การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา ANT 3057 สังคมและวัฒนธรรมไทย

Advertisement

คำสั่ง   ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1.         ข้อใดเป็นลักษณะสำคัญของวัฒนธรรม

(1)       มีการถ่ายทอดจากชนรุ่นหนึ่งไปสู่ชนอีกรุ่นหนึ่ง

(2) มีลักษณะที่คงที่ตายตัว 

(3) มีลักษณะที่เป็นสากล            

(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมได้แก่ 1. เป็นผลผลิตจากระบบความคิดของมนุษย์ หรือเกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์        2. มีองค์ประกอบของความคิดโลกทัศน์ ค่านิยมทางสังคม ซึ่งเป็นตัวกำหนดมาตรฐานของพฤติกรรม 3. เป็นแบบแผนของ พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ หรือเกิดจากการกระทำโต้ตอบกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ

4.         มีลักษณะไม่คงที่ตายตัว เปลี่ยนแปลงปรับปรุงไต้ตามสภาพแวดล้อม

5.         เป็นมรดกทางสังคมที่ถ่ายทอดหรือส่งต่อจากชนรุ่นหนึ่งไปสู่ชนอีกรุ่นหนึ่ง

6.         มีลักษณะเป็นสากล ใช้ในระดับกว้าง หรืออาจใช้ในระดับแคบเฉพาะกลุ่มคนก็ได้ ฯลฯ

2.         ข้อใดเป็น วัฒนธรรมราษฎร์

(1)       ภาษา  

(2) กฎหมาย    

(3) กิริยาท่าทาง           

(4) ศาสนา

ตอบ 3 หน้า 12, (คำบรรยาย) วัฒนธรรมในแต่ละสังคมประกอบด้วย 2 ส่วนดังนี้

1.         วัฒนธรรมหลักหรือวัฒนธรรมหลวง คือ วัฒนธรรมส่วนรวมของคนในสังคม เพื่อแสดงถึง ความเจริญก้าวหน้าของประเทศ ความเป็นระเบียบ รวมทั้งเพื่อการบูรณาการหรือ ความเป็นเอกภาพของสังคมไทย เช่น ภาษา กฎหมาย ศาสนา การละเล่นบางอย่าง แบบแผนพฤติกรรม จารีตประเพณี ฯลฯ

2.         วัฒนธรรมรองหรือวัฒนธรรมราษฎร์ คือ วัฒนธรรมเฉพาะกลุ่มเฉพาะภาค เช่น ความเชื่อ สำเนียงภาษา ทัศนคติ ค่านิยม ลักษณะนิสัย กิริยาท่าทาง ทักษะในการประกอบอาชีพ ฯลฯ

3.         ใครเป็นผู้กล่าวว่า วัฒนธรรมเป็นตราประจำสังคม”        

(1) สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

(2)       พัทยา สายหู   

(3) ประเสริฐ แย้มกลิ่นฟุ้ง       

(4) อดุล วิเชียรเจริญ

ตอบ 2 หน้า 13 พัทยา สายหู กล่าวว่า วัฒนธรรมเป็นตราประจำสังคม คือ เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอก ให้รู้ว่าคนเหล่านั้นเป็นสมาชิกของกลุ่มเดียวกันหรือต่างกลุ่มกัน

4.         ปัจจัยใดที่ทำให้มนุษย์รู้จักสร้างวัฒนธรรม   

(1) มนุษย์มีสมอง

(2)       มนุษย์ใช้ภาษาในการสื่อสาร   (3) มนุษย์คิดหาทางควบคุมธรรมชาติ (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 12, (คำบรรยาย) ปัจจัยทีทำให้มนุษย์รู้จักสร้างวัฒนธรรมขึ้นมา มีดังนี้

1.         ปัจจัยทางชีวภาพ คือ ความต้องการมีชีวิตรอด ทำให้มนุษย์คิดสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา

2.         การรู้จักใช้สื่งอื่นแทนมือ เช่น เครื่องมีอเครื่องใช้ต่าง ๆ เนื่องจากมนุษย์มีสมองที่ใหญ่ได้สัดส่วน กับร่างกาย มนุษย์จึงรู้จักคิดได้แตกฉาน

3.         การรู้จักใช้ภาษาในการสื่อสารที่เป็นระบบสัญลักษณ์ จึงสามารถสะสมและส่งทอดองค์ความรู้ จากชนรุ่นหนึ่งไปสู่ชนอีกรุ่นหนึ่งได้

4.         การที่มนุษย์คิดหาทางควบคุมธรรมชาติได้ เช่น การรู้จักสร้างเขื่อนกั้นนํ้า

5.         สังคมไทยมีลักษณะ วิวิธพันธุ์” หมายถึงข้อใด

(1)       มีความแตกต่างทางภูมิศาสตร์            (2) มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม

(3)       มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์  (4) มีความแตกต่างทางภาษา

ตอบ 3 หน้า 15, (คำบรรยาย) สังคมไทยมีลักษณะ ดังนี้

1.         สังคมไทยมีลักษณะ วิวิธพันธุ์” คือ มีความแตกต่างหลากหลายในด้านชาติพันธุ์

2.         สังคมไทยในแต่ละภูมิภาคและแต่ละท้องถิ่นมีโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมย่อยของตนเองแตกต่างกันไป ทำให้มีระบบความคิด ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรมที่ต่างกัน

3.         สังคมไทยมีความแตกต่างด้านกายภาพของสิ่งแวดล้อมดินฟ้าอากาศหรือสภาพภูมิศาสตร์ ทำให้มีลักษณะพันธุ์พืชและสัตว์ การตั้งถิ่นฐาน การประกอบอาชีพ ฯลฯ ที่ต่างกัน

6.         การศึกษาสังคมไทยต้องใช้วิธีการศึกษาแบบใด

(1)       มานุษยวิทยา   (2) โบราณคดี  (3) สังคมวิทยา            (4) สหวิทยาการ

ตอบ 4 หน้า 14, (คำบรรยาย) การศึกษาเพื่อให้เข้าใจภาพรวมของสังคมไทยได้ดีขึ้นนั้น จะต้องใช้ความรู้จากหลายสาขาประกอบกันที่เรียกว่า สหวิทยาการ” ซึ่งได้แก่

1.         ภูมิศาสตร์ เป็นการศึกษาที่ตั้ง ขอบเขต ภูมิอากาศ และลักษณะภูมิประเทศ

2.         ประวัติศาสตร์ เป็นการศึกษาความเป็นมาของชนชาติตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

3.         เศรษฐศาสตร์ ศึกษาเกี่ยวกับทรัพยากร การผลิต และการบริโภค

4.         สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ศึกษาความเป็นมา ตลอดจนโครงสร้างของสังคม และวัฒนธรรม ฯลฯ

