การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา CDM2303 MCS1350 MCS1300 วาทวิทยา
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
ข้อ 1. – 10. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) นักพูด
(2) พิธีกร
(3) โฆษก
(4) นักประชาสัมพันธ์
(5) นักวิจารณ์
1 ทําหน้าที่หลักในการสื่อสารองค์กร
ตอบ 4 (คําบรรยาย) นักประชาสัมพันธ์ เป็นผู้ที่ทําหน้าที่หลักในการสื่อสารองค์กร โดยเน้นการ นําเสนอภาพลักษณ์เพื่อให้กิจกรรมขององค์กรบรรลุผลตามเป้าหมาย และให้ประชาชนเกิดจินตภาพที่ดีต่อองค์กร
2 แนวคิดในการทํางานต่างจากข้ออื่น
ตอบ 5 หน้า 169, (คําบรรยาย) นักวิจารณ์ เป็นผู้ที่มีแนวคิดในการทํางานต่างจากการพูดชนิดอื่น เพราะนักวิจารณ์จะต้องพูดทั้งติและชมสิ่งใดสิ่งหนึ่งในแง่ต่าง ๆ อย่างมีเหตุผลและถูกหลักการ วิจารณ์เพื่อเสนอแนะสิ่งที่ดีกว่า ดังนั้นจึงเป็นการพูดที่ต้องใช้หลักทางตรรกวิทยาหรือใช้หลักทาง เหตุผลมาประกอบ โดยไม่เอาอารมณ์ของผู้พูดเข้ามาเกี่ยวข้อง
3 เรียกอย่างเป็นทางการว่า “วาทกร
ตอบ 1 (คําบรรยาย) นักพูด หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า “วาทกร” จะเปรียบเสมือนนักแสดงใน แต่ละโอกาสหรือแต่ละเวที เพราะการพูดเป็นการแสดงใน 2 ส่วน คือ การแสดงตัวตน + วาจา ซึ่งการแสดงตัวตนในการพูด หมายถึง การแสดงบุคลิกภาพและอัตลักษณ์ ลีลา หรืออากัปกิริยา ท่าทางในระหว่างพูด ส่วนการแสดงวาจา หมายถึง การแสดงเนื้อหาสาระที่จะพูด น้ำเสียงและ สําเนียง ดังนั้นผู้พูดจึงต้องเตรียมความพร้อมทั้งในเรื่องเนื้อหาและบุคลิกภาพไปพร้อม ๆ กัน
4 เน้นการนําเสนอภาพลักษณ์เพื่อให้กิจกรรมบรรลุเป้าหมาย
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ
5. ทําหน้าที่ควบคุมกระบวนการทํางานด้วยการสื่อสารที่เป็นคําพูด
ตอบ 3 หน้า 443, (คําบรรยาย) การปฏิบัติหน้าที่ของโฆษก ได้แก่
1. เป็นตัวกลางติดต่อสื่อความหมายระหว่างผู้รับเชิญ (โดยปกติมีเพียง 1 คน) กับผู้ฟังหรือผู้ชม
2. ควบคุมกระบวนการทํางานด้วยการสื่อสารที่เป็นคําพูด
3. รายงานข้อมูลสําคัญและขั้นตอนต่าง ๆ ภายในงาน รวมทั้งกล่าวแนะนําผู้รับเชิญ และ กล่าวแทนผู้ฟังหรือผู้ชม ฯลฯ
6 เปรียบเสมือนนักแสดงในแต่ละโอกาสหรือแต่ละเวที
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ
7 ทําหน้าที่รายงานข้อมูลสําคัญ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ
8.วางหลักการเพื่อเสนอแนะสิ่งที่ดีกว่า
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ
9. พบเห็นในการประชุม สัมมนา หรือกิจกรรมที่มีการนําเสนอ
ตอบ 2 หน้า 444, (คําบรรยาย) หน้าที่ของพิธีกรจะคล้ายคลึงกับหน้าที่ของโฆษก ต่างกันที่ว่าหน้าที่ ของพิธีกรนั้นมักใช้ในกิจกรรมที่มีความเป็นพิธีการอย่างสูง ซึ่งมีผู้รับเชิญให้พูดมากกว่า 1 คน ขึ้นไป จึงมักพบเห็นในการประชุม สัมมนา หรือกิจกรรมที่มีการนําเสนอ
10. มักใช้ในกิจกรรมที่มีความเป็นพิธีการอย่างสูง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ
11. การถ่ายทอดสาระเนื้อหาของผู้พูด โดยปกติจะอาศัย …….“ระหว่างบุคคล” และ “สื่อมวลชน”
(1) ตัวตน
(2) เสียง
(3) ภาษา
(4) ช่องทาง
(5) ช่องว่าง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ในการถ่ายทอดสาระเนื้อหาของผู้พูด โดยปกติจะอาศัยช่องทาง “ระหว่างบุคคล” ซึ่งก็คือ ใช้บทบาทของความเป็นตัวตนระหว่างบุคคลในการแลกเปลี่ยนความรู้ข่าวสารต่าง ๆ และ “สื่อมวลชน” ซึ่งก็คือ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ
12. ในกระบวนการรับรู้ข่าวสารด้วยการพูด สิ่งใดจะเกิดขึ้นเป็นลําดับแรกของการพบเห็นเป็นส่วนใหญ่
(1) ตัวตน
(2) สัญญาณ
(3) แนวคิด
(4) ภาพลักษณ์
(5) ภาพพจน์
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในกระบวนการรับรู้ข่าวสารด้วยการพูด สิ่งที่จะเกิดขึ้นเป็นลําดับแรกของ การพบเห็นเป็นส่วนใหญ่ คือ ตัวตนของผู้พูด ซึ่งได้แก่ บุคลิกภาพทั้งหมดที่ปรากฏออกมา
13. ข้อใดพิจารณาจากวิธีการนําเสนอ ความชัดเจน และการถ่ายทอดอารมณ์
(1) ตัวตน
(2) เสียง
(3) ภาษา
(4) ช่องทาง
(5) ภาพลักษณ์
ตอบ 2 หน้า 13 – 14, (คําบรรยาย) เสียง คือ การเปล่งวาจาออกมา ซึ่งการที่จะใช้เสียงพูดให้ มีประสิทธิภาพจะต้องพิจารณาจากวิธีการนําเสนอ ความชัดเจน และการถ่ายทอดอารมณ์ (สําเนียง)
14. ข้อใดคือสิ่งที่เรียกว่า “อัตลักษณ์”
(1) ความโดดเด่น
(2) ความน่านิยม
(3) ผลรวมของตัวตน
(4) คุณค่าของบุคคล
(5) ลักษณะที่น่าเลื่อมใส
ตอบ 3 (คําบรรยาย) อัตลักษณ์ (Identity) คือ ผลรวมของตัวตน ความเป็นตัวตน หรือส่วนประกอบ ที่รวมเป็นตัวบุคคลคนหนึ่ง ซึ่งตัวอย่างของอัตลักษณ์ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด ได้แก่ บัตรประชาชน
15. ข้อใดเป็นหลักการสําคัญที่สุดของการเป็นนักพูดที่ดี
(1) การรู้จักใช้เหตุผลในการนําเสนอ
(2) สาระที่พูดต้องพิสูจน์ความจริงได้
(3) ต้องคิดให้รอบคอบก่อนพูด
(4) ผู้พูดต้องปรับตัวตามสถานการณ์
(5) การพูดต้องอาศัยความมีสติปัญญา ฉลาด และรอบรู้
ตอบ 3 หน้า 65, (คําบรรยาย) หลักการสําคัญที่สุดของการเป็นนักพูดที่ดี คือ ต้องคิดให้รอบคอบ ก่อนพูด ซึ่งเป็นมารยาทในการพูดที่วิชาวาทวิทยาให้ความสําคัญมากที่สุด เพราะถ้าหากพูด โดยไม่ยั้งคิด และขาดความรอบคอบในการไตร่ตรองเนื้อหาก่อนที่จะพูด อาจส่งผลเสียต่อผู้พูด ในภายหลัง ดังคํากล่าวที่ว่า “ก่อนที่จะพูดคุณเป็นนายคําพูด เมื่อพูดจบคําพูดจะเป็นนายคุณ
16. เสียงในเชิงวาทวิทยาไม่สามารถสื่อสารถึง……………………..
