เลอมาญออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. หลุยส์เดอะเยอรมัน (Louis the German) ได้ครอบครองดินแดนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไรน์ ปัจจุบันคือ ดินแดนทางภาคตะวันตกและตอนกลางของประเทศเยอรมนี
2. ชาร์ลเดอะบอลด์ (Charles the Bald) ได้ครอบครองดินแดนทางตะวันตกของจักรวรรดิ ปัจจุบันคือ ประเทศฝรั่งเศส
3. โลแธร์ (Lothair) ได้ครอบครองดินแดนทางตอนเหนือของอิตาลีและตอนกลางของจักรวรรดิ ซึ่งต่อมาคือ แคว้นลอแผน

60. สิ่งที่เป็นเครื่องชี้สถานะทางเศรษฐกิจของคนในยุคศักดินาสวามิภักดิ์หรือยุคกลางคือ
(1) อาชีพ
(2) คุณงามความดี
(3) ที่ดิน
(4) ทองคํา
ตอบ 3 หน้า 223 – 224, 65 (H), (คําบรรยาย) ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์หรือระบอบฟิวดัล(Feudalism/Feudal) เป็นระบบความสัมพันธ์โดยมีเงื่อนไขระหว่างเจ้า (Lord) ผู้เป็นเจ้าของ ที่ดินซึ่งส่วนใหญ่คือ กษัตริย์หรือขุนนาง กับข้าหรือวัสซัล (Vassal) หรือผู้เช่าที่ดิน โดยมีที่ดิน (Fiefs/Feuda) เป็นพันธะแห่งความผูกพันและภาระหน้าที่ที่มีต่อกันระหว่างเจ้ากับข้า

61. จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ของจักรพรรดิออตโตมหาราชประกอบไปด้วยดินแดนของประเทศอะไรบ้างในปัจจุบัน
(1) ฝรั่งเศส – สเปน
(2) สเปน – อิตาลี
(3) เยอรมนี – อิตาลี
(4) อิตาลี – ฝรั่งเศส
ตอบ 3 หน้า 246 – 247, 69 (H) ในปี ค.ศ. 962 พระเจ้าออตโตที่ 1 (Otto I) แห่งแซกโซนีได้รับการสวมมงกุฎจากสันตะปาปาจอห์นที่ 12 ให้ดํารงตําแหน่งเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิ โรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Foman Empire) เช่นเดียวกับที่จักรพรรดิชาร์เลอมาญเคยได้รับ โดยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ของจักรพรรดิออตโตที่ 1 จะประกอบไปด้วยดินแดนเยอรมนี และอิตาลี ซึ่งทําให้พระองค์มีอํานาจยิ่งใหญ่ในยุโรปในฐานะพระจักรพรรดิผู้ปกครองเยอรมนีและยังได้ดํารงตําแหน่งกษัตริย์แห่งอิตาลีอีกด้วย

62. เมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันตะวันออกได้มาจากชื่อของจักรพรรดิโรมันองค์ใด
(1) ธีโอโดซิอุส
(2) ซีซาร์
(3) คอนสแตนติน
(4) ออกุสตุส
ตอบ 3 หน้า 251 – 252, 69 – 76 (H), (คําบรรยาย) “จักรวรรดิโรมันตะวันออก” หรือจักรวรรดิ ไบแซนไทน์ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอนาโตเลีย โดยมีเมืองคอนสแตนติโนเปิลซึ่งได้มาจากชื่อของ จักรพรรดิคอนสแตนตินเป็นเมืองหลวง ประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายกรีก พูดภาษากรีก แต่เรียกตัวเองว่า Roman โดยไม่ถือตนว่าเป็นเฮลเลนส์และนับถือศาสนาคริสต์นิกายกรีกออร์ธอดอกซ์

63. โบสถ์เซนต์โซเฟียในจักรวรรดิโรมันตะวันออกสร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิ
(1) อาร์คาดิอุส
(2) ฮอโนริอุส
(3) จัสติเนียน
(4) ลีโอ
ตอบ 3 หน้า 252 – 253, 323, 70 (H) จักรพรรดิจัสติเนียนแห่งจักรวรรดิโรมันตะวันออก มีผลงานที่สําคัญดังนี้
1. ขยายอาณาเขตออกไปถึงภาคเหนือของแอฟริกา ภาคใต้ของสเปน และอิตาลี
2. สร้างประมวลกฎหมายจัสติเนียน (Corpus Juris Civilis) ในปี ค.ศ. 529 ซึ่งได้กลายเป็น แบบอย่างของตัวบทกฎหมายในสมัยกลางและยังสืบทอดมาถึงปัจจุบัน
3. สร้างโบสถ์เซนต์โซเฟีย (Santa Sophia) ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลเมื่อปี ค.ศ. 537

64. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่นําไปสู่ความเสื่อมของระบอบศักดินาสวามิภักดิ์
(1) การปฏิวัติทางการค้า
(2) การมีอํานาจของพวกขุนนาง
(3) โรคระบาด
(4) สงครามครูเสด
ตอบ 2 หน้า 237, 66 – 67 (H) สาเหตุสําคัญที่ทําให้ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์หรือระบอบฟิวดัล (Feudalism) เสื่อมลง ได้แก่
1. สงครามครูเสด (Crusades War) ทําให้พวกขุนนางตายไป เป็นจํานวนมาก กษัตริย์จึงมีอํานาจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
2. ความเจริญหรือการปฏิวัติทางการค้า ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองของแมเนอร์ลดความสําคัญลง
3. ความสําเร็จในการ ผลิตกระสุนดินปืน (Gunpower) ทําให้บทบาทของขุนนางและอัศวินสวมเกราะลดลง
4. การเกิดโรคระบาดในศตวรรษที่ 14 คือ กาฬโรค (Black Death) ทําให้ประชากรลดลง พวกทาสติดที่ดินจึงหางานทําได้ง่ายขึ้น เป็นต้น

65. ภายหลังการแตกแยกทางศาสนาในปี ค.ศ. 1054 นิกายตะวันออกคือ
(1) Presbyterian
(2) Protestant
(3) Orthodox
(4) Catholic
ตอบ 3 หน้า 238 – 239, 321, 54 (H), (คําบรรยาย) จากความขัดแย้งทางศาสนาในเรื่องการบูชา รูปเคารพระหว่างจักรวรรดิโรมันตะวันตกและจักรวรรดิโรมันตะวันออกในปี ค.ศ. 1054 ทําให้คริสต์ศาสนาแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาดเป็น 2 นิกาย ได้แก่
1. นิกายกรีกออร์ธอดอกซ์ (Greek Orthodox) นับถือกันในจักรวรรดิโรมันตะวันออกมีประมุขสูงสุดคือ แพท อาร์ค (Patriarch) มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองคอนสแตนติโนเปิล ใช้ภาษากรีก และเจริญแพร่หลายในยุโรปตะวันออกและรัสเซีย
2. นิกายโรมันคาทอลิก (Roman Catholic) นับถือกันในจักรวรรดิโรมันตะวันตก มีประมุขสูงสุดคือสันตะปาปา (Pope) มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม ใช้ภาษาละติน และ เจริญแพร่หลายในยุโรปตะวันตกและอิตาลี

66. ในปี ค.ศ. 1215 พวกขุนนางอังกฤษบังคับให้พระเจ้าจอห์นลงนามในเอกสาร Magna Carta ซึ่งมีความสําคัญคือ
(1) ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของอังกฤษ
(2) กษัตริย์ถูกลดอํานาจในการตัดสินคดีและการเก็บภาษี
(3) เป็นจุดเริ่มต้นของระบอบรัฐสภาของอังกฤษ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 275, 75 (H), (คําบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1215 กษัตริย์จอห์นหรือกษัตริย์ผู้ไร้แผ่นดิน (John the Lackland) ทรงถูกพวกขุนนางอังกฤษบังคับให้ลงนามในรัฐธรรมนูญแมกนา คาร์ตา (Magna Carta หรือ The Great Charter) ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของอังกฤษ โดยมี หลักการที่สําคัญยิ่ง คือ กําหนดให้ทุกชนชั้นต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย นอกจากนี้ยังลดอํานาจ ของกษัตริย์ ให้ศาลยุติธรรมทําหน้าที่ตัดสินคดีความของเสรีชน การจัดเก็บภาษีต้องทําด้วย ความยุติธรรม และมีการกล่าวถึงตัวบทกฎหมายอีกด้วย ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครอง ในระบอบรัฐสภาของอังกฤษ หรือการปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญของอังกฤษ

67. สาวกของพระเยซูผู้นําเอาคริสต์ศาสนาเข้าไปเผยแผ่ในกรุงโรมคือ
(1) St. Paul
(2) St. Janes
(3) St. Peter
(4) St. John
ตอบ 3 หน้า 185, 238, 53 – 54 (H) เซนต์ปีเตอร์ (St. Peter) เป็นหนึ่งในบรรดาอัครสาวกของ พระเยซูคนแรกที่ได้นําเอาคําสั่งสอนของพระเยซูออกไปเผยแผ่ยังกรุงโรม แต่ได้ถูกทําร้ายจน เสียชีวิต ต่อมาเมื่อจักรพรรดิคอนสแตนติน (Constantine) ทรงอนุญาตให้ศาสนาคริสต์เผยแผ่ ในจักรวรรดิโรมันได้อย่างเสรี และในสมัยจักรพรรดิธีโอโดซีอุส (Theodosius) ก็ทรงประกาศ ให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจําชาติของจักรวรรดิโรมัน ทําให้กรุงโรมกลายเป็นศูนย์กลาง ของคริสต์ศาสนา ในเวลาต่อมามหาวิหารในกรุงโรมจึงได้ชื่อว่า มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ ซึ่งเป็น มหาวิหารที่ใหญ่ที่สุดในกรุงโรม

68. การต่อสู้กันระหว่างสันตะปาปากับจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในยุคกลาง มีสาเหตุต่อเนื่องมาจาก
(1) แย่งกันเก็บภาษี
(2) การแข่งขันกันเป็นผู้นําเพื่อออกไปทําสงครามกับพวกมุสลิม
(3) พิธีการสวมมงกุฎจักรพรรดิ
(4) การแต่งตั้งขุนนางในตําแหน่งสูง
ตอบ 1 หน้า 300 – 303, 80 – 81 (H) ในช่วงศตวรรษที่ 14 – 15 นั้นได้เกิดการต่อสู้กันระหว่าง สันตะปาปากับจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ โดยมีสาเหตุอันเนื่องมาจากการที่ จักรพรรดิต้องการเก็บภาษีจากวัดเพื่อนํามาใช้ในการทําสงคราม แต่ก็ถูกสันตะปาปาคัดค้าน ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์สําคัญ 2 กรณีที่เกิดขึ้นในช่วงยุคกลางตอนปลาย ได้แก่ เหตุการณ์ การคุมขังแห่งบาบิโลเนีย และการแตกแยกครั้งใหญ่ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นถึงการเสื่อมอํานาจของศาสนจักร

69. ความสําคัญของยุค Reconquest หรือยุคการยึดดินแดนคืนของพวกคริสเตียนในสเปนคือ การทําสงคราม เพื่อขับไล่พวก…….ออกจากสเปน
(1) มัวร์
(2) เยอรมัน
(3) โรมัน
(4) ฮั่น
ตอบ 1 หน้า 267, 73 (H) ยุคแห่งการยึดอํานาจคืนของพวกคริสเตียนจากพวกมัวร์ (Moors) ในสเปน เรียกว่ายุค Reconquest หรือ Reconguista โดยยุคนี้สิ้นสุดลงเมื่อมีการรวมอาณาจักรคริสเตียน 2 แห่งเข้าด้วยกัน ซึ่งเกิดจากการแต่งงานระหว่างเจ้าคาสติลกับอรากอน นั่นคือ การอภิเษกสมรส ระหว่างพระราชินีอิซาเบลลาที่ 1 แห่งคาสติล กับพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งอรากอน ซึ่งได้ ร่วมกันปกครองในฐานะเป็นกษัตริย์คาทอลิกทําสงครามกับพวกมัวร์จนมีชัยชนะในปี ค.ศ. 1492 ซึ่งเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้สเปนสามารถรวบรวมดินแดนได้ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 นั่นเอง

70. การจัดทํา Doomsday Book ของพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ มีจุดประสงค์ที่สําคัญคือ
(1) เพื่อการเกณฑ์ทหาร
(2) เพื่อการเก็บภาษี
(3) เพื่อการเกณฑ์แรงงาน
(4) ถูกข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 271 – 273, 72 (H), 74 (H) ผลจากการที่วิลเลียม ตุ๊กแห่งนอร์มังดีของฝรั่งเศส ได้เข้า ยึดครองอังกฤษในปี ค.ศ. 1066 มีดังนี้
1. ทําให้กษัตริย์อังกฤษมี 2 สถานภาพ คือ มีฐานะเป็น เจ้า (Lord) สูงสุดในอังกฤษ แต่ต้องมีฐานะเป็นข้า (Vassal) ของกษัตริย์ฝรั่งเศส เมื่อเข้าไปถือครอง และเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากที่ดินในฝรั่งเศส
2. ขุนนางแองโกล-แซกซันถูกกําจัด
3. ภาษาฝรั่งเศสกลายเป็นภาษาของชนชั้นสูงและเข้าไปปะปนในภาษาอังกฤษ
4. มีการนําระบบแมเนอร์เข้ามาใช้ในอังกฤษ
5. มีการจัดทําทะเบียนราษฎร์อย่างละเอียด ในปี ค.ศ. 1086 ซึ่งเรียกว่า “Doomsday Books” เพื่อการเก็บภาษีและการเกณฑ์แรงงาน

71. วีรสตรีซึ่งมีวีรกรรมดีเด่นในสงครามร้อยปีคือ
(1) อลิซาเบธที่ 1
(2) แมรี่ที่ :
(3) อิซาเบลลาที่ 1
(4) โจน ออฟ อาร์ค
ตอบ 4 หน้า 298 – 299, 79 (H) ในช่วงสงครามร้อยปี ได้เกิดวีรสตรีชาวฝรั่งเศสชื่อ โจน ออฟ อาร์ค (Joan of Arc) ขึ้น โดยเป็นสตรีที่เข้าร่วมสงครามและได้รับชัยชนะหลายครั้ง แต่ในที่สุดก็ถูก อังกฤษจับไปเผาในฐานะเป็นพวกนอกรีต (แม่มด) ซึ่งการตายของโจนได้ส่งผลให้ชาวฝรั่งเศส เกิดความรู้สึกชาตินิยม จนสามารถรวมตัวกันขับไล่อังกฤษออกจากดินแดนฝรั่งเศสได้สําเร็จในปี ค.ศ. 1453

72. สงครามดอกกุหลาบในอังกฤษ ทําให้……มีอํานาจมากขึ้น
(1) สามัญชน
(2) ขุนนาง
(3) พระ
(4) กษัตริย์
ตอบ 4 หน้า 299, 326, 79 – 80 (14) สงครามดอกกุหลาบ (War of the Roses : ค.ศ. 1455 – 1485) เป็นสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นในอังกฤษ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการแย่งกันขึ้นปกครองอังกฤษระหว่าง ตระกูลแลงคาสเตอร์ (ดอกกุหลาบสีแดง) กับตระกูลยอร์ก (ดอกกุหลาบสีขาว) สงครามจบลง ในปี ค.ศ. 1485 โดยเฮนรี ทิวดอร์ ผู้นําตระกูลแลงคาสเตอร์เป็นผู้ชนะ ซึ่งมีผลติดตามมา ดังนี้
1. ขุนนางเสียชีวิตไปเป็นจํานวนมาก ทําให้กษัตริย์องค์ใหม่มีอํานาจมากขึ้นและสามารถพัฒนา ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
2. เฮนรี ทิวดอร์ ได้สถาปนาราชวงศ์ทิวดอร์ (Tudor Dynasty) ขึ้นปกครองอังกฤษ

73. สงครามครูเสดคือสงครามที่พวกคริสเตียนยกกองทัพไปตีเมือง……กลับคืนจากมุสลิม
(1) คอนสแตนติโนเปิล
(2) ซามาเรีย
(3) นาซาเร็ธ
(4) เยรูซาเล็ม
ตอบ 4 หน้า 279 – 285, 330, 76 – 77 (H) สงครามครูเสด (ค.ศ. 1095 – 1291) ในยุคกลาง ถือเป็น สงครามมหายุทธ์ที่กินระยะเวลาร่วม 200 ปี (รวมทั้งหมด 8 ครั้ง) ซึ่งมีความสําคัญดังนี้
1. เป็นสงครามระหว่างศาสนาคริสต์กับอิสลาม หรือระหว่างพวกคริสเตียนกับพวกมุสลิม เพื่อแย่งกันเข้าครอบครองกรุงเยรูซาเล็ม
2. พวกคริสเตียนไม่สามารถยึดกรุงเยรูซาเล็มคืนจากพวกมุสลิมได้ จึงถือว่าเป็น “ความล้มเหลว ที่ประสบความสําเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์”
3. นักรบครูเสดได้นําเอาศิลปวิทยาการของอารยธรรมคลาสสิกหรืออารยธรรมกรีก-โรมัน
จากภาคตะวันออกกลับเข้ามายังยุโรปตะวันตก จนนําไปสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการหรือ เรอเนสซองส์ (Renaissance) ในยุโรปเริ่มต้นยุคใหม่ เป็นต้น

