การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1450 (MCS 1400) การกระจายเสียงและการแพร่ภาพ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1. แนวคิดหน้าที่ของสื่อมวลชนที่มีพื้นฐานมาจากความต้องการขั้นพื้นฐานในการสื่อสารของมนุษย์หมายถึงข้อใด
(1) แนวคิดของลาสเวลล์และไรท์
(2) แนวคิดของเดนิส แมคเควล
(3) แนวคิดของวิลเบอร์ แซรมม์
(4) แนวคิดของพอล ลาซาร์สเฟลด์
ตอบ 1 หน้า 88 – 89, 100, คําบรรยาย) หน้าที่ของสื่อมวลชนตามแนวคิดของลาสเวลล์และไรท์ นับเป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย เพราะมีพื้นฐานมาจากความต้องการขั้น พื้นฐานในการสื่อสารของมนุษย์ ดังจะเห็นได้จากเนื้อหาของสื่อมวลชนที่จําแนกออกมานั้น สอดคล้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนในการให้ข่าวสาร (ข่าว) การให้ความรู้ (ความรู้) การชักจูงใจ (ความคิดเห็นและโฆษณา) และการให้ความบันเทิงแก่ประชาชน
2.สถานีโทรทัศน์ใดที่มีใบอนุญาตประเภทบริการสาธารณะ
(1) สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
(2) สถานีวิทยุโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
(3) สถานีวิทยุโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี
(4) สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) สถานีวิทยุโทรทัศน์ที่มีใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิทัลประเภทบริการ สาธารณะ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายเดิมและเป็นหน่วยงานของรัฐ ได้แก่ ช่อง 5, ช่อง 11 และ Thai PBS
ข้อ 3 – 6. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) หนังสือพิมพ์
(2) วิทยุกระจายเสียง
(3) วิทยุโทรทัศน์
(4) สื่อออนไลน์
3. มีรายได้จากการซื้อสื่อโฆษณามากที่สุดในปี พ.ศ. 2559
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) บริษัทวิจัย AC Nielsen ได้จัดทําตารางภาพรวมของการซื้อสื่อโฆษณาของ ผู้ประกอบการในประเทศไทยระหว่างเดือนมกราคม – กันยายน พ.ศ. 2559 โดยเรียงลําดับ สื่อที่มีรายได้จากการซื้อสื่อโฆษณามากที่สุดไปน้อยที่สุดไว้ดังนี้
1. วิทยุโทรทัศน์ 62,850 ล้านบาท
2. หนังสือพิมพ์ 10,738 ล้านบาท
3. สื่อออนไลน์ 7,327 ล้านบาท
4. วิทยุกระจายเสียง 4,662 ล้านบาท
5. นิตยสาร 2,473 ล้านบาท ฯลฯ
4. มีสัดส่วนค่าซื้อโฆษณาเพิ่มขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 จนถึงปัจจุบัน
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) สื่อออนไลน์หรือดิจิทัล นับเป็นสื่อใหม่ที่มีอัตราการเจริญเติบโตและขยายตัว อย่างรวดเร็วที่สุดของมนุษยชาติ โดยมีสัดส่วนค่าซื้อโฆษณาเพิ่มขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 และยังขยายตัวต่อเนื่องทุก ๆ ปี จวบจนถึงปัจจุบัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2560 สื่อออนไลน์ก็ได้ ก้าวขึ้นมาเป็นสื่อโฆษณาอันดับ 2 รองจากสื่อวิทยุโทรทัศน์ที่ครองเม็ดเงินโฆษณาสูงสุด
5. มีสัดส่วนค่าซื้อโฆษณาน้อยที่สุดในปี พ.ศ. 2559
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ
6. มีอัตราการเจริญเติบโตและขยายตัวอย่างรวดเร็วที่สุดของมนุษยชาติ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ
7.สถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลช่องใด เป็นสถานีรายการทั่วไป
(1) ช่อง Nation TV
(2) ช่องไทยรัฐทีวี
(3) ช่อง Voice TV
(4) ช่องไทยพีบีเอส
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ช่อง Thairath TV ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิทัลประเภทบริการ ธุรกิจ รูปแบบรายการทั่วไป (Variety) ในระบบ HD ความคมชัดสูง (ส่วน Nation TV และ Voice TV เป็นช่องข่าวสารและสาระ, Thai PBS เป็นช่องสาธารณะ)
8 สถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลช่องใด เป็นระบบ HD ความคมชัดสูง
(1) ช่องอัมรินทร์ทีวี
(2) ช่อง NBT
(3) ช่อง Mono 29
(4) ช่อง Workpoint
ตอบ 1. 2 (ความรู้ทั่วไป) สถานีวิทยุโทรทัศน์ดิจิทัลที่เป็นระบบ HD ความคมชัดสูง ได้แก่ ช่อง CH5,
NBT, Thai PBS, MCOT, ONE, Thairath TV, 3 HD, Amarin TV, BBTV CH7 และ PPTV (ส่วนช่อง Mono 29 และ Workpoint เป็นระบบ SD ความคมชัดระดับปกติ)
9 สถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลช่องใดที่มีคําสั่งให้ปิดสถานี เพราะมีปัญหาการจ่ายค่าสัมปทานใบอนุญาต
(1) ช่อง TNN 24
(2) ช่องไทยทีวี
(3) ช่องสปริงนิวส์
(4) ช่องไบร์ททีวี
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ช่อง THV (ไทยทีวี) และ LOCA เป็น 2 ช่องทีวีดิจิทัลที่บริษัท ไทยทีวี จํากัด เป็นผู้ได้รับสัมปทาน และไม่ยอมนําเงินชําระค่าใบอนุญาตทีวีดิจิทัลงวดที่ 2 ตามกําหนด ทําให้ ถูกระงับสัญญาณออกอากาศ (ปิดสถานี) ชั่วคราว ตามคําสั่งปกครองของสํานักงาน กสทช. โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
10. การแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชนที่ส่งเสริมการยึดติดกับของเก่า ทําตามกฎเกณฑ์หรือระเบียบของ สังคม (Conformism) ตรงกับการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนด้านใด
(1) ผลดีต่อสังคม
(2) ผลเสียต่อสังคม
(3) ผลดีต่อบุคคล
(4) ผลเสียต่อบุคคล
ตอบ 2 หน้า 89, 92 – 93 หน้าที่แสดงความคิดเห็นหรือการชักจูงใจตามแนวคิดของไรท์ (Wright) มีผลเสียต่อสังคม คือ การแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชนอาจมีผลต่อการสกัดกั้นการพัฒนา แต่ส่งเสริมการยึดติดกับของเก่า ทําตามกฎเกณฑ์หรือระเบียบของสังคม (Conformism)
11. ศักยภาพของสื่อใดตรงกับคํากล่าวที่ว่า “Seeing is believing”
(1) วิทยุกระจายเสียง
(2) วิทยุโทรทัศน์
(3) หนังสือพิมพ์
(4) นิตยสาร
ตอบ 2 หน้า 5 ศักยภาพของวิทยุโทรทัศน์ตรงกับคํากล่าวที่ว่า “Seeing is believing” หมายถึง โทรทัศน์ได้สร้างมายาภาพลวงตาให้เราเห็นสิ่งที่สื่อสร้างขึ้นว่าเป็นของจริง ดังนั้นผู้รับสาร จึงต้องอ่านสื่อให้ออกว่าเป็นเทคนิคของการผลิตไม่ใช่ของจริง
12. แนวคิดเกี่ยวกับความสําคัญของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตรงกับข้อใด
(1) ระดับบุคคล ระดับสังคม
(2) ระดับสังคม ระดับโลกาภิวัตน์
(3) ระดับสังคม ระดับโลก
(4) ระดับบุคคล ระดับสังคม ระดับโลก
ตอบ 4 หน้า 7 แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับความสําคัญของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ สามารถจําแนก
ออกได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้
1. ระดับบุคคล
2. ระดับสังคมและประเทศ
3. ระดับโลก
13. สภาพสังคมในยุโรปช่วงปลายศตวรรษที่ 19 มีการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญหลายประการที่นําไปสู่การพัฒนาระบบการสื่อสารมวลชนประเภทใด