(1) เนื้อหา
(2) ข้อมูล
(3) สาระ
(4) ความรู้สึก
(5) ความหมาย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การพูดในเชิงวาทวิทยา หมายถึง เครื่องมือทางการสื่อสารที่ใช้เสียงและสําเนียง โต้ตอบประกอบกันเสมอ โดยเสียงจะเป็นเพียงการเปล่งวาจาออกมา ส่วนสําเนียงจะบอกถึง อากัปกิริยาหรืออารมณ์ที่สื่อออกไป ดังนั้นเสียงจะไม่สามารถสื่อสารถึงอารมณ์ความรู้สึกได้โดยตรง หากไม่มีสําเนียงมาช่วย
17. ภาษาในเชิงวาทวิทยานั้น ประกอบด้วย
(1) ภาษาที่ใช้ถ้อยคํา – ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคํา
(2) ภาษาที่ใช้ถ้อยคํา – ภาษาท่าทาง
(3) ภาษาทางการ – ภาษาพิธีการ
(4) ภาษาหนังสือ – ภาษาท่าทาง
(5) ภาษาพูด – ภาษาท่าทาง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ภาษาในเชิงวาทวิทยานั้น ประกอบด้วย 2 ส่วนสําคัญ คือ
1. วัจนภาษา (ภาษาที่ใช้ถ้อยคํา) ได้แก่ ภาษาพูด และภาษาเขียน
2. อวัจนภาษา (ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคํา) ได้แก่ น้ําเสียง สําเนียง กิริยาท่าทาง สีหน้า ฯลฯ
18. ข้อจํากัดที่สําคัญของเสียงในเชิงการรับรู้และเรียนรู้ของกิจกรรมการสื่อสารมวลชน คือ
(1) ขึ้นอยู่กับสุขภาพกายและใจ
(2) ต้องอาศัยท่าทางประกอบจึงจะเข้าใจตรงกัน
(3) เสื่อมสลายไปได้ทันทีที่ถูกใช้งาน
(4) ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ฟังและสภาพแวดล้อม
(5) เป็นไปตามพรสวรรค์และความสามารถของแต่ละบุคคล
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ข้อจํากัดที่สําคัญของเสียงในเชิงการรับรู้และเรียนรู้ของกิจกรรมการสื่อสารมวลชน
คือ เสื่อมสลายไปได้ทันทีที่ถูกใช้งาน เพราะเสียงเมื่อพูดไปแล้วก็จบไปเลย หากผู้ฟังไม่มีโอกาส ฟังซ้ําก็จะทําให้หลงลืม จึงไม่อาจนํามาเป็นหลักฐานได้
19. ข้อใดไม่เป็นปัจจัยสําคัญในการสร้างอารมณ์และเข้าถึงความรู้สึกของผู้พูด
(1) ระดับเสียงสูง – ต่ำ
(2) ความหนัก – เบา
(3) การใช้จังหวะถี่ – ห่าง
(4) พื้นฐานความรู้มาก – น้อย
(5) การเคลื่อนไหว – การหยุดนิ่ง
ตอบ 4(คําบรรยาย) ปัจจัยสําคัญในการสร้างอารมณ์และเข้าถึงความรู้สึกของผู้พูด มีดังนี้
1. ระดับเสียงสูง – ต่ำ
2. การเน้นเสียงหนัก – เบา
3. การใช้จังหวะถี่ – ห่าง
4. การเคลื่อนไหว – การหยุดนิ่ง ฯลฯ
20. ข้อใดเป็นสิ่งที่สําคัญที่สุดในการพูดถึงเรื่องราวที่มีความสําคัญ
(1) ละเอียด
(2) ตรงประเด็น
(3) เป็นทางการ
(4) เตรียมโดยผู้รู้
(5) มีความเป็นกันเอง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สิ่งสําคัญที่สุดในการพูดถึงเรื่องราวที่มีความสําคัญ คือ การพูดให้ตรงประเด็น ไม่อ้อมค้อมหรือเยิ่นเย้อ เพื่อเน้นจุดสําคัญที่ต้องการจะให้คนฟังได้รับทราบ
21. ข้อใดเป็นกระบวนการที่ต้องกระทําเป็นอันดับแรกในการพูดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางสังคมทุกประเภท
(1) หาแหล่งอ้างอิง
(2) ประสานงานกับเจ้าภาพ
(3) ค้นคว้าข้อมูลทันที
(4) ร่างเนื้อหาการพูด
(5) วิเคราะห์ปัจจัยการสื่อสาร
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในการเตรียมเนื้อเรื่องที่จะพูดนั้น ผู้พูดจะต้องประสานงานกับเจ้าภาพก่อน เป็นลําดับแรก เพราะเจ้าภาพเป็นตัวแปรหรือปัจจัยสําคัญในการจัดทิศทางหรือแนวความคิด ของเนื้อเรื่องที่จะพูด โดยผู้พูดต้องเลือกประเด็นหรือเนื้อหาที่สอดคล้องกับความต้องการหรือความสนใจของเจ้าภาพ ก่อนที่จะวางเค้าโครงเรื่องเพื่อการนําเสนอ
22 กระบวนการพูดที่มีประสิทธิผลนั้น ประกอบด้วย
(1) วิเคราะห์ผู้รับสาร – ปรับปรุงตน – พัฒนาบุคลิกภาพ
(2) วิเคราะห์ผู้ฟัง – นําเสนอแนวคิด – ออกแบบการพูด
(3) วิเคราะห์ผู้รับสาร – ปรับปรุงบุคลิกภาพ – ประมวลเนื้อหา
(4) วิเคราะห์ตนเอง – สร้างสรรค์เนื้อหา – นําเสนอบนเวที
(5) วิเคราะห์เนื้อหา – สรุปประเด็น – นําเสนอบนเวที
ตอบ 3 หน้า 11, (คําบรรยาย) การพูดที่ดี มีประสิทธิภาพ และหวังประสิทธิผลนั้น มีองค์ประกอบสําคัญ 3 สิ่ง ดังนี้
1 การปรับปรุงและพัฒนาบุคลิกภาพตัวผู้พูดในการนําเสนอ
2 การวิเคราะห์ผู้ฟังกลุ่มเป้าหมายและสถานการณ์การพูด (กาลเทศะ)
3. การเลือกเรื่องพูดและประมวลเนื้อหาเพื่อออกแบบสาระเนื้อหาในการพูด
23. แนวความคิดด้านวาทวิทยานั้น สิ่งเร้าที่น่าสนใจเกิดจากข้อมูลกลุ่มใด
(1) ประโยชน์ – การเร่งรัด
(2) การเร่งรัด – ความพอใจ
(3) ความพอใจ – ความต้องการ
(4) ความต้องการ – ภาพลักษณ์
(5) ภาพลักษณ์ — ความคุ้นเคย
ตอบ 3(คําบรรยาย) สิ่งเร้าที่น่าสนใจ ซึ่งเกิดจากตัวผู้ชม ผู้ฟังนั้น ถือเป็นสิ่งเร้าของตนเอง
โดยพิจารณาจาก
1. ความสนใจ
2. ความพึงพอใจ
3. ความต้องการ
4. ประโยชน์ที่ได้รับ
5. ลักษณะของกลุ่ม
24. โครงร่าง (Outline) มีประโยชน์ต่อการเตรียมเรื่องพูดอย่างไร
(1) ทําให้มีรสนิยม
(2) ทําให้มีเอกลักษณ์
(3) ทําให้น่าติดตาม
(4) ทําให้น่าเชื่อถือ
(5) ทําให้มีเอกภาพ
ตอบ 5 หน้า 31 – 32, (คําบรรยาย) ในการเตรียมเรื่องพูดนั้น ผู้พูดจําเป็นที่จะต้องเขียนโครงร่าง หรือโครงเรื่อง (Outline) ขึ้นมาก่อน ซึ่งมีประโยชน์ ดังนี้
1. ช่วยวางแนวทางว่า เรื่องที่จะพูดนั้นมีหัวข้ออะไรบ้าง
2. ช่วยเป็นแนวทางการเรียงลําดับ (Order) เรื่องที่จะพูด
3. ช่วยทําให้เนื้อหามีเอกภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่หลุดกรอบแนวคิดหลักของเรื่อง
4. ช่วยให้การดําเนินเรื่องไม่สับสน และง่ายแก่การจดจําไปพูด
25. ก่อนจะวางเค้าโครงเรื่องเพื่อการนําเสนอ อะไรคือสิ่งที่ต้องทําทุกครั้ง
(1) ประมวลข้อมูล
(2) ตรวจสอบอุปกรณ์
(3) หาทีมงาน
(4) ติดต่อเจ้าภาพ
(5) สํารวจงบประมาณ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ
26. ไม่ว่าจะขึ้นคํานําด้วยประโยคใด ๆ ก็ตาม สิ่งที่ผู้พูดไม่สามารถละเลยได้ก็คือ
(1) ปฏิสันถารกับผู้ฟังก่อน
(3) กล่าวอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ
(2) สร้างความตื่นเต้นเร้าใจผู้ฟัง
(4) สรุปเนื้อเรื่อง
(5) กล่าวสวัสดี
ตอบ 1 หน้า 34 – 40, (คําบรรยาย) โครงสร้างของการพูด หรือลําดับของการพูดก่อน – หลัง ในการพูดตามปกตินั้น ประกอบด้วย
1 คําปฏิสันถาร หมายถึง คําทักทายผู้ฟัง เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับผู้ฟังก่อนเป็นลําดับแรก
2. คํานํา หมายถึง การเริ่มเข้าเรื่อง เป็นการเกริ่น อารัมภบท หรือเป็นบทนําเข้าสู่เนื้อหา
3. เนื้อเรื่อง หมายถึง เนื้อหาหรือข้อมูลหลักของการนําเสนอ หรือกลวิธีนําเสนอ
4. สรุป หมายถึง ความคิดรวบยอดของเรื่อง
5. คําลงท้าย หมายถึง ข้อความกล่าวทิ้งท้ายเพื่อความประทับใจ
(ในส่วนของสรุปและคําลงท้ายอาจสลับที่กันได้ ซึ่งจะทําเฉพาะในกรณีที่ผู้พูดมีความเชี่ยวชาญ
พอสมควร)
27. เหตุใดในการพูดแต่ละครั้งจะต้องมีการปฏิสันถาร
(1) เพื่อสร้างความสนใจ
(2) เพื่อปรับสถานการณ์
(3) เพื่อให้ความเห็น
(4) เพื่อให้คําจํากัดความ
(5) สร้างความคุ้นเคย
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ
28. ข้อใดไม่ใช่แนวคิดของการมี “คํานํา”
(1) เปรียบเทียบข้อมูล
(2) ดึงดูดจิตใจ
(3) กระตุ้นความรู้สึก
(4) สร้างอารมณ์ร่วม
(5) ชี้ให้เห็นประเด็นสําคัญ
ตอบ 1หน้า 35, (คําบรรยาย) ลักษณะของการกล่าวคํานําที่ดี ได้แก่
1. เป็นการเกริ่นด้วยเนื้อหาที่เร้าใจ
2. เป็นคํานําที่ชี้ให้เห็นประเด็นสําคัญ หรือเสนอแนวคิดรวบยอดของเรื่อง (แต่ไม่ใช่การสรุปสิ่งที่พูดเอาไว้ทั้งหมด)
3. เป็นบทนําที่ปูพื้นเหตุการณ์เอาไว้ก่อน หรือโยงเข้าสู่ข่าวสําคัญ
4. เป็นส่วนที่ดึงดูดจิตใจ สร้างความสนใจให้ติดตามเนื้อหา เพื่อกระตุ้นความรู้สึกหรือสร้างอารมณ์ร่วม ฯลฯ
29. ตามหลักการพูดแล้ว การขยายความเนื้อเรื่องจะเริ่มจาก ….. เสมอ
(1) การเปรียบเทียบ
(2) เรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
(3) ความเห็น
(4) การนิยาม หรือให้คําจํากัดความ
(5) ประเด็นคําถามสําคัญ
ตอบ 4 หน้า 37, (คําบรรยาย) ตามหลักการพูดแล้ว การขยายความเนื้อเรื่องจะเริ่มจากการนิยาม หรือให้คําจํากัดความก่อนเสมอ ซึ่งหมายถึง การอธิบายความหมายของศัพท์และประเด็นหลัก ด้วยการสร้างประโยคใหม่ แต่ความหมายเหมือนเดิม
