การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2150 (MCS 2100) การประชาสัมพันธ์เบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1 การประชาสัมพันธ์เป็นกระบวนการอย่างไร
(1) ทิศทางเดียว (One-way Process)
(2) สองทิศทาง (Two-way Process)
(3) สามทิศทาง (Tri-way Process)
(4) หลากทิศทาง (Many-way Process)
ตอบ 2 หน้า 8, 53, 68, 71, (คําบรรยาย) การประชาสัมพันธ์เป็นกระบวนการแบบสองทิศทางหรือ ระบบยุคลวิถี (Two-way Process) คือ วิธีการสื่อสารจากองค์การไปสู่กลุ่มประชาชน และ ในขณะเดียวกันก็ฟังเสียงสะท้อนกลับของประชาชนมาสู่องค์การด้วย ดังนั้นการประชาสัมพันธ์แบบ Two-way Process จึงมุ่งหวังที่จะสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่องค์การและประชาชนทั้ง 2 ฝ่ายโดยวิธีการติดตามผลหรือตรวจสอบกระแสประชามติ ดังที่นักประชาสัมพันธ์มืออาชีพ กล่าวไว้ว่า “จงออกไปฟังเสียงประชาชน มิใช่คอยจนมีเสียงจากประชาชนเข้ามาต่อว่าเรา”
2 ใครคือนักประชาสัมพันธ์ตัวจริง
(1) ผู้บริหารระดับสูง
(2) เจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์บริการข้อมูล
(3) ทุกคนในองค์การ
(4) พนักงานบริษัท
ตอบ 1 หน้า 3, 7, 12, (คําบรรยาย) งานประชาสัมพันธ์เป็นงานระดับบริหาร และเป็นเครื่องมือของ การบริหารงาน ซึ่งฝ่ายบริหาร (Executive) หรือฝ่ายจัดการจะถือว่า การประชาสัมพันธ์เป็น ส่วนหนึ่งของงานในภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของตน ดังนั้นนักประชาสัมพันธ์ตัวจริงจึงควรอยู่ในตําแหน่งผู้บริหารระดับสูง หรือผู้ช่วยผู้บริหาร
3 ข้อใดเป็นความเข้าใจผิดว่าสิ่งนี้คือ “งานประชาสัมพันธ์
(1) ณเดชน์วิจัยเพื่อสื่อสารกับเกษตรกรในจังหวัด
(2) ญาญ่าเตรียมสุนทรพจน์ให้คําปรึกษาแก่ผู้บริหาร
(3) น้าไก่อูผู้ประสานงานและวางแผนสื่อสาร
(4) เสกข์มาไซโคให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการใหม่
ตอบ 4 หน้า 4 คําว่า “การประชาสัมพันธ์” เป็นคําที่คนเข้าใจผิดกันมากคําหนึ่ง คือ เข้าใจสับสนไขว้เขวไปทั้งในทางบวกและลบ ซึ่งทางลบที่หนักที่สุดจะเป็นการเข้าใจว่า การประชาสัมพันธ์ เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) หรือล้างสมอง (Indoctrination) ที่เบาลงมาหน่อย ก็คือ เข้าใจผิดว่าเป็นการโฆษณา (Advertising) คล้ายกับคําว่า “ไซโค” (Psycho) มาจาก คําเต็มว่า “Psychology” อันหมายถึง จิตวิทยา
4 ใครต่อไปนี้เหมาะสมกับ “นักประชาสัมพันธ์”
(1) วรัญดาฉลาดสุขุม
(2) ศิริวรรณาใจดี
(3) นริศเอาใจใส่ครอบครัว
(4) น้องนวลมีมนุษยสัมพันธ์
ตอบ 4 หน้า 234, 236 คุณสมบัติอันจําเป็นของนักประชาสัมพันธ์ในด้านบุคลิกภาพ มีดังนี้
1 มีทักษะในการติดต่อ มีบุคลิกที่เป็นมิตร เข้ากับผู้อื่นได้ดี
2 รักงานบริการและชอบบริการผู้อื่น
3 มีมนุษยสัมพันธ์ดี รักษาคําพูด จริงใจ
4 กระตือรือร้นอยู่เสมอ
5 ยิ้มแย้มแจ่มใส มีอารมณ์ขัน ฯลฯ
5 สมาคมการประชาสัมพันธ์แห่งสหรัฐอเมริกา ตรงกับข้อใด
(1) La Maison de Public : LMP (ลา เมซอง เดอ พับลิก)
(2) Public Relations Society of America : PRSA (พับลิก รีเลชั่น โซไซตี้ ออฟ อเมริกา)
(3) American Public Agency : APA (อเมริกัน พับลิก เอเยนซี)
(4) American Public Society Associate : APSA (อเมริกัน พับลิก โซไซตี้ แอสโซซิเอท)
ตอบ 2 หน้า 42 – 43 สมาคมนักประชาสัมพันธ์ของสหรัฐอเมริกา (Public Relations Society of America : PRSA) ได้ริเริ่มก่อตั้งหลักจรรยาบรรณของนักประชาสัมพันธ์ (The PRSA Code) ขึ้นมาเป็นประเทศแรกในปี ค.ศ. 1954 เพื่อเป็นหลักมาตรฐานของวิชาชีพการประชาสัมพันธ์ ในการให้บริการร่วมกันในระดับที่ดีเด่นกับประชาชน และเป็นที่ยอมรับนับถือโดยทั่วไป
6 จากข้อ 5. สมาคมดังกล่าวประกาศหลักการจรรยาบรรณวิชาชีพในปีอะไร
(1) 1924
(2) 1944
(3) 1954
(4) 1964
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ
7 การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ร่วมงาน ควรทํากิจกรรมใดจึงเหมาะสมกับยุคนี้
(1) จิบน้ำชายามบ่ายและพูดคุยถึงองค์การ
(2) พาไปทัศนศึกษาดูงานต่างประเทศ
(3) แจกอังเปาทุกคนในองค์การ
(4) อนุญาตให้หยุดงานตลอดทั้งเดือน
ตอบ 2 หน้า 341 – 342 หลักการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ร่วมงานประการหนึ่ง คือ การจัดงาน พบปะสังสรรค์ระหว่างพนักงานในโอกาสพิเศษต่าง ๆ เพื่อความสนิทสนมกลมเกลียวกัน และ มองเห็นความสําคัญของฝ่ายอื่น ๆ ที่มีต่อสถาบันโดยส่วนรวม เช่น ส่งเสริมด้านกีฬา ดนตรี ทัศนศึกษาดูงานต่างประเทศ จัดฉายภาพยนตร์ ฯลฯ
8 ข้อใดอธิบายถึง “การโฆษณาชวนเชื่อ” (Propaganda) ได้ดีที่สุด
(1) เท็จก็ว่าจริง ควบคุม ปลุกปั่น เพื่อให้ได้ผลที่ต้องการ
(2) ชักจูงใจด้วยข้อมูลหลากหลายให้ตัดสินใจซื้อ
(3) วางแผนให้มีการส่งเสริม เสนอแนะ สร้างความล่อใจ
(4) แก้ไขความเข้าใจผิดให้ถูก ปลุกความนิยมอุดมการณ์ ศิลปวัฒนธรรม
ตอบ 1 หน้า 14 การโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) คือ การเผยแพร่ลัทธินิยมโดยเจตนาโน้มน้าว ชักจูงใจคนด้วยกลวิธีต่าง ๆ ให้หลงเชื่อ ให้เห็นดีเห็นงาม หรือให้เป็นปรปักษ์กับสิ่งหรือคนที่ ต้องการประณาม โดยจะพยายามควบคุม ปลุกปั่น และเป็นเครื่องมือทางการเมือง เพื่อที่จะ ให้ได้ผลตามที่ต้องการ ซึ่งมีลักษณะสําคัญคือ พูดเอาแต่ได้ เรื่องเท็จก็ว่าจริง อ้างว่าเป็นเรื่อง หรือข้อคิดของคนส่วนใหญ่ และพยายามปิดซ่อนที่มาของแหล่งข่าว
9 จากข้อ 8. ข้อใดกล่าวถึง “การโฆษณา” (Advertising)
ตอบ 3 หน้า 15 – 16 การโฆษณา (Advertising) ที่ดีนั้น จะต้องมีการวางแผนล่อใจที่แฝงไว้ด้วย “การเสนอแนะ” และ “ส่งเสริม” ดังนั้นจึงเป็นเรื่องของการกระทําหรือชักนําความเชื่อ และสร้างศรัทธาด้วยการดึงดูดถึงเหตุผลของการโฆษณาหรืออารมณ์จากผู้พบเห็น จนกลายเป็น เรื่องของการสร้างความล่อใจ (Persuasion) ขึ้นมา
10 จากข้อ 8. จุดมุ่งหมายของ “การสารนิเทศ” (Information Service) คือข้อใด
ตอบ 4 หน้า 17 – 18 การสารนิเทศ (Information Service) คือ การให้ข่าวสารข้อเท็จจริงต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ให้ชาวต่างชาติได้รู้จักประเทศไทย เช่น ข่าวสารทั่วไปเกี่ยวกับเมืองไทย นโยบาย ของรัฐบาล ตลอดจนการให้ความสะดวก ช่วยเหลือ ปรับความเข้าใจ แก้ไขความเข้าใจผิดให้ ถูกต้อง และการแสดงอัธยาศัยไมตรีหรือผูกสัมพันธไมตรี ปลุกความนิยมในอุดมการณ์และ ศิลปวัฒนธรรมของชาติตน ฯลฯ ซึ่งประเทศไทยได้ทําการสารนิเทศมานานมากแล้ว โดยมี สํานักงานแถลงข่าวไทยในสังกัดของกรมประชาสัมพันธ์ อยู่ที่กรุงวอชิงตัน ลอนดอน ฯลฯ
11 จากข้อ 8. ข้อใดตรงกับ “การขาย” (Sales)
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การขาย (Sales) คือ การชักจูงใจผู้ซื้อด้วยข้อมูลที่หลากหลายให้ตัดสินใจ ซื้อสินค้าหรือบริการ โดยจะใช้กิจกรรมทางการตลาดช่วยส่งเสริมการขายให้เกิดขึ้น เช่น การโฆษณา การขายโดยพนักงาน การลดราคาสินค้า การแจกของแถม ฯลฯ
