การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556
ข้อสอบกระบวนวิชา BIO 1001 ชีววิทยาเบื้องต้น
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
1. สถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่เกิดในประเทศไทยในระยะที่ผ่านมานี้ หากพิจารณาเป็นวิชาการ จัดอยู่ในศาสตร์สาขาใด
(1) พฤติกรรมศาสตร์
(2) สังคมศาสตร์
(3) รัฐศาสตร์
(4) วิทยาศาสตร์
ตอบ 2 (คำบรรยาย) พฤติกรรมศาสตร์ (Behavior Science) เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งของวิทยาศาลตร์ ชีวภาพที่เน้นศึกษาพฤติกรรมการแสดงออกของสิ่งมีชีวิต โดยแบ่งออกเป็น 2 สาขาวิชา คือ
1. สังคมศาสตร์ (Social Science) เป็นความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์ที่พิจารณาถึงความเกี่ยวข้อง สัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ได้แก่ วิชานิติศาสตร์ สังคมวิทยา เช่น สถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในระยะที่ผ่านมา เป็นต้น
2. รัฐศาสตร์ (Political Science) เป็นความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์ที่พิจารณาถึงฐานะ บทบาท หน้าที่ของสมาชิกในสังคมสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ
2. ประกาศคาดการณ์ลักษณะอากาศหรือพยากรณ์อากาศ เป็นความรู้ในสาขาวิชาใด
(1) อุทกวิทยา
(2) อุตุนิยมวิทยา
(3) ธรณีวิทยา
(4) ปฐพีวิทยา
ตอบ 2 (คำบรรยาย) วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science) เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาคาสตร์บริสุทธิ์ หรือวิทยาศาสตร์ธรรมชาติที่ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งไม่มีชีวิต เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลง ของสิ่งแวดล้อมของโลก หรือความเป็นไปของธรรมชาติ เช่น อุตุนิยมวิทยา (การสังเกตและศึกษา เกี่ยวกับภาวะโลกร้อน, การประกาศคาดการณ์ลักษณะอากาศหรือพยากรณ์อากาศ), ธรณีวิทยา (แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด), อุทกวิทยา (น้ำท่วม), ดาราคาสตร์ (ท้องฟ้า ดวงดาว) เป็นต้น
3. การทำงานโดยวิธีวิทยาศาสตร์ เริ่มต้นที่
(1) การสำรวจปัญหา
(2) หาตัวเหตุของปัญหา
(3) วางแนวทางแกัปัญหา
(4) หาวิธีแก้ปัญหา
ตอบ 1 หน้า 2, (คำบรรยาย) การทำงานโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (The Scientific Method)มี 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การเก็บรวบรวมข้อมูล (การสำรวจหรือกำหนดปัญหา)
2. การตั้งสมมุติฐาน (คิดหาแนวทางแก้ปัญหา) 3. การสังเกต ตรวจสอบ ทดลอง (ออกแบบ การทดลอง) 4. การประมวลสังเคราะห์หาข้อสรุป (วิเคราะห์ข้อมูลแล้วสรุปผล)
5. การสร้างหรือกำหนดทฤษฎี (แสดงวิธีการแก้ปัญหา) เช่น คำกล่าวที่ว่า “เจ็บแล้วต้องจำ”
4. “เจ็บแล้วต้องจำ” เป็นขั้นตอนใด ตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์
(1) ขั้นวางสมมุติฐาน (2) ขั้นตอนการทดสอบ (3) ขั้นสรุปประเมินผล (4) ขั้นกำหนดทฤษฎี
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ
5. การสังเกตและศึกษาเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน มีความเกี่ยวข้องกับศาสตร์สาขาใด
(1) ปฐพีวิทยา (2) อุตุนิยมวิทยา (3) ธรณีวิทยา (4) วิทยาการคอมพิวเตอร์
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ
6. ความรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นวิทยาศาสตร์สาขาใด
(1) วิทยาศาสตร์1บริสุทธิ์ (2) วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
(3) วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (4) วิทยาคาสตร์ประยุกต์
ตอบ 4 (คำบรรยาย) วิทยาศาสตร์ประยุกต์หรือวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี (Applied Science/Technology Science) เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเรื่องราวของธรรมชาติ แล้วนำผลของความรู้นั้นไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อกิจกรรมเพื่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เช่น แพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น
7. การเลื่อมใส ศรัทธา บูชา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีในสังคมไทยพื้นบ้านนั้น อยู่ในสายความรู้แบบใด
(1) วิทยาศาสตร์ (2) ศิลปกรรมศาสตร์ (3) ไสยศาสตร์ (4) รัฐศาสตร์
ตอบ 3 (คำบรรยาย) ไสยศาสตร์ หมายถึง ความรู้แบบที่ไม่รู้ที่มาที่ไป ไม่สามารถหาเหตุผลมาหักล้าง กับความเชื่อได้ เป็นการเลื่อมใส ศรัทธา และบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่มีรูปแบบต่าง ๆ กัน เช่น ภูตผีปีศาจ วิญญาณ เจ้าเข้าทรง เป็นต้น ซึ่งเชื่อกันว่าเกิดขึ้นมาในสังคมไทยนับร้อย ๆ ปีมาแล้ว
8. ข้อใดไม่เป็นพลังงาน (Energy)
(1) แสงสว่าง (2) อากาศ (3) อุณหภูมิ (4) แม่เหล็กไฟฟ้า
ตอบ 2 (คำบรรยาย) พลังงาน (Energy) คือ สรรพสิ่งต่าง ๆ ในโลกที่รับรู้ได้ แต่ไม่มีรูปทรงหรือตัวตนไม่มีน้ำหนัก และไม่ต้องการที่อยู่อาศัย เช่น แสงสว่าง อุณหภูมิ (ความร้อน/เย็น) กระแสลม หรือพลังลม แม่เหล็กไฟฟ้า พลังแม่เหล็ก พลังไฟฟ้า เป็นต้น
9. การศึกษาเรื่องไฟฟ้า ต้องใช้ความรู้วิทยาศาสตร์สาขาใด
(1) วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
(2) วิทยาศาสตร์กายภาพ (3) วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (4) วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ
10. การเกิดปฏิกิริยาของธาตุใดต่อไปนี้ เกิดเป็นสารประกอบเคมีประเภทมีเทน (CH4) แล้วทำให้โลกอบอุ่นขึ้น
(1) คาร์บอนและออกซิเจน (2) ไฮโดรเจนและออกซิเจน
(3) ไฮโดรเจนและคาร์บอน (4) ไฮโดรเจนและไนโตรเจน
ตอบ 3 หน้า 16 วิวัฒนาการทางเคมีของการกำเนิดโลกระยะที่ 1 เมื่ออุณหภูมิของโลกเย็นลงจนอำนวยให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีขึ้นได้แล้วนั้น อะตอมของธาตุเบา ๆ จะทำปฏิกิริยาต่อกัน เกิดเป็นสารประกอบทางเคมีขึ้นมา โดยอะตอมของไฮโดรเจน (H) จะเป็นอะตอมที่ว่องไวในการ ทำปฏิกิริยามากที่สุด ซึ่งเมื่อทำปฏิกิริยากับอะตอมของออกซิเจน (o) จะได้เป็นไอนํ้า (H2o), ทำปฏิกิริยากับอะตอมของไนโตรเจน (N) จะได้เป็นก๊าซแอมโมเนีย (NH3), ทำปฏิกิริยากับ อะตอมของคาร์บอน (C) จะได้เป็นก๊าซมีเทน (CH4)
11. ข้อใดไม่ใช่หลักเกณฑ์โดยทั่วไปที่ใช้วินิจฉัยสภาพการเป็นสิ่งมีชีวิต
(1) การมีกระบวนการเมแทบอลิสม์และสืบพันธุ์
(2) มีรูปร่างและการจัดระเบียบของโครงสร้าง
(3) มีการเจริญเติบโตจากภายใน
(4) เป็นสารเคมีที่ประกอบขึ้นจากธาตุคาร์บอน
ตอบ 4 หน้า 5, 8 – 10, (คำบรรยาย) หลักเกณฑ์ทั่วไปที่ใขช้วินิจฉัยสภาพการเป็นสิ่งมีชีวิต มีดังนี้
1. มีการจัดระเบียบแบบแผนของโครงสร้างและรูปร่าง
2. มีกระบวนการเมแทบอลิสม์ (เมแทบอลิซึม) และการสืบพันธุ์
3. มีการเจริญเติบโตขยายขนาดจากภายใน 4. มีการตอบสนองโดยการเคลื่อนไหว
5. มีการปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อม 6. มีเอกภาพและความหลากหลายของชีวิต
12. คุณสมบัติข้อใดที่ไม่พบในสิ่งมีชีวิตยุคแรกเริ่มบนโลก
(1) มีกระบวนการหายใจ
(2) การปรุงอาหารจากกระบวนการสังเคราะห์ทางชีวเคมี
(3) การเติบโตเพิ่มขนาดเซลล์
(4) การทวีจำนวน
ตอบ 2 หน้า 24 คุณสมบัติของสิ่งมีชีวิตในยุคแรกเริ่มบนโลก มีดังนี้
1. มีกระบวนการหายใจหรือการแลกเปลี่ยนอากาศ หรือเริ่มรู้จักใช้โมเลกุลของสารต่าง ๆ เป็นแหล่งให้พลังงาน
2. นิวคลีโอโปรตีนภายในเซลล์สามารถที่จะสร้างโมเลกุลใหม่ได้ ทำให้เซลล์มีขนาดเพิ่มขึ้น ซึ่งนับเป็นการเจริญเติบโต และมีการเพิ่มจำนวนหรือทวีจำนวนออกเป็นสองเซลล์เล็ก ๆ
3. เกิดปฏิกิริยาเคมีในลักษณะใหม่ ๆ ทำให้ได้สารใหม่และคุณสมบัติผิดแปลกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
13. ลักษณะการกินอาหารแบบใดที่พบในสิ่งมีชีวิตที่เป็นบรรพบุรุษของสัตว์
(1) Saprophytism
(2) Photosynthesis
(3) Eating
(4) Chemosynthesis