30. การเริ่มพูดที่ดีควรจะ
(1) พูดดัง ๆ เปิดประเด็น
(2) พูดเร็วกว่าปกติในช่วงแรก
(3) พูดเบา ๆ ก่อน
(4) ทักทายผู้ที่คุ้นเคยก่อน
(5) พูดชัด ๆ และช้ากว่าปกติเล็กน้อย
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เมื่อถึงเวลาที่ต้องพูดหลังจากมีการแนะนําตัวเสร็จแล้ว ผู้พูดควรพยายามรักษา บุคลิกภาพให้ดีและสง่างามที่สุดก่อนที่จะกล่าวคําอะไรออกไป โดยควรคํานึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1. ในนาทีแรกที่เริ่มต้นพูดนั้นควรพูดชัด ๆ และช้ากว่าปกติเล็กน้อย ไม่ต้องรีบกล่าว
2. พยายามพูดให้ได้ตามที่เตรียมมาด้วยความมั่นใจ
3. เริ่มต้นด้วยการทักทาย กล่าวนํา และเปิดประเด็นด้วยน้ําเสียงที่ชัดเจน
31. สิ่งใดควรกระทําเมื่อขึ้นเวทีพูดเป็นอันดับแรก
(1) ทดสอบไมโครโฟน
(2) ตรวจสอบอุปกรณ์ช่วยนําเสนอ
(3) ยิ้มกับผู้ฟัง
(4) พูดขออภัยในความผิดพลาดของตัวเอง
(5) กล่าวขอบคุณเจ้าภาพ
ตอบ 3หน้า 52 – 53, (คําบรรยาย) ข้อแนะนําเกี่ยวกับการขึ้นเวทีพูด มีดังนี้
1. พิธีกรกล่าวแนะนําและเชิญผู้พูดขึ้นพูด
2. ผู้พูดเดินไปทําความเคารพพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และทําความเคารพ ผู้ที่เป็นประธานในงาน จากนั้นจึงเดินเข้าที่ ณ ที่พูด
3. การเข้าไปยังที่นั่งของผู้พูดหลังจากพิธีกรเชิญผู้พูดขึ้นพูดแล้ว ผู้พูดไม่ต้องทําความเคารพหรือทักทายใครอีกแล้ว
4. เข้าที่พูดในลักษณะที่สง่างาม และผู้พูดควรยิ้มแย้มด้วยใบหน้าแจ่มใสเป็นอันดับแรก เพราะกฎเกณฑ์ง่าย ๆ ของการพูด คือ ยิ้มแย้มดีกว่าทิ้งตึง
5. หลีกเลี่ยงการกระแอมกระไอก่อนพูด ไม่ควรทดสอบเสียงโดยใช้มือเคาะไมโครโฟน หรือพูดว่า “ฮัลโหล ๆ” ฯลฯ
32. อะไรคือ “ความเป็นทางการ” ในการพูด
(1) การรู้จักกาลเทศะ
(2) เข้ากับงานสังคมได้
(3) มีเจ้าภาพที่แน่นอน
(4) การพูดตามกําหนดการในพิธี
(5) การปฏิบัติตามแบบแผนที่กําหนดไว้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความเป็นทางการในการพูด คือ การรู้จักกาลเทศะ (เวลาและสถานที่) ทั้งนี้ เพราะการพูดที่ดี หมายถึง การใช้ถ้อยคํา น้ําเสียง รวมทั้งอากัปกิริยาอย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสมตามกาลเทศะ สอดคล้องกับจรรยามารยาท แบบธรรมเนียมนิยมของแต่ละสังคม
33 ข้อใดไม่ใช่ผลที่พึงปรารถนาจากการฝึกซ้อมพูด
(1) สร้างรสนิยมที่ดี
(2) กําจัดข้อผิดพลาด
(3) สํารวจตนเอง
(4) พัฒนาแนวทางของตนเอง
(5) หาเครื่องมือที่เหมาะสม
ตอบ 1(คําบรรยาย) ผลที่พึงปรารถนาจากการฝึกซ้อมพูด มีดังนี้
1. เป็นการสํารวจ และพัฒนาแนวทางของตนเองในด้านบุคลิกภาพ รวมทั้งเตรียมความพร้อมของเนื้อหา
2. ช่วยสร้างความมั่นใจ เสริมความเชื่อมั่น
3. ช่วยสํารวจปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น
4. แก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด กําจัดสิ่งที่ไม่เหมาะสมออกไป
5. ทําให้สามารถตรวจตรา สิ่งที่จําเป็นในการนําเสนอเพิ่มเติม เช่น การหาอุปกรณ์เครื่องมือที่เหมาะสม ฯลฯ
34. ผู้พูดไม่สามารถสร้างความเป็นมิตรและความเป็นกันเองกับผู้ฟังได้ด้วย
(1) การสร้างศัพท์และคําสแลงขึ้นใหม่
(2) การรักษามารยาทตามธรรมเนียม
(3) การสํารวมอากัปกิริยาตามสถานะ
(4) การใช้ถ้อยคําและท่าทางที่เหมาะสม
(5) แสดงความเกรงใจและกล่าวขออภัยกรณีที่กระทําการผิดพลาด
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ผู้พูดต้องแสดงบุคลิกภาพที่สร้างความเป็นมิตรและความเป็นกันเองกับผู้ฟัง ดังนี้
1. การมีบุคลิกลักษณะท่าทางและรสนิยมที่ดี สุภาพ มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส
2. การรักษามารยาทตามธรรมเนียม
3. การสํารวมอากัปกิริยาตามสถานะ
4. การใช้ถ้อยคําและแสดงท่าทางที่เหมาะสม
5. การแสดงความเกรงใจและกล่าวขออภัยกรณีที่กระทําการผิดพลาด ฯลฯ
35. ข้อใดมีความสัมพันธ์กับการฟังเพื่อวิเคราะห์
(1) แยกแยะประเด็นและสาระ
(2) มีจรรยาบรรณ
(3) มีความสํารวมขณะฟัง
(4) จดจําเนื้อหาสําคัญให้ได้
(5) มีเหตุผลพร้อมที่จะโต้แย้งได้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์ในการฟัง มีดังนี้
1. ฟังเพื่อรับรู้เนื้อหาสาระและข้อมูล
2. ฟังเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ
3. ฟังเพื่อเข้าถึงทัศนคติ ความคิดเห็น
4. ฟังเพื่อความบันเทิง ความเพลิดเพลิน
5. ฟังเพื่อวิเคราะห์ (แยกแยะประเด็นและสาระสําคัญ) ประเมินผล และวิจารณ์
36. เมื่อจัดทําต้นฉบับเสร็จเรียบร้อย สิ่งที่ต้องดําเนินการเพื่อป้องกันความผิดพลาด คือ
(1) เก็บไว้ในที่มิดชิดลับตา
(2) จัดวางไว้ที่ผู้พูดจะต้องขึ้นพูด
(3) ส่งต่อไปให้พิธีกร
(4) เข้าเล่มให้เรียบร้อย
(5) ทําสําเนา
ตอบ 5 หน้า 40, (คําบรรยาย) สิ่งที่ผู้พูดต้องดําเนินการเมื่อจัดทําต้นฉบับเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีดังนี้
1. ตรวจทานและแก้ไขอย่างรอบคอบ
2. ซ้อมก่อนพูดหรือก่อนนําต้นฉบับไปใช้เสมอ
3. กําจัดสิ่งที่ไม่เหมาะสมออกไป
4. ทําสําเนาเก็บไว้อย่างน้อย1ชุด เพื่อให้ ผู้เกี่ยวข้องประสานงานเก็บสํารองไว้ และป้องกันความผิดพลาด ฯลฯ
37. หากต้องพูดให้ความรู้เรื่อง “การสร้างวินัยในวิชาชีพเพื่อความเข้มแข็งที่ยั่งยืน” นักศึกษาไม่ควรใช้
แนวคิดใดในการดําเนินเรื่อง
(1) การสร้างคุณงามความดี
(2) การพัฒนาตนเองเพื่อสังคม
(3) ท้าทายให้ปรับเปลี่ยน
(4) โอนอ่อนผ่อนตาม
(5) การป้องกันความเสี่ยง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แนวคิดในการดําเนินเรื่องหากต้องพูดให้ความรู้เรื่องดังกล่าว ได้แก่
1. การสร้างคุณงามความดีในวิชาชีพของตน
2. การพัฒนาตนเองเพื่อสังคม
3. การท้าทายให้ปรับเปลี่ยน
4. การป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
38. ข้อใดไม่ส่งผลกับการเลือกหัวข้อที่จะพูดโดยตรง
(1) กระแสสาธารณมติ
(2) แผนงานที่ต้องดําเนินการ
(3) แผนหน่วยงาน
(4) ความต้องการของเจ้าภาพ
(5) สุขภาพของตัวผู้พูดเอง
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกหัวข้อที่จะพูดโดยตรง ได้แก่
1. ความต้องการของเจ้าภาพ
2. กระแสสาธารณมติ
3. นโยบาย/แผนของหน่วยงานที่ไปพูด
4. แผนงานที่ต้องดําเนินการ
5. ความเหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟัง
39. ข้อใดเป็นคํากล่าวที่ไม่ถูกต้องตามหลักวาทวิทยา
(1) ผอ. ของผมแน่จริง ๆ ทํางานได้สมบูรณ์แบบอย่างที่สุด
(2) ผมไม่อาจนิ่งนอนใจได้มีแผนงานที่ต้องรีบดําเนินการ
(3) ขออภัยที่ต้องทํากับคุณแบบนี้ ผมได้รับคําสั่งมาครับ
(4) เจ้าภาพงานนี้มีรสนิยม ดูจากงานแต่งลูกสาวคนเล็กเมื่อวันก่อน
(5) ดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดีนะ โรคภัยและอุบัติเหตุไม่ควรมองข้าม
ตอบ 1 หน้า 6, (คําบรรยาย) ตามหลักว่าทวิทยา Speech หมายถึง สาระหรือเนื้อหาหรือเนื้อเรื่องที่พูด ซึ่งต้องมีการเตรียมและบรรลุประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร เพราะ Speech เป็นกระบวนการพูดอย่างเป็นทางการที่จะต้องวิเคราะห์ผู้รับสาร (ผู้ฟัง) โดยมีการเตรียมตัว พูดอย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ มีการลําดับและการดําเนินเรื่องที่ดี ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ (ส่วน Speaking หมายถึง การพูดหรือการสนทนาในชีวิตประจําวันทั่ว ๆ ไป ซึ่งไม่ได้มีการเตรียมเนื้อหาหรือไม่มีเหตุผลประกอบการพูดมากนัก)
40. ข้อใดเป็นคํากล่าวที่ไม่ถูกต้องตามหลักวาทวิทยา
(1) น้อง ๆ ทั้งหลาย การสื่อสารของพวกคุณมีปัญหาทั้งการพูดและการเขียน
(2) เอาใจเขามาใส่ใจเราบ้างก็ดี รู้จักชั่งน้ําหนักบ้างว่าอะไรควรหรือไม่ควร
(3) ดู ๆ ไปแล้ว ญาติพี่น้องของคุณมีมนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับใครได้หมด
(4) อย่าทําตัวเป็นพวกเตี้ยอุ้มค่อมเลย จะพากันไปไม่รอดเสียเปล่า
(5) เหตุเพราะผมนอนตื่นสาย จึงไปสัมภาษณ์เพื่อขอรับทุนไม่ทัน เสียดายจริง !