7.         การศึกษาสังคมไทยอยางเป็นระบบจริงจังเป็นผลมาจากสิ่งใด

(1)       ประเทศตะวันตกขยายอาณานิคมเข้ามาในภูมิภาคเอเชีย

(2)       หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

(3)       หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

(4)       เมื่อใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1 ในการพัฒนาประเทศ

ตอบ 1 หน้า 16 การศึกษาสังคมไทยอย่างเป็นระบบจริงจังเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นผลมาจาก การที่ประเทศตะวันตกได้ขยายอาณานิคมเข้ามาครอบคลุมประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย เช่น จีน อินเดีย พม่า มาเลเซีย และประเทศอื่น ๆ มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ทำให้สังคมไทย จำเป็นต้องหาทางรอดพ้นจากอิทธิพลของตะวันตก

8.         การศึกษาสังคมไทยในยุคแรกเป็นการศึกษาในเรื่องใด

(1)       วิถีชีวิตของคนในชุมชน            (2) เรื่องราวพระมหากษัตริย์และเหตุการณ์บ้านเมือง

(3)       ประเพณี          (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 16 – 17 การศึกษาสังคมไทยในยุคแรกก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นการศึกษาค้นคว้า จากบันทึกและประสบการณ์ของพอค้า ข้าราชการ มิชชันนารี ตลอดจนทูตประเทศต่าง ๆ แล้วเขียนแบบพรรณนาหรือบรรยายออกมาให้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนในชุนชน ประเพณี วัฒนธรรม อุปนิสัยใจคอ และสภาพทั่วไปของสังคมไทย โดยจะให้ความสำคัญกับ เรื่องราวของพระมหากษัตริย์และเหตุการณ์บ้านเมืองมากกวาเรื่องราวของสามัญชน ทั้งนี้ ในการศึกษายังไม่มีการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบในเชิงวิทยาศาสตร์ หรือในเชิงมานุษยวิทยา

9.         ผลผลิตต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น” หมายถึงข้อใด

(1)       สังคม   (2) วัฒนธรรม  (3) เชื้อชาติ      (4) มานุษยวิทยา

ตอบ 2 หน้า 10, (คำบรรยาย) วัฒนธรรม หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างหรือผลผลิตต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม เทือเป็นแบบแผนพฤติกรรมให้แก่สมาชิก และเพื่ออำนวย ความสะดวกในการดำรงชีวิต เช่น ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ระบบความเชื่อ วิถีประชา จารีต ขนบประเพณี ภูมิปัญญา ฯลฯ

10.       สังคมและวัฒนธรรมไทย” สามารถศึกษาได้จากแหล่งใด

(1)       วรรณกรรม      (2) งานบุญ ประเพณี  (3) ภาพยนตร์  (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 1, (คำบรรยาย) การศึกษาภาพสังคมและวัฒนธรรมไทย นอกจากจะศึกษาวิเคราะห์ ได้จากสังคมต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเราแล้ว ยังสามารถศึกษาวิเคราะห์ได้จากวรรณกรรม ตำนาน พิธีกรรมทางศาสนา งานบุญ ประเพณี ซึ่งจะทำให้ได้ภาพสะท้อนของสังคมและวัฒนธรรมไทย ในอดีต หรือการชมละครวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และสื่อโฆษณาต่าง ๆ ก็จะทำให้เราเข้าใจ สภาพสังคมและวัฒนธรรมไทยในปัจจุบัน เป็นต้น

11.       ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับความหมาย สังคม

(1)       พ่อแม่พาลูกไปซื้อของ 

(2) ฝูงชนมุงดูสินค้าที่ตู้กระจก

(3) คนไทยไปดูการแข่งขันฟุตบอล      

(4) นักท่องเที่ยวต่างชาติสนใจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ตอบ 1 หน้า 12, (คำบรรยาย) สังคม หมายถึง กลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่มาอยู่รวมกันและมีความสัมพันธ์กัน โดยที่รูปแบบความสัมพันธ์นั้นย่อมเป็นไปตามแบบแผนหรือวัฒนธรรมที่สังคมกำหนด เพราะคน ในสังคมใดย่อมต้องได้รับการถ่ายทอด อบรมขัดเกลา ให้ต้องปฏิบัติตามแบบแผนของสังคมนั้น เช่น พ่อแม่พาลูกไปซื้อของ เป็นกลุ่มสังคมที่คงทนถาวร เพราะเป็นสถาบันครอบครัวที่มีความสัมพันธ์กัน ทางลายโลหิต (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นฝูงชนที่เกิดขึ้นมาแล้วก็สลายไป ไม่คงทนถาวร)

12.       ข้อใดเป็นลักษณะของสังคมชนบท

(1)       มีการแบ่งงานกับทำอย่างเด็ดขาด      

(2) มีความสัมพันธ์แบบทุติยภูมิ

(3) ระเบียบสังคมเป็นไปตามขนบธรรมเนียมประเพณี 

(4) วิถีชีวิตพึ่งพิงเทคโนโลยี

ตอบ 3 หน้า 4-5 ลักษณะของสังคมชนบท มีดังนี้ 1. เป็นชุมชนขนาดเล็ก มีจำนวนประชากรน้อย ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร 2. มีระบบความสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการหรือ แบบปฐมภูมิ เน้นความสัมพันธ์ส่วนตัว 3. มีการแบ่งงานไม่ชัดเจน ช่วยกันทำ

4.         มีวิถีชีวิตแบบพึ่งพิงธรรมชาติอย่างมากทั้งในการทำมาหากินและดำรงชีวิต

5.         ยึดมั่นระเบียบสังคมเป็นไปตามขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างเคร่งครัด เป็นต้น

13.       ข้อใดเป็นการจำแนกรูปแบบสังคมพื้นบ้านกับสังคมซับซ้อน

(1)       จำนวนคน       

(2) ความสัมพันธ์         

(3) เทคโนโลยี  

(4) จารีต

ตอบ 2 หน้า 6 สังคมง่าย ๆ หรือสังคมพื้นบ้านกับสังคมซับซ้อน เป็นการจำแนกรูปแบบของสังคม โดยพิจารณาจากระบบความสัมพันธ์ของสมาชิกที่อยู่ในสังคมนั้น ๆ

