การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559
ข้อสอบกระบวนวิชา cdm2403 (mcs3151) การสื่อสารเพื่อจัดการความสัมพันธ์
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1 ข้อใดแสดงถึงแนวคิดที่ถูกต้องของมนุษยสัมพันธ์
(1) มนุษยสัมพันธ์แสดงถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนกับเพื่อน
(2) บุคคลมีลักษณะของมนุษยสัมพันธ์อยู่ในตนเอง
(3) มนุษยสัมพันธ์เป็นพรสวรรค์ของบุคคล
(4) คนเก่งย่อมมีมนุษยสัมพันธ์ที่สมบูรณ์แบบ
ตอบ 2 หน้า 1 – 3, 15, (คําบรรยาย) ลักษณะของมนุษยสัมพันธ์ มีดังนี้
1 มนุษยสัมพันธ์แสดงถึง ปฏิสัมพันธ์อันดีระหว่างตัวเรากับบุคคลอื่น
2 มนุษยสัมพันธ์เกิดจากการสร้างของบุคคล ไม่ใช่ทักษะความสามารถที่ติดตัวมาแต่กําเนิด ไม่ใช่คุณลักษณะที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ และ ไม่ใช่เป็นพรสวรรค์ของบุคคล
3 การสร้างมนุษยสัมพันธ์อาจสูญสลายไปได้ หากไม่รู้จัก พัฒนาความสัมพันธ์ให้คงอยู่กับตัวเราตลอดไป
4 มนุษยสัมพันธ์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
5 แต่ละบุคคลมีลักษณะของมนุษยสัมพันธ์อยู่ในตนเอง แต่มีไม่เหมือนกันหรือไม่เท่าเทียมกัน
6 ไม่มีใครมีมนุษยสัมพันธ์ที่สมบูรณ์แบบ ฯลฯ
2 การสร้างมนุษยสัมพันธ์ข้อใดที่สอดคล้องกับหลักการด้านสิทธิมนุษยชน
(1) ตระหนักถึงความเสมอภาคระหว่างบุคคล
(2) เคารพในความเป็นปัจเจกบุคคล
(3) การยอมรับธรรมชาติของแต่ละบุคคล
(4) สร้างความสมานฉันท์ในสังคม
ตอบ 1 หน้า 2, 29 – 30, (คําบรรยาย) ธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดพื้นฐานในการสร้าง มนุษยสัมพันธ์ประการหนึ่ง คือ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) ซึ่งมนุษย์ควร ติดต่อสัมพันธ์กันด้วยความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิด ด้านสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ ดังนั้นมนุษย์จึงควรเคารพในความเสมอภาค ระหว่างบุคคล โดยไม่แบ่งแยกฐานะชนชั้น แต่ควรยกย่องให้เกียรติและยอมรับนับถือในฐานะ ที่เป็นมนุษย์เหมือนกัน
3 จุดเริ่มต้นของการศึกษาวิชามนุษยสัมพันธ์มาจากข้อใด
(1) สถาบันครอบครัว
(2) สถาบันศาสนา
(3) โรงงานอุตสาหกรรม
(4) สถาบันการศึกษา
ตอบ 4 หน้า 14 ความเป็นมาของการศึกษาวิชามนุษยสัมพันธ์เริ่มต้นขึ้นจากสถาบันการศึกษา เมื่อศาสตราจารย์เอลตัน เมโย (Elton Mayo) บิดาแห่งวิชามนุษยสัมพันธ์ ได้ริเริ่มเปิดสอนวิชามนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) ขึ้นเป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศ สหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1936 (พ.ศ. 2479) ซึ่งอีก 10 ปีต่อมาวิชานี้ก็กลายเป็นวิชาบังคับ ในหลักสูตรการศึกษาของมหาวิทยาลัย และเป็นแขนงวิชาหรือศาสตร์ที่เด่นชัดแพร่หลายไป ทุกวงการภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
4 บุคคลที่มีมนุษยสัมพันธ์จะมีลักษณะอย่างไร
(1) แสดงพฤติกรรมได้ตามวัตถุประสงค์
(2) ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาไพเราะ
(3) สามารถจูงใจผู้อื่นให้คล้อยตามได้
(4) แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมกับกาลเทศะ
ตอบ 4 หน้า 1, (คําบรรยาย) คุณลักษณะของบุคคลที่มีมนุษยสัมพันธ์นั้นย่อมจะเข้าใจในเรื่อง การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมีทักษะในการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมที่เหมาะสมกับบุคคลและ สอดคล้องกับสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังต้องรู้จักกาลเทศะและปรับตัวให้เข้ากับ สถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
5 การอยู่ร่วมกันของมนุษย์เมื่อเริ่มรวมกลุ่มเป็นสังคมมีลักษณะอย่างไร
(1) อยู่ร่วมกันอย่างเป็นทางการ และไม่เสมอภาค
(2) อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
(3) อยู่ร่วมกันอย่างไม่เป็นทางการ และเป็นไปโดยอัตโนมัติ
(4) อยู่ร่วมกันอย่างมีปฏิสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด และเป็นกันเอง
ตอบ 3 หน้า 9 ความสัมพันธ์ของมนุษย์ในยุคที่เริ่มอยู่รวมกันเป็นกลุ่มสังคมนั้น จะมีลักษณะของการอยู่รวมกันอย่างไม่เป็นทางการ และเป็นไปโดยอัตโนมัติ แต่เมื่อมนุษย์อยู่รวมกันเป็นสังคม ใหญ่ขึ้น สังคมมนุษย์ได้แตกเป็นกลุ่มเป็นสถาบันย่อย ๆ ตามความจําเป็น ทําให้ลักษณะความสัมพันธ์ในการอยู่รวมกันเป็นไปในรูปแบบที่เป็นทางการขึ้น แต่ก็เป็นความสัมพันธ์ ที่ไม่เสมอภาค เพราะมีการเอารัดเอาเปรียบกัน
6 ข้อใดแสดงถึงความหมายของมนุษยสัมพันธ์
(1) การสื่อสารของมนุษย์
(2) ธรรมชาติของมนุษย์
(3) ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์
(4) ความต้องการของมนุษย์
ตอบ 3 หน้า 1 – 4, 23 นักวิชาการได้ให้ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) ไว้มากมาย แต่ความหมายที่สั้นและตรงที่สุดเห็นจะได้แก่ความหมายที่ว่า การติดต่อสัมพันธ์ ระหว่างผู้คน ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างมนุษย์ หรือทักษะในการปรับตัว เพื่อให้มนุษย์สามารถเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
7 การประกอบอาชีพในยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรมมีลักษณะอย่างไร
(1) ระบบนายทุน
(2) ระบบเจ้าขุนมูลนาย
(3) ระบบเครือญาติ
(4) ระบบนายจ้างลูกจ้าง
ตอบ 3 หน้า 10, (คําบรรยาย) การประกอบอาชีพในยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรมจะมีลักษณะเป็น ระบบเครือญาติ (Clan) คือ มนุษย์แต่ละคนแต่ละกลุ่มเล็ก ๆ ในระดับครอบครัวจะทํางานอยู่ที่บ้าน ในลักษณะครบวงจร ไม่มีการแบ่งงานกันทํา ทุกคนทุกครอบครัวต้องทําเองทุกอย่าง ซึ่งส่วนใหญ่ จะมีอาชีพเป็นชาวไร่ชาวนาหรือเกษตรกร หรือเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพด้านหัตถกรรม (Hand Craft)
ข้อ 8. – 11. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) โรเบิร์ต โอเวน
(2) เอลตัน เมโย
(3) แอนดรู ยูรี
(4) เฮ็นรี่ แกนต์
8 ใครคือนายจ้างที่ริเริ่มสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลแก่คนงาน
ตอบ 3 หน้า 12 แอนดรู ยูรี (Andrew Ure) ได้เขียนบทความที่ให้ความสําคัญแก่ “มนุษย์” และเป็น ผู้ริเริ่มการให้สวัสดิการแก่คนงาน โดยเฉพาะในด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล ซึ่งเขาได้ เสนอให้ปรับปรุงการจัดสวัสดิการต่าง ๆ ดังนี้
1 จัดให้มีชั่วโมงพักระหว่างการทํางาน
2 ปรับสถานที่ทํางานให้ถูกสุขลักษณะ
3 เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย คนงานต้องได้รับ การดูแลรักษาพยาบาล และได้รับค่าจ้างระหว่างหยุดพักรักษาตัวด้วย
4 ส่งเสริมให้คนงานมีสุขภาพดี โดยจัดสนามและอุปกรณ์การออกกําลังกายแก่คนงาน
9 ใครคือนายจ้างที่ต่อต้านการใช้แรงงานเด็ก
ตอบ 1 หน้า 11 – 12, (คําบรรยาย) โรเบิร์ต โอเวน (Robert Owen) เป็นเจ้าของกิจการชาวเวลส์ คนแรกตามประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมของอังกฤษที่มีความคิดริเริ่มในการเอาใจใส่ความเป็นอยู่ ของคนงาน โดยยอมรับว่าต้องให้ความสําคัญกับจิตใจและความต้องการของลูกจ้างคนงาน ซึ่งเขาได้พยายามปรับปรุงสวัสดิการต่าง ๆ ของลูกจ้าง เช่น ปรับปรุงสถานที่ทํางานและสิ่งแวดล้อม ให้สะอาด ปรับปรุงสภาพในการทํางานให้ดีกว่าที่เคยเป็นอยู่ และเป็นนายจ้างคนแรกที่ต่อต้าน การใช้แรงงานเด็ก ฯลฯ ดังนั้นเขาจึงเป็นผู้จุดประกายและเริ่มต้นแนวคิดการสร้างสัมพันธภาพ ระหว่างลูกจ้างกับนายจ้างเป็นคนแรก จนได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการบริหารงานบุคคล
10 ใครคือผู้ริเริ่มเปิดสอนวิชามนุษยสัมพันธ์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ
11 ใครคือนายจ้างที่จูงใจให้คนงานเพิ่มประสิทธิภาพด้วยเงินรางวัลพิเศษ
ตอบ 4 หน้า 13 ในปี ค.ศ. 1912 เฮนรี่ แอล. แกนต์ (Henry L. Gantt) เป็นวิศวกรหนุ่มที่ได้คิดหา วิธีจูงใจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานของคนงาน โดยเขาได้ขยายแนวคิดของเฟเดอริก ดับบลิว. เทย์เลอร์ (Federick W. Taylor) มาผสมผสานกับของตัวเอง เช่น สนับสนุนให้เกิด การทํางานเป็นทีม โดยทดลองเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานของคนงานด้วยการให้เงินโบนัส หรือเงินรางวัลพิเศษ เพื่อเป็นแรงจูงใจแก่คนงานที่สามารถทํางานเสร็จก่อนเวลาที่กําหนด
12 ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่ตั้งใจศึกษาในกรณีฮอธอร์น
(1) การรวมกลุ่มคนงาน
(2) ระยะเวลาหยุดพักในการทํางาน
(3) แสงสว่างในที่ทํางาน
(4) ทัศนคติของลูกจ้างที่มีต่อนายจ้าง
ตอบ 1 หน้า 13 – 14, (คําบรรยาย) ศาสตราจารย์เอลตัน เมโย (Elton Mayo) เป็นหัวหน้าคณะผู้ที่ศึกษากรณีฮอธอร์น (Hawthorne Studies) คือ การศึกษาปัจจัยแห่งประสิทธิภาพของการทํางาน ในโรงงานแห่งหนึ่ง โดยศึกษาปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ ระยะเวลาหยุดพักในการทํางาน และแสงสว่างหรืออุณหภูมิในที่ทํางาน รวมทั้งศึกษาปัจจัยด้านทัศนคติของลูกจ้าง ที่มีต่อนายจ้าง (ส่วนปัจจัยที่ไม่ได้ตั้งใจศึกษา คือ การรวมกลุ่มของคนงานที่ไม่เป็นทางการ แต่ปัจจัยดังกล่าวดึงดูดความสนใจของคณะผู้ศึกษาวิจัย จึงทําการศึกษาต่อ)