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ
41. การกล่าวถึงแฟชั่นตามสมัยนิยม เป็นการพูดเพื่อเป็นแรงกระตุ้นทางใด
(1) ร่างกาย
(2) จิตใจ
(3) นิสัย
(4) สังคม
(5) พื้นฐาน
ตอบ 4 หน้า 96, (คําบรรยาย) การพูดกระตุ้นทางสังคม ผู้พูดจะต้องพูดให้ได้ผลออกมาในรูปที่ว่า ผู้ฟังเป็นคนที่กว้างขวาง มีเกียรติ เป็นที่รู้จักในวงสังคม หรือเป็นผู้ที่ตามกระแสสังคม เช่น การกล่าวถึงแฟชั่นตามสมัยนิยม เป็นต้น
42. ในการพูดชักจูงใจ สิ่งสําคัญที่ทําให้ผู้ฟังเกิดการตัดสินใจคืออะไร
(1) มาตรฐานสังคมและทักษะการนําเสนอ
(2) ถ้อยคําที่มีน้ำหนัก น่าเชื่อถือ
(3) ความมีชีวิตชีวาและท่าทางของผู้พูด
(4) น้ำเสียง ท่าทาง และคําพูด
(5) พยาน หลักฐาน และข้อมูล
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในการพูดชักจูงใจ สิ่งสําคัญที่ทําให้ผู้ฟังเกิดการตัดสินใจ คือ ผู้พูดจะต้อง ยกตัวอย่าง ยกเหตุผลข้อเท็จจริง พยาน หลักฐาน ข้อมูลและข้อโต้แย้งต่าง ๆ ขึ้นมาอ้างอิง เพื่อให้ผู้ฟังเชื่อถือและเห็นด้วยจนเกิดการตัดสินใจในที่สุด
43. ข้อใดไม่เป็นองค์ประกอบหลักของการพูดเพื่อชักจูงใจ
(1) ผลตอบแทน
(2) แรงจูงใจ
(3) ความต้องการ
(4) จุดอ่อน
(5) อิทธิพลทางใจ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) องค์ประกอบหลักของการพูดเพื่อชักจูงใจ มีดังนี้
1. ผลตอบแทน
2. แรงจูงใจ
3. ความต้องการ
4. อิทธิพลทางใจ
44. ช่องทางการสร้างความรู้ความเข้าใจในทางวาทวิทยา คือ
(1) โสตประสาท
(2) เครื่องมือ
(3) ภาวะจิตใจ
(4) สื่อ
(5) การกระทํา
ตอบ 2 หน้า 7, (คําบรรยาย) เครื่องมือสื่อความหมาย (Channel) หมายถึง ช่องทางหรืออะไรก็ตาม ที่ผู้พูดใช้เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการนําเสนอ อันจะส่งผลต่อการสร้างความรู้ความเข้าใจ เข้าถึงอารมณ์ความรู้สึก เข้าแทรกแซงกระบวนการคิดและความเชื่อ แบ่งออกเป็น
1 อวัจนภาษา
2 โสตทัศนูปกรณ์
3 บุคคลและวัตถุพยาน
45.คําว่า “ถูกถ้วน” ในการสื่อสารแบบวาทวิทยา คือ
(1) เต็มที่
(2) เหมาะสม
(3) ได้ผล
(4) มีมาตรฐาน
(5) ครบครัน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คําว่า “ถูกถ้วน” ในการสื่อสารแบบวาทวิทยา คือ ความเหมาะสม ทั้งในเรื่อง ของบุคลิกลักษณะในการแต่งกาย การปรากฏตัว การเตรียมเนื้อหา คําปฏิสันถาร ฯลฯ ซึ่งต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับเจ้าภาพและลักษณะของงาน
46 คําว่า “บรรยากาศที่ดีในการพูด” เป็นผลมาจาก
(1) ความเป็นจริงและมีความเหมาะสม
(2) มีความเหมาะสมและเป็นเหตุเป็นผล
(3) การสร้างความรู้สึกร่วมและเข้ากันได้
(4) มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ
(5) แสดงบทบาทหน้าที่และอํานาจของกันและกัน
ตอบ 3(คําบรรยาย) บรรยากาศที่ดีในการพูด เป็นผลมาจากการสร้างความรู้สึกร่วมและเข้ากันได้ ของคู่สื่อสาร เพราะอารมณ์และความรู้สึกร่วมระหว่างผู้พูดกับผู้ฟังจะเป็นปัจจัยสําคัญที่สุด
ในการเชื่อมต่อสถานการณ์การพูดให้ราบรื่นและดําเนินไปได้ตลอดรอดฝั่ง
47. ข้อใดเป็นข้อมูลข่าวสารระดับปฐมภูมิที่ผู้พูดสามารถใช้ประโยชน์ได้
(1) ประสบการณ์ของผู้รอดตาย
(2) บทความของ บก. คนดัง
(3) ต้นฉบับนักเขียน
(4) บทประพันธ์สมัย ร.1
(5) คําบอกเล่าของเหล่าไทยมุง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ข้อมูลข่าวสารระดับปฐมภูมิที่ผู้พูดสามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี คือ ประสบการณ์ของผู้รอดตาย ซึ่งเป็นผู้ที่ประสบเหตุการณ์โดยตรง จึงทําให้การพูดนั้นน่าเชื่อถือ และมีคุณค่าแก่การนําเสนอ
48 การสื่อสารระหว่างกันและกันผ่านกระบวนการพูดนั้น สิ่งใดเป็นปัจจัยที่สําคัญที่สุดหากจะดําเนินการ
ให้ตลอดรอดฝั่ง
(1) ตัวตนที่ชัดเจน
(2) การรักษาความรู้สึกร่วม
(3) ความรู้ที่ได้
(4) เนื้อหาที่ตรงไปตรงมา
(5) บอกถึงผลกระทบที่ชัดเจน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ
49. ข้อใดต่อไปนี้เป็นหัวใจของการพูดเพื่อวิพากษ์วิจารณ์
(1) ใช้วาทศิลป์ชั้นสูง
(2) มีสมดุล ติเพื่อก่อ
(3) ให้ข้อมูลที่เป็นจริง
(4) มองรายละเอียดที่คาดไม่ถึง
(5) พิจารณาผลกระทบตามลําดับ
ตอบ 2หน้า 169 – 171, (คําบรรยาย) หัวใจของการพูดเพื่อวิพากษ์วิจารณ์ คือ มีความสมดุลในการ วิจารณ์ ซึ่งต้องพูดทั้งติและชมอย่างมีเหตุผล หากเป็นการติก็ต้องติเพื่อก่อ โดยเสนอแนะว่าควรจะแก้ไขข้อบกพร่องทางด้านใดบ้าง
50. การพูดเป็นการสื่อส
(1) ด้วยบุคคล
(2) ภายในบุคคล
(3) ระหว่างบุคคล
(4) ระหว่างสาธารณชน
(5) โดยใช้ประชาชน
ตอบ 3(คําบรรยาย) บทบาทของการพูด มีดังนี้
1 เป็นการสื่อสารสองทางในการสื่อสารระหว่างบุคคล ทําให้สามารถเข้าถึงปฏิกิริยาตอบกลับ ได้ทันที ซึ่งทําให้การพูดแตกต่างจากการสื่อสารอื่น ๆ
2. เป็นเครื่องมือเข้าสมาคม เชื่อมต่อสมาชิกสังคมทุกระดับ
3. เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความเชื่อ ทัศนคติ
4. เป็นกระบวนการสร้างและสลายอารมณ์ความรู้สึกของบุคคล ซึ่งเกิดจากการเข้าถึงอารมณ์ ของผู้ฟังได้โดยตรง ฯลฯ
51. บทบาทของการพูดที่สามารถสร้างและสลายความรู้สึกของบุคคล เกิดขึ้นจาก
(1) การรับรู้ข้อมูล
(2) การสื่อสารสองทาง
(3) การสร้างสมาธิและปัญญา
(4) การเข้าถึงอารมณ์
(5) การเร่งเร้าปฏิกิริยา
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 50. ประกอบ
52. ความเป็น “ศาสตร์” และ “ศิลป์” ในทางวาทวิทยา พิจารณาจาก
(1) หลักการ – วิธีการ
(2) ความรู้ – ความสามารถ
(3) ทักษะ – การเรียนรู้
(4) ผลงาน – ความเข้าใจ
(5) ทฤษฎี – ประสบการณ์
ตอบ 1หน้า 3, (คําบรรยาย) การพูดเป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปะ คือ วิชาการพูดมีลักษณะของ ความเป็น “ศาสตร์” (Science) เพราะเป็นวิชาที่มีหลักการ แนวคิด และทฤษฎีรองรับ และ มีลักษณะเป็น “ศิลป์” (Art) เพราะเป็นวิชาที่ต้องใช้ศิลปะในการพูด หรือสร้างสุนทรียะในวิธีการนําเสนอ
53. ภาพลักษณ์ของการนําเสนอ เกิดจาก
(1) เหตุผล
(2) ความสนใจ
(3) ตัวตน
(4) ผลลัพธ์
(5) ทรัพย์สิน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ภาพลักษณ์ของการนําเสนอ คือ สิ่งที่ผู้ฟังรู้สึกกับตัวตนของผู้พูดจาก ประสบการณ์ จากสิ่งที่รับรู้ หรือจากสิ่งที่เห็นและประเมินค่า
54. ข้อใดเป็นการสื่อสารสองทางโดยอาศัยกิจกรรมทางวาทวิทยาที่หวังผลได้สูงสุด
(1) เสนอหัวข้อวิจัย
(2) เล่านิทานสนุก ๆ
(3) จัดการพบปะผู้ปกครอง
(4) ให้ไปค้นคว้าในห้องสมุด
(5) จัดตลาดนัดชุมชน
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การสื่อสารสองทาง หมายถึง การสื่อสารที่มีการโต้ตอบกันไปมาระหว่างผู้ส่งสาร (ผู้พูด) และผู้รับสาร (ผู้ฟัง) ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายสามารถเข้าถึงปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างกันได้ทันที ทั้งนี้ การสื่อสารสองทางโดยอาศัยกิจกรรมทางวาทวิทยาที่หวังผลได้สูงสุด คือ การจัดตลาดนัดชุมชน
55. ข้อควรระวังที่สุดสําหรับการเล่าเรื่องราวที่มีประเด็นขัดแย้งทางสังคม ได้แก่
(1) ข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงที่หลากหลาย
