81. ศิลปะอินเดียสมัยใดที่ไม่นิยมรูปเคารพ
(1) ศิลปะอินเดียสมัยโบราณ
(2) ศิลปะอมราวดี
(3) ศิลปะปาละ-เสนะ
(4) ศิลปะอิสลาม
ตอบ 4 หน้า 106 – 107 ศิลปะอิสลาม (พุทธศตวรรษที่ 18 – 23) จะไม่นิยมทำรูปเคารพแต่อย่างใด ดังนั้นจึงไม่ปรากฏว่ามีรูปเคารพที่เป็นประติมากรรมเลย แต่สิ่งที่เหลือให้ชื่นชมและมีความงามที่ แปลกใหม่ คือ จิตรกรรมและสถาปัตยกรรม
82. ศิลปะทวารวดี
(1) ทำขึ้นจากคติทางศาสนาพุทธหินยานนิกายหนึ่ง
(2) เป็นศิลปะสมัยแรกสุดของไทย
(3) เป็นศิลปะที่เจริญขึ้นทางตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
(4) ศิลปะของเขมร
ตอบ 2 หน้า 119 – 120, 214 ศิลปะทวารวดี เป็นศิลปะสมัยแรกสุดของไทยที่เจริญขึ้นทางภาคกลาง และทำขึ้นจากคติทางพุทธศาสนาหินยานอย่างเถรวาทที่ใช้ทั้งภาษาบาลีและสันสกฤต พุทธศาสนามหายาน และศาสนาฮินดู จึงปรากฏมีอิทธิพลของศิลปะอมราวดีซึ่งเป็นศิลปกรรม ที่ทำขึ้นจากคติทางพุทธหินยาน รวมทั้งศิลปะคุปตะ หลังคุปตะ และศิลปะปาละ-เสนะที่ทำขึ้น จากคติทางพุทธศาสนามหายาน
83. พระบรมธาตุไชยาเป็นสถาปัตยกรรมในศิลปะ
(1) ทวารวดี
(2) ศรีวิชัย
(3) ลพบุรี
(4) สุโขทัย
ตอบ 2 หน้า 129 พระบรมธาตุไชยา จ. สุราษฎร์ธานี เป็นสถาปัตยกรรมที่แม้จะได้รับการบูรณะ ซ่อมแซมมาบ้าง แตก็ยังคงเห็นลักษณะเดิมของสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัยอยู่ ในขณะที่ สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ที่พบใน อ. ไชยา จ. สุราษฎร์ธานีนั้น ได้รับการซ่อมแซมจนเกือบ จะไม่เห็นสถาปัตยกรรมรูปเดิม
84. พระพิมพ์ในศิลปะทวารวดีต่างจากพระพิมพ์ในสมัยศรีวิชัยคือ
(1) ทำขึ้นเพื่อสืบศาสนาพุทธ (2) เป็นพระพิมพ์ดินดิบ
(3) นิยมทำพระกำแพงร้อย (4) เป็นพระพิมพ์สำริด
ตอบ 1 หน้า 124, 129 พระพิมพ์ของศิลปะทวารวดีมักสร้างด้วยดินเผาเพื่อไว้สืบพระบวรพุทธศาสนา โดยมักมีพระธรรมหรือคาถาเย ธมมาฯ อันเป็นหัวใจของศาสนาปรากฎอยู่ ส่วนพระพิมพ์ของ ศิลปะศรีวิชัยนั้นทำขึ้นจากคติทางมหายาน โดยนิยมทำพระพิมพ์ดินดิบเพราะไม่ได้ถือการสืบพระพุทธศาสนาเป็นที่ตั้ง แต่ถือปรมัตประโยชน์ของผู้มรณภาพไปแล้ว
85. ศิลปะของไทยสมัยใดที่มีความคล้ายคลึงกับศิลปะเขมร
(1) ศิลปะศรีวิชัย (2) ศิลปะลพบุรี (3) ศิลปะสุโขทัย (4) ศิลปะอยุธยา
ตอบ 2 หน้า 132 ศิลปะลพบุรี เจริญขึ้นทางภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยโดยลักษณะทางศิลปกรรมจะคล้ายคลึงกับศิลปกรรมในเขมร ทั้งนี้เพราะดินแดนส่วนใหญ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเมืองลพบุรีของไทยเคยอยู่ในครอบครองของเขมรมาก่อน
86. ศิลปะของไทยสมัยใดที่นิยมสร้างสถาปัตยกรรมด้วยศิลาแลง
(1) ศิลปะลพบุรี (2) ศิลปะสุโขทัย (3) ศิลปะอยุธยา (4) ศิลปะทวารวดี
ตอบ1 หน้า 136, 148 สถาปัตยกรรมลพบุรีมักจะนิยมก่อด้วยศิลาแลงมากที่สุดและสร้างเป็นเทวาลัยบนเชิงเขาสูง ส่วนสถาปัตยกรรมสุโขทัยที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะลพบุรีก็มักจะก่อด้วย ศิลาแลงเช่นกัน เช่น พระปรางค์วัดพระพายหลวง หรือศาลตาผาแดง จังหวัดสุโขทัย
87. เราทราบคำว่า “ทวารวดี” จาก
(1) บันทึกจากจดหมายเหตุจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่น (2) บันทึกจากจดหมายเหตุรายวันของนักพรตจีน
(3) จารึกบนแผ่นทองที่พบที่นครปฐมและอู่ทอง (4) จารึกบนหลักศิลาจารึกสมัยสุโขทัย