(1) วิทยุโทรเลข
(2) วิทยุโทรศัพท์
(3) วิทยุกระจายเสียง
(4) วิทยุโทรทัศน์
ตอบ 3 หน้า 16 สภาพสังคมในยุโรปช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ได้เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการปฏิวัติ อุตสาหกรรมและการขยายตัวทางการค้า ทําให้ประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปมีความจําเป็นต้อง แสวงหาอาณานิคม ส่งผลให้เกิดการค้นคว้าทดลองทางด้านคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือคลื่นวิทยุ เพื่อเป็นพาหะส่งข่าวสารไปได้เป็นระยะทางไกล ๆ โดยไม่ต้องใช้สาย (Wireless) จนนําไปสู่ การพัฒนาวิทยุกระจายเสียงในเวลาต่อมา
14. สื่อใดที่ทําให้จุดมุ่งหมายของการค้นคว้าเพื่อการศึกษากลายเป็นการค้นคว้าเพื่อการธุรกิจ
(1) โทรเลข
(2) โทรศัพท์
(3) วิทยุกระจายเสียง
(4) วิทยุโทรทัศน์
ตอบ 4 หน้า 25 การค้นคว้าการส่งวิทยุโทรทัศน์ทํากันอย่างกว้างขวางทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ทําให้จุดมุ่งหมายของการค้นคว้าเพื่อการศึกษากลายเป็นการค้นคว้าเพื่อการธุรกิจ โดยจะมี บริษัทธุรกิจทางด้านวิทยุโทรทัศน์เกิดขึ้นตามมาหลายแห่งเพื่อแข่งขันค้นคว้าต่อไป
15. ระบบการเป็นเจ้าของกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทย หมายถึงข้อใด
(1) รัฐเป็นเจ้าของทั้งหมด
(2) เอกชนเป็นเจ้าของทั้งหมด
(3) เป็นของรัฐและเอกชน
(4) เป็นของรัฐและภาคประชาชน
ตอบ 3, 4 หน้า 136, (คําบรรยาย) ระบบการเป็นเจ้าของกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทยในอดีต ถือเป็นกิจการผูกขาดโดยรัฐหรือรัฐเป็นเจ้าของทั้งหมด แต่ในปัจจุบันเมื่อมีการปฏิรูปสื่อ เพื่อให้เป็นสื่อสาธารณะอย่างแท้จริงตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 จึงทําให้ทั้งภาครัฐภาคเอกชน และภาคประชาชนสามารถเป็นเจ้าของกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทยได้
16. เหตุการณ์ข้อใดเหมาะกับการถ่ายทอดผ่านทางวิทยุกระจายเสียงมากที่สุด
(1) การบรรยายวิชาเคมี
(2) การสอนทําอาหารไทย
(3) การสอนซ่อมคอมพิวเตอร์
(4) การอภิปรายในรัฐสภา
ตอบ 4 (คําบรรยาย) วิทยุกระจายเสียงจะให้ประสิทธิผลในการจูงใจและเปลี่ยนทัศนคติได้ดีที่สุด นอกจากนี้วิทยุยังถือเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในแง่ของการสร้างความคิดคํานึงหรือ
จินตนาการ เมื่อใช้ถ่ายทอดหรือเสนอเนื้อหาสาระที่เป็นนามธรรม คือ
1. ข้อเท็จจริง (Factual Information) เช่น ข่าวต่าง ๆ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร การอภิปรายในรัฐสภา ฯลฯ
2. แนวปฏิบัติ (Procedures) เช่น อุดมการณ์หรือแนวคิด การเล่านิทานหรือละคร ฯลฯ
3. ทัศนคติที่พึงประสงค์ (Desirable Attitudes) เช่น การบรรยายธรรม ฯลฯ
4. การจูงใจให้คิดหรือทํา (Motivation) เช่น การโฆษณาชวนเชื่อ ฯลฯ
17. ผลดีในการทําหน้าที่ของสื่อมวลชนต่อการให้ศักดิ์ศรีแก่บุคคล ตรงกับบทบาทหน้าที่ข้อใด
(1) หน้าที่ในการให้ข่าวสาร
(2) หน้าที่ในการให้ความคิดเห็น
(3) หน้าที่ในการให้การศึกษา
(4) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง
ตอบ 1 หน้า 89 – 91 หน้าที่ในการให้ข่าวสารตามแนวความคิดของชาร์ลส์ อาร์. ไรท์ (Charles R. Wright) ส่งผลดีต่อบุคคล ดังนี้
1. ช่วยเตือนภัยและเป็นเครื่องมือในการทํางานของบุคคล
2. เป็นเครื่องมือในการดําเนินชีวิตประจําวัน
3. มีหน้าที่ในการให้ศักดิ์ศรีแก่บุคคล
4. มีหน้าที่ในการให้สถานภาพทางสังคม
5. เป็นการควบคุมศีลธรรมจรรยาของบุคคล
18. หน้าที่ในการระดมความร่วมมือตามแนวคิดของเดนิส แมคเควล หมายถึงข้อใด
(1) การมีกิริยาสัมพันธ์ทางสังคม
(2) การรณรงค์เพื่อเป้าหมายของสังคม
(3) การสร้างภาพพจน์ และดึงดูดความสนใจ
(4) การให้แบบอย่างของบุคคลที่มีคุณค่า
ตอบ 2 หน้า 95 – 96 เดนิส แมคเควล (Denis McQuail) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของสื่อมวลชนตาม แนวความคิดของสังคมประการหนึ่ง คือ หน้าที่ในการระดมความร่วมมือ (Mobilization) ได้แก่ สื่อมวลชนช่วยในการรณรงค์เพื่อเป้าหมายของสังคมในด้านการเมือง การสงคราม การพัฒนาเศรษฐกิจ การทํางาน และศาสนา
19. หน้าที่ในการแสดงออก (Expressing) ตามแนวคิดของเดนิส แมคเควล หมายถึงข้อใด
(1) วิพากษ์วิจารณ์คู่แข่งขององค์กร
(2) พัฒนาสํานึกในการเป็นสมาชิกองค์กร
(3) พยายามจูงใจและเปลี่ยนพฤติกรรมของคน
(4) แสดงหรือสะท้อนประชามติ
ตอบ 2หน้า 95 – 97 เดนิส แมคเควล (Denis McQuail) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของสื่อมวล แนวความคิดของผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเผยแพร่ประการหนึ่ง คือ หน้าที่ในการแสดงออก (Expression) ได้แก่
1. ให้การสนับสนุนความเชื่อ ค่านิยม อุดมการณ์ และหลักการขององค์กร
2. ช่วยพัฒนาสํานึกในการเป็นสมาชิกขององค์กร เช่น พรรคการเมือง ชนชั้นและกลุ่ม
20. ปัจจัยเสริมที่ทําให้สื่อมวลชนมีอิทธิพลทางอ้อม หมายถึงข้อใด
(1) การสามารถเข้าถึงประชาชนจํานวนมาก
(2) การนําเสนอเรื่องราว กิจกรรมซ้ํา ๆ บ่อย ๆ
(3) ความมีใจโน้มเอียงของผู้รับสาร
(4) ระดับความต้องการข้อมูลข่าวสารจําเป็นต้องพึ่งพามาก
ตอบ 3 หน้า 106 – 107 แนวคิดที่มีความเชื่อว่า วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์มีอิทธิพล ต่อผู้รับสารทางอ้อม โดยอาศัยปัจจัยเสริมต่าง ๆ ได้แก่
1. ความมีใจโน้มเอียงของผู้รับสาร
2. กระบวนการเลือกรับสาร
3. อิทธิพลของบุคคล และผู้นําความคิดเห็น
4. ระดับความต้องการข้อมูลข่าวสาร ซึ่งหากบุคคลต้องพึ่งพาสื่อมากก็เท่ากับว่าสื่อมีอิทธิพล แต่ถ้าบุคคลพึ่งพาสื่อน้อยหรือไม่ต้องพึ่งพาเลย สื่อย่อมไม่มีอิทธิพลใด ๆ ต่อบุคคล
ข้อ 21. – 27. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การควบคุมกันเอง
(2) การควบคุมโดยรัฐ
(3) การควบคุมจากบุคคลภายนอก
(4) การควบคุมจากสังคม
21. การจัดระดับความนิยมของรายการ (Rating)
ตอบ 3 หน้า 125 – 127 โครงสร้างในการควบคุมกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย ดังนี้
1. การควบคุมโดยรัฐ คือ การจัดตั้งสถาบันขึ้นมาควบคุม เช่น กสทช., การออกกฎหมาย ที่บังคับใช้โดยตรง, การออกกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อบังคับและ หลักเกณฑ์ที่ออกมาในรูปของหนังสือเวียนและคําสั่งอื่น ๆ ฯลฯ
2. การควบคุมกันเอง ได้แก่ การมีจริยธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพสื่อสารมวลชน การจัดตั้งสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ เช่น สมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ฯลฯ