(2) ความสมดุลด้านข้อมูลของคู่กรณี
(3) หลักฐานที่ชัดเจนพอ
(4) หลักการที่ควรปฏิบัติ
(5) กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ข้อควรระวังที่สุดสําหรับการเล่าเรื่องราวที่มีประเด็นขัดแย้งทางสังคม ได้แก่ ความสมดุลด้านข้อมูลของคู่กรณี ดังนั้นจึงควรเปิดโอกาสให้คู่กรณีทั้ง 2 ฝ่ายพูดและแสดง ความคิดเห็นได้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ควรผูกขาดการพูดไว้ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะจะทําให้ เกิดความไม่สมดุลในโครงสร้างของการสื่อสาร
56 หลักการพูดเพื่อประกาศผลรางวัลหรือการตัดสินความสามารถในปัจจุบันเป็นอย่างไร
(1) เชิดชูคนเก่ง
(2) ทุกคนมีแต่ได้
(3) สัมพันธ์แนบแน่น
(4) ละลายพฤติกรรม
(5) หนทางสู่ชัยชนะ
ตอบ 1หน้า 448, (คําบรรยาย) หลักการพูดเพื่อประกาศผลรางวัลหรือการตัดสินความสามารถใน ปัจจุบันนั้น ผู้พูดควรพูดให้สั้นที่สุด (ไม่ควรพูดเกิน 15 นาที) โดยควรกล่าวยกย่องเชิดชูคนเก่ง ที่ได้รับรางวัลแต่พอสมควร และควรจดจําข้อเท็จจริงต่าง ๆ เช่น ชื่อ – นามสกุล และผลงาน ของผู้ได้รับรางวัลให้แม่นยํา
57. ข้อใดเป็นการดําเนินงานลําดับแรก เมื่อนักศึกษารับปากที่จะพูดตามหัวข้อที่รับเชิญ
(1) กําหนดแนวคิดในการนําเสนอ
(2) จองที่พักและยานพาหนะล่วงหน้า
(3) หาข้อมูลที่เกี่ยวข้องทันที
(4) เตรียมหาผู้ร่วมงานหรือผู้ช่วย
(5) ซ้อมบทพูดที่เกี่ยวข้องล่วงหน้า
ตอบ 3(คําบรรยาย) ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล เมื่อนักพูดรับปากที่จะพูดตามหัวข้อที่รับเชิญ มีดังนี้
1. หาข้อมูลที่เกี่ยวข้องทันทีเมื่อรู้ว่าจะต้องพูด
2. เริ่มหาข้อมูลจากความทรงจําที่มีอยู่
3. ดูจากข้อมูลที่มีอยู่
4. หาเพิ่มเติมในสิ่งที่ขาดหายไปหรือที่ต้องการใช้
5. พิจารณาเป้าหมายและวัตถุประสงค์การพูดด้วย
58. การสัมภาษณ์นั้นมีความหมายสําคัญในเชิงการสื่อสารอย่างไร
(1) การได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึก
(2) ทบทวนเหตุการณ์
(3) เปิดเผยความจริง
(4) จัดระเบียบข่าวสารให้ราบรื่น
(5) สร้างความเป็นธรรมให้สังคม
ตอบ 1 หน้า 33, 255, (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์ หมายถึง การสื่อสารด้วยกระบวนการพูดคุย โดยมีเป้าประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสําคัญ ข่าวสาร หรือประเด็นที่เป็นสาระโดยตรงผ่าน บุคคลที่มีตําแหน่งหน้าที่สัมพันธ์กับคําถาม ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้มาถือเป็นข้อมูลเชิงลึกส่วนบุคคล ที่มีความเฉพาะเจาะจงตามเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และสถานการณ์ขณะนั้น
59. โครงสร้างของคําถามในการสัมภาษณ์มีอะไรบ้าง
(1) แบบตรง – แบบโดยอ้อม
(2) แบบถามนํา – แบบถามต่อเนื่อง
(3) แบบยอมรับ – แบบปฏิเสธ
(4) แบบแน่นอน – แบบไม่แน่นอน
(5) แบบถามนํา – แบบปลายเปิด
ตอบ 4(คําบรรยาย) ชนิดของการสัมภาษณ์แบ่งโดยการนําเสนอข้อมูลมีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่
1. การสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างคําถามแบบแน่นอน
2. การสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างคําถามแบบไม่แน่นอน
3. การสัมภาษณ์แบบผสม
60. ในกระบวนการสัมภาษณ์มีบุคคล 2 ฝ่าย คือ
(1) ผู้พูด – ผู้ให้ความเห็น
(2) ผู้สัมภาษณ์ – ผู้ให้สัมภาษณ์
(3) ผู้นําสัมภาษณ์ – ผู้ถูกสัมภาษณ์
(4) ผู้กล่าวสัมภาษณ์ – ผู้ให้ข้อมูล
(5) สื่อมวลชน – แหล่งข่าว
ตอบ 2 หน้า 255, (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์ คือ การสนทนาระหว่างบุคคลสองฝ่าย โดยที่ฝ่ายหนึ่ง เป็นผู้ซักถาม เรียกว่า “ผู้สัมภาษณ์” และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ตอบ เรียกว่า “ผู้ให้สัมภาษณ์
61 ข้อใดไม่ควรกระทําเมื่อผู้สื่อข่าวทําการสัมภาษณ์ทางสถานีโทรทัศน์กับผู้ที่มีวิธีตอบเลี่ยง โดยไม่ยอม
ตอบคําถามให้ตรงประเด็น
(1) แทรกบทตลกเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศจนกว่าจะยอมตอบ
(2) ให้ตอบอย่างตรงคําถามและทวนคําถามซ้ําอีก
(3) เปลี่ยนคําถามใหม่ แล้วขออภัยผู้ชมทางโทรทัศน์แทนแขกรับเชิญ
(4) แนะนําคําตอบเป็นทางเลือกสลับกับการพูดคุยกับผู้ชม
(5) ต่อโทรศัพท์ถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นตัวแทนในการซักถาม
ตอบ 5 หน้า 264, (คําบรรยาย) สิ่งที่ผู้สื่อข่าวไม่ควรกระทําเมื่อต้องสัมภาษณ์ทางสถานีโทรทัศน์กับ ผู้ที่มีวิธีตอบเลี่ยง โดยไม่ยอมตอบคําถามให้ตรงประเด็น คือ การต่อโทรศัพท์ถึงบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นตัวแทนในการซักถาม เพราะการให้ผู้อื่นมาทําหน้าที่สัมภาษณ์แทนตนเอง แสดงให้ เห็นว่าผู้สื่อข่าวไม่มีความสามารถเพียงพอ ดังนั้นผู้สื่อข่าวจึงควรมีความอดทนที่จะซักถามต่อไป โดยแก้ไขสถานการณ์ตามตัวเลือกที่เหลือข้างต้น
62 ในการปฏิบัติงานสื่อสารมวลชน บุคคลใดสมควรเป็นผู้ถูกสัมภาษณ์ในลําดับแรก
(1) ผู้นําองค์กร
(2) ผู้มีอํานาจตัดสินใจ
(3) ผู้ที่สังคมให้ความสนใจ
(4) ผู้เกี่ยวข้องและมีความรู้ในเรื่องนั้น
(5) ผู้ทําหน้าที่สื่อสารมวลชน
ตอบ 4 หน้า 257 – 258, (คําบรรยาย) คุณสมบัติของผู้ให้สัมภาษณ์ (ผู้ถูกสัมภาษณ์) เรียงตามลําดับ
ความสําคัญของบุคคลได้ ดังนี้
1 เป็นผู้รู้ (สําคัญที่สุด)
2. เป็นผู้เกี่ยวข้อง รู้เห็นหรืออยู่ในเหตุการณ์
3. เป็นผู้นํา ผู้บริหาร หรือผู้ที่มีความสําคัญ
4. เป็นผู้มีประสบการณ์
5. เป็นผู้ได้รับความสนใจ
6. เป็นผู้ที่มีตัวตนอยู่จริง
63. ข้อใดไม่เข้าพวก
(1) คํานํา
(2) บทนํา
(3) เกริ่น
(4) อารัมภบท
(5) ปฏิสันถาร
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ
64. การจัดปฐมนิเทศ นศ. สาขาสื่อสารมวลชน ไม่ควรเลือกใครเป็นวิทยากร
(1) ศิษย์เก่าในวงการ
(2) ผอ. สํานักข่าวไทย
(3) คณบดีคณะสื่อสารมวลชน
(4) คนดังในสื่อออนไลน์
(5) ออร์แกไนเซอร์ที่มีผลงานโดดเด่น
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การเลือกวิทยากรมาพูดในการจัดงานปฐมนิเทศข้างต้น ควรเลือกผู้ที่มีความรู้ มีประสบการณ์ และประสบความสําเร็จในการทํางานด้านสื่อสารมวลชน หรืออาจเป็นผู้ที่ มีความเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย จึงจะมีความเหมาะสมกับลักษณะของงานที่จัด
65. ในการบรรยายพิเศษ ทําไมจึงต้องมีการแนะนําผู้บรรยาย
(1) เพื่อให้ผู้ฟังรู้จักผู้พูด
(2) เพื่อให้เกียรติแก่ผู้ฟัง
(3) เพื่อฆ่าเวลา
(5) เพื่อสร้างความสนใจจากผู้ฟัง
(4) เพื่อยกย่องในเกียรติประวัติที่ทํามา
ตอบ 1 หน้า 310, 444 จุดมุ่งหมายในการแนะนําองค์ปาฐก ผู้บรรยาย ผู้ดําเนินการอภิปราย มีดังนี้
1. เพื่อให้ผู้ฟังรู้จักผู้พูดว่าเป็นใคร ทําอะไร และมีความสําคัญอย่างไร
2. เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ผู้พูด
3. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ฟังกับผู้พูด ฯลฯ
66. ถ้าท่านได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แนะนําวิทยากรที่จะมาแสดงปาฐกถา ท่านจะถามหาข้อมูลเกี่ยวกับ
วิทยากรจากใครที่จะได้ตรงเป้าหมายที่สุด