12 สื่อมวลชนสัมพันธ์ (Press Relations Affairs) มีวิธีใดที่จะสร้างความสัมพันธ์ให้เหมาะสม
(1) พูดเก่ง ยิ้มหวาน ต้อนรับดี
(2) ทํางานประสานคู่กับสื่อมวลชนตรงเวลา
(3) ทําข่าวแจก (Press Release) ให้สื่อมวลชนทุกวัน
(4) แทรกโฆษณาสินค้าในข่าวแจกไปพร้อมกัน
ตอบ 2 หน้า 326, 330 – 331, (คําบรรยาย) วิธีการสร้างความสัมพันธ์กับสื่อมวลชนสัมพันธ์ (Press Relations Affairs) ให้เหมาะสม มีดังนี้
1 ให้ข่าวประชาสัมพันธ์ที่เป็นจริง ถูกต้อง แม่นยํา น่าอ่าน และกระชับ
2 ทํางานประสานคู่กับสื่อมวลชนตรงเวลา
3 อย่าแทรกโฆษณาสินค้าร่วมไปกับข่าวแจก (Press Release or News Release)
4 อย่าส่งข่าวบ่อยเกินไป แต่ควรส่งเฉพาะข่าวสําคัญอย่างแท้จริง ฯลฯ
13 การจัด Big Cleaning Day เป็นการทําประชาสัมพันธ์กับกลุ่มใดได้ดีที่สุด
(1) พนักงาน
(2) ผู้บริหาร
(3) สื่อมวลชน
(4) ชุมชน
ตอบ 4 หน้า 346, (คําบรรยาย) ความสัมพันธ์ในชุมชน หรือชุมชนสัมพันธ์ หมายถึง การเสริมสร้าง ความเข้าใจ ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างองค์การ/สถาบันกับชุมชน เป็นการให้ความสนใจ เอาใจใส่ถึงความต้องการและทัศนคติของสมาชิกทุกคนในชุมชน โดยชุมชนในที่นี้จะหมายถึง กลุ่มมวลชนที่ได้พักพิงอาศัยอยู่ในท้องถิ่นเดียวกันหรือใกล้เคียงกันกับองค์การ ซึ่งตัวอย่างของ การทําชุมชนสัมพันธ์ ได้แก่ กิจกรรม Big Cleaning Day ทําความสะอาดในเขตบ้านเรือน ใกล้องค์การ เป็นต้น
14 นักประชาสัมพันธ์มืออาชีพ ควรมีคุณสมบัติอะไรบ้าง
(1) มีความรู้กว้าง สื่อสารดี
(2) แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าแบรนด์เนม
(3) พร้อมทํางานในออฟฟิศ
(4) มีรถยนต์เป็นของตัวเอง
ตอบ 1 หน้า 28 รศ.วิรัช อภิรัตนกุล อาจารย์ประจําคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ได้กล่าวว่า นักประชาสัมพันธ์จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรอบรู้อย่างกว้างขวางทางด้าน สังคมศาสตร์ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีทักษะในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารเป็นอย่างดี ไม่ว่า ด้านการเขียน พูด อ่าน ฟัง หรือคิด
15. ใครกล่าวว่า “การกระทําสําคัญกว่าคําพูด ดังนั้นประชาสัมพันธ์ คือ ปรัชญาแห่งการกระทํา”
(1) Ivy Lee
(2) Albert Sullivan
(3) Paul W. Garrett
(4) Edward L. Bernays:
ตอบ 3 หน้า 21 Paul W. Garrett ซึ่งเป็นนักประชาสัมพันธ์ผู้มีชื่อเสียงชาวอเมริกัน ได้กล่าวไว้ว่า “การกระทํานั้นสําคัญกว่าคําพูด ดังนั้นการประชาสัมพันธ์ หมายถึง ปรัชญาแห่งการกระทํา ในสิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่เห็นชอบ และลงมือทําในแนวทางที่ประชาชนต้องการ
16 จากข้อ 15. ใครกล่าวว่า “นักประชาสัมพันธ์ควรมีความรู้ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์”
ตอบ 4หน้า 28 Edward L. Bernays และ Howard Stephenson ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้าน การประชาสัมพันธ์ที่มีชื่อเสียงมาก ได้กล่าวไว้ว่า ผู้ที่อยากจะเป็นนักประชาสัมพันธ์ที่ดีนั้น จะต้องศึกษาในวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อเป็นพื้นฐาน
17 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของงานประชาสัมพันธ์
(1) วางแผนระยะสั้น
(2) โน้มน้าวชักจูงใจ
(3) วิจัยและสํารวจความคิดเห็น
(4) สื่อสารจากสถาบันไปยังกลุ่มประชาชน
ตอบ 1 หน้า 7, 10, (คําบรรยาย) การประชาสัมพันธ์เป็นการสื่อสารจากสถาบันไปยังกลุ่มประชาชน โดยมีจุดมุ่งหมายสําคัญ คือ เพื่อที่จะสร้างความนิยมและสร้างความศรัทธาเชื่อมั่นต่อองค์การ ดังนั้นการวางแผนประชาสัมพันธ์จึงต้องวางแผนระยะยาว มีการติดต่อสื่อสารโน้มน้าวชักจูงใจ มีการค้นคว้าวิจัย สํารวจความคิดเห็น และประเมินผล จึงไม่อาจเห็นผลได้ในระยะเวลาอันสั้น แต่ต้องดําเนินการปฏิบัติงานติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน
18 งานประชาสัมพันธ์เป็นงานเน้นด้านใดเป็นหลัก
(1) ด้านความรู้
(2) ด้านบริการ
(3) ด้านทักษะ
(4) ด้านสํารวจความคิด
ตอบ 2 หน้า 27 งานประชาสัมพันธ์เป็นงานเน้นด้านขายบริการเป็นหลัก มิใช่ขายสินค้าหรือวัตถุดิบ แต่จะเป็นบริการในด้านการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันกับสังคมภายนอก เพื่อให้ประชาชนเกิดจินตภาพที่ดีต่อสถาบัน ดังนั้นจึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยความร่วมมือ จากหลาย ๆ ฝ่ายในสังคม
19 อะไรเป็นองค์ประกอบการสื่อสารที่สําคัญของการประชาสัมพันธ์
(1) ผู้รับสาร
(2) ผู้บริหาร
(3) บริบทสังคม
(4) สื่อมวลชน
ตอบ 1 หน้า 153 – 155 องค์ประกอบการสื่อสารที่มีความสําคัญยิ่งของกรรมวิธีการติดต่อเพื่องานประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1 ผู้ดําเนินการสื่อสาร (Communicator)
2 ข่าวสาร (Message)
3 ผู้รับสาร (Audience)
20 ข้อใดบอกถึงการสื่อสารประชาสัมพันธ์แล้วได้ผลสมบูรณ์
(1) พี่ตูน Bodyslam เป็นพรีเซ็นเตอร์ให้โครงการไม่สูบบุหรี่
(2) ใช้เฟซบุ๊กเข้าถึงกลุ่มผู้สูงอายุ
(3) จัดวิ่งแข่งมาราธอนนักเรียนประถม
(4) ใช้กระดาษ A4 ทําป้ายบอกทางไปงานสัมมนาระยอง
ตอบ 1 หน้า 170 – 172 การสื่อสารประชาสัมพันธ์จะให้ผลสมบูรณ์ได้ ควรปฏิบัติตามหลักการ สําคัญ 7 ประการ ได้แก่
1 ความน่าเชื่อถือของข่าวสาร วิธีการส่งสาร และตัวผู้ส่งสาร
2 การเข้ากันได้กับสภาพแวดล้อม
3. เนื้อหาสาระ
4. ความชัดเจนของข่าวสาร
5. ความต่อเนื่องและสม่ําเสมอ
6. ช่องทางในการสื่อสารที่ผู้รับสารคุ้นเคย
7. ขีดความสามารถของผู้รับสาร
21 สุวรรณีเดินเข้าไปในโรงแรมดุสิตธานี เธอต้องการจองห้องจัดเลี้ยงจึงเดินไปถามเจ้าหน้าที่บริการข้อมูล ถามว่าหน่วยงานบริการข้อมูลนั้น คือหน่วยงานใด
(1) Customer Service
(2) Information Counter
(3) Press Agent
(4) Room Service
ตอบ 2 หน้า 7, 95, 97 แผนกติดต่อสอบถาม (Information) หรือที่ชาวอังกฤษและกลุ่มประเทศ ที่เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษนิยมใช้คําว่า “Enquiry” คือ งานต้อนรับหรือติดต่อสอบถาม เรื่องราวทั่วไปของสถาบันนั้น ๆ ซึ่งถือเป็นบริการของหน่วยงานด่านแรกที่ได้ให้กับประชาชน โดยเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการจะต้องมีความรู้ในสถาบันของเขาเป็นอย่างดียิ่ง หรือทําหน้าที่เป็น เหมือนผู้ต้อนรับ (Receptionist) ซึ่งจะคอยชี้แจงเรื่องราวต่าง ๆ และพร้อมที่จะช่วยเหลือ อํานวยความสะดวกแก่แขกหรือผู้มาติดต่อด้วยความเต็มใจ
22. ประเทศใดต่อไปนี้มักใช้ Enquiry ในการติดต่อสอบถามเพื่อให้ข้อมูล
(1) อังกฤษ
(2) ญี่ปุ่น
(3) ไทย
(4) สิงคโปร์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ
23. หน่วยงานใดไม่จัดว่าเป็นหน่วยงานประชาสัมพันธ์
(1) สํานักงานทะเบียนตํารวจแห่งชาติ
(2) กรมประชาสัมพันธ์
