การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา CDM 2303 (MCS 1350) วาทวิทยา
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 กิจกรรมทางวาทวิทยาครอบคลุมการสื่อสารเกือบทั้งหมด
(1) ภายในบุคคล
(2) ในสังคมโลก
(3) กิจกรรมในชีวิตประจําวัน
(4) ความรับผิดชอบ
(5) การผลิตสื่อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ปัจจุบันกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวาทวิทยาได้ขยายขอบเขตออกไปมากมาย ทั้งการใช้เสียงพูดสื่อสารโดยตรง การเป็นพื้นฐานของการแสดง การนําเสนอผลงาน การสื่อสาร องค์การ การเจรจาต่อรองผลประโยชน์ และกิจกรรมทั่วไปในชีวิตประจําวัน

Advertisement

2. วาทวิทยามักไม่พิจารณาให้ความสําคัญกับ เป็นเกณฑ์สําคัญ
(1) วิถีบุคคล
(2) บริบททางสังคม
(3) บุคลิกภาพ
(4) สาระนําเสนอ
(5) สัญชาตญาณ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) วาทวิทยามีลักษณะของความเป็นศาสตร์ (Science) เพราะเป็นวิชาที่มีหลักการ แนวคิด และทฤษฎีรองรับ และมีลักษณะเป็นศิลป์ (Art) เพราะเป็นวิชาที่ต้องใช้ศิลปะในการพูด ซึ่งสามารถเรียนรู้ พัฒนา และฝึกฝนกันได้ ดังนั้นวาทวิทยาจึงไม่ให้ความสําคัญกับสัญชาตญาณ คือ ความรู้ที่มีมาแต่กําเนิด ทําให้มีความรู้สึกและกระทําได้เองโดยไม่ต้องมีใครสั่งสอน

3.เนื้อหาในการสื่อสารของงานด้านวาทวิทยาส่วนใหญ่ คือ
(1) เสียง
(2) สัญลักษณ์
(3) เจตนารมณ์
(4) ความต้องการ
(5) รูปลักษณ์
ตอบ 1 (คําบรรยาย) เนื้อหาในการสื่อสารของงานด้านวาทวิทยาส่วนใหญ่ คือ คําพูดหรือเสียงพูด
ซึ่งเนื้อหาในการพูดก็พัฒนามาจากความคิดและการกลั่นกรองโดยอาศัยสติปัญญาของผู้พูด ทั้งนี้การพูดจะประสบความสําเร็จได้ต้องมาจากความคิดและการแสดงออกที่สอดคล้องกัน

4 Content ในทางวาทวิทยา คือ
(1) ปฏิสัมพันธ์
(2) ความคิด
(3) สาร
(4) ความเชื่อมโยง
(5) ความหมาย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

5. การพูดตามอัธยาศัย มีอะไรเป็นตัวกําหนด
(1) อํานาจหน้าที่
(2) สติปัญญา
(3) จิตใจ
(4) ความสัมพันธ์
(5) ความสามารถ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การพูดระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) เป็นการพูดในขั้น พื้นฐานที่สุดของสังคมมนุษย์ เริ่มตั้งแต่การทักทาย ไต่ถาม บอกความ ถกเถียง เชื้อเชิญ และ ปรึกษาหารือ ซึ่งจะเน้นความรู้สึกร่วมและมีลักษณะของการสื่อสารตามอัธยาศัย โดยไม่จํากัด ประเด็น เนื้อหา หรือเวลา ขึ้นอยู่กับระดับของความสัมพันธ์ หรือสภาวะปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของกันและกัน

6 การพูดกับบุคคลเป็นกลุ่มในองค์กรเพื่อหวังผล มีข้อควรพิจารณาจาก
(1) การนัดหมาย
(2) กําหนดการ
(3) เสรีภาพ
(4) วัตถุประสงค์
(5) โครงสร้างกลุ่มชน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลักษณะของการพูดในกลุ่ม หรือการพูดกับบุคคลเป็นกลุ่ม มีดังนี้
1. ปริมาณของผู้สื่อสารตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ส่วนจํานวนสูงสุดยากที่จะกําหนดขึ้นอยู่กับโอกาส สถานที่ และความสะดวก
2. เนื้อหาของการสื่อสารมักจะมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน หรือมีประเด็นร่วมในการปรึกษาหารือ แก้ปัญหา หรือถกเถียง
3. หลายกรณีเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้หรือประสบการณ์ระหว่างกันและกัน

7. ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของกิจกรรมพูดผ่านสื่อสาธารณะ
(1) การกําหนดผู้ส่งสาร
(2) มาตรฐานสื่อ
(3) ระยะเวลาถ่ายทอด
(4) เสรีภาพในเนื้อหา
(5) วิธีการใช้สื่อและช่องทาง
ตอบ 1(คําบรรยาย) การพูดผ่านสื่อสารมวลชน (Mass Communication) เป็นการอาศัยสื่อการ ถ่ายทอดหลักของสังคม เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หรือสื่อสังคม เพื่อถ่ายทอดสาระการสื่อสารของ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลออกไปให้ครอบคลุมพื้นที่ในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งจะต้องมีการ กําหนดกระบวนการนําเสนอ และตัวผู้พูดที่ทําหน้าที่โดยตรง ได้แก่ พิธีกร ผู้ดําเนินรายการ ผู้ประกาศข่าว สื่อมวลชน หรือเป็นผู้รับเชิญให้พูดเป็นกรณี ๆ ไป ฯลฯ

8. จํานวนผู้ฟังกําหนดอะไรในการเตรียมการของผู้พูดต่อสาธารณชน
(1) คําปฏิสันถาร
(2) วิธีปรากฏตัว
(3) กล่าวนํา
(4) การแต่งกาย
(5) การเลือกสถานที่/ช่องทางนําเสนอ
ตอบ 5(คําบรรยาย) การวิเคราะห์จํานวนหรือขนาดของผู้ชม ผู้ฟังกลุ่มเป้าหมาย จะทําให้ผู้พูดรู้ว่า กลุ่มผู้ฟังมีขนาดเล็กหรือใหญ่ มีพื้นที่/สถานที่เพียงพอหรือไม่ในการบรรจุผู้ฟัง เพราะจํานวน หรือขนาดของผู้ฟังกับสถานที่จะมีความสัมพันธ์กัน และยังทําให้ผู้พูดสามารถเตรียมวิธีการพูด รูปแบบของการพูด และช่องทางนําเสนอ/อุปกรณ์เครื่องมือประกอบการพูดที่เหมาะสมได้ด้วย

9 ข้อเสียของการพูดที่จะทําให้เกิดผลต่อเนื่องด้านอื่น ๆ ตามมา คือ
(1) คําพูดเชื่อถือไม่ได้
(2) ขาดการเตรียมการ
(3) พูดแล้วแก้ไขไม่ได้
(4) มีสื่ออื่นมาทดแทนแล้ว
(5) มีค่าใช้จ่ายสูง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ข้อเสียของการพูดที่จะทําให้เกิดผลต่อเนื่องด้านอื่น ๆ ตามมา คือ พูดไปแล้ว แก้ไขไม่ได้ ดังนั้นผู้พูดจึงต้องไตร่ตรองก่อนที่จะพูด หรือคิดก่อนพูด ไม่ใช่พูดก่อนคิด เพราะ หากพูดโดยไม่ยั้งคิด อาจส่งผลเสียต่อผู้พูดในภายหลัง ดังคํากล่าวที่ว่า “ก่อนที่จะพูดคุณเป็น นายคําพูด เมื่อพูดจบคําพูดจะเป็นนายคุณ

10. พื้นฐานมารยาทและข้อปฏิบัติในการพูดมาจาก
(1) ความผูกพัน
(2) สถานะทางสังคม
(3) ปฏิสัมพันธ์ที่ควรมี
(4) การพัฒนาความคิด
(5) การคาดเดาการกระทํา
ตอบ 4(คําบรรยาย) พื้นฐานมารยาทและข้อปฏิบัติในการพูดมาจากการพัฒนาความคิด คือ การรู้จัก คิดให้ดีและรอบคอบก่อนพูด ซึ่งการเป็นผู้มีความคิดรอบคอบ ถือเป็นจุดกําเนิดของการรักษา จรรยาบรรณวิชาชีพการพูด และเป็นมารยาทในการพูดที่วิชาวาทวิทยาให้ความสําคัญมากที่สุด

11. ข้อใดเป็นเจตนาสําคัญของกิจกรรมด้านวาทวิทยา
(1) ตัวตน
(2) สัญญาณ
(3) แนวคิด
(4) ภาพลักษณ์
(5) ภาพพจน์3

ตอบ 1 (คําบรรยาย) เจตนาสําคัญของกิจกรรมด้านวาทวิทยาหรือการพูดเป็นการแสดงใน 2 ส่วน คือ ตัวตน + วาจา ซึ่งการแสดงตัวตนในการพูด หมายถึง การแสดงบุคลิกภาพและอัตลักษณ์ ลีลา พฤติกรรม หรืออากัปกิริยาท่าทางในระหว่างพูด ส่วนการแสดงวาจา หมายถึง การแสดงเนื้อหา สาระที่จะพูด น้ําเสียงและสําเนียง