13 ข้อใดเป็นผลของการศึกษาฮอธอร์น
(1) ยอมรับการรวมกลุ่มที่ไม่เป็นทางการของคนงาน
(2) ปรับสภาพแวดล้อมในการทํางานให้ถูกสุขลักษณะ
(3) เพิ่มสวัสดิการและอัตราค่าจ้างแก่คนงาน
(4) ยอมรับว่าคนงานเป็นปัจจัยสําคัญในการผลิตที่มีความแตกต่างจากปัจจัยอื่น ๆ
ตอบ 4 หน้า 14 สิ่งที่พบจากผลของการศึกษากรณีฮอธอร์น ทําให้รู้ว่าต้องให้ความสําคัญที่จิตใจ และความต้องการของคนงาน โดยให้มองคนงานว่าเป็นปัจจัยสําคัญในการผลิตที่มีความแตกต่าง ไปจากปัจจัยอื่น ๆ หากความต้องการ ความรู้สึกนึกคิด และแรงจูงใจไม่ได้รับการสนองตอบ หรือปล่อยให้เกิดความขัดแย้งขึ้นก็จะก่อให้เกิดปัญหาที่สลับซับซ้อนตามมา
14 สายใยรักในครอบครัว แสดงถึงปัจจัยใดที่ทําให้มีความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์
(1) สภาพแวดล้อม
(2) ประสบการณ์
(3) พันธุกรรม
(4) การอบรมสั่งสอน
ตอบ 1 หน้า 15, (คําบรรยาย) ปัจจัยที่ทําให้บุคคลมีความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์ ได้แก่
1 สภาพแวดล้อม ถือเป็นปัจจัยเริ่มแรก เช่น สายใยรักในครอบครัว หรือความรักความเอาใจใส่ ในครอบครัว การเลี้ยงดูในวัยเด็ก ฯลฯ
2 การอบรมสั่งสอน เช่น การรับฟังความรู้หรือข้อแนะนําเกี่ยวกับพฤติกรรมการแสดงออก ที่เหมาะสมจากพ่อแม่ ครู และญาติพี่น้อง ฯลฯ
3 ประสบการณ์ที่ได้รับ เช่น ปฏิกิริยาตอบกลับ ปฏิกิริยาป้อนกลับ หรือปฏิกิริยาโต้ตอบ (Feedback) จากคู่สื่อสารหรือคนรอบตัว ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคู่สื่อสาร และคําวิพากษ์วิจารณ์ จากบุคคลอื่น
15 ความเชื่อของบุคคล นําไปสู่อุปสรรคใดในการสร้างมนุษยสัมพันธ์
(1) ความแตกต่างด้านประสบการณ์
(2) ความแตกต่างด้านภูมิหลัง
(3) ความแตกต่างด้านความคิดเห็น
(4) ความแตกต่างด้านผลประโยชน์
ตอบ 3 หน้า 16, 79, (คําบรรยาย) สาเหตุที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น ได้แก่
1 ความแตกต่างด้านประสบการณ์และภูมิหลัง เช่น อายุ เพศ อาชีพ การศึกษา สถานภาพ ทางเศรษฐกิจและสังคม ฯลฯ
2 ความแตกต่างด้านความคิดเห็น เป็นความแตกต่างของสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาของบุคคล ในลักษณะที่เป็นนามธรรม เช่น ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม และรสนิยม ฯลฯ ซึ่งหาก ไม่ยอมรับกันแล้ว ความเข้าใจระหว่างกันก็จะเกิดขึ้นได้ยาก
3 ความแตกต่างด้านผลประโยชน์ คือ ผลประโยชน์ขัดกัน ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งในรูปของสิ่งของ วัตถุ เงินทอง ชื่อเสียง ลาภ ยศ ฯลฯ มักทําให้เกิดความไม่พอใจและความแตกแยกได้ง่าย เพราะธรรมชาติของมนุษย์จะไม่ยอมเสียเปรียบผู้อื่น
ข้อ 16. – 18. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) การรู้ตนเอง
(2) การจูงใจ
(3) การเปิดเผยตนเอง
(4) การติดต่อสื่อสาร
16 องค์ประกอบข้อใดกระตุ้นให้บุคคลมีความกระตือรือร้น และแสดงออกซึ่งพฤติกรรม
ตอบ 2 หน้า 18, (คําบรรยาย) การจูงใจ (Motivation) ถือเป็นคุณสมบัติที่นักมนุษยสัมพันธ์จึงสร้าง ให้เกิดขึ้นกับตนเอง เพราะมีส่วนสําคัญมากในการกระตุ้นให้แต่ละบุคคลมีความกระตือรือร้น และแสดงออกซึ่งพฤติกรรมต่าง ๆ นอกจากนี้การจูงใจยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางาน และมีผลต่อความสําเร็จขององค์กร ดังนั้นสมาชิกในสังคมจึงจําเป็นต้องสร้างแรงจูงใจซึ่งกันและกัน เพื่อกระตุ้นให้มีทัศนคติตรงกัน มีจุดมุ่งหมายร่วมกัน มีระเบียบ และมีความรับผิดชอบ
17 องค์ประกอบข้อใดแสดงถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์
ตอบ 4 หน้า 17 การติดต่อสื่อสาร (Communication) มีความสําคัญอย่างยิ่งในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ จนมีผู้เปรียบว่าการติดต่อสื่อสารเป็นหัวใจของมนุษยสัมพันธ์ เพราะการสื่อสาร คือ สิ่งที่แสดงถึง ความสัมพันธ์ของมนุษย์ (Communication is the human connection) เป็นเครื่องมือ ที่ทําให้เข้าใจตนเองและผู้อื่น เนื่องจากการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตัวเรากับบุคคลอื่น ต้องกระทําผ่านการติดต่อสื่อสาร
18 องค์ประกอบข้อใดเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
ตอบ 1 หน้า 17 การรู้ตนเอง (Self Awareness) เป็นการรู้จักความเป็นตัวตนของตนเอง ซึ่งเป็น จุดเริ่มต้นในการพัฒนาความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และช่วยให้บุคคลได้พัฒนาให้สามารถเข้าใจ ตนเองได้ดียิ่งขึ้น เพราะการรู้ตนเองทําให้มองเห็นว่าตัวเราเป็นอย่างไร ทั้งนี้ผลจากการรู้ตนเอง จะนําไปสู่ทัศนคติและพฤติกรรมการแสดงออก รวมทั้งยังมีผลต่อการรู้และเข้าใจบุคคลอื่นด้วย
19 ธรรมชาติของมนุษย์ หมายถึงข้อใด
(1) นิสัย
(2) พฤติกรรม
(3) ความต้องการ
(4) ลักษณะโดยรวม
ตอบ 4 หน้า 23 – 25, (คําบรรยาย) ธรรมชาติของมนุษย์ หมายถึง ลักษณะโดยรวมหรือลักษณะทั่วไป ของมนุษย์ที่ติดตัวมา ซึ่งมนุษย์ทุกคนมี ทุกคนต้องการ ทุกคนคิดและมีความรู้สึกเหมือน ๆ กัน อันเป็นปกติวิสัยของมนุษย์ แต่ในความเหมือนกันนั้นก็จะมีความแตกต่างกันซ่อนอยู่ด้วย ดังนั้น การศึกษาธรรมชาติของมนุษย์จึงทําให้เกิดการยอมรับถึงความแตกต่างกันของมนุษย์ ซึ่งถือเป็นพื้นฐานสําคัญที่จะทําให้การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีนั้นง่ายขึ้น
20 ข้อใดแสดงถึงประโยชน์ในการศึกษาธรรมชาติของมนุษย์
(1) รู้จักและเข้าใจตนเอง
(2) รู้จักและเข้าใจบุคคลอื่น
(3) ยอมรับตนเองและบุคคลอื่น
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4หน้า 24 การศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติของมนุษย์มีประโยชน์ต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์ ดังนี้
1 ทําให้รู้จักและเข้าใจตนเองในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่ง
2 ทําให้รู้จักและเข้าใจบุคคลอื่น ในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่งเช่นกัน
3 เกิดการยอมรับตนเองและบุคคลอื่นตามธรรมชาติของแต่ละฝ่าย
4 ทําให้รู้จักวิธีการสร้างความสัมพันธ์ที่เหมาะสมตามหลักมนุษยสัมพันธ์
21 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะตามธรรมชาติของมนุษย์
(1) ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง
(2) ไม่ชอบการบังคับ
(3) ไม่ชอบซ้ําเติม
(4) ชอบความสะดวกสบาย
ตอบ 3 หน้า 23 – 24 ลักษณะทั่วไปตามธรรมชาติของมนุษย์ที่คล้ายคลึงกัน มีดังนี้
1 อิจฉาริษยา ไม่ชอบเห็นคนอื่นดีกว่าตน
2 มีสัญชาตญาณแห่งการทําลาย
3 ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง
4 มีความต้องการทางเพศ
5 หวาดกลัวภัยอันตรายต่าง ๆ
6 กลัวความเจ็บปวด
7 โหดร้าย ชอบซ้ำเติม
8 ชอบความสะดวกสบาย มักง่าย ไม่ชอบระเบียบและการถูกบังคับ
9 ชอบความตื่นเต้น ชอบการผจญภัย ฯลฯ
ข้อ 22 – 24. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) เก้าจื๊อ
(2) ขงจื๊อ
(3) ซุ่นจื้อ
(4) เม่งจื๊อ
22 นักปรัชญาชาวจีนท่านใดเชื่อว่าการปรับปรุงตนเองเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ
ตอบ 2 หน้า 32, (คําบรรยาย) ขงจื้อ ได้กล่าววาทะที่ว่า “เราไม่สามารถห้ามนกบินข้ามหัวเราได้ แต่เราสามารถทําให้นกไม่ขี้รดหัวเราได้ ด้วยการหาหมวกมาใส่” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวคิด ด้านมนุษยสัมพันธ์ที่ให้ความสําคัญกับการยอมรับธรรมชาติของผู้อื่น คือ ถ้าเราต้องการจะอยู่ ร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุขแท้จริงแล้ว ก็สมควรแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ถูกต้อง โดยปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่ตนเอง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่สาเหตุหรือต้นเหตุ ดีกว่าที่จะไปแก้ไข หรือพยายามเปลี่ยนแปลงบุคคลอื่นซึ่งเป็นเรื่องยาก และเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุมากกว่า
23 นักปรัชญาชาวจีนท่านใดเชื่อว่ามนุษย์มีลักษณะของมนุษยสัมพันธ์อยู่ในตนเอง
ตอบ 4 หน้า 26, (คําบรรยาย) เม่งจื้อ เชื่อว่า ธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนมีความดีติดตัวมาโดยกําเนิด ซึ่งได้แก่
1 มีความรู้สึกเมตตากรุณา หมายถึง ความมีมนุษยธรรม
2. มีความรู้สึกละอายและรังเกียจต่อบาป หมายถึง การยึดมั่นในหลักศีลธรรมความดีงาม
3 มีความรู้สึกอ่อนน้อมถ่อมตน หมายถึง การปฏิบัติตนอันเหมาะสม ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะ ที่แสดงถึงการมีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์อยู่ในตนเอง
4 มีความรู้สึกในสิ่งที่ถูกและผิด หมายถึง ความมีสติปัญญารู้จักแยกแยะผิดถูก ไม่เห็นกงจักรเป็นดอกบัว
24 นักปรัชญาชาวจีนท่านใดเปรียบธรรมชาติของมนุษย์กับกระแสน้ำที่ไม่รู้จักทิศทาง