(3) สํานักงานที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์
(4) ฝ่ายประชาสัมพันธ์และพัฒนายังยืน
ตอบ 1 หน้า 35 – 36, (คําบรรยาย) หน่วยงานที่จัดเป็นหน่วยงานประชาสัมพันธ์ ได้แก่
1. บริษัทรับจ้างทําประชาสัมพันธ์ (Public Relations Agency)
2. สํานักงานที่ปรึกษาทางด้านการประชาสัมพันธ์ (Public Relations Counseling Firm)
3. ฝ่ายประชาสัมพันธ์และโฆษณา (Public Relations & Advertising Department)
24 การจัดอันดับปี 2017 บริษัทยักษ์ใหญ่อันดับแรกด้านประชาสัมพันธ์ คือองค์การใด
(1) Edelman (เอเดลแมน)
(2) Weber Shandwick (เว็บเบอร์ แซนวิค)
(3) Hill & Knowtton (ฮิล แอนด์ นอร์ลตัน)
(4) Ogilvy PR (โอกิลวี่)
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในปี ค.ศ. 2015 ได้มีการจัดอันดับบริษัทยักษ์ใหญ่อันดับแรกของโลกในด้านประชาสัมพันธ์ คือ บริษัท Edelman ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีรายได้จากการรับจ้าง ทําประชาสัมพันธ์ถึงปีละประมาณ 812,300,000 ดอลลาร์ โดยจะมีจํานวนเจ้าหน้าที่และ พนักงานทั้งหมด 5,500 คน ทั้งนี้บริษัท Edelman ก็ยังครองตําแหน่งบริษัทยักษ์ใหญ่เป็น อันดับแรกของโลกด้านประชาสัมพันธ์มาจนกระทั่งปี ค.ศ. 2017
25 ในปี 1969 บริษัทยักษ์ใหญ่อันดับแรกที่มีกิจการใหญ่โตด้านประชาสัมพันธ์ คือใคร
(1) Cart Byoir & Associates (คาร์ล ไบเออร์ แอสโซซิเอท)
(2) Densu Agency (เดนส์ เอเยนซี)
(3) Ruder & Finn (รูเดอร์ ฟินน์
(4) Hill and Knowlton (ฮิล แอนด์ นอร์ลตัน)
ตอบ 4 หน้า 37 – 38, 69 ในปี ค.ศ. 1969 บริษัทยักษ์ใหญ่อันดับแรกที่มีกิจการใหญ่โตด้าน ประชาสัมพันธ์ คือ บริษัท Hill and Knowlton หรือเรียกชื่อสั้น ๆ ว่า “H & K” โดยมี John W. Hill อดีตนักหนังสือพิมพ์อเมริกัน เป็นผู้ก่อตั้งสํานักงานที่ปรึกษาทางด้านการ ประชาสัมพันธ์ที่ใหญ่โตเป็นอันดับ 1 ของโลกในยุคบุกเบิก
26 ข้อใดระบุถึงจรรยาบรรณของวิชาชีพประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความถูกต้องของข้อมูล
(1) ไม่จงใจทําลายชื่อเสียงวิชาชีพหรือสมาชิกคนอื่น ๆ
(2) ไม่รับค่าตอบแทนจากบุคคลใด ๆ ซึ่งไม่ใช่ลูกค้าหรือนายจ้างของตน
(3) ระลึกว่า ลูกค้าของเราเป็นฝ่ายถูกเสมอ เพราะเป็นผู้จ่ายค่าจ้าง
(4) การเผยแพร่ข่าวสาร ต้องเตรียมพร้อมที่จะระบุต้นตอแหล่งที่มาของข่าว
ตอบ 4 หน้า 43 – 44 จรรยาบรรณของวิชาชีพประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับความถูกต้องของข้อมูล เช่น ข้อ 6 การดําเนินการเผยแพร่ข่าวสารนั้น นักประชาสัมพันธ์จะต้องเตรียมพร้อมเสมอที่จะระบุต้นตอหรือแหล่งที่มาของข่าวสาร รวมทั้งชื่อลูกค้าและนายจ้างที่อยู่ในความรับผิดชอบของตน
27 จากข้อ 26. ข้อใดกล่าวถึงความสําคัญของลูกค้า
ตอบ 3หน้า 43 จรรยาบรรณของวิชาชีพประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับความสําคัญของลูกค้า เช่น ข้อ 4 จงระลึกเสมอว่า “ลูกค้าของเรานั้นเป็นฝ่ายถูกเสมอ” อย่าได้สร้างความขัดแย้งหรือเป็นปรปักษ์ กับลูกค้า นายจ้าง และประชาชนทั่วไป
28 มาตรฐานจรรยาบรรณวิชาชีพประชาสัมพันธ์ บ่งบอกถึงอะไร
(1) เป็นมาตรฐานการบริการ
(2) มวลชนเกิดความเชื่อมั่นศรัทธา
(3) นักประชาสัมพันธ์ต้องสนใจสังคม
(4) เป็นอาชีพพิเศษต้องรับผิดชอบสังคม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ
29 คําขวัญประชาสัมพันธ์ คือข้อใด
(1) นึกถึงอาหาร นึกถึงฟูดแลนด์
(2) ก้าวให้ไกลตั้งแต่ก้าวแรก แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
(3) รู้ลึก รู้จริง รอบด้าน ข่าวสามมิติ
(4) มหานครสวย ชาวกรุงเทพฯ ร่วมใจลดขยะให้เป็นศูนย์
ตอบ 4 หน้า 129 – 130, 314 – 315 คําขวัญประชาสัมพันธ์ คําขวัญโฆษณาเพื่องานประชาสัมพันธ์ หรือการวางแผนกําหนดหัวข้อประชาสัมพันธ์ (Themes) คือ คําขวัญที่มีเนื้อหาเพื่อช่วยเหลือ สังคม ซึ่งจะต้องไม่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการขององค์การ โดยอาจใช้คําพูดสั้น ๆ ที่กินใจ และจดจําได้ง่าย หรืออาจจะใช้เป็นภาพสัญลักษณ์เพื่อเตือนใจและติดตามกลุ่มเป้าหมายก็ได้ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําขวัญโฆษณาสินค้า คือ ข้อความที่มุ่งเน้นในตัวสินค้า บริการ หรือ ความคิด ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทางธุรกิจขององค์การนั้น ๆ)
30 เหตุใดสถาบันต้องสร้างความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มประชาชนทั่วไป
(1) ประชาชนทั่วไปมีจํานวนมหาศาล
(2) ประชาชนทั่วไปรับรู้ภาพลักษณ์สถาบัน
(3) สถาบันจําเป็นต้องเรียนรู้ประชาชน
(4) ประชาชนมีพลังมาก
ตอบ 2 หน้า 51 – 52 กลุ่มประชาชนทั่วไป หมายถึง กลุ่มประชาชนกลุ่มอื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจาก กลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้องโดยตรงและกลุ่มประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งทางสถาบันจะต้องเกี่ยวข้องเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน เพื่อให้กลุ่มประชาชนทั่วไปรับรู้ภาพลักษณ์หรือจินตภาพที่งดงามของสถาบัน
31 “ทูตประชาสัมพันธ์ของสถาบัน” ในการช่วยเหลือเกื้อกูลร่วมมือร่วมใจกัน คือกลุ่มใด
(1) กลุ่มสื่อมวลชน
(2) กลุ่มพนักงาน
(3) กลุ่มชุมชน
(4) กลุ่มผู้บริหารระดับสูง
ตอบ 2 หน้า 49 กลุ่มประชาชนภายในสถาบัน หมายถึง บรรดามวลชนที่ทํางานอยู่ภายในของสถาบัน เช่น ข้าราชการและพนักงานในกระทรวง ทบวง กรม, เหล่าทหารในกองทัพ, ครูในวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย ฯลฯ ซึ่งเปรียบเสมือนทูตประชาสัมพันธ์ของสถาบันที่จําเป็นต้องช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน ให้ความร่วมมือร่วมใจกันรักษาจินตภาพที่ดีงามของสถาบันไว้ ทั้งนี้เพื่อความเจริญ ก้าวหน้าต่อไปในอนาคต
32 ใครเป็นผู้นําทางความคิด (Opinion Leader)
(1) พระ
(2) เจ้าหน้าที่เกษตร
(3) นักประชาสัมพันธ์
(4) นักศึกษา
ตอบ 1 หน้า 52, 156 – 159, (คําบรรยาย) ตามทฤษฎีการติดต่อสองทิศทาง (The Two Step Flow Theory) นั้น การเข้าถึงประชาชนกลุ่มใหญ่ที่มักได้ผลดี คือ การเข้าถึงผู้เป็นกุญแจประชามติ ผู้นําท้องถิ่น หรือผู้นําทางความคิด (Opinion Leader) ได้แก่ ผู้เป็นหัวหน้าที่มีอิทธิพลในชุมชน และเป็นที่เคารพยอมรับนับถือในสังคม ซึ่งจะเข้าใจข่าวสารได้ดีกว่าและเป็นสื่อกลางเผยแพร่ ความรู้ รวมทั้งชักจูงใจบุคคลอื่น ๆ ต่อไปได้ เช่น ผู้นําทางความคิดในสังคมชนบท ได้แก่ พระ ครู กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ส่วนผู้นําทางความคิดในสังคมเมืองใหญ่ เช่น ในกรุงเทพฯ ได้แก่ นายกรัฐมนตรี หรือนักการเมืองที่มีชื่อเสียงและมีบทบาทในสังคม
33 นักประชาสัมพันธ์ต้องเผชิญกับสิ่งใดตลอดเวลา
(1) ประสานงานกับสื่อมวลชน
(2) รับฟังคําติชมข้อเสนอแนะของมวลชน
(3) สร้างสรรค์กิจกรรมในองค์การ
(4) สร้างความมั่นใจให้องค์การ