3. การควบคุมจากบุคคลภายนอก ได้แก่ ผู้ชมและผู้ฟัง, ผู้อุปถัมภ์รายการ ซึ่งเป็นผู้กําหนด ในการซื้อเวลาโฆษณา โดยอาศัยการจัดระดับความนิยมของรายการ (Rating) จากบริษัท วิจัย เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ, กลุ่มผลักดันทางสังคม ได้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อพัฒนารายการ ให้ดีและมีประโยชน์ต่อสาธารณชน เช่น โครงการสื่อเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชน ของมูลนิธิ เพื่อการพัฒนาเด็ก ฯลฯ
22. จริยธรรม จรรยาบรรณ วิชาชีพ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ
23. โครงการสื่อเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ
24. ผู้อุปถัมภ์รายการ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ
25. กฎหมายและระเบียบต่าง ๆ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ
26. กลุ่มผลักดันทางสังคม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ
27. สมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ
28. การพัฒนาของเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนที่กล่าวได้ว่าเป็นยุคคอมพิวนิเคชั่น (Compunication)
หมายถึงข้อใด
(1) เคเบิลทีวี
(2) โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม
(3) วิดีโอออนดีมานด์
(4) วิดีโอเทปและเทปคลาสเซ็ท
ตอบ 3 หน้า 28 การพัฒนาของเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนในศตวรรษที่ 20 ซึ่งกําลังก้าวเข้าสู่ศตวรรษ
ที่ 21 อาจแบ่งเป็น 3 ยุคใหญ่ ๆ ดังนี้
1. ยุคอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ สื่อวิทยุและโทรทัศน์ เทปคลาสเซ็ท และวิดีโอเทป
2. ยุคคอมพิวเตอร์ ได้แก่ สื่อวิทยุและโทรทัศน์ที่อาศัยเครื่องมือคอมพิวเตอร์ เคเบิลทีวี และโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ซึ่งเป็นสื่อทางเดียวเป็นส่วนใหญ่
3. ยุคคอมพิวนิเคชั่น (Compunication) คือ สื่อที่ปรับปรุงขึ้นในยุคที่ 1 และ 2 โดยเพิ่มมิติการสื่อสารสองทางเข้ามา ได้แก่ วิดีโอออนดีมานด์
29. ความสําคัญของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในระดับสังคม ตรงกับข้อใด
(1) การเสริมสร้างสติปัญญาให้แก่มนุษย์
(2) สื่อกลางในการให้สาระข้อวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมือง
(3) เสนอความคืบหน้าและความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
(4) เป็นเครื่องมือที่สําคัญต่อการสื่อสารของโลก
ตอบ 2 3 หน้า 7, 9 – 12 ความสําคัญของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในระดับสังคม และประเทศ มีอยู่ 4 ประการ ดังนี้
1. การพัฒนาทางการศึกษา คือ การเสนอรายการเพื่อสอนหรือเสริมสร้างความรู้โดยตรง
2. การพัฒนาทางการเมือง คือ การเป็นสื่อกลางในการให้สาระข้อวิพากษ์วิจารณ์ และ แสดงความคิดเห็นในทางการเมืองได้อย่างทั่วถึงและกว้างขวาง
3. การพัฒนาชนบท เช่น การนําเสนอรายการวิทยุเพื่อการเกษตร เพื่องานอาชีพที่สําคัญ ๆ เพื่อการศึกษา และเพื่อสุขภาพอนามัย
4. การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม คือ การเสนอความคืบหน้าและความเปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิจและสังคม
30. พัฒนาการของการคิดค้นวิธีการติดต่อสื่อสารไปสู่วิทยุกระจายเสียง ตรงกับข้อใด
(1) โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุโทรศัพท์ วิทยุโทรเลข
(2) โทรศัพท์ โทรเลข วิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์
(3) โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์
(4) โทรศัพท์ โทรเลข วิทยุโทรศัพท์ วิทยุโทรเลข
ตอบ 3 หน้า 16 นักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นและพัฒนาวิธีการติดต่อสื่อสารแบบใหม่ที่เหมาะสมและ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ ไปจนถึงวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในปัจจุบัน
31. นักวิทยาศาสตร์ที่สามารถส่งเสียงพูดไปกับคลื่นวิทยุได้สําเร็จ คือ
(1) เจมส์ คลาก แมกซ์เวลล์
(2) ถูกลิเอลโม มาร์โคนี
(3) เฮนรี่ ซี. ดันวูดดี
(4) เรจินัลด์ เอ. เฟสเสนเดน
ตอบ 4 หน้า 18 เรจินัลด์ เอ. เฟสเสนเดน (Reginald A. Fessenden) ถือเป็นนักวิทยาศาสตร์ ชาวอเมริกันที่ประสบความสําเร็จในการทดลองส่งเสียงพูดไปกับคลื่นวิทยุในคืนวันคริสต์มาสปี พ.ศ. 2449 โดยเขาได้กล่าวอวยพรคริสต์มาสไปที่เรือ ซึ่งแล่นอยู่บริเวณฝั่งบรานท์ร็อค รัฐแมสซาชูเซตส์
32. การพัฒนาเครื่องรับวิทยุกระจายเสียงที่ทําให้กิจการวิทยุกระจายเสียงแพร่หลายและก้าวหน้าไปอย่าง
รวดเร็ว ตรงกับข้อใด
(1) เครื่องรับวิทยุแบบเครื่องแร่
(2) เครื่องรับวิทยุใช้หลอดสุญญากาศ
(3) เครื่องรับวิทยุทรานซิสเตอร์
(4) เครื่องรับวิทยุเฮเทอโรดายน์
ตอบ 3หน้า 19 ในปี พ.ศ. 2490 นักวิทยาศาสตร์ของห้องทดลองเบล (Bell – laboratories) ได้ประสบผลสําเร็จในการทดลองประดิษฐ์เครื่องรับวิทยุทรานซิสเตอร์ขึ้นใช้แทนเครื่องรับวิทยุชนิดใช้หลอดสุญญากาศ ทําให้เครื่องรับวิทยุมีขนาดเล็กลงและใช้แบตเตอรี่แทนไฟฟ้า กระแสสลับที่ใช้ตามบ้านเรือน จึงสามารถพกพาไปได้ทุกหนทุกแห่ง และนับตั้งแต่นั้นกิจการ วิทยุกระจายเสียงในสหรัฐฯ และยุโรปจึงได้พัฒนาจนแพร่หลายและก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
33. สื่อใดที่มีบทบาทอย่างมากในการโฆษณาชวนเชื่อระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2
(1) หนังสือพิมพ์
(2) นิตยสาร
(3) วิทยุกระจายเสียง
(4) วิทยุโทรทัศน์
ตอบ 3 หน้า 21 วิทยุกระจายเสียงนับเป็นสื่อที่มีบทบาทอย่างมากในการโฆษณาชวนเชื่อระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 เพราะได้กลายเป็นเวทีการยุทธ์สําหรับมหาชนที่ไม่ได้อยู่ใน สนามรบ ซึ่งการระดมมติของกองหลังเช่นนี้มีนัยในการสร้างลัทธิชาตินิยมที่ผูกติดกับสื่อวิทยุ ต่อมาเป็นเวลานาน นอกจากนี้วิทยุยังเป็นสื่อของวัฒนธรรมโดยเฉพาะด้านดนตรีและเพลง
34. การอนุญาตให้ประชาชนมีเครื่องรับวิทยุกระจายเสียงได้มาจากกฎหมายฉบับใด
(1) พ.ร.บ. วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2498
(2) พ.ร.บ. วิทยุโทรเลข พ.ศ. 2473
(3) พ.ร.บ. การกระจายเสียงและการแพร่ภาพ พ.ศ. 2475
(4) พ.ร.บ. กิจการวิทยุและโทรทัศน์ พ.ศ. 2480
ตอบ 2 หน้า 34 – 35 ในสมัยรัชกาลที่ 7 รัฐบาลได้ประกาศให้ใช้ พ.ร.บ. วิทยุโทรเลข พ.ศ. 2473 ซึ่งมีหลักการสําคัญ คือ อนุญาตให้ประชาชนมีเครื่องรับวิทยุกระจายเสียงได้ เพราะแต่เดิมนั้น รัฐบาลไม่อนุญาตให้ประชาชนมีเครื่องรับวิทยุไว้ในครอบครอง
35. สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเปลี่ยนชื่อมาจากสถานีใด
(1) สถานีวิทยุกรุงเทพที่ศาลาแดง 7 พี่เจ
(2) สถานีวิทยุกรุงเทพที่วังพญาไท
(3) สถานีวิทยุ 1 ปณ.