14.       โครงสร้างสังคม” หมายถึงข้อใด     

(1) คนในสังคมมีการกระทำระหว่างกันทั้งทางตรงและทางอ้อม

(2)       สังคมประกอบด้วยชนกลุ่มน้อยและชนกลุ่มใหญ่

(3)       สังคมประกอบด้วยสถาบันต่าง ๆ (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 8 ประเสริฐ แย้มกลิ่นฟุ้ง ให้ความหมายว่า โครงสร้างทางสังคม หมายถึง ระบบความสัมพันธ์ ที่สมาชิกของสังคมมีต่อกันในฐานะที่มาอยู่ร่วมสังคมเดียวกัน มีการกระทำระหว่างกันทั้งทางตรง และทางอ้อม ต้องพึ่งพาอาศัยกัน และมีส่วนได้เสียในการกระทำของกันและกัน โดยการกระทำ ทางสังคมนั้นจะเป็นไปตามระเบียบกฎเกณฑ์ที่สังคมได้กำหนดขึ้น

15.       สถาบันทางสังคม” หมายถึงข้อใด

(1)       ความสัมพันธ์ของคนในสังคม (2) กฎเกณฑ์ที่สังคมกำหนดในการอยู่ร่วมกัน

(3) ลักษณะนิสัยของคนในชาติ           (4) ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ตอบ 2 หน้า 8-9, (คำบรรยาย) สถาบันทางสังคม (Social Institution) คือ กฎเกณฑ์หรือแบบแผนพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ที่สังคมกำหนดไว้เป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติเพื่อการดำรงอยู่ร่วมกัน ของสังคม เช่น วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม เป็นต้น ซึ่งสถาบันหลัก ๆ ได้แก่ สถาบันครอบครัว ศาสนา การศึกษา เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครอง โดยทุกสถาบันสังคม จะประกอบด้วยสถานภาพ บทบาท แบบแผนพฤติกรรม ตลอดจนมีหน้าที่ตอบสนองสังคมใหญด้วย

16.       ภาพชาดก” เป็นวัฒนธรรมในความหมายใด

(1) ความเชื่อ    (2) วิถีชีวิต       (3) สิ่งที่ดีงาม  (4) ประเพณี

ตอบ 1 หน้า 83, (คำบรรยาย) ภาพชาดก หรือภาพวาดพุทธประวัติชาติก่อน ๆ ของพระพุทธเจ้า ก่อนตรัสรู้ มีทั้งหมด 550 พระชาติ ถือเป็นศิลปกรรมไทยที่สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมด้าน ความเชื่อทางศาสนาพุทธ เช่น ความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมที่ว่า ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว

17.       การศึกษาสังคมไทยภายหลังลงครามโลกครั้งที่ 2 ใช้วิธีการศึกษาแบบใด

(1)       จากบันทึกและประสบการณ์ของพ่อค้า ข้าราชการ มิชชันนารี

(2)       มานุษยวิทยา  (3) จิตวิทยา     (4) ประวัติศาสตร์

ตอบ 2 หน้า 17, (คำบรรยาย) การศึกษาสังคมไทยในยุคภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นโดยนักวิชาการตะวันตกและคนไทยที่ไปศึกษาในประเทศแถบตะวันตกได้เริ่มนำการศึกษาทาง มานุษยวิทยาเข้ามาใช้ในการศึกษาสังคมไทย คือ การเข้าไปอยู่รวมในสังคมหรือชุมชนที่ ทำการศึกษา แล้วเก็บข้อมูลโดยการสังเกตและสัมภาษณ์ความคิดเห็นต่าง ๆ ของคนในชุมชน ซึ่งจะอยู่ภายใต้กรอบของแนวคิดทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่เป็นหลัก

18.       ลักษณะภูมิศาสตร์ของสังคมไทยมีลักษณะอย่างไร

(1) อยู่กึ่งกลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้         (2) มีลมมรสุมพัดผ่าน

(3)       ทำให้เกิดฤดูกาล 2 ฤดู คือ ฤดูฝนและฤดูแล้ง           (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 18 ลักษณะภูมิศาสตร์ของสังคมไทยตั้งอยู่กึ่งกลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออุษาคเนย์ (ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชีย) มีลักษณะเป็นผืนแผ่นดีนที่ยาวยื่นลงไปทาง ทิศใต้ ซึ่งเป็นคาบสมุทร และมีทะเลขนาบ 2 ด้าน คือ ทะเลจีนในมหาสมุทรแปซิฟิกอยู่ทาง ทิศตะวันออก กับทะเลอันดามันในมหาสมุทรอินเดียอยู่ทางทิศตะวันตก ทำให้ประเทศไทย มีลมมรสุมจากทะเลทั้ง 2 ด้านพัดผ่าน จึงทำให้เกิดฤดูกาลที่สำคัญ 2 ฤดู คือ ฤดูฝนและฤดูแล้ง

19.       คนไทยอยู่ในกลุ่มเชื้อชาติ (Racial Group) ใด

(1) ผิวขาว        (2) ผิวเหลือง   (3) ผิวขาวเหลือง         (4) ผิวดำ

ตอบ 2 หน้า 1923 ประชากรทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มเชื้อชาติ (Racial Group) ที่เรียกว่า มองโกลอยด์ (Mongoloid) หรือผิวเหลืองเหมือนกัน แต่อาจจำแนกได้เป็นหลายชาติพันธุ์ตามสภาพภูมิศาสตร์และเวลา

20.       ข้อใดถูกต้อง

(1)       ประเทศสยามเคยใช้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

(2)       ประเทศสยาม หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาชน

(3)       ประเทศสยามเปลี่ยนเป็นประเทศไทยเมื่อวันที 3 ตุลาคม พ.ศ. 2482

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 20 คำว่า สยาม นั้น นายปรีดี พนมยงคํ เคยเขียนไว้ว่า มืการใช้ชื่อสยามมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีจนถึงสมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งในอดีตพระมหากษัตริย์ไทยเรียก ดินแดนแห่งนี้ว่า ประเทศสยามเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาชน แต่ต่อมาใน วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2482 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็ได้ประกาศรัฐนิยมให้ใช้ชื่อ ประเทศไทย” แทน โดยให้ใช้คำวา ไทย” แทนคำว่า สยาม” นับแต่นั้นจะต้องเรียกคนไทยว่าไทย และ เรียกประเทศว่าประเทศไทย

21.       การศึกษาถิ่นเดิมของชนชาติไทยมีการศึกษากี่แนวทาง

(1) 2 แนวทาง  

(2) 3 แนวทาง  

(3) 4 แนวทาง  

(4) 5 แนวทาง

ตอบ 3 หน้า 21 – 23, (คำบรรยาย) นักวิชาการมีสมมุติฐานในการศึกษาเกี่ยวกับถิ่นเดิมของไทยที่ แตกต่างกันอยู่ 4 แนวทาง ดังนี้

1.         ถิ่นเดิมของไทยอยู่แถบเทือกเขาอัลไต โดยใช้หลักฐานด้านภาษาพูด (ภาษาไต) และ ชาติพันธุ์มองโกลอยด์เป็นหลัก