ตอบ 2 หน้า 54, 199, (คําบรรยาย) นักประชาสัมพันธ์จะต้องมีความรู้และความเข้าใจในมติมหาชน
โดยการรับฟังคําติชมหรือข้อเสนอแนะของมวลชนอยู่ตลอดเวลา เพื่อนํามาพิจารณาปรับปรุง แผนงานให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งถือเป็นหัวใจของ การดําเนินงานต่าง ๆ ให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี
34 กลุ่มใดเป็นกลุ่มประชาชนภายนอกสถาบัน
(1) เจ้าหน้าที่ประจําหน่วยงาน
(2) แม่ค้าขายของในบริษัท
(3) สื่อมวลชน
(4) ผู้ถือหุ้น
ตอบ 3. 4 หน้า 51 กลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้องโดยตรง หมายถึง กลุ่มประชาชนภายนอกสถาบัน ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องด้วยโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผลประโยชน์ นโยบาย หรือกิจการ อย่างใดอย่างหนึ่งของสถาบันดังกล่าว ได้แก่ ผู้ถือหุ้น ลูกค้า ครู นักเรียน สื่อมวลชน ฯลฯ
35 ข้อใดคือ กิจกรรมประชาสัมพันธ์ภายในองค์การ
(1) วารสารสําหรับพนักงาน
(2) รายการโทรทัศน์แนะนําองค์การ
(3) รางวัลพนักงานดีเด่น
(4) สุนทรพจน์วันเปิดกองทุนบริษัท
ตอบ 1หน้า 50, (คําบรรยาย) กิจกรรมประชาสัมพันธ์ภายในองค์การ คือ กิจกรรมที่สร้าง ความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันกับกลุ่มมวลชนภายในองค์การ ได้แก่
1. กําหนดแผนงานประชาสัมพันธ์
2. ตั้งที่ติดต่อสอบถาม (Information)
3. ตั้งแผงปิดประกาศ เช่น บอร์ดติดดาวพนักงาน ฯลฯ
4. ออกวารสารข่าวภายใน เช่น ข่าวรามคําแหง วารสารสําหรับพนักงาน ฯลฯ
5. จัดงานพิเศษที่เกี่ยวข้องกับมวลชนภายในองค์การ เช่น ให้รางวัลพนักงานดีเด่น ฯลฯ
6. ให้หยุดพักผ่อน ให้ประกันสุขภาพ หรือให้ทุนการศึกษาแก่บุตรของพนักงาน
36 จุดมุ่งหมายสําคัญของการประชาสัมพันธ์ คือข้อใด
(1) ชักจูงโน้มน้าวใจ
(2) ปกป้องผู้บริหารองค์การ
(3) สร้างความนิยมและศรัทธา
(4) สร้างความเพลิดเพลินใจ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ
37 ในยุคแสงสว่างของประชาสัมพันธ์ ใครกล่าวว่า “The Public be informed
(1) Paul W. Garrett
(2) Ivy Lee
(3) John W. Hill
(4) William Van Derbilt
ตอบ 2 หน้า 66 – 67 ไอวี่ ลี (Ivy Lee) เป็นนักหนังสือพิมพ์ชาวอเมริกันที่ทําให้ความเชื่อเก่า ๆ ที่ว่าประชาชนโง่เขลา ไม่จําเป็นต้องรู้อะไรเลย (The Public be damned) เปลี่ยนไปเป็น ประชาชนควรรู้ข่าวสารต่าง ๆ (The Public be informed) ซึ่งถือว่าเป็นยุคแสงสว่างของ การประชาสัมพันธ์อย่างแท้จริง กล่าวคือ การทํางานจะมีประสิทธิภาพได้นั้นจะต้องได้รับ ความสนับสนุนจากประชาชน โดยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะอย่างจริงใจ ตรงไปตรงมา เพราะการปกปิดข้อมูลเป็นความคิดที่ผิด
38 จากข้อ 37. คํากล่าว “The Public be informed” แสดงถึงความคิดใดต่อไปนี้
(1) การสนับสนุนจากประชาชน
(2) การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ
(3) การแสดงถึงการบริหารที่ดี
(4) การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 37. ประกอบ
39 การประชาสัมพันธ์เปรียบเสมือนน้ําในร่างกายให้ทุกส่วนราบรื่น หมายถึงข้อใด
(1) Two-way Communication
(2) Public Opinion
(3) Co-operate
(4) Voice of Population
ตอบ 3 หน้า 8, 11, (คําบรรยาย) ความหมายของการประชาสัมพันธ์ สรุปได้ดังนี้
1 การประชาสัมพันธ์เสมือนสะพานที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับประชาชน ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้การสื่อสารสองทาง (Two-way Communication)
2 การประชาสัมพันธ์เสมือนแสงสว่างที่ส่องให้ประชาชนมองเห็นองค์การ และองค์การ มองเห็นประชาชน โดยใช้ประชามติ (Public Opinion)
3 การประชาสัมพันธ์เสมือนน้ําในร่างกายที่ทําให้ทุกส่วนเคลื่อนไหวราบรื่น โดยใช้ การประสานทุกฝ่ายเข้าด้วยกัน (Co-operate)
40 สิ่งที่มี “พลัง” สูงสุดในการประชาสัมพันธ์และได้ผลเวลาใช้ คืออะไร
(1) การแสดงออก
(2) การวิเคราะห์
(3) การพูด
(4) การเขียน
ตอบ 3 หน้า 244, (คําบรรยาย) คําพูด (Spoken Words) นับเป็นสื่อที่สําคัญยิ่งของมนุษย์ซึ่งมีมา แต่กําเนิด และใช้กันอย่างแพร่หลายมากกว่าสื่อในการประชาสัมพันธ์อื่น ๆ ดังนั้นสื่อคําพูด จึงนับเป็นเครื่องมือในการสื่อสารเพื่องานประชาสัมพันธ์ที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง จัดได้ว่าเป็น สื่อพื้นฐานของมนุษย์ที่ถูกนํามาใช้อย่างกว้างขวางและแพร่หลายมากที่สุด ทั้งนี้เพราะการพูด เป็นสิ่งที่มีพลังสูงสุดในการประชาสัมพันธ์และได้ผลเวลาใช้
41 ข้อใดเป็นสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ภายในหน่วยงาน
(1) บอร์ดติดดาวพนักงาน
(2) หนังสือพิมพ์รายวันในห้องโถง
(3) ใบปลิวแนะนําการฝากเงิน
(4) ไลน์เสนอขายสินค้าแก่สมาชิก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ
ข้อ 42 – 45. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามเกี่ยวกับกําเนิดการประชาสัมพันธ์สมัยใหม่
(1) Ivy Lee (ไอวี่ ลี)
(2) Edward L. Bernays (เอ็ดเวิร์ด แอล. เบอร์แนร์)
(3) Cart Byoir (คาร์ล ไบเออร์)
(4) Paul W. Garrett (พอล ดับเบิลยู. แกร์เร็ต)
42. ผู้ก่อตั้งสถาบันที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ครั้งแรกในยุคบุกเบิก
ตอบ 1 หน้า 68 – 69 ภายหลังจากที่ไอวี่ ลี (Ivy Lee) ทํางานประชาสัมพันธ์ให้กับตระกูลรอคกี้ เฟลเลอร์ ได้ประมาณ 2 ปี เขาจึงกลับมายังนิวยอร์กเพื่อทํางานอิสระของตัวเอง คือ ก่อตั้ง สํานักงานที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ครั้งแรกในยุคบุกเบิก เพื่อให้บริการกับสถาบันทางธุรกิจ อุตสาหกรรมและองค์การสาธารณประโยชน์อื่น ๆ อย่างมากมาย เช่น บริษัทน้ํามัน บริษัท เหล็กกล้า เหมืองถ่านหิน โรงพยาบาลเอกชน ฯลฯ
43. ผู้ได้รับการยกย่องเป็น “บิดาแห่งการประชาสัมพันธ์สมัยใหม่” คือใคร
ตอน 1 หน้า 66, 71 ผู้ที่ได้บุกเบิกแนวทางของการประชาสัมพันธ์สมัยใหม่ คือ ไอวี่ ลี (Ivy Lee) นักหนังสือพิมพ์หนุ่มชาวอเมริกัน ซึ่งถือเป็นบุคคลสําคัญผู้หนึ่งของสหรัฐอเมริกาในฐานะ ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งการประชาสัมพันธ์สมัยใหม่” (Father of Modern Public Relations) หรือผู้วางรากฐานของวิชาชีพประชาสัมพันธ์ในสหรัฐอเมริกา
44. นักประชาสัมพันธ์รุ่นบุกเบิกอยู่ในอุตสาหกรรมรถยนต์อเมริกา GM คือใคร
ตอบ 4 หน้า 70 ในระยะปี ค.ศ. 1920 เป็นยุคที่การประชาสัมพันธ์ได้แพร่หลายอย่างสูงสุดและ เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป ซึ่งนักประชาสัมพันธ์ที่ช่วยบุกเบิกงานประชาสัมพันธ์เพื่อธุรกิจให้กับ บริษัทรถยนต์ เจนเนอรัล มอเตอร์ (General Motor : GM) คือ Paul W. Garrett
45 นักประชาสัมพันธ์บุกเบิกที่เป็นนักวิชาการ และเปิดหลักสูตรเป็นครั้งแรก คือใคร