(4) สถานีวิทยุบูรฉัตรไชยากร
ตอบ 1 หน้า 36 หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท ได้ย้ายไปอยู่รวมกับสถานีวิทยุที่ศาลาแดง และส่งกระจายเสียงโดยใช้ชื่อสถานีแห่งใหม่นี้ว่า “สถานีวิทยุกรุงเทพที่ศาลาแดง 7 พี่เจ” ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 ต่อมาก็ได้ เปลี่ยนชื่อเป็น “สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย” ซึ่งปัจจุบันอยู่ภายในสังกัดของ กรมประชาสัมพันธ์
36. สํานักงานโฆษณาการ เป็นชื่อเดิมของหน่วยงานใด
(1) กรมไปรษณีย์โทรเลข
(2) กรมประชาสัมพันธ์
(3) กรมสารนิเทศ
(4) กรมการค้าภายใน
ตอบ 2 หน้า 36, (คําบรรยาย) กรมประชาสัมพันธ์มีชื่อเดิมว่า “กรมโฆษณาการ” จากนั้นในปี พ.ศ. 2476 รัฐบาลได้จัดตั้ง “สํานักงานโฆษณาการ” ขึ้น ซึ่งต่อมาก็ได้ยกฐานะขึ้นเป็นกรม ใช้ชื่อว่า “กรมโฆษณาการ” ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อมาเป็น “กรมประชาสัมพันธ์” ดังเช่นในปัจจุบัน
37. หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สื่อมวลชนที่มีบทบาทอย่างมากในทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นส่วนหนึ่งในการ สื่อสาระของระบบทุนนิยมที่มีประสิทธิภาพ หมายถึง
(1) หนังสือพิมพ์
(2) วิทยุกระจายเสียง
(3) วิทยุโทรทัศน์
(4) ภาพยนตร์
ตอบ 3 หน้า 26 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 วิทยุโทรทัศน์นับเป็นสื่อมวลชนที่มีบทบาทอย่างมาก ในทางเศรษฐกิจและสังคม โดยการใช้สื่อโทรทัศน์ในระยะนั้นประกอบไปด้วย รายการบันเทิง เช่น ละคร ภาพยนตร์ ดนตรี การแข่งขันตอบปัญหาชิงรางวัลหรือเกมโชว์ และรายการโฆษณา อันเป็นรากฐานของลัทธิบริโภคนิยมสมัยใหม่ ดังนั้นวิทยุโทรทัศน์จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งในการ สื่อสาระของระบบทุนนิยม เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการกระจายและบริโภคสินค้าเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ
38. การขยายงานวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ออกไปสู่ภูมิภาค เกิดขึ้นในรัฐบาลใด
(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(2) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
(3) จอมพลถนอม กิติขจร
(4) จอมพลประภาส จารุเสถียร
ตอบ 2 หน้า 37 ในปี พ.ศ. 2502 คณะรัฐบาลที่มีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ให้ กรมประชาสัมพันธ์ขยายงานวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ออกไปสู่ภูมิภาค โดยมีการ จัดตั้งศูนย์ประชาสัมพันธ์เขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ลําปาง สงขลา และสุราษฎร์ธานี เพื่อให้ กํากับดูแลงานวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในส่วนภูมิภาค
39. สื่อมวลชนที่เป็นรากฐานของลัทธิบริโภคนิยมสมัยใหม่ หมายถึง
(1) หนังสือพิมพ์
(2) ภาพยนตร์
(3) วิทยุกระจายเสียง
(4) วิทยุโทรทัศน์
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 37. ประกอบ
40. การปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนว่าก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสีย ก่อให้เกิดผลทั้งต่อสังคม บุคคล และกลุ่มเป็นแนวคิดของใคร
(1) ฮาร์โรลด์ ดี. ลาสเวลล์
(3) เดนิส แมคเควส
(2) ชาร์ลส์ อาร์. ไรท์
(4) เบอร์นาด เบเรลสัน
ตอบ 2 หน้า 88 – 89 ชาร์ลส์ อาร์. ไรท์ (Charles R. Wright) ได้อธิบายถึงการปฏิบัติหน้าที่ของ สื่อมวลชนว่าก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสีย ก่อให้เกิดผลทั้งต่อสังคม บุคคล และกลุ่ม
41. ผลเสียของสื่อมวลชน “การทําให้ประชาชนมึนเมา” (Narcotization) ข้อใดไม่ถูก
(1) บุคคลเกิดความเฉยเมย เฉื่อยชา ไม่สนใจในการควบคุมสิ่งแวดล้อม
(2) บุคคลอาจจะใช้เวลามากในการดูดซับข่าวจนกระทั่งตนเองทํางานเพียงเล็กน้อย
(3) บุคคลอาจมีความเชื่อว่า การเป็นคนที่รู้ข่าวสาร คือ การเป็นคนที่กระตือรือร้น
(4) บุคคลอาจเกิดความสันโดษ สนใจเรื่องส่วนตัวของตนมากกว่าสนใจเรื่องของส่วนรวม
ตอบ 4 หน้า 89, 91 หน้าที่ในการให้ข่าวสารของชาร์ลส์ อาร์, ไรท์ (Charles R. Wright) ได้ส่งผลเสีย ต่อบุคคลประการหนึ่ง ได้แก่ การเข้าถึงข่าวสารจากสื่อมวลชนอาจทําให้บุคคลเกิดความเฉยเมย เฉื่อยชา ไม่สนใจในการควบคุมสิ่งแวดล้อม กล่าวคือ บุคคลอาจใช้เวลามากในการดูดซับข่าว จนกระทั่งตนเองทํางานเพียงเล็กน้อย และอาจเชื่อว่า การเป็นคนที่รู้ข่าวสาร คือ การเป็นคน ที่กระตือรือร้น ซึ่งพอล เอฟ. ลาซาร์สเฟลด์ (Paul F. Lazarsfeld) และโรเบิร์ต เค. เมอร์ตัน (Robert K. Merton) ได้เรียกผลเสียของสื่อมวลชนในด้านนี้ว่า “การทําให้ประชาชนมึนเมา” (Narcotization)
42. หน้าที่ในการให้สถานภาพทางสังคม ตรงกับข้อใด
(1) หน้าที่ในการให้ข่าวสาร
(2) หน้าที่ในการแสดงความคิดเห็น
(3) หน้าที่ในการให้การศึกษา
(4) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ
43. ผลเสียของหน้าที่ในการสื่อสารที่ทําให้นักกีฬากลายเป็นนักโฆษณาและนักขายสินค้า ตรงกับข้อใด
(1) หน้าที่ในการให้ข่าวสาร
(2) หน้าที่ในการแสดงความคิดเห็น
(3) หน้าที่ในการให้การศึกษา
(4) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง
ตอบ 4 หน้า 89, 94 – 95 หน้าที่ในการให้ความบันเทิงตามแนวความคิดของชาร์ลส์ อาร์. ไรท์ (Charles R. Wright) ได้ส่งผลเสีย ดังต่อไปนี้
1. ไม่สามารถที่จะยกระดับรสนิยมของประชาชนได้เท่าละครเวทีและวรรณกรรมคลาสสิก
2. ทําให้คุณภาพของศิลปะสูญเสียไป
3. ทําให้นักกีฬากลายเป็นนักโฆษณาและนักขายสินค้า
4. เป็นการทําลายนักกีฬาหน้าใหม่ในวงการกีฬา
44. ผลเสียของหน้าที่ในการสื่อสารที่ลดบทบาทความเป็นส่วนตัวของบุคคลในกระบวนการเรียนรู้สังคม
ตรงกับข้อใด
(1) หน้าที่ในการให้ข่าวสาร
(2) หน้าที่ในการแสดงความคิดเห็น
(3) หน้าที่ในการให้การศึกษา
(4) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง
ตอบ 3หน้า 89, 93 – 94 หน้าที่ในการให้การศึกษาตามแนวความคิดของชาร์ลส์ อาร์, ไรท์ (Charles R. Wright) ได้ส่งผลเสีย คือ สื่อมวลชนลดบทบาทความเป็นส่วนตัวของบุคคล ในกระบวนการเรียนรู้ทางสังคม (Depersonalize the Process of Socialization)
45. การสนับสนุนความเชื่อ ค่านิยม อุดมการณ์ หลักการขององค์กร ตามความคิดของผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับ
การเผยแพร่ ตรงกับหน้าที่ข้อใด
(1) หน้าที่ในการให้ข่าวสาร
(2) หน้าที่ในการตีความ
(3) หน้าที่ในการแสดงออก
(4) หน้าที่ในการระดมความร่วมมือ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ
46. แนวคิดการจัดระบบวิทยุและโทรทัศน์ที่เป็นการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะ หมายถึงข้อใด
(1) ระบบที่รัฐเป็นผู้ให้บริการ
(2) ระบบที่ธุรกิจเอกชนเป็นผู้ให้บริการ
(3) ระบบที่รัฐวิสาหกิจเป็นผู้ให้บริการ
(4) ระบบที่รัฐและธุรกิจเอกชนเป็นผู้ให้บริการ
ตอบ 1หน้า 111 แนวคิดการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะ (Public Service System) หรือระบบ ที่รัฐเป็นผู้ให้บริการ ประกอบด้วย มิติทางการเมืองและเศรษฐกิจควบคู่กัน โดยมีพื้นฐานมาจาก สังคมประชาธิปไตยที่เน้นความเชื่อสังคมนิยมในการที่รัฐจะเข้ามาจัดระบบบริการสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น การคมนาคม ไฟฟ้า ประปา ตลอดจนระบบการสื่อสารโทรคมนาคม
47. แนวคิดการสื่อสารในตลาดเสรี ประกอบด้วย มิติการเมืองและเศรษฐกิจแบบใด
(1) สังคมประชาธิปไตยที่เน้นระบบเศรษฐกิจสังคมนิยม
(2) สังคมประชาธิปไตยที่เน้นระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม
(3) สังคมอํานาจนิยมที่เน้นระบบเศรษฐกิจทุนนิยม
(4) สังคมเผด็จการที่เน้นระบบเศรษฐกิจสังคมนิยม