ตอบ 3 หน้า 26 การกิน (Eating) เป็นการปรับตัวเพื่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตเริ่มแรกที่เป็นบรรพบุรุษ ของสัตว์ โดยวิธี “กิน” สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ซึ่งสิ่งมีชีวิตที่หาอาหารด้วยวิธีนี้จะเปลี่ยนแปลงรูปร่าง หรือโครงสร้างเซลล์ เพื่อให้สะดวกแก่การกลืนกิน
14. ปฏิกิริยาของกระบวนการทางชีวเคมีใดที่เกิดขึ้นจากสิ่งมีชีวิตยุคแรกเริ่ม แล้วทำให้บรรยากาศมีก๊าซออกซิเจน
(1) Decomposition (2) Photosynthesis (3) Respiration (4) Chemosynthesis
ตอบ 2 หน้า 26 – 27, 38, (คำบรรยาย) กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) เป็นการปรับตัวเพื่อหลีกเลี่ยงสภาพการขาดแคลนอาหารของสิ่งมีชีวิตยุคแรกเริ่มที่เป็นบรรพบุรุษ ของพืช ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่สิงมีชีวิตบางขนิดที่เซลล์มีสารคลอโรฟิลล์ในการกักเก็บพลังงาน จากแสงแดดเอาไว้ ได้ใช้พลังงานแสงกระตุ้นการสังเคราะห์อาหาร โดยนำเอาโมเลกุลของ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) ไปรวมกับโมเลกุลของนํ้า (H2o) จนได้สารอินทรีย์ประเภท นํ้าตาลกลูโคส (C6H12O6) และเกิดก๊าซออกซิเจน (O2) เป็นผลพลอยได้ ซึ่งจากปฏิกิริยาของ กระบวนการทางชีวเคมีนี้ ทำให้ขึ้นบรรยากาศของโลกมีก๊าซออกซิเจนมากขึ้นจนเหมาะสมต่อ การดำรงชีวิต และช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศลงได้
15. ในอดีตพลังงานที่กระตุ้นให้สารเคมีในมหาสมุทรทำปฏิกิริยาต่อกัน แล้วเกิดการรวมตัวใหม่เป็น สารประกอบอินทรีย์ คือ
(1) พลังงานจากใต้พื้นพิภพ (2) พลังงานจากฟ้าแลบ ฟ้าผ่า
(3) พลังงานจากคลื่นลม ในมหาสมุทร (4) พลังงานจากการพุ่งชนของดาวเคราะห์
ตอบ 2 หน้า 17, 19, (คำบรรยาย) วิวัฒนาการทางเคมีของการกำเนิดโลกระยะที่ 2 เป็นระยะที่เริ่มเกิด สารประกอบอินทรีย์ เนื่องจากทะเลและมหาสมุทรในระยะเริ่มแรกนั้นมีสารประกอบคาร์บอน (C) หรือสารอินทรีย์ประเภทมีเทนเป็นจำนวนมาก มีเทนซึ่งได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ และ พลังงานจากฟ้าแลบ ฟ้าผ่า และประจุไฟฟ้าในขึ้นบรรยากาศ ก็จะไปทำปฏิกิริยาเคมีกับโมเลกุล ของมีเทน น้ำ แอมโมเนีย หรือไปทำปฏิกิริยาเคมีกับอะตอมหรือโมเลกุลของธาตุหรือสารประกอบ อื่น ๆ แล้วเกิดการรวมตัวใหม่เป็นสารประกอบอินทรีย์ 6 ประเภท คือ น้ำตาล กลีเซอริน กรดไขมัน กรดอะมีโน ไพริมิดีน และพิวรีน
16. ความคิดเรื่องกำเนิดของสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้มีมาตั้งแต่ยุคโบราณก่อนคริสตกาล ข้อใดคือแนวคิดที่ได้รับการพิสูจน์และยอมรับในเชิงวิทยาศาสตร์
(1) สิ่งมีชีวิตบนโลกเกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต
(2) สิ่งมีชีวิตบนโลกเกิดมาจากดาวดวงอื่น
(3) สิ่งมีชีวิตเกิดจากการเสกสรรของพระผู้เป็นเจ้า
(4) สิ่งมีชีวิตแรกเริ่มเกิดจากการรวมตัวของสารอินทรีย์ในปริมาณและสภาวการณ์ที่เหมาะสม
ตอบ 4 หน้า 14 – 15 แนวคิดเรื่องการกำเนิดของสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้มีมาตั้งแต่ยุคโบราณก่อนคริสตกาล แล้ว โดยแนวคิดที่ได้รับการพิสูจน์และยอมรับในเชิงวิทยาศาสตร์ก็คือ สิ่งมีชีวิตแรกเริ่มเกิดจาก การรวมตัวของสารอินทรีย์ในปริมาณและสภาพการณ์ที่เหมาะสมยิ่ง และสภาพการณ์นั้น เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว จากนั้นชีวิตแรกเริ่มที่เกิดขึ้นมาก็จะมี วิวัฒนาการทีละน้อย ๆ ในช่วงเวลานับล้าน ๆ ปี จนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ
17. เพราะเหตุใดความเชื่อเกี่ยวกับกำเนิดของชีวิตของผู้คนในอดีต จึงไม่มีข้อพิสูจน์อย่างชัดแจ้งในทางวิทยาศาสตร์
(1) ได้รับอิทธิพลในด้านภาษาสื่อความหมาย (2) ได้รับอิทธิพลจากความแตกต่างของสีผิว
(3) ได้รับอิทธิพลจากความเชื่อด้านศาสนา (4) ได้รับอิทธิพลจากสงคราม
ตอบ 3 หน้า 11, (คำบรรยาย) ในสมัยโบราณมนุษย์จะมีความเชื่อในเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งได้รับ อิทธิพลมาจากความเชื่อด้านศาสนา โดยเชื่อว่า ชีวิตต่าง ๆ นั้นเกิดมาจากการเสกสรรของ พระผู้เป็นเจ้า และทรงเป็นผู้กำหนดควบคุมความเป็นไปของชีวิตเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้เอง ที่ทำให้ความเชื่อเกี่ยวกับการกำเนิดชีวิตของผู้คนในอดีตไม่มีข้อพิสูจน์อย่างชัดแจ้งในทางวิทยาศาสตร์
18. ออร์แกเนลล์ชนิดใด ที่พบเฉพาะในพืชไม่พบในสัตว์
(1) ไลโซโซม (Lysosome) (2) แวคิวโอล (Vacuoles)
(3) ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) (4) พลาสติด (Plastids)
ตอบ 4 หน้า 50 – 53 ออร์แกเนลล์ที่พบเฉพาะในเซลล์พืช คือ ผนังเซลล์ (Cell Wall) และพลาสติด (Plastids) ส่วนที่พบเฉพาะในเซลล์สัตว์ คือ ไลโซโซม (Lysosome) และกอลจิบอดี (Golgi Body) และที่พบทั้งในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ คือ ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) ไรโบโซม (Ribosome) และแวคิวโอล (Vacuoles)
19. ออร์แกเนลล์ข้อใด สามารถย่อยเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม
(1) ไลโซโซม (Lysosome) (2) แวคิวโอล (Vacuoles)
(3) ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) (4) พลาลติด (Plastids)
ตอบ 1 หน้า 52, (คำบรรยาย) ไลโซโซม (Lysosome) เป็นออร์แกเนลล์ที่ทำหน้าที่เป็นถุงเก็บ เอนไซม์ไฮโดรไลติก สำหรับใช้ย่อยสลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาภายในเซลล์ ขจัดสิ่งที่เซลล์ไม่ต้องการ ตลอดจนย่อยสลายตัวเองเมื่อเซลล์มีอายุมากหรือเซลล์ตาย (Autolysis) และยังเกี่ยวข้องกับการสลายหางลูกอ๊อดด้วยเอนไซม์คาเทพซินขณะที่เจริญเป็นตัวเต็มวัยอีกด้วย
20. Desoxyribose Nucleic Acid มีหน้าที่อะไร
(1) สร้างโปรตีน
(2) สร้างน้ำย่อยหรือเอนไซม์
(3) ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากบรรพบุรุษไปยังลูกหลาน
(4) ส่งเสริมและควบคุมการเจริญเติบโต
ตอบ 3 หน้า 43, (คำบรรยาย) DNA (Desoxyribose Nucleic Acid) หรือ Gene เป็นสารพันธุกรรม ซึ่งมีหน้าที่สำคัญ 2 ประการ คือ 1. กำหนดลักษณะเฉพาะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดหรือแต่ละหน่วยให้เป็นไปตามเผ่าพันธุ์ของตน และสามารถถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมนั้น จากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลานได้ ดังคำกล่าวที่ว่า “หว่านพืชชนิดใด ย่อมได้ผลเป็นพืชชนิดนั้น” 2. ควบคุมกิจกรรมทุกประเภทที่เกิดขึ้นภายในเซลล์
21. วิตามินในข้อใดช่วยป้องกันการเป็นหมัน
(1) วิตามิน A
(2) วิตามิน D
(3) วิตามิน E
(4) วิตามิน K
ตอบ 3 หน้า 46, (คำบรรยาย) วิตามิน E เป็นวิตามินที่ช่วยป้องกันการเป็นหมัน และช่วยทำให้ตัวอ่อนเกาะติดผนังมดลูกได้เหนียวแน่นขึ้น ไม่ให้แท้งงาย นอกจากนี้ยังมีบทบาทหน้าที่เกี่ยวกับ การยืดอายุเซลล์ สร้างความชุ่มชื้นให้ผิวหนัง และเสริมประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะ ผลิตเซลล์เชื้อเพศ
22. ถ้าขาดวิตามินในข้อใด จะทำให้โลหิตแข็งตัวช้า
(1) วิตามิน A
(2) วิตามิน D
(3) วิตามิน E
(4) วิตามิน K
ตอบ 4 หน้า 46, (คำบรรยาย) วิตามิน K เป็นวิตามินที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญเกี่ยวข้องกับคุณภาพ ของเลือด (โลหิต) ก็คือ ทำให้นํ้าเลือดข้นเหนียวจนเกิดการไหลของเลือดช้าลง และทำให้เลือด แข็งตัวปิดปากแผลเพื่อป้องกันเลือดไหลออกมาภายนอกร่างกาย ซึ่งถ้าร่างกายขาดวิตามินนี้ จะทำให้เลือดแข็งตัวช้า เสียเลือดมาก หรือเลือดไหลหยุดช้าเมื่อเกิดบาดแผล
23. ข้อใดจัดเป็นคาร์โบไธเดรตที่มีโมเลกุลใหญ่มาก
(1) นํ้าตาลกาแล็กโทส
(2) นํ้าตาลมอลโทส
(3) เด็กซทริน
(4) นํ้าตาลทราย
ตอบ 3 หน้า 37 – 39, (คำบรรยาย) สารประกอบคาร์โบไฮเดรต แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. Monosaccharide หรือ Simple Sugar เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กมาก หรือ ที่เรียกว่านํ้าตาลเชิงเดี่ยว ได้แก่ นํ้าตาลกลูโคส นํ้าตาลฟรุกโทส น้ำตาลกาแล็กโทส