ตอบ 2 หน้า 70, 72 ในปี ค.ศ. 1923 Edward L. Bernays ซึ่งเป็นนักประชาสัมพันธ์ยุคบุกเบิก ที่เป็นนักวิชาการ ได้เปิดสอนหลักสูตรวิชาการประชาสัมพันธ์ขึ้นที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก เป็นแห่งแรก จึงนับว่าเป็นการเปิดบรรยายวิชาการประชาสัมพันธ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในระดับ มหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกา โดยมีนักวิชาการเขียนตําราเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ไว้ มากมายหลายเล่มด้วยกัน
46 ผู้กําหนดใช้คําว่า “Public Relat ons” คือท่านใด
(1) Amos Kendall (เอมอส เคนดัล)
(2) Ivy Lee (ไอวี่ ลี)
(3) Arther Page (อาร์เธอร์ เพจ)
(4) Theodore Newton Vail (ธีโอดอร์ นิวตัน วิล)
ตอบ 4 หน้า 69 ผู้ที่กําหนดใช้คําว่า “Public Relations” ขึ้นเป็นคนแรกนั้นไม่ใช่ Ivy Lee แต่เป็น Theodore Newton Vail ซึ่งเป็นประธานองค์การโทรศัพท์และโทรคมนาคมอเมริกัน ได้นํา คํานี้มาใช้เป็นคนแรกและเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1908
47 จากข้อ 46. นักประชาสัมพันธ์บุกเบิกนําวงการไปสู่ความก้าวหน้าหลังสงครามกลางเมือง คือใคร
ตอบ 1 หน้า 63 นักประชาสัมพันธ์ในรุ่นบุกเบิกหลังจากสงครามกลางเมือง ผู้นําวงการประชาสัมพันธ์ ของสหรัฐอเมริกาไปสู่ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว คือ เอมอส เคนดัล (Amos Kendall) ซึ่งเคย ทํางานประชาสัมพันธ์เป็นหัวคะแนนให้แจคสันในสมัยที่รณรงค์หาเสียงเลือกตั้งเพื่อชิงตําแหน่ง ประธานาธิบดี ต่อมาเขาก็ได้กลายมาเป็นที่ปรึกษาคนสําคัญในการบริหารงาน และเป็นผู้ช่วยชั้นมันสมองของประธานาธิบดีแจคสันในการจัดวางนโยบายระดับสูง ดังนั้นเขาจึงมีส่วนสําคัญ ที่สุดในการสร้างผังความสําเร็จทางการเมืองให้กับประธานาธิบดีแจคสัน หรือเรียกกันทั่วไปว่า “ศักราชของแจคสัน”
48 ข้อใดบอกถึงการพูดในการประชาสัมพันธ์ได้เหมาะสม
(1) ต้องจองสินค้าและมัดจําก่อน ของแถมไม่มีให้ ถ้าไม่ได้ซื้อที่เคาน์เตอร์
(2) คราวหน้าช่วยเตรียมสตางค์มาให้พอดี คุณจะได้ไม่ต้องเสียอารมณ์นะคะ
(3) เรามีบริการยอดเยี่ยมแก่ลูกค้าทุกคน ยกเว้นผู้ไม่ได้เป็นสมาชิกครับ
(4) ขอบคุณสําหรับการติดตามและใช้บริการของเรา หวังว่าจะได้รับใช้ท่านอีกค่ะ
ตอบ 4 หน้า 244 นักประชาสัมพันธ์มีหน้าที่โดยตรงที่จะใช้คําพูดในการปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ อยู่ตลอดเวลา เพราะงานของสถาบันจะได้รับความสําเร็จมากหรือน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับ คําพูดที่เหมาะสมกับสถานการณ์ และให้ประโยชน์ในกระบวนการติดต่อสื่อสารมากที่สุด
49 บทบาทนักประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ข่าวสาร คือข้อใด
(1) ให้ความรู้แก่พนักงานในเครือบริษัทเรื่องสินค้าใหม่
(2) จัดทํารายงานผลดําเนินการประจําปีและความก้าวหน้า
(3) ปีใหม่ส่งการ์ดอวยพรให้ลูกค้า
(4) ส่งข่าวเปิดตัวโครงการวิจัยขององค์การไปยังสื่อมวลชน
ตอบ 4 หน้า 9, 329, (คําบรรยาย) บทบาทนักประชาสัมพันธ์ในการเผยแพร่ข่าวสาร คือ การติดต่อ เผยแพร่ข่าวสารและนโยบายขององค์การไปยังประชาชนทั้งหลายที่มีส่วนสัมพันธ์ โดยการใช้สื่อมวลชนเป็นสื่อกลางนําข่าวสารไปยังประชาชน เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน เช่น การส่งข่าวแจกเปิดตัวโครงการวิจัยขององค์การไปยังสื่อมวลชน เป็นต้น
ข้อ 50 – 58. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามเกี่ยวกับสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์
(1) ประเภทวัสดุ (Audio Visual
(2) ประเภทเครื่องมือ (Audio Visual Equipment)
(3) ประเภทกิจกรรม (Activity)
(4) ประเภทสื่อสารพบปะ (Meeting)
50 สัมภาษณ์ผู้บริหารลงหนังสือพิมพ์ออนไลน์ เป็นสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ประเภทใด
ตอบ 4 หน้า 242 – 245, (คําบรรยาย) สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ที่น่าสนใจ มีดังนี้
1 ประเภทวัสดุ (Audio Visual) ได้แก่ กราฟ กระดานนิเทศ โปสเตอร์ ใบปลิว ฯลฯ
2 ประเภทเครื่องมือ (Audio Visual Equipment) ได้แก่ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ ฯลฯ
3 ประเภทกิจกรรม (Activity) ได้แก่ นิทรรศการ การเล่นแบบละคร การสาธิต การศึกษานอกสถานที (Field Trip) ฯลฯ
4 ประเภทสื่อสารพบปะ (Meeting) ได้แก่ การประชุม สัมมนา กล่าวสุนทรพจน์ การสัมภาษณ์ การแถลงข่าว การบอกปากต่อปาก ฯลฯ
51 การบอกปากต่อปากในสื่อสังคมออนไลน์ (Word of Mouth : WoM)
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 50. ประกอบ
52 นิทรรศการ (Exhibition)
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 50. ประกอบ
53. รายการถ่ายทอดสดกีฬาทางโทรทัศน์ จัดเป็นสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ประเภทใด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 50. ประกอบ
54. เดินทางไปเยี่ยมชมโครงการผลิตกระดาษ วัตถุดิบจากไม้ไผ่ (Field Trip)
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 50. ประกอบ
55. แถลงข่าว (Press Conference)
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 50. ประกอบ
56. การแสดงละครหุ่นโรงเล็ก (Dramatization)
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 50. ประกอบ
57. สาธิตการทําอาหารหมูชะมวง (Demonstrations)
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 50. ประกอบ
58. เครื่องฉายภาพยนตร์ (Motion Picture Projector)
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 50. ประกอบ
59. การประชาสัมพันธ์ยุคเริ่มแรก จัดตั้งขึ้นในคณะใด
(1) คณะศิลปศาสตร์
(2) คณะนิเทศศาสตร์
(3) คณะวารสารศาสตร์
(4) คณะสื่อสารมวลชน
ตอบ 2 หน้า 29 ในปี ค.ศ. 1970 การเปิดอบรมทางการประชาสัมพันธ์ยุคเริ่มแรก ได้กระจายไปตาม สถาบันต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง ซึ่งวิชาการในแขนงต่าง ๆ เช่น การหนังสือพิมพ์ วิทยุโทรทัศน์ นิตยสาร วารสาร ภาพยนตร์ การประชาสัมพันธ์ วาทวิทยา และสื่อสารการแสดง ได้มารวมกัน ภายใต้ชื่อว่า “นิเทศศาสตร์” (Communication Arts)
60 ประเทศแรกที่ประกาศหลักจรรยาบรรณวิชาชีพประชาสัมพันธ์ คือใคร
(1) อังกฤษ
(2) อเมริกา
(3) ฝรั่งเศส
(4) เยอรมนี
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ
61 หน่วยงาน “การสารนิเทศ” ระดับชาติของไทย คือหน่วยใด
(1) สถาบันการจัดการความรู้ไทย
(2) สํานักนายกรัฐมนตรี
(3) สํานักงานแถลงข่าวไทย
(4) กระทรวงดิจิทัลเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 10. ประกอบ
62. ข้อใดถือเป็นวิกฤติฉุกเฉินในงานประชาสัมพันธ์องค์การ
(1) โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิด
(2) ผู้โดยสารคลอดลูกในรถบนทางด่วน
(3) รถไฟฟ้างดเดินรถกะทันหัน
(4) ต้นไม้หน้าบริษัทโค่นทับรถสิบคัน