ตอบ 2 หน้า 111 แนวคิดการสื่อสารในตลาดเสรี (Free Market System) หรือระบบที่ธุรกิจเอกชน เป็นผู้ให้บริการ ประกอบด้วย มิติทางการเมืองและเศรษฐกิจควบคู่กัน โดยมีพื้นฐานมาจาก สังคมประชาธิปไตยที่เน้นระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม
48. เทคโนโลยีในการแพร่ภาพวิทยุโทรทัศน์ที่เป็นสถานีที่ออกอากาศทางคลื่นภาคพื้นดิน ได้แก่
(1) สถานีที่ออกอากาศทางอินเทอร์เน็ต
(2) สถานีที่ออกอากาศทางดาวเทียม
(3) สถานีที่ออกอากาศทางสายเคเบิล
(4) สถานีที่ออกอากาศในระบบ VHF และ UHF
ตอบ 4 หน้า 82 เทคโนโลยีในการแพร่ภาพสถานีวิทยุโทรทัศน์ในโลกปัจจุบันนี้ มีดังนี้
1. สถานีที่ออกอากาศทางคลื่นภาคพื้นดิน (Terrestrial Television หรือ Over – the air) ได้แก่ สถานีที่ออกอากาศในระบบ VHF และระบบ UHF
2. สถานีที่ออกอากาศทางสายเคเบิล (Cable Television)
3. สถานีที่ออกอากาศทางดาวเทียม ได้แก่ สถานีที่ใช้ดาวเทียมเชื่อมสัญญาณ หรือสถานี ที่ออกอากาศด้วยสัญญาณดาวเทียม (Direct Broadcast Satellite : DBS)
4. สถานีที่ออกอากาศทางอินเทอร์เน็ต (Web Television)
49. สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของไทย คือ
(1) สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
(2) สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่ศาลาแดง
(3) สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท
(4) สถานีวิทยุองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย
ตอบ 3 หน้า 34 – 35 (คําบรรยาย) สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นมา มีชื่อเรียกว่า “สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท” ซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดของกรมไปรษณีย์โทรเลข โดยทางราชการได้ทําพิธีเปิดสถานีอย่างเป็นทางการและถ่ายทอดเสียงทางวิทยุเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 (ตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคลในรัชกาลที่ 7) ซึ่งถือเป็น จุดกําเนิดของกิจการวิทยุกระจายเสียงไทย
50. Broadcasting หมายถึงข้อใด
(1) การแพร่ภาพ
(2) การกระจายเสียง
(3) การออกอากาศรายการวิทยุและรายการโทรทัศน์ไปสู่สาธารณชน
(4) การแสดงทางวิทยุและโทรทัศน์เพื่อสาธารณชน
ตอบ 3 หน้า 1 คําว่า “Broadcasting” ในภาษาอังกฤษ หมายถึง การกระจายเสียงและการแพร่ภาพ ในขณะที่สารานุกรมบริแทนนิกาได้ให้ความหมายไว้ว่า “Broadcasting” คือ การออกอากาศ รายการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ไปสู่ผู้รับซึ่งเป็นสาธารณชนทั่วไป
51. จุดกําเนิดของกิจการวิทยุกระจายเสียงไทยเกิดขึ้นเมื่อใด
(1) 25 กุมภาพันธ์ 2473
(2) 20 ธันวาคม 2475
(3) 24 มิถุนายน 2498
(4) 20 สิงหาคม 2500
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ
52. จุดกําเนิดของกิจการวิทยุโทรทัศน์ไทยเกิดขึ้นเมื่อใด
(1) 10 ธันวาคม 2475
(2) 24 มิถุนายน 2498
(3) 25 กุมภาพันธ์ 2473
(4) 20 สิงหาคม 2500
ตอบ 2 หน้า 42, 44 – 45 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม ซึ่งก่อตั้งอยู่ในรูปของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จํากัด (ปัจจุบันก็คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 หรือโมเดิร์นไนน์ทีวี ดําเนินงานโดยบริษัท อ.ส.ม.ท. จํากัด (มหาชน) ในสังกัดของสํานักนายกรัฐมนตรี) โดยมีพิธีเปิดสถานีและออกอากาศแพร่ภาพเป็น วันแรกเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งถือเป็นจุดกําเนิดของกิจการวิทยุโทรทัศน์ไทย
53. การส่งวิทยุกระจายเสียงที่ไม่ต้องใช้คลื่นความถี่เหมือนการออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงทั่วไป
หมายถึงข้อใด
(1) วิทยุกระจายเสียงผ่านอินเทอร์นัล
(2) วิทยุกระจายเสียงผ่านอินฟราเรด
(3) วิทยุกระจายเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต
(4) วิทยุกระจายเสียงผ่านอินทราเน็ต
ตอบ 3หน้า 82 – 83 การส่งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ผ่านอินเทอร์เน็ต จะเป็นการแปลง (Convert) ระบบกระจายเสียงจากระบบ Analog เป็นระบบ Digital โดยไม่ต้องใช้คลื่นความถี่ เหมือนการออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ทั่วไป ซึ่งเมื่อคนต้องการฟังและ ชมก็สามารถ Click เข้าไปที่ Website นั้น ๆ ได้ เรียกว่า Web – Radio และ Web – TV
54 กสทช. หมายถึงอะไร
(1) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
(2) คณะกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ
(3) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
(4) คณะกรรมการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคมแห่งชาติ
ตอบ 3 ด้วยเหตุที่รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2550 (ฉบับปัจจุบัน) มาตรา 47 ได้กําหนดให้มีองค์กรอิสระ ของรัฐองค์กรหนึ่งที่มากํากับดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทย ดังนั้นเพื่อให้เกิดกระบวนการ สรรหาองค์กรอิสระดังกล่าว จึงได้มีการตรา พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการ ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 6 ซึ่งได้ระบุว่า ให้มีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “กสทช.” จํานวน 11 คน
55. สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสมีรายได้ในการดําเนินกิจการจากข้อใด
(1) ค่าเช่าเวลาโฆษณาจากเจ้าของสินค้า
(2) ภาษีสรรพสามิตจากงบประมาณแผ่นดิน
(3) ค่าเช่าเวลาจากบริษัทผู้ผลิตรายการ
(4) ภาษีค่าธรรมเนียมเครื่องรับโทรทัศน์
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 ได้กําหนดให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (TPBS) หรือทีวีไทย มีรายได้ในการดําเนิน กิจการด้วยการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากงบประมาณแผ่นดินในอัตราร้อยละ 1.5 ของภาษี ที่เก็บจากสุราและยาสูบ โดยให้มีรายได้สูงสุดปีงบประมาณละไม่เกิน 2,000 ล้านบาท ดังนั้น จึงถือเป็นการจัดเก็บภาษีจากกลุ่มผู้ที่จําหน่ายสุราและยาสูบมาเป็นเงินบํารุงองค์การ ซึ่งเป็นมาตรการใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
56. รัฐธรรมนูญฯ ฉบับแรกที่ริเริ่มแนวคิดการปฏิรูปสื่อวิทยุและโทรทัศน์ไทยในระบบโครงสร้างกรรมสิทธิ์
คือข้อใด
(1) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2535
(2) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2540
(3) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2545
(4) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2550
ตอบ 2 หน้า 120, (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2540 มาตรา 40 ถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฯ ฉบับแรกที่ริเริ่มแนวคิดการปฏิรูปสื่อวิทยุและโทรทัศน์ไทยในระบบโครงสร้างกรรมสิทธิ์ คือ วิทยุและโทรทัศน์ไทยไม่จําเป็นต้องเป็นของรัฐทั้งหมด แต่จะเปิดให้มีการแข่งขันกันอย่างเสรี และเป็นธรรม ซึ่งเจตนารมณ์ในการปฏิรูปสื่อนี้ก็ยังใช้ต่อมาในรัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2550 (ฉบับปัจจุบัน) มาตรา 47
57. แนวคิดการจัดระบบวิทยุและโทรทัศน์ไทยในรัฐธรรมนูญฯ ปัจจุบัน หมายถึงข้อใด
(1) State System
(2) Free Market System
(3) Public Service System
(4) Mixed System
ตอบ 4 หน้า 111, 113, (คําบรรยาย) แนวคิดในการจัดระบบวิทยุและโทรทัศน์ไทยปัจจุบันตาม รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2550 (ฉบับปัจจุบัน) เป็นแบบ Mixed System (แนวคิดผสมระหว่าง การสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะกับการสื่อสารในตลาดเสรี) ทั้งนี้เพื่อให้ระบบกิจการวิทยุ และโทรทัศน์ในประเทศไทยมีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐของเอกชนหรือของภาคประชาชน
58. กฎหมายวิทยุและโทรทัศน์ฉบับล่าสุดที่ใช้ในปัจจุบัน หมายถึงข้อใด
(1) พ.ร.บ. วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530
(2) พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับดูแลกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
พ.ศ. 2543
(3) พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
(4) พ.ร.บ. การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2551
ตอบ 3 (คําบรรยาย) กฎหมายวิทยุและโทรทัศน์ที่ออกมาฉบับล่าสุดและบังคับใช้ในปัจจุบัน คือ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553
59. การใช้เป็นสื่อที่ทําให้เกิดการพึ่งพากันและกันทั่วทั้งโลก ตรงกับความสําคัญของสื่อวิทยุและโทรทัศน์
ในระดับใด
(1) ระดับบุคคล
(2) ระดับสังคม
(3) ระดับประเทศ
(4) ระดับโลก
ตอน 4 หน้า 7, 13 – 14 ความสําคัญของสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ระดับโลก มีดังนี้
1. การรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโลก
2. การเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ความบันเทิง
3. การใช้เป็นสื่อที่ทําให้เกิดการพึ่งพาซึ่งกันและกันทั่วทั้งโลก
60. แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อผู้รับสารโดยตรง คือข้อใด
(1) นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์
(2) นักวิชาการด้านทฤษฎีสังคมมวลชน
(3) นักวิชาการสํานักยุโรปศึกษา
(4) นักวิชาการด้านวัฒนธรรมศึกษา
ตอบ 2 หน้า 102 – 104, (คําบรรยาย) นักวิชาการด้านทฤษฎีสังคมมวลชนมีความเชื่อว่า วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร และมองว่าผู้รับสาร มีลักษณะเฉื่อยชา จึงถูกกระทําจากข้อมูลข่าวสาร โดยพิจารณาจาก
1. ความสามารถในการเข้าถึงประชาชนจํานวนมากได้โดยตรง และการเปิดรับของผู้รับสาร คือ สื่อมวลชนมีบทบาทเป็นแหล่งข่าวสารพบได้ในทุกที่ และผู้รับสารก็จะต้องเปิดรับฟังหรือเปิดรับชมสื่อด้วย
2. มีอิทธิพลในการชักจูงใจ เช่น ความเป็นชาตินิยม และแนวคิดยกย่องผู้นํา ฯลฯ
3. มีผลเรื่องใดเรื่องหนึ่งต่อคนจํานวนมากในลักษณะคล้ายคลึงกัน ทําให้วิทยุและโทรทัศน์ กลายเป็น “ลูกพี่ใหญ่” (Big Brother) ที่ควบคุมอิสรเสรีภาพทางความคิดของคนในสังคม เกือบทั้งหมด
ข้อ 61. – 69. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร
(2) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์ไม่มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร
(3) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อผู้รับสารทางอ้อม
(4) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อระดับความต้องการข่าวสาร
61. การทํางานร่วมกับปัจจัยอื่น ๆ ในสังคม เช่น ครอบครัว เพื่อน ฯลฯ
ตอบ 2 หน้า 105 นักวิชาการทางด้านนิเทศศาสตร์หลายท่าน เช่น แคลปเปอร์ (Klapper, 1960) เชื่อว่า วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ไม่มีอิทธิพลต่อผู้รับสารโดยตรง เนื่องจากผู้รับสาร จะมีความฉลาด มีความกระตือรือร้น และมีวิจารณญาณเพียงพอในการรับข้อมูลข่าวสารจาก สื่อมวลชน ซึ่งผู้รับสารที่เปิดรับสื่อสามารถคิดและวิเคราะห์ ไม่ใช่สื่อมีอิทธิพลต่อความคิดของ บุคคลมากมาย ทั้งนี้อิทธิพลของสื่อมวลชนจะมีมากหรือน้อยก็มักขึ้นอยู่กับการทํางานร่วมกับ ปัจจัยอื่น ๆ ในสังคม เช่น ครอบครัว เพื่อน บรรยากาศทางสังคม ฯลฯ
62. ผู้รับสารมีลักษณะเฉื่อยชา ถูกกระทําจากข้อมูลข่าวสาร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 60. ประกอบ
63. ผู้รับสารมีความกระตือรือร้น และมีวิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสาร
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ
64. แคลปเปอร์ (1960)
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ
65. กระบวนการเลือกรับสาร
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ
66. อิทธิพลของบุคคล และผู้นําความคิดเห็น
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ
67. “ลูกพี่ใหญ่” (Big Brother)
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 60. ประกอบ
68. อิทธิพลในการชักจูงใจ เช่น ความเป็นชาตินิยม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 60. ประกอบ
69. มีบทบาทเป็นแหล่งข่าวสารพบได้ในทุกที่
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 60. ประกอบ
70. ผู้บุกเบิกจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงของสหรัฐอเมริกา ตรงกับข้อใด
(1) เออร์ลี เอ็ม, เทอร์รี่
(2) ชาร์ลส์ เดวิด เฮอร์โรลด์
(3) เดวิด ซาร์นอฟ
(4) แฟรงค์ คอนราด
ตอบ 2 หน้า 155 พัฒนาการของวิทยุกระจายเสียงถือว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้บุกเบิกกิจการ วิทยุกระจายเสียงของโลก โดยมีสถานีวิทยุอยู่กลุ่มหนึ่งที่ถือว่าเป็นสถานีในยุคแรก ได้แก่ สถานี KCBS ถือเป็นสถานีวิทยุแห่งแรกในสหรัฐอเมริกา โดยมีศาสตราจารย์ชาร์ลส์ เดวิด เฮอร์โรลด์ (Charles David Herrold) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้บุกเบิกจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียง คนแรกของสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังมีสถานีวิทยุ WHA, WWJ และ KDKA
71.BBC World หมายถึงข้อใด
(1) การกระจายเสียงภาคต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา
(2) การกระจายเสียงภาคต่างประเทศของสหราชอาณาจักร
(3) การกระจายเสียงภาคต่างประเทศของสหภาพโซเวียต
(4) การกระจายเสียงภาคต่างประเทศของญี่ปุ่น
ตอบ 2 หน้า 163 – 165 การกระจายเสียงภาคต่างประเทศของอังกฤษหรือสหราชอาณาจักร คือ สถานีวิทยุบีบีซีภาคภาษาต่างประเทศ (BBC External Broadcasting Service) ซึ่งได้เริ่มส่ง กระจายเสียงคลื่นสั้นไปยังต่างประเทศครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) เรียกว่า “Empire Service” ทั้งนี้เพราะในช่วงระยะ 6 ปีแรกได้จัดรายการโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเทศในอาณานิคมของตนเองทั่วโลก ต่อมาจึงขยายวงกว้างขึ้นจนเป็นบริการระดับโลก เรียกว่า “BBC World Service” (บีบีซี ภาคบริการโลก) เมื่อปี ค.ศ. 1988
ข้อ 72 – 74. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ระบบวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อธุรกิจ
(2) ระบบวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อสาธารณะ
(3) ระบบวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อบรรษัทสาธารณะ
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ข้อ 1 และ 3
72. สหรัฐอเมริกา
ตอบ 1 หน้า 167, (คําบรรยาย) ระบบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะ จัดตั้งขึ้นมาเพื่อการค้า (มีถึง 90%) และเพื่อการศึกษาหรือเพื่อสาธารณะ (มีเพียง 10%) ก็ให้ ถือเป็นกิจการของเอกชน และดําเนินงานโดยระบบธุรกิจการค้าเอกชน (Private Ownership and Operation) ทั้งหมด ทั้งนี้เพราะไม่ได้มีการจัดสรรคลื่นเอาไว้ให้แต่หน่วยราชการ ดังนั้น เอกชน นิติบุคคล องค์กรสาธารณะต่าง ๆ ก็มีสิทธิจัดตั้งสถานีวิทยุและโทรทัศน์ได้
73. อังกฤษ
ตอบ 5 หน้า 113, 165 – 166, 169, 172 ระบบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ของประเทศอังกฤษและ ประเทศญี่ปุ่นจะมี 2 ระบบเหมือนกัน คือ