2.         ถิ่นเดิมของไทยอยู่ทางตอนใต้ของจีน โดยใซ้หลักฐานที่ว่าคนแถบนี้ใช้ภาษาไทยเก่า ๆและมีวัฒนธรรมการกันอยู่ ความเชื่อเรื่องผี และระบบครอบครัวคล้ายคลึงกับไทย

3.         ถิ่นเดิมของไทยอยู่บนพื้นที่นี้มาแต่ดั้งเดิม (สุวรรณภูมิ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)โดยใช้หลักฐานการเปรียบเทียบกะโหลกของคนไทยโบราณสมัยหินใหม่กับคนไทยปัจจุบัน

4.         ถิ่นเดิมของไทยอยู่ทางใต้แถบคาบสมุทรมลายูและชวา (อาณาจักรศรีวิชัย) โดยใช้หลักฐาน ด้านพันธุกรรมเพื่อเปรียบเทียบความถี่ของยีน (DNA) ในกลุ่มเลือดของคนไทยกับอินโดนีเซีย และจีน

22.       หลักฐานใดที่นักวิชาการใช้อ้างอิงว่า ถิ่นเดิมของไทยอยู่ทางตอนใต้ของจีน

(1) ภาษาไต     

(2) ภาษาไทยเก่า ๆ และวัฒนธรรม

(3)       เปรียบเทียบกะโหลกของคนไทยโบราณกับปัจจุบัน

(4)       เปรียบเทียบความถี่ของยีนในกลุ่มเลือดของคนไทยกับอินโดนีเซียและจีน

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 21. ประกอบ

23.       หลักฐานใดที่นักวิชาการใช้อ้างอิงว่า ถิ่นเดิมของไทยอยู่ที่สุวรรณภูมินี้

(1) ภาษาไต     

(2) ภาษาไทยเก่า ๆ และวัฒนธรรม

(3)       เปรียบเทียบกะโหลกของคนไทยโบราณกับปัจจุบัน

(4)       เปรียบเทียบความถี่ของยีนในกลุ่มเลือดของคนไทยกับอินโดนีเซียและจีน

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 21. ประกอบ

24.       ข้อใดคือกลุ่มชนดั้งเดิมที่อยู่ในสุวรรณภูมิ

(1)       ผีตองเหลือง    (2) เงาะซาไก   (3) ชาวเล        (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 23 – 24, (คำบรรยาย) กลุ่มชนดั้งเดิมหรือชาติพันธุ์เร่ร่อนที่อาศัยอยู่ในสุวรรณภูมิ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มี 2 กลุ่ม คือ

1.         ออสโตรลอยด์ (Austroloid) เป็นพวกที่มีรูปร่างสูงเพรียว ผมหยักศกเป็นคลื่น ปากหนา ผิวคลํ้า ปัจจุบันคือชนพื้นเมืองของศรีลังกาและออสเตรเลีย รวมทั้งพวกผีตองเหลือง

2.         นิกริโตหรือนิกรอยด์ (Nigroid) เป็นพวกที่มีรูปรางเตี้ย ผิวดำ ปากหนา ผมหยิกหยอย ปัจจุบันอาศัยอยู่ตามเกาะในทะเลอันดามันที่เรียกว่า มอร์แกนหรือชาวเล และอาศัย บนคาบสมุทรมลายูทางใต้ของไทย เช่น พวกเงาะซาไก เป็นต้น

25.       ตระกูลภาษาใดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจำนวนคนพูดมากที่สุด

(1)       ภาษามาเลย์    (2) ภาษามอญ-เขมร (3) ไท-คะได       (4) สิโน-ทิเบตัน

ตอบ 4 หน้า 25 สิโน-ทิเบตัน (Sino-Tibetan) ได้แก่ ภาษาของม้ง เย้า จีนฮ่อ จีน ทิเบต พม่า ขะฉิน ลฯ เป็นตระกูลภาษาที่มีจำนวนคนพูดมากทีสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

26.       ข้อใดถูกต้อง

(1)       คนไทยพูดภาษาที่มาจากตระกูลไท-คะได

(2)       คนไทยที่พูดภาษาไทยกระจายอยู่ตามลุ่มนํ้าโขง สาละวิน ดำ แดง ขาว และเจ้าพระยา

(3)       ภาษาไทยมีคำที่เกิดจากการผสมผสานภาษาเขมร บาลี สันสกฤต เป็นจำนวนมาก

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 25 ภาษาของคนไทยมีที่มาจากตระกูลภาษาไท-คะได (Tai-Kadai) หรือไท-ลาวซึ่งในปัจจุบันมีกลุ่มคนที่พูดภาษาไทยประมาณ 90 ล้านคน กระจายอยู่ตามลุ่มนํ้าโขง สาละกิน ดำ แตง ขาว และเจ้าพระยา โดยภาษาไทยมีคำที่เกิดขึ้นใหม่จากการผสมผสานภาษาของ เพื่อนบ้าน ได้แก่ ภาษาเขมร บาลี สันสกฤต เป็นจำนวนมาก

27.       เหตุผลใดที่ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถูกเรียกว่า อินโดจีน

(1)       พื้นที่นี้คนอินเดียและจีนเคยเข้ามาแลกเปลี่ยนสินค้า

(2)       พื้นที่นี้เคยเป็นอาณานิคมของประเทศอินเดีย

(3)       พื้นที่นี้อยู่ตรงกลางระหว่างประเทศอินเดียและจีน

(4)       พื้นที่นี้มีความอุดมสมบูรณ์

ตอบ 3 หน้า 26, (คำบรรยาย) ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อุษาคเนยหรือสุวรรณภูมิ) นั้น

แต่เดิมชาวตะวันตกจะเรียกว่า อินโดจีน” เนื่องจากพื้นที่นี้อยู่ตรงกลางระหว่างอินเดียและจีน นอกจากนี้ยังมีอคติว่าพื้นที่แถบนี้เป็นสังคมป่าเถื่อน ไม่มีวัฒนธรรม ดังนั้นจึงถูกครอบงำ โดยวัฒนธรรมอินเดียและวัฒนธรรมจีน

28.       วัฒนธรรมใดของคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นเอกลักษณ์สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

(1)       การนับถือผีและยกย่องเพศชาย         (2) การนับถือผีและยกย่องสตรี

(3) การนับถือผี            (4) การยกย่องเพศชาย

ตอบ 2 หน้า 27, (คำบรรยาย) วัฒนธรรมดั้งเดิมของคนในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีเอกลักษณ์ ของตนเอง ซึ่งสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้ คือ    1. การเคารพนับถือผีสางเทวดา ผีบรรพบุรุษและผีวีรชน        2. การยกย่องสตรี       3. การเพาะปลูก