12. ข้อใดใช้แทนเสียงและคําพูดที่สามารถทําความเข้าใจระหว่างกันและกันได้ง่ายที่สุด
(1) ท่าทาง
(2) พื้นที่
(3) ระยะห่าง
(4) สีสัน
(5) เวลา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) อวัจนภาษา (ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคํา) ที่ใช้มากที่สุด คือ ท่าทางประกอบ ถือเป็น สิ่งที่ใช้แทนเสียงและคําพูด ซึ่งสามารถทําความเข้าใจระหว่างกันและกันได้ง่ายที่สุด ซึ่งผู้พูด ควรจะแสดงท่าทางประกอบให้สอดคล้องกับความรู้สึกนึกคิดและสาระการนําเสนอ รวมทั้ง ต้องสุภาพเรียบร้อย เหมาะกับโอกาส เนื้อหาที่เตรียมมา และรูปแบบกิจกรรม

13. ข้อใดเป็นอวัจนภาษาที่มีความซับซ้อนในการแปลความหมายและความเข้าใจ
(1) ท่าทาง
(2) ระยะห่าง
(3) สีที่เลือกใช้
(4) กลิ่น
(5) การเปลี่ยนตําแหน่ง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) อวัจนภาษา (ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคํา) ที่ถือว่ามีความซับซ้อนในการแปลความหมาย และความเข้าใจ คือ กลิ่น เพราะว่ากลิ่นไม่มีลักษณะที่ตายตัว กลิ่น ๆ หนึ่งอาจจะเป็นกลิ่นหอม ของคนหนึ่ง แต่อาจไม่ใช่กลิ่นหอมของอีกคน แม้คนเหล่านั้นจะอยู่ในวัฒนธรรมเดียวกันก็ตาม อย่างไรก็ตามก็มีกลิ่นบางกลิ่นที่มีลักษณะสากลที่บ่งบอกได้เหมือน ๆ กัน ในทุกวัฒนธรรม เช่น กลิ่นของเน่า กลิ่นรองเท้า หรือกลิ่นปาก เป็นต้น

14 ข้อใดคือสิ่งที่เรียกว่า “อัตลักษณ์”
(1) หายากในคนอื่น
(2) ทุกคนก็มี
(3) เป็นไปได้ทุกคน
(4) คุณค่าของคน
(5) ผลรวมลักษณะแต่ละบุคคล
ตอบ 5 (คําบรรยาย) อัตลักษณ์ (Identity) หมายถึง ผลรวมของตัวตน ผลรวมลักษณะแต่ละบุคคล ความเป็นตัวตนที่แท้ หรือส่วนประกอบที่รวมเป็นตัวบุคคลคนหนึ่ง

15. ข้อใดเป็นหลักการสําคัญที่สุดของการนําเสนอสาระความรู้
(1) พูดให้มีเหตุผล
(2) พูดให้ได้คิด
(3) พูดให้ได้สนุก
(4) พูดให้ได้รู้ตัว

(5) พูดให้ได้รู้ทัน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การพูดเพื่อให้ความรู้ เป็นการนําเสนอข้อมูลเพื่อให้เกิดความคิด กระตุ้นให้เกิด สติปัญญา โดยการเร่งเร้าให้บุคคลใช้และพัฒนาเนื้อหาสาระที่ได้รับจากการนําเสนอไปใช้ให้เกิด ประโยชน์ หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับผู้ฟัง ผู้ชม

16. ข้อใดมีความหมายใกล้เคียงกับสิ่งที่เรียกว่า “สัญลักษณ์”
(1) เฉด
(2) อีโก้
(3) ไอคอน
(4) ลค
(5) ดราม่า
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การสื่อสารผ่านสื่อต่าง ๆ กระทําได้ดังนี้
1. ใช้สื่อแพร่ภาพและเสียง
2. ใช้สัญลักษณ์และไอคอนแทนความหมาย
3. กระบวนการทางกิจกรรม
4. พยาน (บุคคลพยาน วัตถุพยาน)

17. อมเสียงในทางวาทวิทยา คือ
(1) พูดไม่ได้ยิน
(2) พูดอ้อมแอ้ม
(3) พูดกวนใจ
(4) พูดไม่คิด
(5) พูดไม่ระวัง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) อมเสียงในทางวาทวิทยา คือ การพูดอ้อมแอ้ม พูดไม่เต็มปาก ไม่ชัดถ้อยชัดคํา

18. การจะดําเนินกิจกรรมทางวาทวิทยา อะไรคือสิ่งที่สําคัญที่สุดที่ต้องตอบคําถามตัวเอง
(1) ระดับความรู้
(2) ความพร้อมที่จะทํา
(3) ความยาก – ง่ายของข้อมูล
(4) ข้อได้เปรียบ – เสียเปรียบ
(5) พรสวรรค์ที่มี
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การจะดําเนินกิจกรรมทางวาทวิทยานั้น สิ่งที่สําคัญที่สุดที่ต้องตอบคําถามตัวเอง คือ ความพร้อมที่จะทํา ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมของผู้พูดในด้านบุคลิกภาพและเนื้อหาที่จะพูด การใช้ภาษา น้ําเสียง ความถนัดและทักษะของผู้พูด รวมทั้งความเชี่ยวชาญในเรื่องที่จะพูด

19. ข้อใดไม่เป็นปัจจัยสําคัญในการสร้างอารมณ์และเข้าถึงความรู้สึกของเสียงผู้พูด
(1) ระดับเสียงสูง – ต่ำ
(2) ความหนัก – เบา
(3) จังหวะถี่ – ห่าง
(4) ความรู้มาก – น้อย
(5) ราบรื่น – ติดขัด
ตอบ 4(คําบรรยาย) ปัจจัยสําคัญในการสร้างอารมณ์และเข้าถึงความรู้สึกของเสียงผู้พูด มีดังนี้
1. ระดับเสียงสูง – ต่ำ
2. การเน้นเสียงหนัก – เบา
3. เสียงราบรื่น – ติดขัด
4. การใช้จังหวะถี่ – ห่าง
5. การเคลื่อนไหว – การหยุดนิ่ง ฯลฯ

20. ข้อใดเป็นกิจกรรมที่ต้องกระทําอันดับแรกเมื่อตกลงใจที่จะพูด
(1) หาแหล่งอ้างอิง
(2) ประสานงานกับเจ้าภาพ
(3) ค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องเบื้องต้น
(4) ร่างเนื้อหาการพูด
(5) สํารวจเส้นทางการเดินทาง
ตอบ 2(คําบรรยาย) ในการเตรียมเนื้อเรื่องที่จะพูดนั้น ผู้พูดต้องมีการประสานงานกับเจ้าภาพก่อน เป็นลําดับแรก เพราะเจ้าภาพเป็นตัวแปรหรือปัจจัยสําคัญในการจัดทิศทางหรือแนวความคิด ของเนื้อเรื่องที่จะพูด โดยผู้พูดต้องเลือกประเด็นหรือเนื้อหาที่สอดคล้องกับความต้องการหรือ ความสนใจของเจ้าภาพ ก่อนที่จะวางเค้าโครงเรื่องเพื่อการนําเสนอ

21. หากต้องพูดเนื้อหาที่กําลังเป็นที่ถกเถียงในสังคม ต้องให้ความสําคัญกับแนวคิดใด
(1) ละเอียด
(2) ข้อมูลที่สมดุล
(3) เป็นกันเอง
(4) มีหลักการรองรับ
(5) ผู้ส่งสาร
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ข้อควรระวังที่สุดสําหรับการพูดเกี่ยวกับเรื่องราวที่มีความสําคัญ เสี่ยงต่อการกระทําที่ทําให้เกิดประเด็นขัดแย้ง เป็นที่ถกเถียง หรือเกิดความเข้าใจที่ผิดพลาดในสังคม คือ ความสมดุลด้านข้อมูลของคู่กรณี และความหลากหลายในข้อมูลที่ใช้ ดังนั้นจึงควรเปิดโอกาส ให้คู่กรณีทั้ง 2 ฝ่าย พูดและแสดงความคิดเห็นได้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ควรผูกขาดการพูดไว้ที่ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะจะทําให้เกิดความไม่สมดุลในโครงสร้างของการสื่อสาร

22. ข้อใดไม่เป็นการพูด
(1) อุทานดัง ๆ
(2) บ่นถึงแฟน
(3) ว่ากล่าวตักเตือน
(4) วิจารณ์รัฐบาล
(5) นั่งนินทาลุงท้ายซอย
ตอบ 1(คําบรรยาย) วาทวิทยา (Speech Communication) มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น วาทนิเทศ วาทศาสตร์ วาทศิลป์ ฯลฯ แต่เดิมเน้นการสื่อสารด้วยเสียงและกิริยาท่าทางประกอบ ปัจจุบัน เน้นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นํา การชักจูงใจ และความบันเทิงเป็นหลัก ทั้งนี้กระบวนการ พูดในทางวาทวิทยาจะต้องมีการกําหนดเป้าหมายการพูด วิเคราะห์ผู้ฟัง การวางแผน การปรับ รูปแบบการนําเสนอ ดําเนินการตามแผนการพูด และตรวจสอบปฏิกิริยาของผู้ฟัง – ผู้ชม

23. ข้อใดเกี่ยวข้องกับแนวคิดด้านการวางตัวทางวาทวิทยา
(1) รู้จักกาลเทศะ
(2) รู้จักใช้เวลาเท่าที่มี
(3) บริหารผู้ร่วมงานให้ได้
(4) ติดตามเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
(5) มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเจ้าภาพ
ตอบ 1(คําบรรยาย) การวางตัวอย่างเหมาะสมในทางวาทวิทยา มีพื้นฐานมาจากการรู้จักกาลเทศะ คือ ถูกที่ถูกเวลา ซึ่งคําว่า “กาละ” หมายถึง เหมาะสมกับเวลา จังหวะ และโอกาส ส่วนคําว่า “เทศะ” หมายถึง เหมาะสมกับสถานที่