(1) ประธานจัดงาน
(2) สื่อมวลชนที่คุ้นเคย
(3) คนวงการเดียวกันกับวิทยากร
(4) เลขานุการคณะกรรมการจัดงาน
(5) เลขานุการในทีมงานวิทยากร
ตอบ 5 หน้า 311, (คําบรรยาย) ถ้าผู้แนะนําไม่รู้จักหรือไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับวิทยากร (องค์ปาฐก) ที่จะมาแสดงปาฐกถา ก็ควรติดต่อวิทยากรหรือถามจากเลขานุการในทีมงานวิทยากรว่าจะให้ตนแนะนําอย่างไร โดยต้องติดต่อกันก่อนวันแนะนําจริง
67 ข้อใดคือต้นฉบับที่พึงประสงค์หากพิจารณาจากประสิทธิผลการใช้งาน
(1) สวยงามมีคุณค่า
(2) โดดเด่นดูเตะตา
(3) ไม่มีร่องรอยแก้ไข
(4) ได้รับการรับรองแล้ว
(5) มีเนื้อหาเหมาะสมกับเวลาที่มี
ตอบ 5หน้า 40, (คําบรรยาย) ลักษณะของต้นฉบับที่พึงประสงค์ มีดังนี้
1 ใช้ภาษาที่สุภาพ
2 มีเนื้อหาตามวัตถุประสงค์ และเป็นไปตามโครงสร้างของการพูดแบบสากล
3 ลําดับความคิดน่าติดตาม (ฟังแล้วไม่สับสน)
4 มีเนื้อหาเหมาะสมสอดคล้องหรือพอดีกับเวลาที่มี
5. อ่านง่ายทั้งแบบอักษรและขนาดตัวพิมพ์ ฯลฯ
68. เมื่อกล่าวขอบคุณผู้บรรยายพิเศษเสร็จสิ้น ควรทําอะไรต่อไป
(1) เชิญชวนให้มาพูดอีก
(2) เชิญชวนผู้ฟังปรบมือให้ผู้บรรยาย
(3) สรุปเนื้อหาสาระอีกรอบ
(4) สรุปเนื้อหาและวิจารณ์วิทยากรทันที
(5) เชิญชวนถ่ายรูปหมู่เป็นที่ระลึก
ตอบ 2 หน้า 312 หลังจากที่องค์ปาฐก ผู้บรรยาย ผู้ดําเนินการอภิปราย ฯลฯ ได้จบการพูดลงแล้ว พิธีกรจะต้องลุกขึ้นไปกล่าวขอบคุณเป็นข้อความสั้น ๆ หรือบางครั้งก็อาจจะกล่าวขอบคุณ และเชิญชวนผู้ฟังปรบมือให้องค์ปาฐก ผู้บรรยาย ผู้ดําเนินการอภิปราย ฯลฯ ด้วยก็ได้
69. ในการบรรยายพิเศษที่มีระยะเวลายาวนานพอสมควรนั้น ผู้บรรยายไม่ควรใช้วิธีการอย่างไรเพื่อให้
เรื่องที่พูดนั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจ
(1) แทรกบทตลกในบางจังหวะ
(2) พูดเรื่องที่ผู้ฟังไม่น่าจะเคยรู้มาก่อน
(3) ชวนสุภาพสตรีให้ร่วมตอบคําถาม
(4) ระบายความน้อยเนื้อต่ําใจของตนเอง
(5) เล่าประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นของตนเอง
ตอบ 4 หน้า 308 – 309, (คําบรรยาย) ในการแสดงปาฐกถาหรือบรรยายพิเศษนั้น ผู้พูดควรพูดใน เรื่องที่น่าสนใจสําหรับผู้ฟัง หรือเรื่องที่ให้ความรู้ และควรจะเป็นเรื่องที่ผู้ฟังไม่เคยรู้มาก่อน ยกเว้นเรื่องที่เป็นความลับหรือเรื่องส่วนตัวของตนเองและผู้อื่น นอกจากนี้ผู้พูดอาจแทรก บทตลกได้เท่าที่จําเป็น หรือเล่าประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นของตนเอง หรือชักชวนให้ผู้ฟัง ร่วมตอบคําถาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ฟังเกิดความเบื่อหน่ายและไม่สนใจ จากนั้นจึงดึงประเด็นเข้าสู่สาระหลักที่จะพูดต่อไป
70. ข้อใดหมายถึง การพัฒนาตนในบริบทของการนําเสนอเนื้อหาเชิงวาทวิทยา
(1) การสร้างอัตลักษณ์ของตนเอง
(2) การแสวงหาความรู้ให้มากพอ
(3) การริเริ่มแนวคิดเพื่อการนําเสนอ
(4) การปรับปรุงบุคลิกภาพ
(5) รู้จักการขยายเครือข่ายความสัมพันธ์กับหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ
ตอบ 4 หน้า 11, (คําบรรยาย) การพัฒนาตนในการนําเสนอเนื้อหาเชิงวาทวิทยา หมายถึง การปรับปรุง บุคลิกภาพให้เหมาะสมกับการนําเสนอ โดยบุคลิกภาพจะรวมไปถึงการใช้ภาษา น้ําเสียง การยืน การแต่งกาย การใช้สายตา กิริยาท่าทาง ฯลฯ ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องมือสื่อความหมายไปสู่ผู้ฟัง ดังนั้นผู้พูดจึงต้องรู้จักปรับปรุงตัวให้ใช้เครื่องมือสื่อความหมายเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพ
71. การเข้าไปยังที่นั่งของผู้พูด สิ่งที่ไม่ควรกระทํา คือ
(1) เดินตัวตรง ยิ้มให้กับผู้ชม ผู้ฟังตามสมควร
(2) เดินอกผายไหล่ผึ้ง ทําความเคารพประธาน ทักทายคนรู้จัก
(3) เดินตรงไปยังที่นั่งของตน สํารวจว่าตรงกับชื่อตัวเองหรือไม่ แล้วรีบนั่งลงไป
(4) เดินไปตามลําดับที่พิธีกรประกาศชื่อ ไม่ทักทายประธานในพิธี
(5) อยู่ ณ ที่พักของตนเอง และรอจนกว่าพิธีกรประกาศจึงเข้าประจําตําแหน่ง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ
72. ประโยชน์ของการพูดในแง่มุมของการส่งเสริมแนวคิดประชาธิปไตย คือข้อใด
(1) เพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้า
(2) เพื่อเผยแพร่นโยบาย
(3) เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกับผู้อื่น
(4) เพื่อปรับปรุงกฎระเบียบ
(5) เพื่อเป็นเวทีในการประกาศเจตนารมณ์ของตนเอง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพูดที่ส่งเสริมแนวคิดประชาธิปไตยจะพิจารณาจากความสมดุลในการสื่อสาร โดยประโยชน์ของการพูดในแง่มุมนี้ คือ เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกับผู้อื่น เพราะสังคม ประชาธิปไตยนั้นต้องการความคิดเห็นของสมาชิกเป็นสําคัญ
73. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของนักพูด
(1) เตือนภัยสังคม
(2) บอกวิธีรักษาโรคให้ผู้ป่วย
(3) สร้างสรรค์ภาษาตามสมัย
(4) โน้มน้าวใจให้เกิดการซื้อ – ขาย
(5) ให้ความรู้ด้วยสาระบันเทิง
ตอบ 3(คําบรรยาย) หน้าที่ของนักพูด มีดังนี้
1. บอกกล่าวเรื่องราว
2. ให้ความรู้
3. สอดส่องดูแลและเตือนภัยสังคม
4. สร้างความจรรโลงใจ
5. โน้มน้าวใจให้เกิดการกระทํา
74. ความประหม่าของผู้พูด เป็นปัญหาการพูดในกลุ่มใด
(1) ภาษา
(2) แนวคิด
(3) สาระ
(4) การพัฒนาตน
(5) การปรับตัว
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัญหาที่เกิดกับการพูดด้านบุคลิกและการปรับตัวทั่วไป ได้แก่
1. แต่งกายไม่เหมาะสมกับผู้ฟังหรือสถานที่
2. การเดินไม่เป็นไปตามธรรมชาติ
3. ความประหม่าของผู้พูดที่จะต้องปรากฏกาย
4. เกรงว่าจะควบคุมกิริยาท่าทาง มารยาท การวางตัวไม่ได้ ฯลฯ
75. ข้อใดเป็นวินัยที่ควรปฏิบัติของนักพูดที่มีความรับผิดชอบ
(1) มาตรงเวลาทุกครั้ง
(2) ทําการซ้อมอย่างเปิดเผยต่อหน้าผู้ชม
(3) ทําทุกอย่างเองเพื่อความสมบูรณ์แบบ
(4) ทําตัวให้โดดเด่นน่าภูมิใจ
(5) มาก่อนเวลาเพื่อสํารวจจุดบกพร่อง
ตอบ 5(คําบรรยาย) วินัยที่ควรปฏิบัติของนักพูดที่มีความรับผิดชอบ คือ ต้องไปถึงสถานที่ที่จะพูด ก่อนเวลา หรือเผื่อเวลาไว้นานพอสมควรสําหรับการไปถึง เพื่อสํารวจจุดบกพร่องไม่ว่าจะเป็น เวที สถานที่ และอุปกรณ์ด้วยตนเอง
76. การกล่าวต้อนรับอย่างเป็นพิธีการจะต้องเริ่มด้วย
(1) การแนะนําเจ้าภาพ
(2) คําปฏิสันถาร
(3) บทประทับใจ
(4) การกล่าวขอบคุณแขกผู้มีเกียรติ
(5) คําชื่นชมในโอกาสนั้น ๆ
ตอบ 2 หน้า 445 การกล่าวต้อนรับ เป็นการแสดงออกถึงการให้เกียรติแก่ผู้ที่มาเยี่ยม เป็นการ แนะนําผู้มาเยี่ยม หรือผู้มาใหม่ให้รู้จักสถานที่นั้น ๆ ดีขึ้น โดยการกล่าวต้อนรับอย่างเป็น พิธีการจะต้องเริ่มต้นด้วยการกล่าวคําปฏิสันถารก่อนเสมอ
77. ข้อใดไม่ใช่แนวทางการตัดสินใจที่ได้จากการวิเคราะห์สถานการณ์การพูดด้านผลกระทบที่จะเกิด
ในกระบวนการสื่อสารแต่ละครั้ง
(1) ดําเนินการต่อโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลง
(2) ดําเนินการต่อไปโดยปรับเปลี่ยนเนื้อหาบางส่วน
(3) ยังต้องดําเนินการต่อไป แต่ปรับปรุงสาระสําคัญเนื่องจากไม่สามารถยกเลิกได้