29.       ชุมชนในสุวรรณภูมิกลุ่มไหนที่มีการพัฒนาได้รวดเร็ว

(1) กลุ่มบน      (2) กลุ่มล่าง    (3) กลุ่มตะวันออก       (4) กลุ่มตะวันตก

ตอบ 2 หน้า 27, (คำบรรยาย) พี้นที่ในสุวรรณภูมิหรอเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากมองโดยใช้ทะเล เป็นเกณฑ์ จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

1.         กลุ่มบน ได้แก่ พื้นที่ทางตอนใต้ของจีน ตอนเหนือของอินเดีย พม่า ลาว เวียดนาม กลุ่มนี้พัฒนาการช้าเพราะอยู่ห่างไกลทะเล การติดต่อคมนาคมจึงลำบาก

2.         กลุ่มล่าง ได้แก่ บริเวณที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน มาเลเซีย และหมู่เกาะทางตอนใต้ เป็นกลุ่มที่มีพัฒนาการของชุมชนขยายตัวเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการติดต่อ แลกเปลี่ยนสังสรรค์กับชาวต่างชาติหรีอคนต่างกลุ่มได้สะดวก เพราะอยู่ติดทะเล

30.       เพราะเหตุใดการพัฒนาเทคโนโลยีของคนในสุวรรณภูมิจึงล้าหลังกว่าคนจีนและอินเดีย

(1)       พื้นที่ในสุวรรณภูมิมีความอุดมสมบูรณ์

(2)       คนจีนและอินเดียฉลาดกว่า

(3)       จำนวนคนในสุวรรณภูมิมีน้อยกว่าคนจีนและอินเดีย

(4)       คนในสุวรรณภูมิมีการโยกย้ายจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง

ตอบ 3 หน้า 28 การที่จีนและอินเดียเข้าสู่ยุคหินใหม่ก่อนประเทศต่าง ๆ ในสุวรรณภูมินั้น ไม่ใช่เพราะว่า คนในสุวรรณภูมิโง่กว่าจีนและอินเดีย แต่เป็นเพราะคนในสุวรรณภูมิอยู่กันอย่างสุขสบาย มีจำนวนคนน้อยแต่อาหารอุดมลมบูรณ์ ดังนั้นความจำเป็นในการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ ขึ้นมาใช้ จึงมีน้อย ทำให้เกิดความล้าหลังและด้อยกว่าในเชิงวัฒนธรรมเมื่อเทียบกับจีนและอินเดีย

31.       ชุมชนหมู่บ้านยุคแรกในสุวรรณภูมิมีลักษณะเป็นอย่างไร

(1)       ชุมชนเกิดขึ้นบริเวณลุ่มนํ้าทำจีน แม่กลอง สองฝั่งโขง

(2)       ปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์     

(3) หัวหน้าหมู่บ้านเป็นผู้หญิง 

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 28 ชุมชนหมู่บ้านยุคแรกเมื่อราว 5,000 – 6,000 ปีก่อนประวัติศาสตร์ ได้เริ่มเพาะปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ และตั้งถิ่นฐานถาวรขึ้น ทำให้คนไม่ต้องร่อนเร่หาอาหารอีกต่อไป โดยชุมชนหมู่บ้าน ยุคแรกมักเกิดขึ้นตามลุ่มน้ำที่เพาะปลูกได้ เช่น สองฝั่งแม่น้ำโขง ท่าจีน แม่กลอง เป็นต้น และเชื่อกันว่าหัวหน้าหมู่บ้านใบยุคแรก ๆ เป็นผู้หญิง ซึ่งทำหน้าที่ติดต่อกับสิ่งเหนือธรรมชาติ

32.       ทำไมชุมชน แอ่งโคราช” จีงขยายตัวได้รวดเร็วกว่าชุมชน แอ่งสกลนคร

(1) มีแร่เหล็กและเกลือ            

(2) จำนวนประชากรมาก

(3)       อยู่ใกล้แหล่งนํ้า          

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 29, (คำบรรยาย) ในบริเวณที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน แอ่งโคราชซึ่งเป็นพื้นที่ทาง อีสานตอนใต้ ถือเป็นชุมชนโบราณที่เก่าแก่ที่สุด เนื่องจากเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วย ทรัพยากรธรรมชาติมากมาย โดยเฉพาะแร่เหล็กและเกลือสินเธาว์ จึงทำให้แอ่งโคราชกลายเป็น ศูนย์กลางของการค้าการแลกเปลี่ยน ซึ่งมีชนต่างถิ่นอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นจำนวนมาก จึงพัฒนาขยายตัวเป็นเมืองได้ก้าวหน้ารวดเร็วกว่าแอ่งสกลนครและเมืองในภาคกลาง เช่น อู่ทอง และสุพรรณบุรี

33.       คนอินเดียนำศาสนาพุทธเข้ามาเผยแผ่ที่เมืองใด

(1) โคราช        (2) สกลนคร    (3) อู่ทอง         (4) ละโว้

ตอบ 3 หน้า 29 – 30 หลักฐานของอินเดียระบุว่า เมืองอู่ทองซึ่งเป็นชุมชนในภาคกลางแถบลุ่มน้ำท่าจีน และแม่กลอง มีความเก่าแก่เกนกว่า 1.700 ปี ได้รับเอาวัฒนธรรมอินเดียเข้ามาใช้กับ วัฒนธรรมท้องถิ่น ทำให้เกิดการเผยแผ่และนับถือศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู (ศาสนาพราหมณ์) และเริ่มนำระบบกษัตริย์มาใช้เป็นครั้งแรก

34.       ผลของการรับวัฒนธรรมของอินเดียเข้ามาทำให้สังคมในสุวรรณภูมิเป็นเช่นไร

(1) มั่งคั่ง

(2)       ความแตกต่างระหว่างชนชั้น  (3) พัฒนาเทคโนโลยี   (4) ผลิตเพื่อค้า

ตอบ 2 หน้า 30 ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 3-4 ศาสนาได้กระจายสู่ระดับราษฎร ซึ่งผลของการรับวัฒนธรรม ของอินเดียเข้ามาทำให้สังคมในสุวรรณภูมิหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความแตกต่างกันระหว่าง ชนชั้นอย่างชัดเจน เนื่องจากการอ้างอิงอำนาจจากเทพเจ้าในศาสนา ทำให้กษัตริย์มั่งคั่งมาก