74. ผลของสงครามครูเสดต่อยุโรปตะวันตกคือ
(1) ทําให้ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์เสื่อมลง
(2) การฟื้นฟูทางการค้า
(3) การฟื้นฟูอารยธรรมกรีก-โรมัน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 284 – 285, 77 (H) ผลของสงครามครูเสด มีดังนี้
1. ทําให้ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ หรือระบอบฟิวดัลเสื่อมลง เพราะพวกขุนนางได้ตายไปเป็นจํานวนมาก
2. เกิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และการค้าในดินแดนยุโรปตะวันตก
3. มีการเปิดเส้นทางการค้าเพื่อนําเอาความเจริญ
4. กษัตริย์มีอํานาจมากขึ้น
5. เมืองต่าง ๆ เริ่มขยายขึ้น เพราะการค้าขยายตัวและสินค้าจากภาคตะวันออกไปเผยแพร่ในยุโรปตะวันตกในขณะที่ขุนนางเสื่อมอํานาจลง
6. อํานาจของฝ่ายศาสนจักรเพิ่มขึ้น
7. พวกนักรบครูเสดได้นําอารยธรรมกรีก-โรมัน จากภาคตะวันออกเข้ามายังยุโรปตะวันตก เป็นต้น

75. เหตุการณ์การคุมขังแห่งบาบิโลเนียในระหว่างปี ค.ศ. 1305 – 1377 คือ เหตุการณ์ที่สันตะปาปา เสมือนตกอยู่ภายใต้อํานาจของกษัตริย์ดินแดนใด
(1) บาบิโลน
(2) ฝรั่งเศส
(3) อังกฤษ
(4) แคลเดีย
ตอบ 2 หน้า 301 – 303, 80 (H) การคุมขังแห่งบาบิโลเนีย (Babylonian Captivity : ค.ศ. 1305 – 1377) เกิดขึ้นเพราะสันตะปาปาได้ย้ายที่ประทับจากกรุงโรมในอิตาลีมาอยู่ที่เมืองอาวิญยองในฝรั่งเศส ทําให้สันตะปาปาชาวฝรั่งเศสองค์ต่อ ๆ มาพํานักอยู่ในฝรั่งเศสเป็นเวลา 70 ปี ส่งผลให้สันตะปาปา ตกอยู่ภายใต้อํานาจของกษัตริย์ฝรั่งเศส และมิได้มีฐานะเป็นประมุขสากลอีกต่อไป

76. อาณาจักรคริสเตียนในคาบสมุทรไอบีเรียที่ถูกรวมกันเข้าเป็นประเทศสเปนในศตวรรษที่ 15 คือ
(1) นาวาร์ – โปรตุเกส
(2) คาสติล – โปรตุเกส
(3) อรากอน – โปรตุเกส
(4) คาสติล – อรากอน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 69. ประกอบ

77. ประเทศโปรตุเกสที่ถูกสถาปนาขึ้นโดยเจ้าชายอัลฟองโซ เฮนริก ในปี ค.ศ. 1139 เคยอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรใดมาก่อน
(1) เลออง
(2) นาวาร์
(3) คาสติล
(4) อรากอน
ตอบ 3 หน้า 268, 73 (H), (คําบรรยาย) โปรตุเกส เคยเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของสเปนตั้งแต่ยุคโบราณ ต่อมาได้ถูกยึดครองโดยพวกมัวร์ไปพร้อม ๆ กับสเปน แต่ก็ถูกยึดคืนโดยกษัตริย์เฟอร์ดินาน แห่งอาณาจักรคาสติล ต่อมาพระเจ้าอัลฟองโซที่ 6 ทรงมอบดินแดนโปรตุเกสเป็นสินสมรส ให้แก่เจ้าหญิงเทเรซาพระธิดาในการอภิเษกสมรสกับเจ้าชายเฮนรีแห่งเบอร์กันดี ต่อมาเมื่อ เจ้าชายอัลฟองโซ เฮนริก พระราชโอรสสามารถรบชนะทั้งคาสติลและพวกมัวร์ จึงทรงประกาศ เอกราชอย่างเป็นทางการตามข้อตกลงในสนธิสัญญาซาโมรา และแยกตัวออกมาจากการ ปกครองของอาณาจักรคาสติล พร้อมกับสถาปนาอาณาจักรโปรตุเกสขึ้นในปี ค.ศ. 1139

78. ประเทศผู้นําในการออกแสวงหาเส้นทางเดินเรือมายังทวีปเอเชียในสมัยศตวรรษที่ 15 จนค้นพบอินเดียคือ
(1) ฝรั่งเศส
(2) โปรตุเกส
(3) อังกฤษ
(4) ดัตช์
ตอบ 2 หน้า 336, 351, 90 (H), (คําบรรยาย) ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 โปรตุเกสเป็นชาติแรกที่เป็นผู้นํา ในการออกแสวงหาเส้นทางเดินเรือเข้ามายังทวีปเอเชียในสมัยศตวรรษที่ 15 โดยมีนักเดินเรือ คนสําคัญ คือ วาสโก ดา กามา (Vasco da Gama) สามารถเดินเรืออ้อมทวีปแอฟริกาไปถึง อินเดียในปี ค.ศ. 1498 ได้สําเร็จเป็นคนแรก

79. การฟื้นฟูศิลปวิทยาการในดินแดนเยอรมนีก่อให้เกิดผลงานสําคัญคือ
(1) การพิมพ์
(2) งานทางด้านจิตรกรรม
(3) ปรัชญามนุษยนิยม
(4) พิธีกรรมทางศาสนา
ตอบ 1 หน้า 356, 371 – 372, 92 (H), 96 (H) ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) ซึ่งเกิดขึ้น ในระหว่างปี ค.ศ. 1300 – 1500 มีความสําคัญดังนี้
1. เป็นยุคของการฟื้นฟูอารยธรรม กรีก-โรมันขึ้นมาใหม่อีกครั้ง
2. เปลี่ยนจากอํานาจของศาสนจักรที่ครอบงําจากยุคกลาง มาเป็นสมัยแห่งวิทยาศาสตร์ และความเป็นปัจเจกชนนิยม (Individualism) ในยุคใหม่
3. การฟื้นฟูศิลปวิทยาการในอังกฤษ ทําให้เกิดแนวคิดเรื่อง “Utopia” หรือรัฐในอุดมคติ ของเซอร์โทมัส มอร์
4. การฟื้นฟูศิลปวิทยาการในเยอรมนี ทําให้โยฮันน์ กูเตนเบิร์ก ช่างทองชาวเยอรมันประดิษฐ์แท่นพิมพ์ได้สําเร็จในปี ค.ศ. 1445 เป็นต้น

80. จุดมัวหมองของการปฏิวัติทางการค้าในระหว่างปี ค.ศ. 1500 – 1700 คือ
(1) การสิ้นสุดระบอบศักดินาสวามิภักดิ์
(2) การหวนกลับมาใช้เงินเหรียญ
(3) การค้าทาส
(4) การเกิดลัทธิทุนนิยม
ตอบ 3 หน้า 339 – 344, 89 (H) ผลของการปฏิวัติทางการค้าระหว่างปี ค.ศ. 1500 – 1700 มีดังนี้
1. กําเนิดระบอบทุนนิยม
2. มีการหวนกลับมาใช้เงินเหรียญและทองคํามากขึ้น
3. เกิดการแข่งขันทางเศรษฐกิจเพื่อความมั่งคั่ง
4. ชนชั้นกลางกลายเป็นพวกที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ
5. เกิดการฟื้นฟูการค้าทาสโดยชาวโปรตุเกส ซึ่งถือว่าเป็นจุดมัวหมองของสมัยนี้
6. เป็นการนําทางไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรม และทําให้จํานวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นต้น

81. บุคคลผู้ได้รับการยกย่องว่าเดินเรือรอบโลกได้สําเร็จเป็นคนแรกคือ
(1) วาสโก ดา กามา
(2) แมกเจลแลน
(3) บัลบัว
(4) โคลัมบัส
ตอบ 2 หน้า 351, 90 (H), (คําบรรยาย) แมกเจลแลน & เดลคาโน เป็นนักสํารวจทางเรือชาวสเปนกลุ่มแรกที่ได้รับการยกย่องว่าแล่นเรือเดินทางรอบโลกได้สําเร็จเป็นครั้งแรกในระหว่างปี
ค.ศ. 1519 – 1522 และถือว่าเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าโลกกลมเป็นครั้งแรกอีกด้วย