2. Disaccharide หรือ Double Sugar เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลคู่ หรือที่เรืยกว่า นํ้าตาลเชิงประกอบ ได้แก่ นํ้าตาลทราย นํ้าตาลมอลโทส นั้าตาลแล็กโทส
3. Polysaccharide เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลใหญ่มาก ได้แก่ แป้งไกลโคเจนในสัตว์ เซลลูโลส เด็กซทริน ไคติน
24. ไขมัน 1 กรัม เมื่อเผาไหม้โดยสมบูรณ์ให้พลังงานความร้อนกี่กิโลแคลอรี่
(1) 4.1 กิโลแคลอรี (2) 5.1 กิโลแคลอรี (3) 6.2 กิโลแคลอรี (4) 9.1 กิโลแคลอรี
ตอบ 4 หน้า 39, (คำบรรยาย) ไลปิดหรือไขมัน เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานมากที่สุดในปริมาณนํ้าหนัก ที่เท่ากันของสาร โดยไขมันจะให้พลังงานมากกว่าคาร์โบไฮเดรต กล่าวคือ ไขมัน 1 กรัม เมื่อเผาไหม้โดยสมบูรณ์แล้วจะให้พลังงานความร้อน 9.1 กิโลแคลอรี ในขณะที่คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงานความร้อนเพียง 4.1 กิโลแคลอรีเท่านั้น
25. Ribose Nucleic Acid (RNA) มีหน้าที่อะไร
(1) สร้างไขมัน (2) ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
(3) สร้างนํ้าย่อยหรือเอนไซม์ (4) สร้างน้ำตาล
ตอบ 3 หน้า 43, (คำบรรยาย) Ribose Nucleic Add (RNA) เป็นกรดนิวคลีอิกที่ประกอบด้วยนํ้าตาลไรโบส และเบสอะดีนิน กัวนีน ไซโตซีน และยูราซิส ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง โปรตีนและน้ำย่อยหรือเอนไซม์ในเซลล์ (แต่ไม่ได้มีหน้าที่สร้างโปรตีนโดยตรง) นั่นคือRNA จะเป็นตัวควบคุมปริมาณสารโปรตีน และตรวจสอบความจำเป็นโนการสร้างโปรตีนภายในเซลล์ โดยส่วนใหญ่จะพบในบริเวณไซโตพลาสม์
26. ธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบหลักของอะไร
(1) ไขมัน (2) โปรตีน (3) แป้ง (4) วิตามิน
ตอบ 2 หน้า 18, 20, 40 โปรตีน (Protein) เป็นสารประกอบอินทรีย์โมเลกุลใหญ่ที่เกิดจากการรวมตัวกัน ของกรดอะมีโน (Amino Acid) ซึ่งประกอบขึ้นด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน และ ไนโตรเจน โดยธาตุไนโตรเจนจะยึดเกาะอยูกับธาตุไฮโดรเจน กลายเป็นหมู่ธาตุที่เรียกว่า อนุมูลกรดอะมีโน (Amino Radical-NH2)
27. วัฎจักรของไนโตรเจนจะมีแบคทีเรียเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างน้อยกี่ประเภท
(1) หนึ่งประเภท (2) สองประเภท (3) สามประเภท (4) สี่ประเภท
พอบ 4 หน้า 74, 89 วัฏจักรของไนโตรเจน เป็นการหมุนเวียนของก๊าซไนโตรเจนในอากาศ โดยจะมีแบคทีเรียเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างน้อย 4 ประเภท ได้แก่
1. Decomposing bacteria มีหน้าที่ทำให้ซากพืชซากสัตว์เกิดการเน่าเปื่อยกลายเป็น ก๊าซแอมโมเนีย
2. Nitrifying bacteria มีหน้าที่เปลี่ยนก๊าซแอมโมเนียให้เป็นสารประกอบไนเตรท
3. Denitrifying bacteria มีหน้าที่เปลี่ยนสารประกอบไนเตรทให้สลายตัวเป็นก๊าซไนโตรเจน กลับคืนสู่อากาศ
4. Nitrogen-fixing bacteria มีหน้าที่เปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนในอากาศให้เป็นสารประกอบไนเตรท ซึ่งเป็นรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
28. “ความหลากหลายทางชีวภาพ” หมายถึง การปรากฏชนิดต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตในบริเวณหนึ่ง ดังนั้นจึงพบได้ใน
(1) Population (2) Community (3) Species (4) Society
ตอบ 2 หน้า 6, 72, (คำบรรยาย) ชุมชนหรือชุมชีพ (Community) หมายถึง พื้นที่บริเวณหนึ่งที่มี “ความหลากหลายทางชีวภาพ” หรือมีการปรากฏชนิดต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตในบริเวณหนึ่ง นั่นคือ เป็นพื้นที่ที่มีสิ่งมีชีวิตหลายชนิดมาอาศัยอยู่รวมกันในสภาพแวดล้อมที่เหมือนกัน เช่น สวนสัตว์ ตลาดสด สวนสาธารณะ เป็นต้น
29. สารอินทรีย์ที่พืชสร้างขึ้นได้โดยกระบวนการสังเคราะห์แสง คือ
(1) นํ้าตาล (2) โปรตีน (3) เกลือแร่ (4) ไขมัน
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 14. ประกอบ
30. วัฎจักรของเกลือแร่ (Mineral Cycle) ประกอบด้วยวัฎจักรย่อยสองอันเกี่ยวพันกัน คือ
(1) Rock Cycle และ Carbon Cycle (2) Rock Cycle และ Organic Cycle
(3) Organic Cycle และ Nitrogen Cycle (4) Nitrogen Cycle และ Rock Cycle
ตอบ 2 หน้า 75 วัฏจักรของเกลือแร่ (Mineral Cycle) ประกอบด้วยวัฏจักรย่อย ๆ สองอันเกี่ยวพันกัน คือ
1. Rock Cycle เป็นระยะที่เกลือแร่ที่สะสมอยู่ในหินและดินจะหลุดออกมาโดยการผุกร่อน แตกทำลายของหินและดินเหล่านั้น จากการกระทำของนํ้า ลมฟ้าอากาศ ตลอดจนสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
2. Organic Cycle เป็นระยะที่เกลือแร่ที่หลุดออกมาจะละลายปนอยู่ในนํ้าแล้วซึมแทรกไปยัง ที่ต่าง ๆ และถูกสิ่งมีชีวิตทั้งหลายนำไปใช้ จนกระทั่งถูกขจัดออกมาหรือเมื่อสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น ตายไป เกลือแร่ก็จะกลับมาสะสมเพิ่มพูนอยู่ในดินอีกครั้งหนึ่ง
31. แบคทีเรียบางชนิดสามารถเปลี่ยนแปลงสารประกอบไนเตรทให้สลายตัวเป็นก๊าซไนโตรเจน แบคทีเรียชนิดนี้ เรียกว่า
(1) Nitrifying bacteria
(2) Nitrogen-fixing bacteria
(3) Denitrifying bacteria
(4) Decomposing bacteria
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 27. ประกอบ
32. สิ่งมีชีวิตกลุ่มผู้บริโภคกินกลุ่มผู้ผลิต นิสัยการกินจัดเป็นแบบ
(1) Carnivore
(2) Omnivore
(3) Insectivore
(4) Herbivore
ตอบ 4 หน้า 234, (คำบรรยาย) กลุ่มผู้บริโภค (Consumer) สามารถจำแนกออกตามลักษณะนิสัย การกินได้เป็น 3 พวก คือ
1. Herbivore เป็นพวกที่กินกลุ่มผู้ผลิตหรือพืชเป็นอาหาร เช่น หนอน แพะ วัว ควาย กระต่าย ฯลฯ
2. Carnivore เป็นพวกที่กินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร เช่น เสือ สิงโต จระเข้ ฯลฯ
3. Omnivore เป็นพวกที่กินทั้งพืซและเนื้อสัตว์เป็นอาหาร เช่น มนุษย์ สุนัข ฯลฯ
33. นกเอี้ยงที่กินแมลงบนหลังควาย เป็นการอยู่ร่วมกันแบบใด
(1) Commensalism
(2) Mutualism
(3) Protocooperation
(4) Neutralism
ตอบ 3 หน้า 76, (คำบรรยาย) Protocooperation (+/+) เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตแบบที่แต่ละฝ่ายจะเสริมประโยชน์แก่กัน แต่ถ้าขาดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแล้ว ฝ่ายที่เหลือก็ยังคงดำรงชีวิต อยู่เองได้ เช่น นกเอี้ยงที่กินแมลงบนหลังควาย ผีเสื้อกับดอกไม้ เป็นต้น
34. นกฮูกกับหนู เป็นการอยู่ร่วมกันแบบใด
(1) Predation (2) Parasitism (3) Amensalism (4) Neutralism
ตอบ 1 หน้า 77, (คำบรรยาย) Predation (+/-) เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตแบบที่ฝ่ายหนึ่งทำลาย หรือสังหารอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อเป็นอาหาร เช่น นกฮูกกับหนู เสือกับกวาง วัวกับหญ้า เป็นต้น
35. หอยแครงมักอาศัยอยู่ในบริเวณใด
(1) หาดทราย (2) หาดหิน (3) ทะเลลึก (4) หาดโคลน
ตอบ 4 (คำบรรยาย) หาดโคลน (Mud Flat) มักพบอยู่ใกล้กับบริเวณแม่น้ำสายใหญ่ เมื่อตะกอนดินจากแผ่นดินถูกนํ้ากัดเซาะละลายไปตามลำคลองหรือแม่นํ้าไหลลงสู่ทะเลแล้วตกตะกอนลง ณ บริเวณปากแม่น้ำเกิดเป็นลานโคลนหรือเลนขึ้น เวลานํ้าทะเลขึ้นจะถูกท่วมจนมิดลาน เมื่อน้ำลง จะปรากฏขึ้นเป็นลานกว้าง แต่อาจมีแอ่งนํ้าขังอยู่บ้างเล็กน้อย และด้วยความอุดมสมบูรณ์ ของธาตุอาหารในตะกอนดินที่มีการทับถมกันและระดับนํ้าทะเลหรือนํ้ากร่อยที่พอเหมาะ หาดโคลนจะมีพรรณไม้ราบลุมป่าชายเลนขึ้นตามธรรมชาติ และพบสัตว์นํ้าที่มักอยู่อาศัยตาม หาดโคลน เช่น หอยแครง เป็นต้น
36. ข้อแตกต่างของแหล่งนํ้าจืดและนํ้าเค็มคือข้อใด
(1) น้ำจืดมักมีกระแสน้ำเชี่ยว
(2) นํ้าทะเลมักมีกระแสน้ำเชี่ยว
(3) นํ้าทะเลมีความเปลี่ยนแปลงตามภาวะอากาศได้ง่ายกว่านํ้าจืด
(4) สัตว์ทะเลกำลังการว่ายน้ำจะคล่องตัวกว่าสัตว์น้ำจืด
ตอบ 1 หน้า 81 – 82 ข้อแตกต่างของแหล่งนํ้าจืดและนํ้าเค็ม มีดังนี้
1. ปริมาณของเกลือในน้ำจืดมีน้อยกว่าน้ำเค็ม 2. น้ำจืดมักมีกระแสน้ำเชี่ยวกว่านํ้าเค็ม