35.       ต้นเค้าของอาณาจักรสุโขทัยคือเมืองใด

(1) ทวารวดี      (2) ละโว้          (3) ศรีสัชนาลัย            (4) อู่ทอง

ตอบ 3 หน้า 31 ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 17 ได้เกิดแคว้นศรีสัชนาลัยสุโขทัยขึ้น ซึ่งเป็นต้นเค้าของ อาณาจักรสุโขทัย โดยเริ่มจากการเป็นชุมชนถลุงเหล็กจนขยายตัวเป็นศูนย์กลางด้านการค้า และมีพลเมืองส่วนใหญ่ย้ายมาจาก 2 ฝั่งโขง จึงทำสัมฤทธิ์ (สำริด) เก่งเนื่องจากได้สะสม ความรู้และประสบการณ์มาจากยุคเหล็ก และเป็นผู้สืบทอดวัฒนธรรมบ้านเชียงด้วย

36.       สมัยกรุงศรีอยุธยามีผู้คนโยกย้ายเข้าออกอยู่ตลอดเนื่องมาจากปัจจัยใด

(1) สงครามและการค้า           (2) การขยายตัวของเมือง

(3)       พระมหากษัตริย์ปกครองโดยธรรม     (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 31 – 32, (คำบรรยาย) ในสมัยกรุงศรีอยุธยามืผู้คนโยกย้ายเข้าออกอยู่ตลอด เนื่องมาจาก ปัจจัย 2 ประการ ได้แก่ 1. สงคราม ได้ส่งผลให้มีการขยายอำนาจไปตามหัวเมืองอื่น ๆ ทำให้มีการกวาดต้อนผู้คนมาจากเมืองที่แพ้สงคราม 2. การค้า อยุธยาเป็นศูนย์กลางของ การค้ามาตั้งแต่ พ.ศ. 2000 ทำให้มีคนต่างชาติต่างภาษาเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอยุธยามากขึ้น

37.       กลุ่มชนชาติพันธุ์ใดที่มีจำนวนมากที่สุดในสังคมไทย

(1) ไทย-มาเลย์            (2) ไทย-ลาว    (3) ไทย-เขมร   (4) ไทย-มอญ

ตอบ 2 หน้า 33 – 34 โครงสร้างสังคมไทย ประกอบด้วย กลุ่มสังคมย่อย ๆ หลายกลุ่มาติพันธุ์ ได้แก่

1.         ไทย-ลาว เป็นกลุ่มชนชาติพันธุ์ที่มีจำนวนมากที่สุดในสังคมไทย

2.         ไทย-มาเลย์ มีอยู่มากที่สุดในภาคใต้ของไทย

3.         เขมร ส่วย กุย มอญ ส่วนใหญ่อยู่กระจัดกระจายแถบภาคอีสานซองไทย

4.         เกรียง มีมากที่สุดทางภาคเหนือของไทย และอยู่กระจัดกระจายแถวจังหวัดราชบุรีและกาญจนบุรี

5.         ชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางเหน้อฃองไทย เช่น กะเหรี่ยง อาข่า ลื้อ มูเซอ

6.         ชาวป่า มีอยู่ไม่มากในปัจจุบัน เช่น ผีตองเหลือง เซมัว ซาไก

7.         ชาวนํ้า เป็นชนพื้นเมืองซึ่งส่วนใหญ่อยู่ตามริมฝั่งทะเลทางภาคใต้

8.         ชนต่างด้าว ส่วนใหญ่จะอยู่ตามเขตเมือง เช่น คนจีน อินเดีย และชาวตะวันตกประเทศต่าง ๆ

38.       ปัจจุบันความสัมพันธ์ของคนในสังคมไทยใช้ปัจจัยใดเป็นตัวกำหนด

(1) อาชีพ         (2) การศึกษา  (3) ฐานะทางสังคม     (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 35, (คำบรรยาย) ความสัมพันธ์ของคนในสังคมไทย หรือโครงสร้างของสังคมไทยปัจจุบัน ถูกกำหนดโดยใช้ลักษณะอาชีพ ตำแหน่งหน้าทการงาน รายได้ การศึกษา สถานภาพ การพึ่งพาอาศัย และฐานะทางสังคม ทำให้โครงสร้างของสังคมไทยในปัจจุบันนั้นมีการ แบ่งกลุ่มทางสังคมออกเป็น 3 ชนชั้น ได้แก่ 1. ชนชั้นสูง 2. ชนชั้นกลาง 3. ชนชั้นตํ่า

39.       ครอบครัวไทยส่วนใหญ่มีลักษณะอย่างไร

(1) ครอบครัวขยาย      (2) ครอบครัวประกอบร่วม

(3) ครอบครัวหน่วยกลาง        (4) ครอบครัวปฐมนิเทศน์

ตอบ 3 หน้า 35 – 36 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นักวิชาการไทยและต่างชาติได้ศึกษาเกี่ยวกับ ครอบครัวไทยมากขึ้นพบว่า ครอบครัวไทยส่วนใหญ่มีขนาดเล็กลงเป็นครอบครัวหน่วยกลาง และนิยมไปตั้งบ้านเรือนเป็นอิสระของตนเอง มีเพียงจำนวนน้อยที่ยังคงอาศัยอยู่กับครอบครัว พ่อแมภายหลังการสมรส (ส่วนครอบครัวไทยในอดีตจะมีขนาดใหญ่เป็นครอบครัวขยาย)

40.       ครอบครัวไทยมีการนับญาติทางฝ่ายใด

(1) บิดา           (2) มารดา        (3) บิดาและมารดา     (4) ญาติโดยสายโลหิต

ตอบ 3 หน้า 37 สังคมไทยจะมีการนับญาติของครอบครัวทั้ง 2 ฝ่าย คือ นับญาติทั้งทางฝ่ายบิดา และฝ่ายมารดา แต่การสืบสกุลจะนิยมสืบทางฝ่ายบิดา

41.       ในอดีตระบบเศรษฐกิจและสังคมไทยเป็นแบบใด

(1) ผลิตเพื่อบริโภค     

(2) ผลิตเพื่อการค้า      

(3) ผลิตเพื่อแลกเปลี่ยน 

(4) ผลิตตามแผนพัฒนา

ตอบ 1 หน้า 37 – 38 ในอดีตก่อนติดต่อกับชาวตะวันตก หรือก่อนเปิดประเทศในสมัยรัชกาลที่ 4 ตามสนธิสัญญาบาวริ่งนั้น ระบบเศรษฐกิจของคนไทยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง นั่นคือ แต่ละครอบครัวจะผลิตของกินของใช้ขึ้นมาบริโภคเองภายในครอบครัว โดยมิได้มุ่งผลิต เพื่อการค้า แต่เมื่อมีผลผลิตเหลือก็อาจจะแลกเปลี่ยนกับชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงบ้าง

42.       ประเทศไทยพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 – 2509)ในสมัยรัฐบาลใด