82. สาเหตุปัจจุบันที่นําไปสู่การเกิดการปฏิรูปศาสนาคือ
(1) การประดิษฐ์แท่นพิมพ์
(2) การขายใบไถ่บาป
(3) ต้องการล้มพิธีกรรมทางศาสนา
(4) สันตะปาปามีอํานาจมากเกินไป
ตอบ 2 หน้า 378 – 379, 98 (H), 133 (H) สาเหตุปัจจุบันที่ทําให้เกิดการปฏิรูปศาสนา (Reformation) ขึ้นในศตวรรษที่ 16 คือ การที่สันตะปาปาลีโอที่ 10 ขายใบไถ่บาปในดินแดนเยอรมนี เพื่อนํา เอาเงินไปบูรณะโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรม พระองค์จึงถูกโจมตีจากมาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) พระชาวเยอรมัน ซึ่งได้เขียนคําประท้วง 95 ข้อ (95 Theses) ทําให้มีผู้เห็นด้วยว่า ไม่ควรนําเงินเยอรมันไปสร้างวัดในอิตาลี เหตุการณ์ดังกล่าวจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการประท้วง ทางศาสนาและเป็นที่มาของคําว่า “Protestant” ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1529

83. การปฏิรูปศาสนาในอังกฤษมีสาเหตุมาจาก
(1) การขายใบไถ่บาป
(2) กษัตริย์ต้องการอภิเษกสมรสใหม่
(3) การล้มอํานาจสันตะปาปา
(4) ต้องการทําให้ศาสนาเกิดความบริสุทธิ์
ตอบ 2 หน้า 383, 99 (H), (คําบรรยาย) การปฏิรูปศาสนาในอังกฤษเกิดขึ้นเพราะพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ ต้องการหย่าขาดจากพระนางแคทเทอรีนแห่งอรากอนเพื่ออภิเษกสมรสใหม่กับ แอน โบลีน แต่ศาสนจักร (สันตะปาปา) ไม่ยินยอม พระเจ้าเฮนรีที่ 8 จึงตัดขาดจากองค์กร คริสตจักรที่กรุงโรม และทรงให้รัฐสภาออกกฎหมายที่เรียกว่า “The Act of Supremacy ในปี ค.ศ. 1534 เพื่อแต่งตั้งให้พระองค์เป็นประมุขทางศาสนาในอังกฤษแทนสันตะปาปา หรือ Catholic without Pope ซึ่งส่งผลทําให้อังกฤษเปลี่ยนศาสนาเป็นโปรเตสแตนต์ที่เรียกว่า “นิกายอังกฤษ” (Anglican Church/Church of England)

84. ในสมัยศตวรรษที่ 16 ประเทศฟิลิปปินส์ตกเป็นอาณานิคมของ
(1) โปรตุเกส
(2) สเปน
(3) สหรัฐอเมริกา
(4) ดัตช์
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในสมัยศตวรรษที่ 16 (ปี ค.ศ. 1565) ชาวสเปนได้เดินทางเข้าไปสํารวจฟิลิปปินส์
โดยหมู่เกาะฟิลิปปินส์ก่อนการสํารวจของสเปนยังอยู่ในสภาพล้าหลังทางวัฒนธรรมกว่าดินแดน
อื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดียและจีนแทบจะมาไม่ถึง ทําให้ สเปนสามารถเข้าขยายอํานาจและปกครองได้สะดวก ทั้งนี้สเปนได้ปกครองฟิลิปปินส์นับตั้งแต่ ค.ศ. 1565 – 1898 รวมระยะเวลากว่า 300 ปี หลังจากนั้นฟิลิปปินส์ก็ตกเป็นอาณานิคมของ สหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา

85. การฟื้นฟูศิลปวิทยาการในระหว่างปี ค.ศ. 1300 – 1500 คือ การฟื้นฟูอารยธรรม……ขึ้นมาใหม่
(1) กรีก
(2) โรมัน
(3) ฝรั่งเศส
(4) ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 79. ประกอบ

86. ผลงานสําคัญของลีโอนาร์โด ดาวินชี คือ
(1) Mona Lisa
(2) The Last Judgement
(3) The School of Athens
(4) Sistine Madonna
ตอบ 1 หน้า 363 – 364, 94 (H) ลีโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo da Vinci) เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุด ของสากลมนุษย์ (Universal Man) ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ โดยดาวินชีถือว่าเป็นผู้ที่มี ความสามารถรอบตัว โดยเป็นทั้งประติมากร นักดนตรี สถาปนิก วิศวกร และจิตรกร ทั้งนี้ ผลงานด้านจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาก็คือ The Last Supper และ Mona Lisa ซึ่งนับเป็นตัวอย่างอันดีของศิลปะที่เชิดชูความสําคัญของสตรีในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

87.สงครามศาสนาครั้งสุดท้ายที่เกิดขึ้นในดินแดนเยอรมนี คือสงคราม
(1) 7 ปี
(2) ดอกกุหลาบ
(3) 30 ปี
(4) อมาร์ดา
ตอบ 3 หน้า 390 – 391, 101 (H) สงคราม 30 ปี (The Thirty Years War : ค.ศ. 1618 – 1648) เป็นสงครามศาสนาครั้งสุดท้ายของยุโรปที่เกิดขึ้นในดินแดนเยอรมนีหรืออาณาจักรโรมัน อันศักดิ์สิทธิ์ โดยเป็นสงครามระหว่างพวกโปรเตสแตนต์กับพวกคาทอลิก โดยมีอังกฤษกับฝรั่งเศสเป็นผู้นําและเข้าช่วยเหลือพวกโปรเตสแตนต์ สเปนเป็นผู้นําและเข้าช่วยเหลือพวกคาทอลิกในที่สุดสงครามก็จบลงด้วยชัยชนะของพวกโปรเตสแตนต์และฝรั่งเศส ทําให้ฝรั่งเศสกลายเป็นมหาอํานาจในยุโรปแทนที่สเปน ขณะที่ดินแดนเยอรมนีได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก ส่งผลทําให้การรวมเยอรมนีช้าไปเป็นเวลา 200 ปี

88. พระราชวังแวร์ซายส์สร้างในสมัยของพระเจ้า
(1) หลุยส์ที่ 14
(2) หลุยส์ที่ 13
(3) หลุยส์ที่ 15
(4) เฮนรี่ที่ 4
ตอบ 1 หน้า 409, 106 (H), (คําบรรยาย) พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของราชวงศ์บูร์บองแห่งฝรั่งเศส ทรงสร้างพระราชวังใหม่ขึ้นที่แวร์ซายส์ซึ่งตั้งอยู่นอกกรุงปารีส โดยมีจุดประสงค์ที่สําคัญคือ เพื่อหลีกหนีชาวปารีสซึ่งมักจะทําตัวเป็นศัตรูกับรัฐบาล และยังทรงต้องการแยกออกมาจาก ขุนนางเก่า ๆ ที่มีอิทธิพลในพระราชวังเดิมเพื่อสร้างพระราชอํานาจใหม่ ทําให้พระราชวังแวร์ซายส์ กลายเป็นเมืองหลวงที่เป็นศูนย์รวมการปกครองของพระองค์ และเป็นสถานที่ที่ขุนนางคนสําคัญ ของพระองค์มาอาศัยอยู่ ทําให้พระองค์สามารถควบคุมขุนนางได้อย่างใกล้ชิด รวมทั้งเป็นการ ประกาศความยิ่งใหญ่และรุ่งเรือง

89. พวกเพียวริตันเป็นกลุ่มชนชั้นกลางที่มีบทบาทสําคัญในรัฐสภาของประเทศ
(1) ฝรั่งเศส
(2) สกอตแลนด์
(3) ดัตช์
(4) อังกฤษ
ตอบ 4 หน้า 411 – 413, 107 (H) ในระหว่างปี ค.ศ. 1642 – 1649 ได้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้น ในอังกฤษ ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างพระเจ้าชาร์ลที่ 1 กับรัฐสภาอังกฤษซึ่งตกอยู่ ภายใต้อิทธิพลของพวกเพียวริตัน (Puritans) ในกรณีที่พระองค์ต้องการเงินเพื่อไปปราบปราม การก่อกบฏของพวกสกอต โดยสงครามจบลงด้วยชัยชนะของรัฐสภา และพระเจ้าชาร์ลที่ 1 ถูกตัดสินประหารชีวิตในปี ค.ศ. 1649 ซึ่งถือว่าเป็นการสิ้นสุดสมัยการปกครองในระบอบ เทวสิทธิ์ในอังกฤษ และเปลี่ยนไปสู่การปกครองในระบอบสาธารณรัฐ (Republic)

90. ผลการปฏิวัติอันรุ่งเรืองในปี ค.ศ. 1683 ทําให้อังกฤษเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบ
(1) สาธารณรัฐ
(2) กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
(3) รัฐสภา
(4) ถูกข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 417, 108 (H) ผลของการปฏิวัติอันรุ่งเรืองของอังกฤษในปี ค.ศ. 1688 มีดังนี้
1. ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในอังกฤษสิ้นสุดลง และเปลี่ยนไปสู่การปกครองในระบอบ รัฐสภา ซึ่งเป็นการปกครองที่กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
2. รัฐสภามีอํานาจสูงสุด
3. ฐานะของพวกโปรเตสแตนต์มีความมั่นคงขึ้น
4. กษัตริย์จะประกาศสงคราม จัดกองทัพ หรือแต่งตั้งรัฐมนตรีคนใด ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาก่อน