ตอบ 1 หน้า 26, 28, (คําบรรยาย) เก้าอื้อ มองว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นไม่ดีและไม่ชั่ว เปรียบเหมือน กับกระแสน้ำที่รวนเร (ไม่รู้จักทิศทาง) โดยถ้าเปิดทางทิศตะวันออกน้ําก็จะไหลไปทางทิศตะวันออก แต่ถ้าเปิดทางทิศตะวันตกน้ำก็จะไหลไปทางทิศตะวันตก ซึ่งจะสอดคล้องกับความเชื่อของ นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมที่ว่า มนุษย์เกิดมาไม่ดีและไม่เลว เมื่อเกิดมาแล้วจะดีหรือไม่ดี ก็ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม มนุษย์จึงเป็นผลิตผลของสิ่งแวดล้อม
25 นักจิตวิทยาท่านใดเชื่อว่าธรรมชาติของมนุษย์นั้นป่าเถื่อนและเห็นแก่ตัว
(1) จอห์น ล็อค
(2) คาร์ล โรเจอร์
(3) โทมัส ฮอบส์
(4) สกินเนอร์
ตอบ 3 หน้า 28 โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobb) ได้แสดงแนวคิดเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นป่าเถื่อน เห็นแก่ตัว โอ้อวดตน ยื้อแย่งแข่งดีกันโดยไม่มีขอบเขต เอาแต่ใจ หยาบคาย ต่ำช้า และอายุสั้น แต่ถ้าพบกับความทุกข์ยากแล้ว มนุษย์จึงจะ ลดความเห็นแก่ตัวลง และสังคมจะช่วยให้เขาดีขึ้น
26 ตามแนวคิดของเม่งจื้อ ธรรมชาติของมนุษย์ข้อใดที่ทําให้มนุษย์ไม่เห็นกงจักรเป็นดอกบัว
(1) มนุษย์มีความอ่อนน้อมถ่อมตน
(2) มนุษย์มีสติปัญญา
(3) มนุษย์ยึดมั่นในหลักศีลธรรม
(4) มนุษย์ละอายรังเกียจต่อบาป
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ
ข้อ 27. – 28. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) กลุ่มปัญญานิยม
(2) กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(3) กลุ่มมนุษยนิยม
(4) กลุ่มจิตวิเคราะห์
27 ธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดของมาสโลว์ สอดคล้องกับนักจิตวิทยากลุ่มใด
ตอบ 3 หน้า 28, (คําบรรยาย) กลุ่มมนุษยนิยม ได้แก่ โรเจอร์ (Roger) และมาสโลว์ (Maslow) เชื่อว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นดีได้ด้วยตนเอง หรือมนุษย์ดีโดยกําเนิด ซึ่งพฤติกรรมของมนุษย์เป็น ผลิตผลมาจากการตอบสนองความต้องการ (Needs) พื้นฐานของตนเอง และความต้องการ ของมนุษย์นี่เองที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมต่าง ๆ ขึ้นมา
28 ธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดของเก้าอื้อ สอดคล้องกับนักจิตวิทยากลุ่มใด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 24 ประกอบ
ข้อ 29 – 31. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) บุคคลย่อมมีความแตกต่าง
(2) การศึกษาบุคคลในลักษณะผลรวม
(3) พฤติกรรมของบุคคลย่อมมีสาเหตุ
(4) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
29 การให้ความสําคัญกับทุกองค์ประกอบในตัวบุคคล สอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์ข้อใด
ตอบ 2 หน้า 29, (คําบรรยาย) ธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดพื้นฐานในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ ประการหนึ่ง คือ การศึกษาบุคคลในลักษณะผลรวม (A Whole Person) จึงไม่ควรตัดสินบุคคล แค่ลักษณะใดลักษณะหนึ่ง โดยต้องดูทั้งหมดในฐานะที่เป็นบุคคล ๆ หนึ่ง และให้ความสําคัญ กับทุกองค์ประกอบในตัวบุคคล
30 การยึดแนวทางแก้ไขตนเองดีกว่าไปปรับเปลี่ยนผู้อื่น สอดคล้องกับแนวคิดข้อใด
ตอบ 1 หน้า 29, (คําบรรยาย) ธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดพื้นฐานในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ ประการหนึ่ง คือ บุคคลย่อมมีความแตกต่าง (Individual Difference) ซึ่งบุคคลแต่ละคน ล้วนมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว จึงไม่ควรพยายามเปลี่ยนแปลงคนอื่นให้ต้องคิดหรือทําทุกอย่าง เหมือนตนเอง แต่ควรยอมรับและเคารพในความเป็นปัจเจกบุคคล หรือยอมรับธรรมชาติของ แต่ละบุคคล (ทั้งของตนเองและผู้อื่น) โดยแนวคิดนี้จะสอดคล้องกับขงจื้อที่เน้นการยอมรับ ที่จะปรับเปลี่ยนแก้ไขตนเองดีกว่าไปปรับเปลี่ยนผู้อื่น (ดูคําอธิบายข้อ 22 ประกอบ)
31 แนวคิดข้อใดนํามาใช้จูงใจบุคลากรให้เพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานได้
ตอบ 3 หน้า 29 – 30, (คําบรรยาย) ธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดพื้นฐานในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ ประการหนึ่ง คือ พฤติกรรมของบุคคลย่อมมีสาเหตุ (Cause Behavior) ดังนั้นมนุษย์จึงต้องการ แรงจูงใจ (Motivation) อันเป็นพื้นฐานไปสู่การจูงใจบุคคลอื่นให้คล้อยตาม หรือจูงใจบุคลากร ให้เพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานได้
ข้อ 32 – 33. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี X
(2) ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y
(3) ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Z
(4) ธรรมชาติของมนุษย์ในด้านมานุษยวิทยา
32 แนวคิดใดเชื่อว่ามนุษย์มีเหตุผลของแต่ละบุคคลเป็นแรงจูงใจในการทํางาน
ตอบ 3 หน้า 31 ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Z ของเรดดิน เชื่อว่า มนุษย์มีความซับซ้อน แต่จะมีลักษณะทั่วไป คือ
1 ตั้งใจทํางานที่ตนรับผิดชอบเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย
2 มีสติปัญญา มีวุฒิภาวะ และมีเหตุผลของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นแรงจูงใจในการทํางาน
3 ยอมรับพฤติกรรมความดีและไม่ดี อันเกิดจากการกระทําของตนเอง สถานการณ์ และสิ่งแวดล้อม
4 มนุษย์ต้องติดต่อเกี่ยวข้องและพึ่งพาอาศัยกัน โดยได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม
33 การทํางานในลักษณะ “เช้าชามเย็นชาม” สอดคล้องกับแนวคิดข้อใด
ตอบ 1 หน้า 30 (คําบรรยาย) ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี X มีลักษณะทั่วไป คือ
1 มีนิสัยไม่ชอบทํางาน ถ้ามีโอกาสก็จะหลบหลีกหรือหลีกเลี่ยงการทํางานทันที หรือมักจะ ทํางานแบบ “เช้าชามเย็นชาม”
2 เพราะมีนิสัยไม่ชอบทํางาน จึงต้องใช้แรงเสริมทางลบเพื่อจูงใจให้ทํางาน คือ ใช้การบังคับ ควบคุม และมีบทลงโทษ เพื่อให้ทํางานจนบรรลุผลสําเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์การ
3 ชอบทํางานตามนายสั่ง ขาดความรับผิดชอบ และขาดความกระตือรือร้นในการปฏิบัติ หน้าที่การงาน แต่ต้องการความมั่นคงและปลอดภัยเหนือสิ่งอื่นใด เช่น บุคลากรที่ต้องการ ผลตอบแทนสูงกว่า การลงแรงของตน เป็นต้น
ข้อ 34 – 38 ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) Wants
(2) Survival Needs
(3) Primary Needs
(4) Secondary Needs.
34 การสร้างมนุษยสัมพันธ์ แสดงถึงความต้องการข้อใด
ตอบ 4 หน้า 34 – 35, 41, (คําบรรยาย) ความต้องการด้านจิตวิทยาหรือสังคม (Psychological or Social Needs) หรือความต้องการขั้นรอง (Secondary Needs) เป็นความต้องการทางด้าน จิตและวิญญาณ ซึ่งเกิดขึ้นจากการพัฒนาทางด้านจิตใจจนถึงวุฒิภาวะระดับหนึ่ง เช่น ต้องการ ชื่อเสียงเกียรติยศ, ต้องการการยอมรับจากสังคม, ต้องการสร้างมนุษยสัมพันธ์เพื่อให้อยู่ร่วมกับ บุคคลอื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น ฯลฯ
35 แรงจูงใจที่ทําให้บุคคลทํางานเพื่อความอยู่รอด แสดงถึงความต้องการข้อใด
ตอบ 2 หน้า 34 การอยู่รอด (Survival Needs) เป็นแรงจูงใจสําคัญอันหนึ่งที่ทําให้บุคคลทํางาน ซึ่งการอยู่รอดมิใช่ความปรารถนาของมนุษย์ แต่เป็นพฤติกรรมที่ทําเพื่อความอยู่รอดของชีวิต เช่น เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ข้าวยากหมากแพง โดยแท้จริงแล้วบุคคลบางคนไม่ได้ต้องการปลูกผัก และพืชสวนครัว แต่เนื่องจากว่าเงินที่หามาได้จากการทํางานอย่างอื่นไม่เพียงพอที่จะหาซื้อ ก็เลยต้องทําเพื่อการอยู่รอด เพราะถ้าไม่ทําก็อาจไม่มีจะกิน
36 การดํารงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ เป็นผลมาจากความต้องการข้อใด
ตอบ 3 หน้า 34 – 35, 38 ความต้องการทางด้านสรีระหรือร่างกาย (Physiological Needs) หรือ บางทีเรียกว่า ความต้องการขั้นต้น (Primary Needs) เป็นความต้องการที่จําเป็นขั้นพื้นฐาน ของมนุษย์ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการทางกายหรือทางวัตถุตามแนวคิดของศาสนาพุทธ คือ ความต้องการปัจจัยสี่ของมนุษย์ อันได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค นอกจากนั้นความต้องการในขั้นนี้ยังรวมถึงความต้องการทางเพศเพื่อการดํารงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์สืบต่อไป การขับถ่าย และการนอนหลับพักผ่อนเพื่อบรรเทาความเหน็ดเหนื่อยด้วย
37 ความต้องการข้อใดนําไปสู่ความฟุ่มเฟือย
ตอบ 1 หน้า 34, (คําบรรยาย) ความปรารถนา (Wants) เป็นความต้องการที่ไม่ใช่ความจําเป็นขั้นต้น สําหรับมนุษย์ เพราะเป็นสิ่งที่เราต้องการจะมี แต่ถ้าไม่มีก็ไม่ตาย จึงเป็นสิ่งที่ทําให้มนุษย์ เกิดกิเลสตัณหา และใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย เช่น ซื้อรถยนต์ เสื้อผ้าสวย ๆ หรือ บ้านสวย ๆ ฯลฯ แต่ความปรารถนาก็เป็นแรงจูงใจสําคัญที่ทําให้บุคคลทํางาน และอาจจะ ทํางานหนักกว่าคนอื่นเพราะความปรารถนาในสิ่งเหล่านี้ ดังนั้นหากมนุษย์ใช้ชีวิตตามแนวคิด ความพอเพียงก็จะช่วยลดความต้องการขั้นนี้ได้
38 ความต้องการข้อใดมีลักษณะที่ไม่ชัดเจน