24. ช่องทางในการถ่ายทอดเนื้อหาที่เป็นคําพูด คือ
(1) สิ่งพิมพ์ – ภาพและเสียง
(2) ใบหน้า – ท่าทาง
(3) บุคคล – สื่อ
(4) เครื่องมือ – อุปกรณ์
(5) สติปัญญา – อารมณ์
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การถ่ายทอดสาระเนื้อหาของผู้พูด โดยปกติจะอาศัยช่องทาง “ระหว่างบุคคล” ซึ่งก็คือ ใช้บทบาทของความเป็นตัวตนระหว่างบุคคลในการแลกเปลี่ยนความรู้ข่าวสารต่าง ๆ และ “สื่อมวลชน” ซึ่งก็คือ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ

25. แบบธรรมเนียมที่แตกต่างกันแต่ละสังคม เป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้ผู้พูดเลือก……
(1) สื่อ
(2) เวลา
(3) เรียนรู้
(4) วิธีแสดงออก
(5) วิถีชีวิต
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แบบธรรมเนียมที่แตกต่างกันแต่ละสังคม เป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้ผู้พูดเลือกวิธี แสดงออกหรือวิธีนําเสนอที่มีความเหมาะสมถูกต้องตามกาลเทศะ สอดคล้องกับจรรยามารยาท
และแบบธรรมเนียมนิยมของแต่ละสังคม

26. กระบวนการการพูดที่มีประสิทธิภาพนั้น พิจารณาจาก
(1) ผลลัพธ์ที่ได้
(2) กระบวนการนําเสนอ
(3) การประมวลเนื้อหา
(4) ความคิดสร้างสรรค์เนื้อหา
(5) วิธีการสืบค้นข้อมูล
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพูดที่ดี มีประสิทธิภาพ และหวังประสิทธิผลนั้น มีองค์ประกอบที่สําคัญ อยู่ทั้งหมด 3 สิ่ง ดังนี้
1. การปรับปรุงและพัฒนาบุคลิกภาพตัวผู้พูดในการนําเสนอ
2. การวิเคราะห์ผู้ฟัง – ผู้ชม ซึ่งถือเป็นกลุ่มเป้าหมายในการสื่อสารทางวาทวิทยา และ การวิเคราะห์สถานการณ์การพูด (กาลเทศะ)
3. การเลือกเรื่องพูด การประมวลเนื้อหาเรื่องราวเพื่อออกแบบหัวข้อ และจัดระเบียบการนําเสนอสาระข่าวสาร/เนื้อหาในการพูด

27.Content Design ในทางวาทวิทยา หมายถึง
(1) รู้จักแหล่งข้อมูล
(2) การออกแบบเนื้อหา
(3) การรับรู้ข้อมูลทีดี
(4) การปรับตัวเข้าหากัน
(5) ช่องทางการเผยแพร่
ตอบ 2 (คําบรรยาย) Content Design ในทางวาทวิทยา หมายถึง การออกแบบเนื้อหาสาระในการ
นําเสนอ ประกอบด้วย
1. ข้อมูล/เนื้อหาพื้นฐาน
2. ประเด็นสําคัญ
3. ข้อมูลสนับสนุน
4. ส่วนการชักชวน โน้มน้าวจิตใจ
5. การให้ข้อมูลเพิ่มเติม/หมายเหตุ

28. การรับรู้จากข้อมูลข่าวสารเป็นกระบวนการสําคัญของ
(1) การเข้าถึงจิตใจ
(2) การศึกษา
(3) มิตรภาพ
(4) การรักษาสมดุล
(5) การถ่ายทอดข้อมูล

ตอบ 2 (คําบรรยาย) บทบาทของการพูด (วาทวิทยา) ประการหนึ่ง คือ การพูดทําให้เกิดการรับรู้ และเรียนรู้จากข้อมูลข่าวสาร ซึ่งถือเป็นกระบวนการสําคัญของการศึกษา

29. ความเชื่อ หมายถึง
(1) การใส่ใจข้อมูล
(2) การนึกถึงข้อมูล
(3) การจดจําข้อมูล
(4) การรู้จักข้อมูล
(5) การยืนยันข้อมูล
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความเชื่อในข้อมูล หมายถึง การยืนยันข้อมูล หรือยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็น ความจริงหรือมีการดํารงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน

30. โครงสร้างทางวาทวิทยากําหนด……..ในการนําาเสนอ
(1) ข้อมูล
(2) แนวคิด
(3) ลําดับ
(4) วิธีการ
(5) บุคคล
ตอบ 3 (คําบรรยาย) โครงสร้างทางวาทวิทยา หรือโครงสร้างเนื้อหาการพูด คือ แบบแผนซึ่งมีการ กําหนดไว้ถึงกระบวนการ และลําดับขั้นตอนในการนําเสนอ เพื่อให้ผู้พูดได้ใช้เป็นหลักเกณฑ์ ในการพูดตามลําดับก่อน – หลัง ซึ่งผู้ฟัง – ผู้ชมสามารถติดตามได้อย่างไม่สับสน เป็นไปตาม ธรรมเนียมปฏิบัติ มีความเป็นสากลเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป

31. การใช้ภาษาที่เหมาะสมกับผู้ฟัง — ผู้ชม ต้องให้ความสําคัญกับกระบวนการที่เรียกว่า
(1) การคัดเลือก
(2) การสังเคราะห์
(3) การเพาะบ่ม
(4) การคัดตัวเลือก
(5) การกําหนดคุณค่า
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การใช้ภาษาที่เหมาะสมกับผู้ฟัง – ผู้ชม ต้องให้ความสําคัญใน 2 ด้าน ดังนี้
1. การรับรู้ความหมาย
2. การกําหนดคุณค่าหรือการให้ความหมาย

32. ความเร่งรีบในการนําเสนอจะเกิดผลร้ายด้านใดต่อเนื้อหาการนําเสนอ
(1) การเร้าอารมณ์
(2) การสร้างอารมณ์ร่วม
(3) ความผิดพลาด
(4) ภาพลักษณ์หน่วยงาน
(5) ความคุ้นเคย
ตอบ 3(คําบรรยาย) เมื่อถึงเวลาที่ต้องพูด ผู้พูดควรเตรียมตัวให้สดชื่นสําหรับงานที่รออยู่ข้างหน้า แต่สิ่งที่ไม่ควรทําอย่างยิ่ง คือ การทําอะไรเร่งรีบอย่างไม่มีการวางแผน เพราะจะทําให้เกิด ความผิดพลาดต่อเนื้อหาการนําเสนอได้ โดยควรเตรียมการดังต่อไปนี้
1. เตรียมต้นฉบับและสิ่งจําเป็นต่าง ๆ ให้พร้อมที่จะหยิบจับติดตัวได้ทันที
2. หากมีเวลาให้ฝึกทดสอบการออกเสียง ทดสอบลีลาท่าทางและจัดระเบียบร่างกายกับเวที
เท่าที่พอมีเวลา
3. ตรวจดูบันทึกย่อที่ทําเอาไว้

33. ประสิทธิผลที่ดีในการนําเสนอทางวาทวิทยา จะมาจากการ……..เป็นสมมุติฐานสําคัญ
(1) ค้นคว้าที่ดี
(2) มีข้อมูลที่ไว้ใจได้
(3) เตรียมสารที่ดี
(4) ชูประเด็นในเนื้อหา
(5) การคุ้นเคยกับผู้ฟัง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การสร้างประสิทธิผลที่ดีในการนําเสนอทางวาทวิทยา จะมาจากสมมุติฐาน
ที่สําคัญ ดังนี้
1. ผู้พูดมีการเตรียมตัวที่ดี
2. ผู้พูดมีการเตรียมสารเป็นอย่างดี

34. เหตุใดจึงไม่สามารถปฏิเสธการดูแลตนเอง เพื่อการปรากฏตัวต่อสายตาผู้อื่นเพื่อ……..
(1) สุขภาพที่ดี
(2) การติดต่อที่ดี
(3) สติปัญญาที่ดี
(4) การรับรู้ที่ดี
(5) จบการนําเสนอที่ดี

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผู้พูดควรดูแลตนเอง เพื่อการปรากฏตัวต่อสายตาผู้อื่นทั้งในเรื่องของบุคลิกภาพ การแต่งกาย คุณภาพของน้ําเสียง ฯลฯ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ฟังเกิดการรับรู้ที่ดีนั่นเอง

35. อะไรไม่ใช่ความเป็นตัวตน
(1) สติปัญญา
(2) ทักษะความถนัด
(3) บุคคลที่อ้างอิง
(4) น้ำเสียง
(5) ความสามารถพิเศษ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

36. ในทางการสื่อสารมวลชน กรอบอ้างอิงมักมีความสัมพันธ์กับ
(1) แหล่งข่าว
(2) ภูมิลําเนา
(3) ประวัติส่วนตัว
(4) ความสามารถแฝง
(5) ระดับสติปัญญา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในกระบวนการสื่อสาร ผู้พูด (Speaker) จะมีฐานะเป็นผู้ส่งสาร (Sender) เสมอ เพราะเป็นผู้ใช้แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อเตรียมสารและถ่ายทอดไปสู่ผู้รับสาร ซึ่งหากผู้ส่งสาร นําเสนอหรือพูดสิ่งใดออกไปแล้ว ผู้รับสารกลุ่มเป้าหมายนําสาระข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์ หรือ ยึดถือเป็นกรอบอ้างอิง (ประสบการณ์ที่เด่นชัดและใช้เป็นแบบอย่าง) เราจะเรียกผู้ส่งสารว่า “แหล่งข่าวสาร” (Scurce or News Source) โดยเฉพาะในการสื่อสารมวลชน