91. สหรัฐอเมริกาประกาศเอกราชได้สําเร็จโดยได้รับความช่วยเหลือจากประเทศ
(1) โปรตุเกส
(2) อังกฤษ
(3) ดัตช์
(4) ฝรั่งเศส
ตอบ 4 หน้า 453 – 454, 113 (H), (คําบรรยาย) ในระหว่างปี ค.ศ. 1763 – 1775 สัมพันธภาพ ระหว่างอังกฤษและอาณานิคมทั้ง 13 แห่งใน New England เริ่มตึงเครียดมากขึ้น ทั้งนี้เพราะ อังกฤษพยายามบังคับให้อาณานิคมต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่ชาวอาณานิคมต่อต้าน ไม่ยอมเสียภาษี เพราะถือว่าไม่มีตัวแทนของตนในสภาของอังกฤษ นอกจากนี้สหรัฐอเมริกายัง ได้รับความช่วยเหลือทางทหารและการเงินจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ของฝรั่งเศส ส่งผลให้ สหรัฐอเมริกาสามารถประกาศอิสรภาพจากอังกฤษได้สําเร็จในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 ซึ่งเท่ากับเป็นการสถาปนาประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีการปกครองในระบอบสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย (Democratic Republic) และมีประธานาธิบดีคนแรกคือ จอร์จ วอชิงตัน

92. กลุ่มชนผู้ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีก่อนเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี 1789 คือ
(1) พระ
(2) ขุนนาง
(3) สามัญชน
(4) ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 459 – 460, 114 (H) ก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 นั้น ฝรั่งเศสได้มีการแบ่ง ชนชั้นทางสังคมออกเป็น 5 ชนชั้น หรือ 3 ฐานันดร ได้แก่
1. ฐานันดรที่ 1 ได้แก่ พระหรือเจ้าหน้าที่ศาสนา
2. ฐานันดรที่ 2 ได้แก่ เจ้าหรือขุนนาง
3. ฐานันดรที่ 3 ได้แก่ สามัญชน ซึ่งประกอบด้วยชนชั้นกลาง ช่างฝีมือ และชาวนา โดยฐานันดรที่ 1 และ 2 เป็นกลุ่มชนที่มีอภิสิทธิ์ทางสังคมและไม่ต้องเสียภาษี ส่วนฐานันดรที่ 3 เป็นกลุ่มชนที่ไม่มีอภิสิทธิ์ โดยต้องแบกรับภาระภาษีและภาระทางสังคมของประเทศ

93. การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 มีผลทําให้การปกครองอยู่ภายใต้การกําหนดและชี้นําโดยบุคคลในข้อใด
(1) ประชาชน
(2) กษัตริย์
(3) ขุนนาง
(4) พระ
ตอบ 1 หน้า 455 – 462, 114 – 116 (H) การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 เป็นการปฏิวัติภายใต้ การนําของกลุ่มชนชั้นกลางที่ต้องการล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือระบอบเก่า และต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครอง มีผลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองจาก ระบอบเก่าไปสู่การปกครองในระบอบสาธารณรัฐ ซึ่งผลของการปฏิวัตินั้นทําให้การปกครองของฝรั่งเศสอยู่ภายใต้การกําหนดและชี้นําของชนชั้นกลางหรือประชาชน โดยถือว่ามีฐานะเท่าเทียมกับพวกขุนนางและพวกพระ อีกทั้งเป็นการยกเลิกระบอบอภิสิทธิ์ของกลุ่มชนชั้นสูงในสังคม และทําให้กษัตริย์ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ

94. กษัตริย์รัสเซียผู้พยายามเปิดประเทศและเปลี่ยนแปลงประเทศให้เจริญแบบยุโรปตะวันตกคือ
(1) แคทเทอรีนมหาราชินี
(2) นิโคลัสที่ 2
(3) ปีเตอร์ที่ 3
(4) ปีเตอร์มหาราช
ตอบ 4 หน้า 421, 426, 109 (H), (คําบรรยาย) พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 หรือปีเตอร์มหาราชแห่งรัสเซีย (ค.ศ. 1682 – 1725) เป็นผู้เปิดประเทศเพื่อรับอารยธรรมจากยุโรปตะวันตก พระองค์ทรง ประสบความสําเร็จในการขยายอํานาจสู่บอลติก และทรงปฏิรูปรัสเซียให้มีความเป็นสมัยใหม่ มากขึ้น เช่น การออกกฎหมายให้ชาวรัสเซียแต่งกายแบบยุโรป ให้โกนหนวดเครา และสวมเสื้อ แขนสั้นแบบยุโรป ตั้งโรงพิมพ์ โรงเรียน โรงพยาบาล เป็นต้น

95. ประเทศที่มีบทบาทสําคัญในการแบ่งโปแลนด์ในศตวรรษที่ 18 คือ
(1) รัสเซีย
(2) ฝรั่งเศส
(3) ดัตช์
(4) อังกฤษ
ตอบ 1 หน้า 427, 109 (H) ในปี ค.ศ. 1772 รัสเซีย ออสเตรีย และปรัสเซียได้ร่วมกันแบ่งแยกโปแลนด์
เป็นครั้งแรก ทําให้รัฐบาลโปแลนด์ต้องออกกฎหมายยกเลิก “Liberum Veto” ในปี ค.ศ. 1791 แต่รัสเซียกับปรัสเซียก็แบ่งแยกโปแลนด์อีกเป็นครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1793 ทําให้เกิดการจลาจล ในโปแลนด์ซึ่งสร้างความตกใจให้แก่ยุโรปตะวันออกทั้งหมด ในที่สุดทั้ง 3 ประเทศก็ร่วมกัน แบ่งโปแลนด์อีกเป็นครั้งที่ 3 ในปี ค.ศ. 1795 เป็นผลให้โปแลนด์หายไปจากแผนที่ของยุโรป

96. ผู้ค้นพบกฎแรงโน้มถ่วงหรือแรงดึงดูดของโลกคือ
(1) กาลิเลโอ
(2) เซอร์ไอแซค นิวตัน
(3) ชาร์ลส์ ดาร์วิน
(4) โคเปอร์นิคัส
ตอบ 2 หน้า 437 – 439, 111 (H) เซอร์ไอแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นผู้ค้นพบ “กฎแรงโน้มถ่วง” หรือ “กฎแรงดึงดูดของโลก” ซึ่งปรากฏในผลงานเรื่อง “Principia” ในปี ค.ศ. 1687 นอกจากนี้นิวตันยังอธิบายถึงการที่โลกและดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และยังมีอิทธิพลต่อวงการวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันที่ย้ําว่า หลักการของ วิทยาศาสตร์คือ การสังเกต การคํานวณ และการทดลอง

97. ความเสื่อมอํานาจของนโปเลียนเกิดขึ้นเมื่อนโปเลียนไปพ่ายแพ้ที่ประเทศ
(1) ฝรั่งเศส
(2) เบลเยียม
(3) สเปน
(4) รัสเซีย
ตอบ 4 หน้า 470, 117 (H) ในปี ค.ศ. 1810 รัสเซียได้ยกเลิกการเข้าร่วมกับฝรั่งเศสในการปิดล้อม อังกฤษทางเศรษฐกิจ ด้วยการเปิดเมืองท่ารับเรืออังกฤษ ซึ่งได้สร้างความไม่พอใจให้แก่จักรพรรดิ นโปเลียนแห่งฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก ดังนั้นในปี ค.ศ. 1812 นโปเลียนจึงเกณฑ์ทหารทั้งหมด ประมาณ 6 แสนคนบุกรัสเซีย แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ต่อความหนาวเย็น การขาดแคลนอาหาร และ
กองทัพของรัสเซีย จนต้องถอยทัพกลับมาเหลือทหารเพียงประมาณ 2 หมื่นคน โดยการทํา สงครามกับรัสเซียในครั้งนี้ทําให้นโปเลียนหมดอํานาจจนต้องสละบัลลังก์ไปในปี ค.ศ. 1814 และถูกเนรเทศไปอยู่ที่เกาะเอลบา