ตอบ 4 หน้า 35, (ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ) ลักษณะของความต้องการขั้นรอง (Secondary Needs) สรุปได้ดังนี้
1 มักเกิดจากประสบการณ์ของแต่ละบุคคล
2 แต่ละบุคคลจะมีความต้องการและความเข้มข้นไม่เท่ากัน
3 เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ แม้แต่ในบุคคลคนเดียวกัน กลุ่มสังคมมากกว่าอยู่คนเดียว ความต้องการในขั้นนี้ไว้
4 มักเกิดขึ้นเมื่อบุคคลอยู่ใน
5 บุคคลมักไม่แสดงออกอย่างเปิดเผยและซ่อนเร้น
6 บางครั้งมีลักษณะเป็นนามธรรมและไม่ชัดเจน
ไม่เหมือนความต้องการด้านร่างกาย
7 มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์
39 การได้อยู่กับสิ่งที่ไม่รักก็เป็นทุกข์ แสดงถึงความต้องการข้อใด
(1) กามตัณหา
(2) ภวตัณหา
(3) วิภวตัณหา
(4) อิฏฐารมณ์
ตอบ 3 หน้า 36 วิภวตัณหา แปลว่า อยากให้ไป ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากกามตัณหาและภวตัณหา กล่าวคือ เมื่อเราอยากได้สิ่งหนึ่งสิ่งใด (กามตัณหา) และได้มาแล้ว เราก็ยึดถือหวงแหนไว้ เพราะอยากให้สิ่งนั้นคงอยู่ (ภวตัณหา) แต่ต่อมาเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายในสิ่งนั้น จึงอยากให้ สิ่งนั้นพ้นหูพ้นตาไปเสีย (วิภวตัณหา) ไม่ว่าจะโดยวิธีใดก็ตาม ซึ่งตรงกับคํากล่าวที่ว่า “การได้อยู่กับสิ่งที่ไม่รักก็เป็นทุกข์”
ข้อ 40. – 45. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) Physiological Needs
(2) Belonging and Social Activity Needs
(3) Esteem and Status Needs
(4) Safety and Security Needs
40 นโยบายการแก้หนี้นอกระบบของประชาชน เป็นการตอบสนองความต้องการข้อใด
ตอบ 4 หน้า 38, (คําบรรยาย) ความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง (Safety and Security Needs) ในด้านต่าง ๆ มีดังนี้
1 ด้านอาชีพการงาน ได้แก่ นโยบายการปรับเงินเดือนผู้ที่จบปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท นโยบายปรับเงินเดือนข้าราชการเท่าเอกชน ฯลฯ
2 ด้านร่างกาย โดยไม่ถูกทําร้ายหรือถูกคุกคาม ได้แก่ การทําประกันชีวิต การรณรงค์เรื่อง โทรไม่ขับ/เมาไม่ขับ การให้ความคุ้มครองประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ฯลฯ
3 ด้านที่อยู่อาศัย ได้แก่ โครงการฝากบ้านไว้กับตํารวจ โครงการหอพักติดดาว/เพื่อนบ้าน เตือนภัย การเตรียมกระสอบทรายเพื่อป้องกันน้ําท่วมบ้าน การติดตั้งกล้องวงจรปิด ฯลฯ
4 ด้านชีวิตความเป็นอยู่และทรัพย์สิน ได้แก่ นโยบายแก้หนี้นอกระบบ นโยบายเพิ่มรายได้ ให้ประชาชน นโยบายเรียนฟรี 15 ปี นโยบายประชานิยมของพรรคการเมืองต่าง ๆ ฯลฯ
41 การเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย เป็นการตอบสนองความต้องการข้อใด
ตอบ 2
หน้า 38 – 39, (คําบรรยาย) ความต้องการความรักและร่วมกิจกรรมในสังคม (Belonging and Social Activity Needs) คือ ความต้องการแสดงตัวและมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคม โดยจะเกิดขึ้นในลักษณะของการยอมปฏิบัติตนตามกรอบกติกามารยาทของสังคม หรือการมี พฤติกรรมตามที่สังคมกําหนด ได้แก่ การเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย จารีตประเพณี และ ค่านิยม เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมและให้สังคมยอมรับเข้าเป็นสมาชิกหรือเป็นหมู่ เป็นพวกเดียวกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ทั้งนี้การสร้างมนุษยสัมพันธ์ของบุคคลก็เป็นการตอบสนองความต้องการในลําดับขั้นนี้
42 นักเรียนสาธิตรามคําแหงคว้าแชมป์การประกวดดนตรีแจ๊สระดับประเทศ ทําให้ได้รับการตอบสนองข้อใด ตอบ 3 หน้า 38 – 39, (คําบรรยาย) ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียงและตําแหน่งหน้าที่ (Esteem and Status Needs) คือ ความต้องการให้สังคมยกย่องนับถือและยอมรับตนว่าเป็นคนสําคัญของกลุ่ม สมาชิก ซึ่งบุคคลนั้นต้องมีองค์ประกอบสําคัญ ได้แก่ การมีความรู้ความสามารถจนประสบผลสําเร็จ ในกิจการงาน มีตําแหน่งหน้าที่การงานสูง มีฐานะมั่นคง มีความเชื่อมั่นหรือมั่นใจในศักยภาพ ของตนเอง ฯลฯ ดังนั้นมนุษย์จึงพยายามพัฒนาศักยภาพของตนเองให้เหนือกว่าคนอื่น โดยการ สร้างสมความรู้ความสามารถ ทําตนให้เป็นที่รู้จัก และแก่งแย่งแข่งขันกันเพื่อให้ได้รับความต้องการ ในขั้นนี้ เช่น การได้รับรางวัลจากการประกวด จากการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ เป็นต้น
43 โครงการเพื่อนบ้านเตือนภัยของกองบัญชาการตํารวจนครบาล เป็นการตอบสนองความต้องการข้อใด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 40 ประกอบ
44 นโยบายประชานิยมของพรรคการเมือง เน้นตอบสนองความต้องการของประชาชนข้อใด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 40 ประกอบ
45 คํากล่าวที่ว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม ทําให้ต้องได้รับการตอบสนองความต้องการข้อใด
ตอบ 2 หน้า 1, (ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ) อริสโตเติล กล่าวว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม (Man is by Nature a Social Animal) กล่าวคือ มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเป็นชุมชนและสังคม ซึ่งการอยู่ร่วมกันของมนุษย์นั้นไม่ใช่ต่างคนต่างอยู่ แต่ทุกคนจะต้องอยู่ร่วมกันในลักษณะที่ ต้องมีการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งเรียกว่า การมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) หรือการสร้างมนุษยสัมพันธ์
46 ศาสนาพุทธเปรียบบุคคลที่เรียนรู้ได้เร็วกับดอกบัวข้อใด
(1) ดอกบัวที่โผล่พ้นน้ำ
(2) ดอกบัวที่กําลังโผล่พ้นน้ำ
(3) ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ
(4) ดอกบัวที่อยู่ในโคลนตม
ตอบ 1 หน้า 43 – 44, (คําบรรยาย) พุทธศาสนาได้เปรียบเทียบสติปัญญาที่แตกต่างกันของมนุษย์
ไว้กับดอกบัว 4 เหล่า คือ
1 ดอกบัวที่โผล่พ้นน้พร้อมที่จะบาน เปรียบได้กับคนที่มีความเฉลียวฉลาด สามารถเข้าใจ และเรียนรู้ได้เร็วในสิ่งที่รู้เห็นหรือการอบรมสั่งสอน และปฏิบัติตามสิ่งที่ถูกต้อง
2 ดอกบัวที่กําลังโผล่พ้นน้ำ เปรียบได้กับคนที่ฉลาดปานกลาง
3 ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ เปรียบได้กับคนที่ฉลาดน้อย
4 ดอกบัวที่อยู่ในโคลนตม เปรียบได้กับคนที่มีสติปัญญาโง่ทึบ
47 การได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้มนุษย์แตกต่างกัน กรณีนี้เป็นความแตกต่าง
จากสาเหตุใด
(1) การศึกษา
(2) ภาษา
(3) สภาพแวดล้อม
(4) อิทธิพลของกลุ่ม
ตอบ 3 หน้า 44 สาเหตุที่ทําให้มนุษย์แตกต่างกันประการหนึ่ง ได้แก่ สิ่งแวดล้อม คือ การได้รับการ ถ่ายทอดจากสิ่งแวดล้อมที่อยู่ใกล้ชิดและจําเจเป็นเวลานาน เช่น เพื่อนบ้าน เพื่อนที่โรงเรียน แบบอย่างที่พบเห็นจําเจจากภาพยนตร์และโทรทัศน์, การได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชน เพียงสื่อใดสื่อหนึ่งหรือช่องใดช่องหนึ่ง เป็นต้น
ข้อ 48 – 50 ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) โครงสร้างแบบหลวม ๆ
(2) โครงสร้างที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพ
(3) โครงสร้างที่ไม่สนใจการศึกษา
(4) โครงสร้างสังคมเกษตร
48 คนไทยไม่เคร่งครัดในเรื่องเวลานัดหมาย เป็นผลมาจากโครงสร้างของสังคมข้อใด
ตอบ 4 หน้า 47, (คําบรรยาย) โครงสร้างสังคมเกษตร คือ มีลักษณะการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย
ไม่เคร่งครัดในเรื่องเวลาหรือไม่ให้ความสําคัญกับเวลาที่นัดหมาย ไม่เร่งรีบหรือมีพิธีรีตอง ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย ไม่หักหาญน้ำใจกัน และไม่ให้ความสําคัญกับวัตถุ โดยถือว่าไม่มีเงินก็อยู่ได้ ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจแบบพอเพียง
49 คนไทยมักยอมรับชะตากรรม เป็นผลมาจากโครงสร้างของสังคมข้อใด
ตอบ 2 หน้า 47, (คําบรรยาย) โครงสร้างที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพ คือ ความเปลี่ยนแปลง ของชีวิตความเป็นอยู่และสถานะทางสังคมมีน้อย โดยความเปลี่ยนแปลงมักจะเกิดขึ้นกับคน ที่อยู่ในเมืองหลวงมากกว่าในชนบท จึงทําให้คนไทยขาดความทะเยอทะยาน ขาดความกระตือรือร้น ไม่ชอบการแข่งขัน ยอมรับชีวิตตามสภาพที่เป็นอยู่ และมักยอมรับในชะตากรรมที่เกิดขึ้น หรือยอมรับ “ชะตาฟ้าลิขิต” เช่น เกิดมาจนก็ต้องจนต่อไป, แข่งเรือแข่งพายแข่งได้ แข่งวาสนาแข่งไม่ได้ ฯลฯ
50 สังคมไทยขาดระเบียบวินัย เป็นผลมาจากโครงสร้างของสังคมข้อใด
ตอบ 1 หน้า 47, (คําบรรยาย) โครงสร้างแบบหลวม ๆ คือ บุคคลที่อยู่ในสังคมสามารถเลือกปฏิบัติ ในสิ่งที่ตนเองพอใจได้ โดยไม่ต้องเคร่งครัดในกฎระเบียบมากนัก ทําให้คนไทยมีความยืดหยุ่นสูง ไม่ยึดอะไรเป็นกฎเกณฑ์ตายตัว และชอบประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งมีข้อดีคือ สามารถปรับตัว และอยู่ร่วมกันอย่างประนีประนอม รอมชอม อะลุ้มอล่วยต่อกัน แต่ข้อเสียคือ ขาดระเบียบวินัย ในการดําเนินชีวิต ไม่เคารพกฎกติกา และมักทําอะไรตามอําเภอใจ เช่น ทําอะไรตามใจคือไทยแท้ ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน ฯลฯ
ข้อ 51 – 53, ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