37. ความสามารถในการนําเสนอของผู้พูด พิจารณาเบื้องต้นจาก……ในการนําเสนอ
(1) ความไพเราะ
(2) ความราบเรียบ
(3) ยาก – ง่าย
(4) ลําดับขั้นตอน
(5) การค้นคว้าข้อมูล
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความสามารถในการนําเสนอของผู้พูด จะพิจารณาเบื้องต้นจากลําดับขั้นตอน ในการนําเสนอที่เป็นระบบ โดยมีการดําเนินเรื่องที่ดีถูกต้องตามหลักเกณฑ์ กล่าวคือ มีบทนํา เนื้อเรื่อง และบทสรุป

38. การใช้โทนเสียงสูง – ต่ำในการพูด เป็นการสื่อสารที่เน้น
(1) วิธีการ
(2) อารมณ์
(3) จัดการความคิด
(4) จัดลําดับข้อมูล
(5) ปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

39. การพิจารณาว่า คําพูดนั้นผู้พูดให้ความสําคัญกับสิ่งใดเป็นพิเศษ มักจะพิจารณาจาก
(1) การแต่งตัว
(2) การจัดเวที
(3) การเปลี่ยนตําแหน่ง
(4) เป้าหมายสายตา
(5) รูปแบบการพูด
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การพิจารณาว่า คําพูดนั้นผู้พูดให้ความสําคัญกับสิ่งใดเป็นพิเศษ มักจะพิจารณา จากวิธีการแสดงออก เช่น ผู้พูดควรแสดงท่าทางประกอบเมื่อต้องการอธิบาย เน้นข้อความหรือ ให้ความสําคัญกับสิ่งที่พูด ซึ่งหากเป็นเรื่องสําคัญที่ผู้พูดต้องการเน้นเป็นพิเศษ ควรใช้รูปแบบ การพูดในลักษณะตอกย้ำแต่ไม่ซ้ำซาก เพื่อให้เรื่องที่พูดมีความชัดเจน น่าสนใจ และยังทําให้ ผู้ฟังสามารถจดจําเรื่องนั้น ๆ ได้มากขึ้น

40. การจัดลําดับข้อมูลให้ไม่สับสน อาศัยอะไรเป็นเครื่องกําหนดหรือแนวทางเบื้องต้น
(1) ข่าวสารทางสื่อมวลชน
(2) ความรู้ของผู้ชม – ผู้ฟัง
(3) ลําดับเวลาก่อน – หลัง
(4) วัตถุประสงค์หน่วยงาน
(5) แนวความคิดตามทฤษฎีที่กําหนดไว้
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

41. ข้อใดมีความหมายใกล้เคียงกับคําว่า “สังเคราะห์” ที่สุด
(1) ละเอียด
(2) รอบคอบ
(3) ตรงประเด็น
(4) สร้างสรรค์
(5) ทําโดยอิสระ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การสังเคราะห์ หมายถึง การสรุปตามแนวคิดของตน ซึ่งจะมีความหมายไป ในทางรวมเข้าด้วยกัน โดยมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้น ส่วนขั้นตอน ของวิธีคิดเชิงสังเคราะห์จะต้องตั้งจุดมุ่งหมายในการสังเคราะห์ให้ชัดเจนว่า เราต้องการที่จะ สร้างสรรค์สิ่งใดขึ้น เพื่อประโยชน์อะไร หรือเพื่อให้ทําหน้าที่อะไร

42. ข้อใดไม่ใช่การ “วิเคราะห์”
(1) แจกแจง
(2) ลงลึกในรายละเอียด
(3) เข้าถึงโครงสร้าง
(4) รู้บทบาทและหน้าที่
(5) สร้างนวัตกรรม
ตอบ 5(คําบรรยาย) การวิเคราะห์ หมายถึง การพิจารณาแยกแยะ แจกแจง จําแนกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ออกเป็นส่วน ๆ เพื่อทําความเข้าใจแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้ง ซึ่งมีลักษณะดังนี้
1. ลงลึกในรายละเอียด/เข้าถึงโครงสร้าง
3. การนําเสนอข้อมูลที่หลากหลาย
2. การประมวลสาระอย่างรอบคอบ
4. วิเคราะห์ตามบทบาทและหน้าที่ของตน

43. ในการตรวจสอบตนเองของผู้พูด ข้อใดคือข้อพิจารณาสําคัญ
(1) ทําอะไรเป็นบ้าง
(2) นัดหมายเวลาไหน
(3) มีความพร้อมเพียงใด
(4) ต้องใช้เวลานานเท่าใด
(5) ใครที่ต้องติดต่อประสานงานด้วย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

44. ข้อใดคือทักษะที่จําเป็นและสําคัญของผู้พูด ซึ่งต้องมีการนําเสนอเรื่องราวที่เป็นปัญหาทางสังคมที่ซับซ้อน
(1) ด้านภาษาต่างประเทศ
(2) ด้านการเงิน — การคลัง
(3) ด้านระดมเครือข่าย
(4) ด้านการบริหารงานบุคคล
(5) ด้านการบูรณาการความรู้
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ทักษะที่จําเป็นและสําคัญของผู้พูด ซึ่งต้องมีการนําเสนอเรื่องราวที่เป็นปัญหา ทางสังคมที่ซับซ้อน คือ ทักษะด้านการระดมเครือข่ายจากทุกภาคส่วน เพื่อรวมพลังในการ ขับเคลื่อนประเด็นปัญหาทางสังคมที่ซับซ้อนให้นําไปสู่การแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม

45. ข้อใดเป็นความสามารถด้านการใช้เสียงที่บ่งบอกถึงความมีเอกลักษณ์
(1) ความชัดถ้อยคํา
(2) ความดังกังวาน
(3) ออกเสียงชัดเจน
(4) ลูกเล่นและชั้นเชิงนําเสนอ
(5) ลําดับข้อมูลที่ฟังง่าย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คําว่า “เอกลักษณ์” (Uniqueness) หมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียว ความโดดเด่น สภาวะที่ไม่มีผู้ใดเหมือน ซึ่งหาได้ยากในคนอื่น เช่น การใช้ลูกเล่นและชั้นเชิงนําเสนอในน้ำเสียง เพื่อบอกคนฟังว่าจุดไหนที่เน้น จุดไหนที่สําคัญ เป็นต้น

46. ข้อใดเป็นความน่าเชื่อถือของผู้พูดในลําดับแรก
(1) การวางตัว
(2) มารยาทสังคม
(3) รสนิยมการแต่งกาย
(4) ความตรงเวลา
(5) วิธีการเลือกคําปฏิสันถาร
ตอบ 1(คําบรรยาย) ความน่าเชื่อถือของตัวผู้พูด ประกอบด้วย
1. การวางตัว มารยาทพื้นฐานทางสังคม ความตรงเวลา
2. หน้าที่ ความเกี่ยวข้อง ประสบการณ์
3. การเลือกเครื่องแต่งกาย ฯลฯ

47. คําว่า “ประเด็นที่น่าสนใจ” หมายถึง
(1) ใคร ๆ ก็รู้
(2) เรื่องลับเฉพาะ
(3) สาระที่มีผลกระทบ
(4) สิ่งประทับใจ
(5) ข่าวสารที่มีอยู่
ตอบ 3 (คําบรรยาย) คําว่า “ประเด็นที่น่าสนใจ” หมายถึง สาระที่มีผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ หรือ มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม

48. อะไรเกิดขึ้นก่อนใน Speech Communication
(1) อารัมภบท
(2) อุทาน
(3) ทักทาย
(4) เกริ่น
(5) แนะนําตัว
ตอบ 3(คําบรรยาย) สาระเนื้อหาที่นําเสนอ (Speech Communication) มี มีขั้นตอนดังนี้
1. การกล่าวทักทายหรือมีปฏิสันถาร เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับผู้ฟังก่อนเป็นลําดับแรก
2. การเข้าสู่เรื่อง คํานําหรือความนํา
3. ประเด็น/สาระในการนําเสนอ
4. ข้อมูล ความรู้ ประเด็นจูงใจ การให้คุณค่าเนื้อหา
5. การสรุป การปิดท้ายเรื่อง คําลงท้าย
6. คําเชื้อเชิญ การเชิญชวน

49. สิ่งเร้าที่นอกเหนือจากตัวผู้พูดและผู้ฟัง คือ
(1) ความคิด
(2) ความพร้อม
(3) ประสบการณ์
(4) ความรู้
(5) สิ่งแวดล้อม
ตอบ 5 (คําบรรยาย) สิ่งแวดล้อมของการพูด คือ สถานการณ์หรือสิ่งที่จะส่งผลต่อการพูด จัดเป็น สิ่งเร้าในการพูดที่นอกเหนือจากผู้พูดและผู้ฟัง ซึ่งพิจารณาได้จากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1. ระบบสังคมวัฒนธรรม เช่น ศาสนา จารีตประเพณี แนวทางปฏิบัติของครอบครัว ฯลฯ
2. กฎระเบียบ อํานาจหน้าที่ เช่น กฎหมาย ข้อปฏิบัติต่าง ๆ ฯลฯ
3. กระแสสาธารณมติ
4. นโยบาย แผนงาน และโครงการ