ตอบ 1 หน้า 126, 144 – 145 การวางแผนประชาสัมพันธ์ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุและฉุกเฉิน เช่น
ภูเขาไฟระเบิด รถไฟชนกัน เครื่องบินตก น้ําท่วม เกิดระเบิด ไฟไหม้ ฯลฯ นักประชาสัมพันธ์ ย่อมไม่มีเวลามากนักที่จะวางแผนหรือใช้เวลาปรึกษาหารือผู้ใด ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นนักประชาสัมพันธ์จึงมีเวลาตัดสินใจวางแผนประชาสัมพันธ์เพียงไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่นาทีที่จะตัดสินใจอย่างเด็ดขาดแทนผู้บริหารระดับสูงได้
63. ข้อใดต้องคํานึงถึงในการวางแผนเพื่อเผยแพร่ข่าวที่เป็นเหตุการณ์พิเศษ
(1) เตรียมเผยแพร่ข่าวสารล่วงหน้า
(2) เขียนข่าวยาวไว้ก่อนให้บรรณาธิการเลือก
(3) อํานวยความสะดวกผู้สื่อข่าวทีวี
(4) ไลน์แจ้งเฉพาะผู้สื่อข่าวที่เกี่ยวข้อง
ตอบ 1 หน้า 225 สิ่งที่ต้องคํานึงถึงในการวางแผนเพื่อเผยแพร่ข่าวที่เป็นเหตุการณ์พิเศษ มีดังนี้
1. เตรียมเผยแพร่ข่าวสารไว้ล่วงหน้า
2. ออกหนังสือเชื้อเชิญเจ้าหน้าที่สื่อมวลชน
3. แจกข้อมูลสั้น ๆ เกี่ยวกับความปลอดภัย
4. ช่วยให้ความสะดวกและบริการที่ดีต่อนักข่าว ฯลฯ
64. หลักการใดที่ทําให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล
(1) ความจริง
(2) ความน่าเชื่อถือ
(3) ความยืดหยุ่น
(4) ความสอดคล้อง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ
65. ข้อใดเป็นเป้าหมายแรกที่นักประชาสัมพันธ์ต้องติดต่อสัมพันธ์
(1) พนักงานการเงินและบัญชี
(2) กรรมการบริหาร
(3) เจ้าหน้าที่ลูกค้าสัมพันธ์
(4) เลขานุการ
ตอบ 2หน้า 216 เป้าหมายกลุ่มแรกที่นักประชาสัมพันธ์จะต้องติดต่อสัมพันธ์ด้วย คือ ฝ่ายบริหาร ของสถาบัน เพราะถ้าหากการติดต่อประสานงานกันปราศจากความเข้าใจ ความช่วยเหลือ ความสนับสนุน และความเกื้อกูลจากฝ่ายบริหารระดับสูงแล้ว โครงการปฏิบัติการตามแผนประชาสัมพันธ์ของสถาบันจะไม่ได้รับความสําเร็จได้เลย
66. ประชามติ หมายถึงอะไร
(1) ความชอบและไม่ชอบของมวลชนต่อปัญหาต่าง ๆ
(2) ความเห็นของคนจํานวนมาก
(3) ความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งทั้งบวกและลบ
(4) ความรู้สึกนึกคิดที่แสดงออกของมวลชนต่อเหตุการณ์ใด ๆ
ตอบ 4 หน้า 197 ประชามติ (Public Opinion) หมายถึง ทัศนคติหรือความรู้สึกนึกคิดของมวลชน ที่ได้แสดงออกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ต่อปัญหาใดปัญหาหนึ่งที่มีความสําคัญต่อสังคมโดยรวม หรือ ต่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งโดยเฉพาะ และตัวเองย่อมมีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีผลได้ผลเสียร่วมอยู่ด้วย
67 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับเงื่อนไขการเกิดประชามติ
(1) ความหนาแน่นของประชาชน
(2) ผ่านเทคโนโลยีการสื่อสาร
(3) ผู้เสนอความคิดรอบรู้ในประเด็น
(4) ทุกข้อข้างต้น
ตอบ 4 หน้า 197 ประชามติจะก่อตัวขึ้นเมื่อมีเงื่อนไข ดังนี้
1 ต้องมีปัญหาที่เรียกร้องความสนใจของประชาชนทั่วไปเกิดขึ้น
2 ความรอบรู้และประสบการณ์ของผู้เสนอข้อคิดเห็น
3 ระเบียบกฎหมายและสังคมเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น
4 ความหนาแน่นของประชาชน
5 ต้องผ่านเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์การสื่อสาร เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ
6 มาตรการทางสังคมและตัวบทกฎหมาย
68. การเข้าถึงประชาชนที่ได้ผลตามทฤษฎี Two Step Flow Theory คือการเข้าถึงใคร
(1) ผู้ปฏิบัติการ
(2) ผู้นําทางความคิด
(3) ผู้บริหาร
(4) ผู้ควบคุมดูแล
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ
69. เงื่อนไขประชามติจะเกิดขึ้นได้ เมื่ออยู่ในสังคมแบบใด
(1) สังคมอํานาจนิยม
(2) สังคมเผด็จการนิยม
(3) สังคมสมบูรณาญาสิทธิราชย์
(4) สังคมประชาธิปไตย
ตอบ 4 หน้า 197 เงื่อนไขประชามติจะเกิดขึ้นได้ เมื่อประเทศปกครองตามระบอบประชาธิปไตย เพราะประชาชนจะมีมาตรฐานทางเศรษฐกิจ สังคม และระดับความรู้ จึงเป็นช่องทางที่ทําให้ ประชามติมีพลังเพิ่มขึ้น แต่ในบางประเทศ เช่น ประเทศในโลกที่ 3 หรือประเทศกําลังพัฒนา ประชาชนมีมาตรฐานดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ต่ํา ย่อมทําให้ประชามติไม่ได้รับความสนใจจากผู้นํา
70. ข้อใดหมายถึง การสํารวจประชามติจากมวลชนแท้จริง
(1) หนึ่งคนหนึ่งเสียง เป็นจํานวนมาก เป็นตัวแทน
(2) หนึ่งคน เลือกได้หลายครั้ง เป็นจํานวนมาก
(3) หลายคนหลายเสียง จํากัดจํานวน
(4) หลายคนเสียงเดียว เป็นตัวแทน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การสํารวจประชามติจากมวลชนแท้จริง หมายถึง การสํารวจความต้องการของประชาชนโดยส่วนรวม เพื่อหาทางตอบสนองประชามติหรือความต้องการในสิ่งที่ถูก ที่ชอบของเขาเหล่านั้น ซึ่งมีวิธีการ คือ หนึ่งคนหนึ่งเสียง เป็นจํานวนมาก เป็นตัวแทน
71 “SMS โหวตให้ผู้แข่งขันในรายการเดอะโว้ย” เป็นการรวบรวมประชามติแบบใด
(1) สํารวจทางตรง
(2) สํารวจทางอ้อม
(3) สํารวจความนิยมทางสื่อ
(4) สํารวจผ่านเครื่องมือ
ตอบ 1 หน้า 201 – 203, (คําบรรยาย) การสํารวจประชามติ แบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
1. การสํารวจทางตรง (Direct Survey) คือ การตรวจสอบประชามติหรือสํารวจความคิดเห็น กลุ่มประชาชนโดยตรง เช่น การลงคะแนน (Votes), การตั้งหน่วยรับฟังความคิดเห็น การสัมภาษณ์แบบเผชิญหน้า, การสํารวจทัศนคติทางโทรศัพท์, การส่งไปรษณียบัตร ทายผลฟุตบอลโลก, การส่งไลน์ไปแสดงความคิดเห็นในรายการข่าว ฯลฯ
2. การสํารวจทางอ้อม (Indirect Survey) คือ การตรวจสอบประชามติจากข้อมูลที่มีผู้ทํา ไว้ก่อนแล้ว เช่น การตรวจสอบจากข่าว บทวิจารณ์ ตําราวิชาการต่าง ๆ, การวิเคราะห์ เสียงแสดงความคิดเห็นจากสื่อมวลชน, การเข้าถึงผู้นําทางความคิด ฯลฯ
72 จากข้อ 71. ประชาชนลงคะแนนเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จัดเป็นประชามติในรูปแบบใด ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ
73 จากข้อ 71. ส่งไลน์ไปแสดงความคิดเห็นในรายการข่าว เป็นประชามติแบบใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ
74. เราจะยึดถือประชามติตลอดไปได้หรือไม่ เพราะอะไร
(1) ได้ เพราะนั่นคือเสียงของประชาชน
(2) ได้ เพราะทุกคนเห็นปัญหาร่วมกัน
(3) ไม่ได้ เพราะคนเหล่านั้นไม่มีความรู้
(4) ไม่ได้ เพราะความรู้สึกนึกคิดไม่ใช่สิ่งที่คงทนแน่นอน
ตอบ 4 หน้า 199, (คําบรรยาย) ประชามติไม่ใช่สิ่งที่จะยึดถือได้ตลอดไป เพราะว่าไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่ อย่างคงทนแน่นอน แต่เป็นเพียงความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อถือ ซึ่งอาจจะมีเหตุผลหรืออาจ เป็นความเข้าใจผิดหรือหลงผิดไปบางขณะก็ได้ จึงอยู่ในดุลพินิจหรือความรับผิดชอบของนักประชาสัมพันธ์ที่จะชี้แนะหรือปรับปรุงแก้ไขประชามติไปในทางที่ถูกต้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง
75. “ถ้าอยากให้เขาพูดดี ๆ กับเราก็จงทําดีกับเขา” เป็นคํากล่าวในงานประชาสัมพันธ์ของใคร
(1) Voltaire
(2) Trump
(3) Lee Guan Yue
(4) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ตอบ 1 หน้า 213 Voltaire นักปราชญ์ผู้มีชื่อเสียง ได้กล่าวไว้ว่า “ถ้าอยากให้เขาพูดดี ๆ กับเรา ก็จงทําดีกับเขา” ซึ่งนํามาใช้ได้ผลเป็นอย่างดีในการทํางานประชาสัมพันธ์
76 องค์การใดที่มีส่วนช่วยเหลือสตรีให้มีบทบาทในอาชีพประชาสัมพันธ์
(1) PRSA
(2) FCCT
(3) PR CSR
(4) PREA
ตอบ 1 หน้า 32 – 33 สมาคมนักประชาสัมพันธ์ของสหรัฐอเมริกา (PRSA) ได้ให้ความร่วมมือกับ หน่วยงานธุรกิจเอกชนที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง เพื่อจัดทําโครงการให้ความช่วยเหลือสตรีให้ได้ ประกอบอาชีพในงานประชาสัมพันธ์ และมีการจัดพิมพ์คู่มือเกี่ยวกับงานอาชีพประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีคําแนะนําที่มีประโยชน์อย่างมาก นอกจากนี้ยังวางแผนส่งเสริมสถานภาพสตรีในแวดวง งานประชาสัมพันธ์ระดับสากล ทําให้สตรีมีโอกาสทํางานประชาสัมพันธ์กันมากขึ้น
77 วัตถุประสงค์ประชาสัมพันธ์ คือข้อใด
(1) ทําให้คนศรัทธาเชื่อมั่นองค์การ
(2) ทําให้องค์การมีกําไรสูงสุด
(3) ทําให้พนักงานลาน้อยที่สุด
(4) ช่วยสร้างบรรยากาศดีในสังคม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ
78. ใครคือผู้ที่ทํางานแล้วต้องคิดค่าธรรมเนียมการให้คําปรึกษาประชาสัมพันธ์
(1) นักประชาสัมพันธ์ประจําองค์การ
(2) นักประชาสัมพันธ์อิสระ
(3) นักประชาสัมพันธ์เฉพาะทาง
(4) นักประชาสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ตอบ 2หน้า 90, 94, (คําบรรยาย) นักประชาสัมพันธ์แบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้
1 นักประชาสัมพันธ์ประจําองค์การหรือหน่วยงาน คือ นักประชาสัมพันธ์ที่ทํางานประจํา และให้คําปรึกษาแนะนําแก่ผู้บริหารองค์การ ซึ่งต้องดําเนินงานตามแต่ละขั้นตอนของ การวางแผนประชาสัมพันธ์ภายในองค์การนั้น ๆ
2 นักประชาสัมพันธ์อิสระ คือ นักประชาสัมพันธ์จากภายนอกองค์การ ซึ่งเป็นผู้ที่รับจ้าง ทํางานประชาสัมพันธ์ โดยมีการคิดค่าธรรมเนียมการให้คําปรึกษาประชาสัมพันธ์ ดังนั้นจึงถือเป็นผู้ที่ทํารายได้สุทธิต่อปีสูงสุดในการจัดอันดับการทํางานประชาสัมพันธ์
79 กลุ่มประชาชนเป้าหมายเพื่อประชาสัมพันธ์ แบ่งเป็นกลุ่ม
(1) 2 กลุ่ม
(2) 3 กลุ่ม
(3) 4 กลุ่ม
(4) กลุ่มเดียว
ตอบ 1 หน้า 49 ในการดําเนินงานประชาสัมพันธ์นั้น ได้มีการแบ่งกลุ่มประชาชนเป้าหมาย ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสําคัญออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1. กลุ่มประชาชนภายในสถาบัน
2. กลุ่มประชาชนภายนอกสถาบัน
ข้อ 80 – 84. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามเกี่ยวกับการทําประชาสัมพันธ์
(1) วิจัยและรับฟัง
(2) วางแผนการสื่อสาร
(3) ติดต่อสื่อสาร
(4) ประเมินผล
80. ขั้นแรกของการทําประชาสัมพันธ์ คือข้อใด
ตอบ 1 หน้า 99 – 101, 106 -107, (คําบรรยาย) ขั้นการวิจัยและรับฟัง ถือเป็นขั้นแรกของการทํา ประชาสัมพันธ์ซึ่งเป็นขั้นตอนการสํารวจดูตัวเองเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่เราไม่อาจจะมองเห็น
ได้ด้วยตนเอง และรับฟังข้อมูลย้อนกลับตามแนวทางของการติดต่อสื่อสารแบบยุคลวิถี ดังนั้น จึงเป็นขั้นของการค้นหาว่า “ปัญหาของเราคืออะไร” เช่น บริษัทผลิตนม Opinion Research Corporation สํารวจความคิดเห็นของประชาชนว่ามีทัศนคติอย่างไรต่อบริษัท หลังจากบริษัทถูกฟ้องข้อหาผูกขาดการผลิตนม เป็นต้น
81. การจัดทํากลยุทธ์รณรงค์ให้คนอ่านหนังสือจากกระดาษ อยู่ในขั้นตอนใด
ตอบ 2 หน้า 129 – 130, (คําบรรยาย) ขั้นวางแผนการสื่อสาร ประกอบไปด้วย เป้าหมาย ยุทธวิธี และกลยุทธ์ที่จะดําเนินการให้บรรลุผล โดยควรพิจารณาถึงหัวใจของการวางแผนงาน ดังนี้
1. กําหนดจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
2. กําหนดกลุ่มเป้าหมายหลัก/กลุ่มเป้าหมายรอง
3. กําหนดหัวข้อประชาสัมพันธ์ (Themes/Big Idea)
4. กําหนดจังหวะหรือช่วงเวลาที่เหมาะสม
5. กําหนดใช้สื่อให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย
6. กําหนดงบประมาณให้เพียงพอ
82. การเลือกใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อให้ข้อมูลประชาชน โครงการขับขี่ปลอดภัยในรามคําแหง อยู่ในขั้นตอนใด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 81. ประกอบ
83. สรุปผลโครงการวิ่งการกุศลชวนบริจาคเพื่อโรงพยาบาลของศิลปิน ตูน บอดี้สแลม ประสบความสําเร็จ แค่ไหน อยู่ในขั้นตอนใด
ตอบ 4 หน้า 173 – 174 ขั้นประเมินผลการวิจัย เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทําประชาสัมพันธ์ โดยเป็นขั้นของการประเมินค่าหรือสรุปผลการดําเนินงานการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ตามแผน การประชาสัมพันธ์ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ได้ผลดีหรือมีผลเสียต่อสถาบันอย่างไร และสถาบันได้รับผลตอบแทนคุ้มค่าเงินที่ได้อนุมัติเพื่อโครงการประชาสัมพันธ์หรือไม่
84. การเชิญชวนให้ผู้คนร่วมเป็นจิตอาสาทําความสะอาดบ้านเมืองผ่านรายการโทรทัศน์ อยู่ในขั้นตอนใด ตอบ 3หน้า 149, 164 ขั้นติดต่อสื่อสาร คือ การอาศัยกระบวนการติดต่อสื่อสารเป็นหลักสําคัญ ที่นําไปสู่การปฏิบัติการให้ได้รับผลสมบูรณ์ โดยนักประชาสัมพันธ์ต้องรู้จักปรับปรุงดัดแปลง ข่าวสารให้น่าสนใจ ให้เข้ากับ
เวลา สถานที่ สถานการณ์ และให้เข้ากับทัศนคติของผู้รับสาร ผ่านสื่อที่ใช้ในการสื่อสารอย่างถูกต้อง
85. การบอกว่าคุ้มค่าเงินหรือไม่ในการประชาสัมพันธ์ คือการยอมรับอะไร
(1) การวางแผน
(2) การติดต่อสื่อสาร
(3) การวิจัย
(4) การประเมิน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 83. ประกอบ
86. โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยว “กาลครั้งหนึ่งที่บ้านขุนสมุทรจีน” ควรมีกลุ่มเป้าหมายเป็นใคร
(1) นักเรียนอนุบาล
(2) นักท่องเที่ยวไทยและเทศ
(3) เจ้าหน้าที่ตํารวจ
(4) นักศึกษาแพทย์
ตอบ 2 หน้า 129 การกําหนดกลุ่มประชาชน (Audiences) คือ กลุ่มประชาชนเป้าหมายที่จะได้รับ ข่าวสารนั้นเป็นใครบ้าง และใครที่จะเป็นกุญแจประชามติ ซึ่งนักประชาสัมพันธ์จะต้องกําหนด ลงไปให้แน่นอน เช่น กลุ่มเป้าหมายของโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยว “กาลครั้งหนึ่งที่บ้าน ขุนสมุทรจีน” ได้แก่ นักท่องเที่ยวไทยและต่างประเทศ, กลุ่มเป้าหมายของโครงการรักอ่าน เตรียมพร้อมสอบเข้ามหาวิทยาลัย ได้แก่ นักเรียนมัธยมทุกภูมิภาค เป็นต้น
87. โครงการรักอ่านเตรียมพร้อมสอบเข้ามหาวิทยาลัย ควรมีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มใด
(1) นักเรียนมัธยมทุกภูมิภาค
(2) นักศึกษามหาวิทยาลัยปี 1
(3) ผู้ต้องการเพิ่มความรู้