(2) เคารพผู้อาวุโส
(3) เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
(4) นับถือศาสนาพุทธ
51 คนไทยเชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษ เป็นผลมาจากค่านิยมใด
ตอบ 4 หน้า 48 – 49, (คําบรรยาย) ค่านิยมของสังคมไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีอยู่มากมาย ได้แก่
1 เคารพในสถาบันพระมหากษัตริย์ คือ เทิดทูนและจงรักภักดีในสถาบันพระมหากษัตริย์
2 นับถือศาสนาพุทธ คือ ยึดถือหลักคําสอนของพระพุทธเจ้า เชื่อในบาปบุญคุณโทษ และยอมรับ ในกฎแห่งกรรม เช่น ทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว, คิดดี ทําดี, เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร, เวรกรรมมีจริง ฯลฯ
3 เคารพผู้อาวุโส คือ การปฏิบัติต่อผู้อาวุโสในทางที่ดี เชื่อฟังคําสั่งสอน ยกย่องและให้เกียรติผู้อาวุโส เช่น การจัดงานมุทิตาจิตแก่ผู้เกษียณอายุ ฯลฯ
4 เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ คือ การมีน้ําใจ รู้จักแบ่งปัน ช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก ฯลฯ
52 คนไทยบริจาคสิ่งของ เงินทอง ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างเนืองแน่น เป็นผลมาจากค่านิยมใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ
53 การจัดงานมุทิตาจิตแก่ผู้เกษียณอายุ สอดคล้องกับค่านิยมใด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ
54 เป้าหมายของการศึกษาตนเองตามแนวคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ คือข้อใด
(1) To Know
(2) To Understand
(3) To Accept
(4) To Develop
ตอบ 4 หน้า 53 – 54, 78, (คําบรรยาย) การศึกษาตนเองตามแนวคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนตามลําดับ ดังนี้
1 การรู้จักตนเอง (To Know) คือ การสํารวจตัวเองในด้านต่าง ๆ ว่าเป็นอย่างไร
2 การเข้าใจตนเอง (To Understand) คือ การวิเคราะห์ตนเองเพื่อหาสาเหตุว่าทําไมเราจึงมี ลักษณะเช่นนั้น ซึ่งจะนําไปสู่ขั้นตอนการยอมรับตนเอง
3 การยอมรับตนเอง (To Accept) คือ การยอมรับหรือรับรู้ศักยภาพและข้อดีข้อด้อยของตนเอง ซึ่งเมื่อยอมรับได้แล้วก็จะนําไปสู่ขั้นตอนการพัฒนาตนเอง
4 การพัฒนาตนเอง (To Develop) คือ การแก้ไขปรับปรุงจุดด้อย จุดอ่อน และข้อบกพร่อง ของตัวเอง ซึ่งถือเป็นเป้าหมายและประโยชน์ของการศึกษาตนเอง
ข้อ 55 – 56. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) การรู้ตนเอง 55. บุคคลที่เชื่อในการตัดสินใจของตนเอง เป็นผลมาจากแนวคิดเกี่ยวกับตนเองข้อใด
(2) การยอมรับตนเอง
(3) การรู้จักตนเอง
(4) การเปิดเผยตนเอง
ตอบ 3 หน้า 54 – 55, (คําบรรยาย) แนวคิดเกี่ยวกับตนเอง (Self Concept) ประการหนึ่ง ได้แก่ การรู้จักตนเอง (Self Actualization) จะมีลักษณะสําคัญ 3 ประการ ดังนี้
1 เต็มใจที่จะยืนหยัดอยู่ด้วยตนเอง
2 ไว้วางใจตนเองหรือเชื่อมั่นในตนเอง คือ เชื่อในการตัดสินใจของตนเอง
3 เป็นคนที่มีความยืดหยุ่นและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง เมื่อพบว่าการตัดสินใจของตนเป็นสิ่งที่ผิด
56 แนวคิดเกี่ยวกับตนเองข้อใดที่นําไปสู่การพัฒนาตนเอง
ตอบ 2 หน้า 17 – 18, 54 – 55 แนวคิดเกี่ยวกับตนเอง (Self Concept) ประการหนึ่ง ได้แก่ การยอมรับตนเอง (Self Acceptance) คือ การรู้ว่าตนเองเป็นคนอย่างไร ทําให้เกิดการรับรู้ เกี่ยวกับตนเอง ซึ่งจะช่วยให้บุคคลสามารถแยกแยะข้อดีข้อเด่นและข้อด้อยของตนเองเพื่อหาทาง ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น ดังนั้นการยอมรับตนเองจึงนําไปสู่การพัฒนาตนเอง และยอมรับ ในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวเรา
ข้อ 57 – 58. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) Labeling
(2) Social Comparison
(3) Interpersonal Relationships
(4) Significant Others
57 การมองตนเองจากกระจกเงา เปรียบได้กับวิธีการเรียนรู้ตนเองข้อใด
ตอบ 3 หน้า 59 – 60, (คําบรรยาย) การมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น (Interpersonal Relationships) คือ การเรียนรู้ว่าตัวเราเป็นอย่างไรจากการดูปฏิกิริยาโต้ตอบ (Feedback) หรือปฏิกิริยาป้อนกลับ ของคู่สื่อสารที่แสดงกลับมา ซึ่งเปรียบได้กับการมองตนเองโดยอาศัยภาพสะท้อนจากกระจกเงาทั้งนี้ต้องอาศัยการรับฟังความคิดเห็นหรือการวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่น และในขณะเดียวกัน ก็ดูดซึมเอาข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับตัวเราเข้ามาด้วย ซึ่งจะทําให้รู้ว่าเราควรดําเนินการในรูปแบบ อย่างไร จึงจะสืบเนื่องความสัมพันธ์ไปได้เนิ่นนาน
58 เราจะใส่เสื้อผ้าสีดําเมื่อไปงานศพ เป็นการเรียนรู้ตนเองข้อใด
ตอบ 1 หน้า 59, (คําบรรยาย) การกําหนดของสังคม (Labeling) คือ การปฏิบัติตัวและมีพฤติกรรม ตามบรรทัดฐานของสังคม ได้แก่ กฎหมาย กฎเกณฑ์ กติกามารยาทต่าง ๆ รวมทั้งขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ค่านิยมของสังคม ฯลฯ โดยกําหนดตัวเองจากการกระทําของเราว่าเข้ากับ ข้อกําหนดของสังคมในรูปแบบใด ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
1 สิ่งที่สังคมไม่ยอมรับ เช่น การคดโกง ความก้าวร้าว การทุจริตคอร์รัปชั่น ฯลฯ
2 สิ่งที่สังคมยอมรับ เช่น การเคารพกฎหมาย การแต่งกายที่สุภาพเหมาะกับกาลเทศะ การประพฤติตนเป็นคนดีของสังคม ฯลฯ
ข้อ 59. – 60. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) Inferior
(2) Superior
(3) Equal
(4) Introvert
59 การพูดคุยอย่างสนิทสนมในหมู่เพื่อนฝูง เป็นผลมาจากการยอมรับตนเองข้อใด
ตอบ 3 หน้า 60, (คําบรรยาย) Equal คือ การมีความคิดและยอมรับตามหลักการด้านสิทธิมนุษยชนว่า เราเท่าเทียมหรือเสมอภาคเท่ากับผู้อื่น โดยจะมีความเป็นเพื่อนกัน มีความคล้ายคลึงหรือมีอะไร ที่ใกล้เคียงกัน ทําให้มีความสบายใจในการแสดงออก กล้าพูดแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งส่งผลให้ คู่สื่อสารสามารถเปิดเผยตนเอง สามารถสื่อสารและแสดงออกตามความรู้สึกที่แท้จริงได้อย่างอิสระ จึงเป็นการยอมรับตนเองของคู่สื่อสารที่นําไปสู่สัมพันธภาพที่ดี และสามารถสร้างมนุษยสัมพันธ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การพูดคุยอย่างสนิทสนมในหมู่เพื่อนฝูง เป็นต้น
60 การติดป้าย “โรงพักเพื่อประชาชน” เป็นผลมาจากการยอมรับตนเองของตํารวจข้อใด
ตอบ 1 หน้า 60, (คําบรรยาย) Inferior คือ การยอมรับว่าตนเองต่ําต้อยกว่าคนอื่น หรือมีสถานภาพ ที่ต่ํากว่าคู่สื่อสาร ซึ่งจะทําให้มีความมั่นใจในตัวเองต่ํา และตีคุณค่าของตนเองต่ํากว่าผู้อื่น ดังนั้น จึงทําให้เกิดพฤติกรรมอ่อนน้อมถ่อมตน ยอมรับฟังความคิดเห็น ให้เกียรติ เชื่อฟังและคล้อยตาม โดยไม่โต้แย้ง เพื่อให้ผู้ที่สื่อสารด้วยเกิดความพึงพอใจ ประทับใจ และรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า เช่น พฤติกรรมการหาเสียงของนักการเมืองที่เน้นว่าประชาชนสําคัญที่สุด, แนวคิดทางธุรกิจที่เน้นว่า “ลูกค้าคือพระเจ้า ลูกค้าถูกเสมอ” แนวคิดของเจ้าหน้าที่ตํารวจที่ว่า “โรงพักเพื่อประชาชน ตํารวจ…ผู้รับใช้ชุมชน” และแนวคิดที่ว่า “ข้าราชการ คือ ผู้ที่ทํางานให้ประชาชนชื่นใจ” ฯลฯ
ข้อ 61. – 62. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) ศึกษาและประเมินตนเอง
(2) ยอมรับและตระหนักในความต้องการที่จะปรับปรุงตนเอง
(3) มีแรงจูงใจในการปรับปรุงตนเอง
(4) วางแผนในการปรับปรุงตนเอง
61 การเข้ารับการอบรมจากศูนย์พัฒนาบุคลิกภาพ กรณีนี้อยู่ในขั้นตอนใดในการพัฒนาตนเอง
ตอบ 2 หน้า 63 – 64 ยอมรับและตระหนักในความต้องการที่จะปรับปรุงตนเอง คือ การยอมรับ ข้อบกพร่องและตระหนักถึงความสําคัญของบุคลิกภาพว่า เป็นเครื่องมือที่นําไปสู่การยอมรับ นับถือ ศรัทธา ความสัมพันธ์อันดี และความสําเร็จ พร้อมกันนี้ก็มีความปรารถนาอย่างแรงกล้า ที่จะพัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อนข้อบกพร่องของตนเอง โดยการศึกษาหาข้อมูลและ วิธีการที่ดีที่สุดเพื่อนํามาปรับปรุงตนเอง เช่น ปรึกษาแพทย์ ผู้รู้ อ่านหนังสือ บทความ หรือ เข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพและศักยภาพตามความเหมาะสม
62 ความรับผิดชอบในการทํางาน อยู่ในขั้นตอนใดในการพัฒนาตนเอง
ตอบ 3 หน้า 64, (คําบรรยาย) มีแรงจูงใจในการปรับปรุงตนเอง ถือเป็นการตอบสนองความต้องการ ส่วนบุคคลของตนเอง ดังนี้
1 ความต้องการมีบุคลิกภาพที่ดีและเป็นที่ดึงดูดใจของเพศตรงข้าม ทําให้บุคคลต้องการปรับปรุง ตนเองในระดับสูง เช่น การดูแลรูปร่างผิวพรรณให้มีเสน่ห์ ฯลฯ
2 ความต้องการเป็นที่ชื่นชมหรือได้รับการยกย่องจากสังคม คือ ต้องการให้เป็นที่รัก ที่ชื่น ชนชม
และเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม
3 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในอาชีพและสังคม ทําให้บุคคลต้องปรับปรุงตนเองด้าน การแต่งกาย กิริยามารยาท ความขยัน และแสดงออกซึ่งความรับผิดชอบในการทํางาน
4 ความต้องการอํานาจ เพื่อให้มีสง่าราศี น่าเชื่อถือ และน่ายําเกรง