50. เนื้อหาในทางวาทวิทยา ให้ความสําคัญกับ
(1) รูปแบบ – ขั้นตอน
(2) ความน่าสนใจ – เป้าหมายการสื่อสาร
(3) ความจํา – ข้อมูล
(4) สาระ – วิธีการ
(5) ความจํา – แนวคิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สาระเนื้อหาที่นําเสนอ (Speech) ในทางวาทวิทยา หมายถึง ข่าวสารหรือ ข้อมูลที่มีการตระเตรียมไว้เพื่อการนําเสนอ ถือเป็นสาระหลักของการสื่อสาร ซึ่งอาจเป็นการ เตรียมให้กับตนเองหรือผู้อื่นก็ได้ โดยสาระหรือเนื้อหาเหล่านี้จะพิจารณาจากความน่าสนใจ ในการนําเสนอ และการบรรลุถึงจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายการสื่อสาร

51. ข้อใดไม่ใช่แนวคิดในการสร้างหัวเรื่อง
(1) น่าสนใจ
(2) ประเด็นการนําเสนอ
(3) มีความชักจูงใจ
(4) บอกเรื่องราวจนครบถ้วน
(5) ท้าทายให้คิด
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ชื่อเรื่องหรือหัวเรื่อง มีลักษณะดังนี้
1. เป็นภาพรวมหลัก แนวคิดหลัก ประเด็นการนําเสนอ หรือทิศทางในการนําเสนอ
2. สัน กระชับ มีความหมายในตัวเอง
3. อาจมีส่วนขยายชื่อเรื่องที่ชวนติดตาม
4. มีความน่าสนใจ หรือสอดคล้องกับความต้องการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมาย
5. มีความชักจูงใจ หรือท้าทายให้คิด หากมีลักษณะเชิงคําถาม ต้องมีการคลี่คลายในเนื้อเรื่อง

52. ประสบการณ์ที่เด่นชัดและใช้เป็นแบบอย่าง คือ
(1) ข้อมูล
(2) กรอบอ้างอิง
(3) แนวคิดหลัก
(4) ทักษะที่พัฒนาแล้ว
(5) อิทธิพลทางความคิด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ

53. ข้อใดเป็นลําดับต่อจากหัวเรื่อง
(1) คํานํา
(2) ความนํา
(3) การปฏิสันถาร
(4) ประเด็นหลัก
(5) ข้อมูลสนับสนุน
ตอบ 3 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ) โครงสร้างของเนื้อหาการพูด ประกอบด้วย
1. ชื่อเรื่องหรือหัวเรื่อง
2. การกล่าวทักทาย หรือมีปฏิสันถาร
3. การเข้าสู่เรื่อง คํานําหรือความนํา
4. เนื้อหาสาระในการนําเสนอ
5. ส่วนจบความ/ท่อนท้ายเนื้อหา

54. คําทักทาย ทําหน้าที่
(1) ให้ความสําคัญผู้ฟัง
(2) บอกกําาหนดการ
(3) เตือนว่าถึงเวลาพูดแล้ว
(4) สร้างความคุ้นเคย
(5) แสดงว่าผู้พูดเป็นใคร
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

55. ข้อใดไม่ควรกล่าวในการปฏิสันถารที่เป็นทางการ
(1) ผู้มีเกียรติทั้งหลาย
(2) สมาชิกทุกท่าน
(3) สมาชิก ณ ที่ประชุมแห่งนี้
(4) ท่านทั้งหลาย และท่านประธาน
(5) เพื่อนเหล่าทหารหาญผู้ร่วมสมรภูมิ
ตอบ 5 หน้า 34 คําปฏิสันถาร หรือการกล่าวทักทาย แบ่งออกเป็น
1. ชนิดที่เป็นพิธีการ จะไม่นิยมใช้คําที่แสดงความรู้สึกปนเข้ามา เช่น คําว่า “เคารพนับถือ/ ที่รัก” ฯลฯ โดยมักใช้ในงานรัฐพิธีและงานศาสนพิธีต่าง ๆ
2. ชนิดที่ไม่เป็นพิธีการ จะนิยมใช้คําที่แสดงความรู้สึกปนเข้ามาด้วยเพื่อแสดงความเป็นกันเอง เช่น สวัสดีพี่น้องชาวไทยที่รักทั้งหลาย, เพื่อนเหล่าทหารหาญผู้ร่วมสมรภูมิ ฯลฯ โดยมักใช้ ในงานที่ไม่เป็นทางการมากนัก

56. ข้อใดเป็นการกล่าวคํานําที่ไม่ควรกระทํา
(1) เล่านิทานขําขัน
(2) ยกภาษิตเปรียบเปรย
(3) เสนอข่าวที่เพิ่งเกิด
(4) บทสวดเพื่อสิริมงคล
(5) เล่าเรื่องที่เคยเสียมารยาทของตนเอง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แนวคิดของการมีคํานําหรือบทนํา ได้แก่
1. มีความชัดเจนในเนื้อหาและมีความน่าสนใจในประเด็นที่คัดสรรมาแล้ว ต้องไม่สั้นหรือ ยาวเยิ่นเย้อ และต้องสอดคล้องกับเรื่องราวที่จะพูดในลําดับถัดไป
2. เป็นส่วนที่ดึงดูดจิตใจ สร้างอารมณ์ร่วม สร้างความสนใจ หรือชักจูงใจให้ติดตามเนื้อหา เพื่อกระตุ้นความรู้สึกให้อยากรู้ หรือจุดประกายให้ผู้ฟังตื่นเต้นเร้าใจ
3. ชี้ให้เห็นประเด็นสําคัญที่จะพูด โดยรวบรวมประเด็นสําคัญขึ้นมานําเสนอก่อน (แต่ไม่ใช่การย่อสาระสําคัญของการพูดทั้งหมด)
4. ไม่นิยมย่อความเรื่องราวที่จะพูดโดยรวม มาเป็นคํานํา
5. ไม่นําบทสวด คําทางศาสนา/ความเชื่อ มาเป็นคํานํา
6. มีความเหมาะสมกับกาลเทศะ และไม่ก้าวล่วงต่อสถานะของบุคคลต่าง ๆ ในพิธีการ ฯลฯ

57. บทนํา ทําหน้าที่
(1) เพิ่มคุณค่า
(2) ส่งเสริมความเข้าใจ
(3) สร้างลีลาการนําเสนอ
(4) ชักจูงใจให้ติดตาม
(5) เร่งเร้าให้ตัดสินใจ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 56. ประกอบ

58. ภาพทางความคิด ซึ่งสามารถคิดตาม เข้าใจ และเข้าถึงความรู้สึกด้านต่าง ๆ เรียกว่า
(1) ภาพพจน์
(2) ภาพลักษณ์
(3) ภาพติดตา
(4) ภาพประทับใจ
(5) ภาพอุปมา
ตอบ 1(คําบรรยาย) ภาพพจน์ คือ การเห็นภาพตามคําพูด ซึ่งผู้ที่พูดเก่งต้องสามารถพูดแล้วทําให้ ผู้ฟังเห็นภาพทางความคิด ซึ่งสามารถคิดตาม เข้าใจ และเข้าถึงความรู้สึกด้านต่าง ๆ ได้

59. ร่องรอยการกระทําที่ปรากฏและรับรู้ได้ที่ผู้พูดนํามาเสนอ
(1) รูปธรรม
(2) หลักฐาน
(3) ตัวตน
(4) คํากล่าวอ้าง
(5) ข่าวสาร
ตอบ 2 (คําบรรยาย) หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะพูด หมายถึง ร่องรอยการกระทําที่ปรากฏและ รับรู้ได้ที่ผู้พูดนํามาเสนอ เช่น บุคคล และวัตถุพยานต่าง ๆ

60. ข้อใดคือเครื่องมือประกอบการนําเสนอที่ต้องใช้เสมอ
(1) ดิน ฟ้า อากาศ
(2) ผู้ร่วมสนทนา
(3) ผู้ชม – ผู้ฟังทั้งหมด
(4) กลุ่มเป้าหมายบางคน
(5) อวัจนภาษา
ตอบ 5(คําบรรยาย) เครื่องมือสื่อความหมาย (Channel) หมายถึง ช่องทางหรือเครื่องมือทางการ สื่อสารที่ใช้ในครั้งนั้น ตลอดจนอะไรก็ตามที่ผู้พูดนํามาใช้เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการนําเสนอ การถ่ายทอด และการส่งต่อสาระข้อมูลไปยังกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ได้รับความรู้หรือความเข้าใจ อย่างเต็มที่ แบ่งออกเป็น
1. อวัจนภาษา
2. โสตทัศนูปกรณ์
3. บุคคลและวัตถุพยาน

61. เหตุใดจึงมีข้อแนะนําว่า ผู้พูดไม่ควรนํากิจกรรมของบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องมากล่าวในเนื้อหาการนําเสนอ
ต่อที่สาธารณชน
(1) ส่งผลต่อค่านิยมที่ตั้งไว้
(2) เป็นการดูถูกตนเอง
(3) สื่ออื่นจะนําไปเผยแพร่ต่อเนื่อง
(4) เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์
(5) จะสร้างความแตกแยกแบ่งพรรคแบ่งพวก
ตอบ 3(คําบรรยาย) ผลจากการพูด (Impact) ประการหนึ่ง คือ การพูดนั้นอาจสร้างความเสียหาย ต่อตัวผู้พูดได้ ดังนั้นผู้พูดจึงไม่ควรพาดพิงถึงบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาการพูดของตน เช่น ผู้พูดไม่ควรนํากิจกรรมของบุคคลสาธารณะมากล่าวในเนื้อหาการนําเสนอต่อสาธารณชนเพราะสื่ออื่นอาจนําไปเผยแพร่ต่อเนื่องในทางเสียหายได้