(4) นักศึกษาแพทย์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 86. ประกอบ
88. ขั้นตอนแรกก่อนการทําโครงการรักอ่านนิทานในเด็กเล็ก คือข้อใด
(1) สํารวจความเห็น
(2) วางแผนการใช้สื่อ
(3) กําหนดงบประมาณ
(4) ประเมินความสําเร็จของพนักงาน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 80. ประกอบ
89. ข้อใดเป็นอุปสรรคการสื่อสาร
(1) แม่รีดผ้า ดูทีวี และฟังลูก
(2) อากงรดน้ำต้นไม้และเปิดวิทยุฟังข่าว
(3) เชฟทําอาหารผ่านยูทูป
(4) หนูนิดดูการ์ตูนในหนังสือพิมพ์
ตอบ 1 หน้า 162 – 165, (คําบรรยาย) อุปสรรคของการติดต่อสื่อสาร คือ อุปสรรคหรือข้อผิดพลาด ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและทําให้การสื่อสารไม่บรรลุผลสําเร็จตามเป้าหมาย ได้แก่ ผู้พูดอาจจะพูดผิด หรือใช้ภาษาไม่ถูกต้อง ทําให้ผู้ฟังไม่เข้าใจ, ผู้พูดกับผู้ฟังขาดประสบการณ์ร่วมกัน, เสียงรบกวน จากแหล่งต่าง ๆ ที่เข้ามาแทรกในขณะที่สื่อสารกัน ทําให้ฟังไม่รู้เรื่อง เช่น แม่รีดผ้า ดูทีวี และ ฟังลูกไปด้วย เป็นต้น
90. ข้อใดเป็นการสํารวจวิจัยทางตรง (Direct Survey)
(1) รัฐบาลสํารวจความคิดประชาชน
(2) ผู้ดําเนินรายการเชิญชวนให้ร่วมคุยข่าว
(3) ผู้ดูแลเว็บตอบขอบคุณลูกค้า
(4) ฟังความเห็นสื่อมวลชน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ
91. ภาคธุรกิจนําแนวคิด “ทูตการประชาสัมพันธ์” มาใช้ และเรียกชื่อใหม่ว่า
(1) แบรนด์ แอมบาสซาเดอร์
(2) คันทรี่ แอมบาสซาเดอร์
(3) ไทยแลนด์ แอมบาสซาเดอร์
(4) บิวตี้ แอมบาสซาเดอร์
ตอบ 1 (คําบรรยาย) Brand Ambassador (แบรนด์ แอมบาสซาเดอร์) หมายความว่า ตัวแทนหรือ ทูตการประชาสัมพันธ์ของบริษัท ซึ่งมีการว่าจ้างหรือบางบริษัทอาจจะไม่มีการว่าจ้างแต่จะใช้ เจ้าของบริษัทเป็นตัวแทน หรือบางบริษัทอาจใช้ดารา นักกีฬา นักร้อง ฯลฯ เป็นตัวแทนก็ได้ โดยจะมีการทํากิจกรรมของบริษัทผ่าน Brand Ambassador เพื่อให้สินค้าหรือบริการของ บริษัทเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง
92. ข้อใดพูดถึง “หน้าที่สําคัญของกรมประชาสัมพันธ์” ถูกต้อง
(1) สนับสนุนประชาชนให้อยู่ดีกินดี
(2) เป็นตัวกลางสื่อสารระหว่างประชาชนกับรัฐ
(3) เป็นผู้ดูแลสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ทั่วประเทศ
(4) ติดตามข่าวสารของสื่อมวลชน
ตอบ 2 หน้า 360 รัฐบาลไทยมีกรมประชาสัมพันธ์เป็นศูนย์กลางการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ เพื่อทํา
การประชาสัมพันธ์ของรัฐทั้งภายในและต่างประเทศ ซึ่งหน้าที่สําคัญของกรมประชาสัมพันธ์ คือ เป็นตัวกลางสื่อสารระหว่างประชาชนกับรัฐบาล โดยมีจุดมุ่งหมายในการดําเนินงานให้ เข้าถึงจิตใจของประชาชนทั่วประเทศ เพื่อจูงใจให้ประชาชนได้อยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิดและ
สันติ มีความสามัคคีภายในชาติ
93. ปี 1970 ผู้นําประเทศใดให้ความสําคัญต่อองค์การประชาสัมพันธ์
(1) ประธานาธิบดีทรัมป์ สหรัฐอเมริกา
(2) ประธานาธิบดีกอบาชอฟ รัสเซีย
(3) ประธานาธิบดีทรูโด แคนาดา
(4) ประธานาธิบดีฟรองซัว ฝรั่งเศส
ตอบ 3 หน้า 356 ในปี ค.ศ. 1970 ประธานาธิบดีทรูโด แห่งประเทศแคนาดา ได้ให้ความสําคัญต่อ องค์การประชาสัมพันธ์ของรัฐมาก เนื่องจากเขาได้จัดตั้งสํานักข่าวประชาสัมพันธ์ของรัฐ ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนงานสํารวจประชามติอย่างเข้มแข็ง
94. การแถลงข่าวของรัฐบาลควรเป็นเช่นไร
(1) นักวิชาการช่วยแถลงข่าว
(2) ใครก็ได้แถลงข่าว
(3) โฆษกรัฐบาลแถลงข่าว
(4) สื่อมวลชนแถลงข่าว
ตอบ 3 หน้า 357, (คําบรรยาย) โฆษกสํานักนายกรัฐมนตรี หรือโฆษกของรัฐบาล (Press Secretary) คือ ผู้ที่อยู่ในฐานะนักประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล ซึ่งมีหน้าที่แถลงข่าว เผยแพร่ข่าวสาร/ผลงาน และเสนอนโยบายของรัฐบาลหรือหน่วยงานรัฐผ่านทางสื่อมวลชนไปให้ประชาชนได้รับทราบ ตามที่นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นหัวหน้าใหญ่ในการประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลได้มอบหมาย โดยมี จุดประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มประชาชนให้เกิดความเข้าใจและให้การสนับสนุน
95. กลุ่มใดช่วยประชาสัมพันธ์ในองค์การตํารวจได้ดีเยี่ยม
(1) เด็กและเยาวชน
(2) โจร
(3) ผู้บังคับบัญชา
(4) ภาคธุรกิจที่สนับสนุน
ตอบ 3 หน้า 378 – 379 งานประชาสัมพันธ์ในองค์การตํารวจเป็นงานที่ต้องการความร่วมมือจาก นายตํารวจทุกคน ตั้งแต่นายตํารวจชั้นผู้น้อยไปจนถึงผู้บังคับบัญชาระดับสูง ซึ่งต่างก็เป็นทูต ของการประชาสัมพันธ์ทั้งสิ้น ดังนั้นงานประชาสัมพันธ์จึงไม่ใช่งานของคนเพียงคนเดียวหรือ
เป็นงานของแผนกประชาสัมพันธ์แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
96. ลักษณะข่าวประชาสัมพันธ์ควรเป็นอย่างไร
(1) ข่าวถูกต้อง แม่นยํา น่าอ่าน กระชับ
(2) ข่าวสั้น ๆ แทรกโฆษณาสินค้า
(3) ข่าวสนุกสนานเพลิดเพลิน
(4) แหล่งข่าวเป็นผู้มีชื่อเสียงเท่านั้น
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ
97. ข้อใดเป็นจุดมุ่งหมายของการประชาสัมพันธ์ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม
(1) รับสมัครพนักงานขับรถไฟลอยฟ้าสายสีม่วง
(2) สอนทําอาหารด้วยวัตถุดิบธรรมชาติของร้านผ่านยูทูป
(3) เชิญชวนซื้อน้ําดื่มรสชานมเย็นมาใหม่
(4) องค์การร่วมมือกันเก็บขยะในน่านน้ำไทย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) Corporate Social Responsibility (CSR) หมายถึง การประชาสัมพันธ์ สมัยใหม่ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งก็คือ การดําเนินกิจการภายใต้ หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรับผิดชอบสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอกองค์การ อันจะนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น องค์การร่วมมือกัน เก็บขยะในน่านน้ําไทย เป็นต้น
98. การประชาสัมพันธ์สมัยใหม่ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ตรงกับข้อใด
(1) CAR
(2) CSR
(3) SRPR
(4) GPR
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 97. ประกอบ
99. “ผลสะท้อนกลับ” ที่เกิดจากปฏิบัติการสื่อสารล้มเหลว เรียกว่าอะไร
(1) โกโบล เอฟเฟ็ก
(2) โซเชี่ยล เอฟเฟ็ก
(3) เฟล เอฟเฟ็ก
(4) บูมเมอแรง เอฟเฟ็ก
ตอบ 4 หน้า 178 Boomerang Effect (บูมเมอแรง เอฟเฟ็ก) หมายถึง ผลกระทบย้อนกลับที่เกิดขึ้น จากการปฏิบัติการสื่อสารที่ผิดพลาดหรือล้มเหลว และยังส่งผลต่อเนื่องกลับมาหาตัวผู้ส่งสาร ในทางที่มีผลเสียหายหรือมีผลร้ายมากกว่าผลดี
100. การประชาสัมพันธ์เบื้องต้น ภาคการศึกษา 1/2561 เรียนที่ห้องใด
(1) SBB 201
(2) VKB 401
(3) VPB 301
(4) KLB 501
ตอบ 2 ตาราง มร. 30 ภาค 1 ปีการศึกษา 2561 ได้ระบุเอาไว้ว่า วิชาการประชาสัมพันธ์เบื้องต้น MCS 2150 (MCS 2100) เรียนทุกวันพุธ เวลา 9.30 – 11.20 น. ที่ห้อง VKB 401