63 ข้อใดเป็นการใช้คําพูดเชิงบวกกับคู่สนทนาที่มีรูปร่างอ้วน
(1) ตุ้ยนุ้ย
(2) จ้ำม่ำ
(3) อวบ
(4) ราชินีช้าง
ตอบ 2 หน้า 68, (คําบรรยาย) การใช้ศิลปะในการสนทนาประการหนึ่ง คือ หลีกเลี่ยงคําพูดที่ทําให้ ผู้อื่นสะเทือนใจ ไม่พูดถึงปมด้อยของผู้อื่น แต่ถ้าจําเป็นต้องพูดก็ควรใช้คําพูดในเชิงบวกแทน เช่น เมื่อพูดถึงคนตัวดําก็ควรใช้ว่าคนผิวสีเข้ม, เมื่อพูดถึงคนที่มีนิสัยขี้เหนียวก็ควรใช้ว่า เป็นคนมัธยัสถ์ รู้จักใช้เงิน และเมื่อพูดถึงคนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน (คนอ้วน) ก็ควรใช้ว่า
คนจ้ำม่ำเป็นต้น
64 ข้อใดไม่ใช่แนวทางการพัฒนาตนเองด้านการพูด
(1) รู้จักใช้คําถามที่เหมาะสม
(2) เลือกพูดในสิ่งที่ตนเองชอบและสนใจ
(3) รู้จักวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์
(4) พูดถึงส่วนที่ส่วนเด่นของผู้ฟัง
ตอบ 2 หน้า 66 – 68 แนวทางการพัฒนาตนเองในด้านการพูดหรือสนทนา มีดังนี้
1 พูดจาด้วยถ้อยคําที่สุภาพ
2 มีน้ำเสียงนุ่มนวล
3 ฝึกการใช้คําถามให้เหมาะสม
4 พูดในเรื่องที่ผู้ฟังชอบ พอใจและสนใจ ไม่ควรพูดในสิ่งที่ตนเองถนัด ชอบและสนใจ
5 เลือกส่วนดีเด่นของคู่สนทนามาพูด
6 รู้จักวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์
7 ใช้ศิลปะในการสนทนา เช่น ไม่ควรขัดคอหรือโต้แย้งความคิดของคู่สนทนาทันที หลีกเลี่ยงการพูดเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น, รู้จักสรรหาเรื่องที่สนุกสนานมาพูดคุยกันในวงสนทนา, ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการสนทนา ฯลฯ
65 ภีมชอบโต้เถียงและควบคุมผู้อื่น แสดงถึงการขาดการพัฒนาตนเองข้อใด
(1) ฝึกใช้อํานาจเหนือผู้อื่นให้น้อยลง
(2) ฝึกการให้ความรักผู้อื่น
(3) ฝึกจัดการกับความโกรธและความเกลียด
(4) ฝึกเป็นคนอารมณ์ดีและเบิกบาน
ตอบ 1 หน้า 72, (คําบรรยาย) ฝึกการใช้อํานาจเหนือผู้อื่นให้น้อยลง คือ การเปลี่ยนการโต้เถียงผู้อื่น ให้เป็นการอภิปรายแทน การหัดยอมแพ้แม้ว่าจะเป็นฝ่ายถูกก็ตาม และรู้จักกล่าวคําขอโทษทันที เมื่อมีผู้อื่นกระทําให้เราเดือดร้อนหรือลําบากใจโดยไม่ได้เจตนา ซึ่งจะเหมาะกับบุคคลที่ชอบใช้ อํานาจเหนือผู้อื่น ไม่ยอมแพ้ ชอบโต้เถียงเพื่อเอาชนะ และพยายามควบคุมพฤติกรรมของผู้อื่น เพราะคิดว่าตนเองสําคัญ ทั้งนี้เพื่อให้รู้จักคิดถึง ยอมรับ และเห็นด้วยกับผู้อื่นมากขึ้น
66 วรรณนรีพอใจในสิ่งที่ตนมี แสดงถึงการพัฒนาตนเองข้อใด
(1) ฝึกการเอาชนะตนเอง
(2) ฝึกให้มีใจสงบ
(3) ฝึกการตั้งเป้าหมายในชีวิต
(4) ฝึกการรักตนเอง
ตอบ 4 หน้า 69, (คําบรรยาย) ฝึกให้รักตนเองตามสภาพที่เป็นอยู่ คือ การฝึกให้รู้จักรักตนเอง รู้จัก ให้คุณค่า รู้จักพึงพอใจในตนเองและสภาพที่ตนเองเป็นอยู่ ดังคํากล่าวที่ว่า “จงพอใจในสิ่งที่ตนเอง มีอยู่เป็นอยู่” โดยพยายามพัฒนาตนให้มีคุณค่ายิ่งขึ้น แล้วจะทําให้เรารู้จักรักและพอใจผู้อื่น ชื่นชมยินดี และเห็นคุณค่าผู้อื่นได้ นอกจากนี้ยังต้องรู้จักให้คุณค่าแก่ตนเองด้วยการมองภาพพจน์ ของตนเองในเชิงบวก ซึ่งจะส่งผลให้บุคคลเกิดความรักและภาคภูมิใจในตนเองมากขึ้น
67 ทวยหาญเป็นคนไม่ชอบผัดวันประกันพรุ่ง เป็นผลมาจากการพัฒนาตนเองข้อใด
(1) ฝึกเป็นคนคล่องแคล่วว่องไว
(2) ฝึกเป็นคนตรงต่อเวลา
(3) ฝึกพฤติกรรมแสดงออกที่เหมาะสม
(4) ฝึกการสร้างความประทับใจ
ตอบ 2หน้า 71, (คําบรรยาย ฝึกเป็นคนตรงต่อเวลา คือ การแสดงออกถึงการมีวินัย มีความซื่อสัตย์ และมีความรับผิดชอบ โดยเริ่มต้นจากการไม่เป็นคนผัดวันประกันพรุ่งและทําตัวให้เป็นคนที่ เตรียมพร้อมต่อสถานการณ์ต่าง ๆ อยู่เสมอ ไม่เป็นคนประมาทหรือละเลยต่อเหตุการณ์ที่อาจ เกิดขึ้นได้แบบไม่คาดฝัน รวมทั้งฝึกเป็นคนเคารพกฎระเบียบอย่างเคร่งครัดและรู้จักเกรงใจผู้อื่น ไม่ทําให้ผู้อื่นรอคอยโดยไม่จําเป็น
68 การรู้จักยอมรับว่ามนุษย์ผิดพลาดได้ นําไปสู่แนวทางการพัฒนาตนเองข้อใด
(1) ฝึกการให้ความรักผู้อื่น
(2) ฝึกการให้อภัยผู้อื่น
(3) ฝึกการใช้อํานาจเหนือผู้อื่นให้น้อยลง
(4) ฝึกให้มีใจสงบ
ตอบ 2 หน้า 73 ฝึกการให้อภัยผู้อื่นและตนเอง คือ การไม่ลงโทษผู้อื่นและตนเองเมื่อกระทําผิดพลาด เพราะการไม่ให้อภัยผู้อื่นและตนเองย่อมทําให้เกิดความทุกข์ทรมานใจ ดังนั้นบุคคลจึงควรพิจารณา ตนเองว่าการกระทําของตนเองเหมาะสมและถูกต้องหรือไม่ และเมื่อกระทําอะไรลงไปแล้วผู้อื่นพอใจหรือไม่ ทั้งนี้เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นแล้วก็ควรยอมรับสภาพที่เกิดขึ้นและพยายามลืมโดยถือว่าความผิดพลาดย่อมเกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทุกคน
69 การทําให้คู่สื่อสารรู้สึกว่าเขาเป็นบุคคลสําคัญ นําไปสู่แนวทางการพัฒนาตนเองข้อใด
(1) ฝึกการให้ความรักผู้อื่น
(2) ฝึกการให้ในสิ่งที่ผู้อื่นต้องการ
(3) ฝึกการแสดงออกที่เหมาะสม
(4) ฝึกการสร้างความประทับใจ
ตอบ 4หน้า 74 ฝึกการสร้างความประทับใจให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่น จะมีเคล็ดลับอยู่หลายวิธี เช่น การแต่งกายงดงาม การพูดจาไพเราะอ่อนหวาน มีน้ําเสียงนุ่มนวล และการให้ความช่วยเหลือผู้อื่น แต่สิ่งที่สําคัญที่สุด คือ การทําให้ผู้อื่นรู้สึกตัวว่าเขาเป็นคนสําคัญ มีคุณค่า และมีความหมาย นอกจากนี้ยังควรรู้จักหมั่นฝึกพูดคําว่า “ขอบคุณ” และ “ขอโทษ” ในโอกาสที่เหมาะสม และถูกต้องตามกาลเทศะ เป็นต้น
70 การศึกษาบุคคลอื่นตามแนวคิดมนุษยสัมพันธ์ต้องอาศัยแนวคิดใด
(1) ความแตกต่างของมนุษย์
(2) ความต้องการของมนุษย์
(3) ศักดิ์ศรีของมนุษย์
(4) ความสัมพันธ์ของมนุษย์
ตอบ 1 หน้า 78, (คําบรรยาย) เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์สําคัญในการศึกษาบุคคลอื่นตามแนวคิด ด้านมนุษยสัมพันธ์ คือ การยอมรับตัวตนตามลักษณะที่เป็นจริงหรือตามธรรมชาติของบุคคลอื่นโดยต้องตั้งอยู่บนแนวคิดพื้นฐานสําคัญที่ว่ามนุษย์มีความแตกต่างกัน ซึ่งเมื่อเรายอมรับในเรื่องความแตกต่างของบุคคลได้แล้ว ก็จะทําให้การสร้างความสัมพันธ์นั้นดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งยังทําให้ตัวเราปรับตัวเข้ากับบุคคลนั้น ๆ ได้อีกด้วย
ข้อ 71 – 72. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) ทัศนคติ
(2) ค่านิยม
(3) ประสบการณ์
(4) ความเชื่อ
71 สถาบันการศึกษาทําการสํารวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเศรษฐกิจของประเทศ แสดงถึง
สภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาข้อใด
ตอบ 1 หน้า 43, 79 – 81, (คําบรรยาย) ทัศนคติ (Attitude) เป็นท่าทีหรือความรู้สึกที่แตกต่างกัน ของแต่ละบุคคล ซึ่งแสดงออกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งในทางบวกหรือลบ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย พอใจหรือไม่พอใจ ชอบหรือไม่ชอบ ฯลฯ จึงเป็นเรื่องส่วนบุคคลที่ไม่มีการประเมินว่าถูกหรือผิด ซึ่งเมื่อเรามีทัศนคติในทิศทางใดก็จะมีพฤติกรรมการแสดงออกที่สอดคล้องกับทิศทางนั้น เช่น ผลสํารวจความคิดเห็นของประชาชนจากโพลต่าง ๆ เป็นต้น
72 ธรรมชาติของคนไทยมีน้ําใจช่วยเหลือกัน เป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาข้อใด
ตอบ 2 หน้า 79, 81, (ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ) ค่านิยม (Value) หมายถึง สิ่งที่คนในสังคมใด สังคมหนึ่งเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า น่ายกย่อง ถูกต้องดีงาม และเป็นที่ยอมรับในสังคม หรือ เป็นความรู้สึกในทางที่ดีที่บุคคลมีต่อสิ่งต่าง ๆ หรือสภาพการณ์ต่าง ๆ ดังนั้นค่านิยมจึงผูกพัน กับคุณค่าความดีหรือไม่ดีมากกว่าความเชื่อ เช่น ค่านิยมเรื่องความกตัญญู ความซื่อสัตย์สุจริต การเคารพผู้อาวุโส การมีน้ําใจช่วยเหลือกัน ฯลฯ
ข้อ 73 – 77 ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) Open Area
(2) Blind Area
(3) Hidden Area
(4) Unknown Area
73 การรู้จักวิจารณ์ข้อบกพร่องของผู้อื่น จะช่วยลดพฤติกรรมส่วนใด
ตอบ 3 หน้า 83, 86 การพยายามลดพฤติกรรมบริเวณซ่อนเร้น (Hidden Area) ให้น้อยลง โดยใช้วิธีการขยายพฤติกรรมบริเวณเปิดเผยตามแนวดิ่ง (4) มีอยู่ 2 วิธี คือ
1 ให้ความเชื่อถือไว้วางใจ โดยการเปิดเผยความในใจ หรือเปิดเผยข้อบกพร่องของตนเอง ให้แก่คนอื่นหรือคู่สื่อสารทราบ เพื่อจะได้ช่วยกันแก้ไข
2 มีความหวังดีต่อกัน โดยการรู้จักวิจารณ์ข้อบกพร่องของคนอื่น
74 พฤติกรรมส่วนใดมีความจําเป็นต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์
ตอบ 1 หน้า 83 – 85 บริเวณเปิดเผย (Open Area) หมายถึง บริเวณพฤติกรรมภายนอกที่บุคคลตั้งใจ หรือเจตนาแสดงออกอย่างเปิดเผย ทําให้คู่สื่อสารสามารถรับรู้พฤติกรรมและเจตนาของแต่ละฝ่ายได้ ทั้งนี้เมื่อคู่สื่อสารเริ่มรู้จักหรือยังไม่คุ้นเคยกัน บริเวณเปิดเผยจะลดลงเพราะยังสงวนท่าทีกันอยู่ แต่หากคู่สื่อสารมีความสนิทสนมคุ้นเคยและจริงใจต่อกัน บริเวณเปิดเผยก็จะเปิดกว้างมากขึ้น ซึ่งพฤติกรรมส่วนนี้จะเป็นประโยชน์และมีความจําเป็นต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์ เพราะทําให้ คู่สื่อสารมีปฏิกิริยาโต้ตอบต่อกัน มีการเปิดเผยตนเอง และจริงใจต่อกันมากขึ้น ดังคํากล่าวที่ว่า “มองตาก็รู้ใจ”