3. นํ้าจืดมีการเปลี่ยนแปลงตามภาวะอากาศได้ง่ายกว่านํ้าเค็ม โดยอุณหภูมิของนํ้าจืด จะมีการเปลี่ยนแปลงตามภาวะอากาศตลอดเวลา
37. สัตว์นํ้าชนิดใดจัดเป็นสัตว์นํ้าจืด
(1) ปลาเก๋า (2) กุ้งตะกาด (3) หอยลาย (4) ปลานิล
ตอบ 4 (คำบรรยาย) สัตว์นํ้าจืด หมายถึง สัตว์ที่อาศัยอยู่ได้เฉพาะแหล่งนํ้าจืดธรรมชาติทั่วไป เช่น แม่น้ำ คู หนอง บึง หรือลำธารนํ้าตกบนภูเขาหรือในป่าดิบชื้น เช่น ปลานิล ปลาจีน ปลาดุก ปลากราย ปลากัด ปลาม้า ปลาแรด กุ้งก้ามกราม หอยขม เป็นต้น
38. Terrestrial Habitat เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย
(1) แหล่งอาศัยนํ้าจืด (2) แหล่งอาศัยนํ้าเค็ม (3) แหล่งอาศัยนํ้ากร่อย (4) แหล่งอาศัยบนพื้นดิน
ตอบ 4 หน้า 79 – 82, (คำบรรยาย) แหล่งที่อยู่อาศัย (Habitat) ที่ประกอบขึ้นมาเป็นโลก มีอยู่ 2 ส่วน คือ
1. Hydrosphere คือ แหล่งอาศัยที่เป็นนํ้า ซึ่งแบ่งออกเป็นแหล่งอาศัยนํ้าจืด (Freshwater /Inland Habitat), แหล่งอาศัยนํ้าเค็ม (Marine /Oceanic /Maritime Habitat) และ แหล่งอาศัยน้ำกร่อย (Estuarine Water Habitat)
2. Lithosphere คือ แหล่งอาศัยที่เป็นพื้นดินหรือแหล่งอาศัยบนบก (Terrestrial /Land Habitat) โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ ดิน อากาศ อุณหภูมิ และปริมาณนํ้าฝน
39. ประเทศไทยจัดอยู่ในภูมิอากาศแบบใด
(1) เขตป่าดิบชื้น (2) เขตป่าผลัดใบ (3) เขตทุ่งหญ้า (4) เขตป่าสน
ตอบ 1 หน้า 82 – 83, (คำบรรยาย) เขตป่าดงดิบ ป่าดิบขึ้น ป่าร้อนชื้น หรือป่าฝนเขตร้อน (Tropical Rain Forest) เนินบริเวณที่อยู่ใกล้เส้นศนย์สูตรของโลก มีความชื้นสูง มีปริมาณนํ้าฝนมากที่สุด โดยเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 80 – 90 นิ้ว มีไม้ยืนต้นขนาดสูงใหญ่จำนวนมาก และเป็นบริเวณ ที่มีสิ่งมีขีวิตอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างหนาแน่น ซึ่งเขตภูมิประเทศแบบนี้จะพบมากในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เช่น ประเทศไทย) เอเชียใต้ แอฟริกากลาง อเมริกากลาง และอเมริกาใต้
40. ข้อใดบอกลักษณะของพันธุ์พืชในเขตป่าดงดิบได้ถูกต้อง
(1) มอสส์ (2) พืชล้มลุก (3) สนสองใบ (4) ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 39. ประกอบ
41. องค์ประกอบที่สำคัญสำหรับแหล่งอาศัยบนพื้นดิน คือ
(1) ความต่างของระดับพื้นที่
(2) ปริมาณนํ้าฝน
(3) ชนิดของพืช
(4) ชนิดของสัตว์
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 38. ประกอบ
42. สัตว์ที่มักจะไม่กินนํ้าเพื่อปรับตัวในด้านต่าง ๆ ในการสงวนนํ้าไว้ในตัว เป็นสัตว์ในภูมิประเทศแบบใด
(1) เขตทุงหญ้า
(2) เขตป่าผลัดใบ
(3) เขตทะเลทราย
(4) เขตร้อนชื้น
ตอบ 3 หน้า 83 – 84 เขตทะเลทราย (Desert) เป็นบริเวณที่มีปริมาณนํ้าฝนโดยเฉลี่ยตลอดปีไม่เกิน 10 นิ้ว จึงทำให้ภูมิภาคนี้มีอากาศร้อนและแห้งแล้งตลอดเวลา แต่อาจมีบางบริเวณ ที่ระดับนํ้าใต้ดินขึ้นมาใกล้ผิวดินมาก ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นมีพืชและสัตว์อาศัยอยู่อย่างชุกชุม ซึ่งเรียกบริเวณที่มีความชุ่มชื้นในทะเลทรายว่า “โอเอซิส” (Oasis) ทั้งนี้สัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขต ทะเลทรายมักจะไม่กินนํ้าเพื่อปรับตัวในด้านต่าง ๆ ในการสงวนนํ้าไว้ในตัว อาศัยอยู่ในโพรง หรือในรู และออกหากินในเวลากลางคืน
43. สัตว์อาศัยในเขตทุ่งหญ้าโดยมากเป็นสัตว์กินอาหารประเภทใด
(1) กินพืช
(2) กินเนื้อ
(3) กินทั้งพืชและเนื้อ
(4) ซากพืชและสัตว์
ตอบ 1 หน้า 83 เขตทุ่งหญ้า (Grassland) เป็นบริเวณที่อยู่ถัดไปทางเหนือและทางใต้ของเขตป่าดงดิบ โดยมีปริมาณนํ้าฝนโดยเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 10 – 30 นิ้ว สัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตนี้โดยมาก เป็นสัตว์ประเภทกินพืช (Herbivorous) ซึ่งต่อไปจะตกเป็นเหยื่อหรืออาหารของสัตว์ประเภท กินเนื้อ (Carnivorous) ที่อาศัยรวมอยู่ในบริเวณนี้ด้วยเช่นกัน
44. แบคทีเรียมีรูปร่างเป็นแท่งยาวโค้ง เรียกว่า
(1) Bacillus (2) Flagellum (3) Spirillum (4) Coccus
ตอบ 3 หน้า 94 – 96 บัคเตรีหรือแบคทีเรีย (Bacteria) มีเซลล์ที่มีขนาดเล็กมากและมีรูปร่าง หลายแบบ โดยแบบที่สำคัญ คือ 1. Coccusเป็นแบคทีเรียที่มีรูปร่างกลม
2. Bacillus เป็นแบคทีเรียที่มีรูปร่างเป็นท่อนทรงกระบอก เช่น Lactobacillus pentosus
3. Spirillum เป็นแบคทีเรียที่มีรูปร่างเป็นแท่งยาวโค้ง
45. แบคทีเรียชนิดก่อให้เกิดโรควัณโรค คือ
(1) Diplococcus pneumoniae (2) Mycobacterium tuberculosis
(3) Vibrio cholerae (4) Salmonella typhosa
ตอบ 2 หน้า 95 – 96 โรคภัยของมนุษย์ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ 1. โรควัณโรค เกิดจากชนิด Mycobacterium tuberculosis 2. โรคปอดบวม เกิดจากชนิด Diplococcus pneumoniae และเชื้ออื่น ๆ 3. อหิวาตกโรค เกิดจากชนิด Vibrio cholerae
4. ไทฟอยด์ เกิดจากชนิด Salmonella typhosa
5. บาดทะยัก เกิดจากชนิด Clostridium tetani ฯลฯ
46. Lactobacillus pentosus มีรูปร่างแบบใด
(1) กลม (2) ท่อนทรงกระบอก (3) แท่งยาวโค้ง (4) กลมรี
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 44. ประกอบ
47. สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมีการดำรงชีวิตได้ทั้งแบบอิสระและปรสิต คือ
(1) Virus (2) Rickettsia (3) Mycoplasma (4) Pneumonia
ตอบ 3 หน้า 96 – 97 สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กใน Phylum Schizophyta ที่มีลักษณะคล้ายแบคทีเรีย แต่มีขนาดเล็กกว่า ได้แก่ Spirochete Mycoplasma Rickettsia และ Virus โดยพวกที่มี การดำรงชีวิตได้ทั้งแบบอิสระและแบบปรสิต ก็คือ Spirochete และ Mycoplasma
48. ข้อความใดบอกลักษณะของแอลจีสีเขียวแกมน้ำเงิน (Blue-green Algae) ไม่ถูกต้อง
(1) มีสารละลาย Phycocyanin ในเซลล์ (2) ไม่มีสาร Chlorophyll กระจายอยู่ในเซลล์
(3) มีชีวิตอยู่ได้ทั้งในน้ำจืดและนํ้าทะเล (4) สามารถเพิ่มปริมาณธาตุไนโตรเจนให้แก่ดิน
ตอบ 2 หน้า 97 Phylum Cyanophyta เป็นโปรติสต์ที่ภายในเซลล์มีสารละลายของสีชนิดที่เรียกว่า Phycocyanin ซึ่งมีสีนํ้าเงินปนอยู่กับสารคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) กระจายอยู่ทั่วเซลล์ โดยส่วนมากจะมีลักษณะเป็นเซลล์เดียว แต่มีบางชนิดอยู่รวมกันเป็นสายยาวและมีเมือกใส หุ้มสายเซลล์ไว้ มีการดำรงชีวิตอยู่ในที่ทั่ว ๆ ไปทั้งนํ้าจืด นํ้าทะเล และในดิน ทำให้มีความสัมพันธ์ กับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เป็นอย่างมาก เพราะบางชนิดสามารถเพิ่มปริมาณธาตุไนโตรเจนให้แก่ดินได้ ตัวอย่างโปรติสต์ในไฟลัมนี้ ได้แก่ แอลจีสีเจียวแกมนํ้าเงิน (Blue-green Algae)
49. Chloreiia จัดเป็นแอลจีอยู่ในไฟลัม (Phylum) ใด
(1) Euglenophyta (2) Cyanophyta (3) Pyrrophyta (4) Chlorophyta
ตอบ 4 หน้า 98 Phylum Chlorophyta เป็นแอลจีที่มีสีเขียวอ่อนหรีอแอลจีสีเขียว (Green Algae)มีทั้งชนิดที่อยู่เซลล์เดียวและที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นสาย บางชนิดอาจมีแส้ (Flagellum) เป็นองค์ประกอบของเซลล์ และมีผนังเซลล์ค่อนข้างแข็งทำให้คงรูปร่างไว้ได้ โดยผนังเซลล์ จะประกอบด้วยสารเซลลูโลส (Cellulose) เหมือนกับในพืชชั้นสูงทั่วไป จึงทำให้สันนิษฐานกันว่า แอลจีในไฟลัมนี้เป็นบรรพบุรุษของพืชชั้นสูง ตัวอย่างของแอลจีสีเจียวเช่น Spiroqyra, Voivox, Chloreiia, Chlamydomonas, Ulva เป็นต้น
50. แอลจีในไฟลัม (Phylum) ใดซึ่งสันนิษฐานเป็นบรรพบุรุษของพืชชั้นสูง
(1) Euglenophyta (2) Cyanophyta (3) Pyrrophyta (4) Chlorophyta
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 49. ประกอบ
51. เหตุผลในข้อใดคือข้อสันนิษฐานว่าเป็นบรรพบุรุษของพืชชั้นสูง
(1) ประกอบด้วยสาร Chlorophyll
(2) มี Flagellum 1 เส้น
(3) ผนังเซลล์ประกอบด้วยสาร Cellulose