62. พฤติกรรมของบุคคลที่กระทําอย่างสม่ําเสมอ จะปรากฏเป็น…..
(1) ความสามารถ
(2) ศักยภาพ
(3) นิสัย
(4) สังคม
(5) ความคิด
ตอบ 3(คําบรรยาย) นิสัย หมายถึง พฤติกรรมของบุคคลที่กระทําอย่างสม่ําเสมอ หรือพฤติกรรม เคยชิน ซึ่งเกิดจากการกระทําสิ่งหนึ่งสิ่งใดบ่อย ๆ จนติด

63. คําว่า “กาลเทศะ” ในการสื่อสารแบบวาทวิทยา คือ
(1) เต็มที่
(2) เหมาะสม
(3) สุภาพเรียบร้อย
(4) มีมาตรฐาน
(5) ยอมรับได้
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

64. ข้อใดไม่ได้อยู่ในกระบวนการทางวาทวิทยา
(1) ข่าวในช่องทางสาธารณะ
(2) การวางแผน
(4) ตรวจสอบปฏิกิริยาผู้ชม
(3) วิเคราะห์ผู้ฟัง
(5) การปรับรูปแบบการนําเสนอ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 22. ประกอบ

65. จํานวน ปริมาณของกลุ่มเป้าหมายจะสัมพันธ์กับการเลือก……..เป็นอันดับแรก
(1) พิธีกร
(2) ผู้ดําเนินรายการ
(3) สถานที่
(4) เวที
(5) ฉากหลัง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

66. ปกติแล้วในเนื้อเรื่องจะเริ่มด้วย
(1) การกล่าวถึงบรรยากาศในงาน
(2) ขอบคุณผู้ฟัง
(3) นําเสนอข้อมูลโดยละเอียด
(4) ข้อสังเกตที่น่าสนใจ
(5) การปูพื้นฐานความรู้
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เนื้อหาหรือเนื้อเรื่อง คือ สาระข้อมูลหลักในการนําเสนอ ซึ่งโดยปกติแล้ว ในเนื้อเรื่องจะเริ่มต้นด้วยการปูพื้นฐานความรู้ในเรื่องที่จะพูดให้กับผู้ฟัง – ผู้ชม เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ก่อนที่จะนําเสนอสาระเรื่องราวที่ยากและซับซ้อนโดยละเอียดในลําดับถัดไป

67. เนื้อหาการนําเสนอทางวาทวิทยาที่เล็งผลทางพฤติกรรม พิจารณาจาก
(1) เหตุ – ผล
(2) จํานวนครั้ง
(3) ลําดับ – ปริมาณ
(4) ประเด็นจูงใจ
(5) ศัพท์สํานวนที่กินใจ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การพูดเพื่อชักจูงใจ หมายถึง การนําเสนอข้อมูลข่าวสารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรม การกระทํา ความเชื่อ หรือทัศนคติ โดยต้องอาศัยหลักการที่สําคัญ คือ การสร้าง ประเด็นจูงใจหรืออิทธิพลเหนือจิตใจด้วยข้อมูลและการแสดงออก ซึ่งตัวอย่างของการพูดเพื่อ ชักจูงใจ เช่น การโฆษณาขายสินค้า, การรณรงค์ การเชิญชวน หรือการขอความร่วมมือใน เรื่องต่าง ๆ, การพูดแนะนําให้เปลี่ยนพฤติกรรม ฯลฯ

68. ข้อใดเป็นข้อมูลระดับปฐมภูมิหรือขั้นต้น
(1) ฉันสอบผ่านแล้ว
(2) เพื่อนสนิทฉันเล่ามา
(3) ข่าวช่องนี้มีแต่คําโกหก
(4) ดีเจเล่าข่าวเช้า
(5) เขาเล่าว่าพญานาคมีจริง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ประเภทของข้อมูล แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลปฐมภูมิหรือขั้นต้น (Primary Data) คือ ข้อมูลที่ได้จากแหล่งกําเนิดข้อมูลโดยตรง เช่น ฉันสอบผ่านแล้ว, ประสบการณ์ของผู้รอดตาย เป็นต้น
2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) คือ ข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ได้รวบรวมขึ้นเอง แต่นําเอามาจาก หน่วยงานอื่น หรือผู้อื่นที่ได้ทําการเก็บรวบรวมไว้แล้ว

69. ข้อพิจารณาสําคัญของข้อมูลแวดล้อมในทางวาทวิทยา คือ
(1) นํามากล่าวอ้างได้
(2) พูดถึงกันอยู่เสมอ
(3) มีความหมายหลากหลาย
(4) มีอยู่จริงสามารถรับรู้ได้
(5) ผ่านกระบวนการวิเคราะห์มาแล้ว
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ข้อมูลแวดล้อม คือ สิ่งที่เกิดขึ้น สภาพที่เป็นไปซึ่งมีอยู่หรือเป็นไปในขณะนั้น ทั้งที่เป็นรูปธรรม (มีอยู่จริง สามารถรับรู้ได้) หรือนามธรรม (ไม่มีตัวตน จับต้องไม่ได้ แต่รู้เห็น รับรู้ และสัมผัสได้)

70. การจะให้ความยุติธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวถึง ผู้พูดจะต้องมีแนวคิดในการรวบรวมข้อมูลในลักษณะใดเป็นสําคัญ
(1) เปิดกว้าง
(2) เน้นที่มติสาธารณะ
(3) ดูทิศทางจากกระแสข่าวที่น่าเชื่อถือ
(4) ทําโดยปราศจากอคติ
(5) ได้มีการวิพากษ์ข้อมูล

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ข้อสังเกตในการรวบรวมข้อมูล มีดังนี้
1. รวบรวมโดยใจเป็นกลางโดยปราศจากอคติ
2. รวบรวมให้ครอบคลุมและครบถ้วน
3. รวมรวมข้อมูลจากแหล่งที่มาน่าเชื่อถือ
4. รวบรวมให้ตรงประเด็น
5. รวบรวมจากหลายแหล่ง

71. ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ผู้พูดต้องให้ความสําคัญกับ
(1) วิธีการนําเสนอ
(2) เอกสารที่มี
(3) ความรู้ที่ใช้ประกอบ
(4) ความยาก – ง่ายของข้อมูล
(5) ที่มาของข้อมูลที่จะใช้
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 70. ประกอบ

72. การฝึกซ้อมพูดของผู้พูด เป็นการกระทําเพื่อตระเตรียม
(1) คําพูด – อุปกรณ์
(2) อุปกรณ์ – เวที
(3) อุปกรณ์ – ทีมงาน
(4) บุคลิกภาพ – เนื้อหา
(5) บทบาท – วิธีนําเสนอ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผลที่พึงปรารถนาจากการฝึกซ้อมพูด มีดังนี้
1. เป็นการกระทําเพื่อตระเตรียมตนเองในด้านบุคลิกภาพ และเตรียมความพร้อมด้านเนื้อหา
2. ช่วยสร้างความมั่นใจ เสริมความเชื่อมั่นในตัวผู้พูด
3. ช่วยสํารวจปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในการพูด
4. แก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด กําจัดสิ่งที่ไม่เหมาะสมออกไป
5. ช่วยตรวจตราสิ่งจําเป็นในการนําเสนอเพิ่มเติม เช่น หาอุปกรณ์เครื่องมือที่เหมาะสม ฯลฯ

73. ข้อใดเป็นผลพึงปรารถนาที่สําคัญที่สุดในการฝึกซ้อมพูด
(1) สร้างประสบการณ์ที่ดี
(2) นําไปปรึกษาทีมงาน
(3) ตรวจสอบทีมงาน
(4) เผยแพร่สู่สื่อมวลชน
(5) ลดค่าใช้จ่ายในภารกิจ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 72. ประกอบ

74. ข้อใดไม่ควรกระทําเมื่อร่างต้นฉบับบทพูดเสร็จแล้ว
(1) ทําสําเนาเอาไว้
(2) กําจัดข้อผิดพลาด
(3) นําไปทดลองซ้อม
(4) นําเสนอแนวทางของตนเอง
(5) ค้นคว้าเพิ่มเติม
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สิ่งที่ผู้พูดต้องดําเนินการเมื่อจัดทําต้นฉบับเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีดังนี้
1. นําไปปรึกษาทีมงาน และตรวจทานแก้ไขอย่างรอบคอบ
2. ซ้อมก่อนพูดหรือก่อนนําต้นฉบับไปใช้เสมอ
3. ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม หากผู้พูดพบว่ามีสิ่งที่ไม่เหมาะสมในเนื้อหาที่ร่างเอาไว้ ให้กําจัด
สิ่งที่ไม่เหมาะสมออกไป
4. ทําสําเนาเก็บไว้อย่างน้อย 1 ชุด เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องประสานงานเก็บสํารองไว้ และป้องกัน
ความผิดพลาด ฯลฯ

75. การจะวางเค้าโครงเรื่องเพื่อการนําเสนอ จะต้องผ่านขั้นตอนใดก่อน
(1) รวบรวมข้อมูล
(2) ตรวจสอบอุปกรณ์
(3) หาทีมงาน
(4) ติดต่อเจ้าภาพ
(5) สํารวจงบประมาณ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ

76. เมื่อนําเสนอเนื้อหาที่เตรียมมาทั้งหมดแล้ว สิ่งที่ไม่ควรทํา คือ
(1) ขอบคุณผู้ฟัง
(2) กล่าวสดุดีผู้จัดงาน
(3) วิจารณ์ตนเองต่อผู้ฟัง
(4) เดินลงจากเวที
(5) จับมือกับวิทยากรร่วม
ตอบ 3 (คําบรรยาย) เมื่อผู้พูดนําเสนอเนื้อหาที่เตรียมมาทั้งหมดแล้ว ในบางสถานการณ์อาจมีการ กล่าวสดุดี กล่าวคํารําลึก หรือกล่าวไว้อาลัย รวมทั้งการใช้ถ้อยคําเพื่อการจรรโลงใจบางอย่าง หลังจากนั้นให้ผู้พูดทําความเคารพผู้ฟังโดยก้มศีรษะพร้อมกับพูดว่า “ขอบคุณ/สวัสดี” เท่ากับ เป็นการบอกผู้ฟังว่าผู้พูดพูดจบแล้ว จากนั้นให้จับมือกับวิทยากรร่วม แล้วเดินลงจากเวทีอย่าง สง่างาม โดยไม่ต้องวิจารณ์ตนเองต่อผู้ฟัง หรือพูดขออภัยในความบกพร่องใด ๆ ทั้งสิ้น

77. การตอบรับพิธีการพูดต้องให้ความสําคัญกับการตรวจสอบ…….เป็นอันดับแรก
(1) เจ้าภาพ
(2) รูปแบบพิธีการ
(3) วัน – เวลา สถานที่
(4) บทพูด
(5) เส้นทางและการจราจร
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ในการยืนยันกําหนดการพูดนั้น ผู้พูดจําเป็นต้องให้ความสําคัญกับการตรวจสอบ วัน – เวลา และสถานที่ที่จะไปพูดให้แน่ใจก่อนเป็นลําดับแรก

78. เมื่อถึงกําหนดการพูด ณ สถานที่ตามนัดหมาย สิ่งที่ผู้พูดควรปฏิบัติตน คือ
(1) ไปพบกับเจ้าภาพ
(2) ติดต่อผู้ประสานงาน
(3) ไปกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์
(4) ทําตัวให้มีพลังและพร้อมที่จะพูด
(5) ชวนผู้ฟังสนทนา
ตอบ 2 (คําบรรยาย) เมื่อถึงกําหนดการพูด ณ สถานที่ตามนัดหมาย สิ่งที่ผู้พูดควรปฏิบัติตน คือ ติดต่อผู้ประสานงานตามเบอร์โทรที่ให้ไว้ เพื่อให้ช่วยอํานวยความสะดวกในการขึ้นเวทีพูด

79. ข้อใดให้กระทําควบคู่กับการทดสอบการออกเสียงเสมอ
(1) ทําความคุ้นเคยกับผู้ประสานงาน
(2) เชิญประธานในงานมาร่วมชม
(3) ฝึกแสดงการทําความเคารพ
(4) ฝึกการใช้อุปกรณ์ในห้องควบคุม
(5) ทดสอบท่าทางและจัดระเบียบร่างกาย
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

80. การนิยามสิ่งที่พูด หมายถึง
(1) การให้ความหมาย
(2) การปรับเนื้อหา
(3) การให้ความเห็น
(4) การทดสอบความรู้
(5) การทําความรู้จัก
ตอบ 1(คําบรรยาย) ตามหลักการพูดแล้ว การขยายความเนื้อเรื่องจะเริ่มจากการนิยามสิ่งที่พูด
หรือการให้คําจํากัดความก่อนเสมอ หมายถึง การอธิบายหรือให้ความหมายของศัพท์และ ประเด็นหลักด้วยการสร้างประโยคใหม่ แต่ความหมายเหมือนเดิม

81. การดําเนินเนื้อหาที่ดี ควรจะ
(1) ความยากง่ายสลับกัน
(2) พูดเร็ว – ช้าเป็นช่วง ๆ
(3) พูดให้น่าตื่นเต้นเร้าอารมณ์
(4) คาดเดายากในการนําเสนอ
(5) มีลําดับและขั้นตอนน่าติดตาม
ตอบ 5(คําบรรยาย) การดําเนินเนื้อหาที่ดีในการพูด ควรจะมีลําดับและขั้นตอนน่าติดตาม ซึ่งลําดับ ขั้นตอนการนําเสนอสาระข้อมูลในการพูดที่มีประสิทธิผล มีดังนี้
1. ให้ความรู้/ให้ข้อมูลที่เป็นความจริง
2. เข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้ฟัง
3. โน้มน้าวจิตใจผู้ฟัง

82. การเสนอสาระข้อมูลเพื่อเข้าสู่เรื่อง คือ
(1) คําทักทาย
(2) การปฏิสันถาร
(3) การไว้อาลัย
(4) อารัมภบท
(5) หัวข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 48. และ 53. ประกอบ) คํานําหรือบทนํา มีลักษณะดังนี้
1. เป็นส่วนนําเข้าสู่เนื้อหาในการนําเสนอ หรือเสนอสาระข้อมูลเพื่อเข้าสู่เรื่อง
2. ทําหน้าที่ชักจูงใจ โน้มน้าวใจกลุ่มเป้าหมาย หรือปูพื้นฐานที่น่าสนใจเพื่อนําเข้าสู่
การนําเสนอในลําดับต่อไป
3. อาจมีชื่อเรียกต่างๆ กันไป เช่น คํานํา บทนํา ความนํา วรรคนํา อารัมภบท เกริ่น และส่วนเข้าสู่เนื้อหา เป็นต้น

83. ช่วงกล่าวสรุป มักทําหน้าที่ใดในแนวคิดด้านการสื่อสาร
(1) กําหนดวัตถุประสงค์
(2) บอกกระบวนการ
(3) นําเสนอความสําเร็จ
(4) โน้มน้าวใจกลุ่มเป้าหมาย
(5) สร้างอิทธิพลเหนือจิตใจ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สรุปหรือส่วนจบเรื่อง คือ ความคิดรวบยอดของเรื่อง ซึ่งเป็นผลรวมของ โครงสร้างการพูดทั้งหมด โดยการกล่าวสรุปหรือการจบเรื่องที่ดีจะต้องเป็นส่วนที่สร้าง ความประทับใจ และมีการขมวดประเด็นหรือนําเสนอผลสําเร็จของการพูด

84. ข้อใดไม่ใช่แนวคิดของการเกริ่น
(1) ปูพื้นฐานข้อมูล
(2) ดึงดูดจิตใจ
(3) กระตุ้นความรู้สึก
(4) สร้างอารมณ์ร่วม
(5) บอกความแตกต่างที่เกิดขึ้น
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 56. และ 82. ประกอบ

85. เมื่อถึงลําดับการพูดนําเสนอในลําดับของตนเองแล้ว ไม่ต้องกระทําสิ่งใด
(1) ทักทายผู้ชมก่อน
(2) ปฏิสันถารตามที่เตรียมมา
(3) ทําความเคารพประธาน
(4) ชวนผู้ร่วมเวทีสนทนาคุย
(5) ประสานสายตากับผู้ชม
ตอบ 4(คําบรรยาย) เมื่อถึงลําดับการพูดนําเสนอในลําดับของตนเองแล้ว ผู้พูดควรทําความเคารพ ผู้ที่เป็นประธานในงาน จากนั้นจึงเดินเข้าที่ ณ ที่พูด และเริ่มทักทายผู้ชมก่อนด้วยคําปฏิสันถาร ตามที่เตรียมมา โดยต้องยิ้มแย้มด้วยใบหน้าแจ่มใสและอย่าลืมประสานสายตากับผู้ชม แล้วจึงกล่าวตามโครงสร้างของการพูดตามลําดับขั้นตอน

86. การยิ้มกับผู้ฟัง – ผู้ชม มีเป้าหมายสําคัญเพื่อ
(1) รักษามารยาท
(2) ตรวจสอบความพร้อม
(3) สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดี
(4) กลบเกลื่อนความผิดพลาดที่มี
(5) ให้เกียรติเจ้าภาพ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สาเหตุที่ผู้พูดต้องมีปฏิสัมพันธ์อันดีกับผู้ชม ผู้ฟัง ก็เพื่อแสดงถึงความเป็นมิตร ระหว่างกัน ซึ่งกฎง่าย ๆ ที่ผู้พูดควรยึดถือปฏิบัติเป็นประการแรก คือ การยิ้มแย้มดีกว่าบึ้งตึง เพื่อให้บรรยากาศไม่ตึงเครียด

87. หากนักศึกษาได้รับเชิญเป็นพิธีกรในงานประชุมโดยไม่รู้ว่าจะแต่งกายอย่างไร จะต้องทําอย่างไร
(1) แต่งสากลนิยม
(2) แต่งชุดไทย
(3) แต่งตามรสนิยมตนเอง
(4) แต่งโดยตรวจสอบกับเจ้าภาพ
(5) แต่งโดยตรวจสอบจากผู้ร่วมงานคนอื่น

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การแต่งกายของผู้พูดเมื่อได้รับเชิญให้ไปพูดในโอกาสต่าง ๆ นั้น นับว่าสําคัญ อย่างมาก ซึ่งผู้พูดจะสามารถทราบได้ว่าตนควรแต่งกายแบบใดให้ถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะ ของงาน โดยการตรวจสอบกับตัวเจ้าภาพเอง หรืออาจพิจารณาจากบัตรเชิญของเจ้าภาพ เช่น โปรดแต่งกายสุภาพ หรือแต่งกายตามสากลนิยม ฯลฯ