75 รัฐบาลที่รับฟังความคิดเห็นของประชาชน จะช่วยลดพฤติกรรมส่วนใด
ตอบ 2 หน้า 86 บุคคลที่รับข้อติชมมาก แต่ให้ข้อติชมน้อย (ฟังมากกว่าพูด) คือ บุคคลที่รับฟังคําวิจารณ์ ของคนอื่นมากแล้วนํามาแก้ไขปรับปรุงตนเอง ทําให้พฤติกรรมบริเวณจุดบอด (Blind Area) ลดลง แต่จะมีพฤติกรรมบริเวณซ่อนเร้น (Hidden Area) มากที่สุด จึงควรขยายพฤติกรรมบริเวณ เปิดเผย (Open Area) ให้กว้าง โดยพูดบอกให้ผู้อื่นรู้ถึงข้อบกพร่องของตนเอง ผู้อื่นจะได้ช่วยแก้ไข
76 สถานการณ์ที่คับขัน กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมส่วนใด
ตอบ 4 หน้า 84, (คําบรรยาย) บริเวณมืดมน (Unknown Area) หมายถึง บริเวณพฤติกรรมลึกลับ หรือความรู้สึกฝังลึกบางอย่างที่บุคคลแสดงออกโดยไม่รู้ตัว ซึ่งตนเองและบุคคลอื่นก็ไม่เคยรู้จัก ไม่เคยเข้าใจมาก่อน จึงเป็นพฤติกรรมที่ทําให้บุคคลไม่รู้จักตนเองมากที่สุด และคนอื่นก็ไม่รู้จัก ตัวเราด้วย เพราะอาจจะเป็นทักษะความสามารถพิเศษ หรือพรสวรรค์ในด้านต่าง ๆ ที่คาดไม่ถึง และยังค้นไม่พบ จนกว่าจะเกิดเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่คับขันบางอย่างมากระตุ้นให้เกิด พฤติกรรมนี้ เช่น พรสวรรค์ทางด้านดนตรี ศิลปะ กีฬา ฯลฯ
77 บุคคลที่ให้ข้อติชมมาก แต่รับข้อติชมน้อย จะมีพฤติกรรมส่วนใดมากที่สุด
ตอบ 2 หน้า 87, (คําบรรยาย) บุคคลที่ให้ข้อติชมมาก แต่รับข้อติชมจากผู้อื่นน้อย (พูดมากกว่าฟัง) คือ บุคคลที่ไม่ยอมรับฟังคําวิจารณ์ของผู้อื่น แต่ชอบพูดวิจารณ์ผู้อื่นมากกว่า (ชอบประเมินคนอื่น โดยไม่สนใจที่จะประเมินตนเอง) จะมีพฤติกรรมบริเวณจุดบอด (Blind Area) มากที่สุด แต่จะมีพฤติกรรมบริเวณซ่อนเร้น (Hidden Area) น้อยที่สุด
ข้อ 78 – 83. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) พฤติกรรมแบบพ่อแม่
(2) พฤติกรรมแบบผู้ใหญ่
(3) พฤติกรรมแบบเด็ก
(4) พฤติกรรมที่เป็นพิธีการ
78 บุคคลที่เคารพกฎหมายอย่างเคร่งครัด แสดงถึงพฤติกรรมข้อใด
ตอบ 2 หน้า 89, 92 ผู้บริหารที่มีพฤติกรรมแบบผู้ใหญ่ (Adult Ego State : A) จะมีลักษณะดังนี้
1 มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการทํางานตามข้อมูลและข้อเท็จจริง
2 ยึดถือว่างาน สําคัญกว่าการเล่น
3 ยึดความถูกต้องและระเบียบแบบแผนมากกว่าความคิดสร้างสรรค์
4 เป็นคนมีเหตุผล
5 เคร่งครัดในกฎระเบียบและกฎเกณฑ์
79 บุคคลที่มีอารมณ์ศิลปินสูง แสดงถึงพฤติกรรมข้อใด
ตอบ 3 หน้า 89 – 90, (คําบรรยาย) พฤติกรรมแบบเด็ก (Child Ego State : C) มักแสดงออกใน ลักษณะที่มีจินตนาการสร้างสรรค์ มีอารมณ์สุนทรีย์หรืออารมณ์ศิลปิน สดชื่น มีชีวิตชีวา และ กล้าหาญ ซึ่งจะทําให้โลกนี้มีสิ่งแปลกใหม่ มีสิ่งประดิษฐ์ที่งดงามแปลกตา มีนักเขียน นักกลอน มีผลงานด้านศิลปะต่าง ๆ และทําให้โลกมีชีวิตชีวาด้วยเสียงเพลง เสียงดนตรี เสียงหัวเราะ การแสดงท่าขบขัน ฯลฯ นอกจากนี้ก็ยังมีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความดื้อรั้น สนใจแต่ความสุข ของตนเอง เอาแต่ใจ ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล ไม่ควบคุมตนเอง แต่คําพูดที่แสดงออกนั้น จะเปิดเผย อิสระ และตรงไปตรงมา
80 การส่งการ์ดอวยพรวันเกิดเพื่อน แสดงถึงพฤติกรรมข้อใด
ตอบ 4 หน้า 93 (คําบรรยาย) พฤติกรรมที่เป็นพิธีการ คือ การกระทําเพื่อมารยาท หรือการกระทํา ตามกฎเกณฑ์ของสังคม เช่น การรู้จักไปลามาไหว้ การจับมือ การทักทายปราศรัยหรือกล่าว คําว่า “สวัสดี” เมื่อเจอกัน การกล่าวต้อนรับ การเลี้ยงต้อนรับ การจัดงานเลี้ยงผู้เกษียณอายุ การปรบมือให้กําลังใจผู้พูด การกล่าวอวยพรเมื่อไปร่วมงานวันเกิดหรืองานเทศกาลปีใหม่ การรดน้ําขอพรจากผู้ใหญ่ในวันสงกรานต์ และการจัดงานในเทศกาลสําคัญ ๆ ฯลฯ
81 ผู้บริหารที่ชอบให้ลูกน้องยกย่องให้เกียรติ แสดงถึงพฤติกรรมข้อใด
ตอบ 1 หน้า 89, 91 – 92 ผู้บริหารที่มีพฤติกรรมแบบพ่อแม่ (Parent Ego State : P) จะมีลักษณะดังนี้
1 ถือว่าลูกน้องเหมือนลูกหลานที่จะอบรมสั่งสอนได้
2 เอาใจใส่ดูแลการทํางานของลูกน้องอย่างใกล้ชิด
3 เป็นกันเอง มีอารมณ์ขัน
4 เห็นอกเห็นใจ เป็นห่วงลูกน้อง และมักจะให้ความช่วยเหลือ
5 ร่วมคิด ร่วมปรึกษากับลูกน้องที่มีพฤติกรรมแบบเด็กเท่านั้น
6 ถือว่างานต้องมาก่อนความสนุกสนานบันเทิง
7 ต้องการให้ลูกน้องยกย่องให้เกียรติ
8 มักชอบใช้อํานาจเหนือลูกน้องจนกลายเป็นเผด็จการ
82 บุคคลที่มีลักษณะหัวโบราณ แสดงถึงพฤติกรรมข้อใด
ตอบ 1 หน้า 89 – 90, (คําบรรยาย) พฤติกรรมแบบพ่อแม่ (Parent Ego State : P) จะแสดงออก ในลักษณะของพฤติกรรมทางบวก เช่น ความรักใคร่ อบรมสั่งสอน ห่วงใย หวังดี ปลอบประโลม ให้กําลังใจ ฯลฯ แต่ในขณะเดียวกันก็จะมีลักษณะของพฤติกรรมทางลบด้วย เช่น เกรี้ยวกราด ดุด่าว่ากล่าว ใช้อํานาจสั่งการเหนือผู้อื่น ตําหนิติเตียน ประชดประชัน เยาะเย้ย เจ้ากี้เจ้าการ ชอบควบคุมพฤติกรรมของผู้อื่น ฯลฯ นอกจากนี้ยังรวมถึงการยึดถือระเบียบแบบแผน จารีตประเพณี และเชื่อถือคติโบราณ จึงมักทําให้มีบุคลิกภาพแบบหัวโบราณ ไม่ยอมรับ การเปลี่ยนแปลงของสังคม แต่จะมีความเมตตากรุณา
83 ผู้บริหารที่ชอบของกํานัลและคําชมเชย แสดงถึงพฤติกรรมข้อใด
ตอบ 3 หน้า 89, 92 ผู้บริหารที่มีพฤติกรรมแบบเด็ก (Child Ego State : C) จะมีลักษณะดังนี้
1 มักยืดหยุ่น โอนอ่อนผ่อนตาม และไม่ค่อยมีจุดยืน
2 มีอารมณ์ขัน
3 มักชอบขอร้องให้ลูกน้องช่วยเหลือเสมอ
4 ถ้าพบอุปสรรคก็จะสู้ชนิดหัวชนฝา
5 ชอบคําชมเชยและของกํานัล
6 ชอบให้ลูกน้องประจบเอาใจ
7 ยึดถือความพอใจของตนเองมากกว่ากฎเกณฑ์
84 บุคคลที่ต้องการกําลังใจจากผู้อื่น เป็นผลมาจากการรับรู้ข้อใด
(1) I’m not OK., You’re OK.
(2) I’m OK., You’re not OK.
(3) I’m not OK., You’re not OK.
(4) I’m OK., You’re OK.
ตอบ 1 หน้า 93 ฉันเลวแต่คุณดี (I’m not OK, You’re OK.) เป็นทัศนคติที่แสดงถึงภาวะจิต ของคนที่ไม่มีความสุข จึงเป็นบุคคลที่ต้องการกําลังใจ ต้องการความสนใจและเอาใจใส่จาก ผู้บังคับบัญชาหรือผู้อื่น มักจะมองตนเองในแง่ลบ ชอบตําหนิตนเอง แต่กลับมองผู้อื่นในแง่ดี และยกย่องชมเชยผู้อื่น เช่น คําพูดที่ว่า “ฉันเป็นดอกหญ้าที่ไร้ค่าแต่เธอเป็นดอกฟ้าผู้สูงส่ง”, “ทําอย่างไรฉันถึงจะเก่งได้เหมือนเธอ” เป็นต้น
85 ตามแนวคิดของเชลดัน บุคคลที่ชอบอยู่ตามลําพัง จะมีบุคลิกภาพแบบใด
(1) อ้วน
(2) ล่ำสัน
(3) สมส่วน
(4) ผอม
ตอบ 4 หน้า 95 เชลตัน (Sheldon) ได้จัดแบ่งบุคลิกภาพออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1 รูปร่างอ้วน (Endomorphy) มักชอบสนุกสนานร่าเริง และโกรธง่ายหายเร็ว ฯลฯ
2 รูปร่างล่ำสัน (Mesomorphy) แข็งแรง มีร่างกายสมส่วน เป็นคนคล่องแคล่วว่องไว มีน้ำใจเป็นนักกีฬา มีเพื่อนมาก และชอบช่วยเหลือผู้อื่น ฯลฯ
3 รูปร่างผอม (Ectormorphy) มักเคร่งขรึม เอาการเอางาน ใจน้อย ชอบวิตกกังวล ไม่ชอบการต่อสู้ และชอบอยู่ตามลําพัง ฯลฯ
86 ข้อใดแสดงถึงพฤติกรรมแบบ Ambivent
(1) อารมณ์ดี
(2) ขี้อาย
(3) ปรับตัวเก่ง
(4) ชอบทํากิจกรรม
ตอบ 3หน้า 95, (คําบรรยาย) คาร์ล จี. จุง (Cart G. Jung) ได้แบ่งบุคลิกภาพออกเป็น 3 ประเภท คือ
1 ชอบเก็บตัว (Introvert) เป็นพวกเชื่อมั่นในตนเอง ยึดตัวเองเป็นใหญ่ ขี้อาย เก็บความรู้สึก ชอบอยู่ตามลําพัง ปรับตัวยาก เห็นแก่ตัว ฯลฯ
2 ชอบแสดงตัว (Extrovert) เป็นพวกไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอน เปิดเผย เข้าสังคมเก่ง อารมณ์ดี
ชอบทํากิจกรรม ฯลฯ
3 ประเภทกลาง ๆ (Ambivert) เป็นพวกไม่เก็บตัวหรือแสดงตัวมากเกินไป ปรับตัวเก่งหรือ ปรับตัวได้ตามสถานการณ์ และมักจะมีนิสัยเรียนรู้การอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข จึงเป็นบุคลิกภาพที่แสดงถึงทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
ข้อ 87 – 89. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) เต่า
(2) ตุ๊กตาหมี
(3) ฉลาม
(4) นกฮูก
87 สัญลักษณ์ใดแสดงถึงผู้บริหารที่มีมนุษยสัมพันธ์
ตอบ 4 หน้า 97 (คําบรรยาย) ผู้บริหารประเภทใจเย็น (Team Manager) จะมีสัญลักษณ์เป็น “นกฮูก” คือ เป็นบุคคลที่พยายามศึกษาความต้องการของตนเองและผู้อื่น แล้วแก้ปัญหาความขัดแย้ง ด้วยการควบคุมอารมณ์ รับฟังผู้อื่นด้วยความเข้าใจ พูดจาไพเราะ และแสดงความคิดเห็น เพื่อแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาหลาย ๆ ทาง จึงถือว่าเป็นผู้บริหารที่มีบุคลิกภาพและ แนวคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ในการทํางาน ทําให้สามารถสร้างมนุษยสัมพันธ์กับลูกน้องได้ดีที่สุด
88 สัญลักษณ์ใดแสดงถึงผู้บริหารที่เอาอกเอาใจลูกน้อง
ตอบ 2 หน้า 96 ผู้บริหารประเภทยอมตาม (Country Club Manager) จะมีสัญลักษณ์เป็น “ตุ๊กตาหมี” คือ เป็นบุคคลที่ยอมผู้อื่นอย่างไม่มีเงื่อนไข ให้ความร่วมมือด้วยความเต็มใจโดยไม่ปริปากบ่น ทั้งต่อหน้าและลับหลัง มีความเสียสละ มักยอมให้คนอื่นทําสิ่งต่าง ๆ ก่อนเสมอ มองคนในแง่ดี สนใจคนมากกว่างาน เอาอกเอาใจและกลัวลูกน้อง ชอบสร้างบารมีให้ลูกน้องรัก เพราะขาด ความสามารถในการทํางาน โดยมักมีวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้ง คือ ยอมตามใจลูกน้องเสมอ
89 สัญลักษณ์ใดแสดงถึงผู้บริหารที่ชอบโยนความผิดให้ลูกน้อง