1. ระบบบรรษัทสาธารณะ (Public Corporation) เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากําไรและไม่มี โฆษณาธุรกิจการค้า แต่จะมีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมเครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ ได้แก่ บรรษัทวิทยุและโทรทัศน์อังกฤษ (British Broadcasting Corporation : BBC) ซึ่งมีลักษณะเหมือนบรรษัทการกระจายเสียงแห่งญี่ปุ่น (Nippon Hoso Kyokai : NHK)
2. ระบบธุรกิจเอกชน (Commercial Broadcasting) เป็นระบบการกระจายเสียงเพื่อการค้า ได้แก่ สถานีวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้า มีรายได้จากการโฆษณา
74. ญี่ปุ่น
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 73. ประกอบ
75. แนวคิดการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะ ประกอบด้วย มิติทางการเมืองและเศรษฐกิจแบบใด
(1) ประชาธิปไตยและเสรีนิยม
(2) ประชาธิปไตยและสังคมนิยม
(3) สังคมนิยมและทุนนิยม
(4) เสรีนิยมและทุนนิยม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ
76. แนวคิดการสื่อสารในตลาดเสรี ประกอบด้วย มิติทางการเมืองและเศรษฐกิจแบบใด
(1) ประชาธิปไตยและเสรีนิยม
(2) ประชาธิปไตยและสังคมนิยม
(3) สังคมนิยมและทุนนิยม
(4) เสรีนิยมและทุนนิยม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 47. ประกอบ
77 แนวคิดการสื่อสารแบบผสมผสาน (Mixed System) ตรงกับข้อใด
(1) การสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะผสมผสานกับการสื่อสารในตลาดเสรี
(2) การสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะผสมผสานกับการสื่อสารระบบพหุนิยม
(3) การสื่อสารในตลาดเสรีผสมผสานกับการสื่อสารระบบพหุนิยม
(4) การสื่อสารระบบพหุนิยมผสมผสานกับการสื่อสารระบบข้ามชาติ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 57. ประกอบ
78. ระบบการส่งวิทยุกระจายเสียงในระบบ AM นิยมใช้การแพร่คลื่นแบบใด
(1) การแพร่คลื่นตรง
(2) การแพร่คลื่นพื้นดิน
(3) การแพร่คลื่นฟ้า
(4) การแพร่คลื่นอ้อม
ตอบ 2 หน้า 67 – 69 การแพร่คลื่นทางวิทยุกระจายเสียง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. การแพร่คลื่นตรง ใช้กับการส่งวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม (FM) ซึ่งส่งในแถบความถี่ สูงมาก (VHF) ทําให้การเดินทางของคลื่นจะไปไม่ได้ไกล
2. การแพร่คลื่นพื้นดิน ใช้กับการส่งวิทยุกระจายเสียงระบบเอเอ็ม (AM) คลื่นปานกลาง ซึ่งส่งในแถบความถี่ปานกลาง (MF) บางส่วน คือ ระหว่างความถี่ 550 – 1,600 kHz โดยใช้เส้นแรงแม่เหล็กโลกช่วยในการแพร่คลื่น
3. การแพร่คลื่นฟ้า ใช้กับการส่งวิทยุกระจายเสียงระบบเอเอ็ม (AM) คลื่นสั้น ซึ่งจะครอบคลุม พื้นที่ในการส่งได้เป็นระยะทางไกลกว่าการส่งวิทยุกระจายเสียงอื่น
79. ระบบการส่งวิทยุกระจายเสียงในระบบ FM นิยมใช้การแพร่คลื่นแบบใด
(1) การแพร่คลื่นตรง
(2) การแพร่คลื่นพื้นดิน
(3) การแพร่คลื่นฟ้า
(4) การแพร่คลื่นอ้อม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ
80. ระบบการส่งวิทยุกระจายเสียงคลื่นสั้น นิยมใช้การแพร่คลื่นแบบใด
(1) การแพร่คลื่นตรง
(2) การแพร่คลื่นพื้นดิน
(3) การแพร่คลื่นฟ้า
(4) การแพร่คลื่นอ้อม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ
81. รัฐธรรมนูญฯ ฉบับใดที่นําไปสู่การจัดตั้งคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)
(1) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2535
(2) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2540
(3) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2550
(4) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2557
ตอบ 2 หน้า 120 – 121, (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2540 มาตรา 40 วรรคสอง ได้กําหนด ให้มีองค์กรอิสระของรัฐจํานวน 2 องค์กรที่มากํากับดูแลกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ดังนั้นเพื่อให้เกิดกระบวนการสรรหาองค์กรอิสระดังกล่าว จึงได้มีการตรา พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 มาตรา 6 ระบุว่า ให้มีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์แห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “กสช.” และมาตรา 46 ระบุว่า ให้มีคณะกรรมการ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “กทช.
82. การจัดตั้งองค์กรอิสระที่มากํากับดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ ณ เวลานี้มาจากรัฐธรรมนูญฯ ฉบับใด
(1) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2535
(2) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2540
(3) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2550
(4) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2557
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 54. ประกอบ
83. ผู้บัญญัติศัพท์คําว่า วิทยุกระจายเสียง หมายถึงข้อใด
(1) กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
(2) กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
(3) ราชบัณฑิตยสถาน
(4) กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
ตอบ 3 หน้า 2 แต่เดิมเราไม่มีคําเรียกวิทยุกระจายเสียงเป็นภาษาไทย แต่ใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “ราดิโอ โทรเลข” (Radio Telegraph) หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) จึงทรงบัญญัติคําว่า “วิทยุ” มาใช้ในภาษาไทยเป็นครั้งแรก และต่อมาภายหลัง ราชบัณฑิตยสถานจึงให้ใช้คําเต็ม ๆ อย่างเป็นทางการว่า “วิทยุกระจายเสียง
84 กระบวนการสรรหา กสทช. มาจากกฎหมายฉบับใด
(1) พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2543
(2) พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553
(3) พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551
(4) พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและการแพร่ภาพ พ.ศ. 2551
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 54. ประกอบ
85. การกําหนดแผนแม่บทเพื่อการจัดสรรคลื่นความถี่ให้แก่กิจการวิทยุ โทรทัศน์ และโทรคมนาคม
เป็นบทบาทหน้าที่ของใคร
(1) กรมไปรษณีย์โทรเลข
(2) กรมประชาสัมพันธ์
(3) กสทช.
(4) คสช.
ตอบ 3 พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 27 ได้ระบุให้ กสทช. มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. จัดทําแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ ตารางกําหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ แผนแม่บท กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม แผนความถี่วิทยุ และแผนเลขหมายโทรคมนาคม
2. กําหนดการจัดสรรคลื่นความถี่ระหว่างคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการกระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์ กิจการวิทยุคมนาคม และกิจการโทรคมนาคม ฯลฯ
86. กฎหมายได้กําหนดให้กิจการวิทยุและโทรทัศน์มีใบอนุญาตประเภทใดบ้าง
(1) บริการสาธารณะ และบริการธุรกิจ
(2) บริการระดับชาติ ท้องถิ่น และระดับจังหวัด
(3) บริการสาธารณะ บริการธุรกิจ และบริการชุมชน
(4) บริการธุรกิจ และบริการชุมชน
ตอบ 3 พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 มาตรา 10 ระบุว่า ใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์โดยใช้คลื่นความถี่มี 3 ประเภท ดังนี้
1. ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการสาธารณะ
2. ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน
3. ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการธุรกิจ
87. กรณีพิพาทของสถานีโทรทัศน์ไอทีวีกับหน่วยงานคู่สัญญาใดที่นําไปสู่การลงโทษปิดสถานี
(1) กองทัพบก
(2) กรมประชาสัมพันธ์
(3) อ.ส.ม.ท.