(4) ประกอบด้วย Phycocyanin
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 49. ประกอบ
52. แอลจีชนิดใดที่อยู่ในไฟลัม (Phylum) เดียวกับ Spiro§yra
(1) Voivox
(2) Chondrus
(3) Euglena
(4) Laminaria
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 49. ประกอบ
53. แปะก๊วย จัดอยู่ใน Class ใด
(1) คลาสเฮพาทิชี (Class Flepaticae)
(2) คลาสแองจิโอสเปอร์มี (Class Angiospermae)
(3) คลาสจิมโนสเปอร์มี (Class Gymnospermae)
(4) คลาสฟิลิซินี (Class Filicinae)
ตอบ 3 หน้า 115 คลาสจิมโนสเปอร์มี (Class Gymnospermae) เป็นพืชที่มีเมล็ดแต่เมล็ดแก่ไม่มีผนังห้อหุ้ม หรือพืชไม่มีดอก โดยเป็นพืชที่มีอายุหลายปี ลำต้นมีขนาดสูงใหญ่เมื่ออายุมากขึ้น ไม่ผลัดใบ และสืบพันธุ์โดยใช้เมล็ด ได้แก่ ปรง สนแห้ แปะก๊วย และเครือมะเมื่อย
54. Pollination คืออะไร
(1) การถ่ายละอองเกสร (2) การติดเมล็ด (3) การปฏิสนธิ (4) การงอกของเมล็ด
ตอบ 1 หน้า 127 การถ่ายละอองเกสร (Pollination) หมายถึง ปรากฏการณ์ที่ละอองเกสรตัวผู้ ปลิวไปตกบนยอดเกสรตัวเมีย ถ้าเกิดในดอกเดียวกับเรียกว่า Self-Pollination หรือ Close-Pollination แต่ถ้าเกิดต่างดอกกันเรียกว่า Cross Pollination ซึ่งการถ่ายละอองเกสรนี้ จะส่งผลทำให้เกิดการผสมเกสร (Fertilization) ขึ้นในที่สุด
55. Complete Flower หมายถึงอะไร
(1) ดอกที่มีแต่เกสรตัวผู้ (2) ดอกที่มีแต่เกสรตัวเมีย
(3) ดอกที่มีอวัยวะไม่ครบ (4) ดอกที่มีอวัยวะครบ
ตอบ 4 หน้า 125 – 126 Complete Flower หมายถึง ดอกที่มีอวัยวะครบทุกวงชั้น คือ ชั้นของกลีบดอกวงนอกสุด (Calyx), วงชั้นของกลีบดอก (Corolla), วงชั้นของเกสรตัวผู้ (Androecium) และวงชั้นของเกสรตัวเมีย (Gynaecium) ทั้งนี้ในดอกบางชนิดยังมีอีกวงหนึ่งนอกCalyx ออกมา เรียกว่า Epicalyx เช่น ดอกชบา
56. พืชใน Class ใด จัดเป็นพืชดอก
(1) คลาสเฮพาทิชี (Class Flepaticae) (2) คลาสแองจิโอสเปอร์มี (Class Angiospermae)
(3) คลาสจิมโนสเปอร์มี (Class Gymnospermae) (4) คลาสฟิลิซินี (Class Filicinae)
ตอบ 2 หน้า 116 – 117 คลาสแองจิโอสเปอร์มี (Class Angiospermae) เป็นพืชที่มีเมล็ดและเมล็ดมีผนังห่อหุ้ม หรือพืชดอก ได้แก่ ข้าว กุหลาบ พริก มะเขือ เป็นต้น ซึ่งพืชใน Class นี้ นับว่าเป็นพืชที่มีวิวัฒนาการสูงสุด และมีจำนวนมากที่สุดในยุคปัจจุบัน
57. ผักแว่น จัดเป็นพืชใน Class ใด
(1) คลาสเฮพาทิชี (Class Hepaticae) (2) คลาสแองจิโอสเปอร์มี (Class Angiospermae)
(3) คลาสจิมโนสเปอร์มี (Class Gymnospermae) (4) คลาสฟิลิซินี (Class Filicinae)
ตอบ 4 หน้า 113, 115 คลาสฟิลิซินี (Class Filicinae) เป็นพืชในกลุ่มเฟิร์น โดยแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ใหญ่ ๆ คือ 1. เฟิร์นที่อยู่บนบก เช่น เฟิร์นฝอย เฟิร์นเกล็ดหอย เฟิร์นก้านดำ เฟิร์นเขากวาง เฟิร์นข้าหลวงหลังลาย เป็นต้น 2. เฟิร์นที่อยู่ตามชายนํ้า เช่น เฟิร์นปรงไข่ เฟิร์นปรงทอง เฟิร์นปรงนํ้า เป็นต้น 3. เฟิร์นที่อยู่ในนํ้า เช่น ผักแว่น แหนแดง จอกหหนู เป็นต้น
58. เป็นพืชมีอายุหลายปี ไม่ผลัดใบ เมล็ดไม่มีผนังห่อหุ้ม เป็นลักษณะของพืชใน Class ใด
(1) คลาลเฮพาทิชี (Class Hepaticae) (2) คลาสแองจิโอสเปอร์มี (Class Angiospermae)
(3) คลาสจิมโนสเปอร์มี (Class Gymnospermae) (4) คลาสฟิสิซินี (Class Filicinae)
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 53. ประกอบ
59. พืชชนิดใด จัดอยู่ในดิวิชั่นย่อยไลคอพซิดา (Subdivision Lycopsida)
(1) ต้นสามร้อยยอด (2) หญ้าถอดปล้อง (3) หวายทะนอย (4) เฟิร์นก้านดำ
ตอบ 1 หน้า 112-113 พืชในดิวิซับย่อยไลคอพซิดา (Subdivision Lycopsida) มีชื่อสามัญว่า Club Moss เป็นพืชที่ขึ้นรวมอยู่ด้วยกันเป็นกลุม มีใบเป็นแผ่นเล็ก ๆ ขึ้นรอบลำต้น ลำต้น มีทั้งส่วนที่อยู่ใต้ดินและส่วนเหนือระดับดิน ตอนปลายสุดของกิ่งที่อยู่พ้นระดับดินจะมีลักษณะ เป็นข้ออัดแน่นเป็นรูปกรวยเรียกว่า Cone หรือ Strobilus เป็นแหล่งสร้างสปอร์เพื่อการขยายพันธุ์ และมีท่อลำเลียงทั้งในราก ลำต้น และใบ ซึ่งพืชที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ต้นสามร้อยยอด (Lycopodium) หญ้ารังไก่ ข้องนางคลี่ สร้อยนางกรอง และสร้อยสุกรม
60. พืชชนิดใด จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับจอกหูหนู
(1) ต้นสามร้อยยอด (2) หญ้าถอดปล้อง (3) หวายทะนอย (4) เฟรินก้านดำ
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 57. ประกอบ
61. ข้อใดเป็นลักษณะของปรง
(1) มีอายุปีเดียว
(2) สืบพันธุ์โดยใช้สปอร์
(3) เมล็ดแก่ไม่มีผนังห่อหุ้ม
(4) ขึ้นทั่วไปบริเวณที่ชื้นแฉะ
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 53. ประกอบ
62. พืชชนิดใดมีดอกเป็นแบบช่อดอก (Inflorescence)
(1) ฟักทอง
(2) มะเขือ
(3) มะม่วง
(4) พริก
ตอบ 3 หน้า 126 ช่อดอก (Inflorescence) หมายถึง ดอกหลาย ๆ ดอกที่ติดอยู่กับก้านดอกที่เป็น ก้านเดี่ยว ทำให้ดอกมีลักษณะเป็นช่อ ซึ่งพืซที่มีดอกแบบนี้ ได้แก่ มะม่วง กล้วย มะไฟ ซ่อนกลิ่น สะเดา เป็นต้น
63. “หว่านพืชซนิดใด ย่อมได้ผลเป็นพืชชนิดนั้น” ในทางชีววิทยาเราทราบว่านี่เป็นผลการทำงานของ
(1) วิวัฒนาการ
(2) ดีเอ็นเอ
(3) การสืบพันธุ์
(4) ความเป็นสิ่งมีชีวิต
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 20. ประกอบ
64. ผลลัพธ์ของกระบวนการเมแทบอลิซึม คือ
(1) Anabolism (2) Catabolism (3) Reproduction (4) Growth
ตอบ 4 หน้า 147, 153, (คำบรรยาย) กระบวนการเมแทบอลิซึม (Metabolism) เป็นกระบวนการ ทางเคมีทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในตัวของสิ่งมีชีวิต ฃึ่งแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. แอแนบอลิซึม (Anabolism) เป็นกระบวนการสังเคราะห์ที่นำเอาสารโมเลกุลเล็กมาประกอบ รวมกันให้เกิดเป็นสารใหม่ที่มีโมเลกุลใหญ่ขึ้น เช่น การแปรรูปโมเลกุลของกลูโคสให้กลายเป็น แป้งไกลโคเจน ฯลฯ
2. แคแทบอลิซึม (Catabolism) เป็นกระบวบการที่ทำให้สารต่าง ๆ ที่มีโมเลกุลใหญ่แยกสลายได้ เป็นสารโมเลกุลเล็กพื้นฐาน เช่น การย่อยโปรตีนให้กลายเป็นกรดอะมิโน ฯลฯ
ทั้งนี้ผลลัพธ์โดยรวมหรือผลลัพธ์สุดท้ายที่จะได้รับจากกระบวนการเมแทบอลิซึม ก็คือ การเจริญเติบโต (Growth) หรือความมีชีวิต นั่นเอง
65. กระบวนการเมแทบอลิซึมที่เปลี่ยนให้สารโมเลกุลเล็กแปรเป็นสารโมเลกุลใหญ่ คือ
(1) Catabolism (2) Anabolism (3) Metabolism (4) Synthesis
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 64. ประกอบ
66. ผลลัพธ์โดยรวมของกระบวนการเมแทบอลิซึม (Metabolism) คือ
(1) การเจริญเติบโต (2) การขยายขนาด (3) การสืบพันธุ์ (4) การชดเชยทดแทน
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 64. ประกอบ
67. การดำเนินการข้อใดที่จัดเป็น “กระบวนการ” (Process)
(1) ไปตลาด (2) เชียร์กีฬา (3) ลงทะเบียนเรียน (4) ฟังการอภิปราย
ตอบ 3 (คำบรรยาย) กระบวนการ (Process) หมายถึง การกระทำที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอน และมีระเบียบแบบแผนที่แน่นอน เช่น การลงทะเบียนเรียบ การเรียนรู้ การปลูกบ้าน การซักผ้า การหุงข้าว การขับรถ ฯลฯ
68. การย่อยอาหาร สิ้นสุดลงที่
(1) ลำไส้เล็กส่วนปลาย (2) ลำไส้ใหญ่ตอนต้น (3) ลำไส้ใหญ่ตอนกลาง (4) ลำไส้เล็กส่วนกลาง
ตอบ 1 หน้า 149, 152, (คำบรรยาย) การย่อยอาหารทุกประเภทของมนุษย์จะสิ้นสุดสมบูรณ์ที่ลำไล้เล็กตอนปลาย โดยลำไส้เล็กจะมีบทบาทหลักในการย่อยสกัดเอาสารอาหารออกมาใช้งาน คือ สารอาหารที่ได้จากการย่อยสกัดประเภทกรดไขมันและกลีเซอรอลจะถูกดูดซึมและลำเลียง เข้าสู่หลอดนํ้าเหลืองหรือท่อแลคทีล (Lacteal) แล้วเข้าไปในเส้นเลือดไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ ส่วนสารอาหารประเภทกลูโคสและกรดอะมิโนจะถูกดูดซึมและลำเลียงเข้าสู่หลอดเลือดฝอย (Capillary) ไปยังตับและจะถูกนำไปใช้งานต่อไป โดยหลอดนํ้าเหลืองและหลอดเลือดฝอยที่เป็น ทางเข้าของสารอาหารเหล่านี้จะแทรกซึมอยู่ในผนังของลำไส้เล็กซึ่งยื่นออกมาเป็นเส้นเล็ก ๆ เรียกวา วิลลัส (Villus)