88. ข้อใดส่งผลกับการเลือกหัวข้อที่จะพูดโดยตรง
(1) ประสบการณ์ของผู้ฟังส่วนใหญ่
(2) งบประมาณที่มี
(3) ทัศนคติของผู้พูด
(4) สถานการณ์จากข่าวปัจจุบัน
(5) รสนิยมกลุ่มเป้าหมาย
ตอบ 1(คําบรรยาย) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกหัวข้อที่จะพูดโดยตรง ได้แก่
1. ความต้องการของเจ้าภาพ
2. กระแสสาธารณมติ
3. นโยบาย/แผนของหน่วยงานที่ไปพูด
4. แผนงานที่ต้องดําเนินการ
5. ความเหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟัง เช่น หัวข้อเรื่องที่จะพูดนั้นตรงกับประสบการณ์ของ
ผู้ฟังส่วนใหญ่หรือไม่ ฯลฯ

89. ตามหลักการทางวาทวิทยา วิธีปฏิสันถารจะเกี่ยวข้องกับ
(1) รูปแบบพิธีการ
(2) ความสนใจโดยรวม
(3) ปริมาณผู้รับสาร
(4) ลําดับขั้นตอนของเนื้อหา
(5) คําถามที่น่าสนใจที่เกิดขึ้น
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

90. ข้อใดไม่ใช่ความบันเทิง
(1) ตลก
(2) เฮฮา
(3) ขําขัน
(4) อัดแน่นด้วยสาระ
(5) โศกเศร้า
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การพูดเพื่อให้สาระความบันเทิง เป็นการพูดที่ใช้สิ่งเร้าเป็นปัจจัยสําคัญในการ ส่งเสริมกระบวนการสื่อสารด้วยเสียงและสําเนียงเพื่อเข้าถึงอารมณ์และความรู้สึก เพื่อกระตุ้นการรับรู้ สร้างความน่าสนใจ และสร้างความรู้สึกร่วม โดยต้องคํานึงถึง
1. การไม่พูดมุกตลกเฮฮา ขําขัน นานเกินไป เพราะจะทําให้ไม่ได้สาระอื่น ๆ
2. หลีกเลี่ยงการพูดไม่สุภาพ ไม่เหมาะสมกับงาน
3. การไม่ละเลยต่อประเด็น สาระสําคัญ หรือเป้าหมายทางการสื่อสาร

91. เหตุที่ผู้พูดไม่ควรนําเสนอสาระเรื่องราวที่ยากและซับซ้อนในช่วงเริ่มต้นของการพูด มาจากสาเหตุ
(1) ผู้ฟัง – ผู้ชมไม่มีความรู้
(2) การสร้างภาพพจน์ตามได้ยาก
(4) ไม่ประทับใจในการนําเสนอ
(3) ยังไม่มีการแจกเอกสารประกอบ
(5) ขัดต่อหลักจรรยาบรรณทางวาทวิทยา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 58. และ 66. ประกอบ

92. ข้อใดไม่ควรกระทําเมื่อผู้พูดประสบปัญหาในการใช้เครื่องเสียงและอุปกรณ์ในการส่งสัญญาณภาพขึ้นจอ
(1) แทรกบทตลก
(2) หยุดการพูดสักครู่
(3) ขออภัยผู้ฟัง
(4) ชวนคุยเปลี่ยนบรรยากาศ
(5) ตําหนิเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) สิ่งที่ไม่ควรกระทําเมื่อผู้พูดประสบปัญหาในการใช้เครื่องเสียงและอุปกรณ์ ในการส่งสัญญาณภาพบนจอ คือ ตําหนิเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เนื่องจากจะทําให้ผู้ฟังเกิด ทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้พูด

93. คําว่า “บรรยากาศที่ดีในการพูด” เป็นผลมาจาก………ระหว่างกัน
(1) การเสนอข้อมูล
(2) การเคารพอาวุโส
(3) ปฏิสัมพันธ์ร่วม
(4) ยอมรับความสามารถ
(5) การแลกเปลี่ยนข้อมูล
ตอบ 3(คําบรรยาย) บรรยากาศที่ดีในการพูด เป็นผลมาจากการสร้างปฏิสัมพันธ์หรือความรู้สึกร่วม และเข้ากันได้ของคู่สื่อสาร เพราะอารมณ์และความรู้สึกร่วมระหว่างผู้พูดกับผู้ฟังจะเป็นปัจจัยสําคัญที่สุดในการเชื่อมต่อสถานการณ์การพูดให้ราบรื่นและดําเนินไปได้ตลอดรอดฝั่ง

94. การวิเคราะห์และสร้างเนื้อหาเพื่อการนําเสนอ ต้องผ่านกระบวนการ……ก่อนเสมอ
(1) การเลือกประเด็น
(2) วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
(3) ตรวจสอบข้อมูล
(4) การตรวจสอบความเป็นไปได้
(5) สร้างจุดเด่นในการนําเสนอ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การเป็นนักพูดที่ดีจะต้องรู้จักวิเคราะห์ปัจจัยทางการสื่อสารในกระบวนการพูด
เรียงตามลําดับดังต่อไปนี้
1. วิเคราะห์ตนเอง (ตัวผู้พูด) และความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
2. วิเคราะห์ผู้ชม ผู้ฟัง และกลุ่มเป้าหมาย
3. วิเคราะห์เนื้อหาและสาระการพูด
4. วิเคราะห์สถานการณ์หรือสภาพแวดล้อม

95. ข้อใดไม่เข้าพวกหากพิจารณาการพูดตามวัตถุประสงค์
(1) บอกกล่าว
(2) เล่าเรื่อง
(3) อบรม
(4) อธิบาย
(5) ชี้แจง
ตอบ 3(คําบรรยาย) การพูดเพื่อรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เป็นขั้นตอนแรกของการพูดเมื่อพิจารณาถึง วัตถุประสงค์ของการสื่อสารเป็นหลัก โดยจะบอกข้อมูลข่าวสารเพื่อให้รับรู้ รับทราบ หรือ สร้างปฏิสัมพันธ์ในการสื่อสาร จึงเป็นการพูดในรูปแบบที่ทําข้อมูลสารนิเทศให้เป็นข้อมูล สารสนเทศเพื่อการสื่อสาร โดยมีลักษณะสําคัญ ดังนี้
1. บอกกล่าว เล่าเรื่องราว บรรยาย หรืออธิบายให้ฟัง
2. ประกาศให้ทราบ ชี้แจง แจ้งความให้รู้ทั่วกัน
3. เป็นการรายงานถึงสิ่งที่เกิดขึ้น

96. ข้อควรระวังที่สุดสําหรับการพูดเกี่ยวกับเรื่องราวที่มีความสําคัญ เสี่ยงต่อการกระทําที่ทําให้เกิดความเข้าใจที่ผิดพลาดในสังคม คือ
(1) แหล่งอ้างอิงที่เป็นสากล
(2) ความสมดุลและหลากหลายในข้อมูลที่ใช้
(3) หลักนิติวิทยาศาสตร์
(4) หลักทางศาสนา
(5) อิทธิพลจากสาธารณมติ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

97. ข้อความใดที่สามารถใช้จบเรื่องราวที่พูด
(1) บอกว่าสาระที่นําเสนอไม่มีแล้ว
(2) รวบรวมสาระการพูดทวนอีกครั้ง
(3) นําเสนอประเด็นสําคัญเพิ่มเติมจากเนื้อหา
(4) ขอบคุณผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
(5) ชื่นชมเพื่อนสนิทในห้องประชุม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 76. ประกอบ

98. หากต้องมีการถ่ายภาพเป็นที่ระลึกหลังพูดจบ จะให้ความสําคัญกับ……..มากที่สุด
(1) แนวคิดของงาน
(2) ลําดับพิธีการ
(3) ความอาวุโส
(4) เวลาที่เหลือ
(5) มุมกล้อง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในปัจจุบันมักมีการเชิญถ่ายภาพเป็นที่ระลึกภายหลังการพูดจบลง ซึ่งจะต้อง คิดและจัดการรองรับไว้ทั้งวิธีการ จุดถ่ายภาพ มุมกล้อง และลําดับของสมาชิกกลุ่มต่าง ๆ อย่าให้เกิดความชุลมุนวุ่นวายขึ้นมาได้

99. วาทวิทยา ให้ความสําคัญกับอะไรมากที่สุด
(1) ความมีรสนิยม
(2) ความโดดเด่น
(3) มารยาทสังคม
(4) รูปแบบแปลกใหม่
(5) สีสันการนําเสนอ
ตอบ 3(คําบรรยาย) วิชาการพูด (วาทวิทยา) มีจุดมุ่งหมายโดยทั่วไป ดังนี้
1. สนับสนุนกระบวนการประชาธิปไตย
2. ช่วยสร้างสรรค์และส่งเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพที่ดี
3. สามารถประยุกต์ใช้ในการถ่ายทอดข่าวสารข้อมูลแบบต่าง ๆ
4. ปลูกฝังการเป็นผู้มีวิจารณญาณที่ดี รู้จักใช้เหตุผล
5. สามารถสื่อสารกับสมาชิกสังคมได้อย่างถูกกาลเทศะตามมารยาทพื้นฐานของสังคม

100 เรื่องใดไม่ควรนํามาพูด
(1) สภาพบ้านเมือง
(3) สถาบันที่จบมา
(2) วิจารณ์เชื้อชาติ
(4) แรงบันดาลใจ
(5) ความชอบ – ไม่ชอบส่วนตัว
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ผู้พูดควรระมัดระวังตัวในการแสดงออกและการเลือกใช้คําพูดผ่านสื่อต่าง ๆ หลีกเลี่ยงการพูดเรื่องเชื้อชาติ สัญชาติ ชาติกําเนิด และศาสนา เพราะกลุ่มเป้าหมายปัจจุบัน
มีความรู้สึกที่ละเอียดอ่อน

Advertisement