(4) สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทยที่ถูกมาตรการลงโทษให้ปิดสถานี ตามคําตัดสินของศาลปกครองสูงสุด คือ ไอทีวี เนื่องจากไอทีวีได้เกิดกรณีพิพาทกับหน่วยงาน คู่สัญญา คือ สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ในกรณีที่ไอทีวีผิดสัญญาในการจ่าย ค่าสัมปทาน และการเสนอรายการในช่วง Prime Time ไม่เป็นไปตามสัญญาการประมูลข้อ 2 แต่ต่อมาศาลปกครองสูงสุดก็มีคําสั่งคุ้มครองให้ออกอากาศต่อไปได้ ภายใต้ชื่อใหม่ว่า TITV โดยมีเงื่อนไขว่าทันทีที่ พ.ร.บ. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ สถานีวิทยุโทรทัศน์ TITV ต้องเปลี่ยนเป็นทีวีสาธารณะเต็มรูปแบบ
88. หน้าที่ของสื่อมวลชนในการสร้างเอกลักษณ์ของบุคคล ตรงกับข้อใด
(1) สนับสนุนผู้ที่อยู่ในอํานาจที่ถูกต้อง
(2) การเผยแพร่ความรู้ ความคิด บรรทัดฐานที่เป็นที่ยอมรับกันของสังคม
(3) ให้แบบอย่างของบุคคลที่มีคุณค่า
(4) การให้สถานภาพทางสังคม รายงานข่าวเกี่ยวกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
ตอบ 3 หน้า 95, 99 เดนิส แมคเควล (Denis McQuail) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของสื่อมวลชนตาม แนวความคิดของมวลชนผู้รับสารประการหนึ่ง คือ หน้าที่ในการสร้างเอกลักษณ์ของบุคคล
(Personal Identity) ได้แก่
1. สนับสนุนค่านิยมส่วนตัวของบุคคล
2. ให้แบบอย่างของบุคคลที่มีคุณค่า
3. ทําให้บุคคลเข้าใจตนเองมากขึ้น
89. หน้าที่ของสื่อมวลชนในการสร้างความต่อเนื่อง (Continuity) คือข้อใด
(1) การรณรงค์เป้าหมายหลักของสังคม เช่น การเมือง
(2) การจัดลําดับความสําคัญ และสร้างความสอดคล้องกันในสังคม
(3) การแสดงถึงความสัมพันธ์ของอํานาจต่าง ๆ ในสังคม
(4) การดํารงและรักษาไว้ซึ่งค่านิยมร่วมของสังคม
ตอบ 4 หน้า 95 – 96 เดนิส แมคเควล (Denis McQuail) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของสื่อมวลชนตาม แนวความคิดของสังคมประการหนึ่ง คือ หน้าที่ในการสร้างความต่อเนื่อง (Continuity) ซึ่งประกอบไปด้วยหน้าที่ต่าง ๆ ดังนี้
1. การแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมหลัก วัฒนธรรมย่อย และการพัฒนาวัฒนธรรมใหม่ ๆ
2. การดํารงและรักษาไว้ซึ่งค่านิยมร่วมของสังคม
90 The “advocate on media functions หมายถึงข้อใด
(1) นักสื่อสารมวลชน
(2) นักประชาสัมพันธ์
(3) มวลชนผู้รับสาร
(4) นักวิจารณ์
ตอบ 2 หน้า 95 – 96 เดนิส แมคเควล (Denis McQuail) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของสื่อมวลชนตาม แนวความคิดของผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเผยแพร่ (The perspective of the “advocate on media functions) ได้แก่ นักโฆษณา นักประชาสัมพันธ์ นักสื่อสารการเมืองและธุรกิจ (Political and Business Communicators) นักรณรงค์ ฯลฯ ซึ่งทํางานให้หน่วยงานต่าง ๆ
91. บิดาของวิทยุกระจายเสียงไทย คือ
(1) กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
(2) กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
(3) กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
(4) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตอบ 2 หน้า 33 – 34 บิดาของกิจการวิทยุกระจายเสียงไทย คือ นายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้บุกเบิก และริเริ่มให้มีการทดลองส่งวิทยุกระจายเสียงขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยใช้ชื่อสถานี วิทยุแห่งนี้ว่า “พี่เจ” ซึ่งย่อมาจากคําว่า “บูรฉัตรไชยากร
92 NHK (Nippon Hoso Kyokai)
(1) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้า
(2) ระบบวิทยุและโทรทัศน์บรรษัทสาธารณะ
(3) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อสาธารณะ
(4) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้าและเพื่อสาธารณะ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 73. ประกอบ
93.CBS (Columbia Broadcasting System)
(1) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้า
(2) ระบบวิทยุและโทรทัศน์บรรษัทสาธารณะ
(3) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อสาธารณะ
(4) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้าและเพื่อสาธารณะ
ตอบ 1 หน้า 113, 168 ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้าในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งดําเนิน
กิจการในรูปแบบของธุรกิจและมีรายได้ส่วนใหญ่มาจากการโฆษณานั้น ในปัจจุบันจะมี เครือข่ายระดับชาติที่สําคัญ ดังนี้
1. CBS (Columbia Broadcasting System)
2. ABC (American Broadcasting Company)
3. NBC (National Broadcasting Company)
94 PBS (Public Broadcasting Service)
(1) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้า
(2) ระบบวิทยุและโทรทัศน์บรรษัทสาธารณะ
(3) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อสาธารณะ
(4) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้าและเพื่อสาธารณะ
ตอบ 3 หน้า 113, 168, (คําบรรยาย) PBS (Public Broadcasting Service) คือ ระบบวิทยุและ โทรทัศน์เพื่อสาธารณะ ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากําไร และมีรายได้เป็นเงินอุดหนุนที่มาจาก รัฐบาลกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ PBS ได้จัดตั้งขึ้นมาในภายหลัง เพื่อผลิตรายการ ที่ส่งเสริมคุณค่าทางสังคม ศิลปวัฒนธรรม และกิจการสาธารณะ เช่น รายการสําหรับเด็ก รายการสําหรับการศึกษา เป็นต้น
95.“ITU” หมายถึงอะไร
(1) สหภาพการกระจายเสียงระหว่างประเทศ
(2) สหภาพการกระจายเสียงยุโรป
(3) สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
(4) สหภาพการกระจายเสียงเอเชีย – แปซิฟิก
ตอบ 3 หน้า 58, 115, 124 สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU (The International Telecommunication Union) จะมีสํานักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยเป็นองค์กรที่ทําหน้าที่ควบคุมและบริหารคลื่นความถี่วิทยุให้เป็นระเบียบทั่วโลกผ่านทางรัฐบาลของแต่ละประเทศ
96. รัฐมีความรับผิดชอบในการให้ข่าวสารข้อมูลและรักษาวัฒนธรรมแห่งชาติ
(1) Free Market System
(2) Public Service System
(3) Mixed System
(4) Public Corporation
ตอบ 2 หน้า 111 – 112 แนวความคิดในการจัดระบบวิทยุและโทรทัศน์แบบ Public Service System (แนวคิดการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะ) คือ
1. รัฐมีความรับผิดชอบในการให้ข่าวสารข้อมูลและรักษาวัฒนธรรมแห่งชาติ
2. รัฐเป็นผู้จัดระเบียบในด้านที่มาของรายได้ การจัดสรรคลื่น และคุณภาพของรายการ
3. เป็นระบบที่ผูกขาดโดยหน่วยงานของรัฐ หรืออาจจะเป็นการผูกขาดแบบ Duopoly (เล่นพรรคเล่นพวก) โดยมีเอกชนเป็นคู่แข่งเพียง 1 – 2 รายเท่านั้น ดังนั้นรัฐจึงเป็นทั้ง Supplier (ผู้ผลิตรายการ) และเป็น Regulator (ผู้ควบคุมรายการ) ไปพร้อมกัน
97. โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงทศวรรษที่ 1980 – 1990 กําลังเป็นช่วงที่มีการปรับปรุงไปสู่ทิศทางของระบบ พหุนิยมในแนวตลาดเสรี ทําให้เกิดระบบแนวคิดนี้ขยายตัวไปทั่วโลก
(1) Free Market System
(2) Public Service System
(3) Mixed System
(4) Public Corporation
ตอบ 3 หน้า 111, 113 ในช่วงทศวรรษที่ 1980 – 1990 กําลังเป็นช่วงที่มีการปรับตัวไปสู่ทิศทางของระบบพหุนิยมในแนวตลาดเสรี ดังนั้นจึงทําให้เกิดระบบในแบบที่ 3 ซึ่งก็คือ ระบบผสม (Mixed System) ระหว่างแนวคิดการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะกับแนวคิดการสื่อสาร ในตลาดเสรีขยายตัวไปทั่วโลก
98. ระบบนี้มีความเชื่อว่า ถ้าเป็นตลาดที่สมบูรณ์จะมีการแข่งขันกันของผู้ประกอบการ และท้ายที่สุดผู้บริโภค
จะเป็นผู้ได้รับประโยชน์สูงสุด
(1) Free Market System
(2) Public Service System
(3) Mixed System
(4) Public Corporation
ตอบ 1 หน้า 111 – 113 ประเทศสหรัฐอเมริกาถือเป็นแม่แบบของแนวคิด Free Market System (แนวคิดการสื่อสารในตลาดเสรี) คือ ดําเนินการในรูปตลาดเสรีที่ให้ธุรกิจเอกชนแข่งขันกัน อย่างเต็มที่ (Competition) โดยมีความเชื่อว่า ถ้าเป็นตลาดที่สมบูรณ์จะมีการแข่งขันกันของ ผู้ประกอบการ และท้ายที่สุดผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์สูงสุด
99. อิทธิพลของบุคคล และผู้นําความคิดที่มีผลต่อการตัดสินใจมากกว่าสื่อมวลชน เป็นแนวคิดของใคร
(1) ออกูส กงเต้ เฟอร์ดินันท์
(2) วิลเบอร์ แซรมม์
(3) พอล ลาซาร์สเฟลด์
(4) เอมิล เดอร์คิม
ตอบ 3 หน้า 107, (ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ) พอล ลาซาร์สเฟลด์ (Paul Lazarsfeld) นับเป็น นักวิชาการที่ชี้ให้เห็นถึงแนวคิดการไหลของข่าวสาร 2 ระดับ (Two – step Flow) และพบว่า อิทธิพลของบุคคล (Personal Influence) และผู้นําความคิด (Opinion Leader) หรือคนที่ ใกล้ตัว เป็นปัจจัยสําคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจของคนมากกว่าสื่อมวลชน
100. สัญญาณเรียกขานประเทศไทยที่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศกําหนดให้ คือ
(1) AS
(2) HS
(3) JS
(4) SS
ตอบ 2 หน้า 35, (คําบรรยาย) สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ได้กําหนดคํานําหน้า สัญญาณเรียกขาน (Prefix) สําหรับสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ทุกชนิด ซึ่งเป็นข้อตกลง ระหว่างประเทศที่จะเข้าใจได้ตรงกัน โดยแต่ละประเทศจะมีคํานําหน้าสัญญาณเรียกขาน ที่กําหนดให้สําหรับประเทศนั้น ๆ เช่น ประเทศไทยมีคํานําหน้าสัญญาณเรียกขาน คือ HS และ E2 เป็นต้น