69. การสังเคราะห์ให้เกิดสารโมเลกุลใหญ่ในร่างกายเป็นเมแทบอลิซึมด้านใด
(1) แอแนบอลิซึม (Anabolism) (2) แคแทบอลิซึม (Catabolism)
(3) การแลกเปลี่ยน (4) การถ่ายเท
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 64. ประกอบ
70. ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทันทีในสิ่งมีชีวิต แล้วถ่ายทอดลักษณะนั้นไปสู่รุ่นหลังได้ เรียกว่า
(1) Mutation (2) Development (3) Differentiation (4) Evolution
ตอบ1 หน้า 22, 193, (คำบรรยาย) การฝาเหล่าหรือมิวเตชัน (Mutation) เป็นความเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันทีในสิ่งมีชีวิต และลักษณะของความเปลี่ยนแปลงนั้นยังคงสภาพอยู่ และสามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นหลังหรือรุ่นลูกหลานได้ เช่น คนผิวเผือก ปลาดุกเผือก ลิงเผือก หมูห้าขา กบสามขา หมาสามหู ฯลฯ
71. สารอาหารประเภทกรดไขมันและกลีเซอรอล จะถูกดูดซึมเข้าสู่
(1) ท่อแลคทีล
(2) หลอดเลือดฝอย
(3) หลอดเวน
(4) หลอดเลือดอาร์เทอร์
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 68. ประกอบ
72. การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (Meiosis) เปลี่ยนแปลงอย่างไร
(1) จาก 1 เซลล์ได้4 เซลล์
(2) จาก 1 เซลล์ได้3 เซลล์
(3) จาก 1 เซลล์ ได้ 2 เซลล์
(4) จาก 1 เซลล์ ได้ 8 เซลล์
ตอบ 1 หน้า 172 – 174, (คำบรรยาย) การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (Meiosis) เป็นการแบ่งเซลล์เพื่อให้เซลล์นั้นไปทำหน้าที่เป็นเซลล์สืบพันธุ์หรือเซลล์เชื้อเพศของสิ่งมีชีวิตขั้นสูงในวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งลำดับขั้นตอนการแบ่งเซลล์จะมี 2 ขั้นตอนต่อเนื่องกัน โดยเริ่มจากเซลล์ตั้งต้นเดิม 1 เซลล์ แบ่งสองครั้งได้เซลล์ใหม่เกิดขึ้น 4 เซลล์ และแต่ละเซลล์จะมีจำนวนโครโมโซมลดลงครึ่งหนึ่ง ของจำนวนโครโมโซมตั้งต้นเดิม (Haploid Number) ซึ่งการแบ่งเซลล์แบบนี้จะพบได้ในการ สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
73. การปฏิสนธิแบบ Self-fertilization พบในสิ่งมีชีวิตประเภทใด
(1) Monoecious
(2) Dioecious
(3) Synoecious
(4) Poloecious
ตอบ 1 (คำบรรยาย) Self-fertilization เป็นการปฏิสนธิที่เกิดขึ้นในตัวเองโดยไม่ต้องมีคู่ผสมพันธุ์ซึ่งจะเกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตประเภทที่มีเพศครบทั้งสองเพศในต้นหรือในตัวเดียวกัน (Monoecious) โดยที่เชื้อเพศจะแก่ตัวพร้อมกัน และเชื้อเพศผู้ก็จะผสมกับเชื้อเพศเมียในตัวหรือใบต้นเดียวกัน เช่น การปฏิสนธิในพยาธิตัวตืด, การปฏิสนธิในฝักข้าวโพด ฯลฯ
74. การเกิดเนื้อใหม่หลังจากการรักษาบาดแผลแล้ว เป็น
(1) Budding (2) Regeneration (3) Fission (4) Parthenogenesis
ตอบ 2 (คำบรรยาย) การงอกแทนที่ (Regeneration) เป็นกระบวนการสร้างเสริมส่วนของร่างกายที่ขาดหายไปขึ้นมาใหม่ให้ครบสมบุรณ์เหมือนเดิม ภายใต้การควบคุมของ DNA ในนิวเคลียส สารเคมีในไซโตพลาสม์ รวมทั้งสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ซึ่งจะพบได้ในพวกสัตว์ชั้นตํ่าบางชนิด (เช่น ฟองน้ำ ปลาดาว ฯลฯ) และพืชที่ยังไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง (เช่น ลิเวอร์เวิร์ต ฯลฯ) เช่น การเกิดเนื้อใหม่หลังจากการรักษาบาดแผลแล้ว เป็นต้น
75. กล้วยไข่ กล้วยหอม ไม่มีเมล็ด เติบโตโดยวิธี
(1) Regeneration (2) Budding (3) Fission (4) Parthenogenesis
ตอบ 4 หน้า 175 พาร์ทีโนจีเนซิส (Parthenogenesis) เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศที่ไข่หรือ เซลล์สืบพันธุ์เพศเมียสามารถจะเจริญเติบโตเป็นสิ่งมีชีวิตหรือเป็นผลไม้ขึ้นมาได้เอง โดยไม่ต้อง ได้รับการผสมพันธุ์จากเซลล์เพศผู้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เป็นการได้ลูกหรือผลจากไข่ที่ไม่มีการปฏิสนธิหรือไม่ได้รับการผสมเชื้อเพศผู้ ซึ่งตัวอย่างที่พบเห็นเป็นประจำ เช่น มด ผึ้ง ปลวก องุ่นไร้เมล็ด ส้มไร้เมล็ด แตงโมไร้เมล็ด กล้วยไข่ กล้วยหอม เป็นต้น
76. การสร้างเซลล์เชื้อเพศ เรียกทั่วไปว่า
(1) Oogenesis (2) Spermatogenesis (3) Gametogenesis (4) Meiosis
ตอบ 3 หน้า 172, (คำบรรยาย) กระบวนการสร้างเซลล์เชื้อเพศหรือเซลล์สืบพันธุ์ในสิ่งมีชีวิต หากกล่าว โดยรวมทั่วไปไม่ระบุชนิดของเพศ เรียกว่า “แกมีโทจิเนซิส‘’ (Gametogenesis) ซึ่งแบ่งออกเป็น
1. กระบวนการสร้างเซลล์ไข่หรือเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย เรืยกว่า “โอโอจีเนซิส” (Oogenesis)
2. กระบวนการสร้างสเปิร์มหรือเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ เรียกว่า “สเปอร์มาโทจีเนซิส” (Spermatogenesis)
77. เมื่อสเปิร์มเข้าไปผสมกับไข่แล้ว เกิดเป็นระยะสืบพันธุ์ที่เรียกว่า
(1) ไซโกต (2) เอ็มบริโอ (3) Fetus (4) Enfant
ตอบ 1 หน้า 184 – 185, (คำบรรยาย) เมื่อสเปิร์มเข้าไปผสมหรือปฏิสนธิกับไข่แล้ว ไข่จะแปรสภาพ เกิดเป็นระยะสืบพันธุ์ที่เรียกว่า ไซโกต (Zygote) และจากนั้นไซโกตก็จะเจริญเป็นตัวอ่อนหรือเอ็มบริโอ (Embryo) ภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์
78. ความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เด็กอ่อนจนถึงวัยรุ่น จัดเป็น
(1) Differentiation (2) Development (3) Mutation (4) Evolution
ตอบ 2 (คำบรรยาย) พัฒนาการ (Development) เป็นความเปลี่ยนแปลงที่ต้องใช้ระยะเวลายาวนาน แต่เราสามารถรู้ขั้นตอนหรือเห็นผลของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ เช่น การเจริญเติบโตหรือ พัฒนาการตามขั้นตอนของเด็กอ่อนจนถึงวัยรุ่น เป็นต้น
79. ปีนี้เป็นปีมะเมีย สัตว์ชนิดนี้มีการออกลูกแบบใด
(1) Oviparous (2) Ovoviviparous (3) Viviparous (4) Omnivorous
ตอบ 3 หน้า 91, 138, (คำบรรยาย) Enaima เป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง และเลือดมีสีแดง ซึ่งประกอบด้วยสัตว์ 2 พวก ได้แก่
1. Oviparous คือ สัตว์ที่ตัวเมียออกลูกเป็นไข่ เช่น เต่า จระเข้ กบ ยุง เป็ด ไก่ ตุนปากเป็ด ห่าน ไดโนเสาร์ เป็นต้น
2. Viviparous คือ สัตว์ที่ตัวเมียออกลูกเป็นตัว เช่น มนุษย์ (คน) ปลาฉลาม ปลาวาน ปลาโลมา พะยูน ค้างคาว ม้า (มะเมีย) วัว สุนัข แมว หนุ จิงโจ้ หมีแพนค้า เป็นต้น
80. การเกิดทารกแฝดที่มีหน้าตา เพศ และอุปนิสัยเหมือนกันมาก เรียกว่าทารกแฝดร่วมไข่ (Identical Twins)มีโอกาสเกิดได้จาก
(1) เกิดจากไข่ 1 ใบ + สเปีร์ม 2 ตัว หรือมากกว่า
(2) เกิดจากไข่ 1 ใบ + สเปิร์ม 1 ตัว แต่แตกต่างกันเมื่อมีการแบ่งเซลล์หลังปฏิสนธิ
(3) เกิดจากไข่ 1 ใบ เกิดการแบ่งเซลล์หลายเซลล์แล้วจึงปฏิสนธิภายหลัง
(4) จำนวนไข่กี่ใบก็ได้ แต่เกิดการผสมในข่วงเวลาเดียวกัน
ตอบ 2 หน้า 184, (คำบรรยาย) ฝาแฝดแท้ (Identical Twins) เป็นฝาแฝดที่เกิดจากไข่ 1 ใบถูกผสมด้วยสเปิร์ม 1 ตัว ได้เป็นไซโกต แต่แตกต่างกันเมื่อมีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (Mitosis) จาก 1 เป็น 2 หลังการปฏิสนธิ โดยแต่ละเซลล์ก็จะเป็นต้นกำเนิดของ 1 ชีวิต ฝาแฝดแบบนี้ จะมีเพศเดียวกัน มีลักษณะหน้าตาและอุปนิสัยเหมือนกันมาก หรือที่เรียกว่าทารกแฝดร่วมไข่
81. การเคลื่อนไหวที่เกิดจากกระบวนการทำงานของเซลล์พืช ซึ่งไม่จัดว่าเป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าคือข้อใด
(1) การเคลื่อนที่ของสาหร่ายเซลล์เดียวเมื่ออุณหภูมินํ้าเปลี่ยนแปลง
(2) ต้นพืชมีความสูงมากขึ้นเมื่อมีฮอร์โมนมากระตุ้น
(3) การเหี่ยวของใบไมยราบเมื่อโดนสัมผัส
(4) การบานของดอกบัวเมื่อได้รับแสงแดด
ตอบ 3 หน้า 201 การเคลื่อนไหวที่เกิดจากกระบวนการทำงานของเซลล์พืช ซึ่งไม่จัดว่าเป็นการตอบสนอง ต่อสิ่งเร้า มี 2 แบบ คือ
1. การเคลื่อนไหวจากความเต่งของเนื้อเยื่อ เป็นการเคลื่อนไหวที่เกิดจากกระบวนการ Osmosis ทำให้ใบเต่งหรือเหี่ยวเฉาม้วนเข้าหากัน ซึ่งพบมากในใบพืชตระกูลถั่ว เช่น การเหี่ยวของ ใบไมยราบเมื่อโดนสัมผัส เป็นต้น