(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม   

(2) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

(3) จอมพลถนอม กิตติขจร      

(4) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ตอบ 2 หน้า 38, (คำบรรยาย) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นช่วงของการตื่นตัวในการพัฒนาตามแบบ ตะวันตก ประเทศไทยในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับแรกขึ้นในปี พ.ศ. 2504 โดยได้รับความช่วยเหลือทั้งทางด้านการเงินและ วิชาการจากสหรัฐอเมริกา ต่อมาประเทศไทยได้พัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 – 2509) ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็น รัฐบาลต่อมาภายหลังจากรัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ถูกทำรัฐประหาร

43.       ปัจจุบันประเทศไทยพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่เท่าไร

(1) ฉบับที่ 12  (2) ฉบับที่ 11  (3) ฉบับที่ 10  (4) ฉบับที่ 9

ตอบ 2 (คำบรรยย) ปัจจุบันประเทศไทยพัฒนาประทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559) ซึ่งได้จัดทำขึ้นในช่วงเวลาที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์ ทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงกว่าช่วงที่ผ่านมา โดยร่วมกันน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาประเทศ อย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งให้เกิดภูมิคุ้มกันและมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสมในการ พัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน

44.       ข้อใดเป็นผลของการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่ฉบับที่ 1 ถึงปัจจุบัน

(1) ปัญหาความยากจน (2) ปัญหามลพิษ      (3) ปัญหาการกระจายรายได้  (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 39, (คำบรรยาย) ผลที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่ฉบับที่ 1 ถึงปัจจุบัน มีดังนี้ 1. ปัญหาความยากจนทั้งในชนบทและในเมือง

2.         ปัญหาการกระจายรายได้ไม่ยุติธรรม

3.         ปัญหามลพิษต่าง ๆ อันเนื่องมาจากการเน้นพัฒนาอุตสาหกรรม ฯลฯ

45.       ข้อใดเป็นหน้าที่ของสถาบันการศึกษาในสังคมไทย

(1) ถ่ายทอดวัฒนธรรม (2) พัฒนาบุคลิกภาพ            (3) พัฒนาฝีมือแรงงาน (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 39 หน้าที่ของสถาบันการศึกษา ได้แก 1. ถ่ายทอดวัฒนธรรม โดยการอบรมขัดเกลา สมาชิกทั้งทางตรงและทางอ้อมให้รู้และประพฤติปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม

2.         ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพของคนให้มีความมั่นคง

3.         ช่วยฝึกหัดและพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

46.       ในอดีตสถานที่ใดเป็นสถานศึกษาของประชาชน

(1) วัด  (2) วัง  (3) โรงเรียน     (4) วัดและวัง

ตอบ 4 หน้า 40 สถานที่ทีให้การศึกษาของสังคมไทยในอดีตก็คือ วัดและวัง ต่อมาเมื่อมีการติดต่อ กับต่างประเทศ สังคมไทยก็ได้รับเอาระบบการศึกษาใบระบบโรงเรียนแบบสากลเข้ามา โดยมี การตั้งโรงเรียนขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 6 และขยายตัวเพิ่มขึ้นทั่วประเทศ ซึ่งมีทั้งสถาบัน ของรัฐและเอกชน แต่ระบบการศึกษาของไทยก็ยังคงเป็นระบบบังคับ

47.       สมัยรัชกาลใดที่มีการตั้งโรงเรียนแบบสากล

(1) รัชกาลที่ 4  (2) รัชกาลที่ 5  (3) รัชกาลที่ 6  (4) รัชกาลที่ 7

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 46. ประกอบ

48.       ข้อใดเป็นหน้าที่ของสถาบันศาสนาในสังคมไทย

(1) ให้การอบรมสั่งสอนทางศีลธรรม   (2) ส่งเสริมจริยธรรม

(3) สร้างความมันคงทางด้านจิตใจ     (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 41 หน้าทีของสถาบันศาสนาในบระเทศไทย มีดังนี้ 1. อบรมศีลธรรมและปลูกฝังค่านิยม ที่ดีให้แก่สมาชิก 2. ส่งเสริมจริยธรรมและการประพฤติปฏิบัติตนตามประเพณีทางศาสนา

3.         ตอบสนองความต้องการทางด้านจิตใจของสมาชิก และสร้างความมั่นคงทางด้านจิตใจ

4.         สร้างความมั่นคงให้กับสังคม โดยการสร้างความสามัคคี ความมีเมตตา ช่วยเหลือเกื้อหนุน ซึ่งกันและกัน

49.       ปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่มีความเชื่อและนับถือศาสนาใด

(1) นับถือศาสนาพุทธ (2) นับถือผี

(3) เชื่อเรื่องโหราศาสตร์และไสยศาสตร์          (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 41 – 4281         82 ในสังคมไทยมีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ โดยมีคนไทยนับถือาสนาพุทธเกินกว่า 95% ที่เหลือนับถือศาสนาอื่น แต่ปัจจุบันความเชื่อในศาสนาของคนไทย ลดลง เนื่องมาจากความเจริญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้คนไทยหันไปนับถือ ความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวเพิ่มขึ้น เช่น ความเชื่อเรื่องการนับถือผี โหราศาสตร์ ไสยศาสตร์ ฯลฯ

50.       ในสมัยใดที่มีการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ตามแบบประเทศตะวันตก

(1)       รัชกาลที่ 4       (2) รัชกาลที่ 5  (3) รัชกาลที่ 6  (4) รัชกาลที่ 7

ตอบ 2 หน้า 44 ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประเทศตะวันตกได้เข้ามาแสวงหาอาณานิคมใน ประเทศแถบตะวันออก ทำให้ในสมัยรัชกาลที่ 4 สังคมไทยได้ตระหนักถึงภัยที่จะเกิดขึ้น จึงเริ่มปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองของไทยใหม่ และยกเลิกกฎเกณฑ์บางอย่าง ที่ไม่ทันสมัย เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเก่าแก่และอารยธรรมของสังคมไทย ต่อมาในสมัย รัชกาลที่ 5 สังคมไทยจึงได้มีการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ตามแบบประเทศตะวันตกขึ้น

51.       ข้อใดเป็นวัฒนธรรมไทย

(1)       คนไทยไปเวียนเทียนที่วัดในวันวิสาขบูขา        

(2) คนไทยใส่สูทเข้าประชุม

(3) วัยรุ่นไทยชอบดูภาพยนตร์เกาหลี  

(4) ถูกทั้งหมด

ต-รบ 1 หน้า 44 – 45, (คำบรรยาย) วัฒนธรรมไทย คือ แบบแผนการดำเนินชีวิตของคนไทย หรือสิ่งที่คนไทยคิดสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองทั้งทางด้านชีวภาพ จิตวิทยา และสังคม ดังนั้นวัฒนธรรมที่คนไทยสร้างขึ้นจึงมีหลายประเภทและหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็น รูปธรรมและนามธรรม ซึ่งควรอนุรักษ์และใช้กันมาอย่างแพรหลายตั้งแต่อดีต เช่น คนไทย ไปเวียนเทียนที่วัดในวันวิสาขบูขา เป็นต้น