98. การประชุมที่กรุงเวียนนาในระหว่างปี ค.ศ. 1814 – 1815 มีจุดมุ่งหมายที่สําคัญคือ
(1) ปราบปรามพวกอนุรักษนิยม
(2) การสร้างดุลอํานาจขึ้นใหม่ในยุโรป
(3) การสร้างความสํานึกชาตินิยม
(4) ปราบปรามพวกเสรีนิยม
ตอบ 4 หน้า 471 – 472, 117 – 118 (H) การประชุมที่กรุงเวียนนา (Congress of Vienna) ในระหว่าง ปี ค.ศ. 1814 – 1815 มีจุดประสงค์หลักคือ เพื่อจัดระเบียบยุโรปขึ้นใหม่ และเพื่อสกัดกั้นการ ขยายตัวของฝรั่งเศส ซึ่งการประชุมดังกล่าวมีผลติดตามมา ได้แก่
1. มีการร่างแผนที่ยุโรปขึ้นใหม่โดยไม่คํานึงถึงความเป็นชาตินิยม
2. ประเทศมหาอํานาจกลุ่มปฏิกิริยาอนุรักษนิยมพยายามใช้ผลของการประชุมเพื่อเป็นเครื่องมือ
ในการสกัดกั้นการขยายตัวของขบวนการเสรีนิยมและชาตินิยม
3. ทําให้เกิดการต่อสู้ระหว่างฝ่ายเสรีนิยมและฝ่ายอนุรักษนิยมในยุโรป

99. ภายหลังการประชุมที่เวียนนายุติลงแล้ว ผู้มีบทบาทสําคัญที่คอยสกัดกั้นการปฏิวัติประชาธิปไตยของ
พวกเสรีนิยมและชาตินิยมคือ
(1) เมตเตอร์นิก
(2) ดุ๊กแห่งเวลลิงตัน
(3) ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1
(4) ตาลเรือรอง
ตอบ 1 หน้า 471 – 473, 118 (H) ยุคเมตเตอร์นิก (Age of Metterrich : ค.ศ. 1815 – 1848) คือ ยุคแห่งการต่อต้านการปฏิวัติของขบวนการเสรีนิยม โดยภายหลังการประชุมที่เวียนนาสิ้นสุดลง ในปี ค.ศ. 1815 ยุโรปได้ตกอยู่ภายใต้การชี้นําของเจ้าชายเมตเตอร์นิก เสนาบดีแห่งอาณาจักร ออสเตรีย ซึ่งเป็นผู้ที่ต่อสู้เพื่อรักษาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และทรงพยายามป้องกันไม่ให้เกิดการปฏิวัติเสรีนิยมขึ้นในยุโรป เพราะอาจส่งผลกระทบต่ออาณาจักรออสเตรียซึ่งมี ดินแดนของชนชาติอื่น ๆ รวมอยู่ด้วย โดยชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ เหล่านี้อาจได้รับแรงกระตุ้นจาก การปฏิวัติของขบวนการเสรีนิยม และอาจก่อการปฏิวัติแยกตัวออกจากการปกครองของออสเตรียได้

100. ขบวนการโรแมนติกเข้าร่วมกับขบวนการเสรีนิยมและชาตินิยมในศตวรรษที่ 18 เป็นขบวนการที่ไม่เน้นถึง เหตุผลเหมือนสมัยประเทืองปัญญา แต่เน้นที่
(1) อารมณ์
(2) ความรู้สึกเพ้อฝัน
(3) ปัจเจกชนหรือตัวบุคคล
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 473 – 474, 489, 119 (H) ขบวนการโรแมนติก (Romanticism) เป็นขบวนการที่ต่อต้าน ข้อจํากัดอย่างแข็งขันของศิลปะนีโอ-คลาสสิก หรือเป็นปฏิกิริยาที่ต่อต้านแนวคิดเหตุผลนิยม (Rationalism) ในยุคประเทืองปัญญา แต่จะเน้นที่อารมณ์ ความรู้สึกเพ้อฝันที่ลึกซึ้ง เน้นชีวิต ความเป็นอยู่และความสําคัญของปัจเจกชนหรือตัวบุคคลมากกว่ารัฐ ซึ่งต่อมาขบวนการนี้ได้ เข้าร่วมกับขบวนการชาตินิยมและเสรีนิยมในศตวรรษที่ 18 ลุกฮือขึ้นทั่วยุโรปเพื่อทําการปฏิวัติ

101. ข้อใดไม่ใช่ผลของการปฏิวัติฝรั่งเศสปี ค.ศ. 1848
(1) เกิดการปฏิวัติเสรีนิยมและชาตินิยมติดตามมาในประเทศอื่น ๆ
(2) หลุยส์นโปเลียนได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี
(3) เปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่สาธารณรัฐที่ 2
(4) พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 หมดอํานาจ
ตอบ 4 หน้า 480 – 484, 119 (H) การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1848 เกิดขึ้นภายใต้การนําของกลุ่ม กรรมกร เพื่อขับไล่พระเจ้าหลุยส์ฟิลิปออกจากบัลลังก์ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ฝรั่งเศส ได้พัฒนาเข้าสู่ยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยผลของการปฏิวัติที่สําคัญมี 2 ประการ คือ
1. ทําให้คณะปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองของฝรั่งเศสไปสู่สาธารณรัฐที่ 2 และประธานาธิบดี คนแรกที่ได้รับเลือกตั้งคือ หลุยส์นโปเลียน ซึ่งเป็นหลานของจักรพรรดินโปเลียน
2. เกิดการปฏิวัติของขบวนการเสรีนิยมและชาตินิยมในประเทศอื่น ๆ ตามมา

102. ประเทศที่เป็นแบบอย่างของการปฏิวัติเสรีนิยมในยุโรปในระหว่างศตวรรษที่ 18 – 19 คือ
(1) ดัตช์
(2) ปรัสเซีย
(3) รัสเซีย
(4) ฝรั่งเศส
ตอบ 4 หน้า 481, 119 (H), (คําบรรยาย) ภายหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสทั้งในปี ค.ศ. 1789 และ ค.ศ. 1848 ส่งผลให้ขบวนการเสรีนิยมของชาติต่าง ๆ เช่น เบลเยียม โปแลนด์ และอังกฤษ ได้ถือเป็นแบบอย่างและทําการปฏิวัติเพื่อเรียกร้องเอกราชตาม จนทําให้เกิดวาทะที่ว่า “เมื่อประเทศฝรั่งเศสจาม ยุโรปก็ติดหวัด”

103. ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้นในอังกฤษคือ
(1) การเมืองสงบ
(2) การใช้ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม
(3) ความเจริญทางเทคโนโลยี
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 496, 123 (H) สาเหตุที่ทําให้อังกฤษเป็นผู้นําในการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นชาติแรก ในศตวรรษที่ 18 มีดังนี้
1. มีความสงบทางการเมืองภายหลังการปฏิวัติอันรุ่งเรืองในปี ค.ศ. 1688
2. มีความมั่นคงทางด้านการเงินและการเมือง จนสามารถจัดตั้งธนาคารชาติได้ในปี ค.ศ. 1694
3. มีการพัฒนาทางด้านการเกษตรที่ก้าวหน้า
4. มีถ่านหินและเหล็กเป็นจํานวนมาก
5. มีการพัฒนาเทคโนโลยีและการประดิษฐ์เครื่องจักรเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมทอผ้า
6. ใช้ลัทธินายทุนและระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมแทนลัทธิพาณิชย์ชาตินิยมซึ่งเป็นการค้าแบบเก่า

104. ลัทธิต่อต้านนายทุนที่เอาเปรียบพวกกรรมกรคือ
(1) ฟาสซิสม์
(2) เสรีนิยม
(3) ชาตินิยม
(4) สังคมนิยม
ตอบ 4 หน้า 500 – 501, 124 (H) ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมทําให้เกิดชนชั้นใหม่ขึ้น 2 ชนชั้น คือ นายทุนหรือชนชั้นกลางกับกรรมกร ซึ่งนายทุนจะเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิวัติอุตสาหกรรม และมีอิทธิพลทางการเมือง ส่วนกรรมกรในโรงงานซึ่งรวมไปถึงผู้หญิงและเด็กที่อายุเพียง 10 ขวบ หรือน้อยกว่านั้นจะเป็นผู้เสียเปรียบอย่างแท้จริง จากความไม่พอใจในสภาพอันแร้นแค้นของกรรมกรทั้งหญิงและเด็กได้ก่อให้เกิดแนวคิดที่จะปฏิรูปสังคมเพื่อความเป็นธรรมในสังคม ได้แก่ ลัทธิสังคมนิยม (Socialism) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเอารัดเอาเปรียบของนายทุน และเจ้าของที่ดินต่อคนงาน (กรรมกร)