2. การเคลื่อนไหวของเนื้อเยื่อที่ไม่มีชีวิต เป็นการเคลื่อนไหวที่เกิดจากการขยายตัวของเซลล์ ภายหลังที่ได้รับความชื้น เช่น การแตกของฝักหรือผลแห้ง, การแตกของฝักต้อยติ่ง เป็นต้น
82. ข้อใดจัดเป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสิ่งมีชีวิต
(1) การมองเห็นของนก
(2) การได้ยินเสียงเรียกของสุนัข
(3) การเคลื่อนที่เข้าหาแสงของแมลง
(4) การแลบลิ้นของงูเขียว
ตอบ 3 หน้า 195, (คำบรรยาย) การตอบสนองต่อสิ่งเร้า (Responsiveness) หมายถึง การที่สิงมีชีวิต มีการตอบสนองต่อสิ่งที่มากระตุ้น เพื่อให้มีการปรับตัวหรือต่อต้านต่อสิ่งที่มากระตุ้นนั้น เช่น การเคลื่อนที่เข้าหาแสงของแมลง, ดอกไม้บานในยามเช้าเมื่อได้รับแสงแดด, ใบพืชเหี่ยวเมื่อ อุณหภูมิสูงขึ้น, การจ้องมองภาพหรือวัตถุ, การมีความรู้สึกเจ็บปวดและหดมือถอยหนีเมื่อโดน นํ้าร้อนลวก ถูกของแหลมทิ่มแทงหรือถูกไฟจี้, การที่ต้นไม้เอนเข้าหาแสงสว่าง, การเหลียวไปมอง เมื่อได้ยินเสียง เป็นต้น
83. งูจงอางมองวัตถุที่เคลื่อนที่แล้วเลื้อยตาม งูชนิดนี้มีหน่วยรับความรู้สึกที่เรียกว่า
(1) Thermoreceptor (2) Pressoreceptor (3) Photoreceptor (4) Phonoreceptor
ตอบ3 หน้า 196, (คำบรรยาย) ในกระบวนการรับความรู้สึก (Reception) มีอวัยวะที่เป็นหน่วยรับความรู้สึก ได้แก่
1. Thermoreceptor เป็นอวัยวะที่รับความรู้สึกร้อนหรือเย็น (อุณหภูมิ) ได้แก่ ผิวหนัง
2. Photoreceptor เป็นอวัยวะที่รับความรู้สึกเกี่ยวกับแสงสว่าง ได้แก่ ตา เช่น งูจงอางมองเห็น วัตถุที่เคลื่อนที่แล้วเลื้อยตาม เป็นต้น
3. Pressoreceptor เป็นอวัยวะที่รับความรู้สึกสัมผัสและความเจ็บปวด ได้แก่ ผิวหนัง
4. Chemoreceptor เป็นอวัยวะที่รับความรู้สึกด้านรสและกลิ่น ได้แก่ ลิ้น จมูก และ หนวดแมลงบางชนิด เช่น ผีเลื้อกลางคืน เป็นต้น
5. Phonoreceptor เป็นอวัยวะที่รับความรู้สึกด้านเสียง ได้แก่ หู
84. การเจริญของรากไทรจากยอดต้นไม้อื่นลงสู่พื้นดิน เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เรียกว่า
(1) Thermonastic (2) Geotropism (3) Chemotropism (4) Hydrotropism
ตอบ 2 หน้า 200 Geotropism เป็นการเคลื่อนไหวตอบสนองภายนอกต้นพืชเนื่องจากการเจริญเติบโต โดยมีแรงดึงดูดของโลกเป็นสิ่งเร้า เช่น การเจริญของรากไทรจากยอดต้นไม้อื่น ลงสู่พื้นดิน เป็นต้น
85. การตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เกิดในโปรโตพลาสม์ พบในสิ่งมิชีวิตพวกใด
(1) ในสัตว์ชั้นสูง (2) ในพวกพืชทั่วไป
(3) สิ่งมีชีวิตชั้นต่ำประเภทเซลล์เดียว (4) พบในสิ่งมีชีวิตทุกข้อที่กล่าวมา
ตอบ 3 หน้า 98, 106, 195 – 196, (คำบรรยาย) การตอบสนองต่อสิ่งเร้าในสิ่งมีชีวิตชั้นตํ่าประเภท เซลล์เดียวซึ่งได้แก่ พวกโปรติสตา (Protista) เช่น ยูกลีบา อะมีนา พารามีเซียม จะเกิดขึ้น พร้อมกันในก้อนโปรโตพลาสม์ ส่วนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าในสัตว์ขชั้นสูงและใบพืชทั่วไปนั้น จะมีโครงสร้างหรืออวัยวะที่ทำหน้าที่เป็นสัดส่วนแยกออกจากกัน
86. งูกะปะรับสัญญาณของเหยื่อโดยอาศัยหน่วยรับความรู้สึกที่เกี่ยวกับอุณหภูมิ เรียกหน่วยรับความรู้สึกนั้นว่า
(1) Chemoreceptor (2) Phonoreceptor (3) Thermoreceptor (4) Pressoreceptor
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 83. ประกอบ
87. นายดำเป็นนักโทษหนีคดี เมื่อพบเห็บเจ้าหน้าที่ตำรวจและรู้ว่าตนเองต้องโดนจับ แต่นายดำยืนนิ่ง เหมือนคนทำอะไรไม่ถูก นายดำน่าจะขาดกระบวนการใดในการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
(1) กระบวนการรับความรู้สึก (Reception)
(2) กระบวนการตอบโต้ (Effect)
(3) กระบวบการนำความรู้สึก (Conduction)
(4) กระบวนการแปลความหมายและสั่งการ (Modulation)
ตอบ 2 หน้า 197 – 198, (คำบรรยาย) กระบวนการตอบโต้ (Effect) เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง ระบบกล้ามเบื้อ เซลล์ประสาทสั่งการ (Motor Neuron) และระบบต่อมสร้างฮอร์โมน ซึ่งเกิดขึ้น หลังจากที่กระแสความรู้สึกถูกส่งผ่านเซลล์ประสาทรับความรู้สึก (Sensory Neuron) ไปยัง ระบบประสาทส่วนกลาง (สมองและไขสันหลัง) แล้ว โดยที่ Motor Neuron จะส่งกระแสคำสั่ง จากระบบประสาทส่วนกลางมากระตุ้นให้หน่วยตอบสนองหรือกล้ามเนื้อในบริเวณใกล้กับ แหล่งรับความรู้สึกทำงานด้วยการหดตัวของเส้นใยกล้ามเนื้อ จึงทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในรูปแบบ ต่าง ๆ เช่น การวิ่งหลบหนีเจ้าหน้าที่ตำรวจของนักโทษหนีคดี การหดตัวของกล้ามเนื้อขา เพื่อให้เดินถอยหลัง การเดินเลี่ยงเมื่อเรามองเห็นวัตถุอันตราย เป็นต้น
88. การพรางตัวของสิ่งมีชีวิตพวกผีเสื้อให้มีสีเหมือนวัตถุที่เกาะอาศัย เกิดประโยชน์กับผีเสื้อด้านใดมากที่สุด
(1) จับเหยื่อพวกแมลงเป็นอาหาร (2) หลีกเลี่ยงจากการเป็นเหยื่อของผู้ล่า
(3) เพื่อความสวยงามดึงดูดเพศตรงข้าม (4) ขับไล่ศัตรู
ตอบ 2 หน้า 228 – 230, (คำบรรยาย) การปรับตัวทางด้านรูปร่างของสิ่งมีชีวิตนั้น มีจุดมุ่งหมาย สำคัญ 2 ประการ คือ
1. เพื่อเอื้อประโยชน์ในการหาอาหาร เช่น ตั๊กแตนมีลักษณะปากแข็งแรง, นกกระยางมีนิ้วเท้า เรียวยาวเหมาะแก่การทรงตัว, นกกานํ้ามีนิ้วเท้าแบนมีพังผืด, งูเชียวหางไหม้ชอบอาศัยอยู่ ตามพุ่มไม้ที่มีสีเขียว, นกฮูกมีนิ้วเท้างองุ้มเล็บแหลมคม, ไก่มีเล็บเท้าใหญ่และแข็งเหมาะแก่ การคุ้ยเขี่ย เป็นต้น
2. เพื่อการป้องกันหรือหลบหลีกอันตรายจากศัตรู (ผู้ล่า) เช่น การมีหูและขาหลังที่ยาวของกระต่าย, การมีเปลือก กระดอง เกล็ด ขนแข็ง ของหอย ปู เต่า นิ่ม และเม่น, การเปลี่ยนสีเลียนแบบ ธรรมชาติหรือการพรางตัวให้มีสีเหมือนวัตถุที่เกาะอาศัยของผีเสื้อกลางคืน เป็นต้น
89. การเบนหาแสงของยอดพืชเป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยมีฮอร์โมนใดเกี่ยวข้อง
(1) ไคนิน (Kinin)
(2) ออกซิน (Auxin) (3) จิบเบอเรลลิน (Gibberellin) (4) อินซูลิน (Insulin)
ตอบ 2 หน้า 199 ออกชิน (Auxin) เป็นสิ่งเร้าภายในในรูปฮอร์โมนพืชที่ช่วยส่งเสริมและควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งฮอร์โมนนี้พืชจะสร้างจากปลายยอดแล้วลำเลียงลงสู่รากในลักษณะ ที่หนีแสงสว่าง ทำให้พืชเกิดการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงหรือมีพฤติกรรมการตอบสนอง โดยการที่ยอดพืชจะโค้งหรือเบนเข้าหาแสง ส่วนรากพืชจะเบนหนีแสง
90. สัตว์บางชนิดส่งสารติดต่อกันได้โดยใช้กลิ่นที่ขับออกมานอกร่างกาย กลิ่นที่สัตว์เหล่านั้นสร้างขึ้น เรียกว่า
(1) ฮอร์โมน (2) ฟีโรโมน (3) พาราฮอร์โมน (4) อะดรินาลีน
ตอบ 2 หน้า 209, (คำบรรยาย) ฟีโรโมน (Pheromone) เป็นกลิ่นของสารอินทรีย์เคมีที่สร้างโดยต่อมมีท่อ แล้วถูกขับออกมาใช้งานภายนอกร่างกาย เพื่อการสื่อสารหรือส่งสารติดต่อ กับสิ่งมิชีวิตชนิดเดียวกัน เช่น กลิ่นตัวและกลิ่นเหงื่อของคน, กลิ่นสาบของสัตว์ต่าง ๆ,การเดินตามกันเป็นแถวของปลวกหรือมด, แมลงต่างๆ ที่อยู่ห่างไกลกันสามารถติดตามหรือ ส่งสารติดต่อกันได้ เป็นต้น
91. “สิ่งมิชีวิตรุ่นลูกมีความแตกต่างจากพ่อแม่โดยสิ้นเชิง เกิดเนื่องจากความผันแปรทางพันธุกรรมหรือมิวเตชัน”ความคิดเห็นนี้กล่าวโดยผู้ใด
(1) ลามาร์ค (Lamarck)
(2) ดาร์วิน (Darwin)
(3) เดอ ฟรีส์ (De Vries)
(4) อริสโตเติล (Aristotle)
ตอบ 3 หน้า 213, (คำบรรยาย) ฮิวโก เดอ ฟรีล์ (Hugo De Vries) ได้กล่าวถึงทฤษฎีวิวัฒนาการของ สิ่งมีชีวิตไว้ว่า สิ่งมีชีวิตอาจเกิดพันธุ์ใหม่ขึ้นได้อย่างทันทีทันใด เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น ภายในเซลล์สืบพันธุ์ และความเปลี่ยนแปลงนี้สามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้ นั่นคือ สิ่งมีชีวิต รุ่นลูกจะมีความแตกต่างจากพ่อแม่โดยสิ้นเชิง เกิดเนื่องจากความผันแปรทางพันธุกรรม ซึ่งการผันแปรนี้เรียกว่า “การผ่าเหล่าหรือมิวเตชัน” (Mutation)
92. ผู้ใดกล่าวถึงทฤษฎีวิวัฒนาการ “Law of use and disuse”
(1) Mendel
(2) Lamarck