ตอบ 1 หน้า 96 ผู้บริหารประเภทไม่เอาไหน (Impoverished Manager) จะมีสัญลักษณ์เป็น “เต่า” เพราะไม่กล้าเผชิญปัญหา และเมื่อมีความผิดเกิดขึ้นก็มักจะโทษผู้อื่นหรือโยนความผิดให้ลูกน้อง ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ยอมตามผู้อื่นด้วยความขุ่นเคืองใจ มองผู้อื่นในแง่ร้าย โดยจะ บริหารงานแบบสบาย ๆ ไม่สนใจลูกน้องและงาน ชอบอยู่เฉย ๆ ใครจะทําอะไรก็ทําไป และเมื่อเกิดความผิดพลาดจะไม่รับผิดชอบไม่ว่ากรณีใด ๆ
ข้อ 90 – 92. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) การรับรู้ทางสังคมด้วยความรู้สึกประทับใจ
(2) การรับรู้ทางสังคมด้วยการประเมินบุคคลอื่น
(3) อิทธิพลทางสังคม
(4) ความสัมพันธ์ทางสังคม
90. การคล้อยตามคนอื่น เป็นผลมาจากแนวคิดข้อใด
ตอบ 3 หน้า 131 – 132, (คําบรรยาย) อิทธิพลทางสังคม จะเน้นพฤติกรรมของบุคคลที่เปลี่ยนไป ในทางที่ดีขึ้นหรือเลวลง เนื่องจากการกระทําของบุคคลอื่น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1 การส่งเสริมโดยสังคม (Social Facilitation) ได้แก่ การอยู่ในสายตาของผู้อื่นจะทําให้ การทํางานมีประสิทธิภาพดีขึ้น
2 การคล้อยตามผู้อื่น หรือการถูกโน้มน้าวใจให้คล้อยตาม ได้แก่ การคล้อยตามบุคคลที่เรา เชื่อถือหรือสนิทสนม การคล้อยตามบรรทัดฐาน และการคล้อยตามที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
91 ทัศนคติที่คล้ายกันของคู่สื่อสาร นําไปสู่แนวคิดข้อใด
ตอบ 4 หน้า 133, (คําบรรยาย) ปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงดึงดูดใจทางสังคมของคู่สื่อสาร จนนําไปสู่ แนวคิดความสัมพันธ์ทางสังคม มีอยู่ 3 ประการ ดังนี้
1 ความใกล้ชิดทางกายภาพ คือ ความใกล้ชิดกันทางด้านสถานที่ เช่น ในห้องเรียน หรือ เพื่อนร่วมงานในที่ทํางานเดียวกัน
2 ทัศนคติที่คล้ายคลึงกัน คือ มีความสนใจร่วมกัน หรือมีทัศนคติหลาย ๆ อย่างตรงกันมาก่อน
3 รูปร่างหน้าตา หรือบุคลิกภาพที่ดี นับเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลมากขึ้นในปัจจุบัน
92 ประสบการณ์ครั้งแรก นําไปสู่แนวคิดข้อใด
ตอบ 1 หน้า 127 – 129, 155, (คําบรรยาย) การรับรู้ทางสังคมด้วยความรู้สึกประทับใจ มักเกิดจาก ปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
1 ความประทับใจครั้งแรก ประสบการณ์ครั้งแรก หรือปรากฏการณ์ครั้งแรกของคู่สื่อสาร คือ การรับรู้ว่าชอบหรือไม่ชอบบุคคลที่เราพบเห็นเป็นครั้งแรก
2 ปรากฏการณ์ภายนอก คือ บุคลิกภาพภายนอกของบุคคล ได้แก่ รูปร่างหน้าตา
3 การสื่อสารเชิงอวัจนะหรือพฤติกรรมการแสดงออกทางอวัจนภาษา (ภาษากาย) คือ การสื่อสารกันโดยไม่ต้องใช้คําพูด เช่น สีหน้า สายตา ท่าทางและการสัมผัส น้ำเสียง ฯลฯ
93 ลูกพ่อขุนฯ ปลื้ม ศิษย์เก่าประสบความสําเร็จในหน้าที่การงาน แนวคิดนี้ทําให้ได้รับการยอมรับทางสังคม
ข้อใด
(1) อ้างความด้อยของตัวเอง
(2) อ้างชื่อเสียงของกลุ่ม
(3) สวมบทบาทตามความคาดหวัง
(4) สวมบทบาทตามคุณลักษณะที่ไม่พึงปรารถนา
ตอบ 2 หน้า 135 อ้างชื่อเสียงของกลุ่ม คือ การทําให้ผู้อื่นยอมรับตนเองโดยบุคคลอาจอ้างชื่อเสียง ของกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ และเป็นกลุ่มที่ประสบความสําเร็จ เช่น อ้างกลุ่มโรงเรียน มหาวิทยาลัย ภูมิลําเนา เชื้อชาติ ฯลฯ เพื่อทําให้ผู้อื่นยอมรับตนเองหรือเพื่อให้เป็นที่ยอมรับในสังคม และเพื่อเป็นการสร้างความประทับใจ
ข้อ 94 – 95. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) การชดเชย
(2) การทดแทน
(3) ปฏิกิริยากลบเกลื่อน
(4) การถ่ายโทษ
94 การทําบุญเพื่อล้างบาป แสดงถึงพฤติกรรมการป้องกันตนเองข้อใด
ตอบ 4 หน้า 140 การถ่ายโทษ (Undoing) คือ กลไกที่บุคคลแสดงการกระทําเพื่อลบล้างการกระทําเดิม ของตน ซึ่งเป็นการกระทําที่ผู้อื่นไม่ยอมรับและเป็นการล้างบาป หรือลบล้างความผิดที่ตนเอง ทําไว้ในอดีต เช่น การทําบุญกุศลเกินกว่าฐานะเพื่อล้างบาป เป็นต้น
95 การพยายามเอาชนะข้อบกพร่องของตนเอง แสดงถึงพฤติกรรมการป้องกันตนเองข้อใด
ตอบ 1 หน้า 139, (คําบรรยาย) การชดเชย (Compensation) คือ กลไกที่บุคคลพยายามจะเอาชนะ ข้อบกพร่องหรือความด้อยของตนเองทั้งด้านสติปัญญา ร่างกาย บุคลิกภาพ และฐานะทางเศรษฐกิจ โดยใช้วิธีการสร้างความเด่นหรือความสําเร็จด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อชดเชยความบกพร่อง จุดอ่อน และความด้อยของตัวเอง เช่น การเล่นกีฬาให้เก่งชดเชยการเรียนไม่เก่ง หรือคนที่ไม่มีโอกาส เรียนสูง ๆ จะพยายามส่งเสียให้ลูกเรียนจนจบการศึกษาขั้นสูงที่สุด ฯลฯ
96 การรู้จักให้คุณค่าในสิ่งต่าง ๆ ของบุคคล เป็นผลมาจากวัตถุประสงค์ใดของการสื่อสารระหว่างบุคคล
(1) เพื่อค้นพบตนเอง
(2) เพื่อค้นพบโลกภายนอก
(3) เพื่อสร้างความสัมพันธ์
(4) เพื่อโน้มน้าวใจ
ตอบ 2 หน้า 151, (คําบรรยาย) เพื่อค้นพบโลกภายนอก (Discovery of The External World) คือ การสื่อสารระหว่างบุคคลทําให้บุคคลเข้าใจในตนเองและผู้อื่น เข้าใจสิ่งของและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว ซึ่งเป็นการเปิดโลกทัศน์ของตนเองให้กว้างขวางมากขึ้น รวมทั้งทําให้เกิดการถ่ายทอด และเรียนรู้เกี่ยวกับความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยม นอกจากนี้การรู้จักให้คุณค่าในสิ่งต่าง ๆ ของบุคคลที่ผ่านเข้ามาสู่ความคิดของเราด้วยการสื่อสารกับผู้อื่นเช่นกัน
97 ข้อใดไม่ใช่แนวคิดที่ถูกต้องของการสื่อสารเชิงอวัจนะ
(1) การสื่อสารเชิงอวัจนะทําให้การสื่อสารชัดเจนขึ้น
(2) การสื่อสารเชิงอวัจนะแสดงออกได้อย่างกว้างขวาง
(3) การสื่อสารเชิงอวัจนะแสดงออกอย่างรู้ตัวของผู้ส่งสาร
(4) การสื่อสารเชิงอวัจนะแสดงถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ตอบ 3 หน้า 153 – 154 แนวคิดที่ถูกต้องของการสื่อสารเชิงอวัจนะหรือการใช้อวัจนสาร (Nonverbat Communication) มีดังนี้
1 แสดงถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
2 มีแทรกอยู่ในทุกสถานการณ์ของการสื่อสารที่เราไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่าพฤติกรรมนั้น
จะแสดงโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม
3 มีความครอบคลุมกว้างขวางแทบจะไม่มีขอบเขตจํากัด (ไร้ขอบเขต) ไม่ว่าจะเป็นการ แสดงออกทางด้านน้ำเสียง ท่าทาง หรือสีหน้า
4 มีหน้าที่ในการสื่อสาร ทําให้การสื่อสารชัดเจนถูกต้องและน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
5 อาจเกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจหรือไม่รู้ตัว ทําให้ขาดการควบคุมและแสดงออกอย่างไม่มีประสิทธิภาพ
6 สามารถส่งผลกระทบและมีอิทธิพลต่อผู้รับสารมากกว่าวจนสารถึง 5 เท่า ฯลฯ
98 ข้อใดแสดงถึงประสิทธิภาพในการใช้วัจนภาษาเพื่อสร้างมนุษยสัมพันธ์
(1) เลือกใช้ถ้อยคําที่เข้าใจง่าย
(2) หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์ทางวิชาการ
(3) หลีกเลี่ยงถ้อยคําที่คลุมเครือ
(4) เลือกใช้ถ้อยคําที่ทําให้ผู้รับสารพึงพอใจ
ตอบ 4หน้า 153 การใช้วัจนภาษาในการสื่อสารระหว่างบุคคลเพื่อสร้างมนุษยสัมพันธ์นั้น ผู้ส่งสาร (ผู้พูด) ต้องเลือกใช้ถ้อยคําต่าง ๆ ที่จะทําให้ผู้รับสาร (ผู้ฟัง) มีความพึงพอใจ โดยตระหนักถึง ธรรมชาติทั่วไปของมนุษย์ที่ต้องการเป็นที่ยอมรับของบุคคลอื่น และต้องการเป็นบุคคลสําคัญ ดังนั้นผู้พูดจึงควรใช้คําพูดที่สุภาพเพื่อเป็นการยกย่องให้เกียรติผู้ฟัง และควรหลีกเลี่ยงคําพูด ที่ไม่สุภาพ คําพูดตําหนิหรือดูถูกผู้ฟัง เพราะคําพูดเหล่านี้จะสร้างความขัดแย้งมากกว่าความพึงพอใจ
99 คู่สื่อสารที่มีรสนิยมเดียวกัน แสดงถึงปัจจัยใดในการเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างบุคคล
(1) การให้แรงเสริมแก่คู่สื่อสาร
(2) ความใกล้ชิดของคู่สื่อสาร
(3) ความคล้ายคลึงของคู่สื่อสาร
(4) ลักษณะดึงดูดใจของคู่สื่อสาร
ตอบ 3 หน้า 158, 160 – 161 ความคล้ายคลึงกันของคู่สื่อสาร (Similarity) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
ได้แก่
1 ความคล้ายคลึงกันทางคุณลักษณะประชากรศาสตร์ เช่น อายุ เพศ สถานภาพทางเศรษฐกิจ และสังคม ระดับการศึกษา ศาสนา เชื้อชาติ ฯลฯ
2 ความคล้ายคลึงกันทางภูมิหลัง หรือประสบการณ์ร่วมของคู่สื่อสาร
3 ความคล้ายคลึงกันทางทัศนคติ เป็นระดับความคล้ายคลึงกันในแง่ของความเชื่อ การมีรสนิยมเดียวกัน หรือการให้คุณค่าสิ่งต่าง ๆ ที่เหมือนกันระหว่างคู่สื่อสาร
100 การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา แสดงถึงพฤติกรรมใดในการเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างบุคคล
(1) Empathy
(2) Honesty
(3) Positiveness
(4) Equality
ตอบ 1 หน้า 161 – 162 พฤติกรรมความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) หรือความสามารถในการเอาใจเขา มาใส่ใจเรา หมายถึง ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น หรือความสามารถในการรับรู้และเข้าใจถึง ความรู้สึกและความคิดเห็นของคู่สื่อสารในแต่ละสถานการณ์ได้เสมือนเป็นคน ๆ นั้น ซึ่งจะช่วยให้ คู่สื่อสารปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการสื่อสารของตนให้เป็นที่พอใจซึ่งกันและกันได้