ตอบ 2 หน้า 119 เราทราบคำว่า “ทวารวดี” จากการพบเหรียญเงิน 3 เหรียญที่มีจารึกว่า“ศรีทวาราวดีศวรปุณย” พร้อมทั้งจดหมายเหตุจีนจากการบันทึกของหลวงจีนเหี้ยนจัง ซึ่งเป็นพระสงฆ์ในสมัยราชวงศ์ถัง โดยเขาได้กล่าวถึงอาณาจักรโถโลโปตี้ (ทวารวดี) ว่า อยู่ระหว่างอาณาจักรศรีเกษตร (พม่า) และอาณาจักรอิสานปุระ (เขมร)
88. พระพุทธรูปทวารวดีรุ่นที่ 2 เป็นอิทธิพลของศิลปะ
(1) อินเดีย (2) พี้นเมือง (3) เขมร (4) สุโขทัย
ตอบ.2 หน้า 123 – 124 พระพุทธรูปทวารวดีแบ่งเป็น 3 รุ่นดังนี้
1. รุ่นที่ 1 แสดงอิทธิพลของศิลปะอมราวดี คุปต่ะและหลังคุปตะ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12
2. รุ่นที่ 2 แสดงอิทธิพลของศิลปะพี้นเมืองมากยิ่งขึ้น มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 – 15
3. รุ่นที่ 3 แสดงอิทธิพลของศิลปะขอมแบบปาปวนหรือศิลปะลพบุรีตอนต้น มีอายุราว พุทธศตวรรษที่ 15 ลงมา
89. ศิลปะอินเดียที่ให้กับศิลปะทวารวดี
(1) ศิลปะอินเดียสมัยโบราณและศิลปะคันธารราฐ (2) ศิลปะคันธารราฐและศิลปะมถุรา
(3) ศิลปะมถุราและศิลปะอมราวดี (4) ศิลปะอมราวดีและศิลปะคุปตะ
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 82. ประกอบ
90. ตำบลบ้านเชียงแหล่งก่อนประวัติศาสตร์ของไทยอยู่ในจังหวัดใด
(1) จังหวัดนครพนม (2) จังหวัดอุดรธานี (3) จังหวัดอุบลราชธานี (4) จังหวัดนครราชสีมา
ตอบ2 หน้า 112 (S), (AR 103 เลขพิมพ์ 30175 หน้า 40) แหล่งศิลปกรรมก่อนประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกแห่งหนึ่งของไทย คือ ศิลปะบ้านเชียง ซึ่งเป็นศิลปกรรม ในสมัยหินเก่าตอนปลายที่พบมากที่ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
91. เจดีย์จุลประโทนอยู่ที่จังหวัด
(1) สุโขทัย
(2) อยุธยา
(3) นครปฐม
(4) ราชบุรี
ตอบ 3 หน้า 124 – 125, 162 (S) สถาปัตยกรรมในสมัยทวารวดีจะเห็นได้จากรูปเจดีย์เท่านั้นเพราะไม่ปรากฏว่ามีโบสถ์วิหารหลงเหลืออยู่แต่อย่างใด เช่น พระเจดีย์จุลประโทนและเจดีย์ วัดพระเมรุ จ. นครปฐม ซึ่งเป็นซากอาคารใหญ่ก่อด้วยอิฐ บางครั้งย่อมุมและมีบันไดลงไป ข้างล่าง, เจดีย์วัดกู่กุด จ. ลำพูน ซึ่งจัดเป็นสถาปัตยกรรมทวารวดีตอนปลาย ฯลฯ
92. เจดีย์วัดกู่กุดอยู่ที่จังหวัด
(1) เชียงราย
(2) เชียงใหม่
(3) ลำพูน
(4) ราชบุรี
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 91. ประกอบ
93. ศิลปะที่มีความคล้ายคลึงกับศิลปะอินโดนีเซีย
(1) ศิลปะทวารวดี
(2) ศิลปะศรีวิชัย
(3) ศิลปะลพบุรี
(4) ศิลปะเชียงแสน
ตอบ 2 หน้า 126 – 127 ศิลปะศรีวิชัย มีอำนาจขึ้นที่เกาะสุมาตราและขยายอำนาจเข้าครอบครอง ดินแดนทางตอนใต้ของไทย โดยศิลปะในสมัยนี้จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับศิลปะอินโดนีเซีย คือ เป็นศิลปกรรมที่ทำขึ้นจากพุทธศาสนามหายานทั้งสิ้น โดยได้รับอิทธิพลจากศิลปะแบบ คุปตะและปาละ-เสนะจากอินเดีย
94. ศิลปะของไทยยุคใดที่ทำประติมากรรมได้สวยที่สุด
(1) ศิลปะเชียงแสน (2) ศิลปะสุโขทัย (3) ศิลปะอยุธยา (4) ศิลปะรัตนโกสินทร์
ตอบ 2 หน้า 143 – 144 ศิลปะสุโขทัย ถือเป็นศิลปะยุคทองของศิลปกรรมไทย ทั้งนี้เพราะประติมากรรมในสมัยนี้มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะแบบ มีความสวยงามสง่า และมีความเรียบง่ายตาม อุดมคติผิดไปจากศิลปกรรมสมัยอื่น ๆ
95. ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์เริ่มต้นจาก
(1) พระเจ้าตากสินตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี
(2) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกตั้งกรุงเทพเป็นราชธานี
(3) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์
(4) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์
ตอบ 2 หน้า 156 ศิลปะสมัยวัตนโกสินทร์เจริญขึ้นทางภาคกลางของไทย โดยเริ่มตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นราชธานี ตั้งแต่ พ.ศ. 2325 จนถึงปัจจุบัน
96. พระพุทธรูปขัดสมาธิราบคือ
(1) ประทับขัดสมาธิเห็นฝ่าพระบาทสองข้าง พระหัตถ์ประสานกันบนพระเพลา
(2) ประทับขัดสมาธิเห็นฝ่าพระบาทข้างเดียว พระหัตถ์ประสานกันบนพระเพลา
(3) ประทับขัดสมาธิเห็นฝ่าพระบาทสองข้าง พระหัตถ์ทำท่าประคองพระธรรมจักร
(4) ประทับนั่งสมาธิเห็นฝ่าพระบาทข้างเดียว พระหัตถ์ทำท่าประคองพระธรรมจักร
ตอบ 2 หน้า 140 พระพุทธรูปขัดสมาธิราบ คือ พระพุทธรูปในท่าประทับนั่งขัดสมาธิราบ แลเห็นฝ่าพระบาทเพียงข้างเดียว พระหัตถ์ประสานกันบนพระเพลา บางครั้งฐานเรียบไม่มีลวดลายประกอบ
97. การแบ่งยุคสมัยของก่อนประวัติศาสตร์
(1) เราแบ่งจากความประณีตของสิ่งของเครื่องใช้ที่ขุดค้นพบ
(2) เราแบ่งจากการกำหนดยุคสมัยในศิลาจารึก (3) เราแบ่งจากการกำหนดยุคสมัยในจดหมายเหตุ
(4) เราแบ่งจากวัสดุที่นำมาใช้ทำอาวุธและสิ่งของเครื่องใช้
ตอบ 4 หน้า 47, 75 มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์นั้นยังไม่มีตัวอักษรสำหรับการจดบันทึก ดังนั้น เราจึงแบ่งยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของมนุษย์จากวัสดุที่นำมาใช้ทำอาวุธและสิ่งของเครื่องใช้ นับตั้งแต่เครื่องใช้ไม้สอยอันทำจากหิน เครื่องปั้นดินเผา กระดูกสัตว์ งาช้าง เหล็ก สำริด เปลือกหอย เครื่องประดับต่าง ๆ ซึ่งล้วนเป็นสิ่งบ่งบอกให้รู้ซึ้งถึงความเจริญรุ่งเรืองของสังคม ชีวิตความเป็นอยู่และเทคโนโลยีในสมัยนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี
98. ประติมากรรมที่ทำขึ้นครั้งแรกของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์
(1) เกี่ยวข้องกับความสวยงามของธรรมชาติ (2) เกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์
(3) เกี่ยวข้องกับความเชื่อถือเรื่องวิญญาณ (4) เกี่ยวข้องกับความสำคัญของหัวหน้ากลุ่มชน
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ
99. จิตรกรรมก่อนประวัติศาสตร์ของยุโรปแบ่งออกเป็น
(1) 1 ยุค (2) 2 ยุค (3) 3 ยุค (4) 4 ยุค
ตอบ 2 (AR 103 เลขพิมพ์ 30175 หน้า 36) จิตรกรรมในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของยุโรป แบ่งออก เป็น 2 ยุค คือ 1. แบบออริกเนเชียน (Aurignecian Style) 2. แบบแมกดาเรเนียน (Magdalenian Style)
100. การรู้จักใช้เหล็กของคนก่อนประวัติศาสตร์อินเดียได้รับอิทธิพลจาก
(1) ชาวโรมัน-กรีก (2) ชาวอิหร่าน (3) ชาวเมโสโปเตเมีย (4) ชาวอียิปต์
ตอบ 3 (AR 103 เลขพิมพ์ 30175 หน้า 38) วัฒนธรรมของคนก่อนประวัติศาสตร์อินเดียได้เจริญ สืบเนื่องต่อกันมาจนถึงยุคโลหะ โดยชาวอินเดียได้เรียนรู้การใช้เหล็กจากชาวเมโสโปเตเมีย จึงปรากฎว่ามีอาวุธแบบแปลกใหม่ที่ทำจากเหล็กและสำริดอีกมาก เช่น การทำหัวลูกศร มีด ดาบ และภาชนะเครื่องสำริด