(3) De Vries
(4) Darwin
ตอบ 2 หน้า 212, (คำบรรยาย) ลามาร์ค (Lamarck) ได้กล่าวถึงทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ไว้ในหนังสือชื่อ Philosophie Zoologigue โดยได้เสนอความคิดเกี่ยวกับการสร้างสมและ การถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นใหม่อันเนื่องมาจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ภายใต้กฎของการใช้ และไม่ใช้ (Law of use and disuse)
93. “การคัดสรรโดยธรรมชาติ” เป็นทฤษฎีทางวิวัฒนาการที่กล่าวถึงการเกิดของสิ่งมีชีวิตบนโลก สอดคล้อง ในหลายเรื่อง ยกเว้นข้อใด
(1) สิ่งมีชีวิตมีการแข่งขันกับสิ่งแวดล้อม
(2) สิ่งมีชีวิตมีความผันแปรทางพันธุกรรม
(3) อวัยวะของสิ่งมีชีวิตที่ใช้บ่อยจะยังหลงเหลือและถ่ายทอดสู่รุ่นลูก
(4) ลูกสุนัขจิ้งจอกตัวที่อ่อนแอมักจะแย่งอาหารไม่ทันและอาจอยู่รอดไม่ถึงวัยเจริญพันธุ์
ตอบ 3 หน้า 212 – 213 ชาร์ลล์ ดาร์วิน (Charles Darwin) ได้กล่าวถึงทฤษฎีวิวัฒนาการในเชิงการเกิด ของสิ่งมีชีวิตบนโลกไว้ 4 ประการ คือ 1. สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันย่อมมีความผันแปรทางพันธุกรรม (Variation)
2. สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ มักมีลูกหลานมากเกินไป จนไม่มีอาหารหรือได้รับการเลี้ยงดู ไม่เพียงพอแก่ความต้องการของลูกหลานทุกชีวิตนั้น
3. สิ่งมีชีวิตเกิดการแก่งแย่งแข่งขัน เพื่อให้ตนเองได้รับอาหารมากตามต้องการ
4. สิ่งมีชีวิตมีการแข่งขันกับสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ โดยผู้ที่อ่อนแอจะตายไป เหลืออยู่แต่ผู้ที่เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมที่สุดเท่านั้นจึงจะอยู่รอด มีอาหาร และถ่ายทอดหรือสอนลักษณะนั้น ๆ สืบต่อกันจากบรรพบุรุษไปยังลูกหลาน เกิดเป็น พันธุ์ใหม่ที่ดีขึ้นมา ซึ่งดาร์วินเรียกวิธีการนี้ว่า“การคัดสรรโดยธรรมชาติ” (Natural Selection)
94. หลักฐานบรรพชีวินในข้อใดที่ยืนยันการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในปัจจุบัน
(1) สารเคมีของสิ่งมีชีวิตในอดีตเป็นสารชนิดเดียวกันกับที่พบในปัจจุบัน
(2) ตัวอ่อนของไก่ ปลา สุกร และมนุษย์มีความเหมือนกันมาก จึงเชื่อว่ามีบรรพบุรุษร่วมกัน
(3) ฟอสซิลของพืชกลุ่มเฟิร์นชนิดที่เหลือรอดจากการสูญพันธุ์และพบได้ในปัจจุบัน
(4) งูเหลือมมีร่องรอยของกระดูกขาหลังหลงเหลืออยู่ แสดงว่าบรรพบุรุษในอดีตเดินได้
ตอบ 3 หน้า 213 – 215 หลักฐานที่ยืนยันการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตบนโลกในยุคปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 บระเภท คือ
1. หลักฐานทางบรรพชีวินที่ศึกษาเกี่ยวกับซากสิ่งมีชีวิตที่กลายเป็นหิน หรือที่เรียกว่า ฟอสซิล (Fossil) เช่น ฟอสซิลของพืชกลุ่มเพิร์นชนิดที่เหลือรอดจากการสูญพันธุ์และพบได้ในปัจจุบัน
2. หลักฐานจากการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของสิ่งมีชีวิตในแง่รูปร่าง โครงสร้าง พัฒนาการ และลักษณะการทำงานของอวัยวะในสิ่งมีชีวิต
95. ข้อใดกล่าวถึงทฤษฎีวิวัฒนาการ “การคัดสรรโดยธรรมชาติ” ของชาร์ลล์ ดาร์วิน ได้ถูกต้องที่สุด
(1) สัตว์ป่ามีการคัดเลือกผู้นำฝูงในการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม
(2) สัตว์ป่าเกิดการคัดสรรโดยธรรมชาติ ตัวที่แข็งแรงจึงจะอยู่รอดได้
(3) การคัดเลือกพันธุ์พืชที่ดีที่สุดมาปลูก ช่วยให้พืชมีอายุยืนยาวถึงลูกถึงหลาน
(4) การคัดเลือกพันธุ์ตามธรรมชาติที่ดีที่สุด คือ การผสมพันธุ์ในเครือญาติเดียวกัน
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 93. ประกอบ
96. ข้อใดกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงที่จัดเป็นวิวัฒนาการที่ถูกต้องที่สุด
(1) การตัดไม้ทำลายป่าเมื่อเวลาผ่านไปทำให้ภูเขากลายเป็นเขาหัวโล้น
(2) การผสมข้ามพันธุ์ของไม้ดอกทำให้รุ่นลูกมีดอกที่แตกต่างจากรุ่นพ่อแม่
(3) ยีราฟในยุคแรกและยุคปัจจุบันมีลำคอยาวต่างกันเนื่องจากปรับตัวเพื่อหาอาหาร
(4) วิวัฒนาการเกิดขึ้นเฉพาะในสัตว์มีกระดูกสันหลังเท่านั้น
ตอบ 3 หน้า 9. 211 – 212, (คำบรรยาย) วิวัฒนาการ (Evolution) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจากสภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่ง ในลักษณะที่ค่อยเป็นค่อยไปตามลำดับขั้นโดยใข้ระยะเวลา ยาวนานมาก ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. วิวัฒนาการเกี่ยวกับสิ่งไม่มีชีวิต (Inorganic Evolution) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องอยู่ใน หลายสาขาวิขา เช่น ทางดาราคาสตร์ ทางธรณีวิทยา ทางเคมี เป็นต้น
2. วิวัฒนาการเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต (Organic Evolution) ซึ่งจะพบในสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน ที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษร่วมกัน หากแต่มีความผิดแผกแปรผันจากกันไปเพราะ ความเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมและการปรับปรุงสภาพให้เหมาะสมกับภาวะแวดล้อม เช่น ยีราฟในยุคแรกและยุคปัจจุบันมีลำคอยาวต่างกันเนื่องจากปรับตัวเพื่อหาอาหาร เป็นต้น
97. ข้อใดไม่ใช่การปรับตัวเพื่อควบคุมปริมาณน้ำในต้นพืชของพืชพวก Xerophyte
(1) มีปากใบบนผิวใบเพื่อควบคุมการคายนํ้า (2) ใบมีขนาดเล็ก ลดรูปเป็นหนาม
(3) มี Cutin ที่ผิวของลำต้น (4) ผลัดใบในฤดูร้อน
ตอบ 1 หน้า 231 Xerophyte ได้แก่ พืชที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่แห้งแล้ง มีนํ้าน้อย พืชพวกนี้มักมีใบเล็กมาก หรือเปลี่ยนใบไปเป็นหนาม ไม่มีปากใบ ลำต้นทำหน้าที่สังเคราะห์แสงสร้างอาหาร แทนใบได้ รากยาวหยั่งลึกและแผ่ไปไกลเพื่อดูดหาน้ำ นอกจากนี้ยังมีสาร Cutin ฉาบเคลือบผิว ของลำต้นไว้ค่อนข้างหนาเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำระเหย และมักจะผลัดใบในฤดูร้อน
98. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต
(1) การปรับตัวไมใช่สัญชาตญาณ (2) การปรับตัวเกิดขึ้นเพื่อหาอาหาร
(3) การปรับตัวเกิดขึ้นเพื่อหลบหนีภัยอันตราย (4) การปรับตัวเกิดขึ้นเพื่อดำรงเผ่าพันธุ์
ตอบ 1 หน้า 227 – 228 การปรับตัว (Adaptation) หมายถึง วิถีทางที่สิ่งมีชีวิตจัดทำหรือแสวงหา เพื่อปรับปรุงส่งเสริมความเป็นอยู่ให้สิ่งมีชีวิตชนิดนั้นดำรงอยู่ในถิ่นที่อาศัยของตนอย่าง มีความสุขสบาย เป็นการปรับตัวที่เกิดขึ้นโดยสัญชาตญาณ ทั้งนี้โดยมีจุดประสงค์ที่สำคัญ 3 ประการ คือ เพื่อการหาอาหาร เพื่อการต่อสู้ป้องกันและหลบหนีภัยอันตราย และ เพื่อการสืบพันธุ์หรือการดำรงเผ่าพันธุ์
99. ข้อใดเกี่ยวข้องกับ Physiological Adaptation
(1) การสร้าง Cyst ของโปรโตซัว (2) เล็บที่ใหญ่และแข็งแรงของไก่
(3) ปากแบบม้วนเข้าของผีเสื้อ (4) ปากแบบท่อดูดของยุง
ตอบ 1 หน้า 228, 230 – 231, (คำบรรยาย) การปรับตัวทางสรีระ (Physiological Adaptation) หมายถึง การปรับตัวทางด้านโครงสร้างภายในร่างกายและหน้าที่ของอวัยวะเหล่านั้นจะมีทั้ง เพื่อการหาอาหาร การป้องกันตัว และการสืบพันธุ์ ซึ่งการปรับตัวแบบนี้จะเป็นไปอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่สัตว์ชั้นตํ่ามาจนถึงสัตว์ชั้นสูง รวมตลอดไปถึงพืชด้วย เช่น การสร้างเกราะ (Cyst) ขึ้น ห่อหุ้มร่างกายของโปรโตซัว (เช่น อะมีบา) และจุลินทรีย์หลายชนิดเพื่อป้องกันความแห้งแล้ง, การมีกลิ่นเหม็นของเม่น เป็นต้น
100. ข้อใดเกี่ยวข้องกับ Behavioral Adaptation
(1) การยืนไม่ได้ของนกกระจอกเทศ (2) การมีกลิ่นเหม็นของเม่น
(3) การชอบกินเนื้อสัตว์ของเสือดาว (4) ความขี้ระแวง ตกใจง่ายของกระต่าย กระรอก
ตอบ 4 หน้า 228, 231 การปรับตัวทางพฤติกรรม (Behavioral Adaptation) เป็นการปรับตัว เพื่อเสริมและสอดคล้องกับการปรับตัวทางด้านรูปร่างและสรีระ เช่น นิสัยหรือพฤติกรรม ในการเดินย่อง จดจ้อง และกระโดดอย่างว่องไวของเสือดาว, การมีนิสัยขี้ระแวง ตกใจง่าย และกระโดดหนีไปได้อย่างรวดเร็วของกระต่ายและกระรอก เป็นต้น