(4) เปลี่ยนคนพูดโดยคงสาระหรือเนื้อหาตามที่เตรียมไว้แต่เดิมทุกประการ
(5) ผู้พูดยกเลิกการพูดครั้งนั้นไปเลย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แนวทางการตัดสินใจที่ได้จากการวิเคราะห์สถานการณ์การพูดด้านผลกระทบ ที่จะเกิดในกระบวนการสื่อสารแต่ละครั้ง มีดังนี้
1. ดําเนินการต่อโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงเลย ทุกอย่างคงเดิม
2. ดําเนินการต่อไปโดยปรับเปลี่ยนเนื้อหาบางส่วนให้สอดคล้องกับสถานการณ์
3. เปลี่ยนประเด็นสําคัญ แต่ยังจะพูดต่อไปเนื่องจากไม่สามารถยกเลิกได้ 4. ยกเลิกการพูดครั้งนั้นไปเลย
78. การวิเคราะห์ผู้ฟังด้านกลุ่มสังคมและประสบการณ์เฉพาะเรื่อง มีผลอย่างไรต่อการเตรียมข้อมูล
ในการพูดแต่ละครั้ง
(1) เพื่อสร้างศัพท์และระดับความซับซ้อนของข้อมูลที่นําเสนอ
(2) เพื่อเปิดประเด็นและหัวข้อที่จะพูดให้เหมาะสม
(3) เพื่อต้องการทราบแนวโน้มการตัดสินใจในเรื่องที่จะเป็นส่วนได้ – เสียของผู้ฟัง
(4) เพื่อกําหนดวาระการรับรู้และกระบวนการออกแบบเนื้อหา
(5) เพื่อสร้างความรู้สึกและความพึงพอใจให้กับกลุ่มเป้าหมาย
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ผู้ฟังด้านกลุ่มสังคมและประสบการณ์เฉพาะเรื่อง จะมีผลต่อการ เตรียมข้อมูลในการพูด คือ ทําให้ผู้พูดสามารถสร้างศัพท์และระดับความซับซ้อนหรือความลึก ของข้อมูลที่นําเสนอ เพื่อให้สอดคล้องกับประสบการณ์เฉพาะเรื่องของผู้รับสารในกลุ่มสังคมนั้น ๆ
79. ผู้ดําเนินรายการที่ดี ไม่ควรกระทําการเช่นไร
(1) หลีกเลี่ยงการพูดถ้อยคําที่ซ้ำซาก
(2) แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
(3) เลือกใส่เสื้อผ้าที่ดูสง่างามมีราศี
(4) พูดได้ทุกประเด็นเท่าที่ต้องการพูด
(5) ทําตัวให้กลมกลืนและเป็นธรรมชาติกับงานได้ในทุกกาลเทศะ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สิ่งที่ผู้ดําเนินรายการที่ดีไม่ควรกระทํา คือ พูดได้ทุกประเด็นเท่าที่ต้องการพูด เพราะจะทําให้การพูดครั้งนั้นออกนอกเรื่องหรือนอกประเด็นสําคัญที่ต้องการจะพูด และทําให้เนื้อหาการพูดยาวเกินเวลาที่กําหนดอีกด้วย
80. การซ้อมการพูดโดยบุคคลสําคัญที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในวิทยาการเฉพาะสาขา เป็นการระวังป้องกัน
ข้อผิดพลาดด้านใด
(1) อารมณ์และความรู้สึกที่อาจไม่สมจริง
(2) กิริยาท่าทางที่ไม่เป็นไปตามบทบาทที่เตรียมมา
(3) การที่อาจจะต้องตอบคําถามสื่อมวลชนอย่างกะทันหัน
(4) เพื่อให้เป็นไปตามความคาดหวังขององค์กร
(5) เนื้อหาที่คนนอกวงการอาจไม่รู้ความหมาย หรือทําให้เข้าใจง่ายขึ้น
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การซ้อมการพูดโดยบุคคลสําคัญที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในวิทยาการเฉพาะ สาขา เป็นการระวังป้องกันข้อผิดพลาดในด้านเนื้อหาที่อาจจะมีศัพท์เฉพาะสาขาวิชานั้น น ๆ ซึ่งคนนอกวงการอาจไม่รู้ความหมาย หรือทําให้เข้าใจง่ายขึ้น
81. เมื่อเข้า ณ ที่พูดแล้ว ผู้พูดไม่ควรทําอะไรต่อหน้าผู้ฟัง
(1) ยิ้ม
(2) ดื่มน้ำ
(3) ดูบันทึกย่อ
(4) ทดสอบเสียง
(5) นั่งสงบ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ
82. น้ำเสียงที่เป็นระดับเดียวกันโดยตลอดสร้างปัญหาให้แก่ผู้ฟังด้านใดมากที่สุด
(1) ไม่เข้าใจเนื้อหาทีผู้พูดถ่ายทอด
(2) ทําให้เรื่องง่ายกลายเป็นเรื่องยาก
(3) หมดศรัทธา ไม่น่าเชื่อถือในตัวผู้พูด
(4) สร้างความสงสัยในเนื้อหา
(5) เบื่อหน่าย ละเลยการติดตามประเด็น
ตอบ 5 หน้า 14, (คําบรรยาย) หลักการใช้เสียงพูดที่ดีข้อหนึ่ง คือ ผู้พูดควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ําเสียง เนื่อย ๆ หรือน้ําเสียงที่เป็นระดับเดียวกัน (ไม่มีเสียงสูง – ต่ํา) โดยตลอด เพราะจะทําให้ผู้พูด พูดโดยขาดความมีชีวิตชีวา และผู้ฟังก็จะรู้สึกเบื่อหน่าย รําคาญ จนอาจไม่สนใจหรือละเลย การติดตามประเด็น
83. ปัญหาความเครียดและวิตกกังวลของผู้พูดเกิดจาก
(1) เครื่องแต่งกายที่ไม่เหมาะสม
(2) ความตั้งใจที่มีมากจนเกินไป
(3) การเตรียมตัวไม่ดีหรือไม่พร้อม
(4) อุปกรณ์บกพร่องไม่สามารถใช้งานได้
(5) การประสานงานจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่น่าประทับใจมากที่สุด
ตอบ 3 หน้า 54 – 55, (คําบรรยาย) สาเหตุหลักของการขาดความเชื่อมั่นในตนเอง จนก่อให้เกิด ความประหม่าตื่นเต้นบนเวที มีอยู่ 3 ประการ ดังนี้
1. การไม่เตรียมตัวมาอย่างดีพอ ซึ่งปัญหาความเครียดและวิตกกังวลของผู้พูดส่วนใหญ่ เกิดจากการเตรียมตัวไม่ดีหรือไม่พร้อม
2. การไม่ซักซ้อมอย่างเพียงพอ
3. การไม่ใส่ใจต่อบุคลิกภาพของตนเองเมื่อต้องปรากฏตัวให้เหมาะสมกับลักษณะพิธีการ สถานที่ และเจ้าภาพ เช่น การแต่งกายไม่ถูกกาลเทศะ ฯลฯ
84. การกําหนดวัตถุประสงค์ของการพูดยังไม่จําเป็น พิจารณาจาก……..โดยตรง
(1) ระบบสังคมวัฒนธรรมของผู้ฟัง
(2) สถานการณ์บ้านเมืองล่าสุด
(3) การแบ่งหัวข้อเป็นประเด็นต่าง ๆ
(4) ประเด็นหลักและข้อมูลสนับสนุน
(5) เวลาที่เจ้าภาพให้กับการพูดครั้งนั้น
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในการประมวลความคิดนั้น ผู้พูดต้องเข้าใจในสถานการณ์การพูดแต่ละครั้ง หรือเข้าใจสถานการณ์บ้านเมืองล่าสุดเสียก่อน จึงจะสามารถกําหนดวัตถุประสงค์ของการพูดที่แน่ชัดได้
85. ข้อใดไม่ใช่ข้อพิจารณาหลักในการกําหนดประเด็นการพูด
(1) เวลาที่ผู้ร่วมอภิปรายให้กับการพูดครั้งนั้น
(2) ความน่าสนใจของข้อมูลประกอบกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
(3) พิจารณาตามเหตุผลและข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ซึ่งมีผลกระทบในระดับที่ต่างกัน
(4) แนวคิดในการดําเนินเรื่องตามความถนัดของคนพูด
(5) ข่าวสารที่แพร่กระจายใน Social Media
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ข้อพิจารณาหลักในการกําหนดประเด็นการพูด มีดังนี้
1. เวลาที่ผู้ร่วมอภิปรายให้กับการพูดครั้งนั้น
2. ความน่าสนใจของข้อมูลประกอบกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
3. พิจารณาตามเหตุผลและข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ซึ่งมีผลกระทบในระดับที่ต่างกัน
4. แนวคิดในการดําเนินเรื่องตามความถนัดของผู้พูด
86. ข้อใดไม่ควรกระทํา หากผู้พูดต้องการให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมแสดงความเห็น
(1) เลือกชื่อคนที่คุ้นเคยก่อน
(2) ยืนขึ้นแล้วชี้ลงไป
(3) เลือกคนที่ยกมือก่อน
(4) ใช้ปากกาชี้ระบุคน
(5) ให้ประธานในงานนั้นช่วยเลือก
ตอบ 2(คําบรรยาย) สิ่งที่ผู้พูดไม่ควรกระทําหากต้องการให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น คือ ยืนขึ้นแล้วชี้ลงไป เพราะการเอามือออกไปด้านหน้าตัวเอง หรือใช้มือชี้หน้าผู้ฟัง เป็นการ แสดงถึงความมีอํานาจเหนือผู้ฟัง
87. เรื่องสําคัญที่ต้องเน้นเป็นพิเศษ อาศัยหลักการใดในการพูด
(1) ตอกย้ำแต่ไม่ซ้ำซาก
(2) ย้ำคิดย้ำทํา
(3) สั่งสอนให้รู้สํานึก
(4) บอกใบ้ให้ทายใจ
(5) ต่อเติมส่วนที่ขาดหาย