105. รัฐผู้นําในการรวมอิตาลีเข้าด้วยกันคือ
(1) สันตะปาปา
(2) ลอมบาร์ดี
(3) เวนิส
(4) ซาร์ดิเนีย
ตอบ 4 หน้า 512, (คําบรรยาย) รัฐผู้นําในการรวมอิตาลีเข้าด้วยกันคือ อาณาจักรปิเอดมอนต์-ซาร์ดิเนีย ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ราชวงศ์ซาวอย โดยมีเคานต์ คามิลโล ดิ คาวัวร์ เป็นนายกรัฐมนตรี ของซาร์ดิเนียในปี ค.ศ. 1852 ส่วนศัตรูสําคัญที่เป็นอุปสรรคในการรวมอิตาลี คือ ออสเตรีย ทั้งนี้เพราะตามสนธิสัญญาเวียนนาในปี ค.ศ. 1815 ได้ให้ออสเตรียครอบครองดินแดนลอมบาร์ดีและเวเนเทียในแหลมอิตาลีอยู่หลายครั้งซึ่งเป็นผลให้เกิดสงครามระหว่างแคว้นซาร์ดิเนียกับออสเตรีย

106. ออสเตรียเปลี่ยนชื่อเป็นออสเตรีย-ฮังการี ในปี ค.ศ. 1867 ภายหลังแพ้สงครามต่อ
(1) อังกฤษ
(2) ปรัสเซีย
(3) ฝรั่งเศส
(4) รัสเซีย
ตอบ 2 หน้า 517 – 518, 129 (H) สงครามเจ็ดสัปดาห์ในปี ค.ศ. 1866 เป็นสงครามระหว่างออสเตรีย กับปรัสเซีย ซึ่งผลของสงครามปรากฏว่าออสเตรียเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ต่อปรัสเซีย ทําให้มีผลตามมา ดังนี้
1. เป็นการตัดอิทธิพลของออสเตรียออกจากดินแดนเยอรมนี
2. รัฐเยอรมันทาง ตอนเหนือยอมเข้ามารวมกับปรัสเซีย โดยมีการจัดตั้งสมาพันธรัฐเยอรมันทางตอนเหนือขึ้น 3. ออสเตรียได้เปลี่ยนชื่อไปเป็นอาณาจักรออสเตรีย-ฮังการี ในปี ค.ศ. 1867

107. บุคคลสําคัญที่ทําให้อิตาลีรวมประเทศได้สําเร็จคือ
(1) คาวัวร์
(2) พระเจ้าวิกเตอร์ อิมมานูเอลที่ 3
(3) บิสมาร์ก
(4) นโปเลียนที่ 3
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 105. ประกอบ

108. การรวมอิตาลีสําเร็จสมบูรณ์เมื่อรัฐบาลอิตาลียึดกรุงโรมมาจาก……มาเป็นเมืองหลวงได้สําเร็จ
(1) ออสเตรีย
(2) ปรัสเซีย
(3) กองทหารฝรั่งเศส
(4) สันตะปาปา
ตอบ 4 หน้า 515, 126 – 127 (H) หลังจากที่คาวัวร์เสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1861 การรวมอิตาลีก็ยัง ไม่ประสบความสําเร็จสมบูรณ์ ทั้งนี้เพราะแคว้นเวเนเซียยังอยู่ภายใต้การปกครองของออสเตรีย และกรุงโรมยังไม่ได้เป็นเมืองหลวงของอิตาลี จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1870 ได้เกิดสงครามระหว่าง ฝรั่งเศสกับปรัสเซีย กองกําลังทหารของฝรั่งเศสที่ให้ความคุ้มครองแก่สันตะปาปาในกรุงโรม จึงเดินทางกลับฝรั่งเศส รัฐบาลอิตาลีได้ถือโอกาสเข้ายึดกรุงโรมจากสันตะปาปาได้สําเร็จและ จัดตั้งให้เป็นเมืองหลวงของอิตาลีในปี ค.ศ. 1871 การรวมอิตาลีจึงประสบความสําเร็จโดยสมบูรณ์

109. สงครามที่นําไปสู่การรวมเยอรมนีในระหว่างปี ค.ศ. 1870 – 1871 คือ สงครามที่ปรัสเซียทํากับประเทศใดบ้าง
(1) เดนมาร์ก
(2) ออสเตรีย
(3) ฝรั่งเศส
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 517 – 520, 128 – 129 (H) บิสมาร์ก อัครมหาเสนาบดีของปรัสเซีย ได้ประกาศใช้ นโยบายเลือดและเหล็กในการบริหารประเทศ และใช้ในการดําเนินนโยบายเพื่อรวมเยอรมนี เข้าด้วยกัน ซึ่งในระยะแรกนั้นบิสมาร์กจะใช้วิธีการทําสงครามถึง 3 ครั้ง คือ
1. สงครามกับเดนมาร์กเรื่องดินแดนชเลสวิก-โฮลสไตน์ (Schleswig-Holstein) ในปี ค.ศ. 1864
2. สงครามกับออสเตรียในปี ค.ศ. 1866
3. สงครามระหว่างฝรั่งเศสกับปรัสเซีย (The Franco-Prussian War) ในปี ค.ศ. 1870 – 1871 ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ เป็นผลทําให้บิสมาร์กสามารถจัดตั้งประเทศเยอรมนีขึ้นได้สําเร็จ ในปี ค.ศ. 1871 ที่ห้องกระจกในพระราชวังแวร์ซายส์ ประเทศฝรั่งเศส

110. ประเทศที่ไม่ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของใครในสมัยจักรวรรดินิยมยุคใหม่คือ
(1) ญี่ปุ่น
(2) ไลบีเรีย
(3) อินเดีย
(4) ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 523, 130 – 131 (H) จักรวรรดินิยมยุคใหม่ คือ ยุคที่ประเทศมหาอํานาจในยุโรปได้ ออกมาแสวงหาอาณานิคมในทวีปแอฟริกาและเอเชีย ในระหว่างปี ค.ศ. 1871 – 1914 โดยมี อังกฤษ ฝรั่งเศส และฮอลันดาเป็นผู้นํา ทําให้ประเทศในทวีปแอฟริกาและเอเชียต้องตกไปเป็นอาณานิคมจํานวนมาก โดยในทวีปแอฟริกาเหลือประเทศที่ยังคงรักษาเอกราชเอาไว้ได้เพียง 2 ประเทศ คือ เอธิโอเปีย และไลบีเรีย ส่วนในทวีปเอเชียเหลือประเทศที่ยังคงรักษาเอกราช เอาไว้ได้ คือ จีน ญี่ปุ่น และไทย

111. สนธิสัญญาสันนิบาตสามจักรพรรดิถูกจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1872 เพื่อโดดเดี่ยวประเทศ
(1) ฝรั่งเศส
(2) ดัตช์
(3) อังกฤษ
(4) ออสเตรีย-ฮังการี
ตอบ 1 หน้า 529 ภายหลังการรวมเยอรมนีในปี ค.ศ. 1871 แล้ว บิสมาร์กได้พยายามโดดเดี่ยวฝรั่งเศส ด้วยการเข้าร่วมจัดตั้งสันนิบาตสามจักรพรรดิ (The Three Emperors League) ขึ้นในปี ค.ศ. 1872 ซึ่งเป็นการเข้าร่วมภาคีระหว่างจักรพรรดิฟรานซิส โจเซฟ แห่งออสเตรีย, ไกเซอร์วิลเลียมที่ 1 แห่งเยอรมนี และพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย อย่างไรก็ตามจุดอ่อนของสันนิบาตนี้ก็คือ ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย กับออสเตรียในเรื่องผลประโยชน์ในคาบสมุทรบอลข่าน ซึ่งส่งผลให้ รัสเซียถอนตัวออกมา ทําให้ความต้องการโดดเดี่ยวฝรั่งเศสไม่ประสบความสําเร็จ

112. ประเทศจักรวรรดินิยมที่ทําสงครามบังคับให้จีนเปิดประเทศด้วยสงครามฝิ่นในระหว่างปี ค.ศ. 1840 – 1842 คือ
(1) ญี่ปุ่น
(2) ฝรั่งเศส
(3) สหรัฐอเมริกา
(4) อังกฤษ
ตอบ 4 หน้า 527, 132 (H) อังกฤษ เป็นชาติแรกที่ใช้นโยบายเรือปืนบีบบังคับให้จีนเปิดประเทศด้วย สงครามฝิ่น (ค.ศ. 1840 – 1842) เนื่องจากอังกฤษนําฝิ่นจากอินเดียมาขายในจีน รัฐบาลแมนจู ของจีนไม่ยินยอมจึงทําให้เกิดสงครามขึ้น ผลปรากฏว่าจีนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และต้องลงนาม ในสนธิสัญญานานถึงในปี ค.ศ. 1842 ซึ่งมีสาระสําคัญดังนี้
1. จีนต้องเปิดเมืองท่าเพิ่มอีกคือ เอหนึ่ง ฟูเจ้า นิงโป และเซี่ยงไฮ้ เพื่อให้ชาวต่างชาติ เข้ามาพํานักและค้าขาย
2. จีนต้องยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษ และต้องชดใช้ค่าเสียหายด้วย
3. จีนต้องยกเลิกภาษีขาเข้า

113. สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในขณะที่บอสเนีย-เฮอร์เซโกวินา กําลังตกอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศ
(1) รัสเซีย
(2) เยอรมนี
(3) ตุรกี
(4) ออสเตรีย-ฮังการี
ตอบ 4 หน้า 534 – 535, 133 (H) สาเหตุปัจจุบันที่ทําให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เริ่มขึ้นนับตั้งแต่ การที่เซอร์เบียไม่พอใจที่ออสเตรีย-ฮังการีผนวกดินแดนบอสเนีย-เฮอร์เซโกวินา ซึ่งมีประชาชน เป็นชาวสลาฟเช่นเดียวกับเซอร์เบีย อีกทั้งยังเป็นดินแดนที่เซอร์เบียต้องการ จนกระทั่งเมื่อ อาร์ชดรุก ฟรานซิส เฟอร์ดินานด์ มกุฎราชกุมารแห่งอาณาจักรออสเตรีย เสด็จไปเยือนเมือง ซาราเจโวซึ่งเป็นเมืองหลวงของบอสเนียในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 พระองค์ทรงถูกลอบ ปลงพระชนม์ โดยนักศึกษาชาวเซิร์บชื่อ กาวริโล ปรินซิป จนเป็นสาเหตุให้ออสเตรีย-ฮังการี และเซอร์เบียใช้กําลังเข้าประหัตประหารกัน จนลุกลามกลายเป็นสงครามโลกครั้งที่ 1 ในที่สุด

114. ประเทศที่ไม่ได้ร่วมอยู่ในกลุ่มประเทศมหาอํานาจกลางเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1
(1) ออสเตรีย-ฮังการี
(2) อิตาลี
(3) เยอรมนี
(4) บัลแกเรีย
ตอบ 2 หน้า 535, 134 (H) เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้นในปี ค.ศ. 1914 ประเทศมหาอํานาจ ในยุโรปได้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายมหาอํานาจกลาง (The Central Powers) ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี ตุรกี และบัลแกเรีย
2. ฝ่ายสัมพันธมิตร (The Allied Powers) ประกอบด้วย ฝรั่งเศส รัสเซีย และอังกฤษ ต่อมา ก็มีประเทศอื่นเข้ามาร่วมด้วย ได้แก่ อิตาลี สหรัฐอเมริกา เซอร์เบีย จีน ญี่ปุ่น และไทย

115. การปฏิวัติรัสเซียซึ่งเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1917 มีสาเหตุสําคัญเนื่องมาจาก
(1) การขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์
(2) ความเสียหายจากการเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1
(3) ความอดอยากของประชาชน
(4) ประชาชนรังเกียจพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2
ตอบ 1 หน้า 537, 136 (H) สาเหตุของการปฏิวัติรัสเซียในปี ค.ศ. 1917 มีดังนี้
1. ความไม่พอใจต่อการปกครองที่ไร้ประสิทธิภาพของราชวงศ์โรมานอฟ
2. การขยายอิทธิพลของลัทธิสังคมนิยมและลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในรัสเซีย
3. เป็นผลกระทบมาจากการที่รัสเซียเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1
4. เกิดการจลาจลเนื่องในวันสตรีสากลภายในกรุงเปโดรกราดซึ่งเป็นเมืองหลวง ต่อมาการจลาจล ได้ลุกลามไปทั่วประเทศจนก่อให้เกิดการปฏิวัติขึ้นในที่สุด

116. ลัทธิฟาสซิสม์และลัทธินาซีเป็นศัตรูที่สําคัญของ
(1) ลัทธิคอมมิวนิสต์
(2) การปกครองในระบอบประชาธิปไตย
(3) ลัทธินิยมทหาร
(4) ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 543, 137 – 138 (H) หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลง ได้เกิดขบวนการชาตินิยม
เพื่อต่อต้านการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์และระบอบเสรีประชาธิปไตยขึ้น 2 ลัทธิ ได้แก่
1. ลัทธิฟาสซิสม์ (Fascism) ถือกําเนิดขึ้นในอิตาลีโดยเบนิโต มุสโสลินี เพื่อต่อต้านการขยายตัว
ของลัทธิคอมมิวนิสต์และโลกเสรี
2. ลัทธินาซี (Nazism) ถือกําเนิดขึ้นในเยอรมนีโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ก่อตั้งขึ้น เพื่อยุติการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในเยอรมนี โจมตีสนธิสัญญาแวร์ซายส์ที่ลงโทษเยอรมนีอย่างไม่เป็นธรรม และต่อต้านพวกยิว

117. ประเทศใดไม่ได้ถูกรุกรานโดยนาซีเยอรมันก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
(1) ออสเตรีย
(2) เชคโกสโลวะเกีย
(3) เดนมาร์ก
(4) โปแลนด์
ตอบ 3 หน้า 548 – 550, (คําบรรยาย) ก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ฮิตเลอร์ ผู้นําลัทธินาซีใน เยอรมัน ต้องการที่จะขยายดินแดนเพื่อให้เยอรมนีเป็นประเทศมหาอํานาจด้วยการเข้ายึดครอง ออสเตรียในปี ค.ศ. 1938, รวมแคว้นซูเดเทน ของเชคโกสโลวะเกียในปี ค.ศ. 1938 และเข้ายึด แค้วนเมเมลคืนจากลิทัวเนียในปีค.ศ. 1939 นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้โปแลนด์คืนฉนวนโปแลนด์ และเมืองดานซิกให้เยอรมนี จนกระทั่งกลายเป็นชนวนให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในที่สุด

118. ประเทศที่ดําเนินนโยบายผ่อนปรนต่อฮิตเลอร์ก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ
(1) โซเวียตรัสเซีย
(2) สหรัฐอเมริกา
(3) อังกฤษ
(4) อิตาลี
ตอบ 3 หน้า 545 – 546, 549, (คําบรรยาย) ก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 นายเนวิลล์ แซมเบอร์เลน นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ได้พยายามเจรจาสันติภาพกับฮิตเลอร์ คือ ข้อตกลงมิวนิค (Munich Agreement) ปี ค.ศ. 1933 อันเป็นการดําเนินการตามหลักการของนโยบายผ่อนปรน ซึ่งต่อมา ในปี ค.ศ. 1939 นโยบายนี้ต้องล้มเหลว ทั้งนี้เพราะแทนที่ฮิตเลอร์จะเข้ายึดครองเพียงแค่แคว้น ซูเดเทนของเชคโกสโลวะเกีย แต่ฮิตเลอร์ได้เข้ายึดครองเชคโกสโลวะเกียทั้งประเทศ

119. การปิดล้อมเบอร์ลินในระหว่างปี ค.ศ. 1948 – 1949 เป็นผลมาจาก
(1) การเกิดสงครามเย็น
(2) ฝ่ายสัมพันธมิตรต้องการเผด็จศึกนาซี
(3) การตามหาตัวฮิตเลอร์
(4) ถูกข้อ 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 560 การปิดล้อมเบอร์ลินในปี ค.ศ. 1948 – 1949 เป็นผลมาจากวิกฤติการณ์สงครามเย็น โดยสหภาพโซเวียตได้สั่งปิดเบอร์ลินของเยอรมนีซึ่งเป็นเขตยึดครองของตน และอนุญาตให้การขนส่งกระทําได้เฉพาะทางอากาศทั้งนี้เพราะโซเวียตต้องการขับไล่สัมพันธมิตรออกจากเบอร์ลินทั้งหมด ทําให้ฝ่ายสัมพันธมิตรนําโดยสหรัฐอเมริกาตอบโต้ด้วยการจัดตั้งองค์การนาโต้ (NATO) ขึ้น เพื่อความร่วมมือทางทหารและปิดล้อมการแพร่ขยายอํานาจของลัทธิคอมมิวนิสต์ทําให้โซเวียตซึ่งไม่พร้อมทําสงครามยอมยกเลิกการปิดล้อม ยอมให้องค์การสหประชาชาติเข้ามาช่วยจัดการเปิดการคมนาคมระหว่างเบอร์ลินตะวันตกกับเบอร์ลินตะวันออกใหม่อีกครั้งในปี ค.ศ. 1949

120. ปัจจุบันประเทศรัสเซียปกครองในระบอบ
(1) โซเวียต
(2) คอมมิวนิสต์
(3) สมาพันธรัฐเอกราชประชาธิปไตย
(4) เผด็จการทหาร
ตอบ 3 หน้า 563 – 564, (คําบรรยาย) ในช่วงปี ค.ศ. 1922 – 1991 สหภาพโซเวียตได้ตกอยู่ภายใต้ การปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์ แต่หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต จึงได้เปลี่ยนมาใช้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี หรือระบอบสมาพันธรัฐเอกราช ประชาธิปไตย และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น “สหพันธรัฐรัสเซีย” (Russian Federation) จนถึงปัจจุบัน

Advertisement