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ผู้พูดควรกล่าวหรือตอกย้ําในเรื่องสําคัญที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษ เพื่อให้เรื่องที่พูดนั้นมีความชัดเจน น่าสนใจ และยังทําให้ผู้ฟังสามารถจดจําเรื่องนั้น ๆ ได้มากขึ้น แต่ต้องระวังไม่ไปตอกย้ำจนเกิดความซ้ำซาก หรือย้ำคิดย้ำทําจนมากเกินไป เพราะจะทําให้ ผู้ฟังเกิดความเบื่อหน่าย และเรื่องที่เน้นก็จะกลายเป็นเรื่องที่ไม่สําคัญไป
88. ข้อใดเป็นแนวปฏิบัติหากต้องเตรียมเครื่องดื่มให้กับผู้บรรยายที่ไม่มีการกําหนดไว้
(1) ใช้น้ำแร่เย็นที่ซื้อหาได้สะดวก
(2) ใช้น้ำอุ่น
(3) ใช้น้ำชาร้อน
(4) ใช้น้ำสะอาดตามอุณหภูมิห้อง
(5) ใช้น้ำผลไม้ตามฤดูกาล
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แนวปฏิบัติของผู้ประสานงานหากต้องเตรียมเครื่องดื่มให้กับผู้บรรยายที่ไม่มี การกําหนดไว้ คือ ควรจัดเตรียมน้ำสะอาดตามอุณหภูมิห้อง เพื่อช่วยรักษาน้ําเสียงให้แจ่มใสกังวานชัดเจน
89. การพากย์กีฬาแข่งขันฟุตบอลซึ่งเป็นการถ่ายทอดสด เป็นการพูดลักษณะใด
(1) ท่องจํา
(2) อ่านจากต้นฉบับ
(3) พูดปากเปล่าโดยไม่มีการเตรียม
(4) พูดปากเปล่าโดยมีการฝึกซ้อม
(5) พูดโดยกําหนดวัตถุประสงค์ไว้ล่วงหน้า
ตอบ 3 หน้า 89, (คําบรรยาย) การพูดปากเปล่าโดยไม่มีการเตรียมล่วงหน้า (การพูดโดยกะทันหัน) เช่น การพากย์กีฬามวย ฟุตบอล หรือเรือยาว, การกล่าวทักทายเมื่อเผอิญได้พบกัน, การตอบ ปัญหาบางประการ ฯลฯ มีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้
1. พยายามควบคุมสติไว้ให้ได้ ไม่ต้องรีบตอบ และประสานสายตากับผู้ฟังเสมอ
2. ใช้ปัญญาวิเคราะห์ หรือใช้ปฏิภาณไหวพริบให้มากที่สุด
3. พยายามนึกถึงโครงสร้างของการพูด
4. ฝึกซ้อมตอบคําถามในใจในเรื่องที่เตรียมได้
5. พูดหรือตอบคําถามให้สั้น กระชับ มีประเด็น และมีความหมายชัดเจน หากไม่แน่ใจใน ประเด็นคําถามก็อาจขอให้ผู้ถามทวนคําถามเพื่อความแน่นอน หรือนัดหมายให้กลับมา ถามใหม่อีกครั้ง หากไม่สามารถตอบคําถามนั้นได้
90. การวิเคราะห์ถึงจํานวนผู้ชม – ผู้ฟัง มีผลต่อ……..โดยตรง
(1) การกําหนดวัตถุประสงค์
(2) การจัดทําวาทนิพนธ์
(3) สถานที่และอุปกรณ์
(4) การประมวลผลข้อมูล
(5) การแต่งกายให้ถูกต้องตามกาลเทศะตอบ 3 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์จํานวนหรือขนาดของผู้ชม ผู้ฟังจะทําให้ผู้พูดรู้ว่ากลุ่มผู้ฟังนั้น ๆ มีขนาดเล็กหรือใหญ่ มีพื้นที่และสถานที่เพียงพอหรือไม่ในการบรรจุผู้ฟัง เพราะขนาดผู้ฟังกับ สถานที่มีความสัมพันธ์กัน นอกจากนี้ยังทําให้ผู้พูดสามารถเตรียมวิธีการพูด รูปแบบการพูดและอุปกรณ์เครื่องมือประกอบการพูดที่เหมาะสมได้อีกด้วย
91 นอกจากการเตรียมตัวไม่พร้อมแล้ว ความตื่นเต้นในเวทีมักจะเกิดจาก
(1) ขนาดห้องประชุม
(2) ขาดการประสานงาน
(3) แต่งกายผิดกาลเทศะ
(4) ค่าตอบแทนการพูดที่มากเกินจริง
(5) อุปกรณ์ไม่พร้อมหรืออยู่ในสภาพชํารุด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 83. ประกอบ
92. ข้อใดแสดงออกถึงความสมดุลในกระบวนการพูด
(1) พูดเสนอความสามารถของตนเองหลังจากที่คนอื่นอภิปรายเสร็จสิ้นไปแล้ว
(2) เปิดช่องทางให้แสดงความเห็น มีการสนทนาโต้ตอบตรงไปตรงมา
(3) กล่าวตามยถากรรมปล่อยวางทุกสิ่ง เพื่อแสดงออกถึงความเป็นกลางทางความคิด
(4) ใช้วาจาอ่อนหวานโน้มน้าวใจ โดยไม่เร่งเร้าหรือแสดงอาการกดดัน
(5) นําเสนอข้อเท็จจริงพร้อมไปกับข่าวลือ หรือข้อความอันเป็นเท็จด้วยตนเอง
ตอบ 2 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 72. ประกอบ) ความสมดุลในกระบวนการพูด คือ การเปิด ช่องทางให้คู่สื่อสารแสดงความคิดเห็นหรือเปิดเผยข้อมูลระหว่างกันและกัน โดยมีการสนทนา โต้ตอบอย่างตรงไปตรงมา จนเกิดบรรยากาศที่ดีในการสื่อสาร
93. ข้อใดแตกต่างจากการพูดในข้ออื่นหากพิจารณาจากสาระตามวัตถุประสงค์
(1) โฆษณาเพื่อขายสินค้า
(2) หาเสียงเลือกตั้ง
(3) รณรงค์ต่อต้านคอร์รัปชั่น
(4) เชิญชวนบริจาคอวัยวะ
(5) สอนชาวบ้านให้พึ่งพาตนเอง
ตอบ 5 หน้า 93 – 96, (คําบรรยาย) การพูดเพื่อชักจูงใจ เป็นการนําเสนอข้อมูลข่าวสารเพื่อให้เกิด การเปลี่ยนพฤติกรรม การกระทํา ความเชื่อ หรือทัศนคติ โดยต้องอาศัยหลักการที่สําคัญ คือ การสร้างเกณฑ์ทางใจหรืออิทธิพลเหนือจิตใจด้วยข้อมูลและการแสดงออก ซึ่งตัวอย่างของการ พูดชักจูงใจ เช่น การโฆษณาขายสินค้า, การหาเสียงเลือกตั้ง, การรณรงค์ต่อต้านคอร์รัปชั่น การเชิญชวนบริจาคอวัยวะ ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้อ 5 เป็นการพูดเพื่อให้ความรู้)
94. การพูดเป็นการสื่อสารที่เน้นการแสดงออกอย่างน้อย 2 ด้าน คือ
(1) บุคคล – ตัวตน
(2) ตัวตน – วาจา
(3) วาจา – ภาษา
(4) ภาษา – ทักษะ
(5) ทักษะ – แนวคิด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ
95. ในกรณีที่ถูกซักถามด้วยคําตอบที่ไม่ได้มีการเตรียมมา และไม่สามารถตอบคําถามนั้นได้ วิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือ
(1) นัดกลับมาถามใหม่
(2) ขอโทษที่ทําให้ผิดหวัง
(3) แก้ตัวว่าไม่พร้อม
(4) ย้อนถามว่ารู้มาจากไหน
(5) อยู่เฉย ๆ แล้วชวนสนทนาเรื่องอื่นไปก่อน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 89. ประกอบ
96. หากพิจารณาจากสาระตามวัตถุประสงค์ ข้อใดไม่เข้าพวก
(1) อภิปราย
(2) เสวนา
(3) สนทนา
(4) ให้โอวาท
(5) ประชุมโต๊ะกลม
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การพูดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ และปรึกษาหารือ ระหว่างกัน เช่น การอภิปราย การเสวนา การสัมมนา การสนทนา การประชุมโต๊ะกลม ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้อ 4 เป็นการพูดเพื่อให้ความรู้
97. หลักการสําคัญของการพูดเพื่อชักจูงใจ คือ
(1) สร้างอิทธิพลเหนือจิตใจด้วยข้อมูลและการแสดงออก
(2) ทําตามหลักการหรือวิธีการที่ถูกต้องจึงจะได้ผล
(3) เร่งเร้าตัดสินใจโดยสร้างข้อจํากัดด้านเวลา
(4) สื่อสารด้วยข้อมูลที่ดีให้มีการตีความหมายในเชิงบวก
(5) ทําให้หลงเชื่อคล้อยตามกระแสสังคม ชิงความเป็นผู้นําในแวดวง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 93. ประกอบ
98. ผลของการชักจูงใจจะมีมาก – น้อย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับระดับของ
(1) ความเชื่อมั่น
(2) ความเชื่อถือ
(3) ความเชื่อมือ
(4) ความเชื่อใจ
(5) เชื่อความเป็นไป
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ผลของการชักจูงใจจะมีระดับมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ
1. ความเชื่อมั่น
2. ความเชื่อถือ
3. ความเชื่อใจ
4. การเชื่อความเป็นไป
99. ข้อใดไม่เป็นลักษณะของการกล่าวคํานําที่ดี
(1) มีเนื้อหาเร้าใจ
(2) สรุปสิ่งที่พูดเอาไว้ให้หมด
(3) โยงเข้าสู่ข่าวสําคัญ
(4) เสนอแนวคิดรวบยอดของเรื่อง
(5) ปูพื้นเหตุการณ์เอาไว้ก่อน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 28. ประกอบ
100. การพูดต่างจากการสื่อสารอื่น ๆ ที่
(1) การเข้าถึงปฏิกิริยาตอบกลับทันที
(2) มีการใช้ทักษะของบุคคล
(3) ปราศจากสื่อและช่องทางอื่น
(4) สามารถดําเนินการได้เพียงลําพัง
(5) ให้ความสําคัญกับมนุษย์ในฐานะผู้สื่อสาร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 50. ประกอบ