52.       ข้อใดเป็นวัฒนธรรมแนวดิ่ง

(1)       ภูมิปัญญาในแต่ละภูมิภาคแตกต่างกัน         

(2) ความเชื่อของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์แตกต่างกัน 

(3) ภาษาที่ใช้กับผู้อาวุโสแตกต่างจากกลุ่มเครือญาติ 

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ3 หน้า 46 – 47 วัฒนธรรมไทยแนวดิ่ง คือ ความสัมพันธ์ทางสังคมระหวางวัฒนธรรมเจ้ากับไพร่ ซึ่งเป็นความแตกต่างด้านสถานภาพ เพราะคนแต่ละคนจะมีสถานะที่ลดหลั่นกันเป็นลำดับใน โครงสร้างของสังคม โดยแบบแผนพฤติกรรมที่แสดงถึงความไม่เทำเทียมกันในแนวดิ่ง ได้แก่

1.         ภาษากาย (กิริยาท่าทาง) หรือที่เรียกว่ากิริยามารยาท เช่น การไหว้ การเดินสวนกัน ฯลฯ

2.         ภาษาพูดและภาษาเขียน เช่น ภาษาที่ใช้กับผู้อาวุโสแตกต่างจากกลุ่มเครือญาติ เป็นต้น

3.         ความแตกต่างในศักดิของรางกาย เช่น เท้าต่ำสุด หัวสูงสุด เป็นต้น

53.       ข้อใดเป็น วัฒนธรรมแห่งชาติ”     

(1) วัฒนธรรมชาวบ้าน

(2)       วัฒนธรรมของชนชั้นสูง          

(3) วัฒนธรรมท้องถิ่น  

(4) วัฒนธรรมเมือง

ตอบ2 หน้า 47 เมื่อสังคมไทยพัฒนาเป็นสังคมสมัยใหม่ มีระบบโรงเรียบโรงงาน และราชการสังคมไทยได้เลือกเอาวัฒนธรรมของขนชั้นสูงเป็น วัฒนธรรมแห่งชาติ” ดังนั้นความสัมพันธ์ ทางสังคมในแนวดิ่งจึงกลายเป็นแบบแผนของความสัมพันธ์ในสังคมไทยไปโดยปริยาย

54.       ข้อใดหมายถึง วัฒนธรรม” ในยุคแรกของสังคมไทย

(1) ศิลปะต่าง ๆ (2) การไหว้    (3) วิถีชีวิต       (4) เครื่องไม้เครื่องมือในการประกอบอาชีพ

ตอบ 1 หน้า 48, (คำ,บรรยาย) ความหมายของคำว่า วัฒนธรรม” ในยุคแรกของสังคมไทยคือสิ่งที่ดีงาม ดีเลิศ มีคุณค่าซึ่งคนในสังคมได้ใช้ประพฤติปฏิบัติและแสดงออกมาช้านานในลักษณะ ที่เป็นขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปะต่าง ๆ อันมีทั้งรูปธรรมและนามธรรมที่ควรอนุรักษ์

55.       ทฤษฎีใดวิเคราะห์วัฒนธรรมจากพิธีกรรมต่าง ๆ ซึ่งจะสะท้อนให้เห็น อำนาจ” ในสังคม

(1)       การหน้าที่        (2) วิวัฒนาการ            (3) ความขัดแย้ง          (4) สัญลักษณ์

ตอบ 3 หน้า 50 แนวความคิดหรือทฤษฎีที่นักมาบุษยวิทยานำมาใช้เป็นกรอบในการวิเคราะห์ วัฒนธรรมไทย มีดังนี้ 1. ทฤษฎีการหน้าที่หรือหน้าที่นิยม โดยมองว่าวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาก็เพื่อตอบสนองสังคม คือ ทำให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้และมีชีวิตที่ดี โดยทำทั้งหน้าที่หลัก หน้าที่แอบแฝง ตลอดจนหน้าที่ต่อบุคคล 2. ทฤษฎีความขัดแย้ง โดยมองว่า พิธีกรรมต่าง ๆ มักสะท้อนให้เห็นถึง อำนาจ” ในสังคม ทั้งที่เกิดจากสิ่งเหนือธรรมชาติ จากความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง และที่เกิดจากตัวเอง

56.       ข้อใดเป็นลักษณะของภูมิปัญญาไทย

(1)       องค์ความรู้ที่เกิดและพัฒนาในระบบนิเวศท้องถิ่น (2) องค์ความรู้ที่มีการทดลอง ปรับปรุง

(3)       คนไทยเป็นเจ้าขององค์ความรู้ (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 52 – 54 ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะสำคัญ สรุปได้ดังนี้

1.         เป็นองค์ความรู้ของสังคมไทยในเกือบทุกเรื่อง เช่น การทำมาหากินด้วยการทำนาปลูกข้าว การเกษตรแบบผสมผสาน ฯลฯ

2.         เป็นองค์ความรู้ที่คนไทยคิดสร้างขึ้นและได้แปรความรู้จากนามธรรมมาสู่รูปธรรม เช่น เรือหางยาว รำผีฟ้า เสื้อผ้าที่ทำจากฝ้าย ฯลฯ

3.         เป็นองค์ความรู้เฉพาะท้องถิ่นที่แตกต่างกัน หรือเป็นสิ่งที่เกิดและพัฒนาในระบบนิเวศท้องถิ่น และเมื่อสร้างขึ้นมาแล้วคนไทยในแต่ละท้องถิ่นก็จะเป็นเจ้าของชัดเจน

4.         เป็นองค์ความรู้ที่ได้จากชีวิตจริงโดยการลองผิดลองถูก หรือผ่านการทดลอง ปรับปรุง ฯลฯ

57.       ข้อใดเป็นภูมิปัญญาในระดับที่เป็นองค์ความรู้เชิงเทคนิค

(1) ป่าอยู่คนอยู่           (2) ระบบการจัดการนํ้า (3) เห็ดชนิดไหนที่กินได้ (4) แห่นางแมวขอฝน

ตอบ 3 หน้า 51-52, (คำบรรยาย) ภูมิปัญญาไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ ดังนี้

1.         ระดับพื้นฐานเชิงเทคนิค ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปธรรม เช่น ความรู้เกี่ยวกับดินฟ้าอากาศ ฤดูกาลใดเหมาะแก่การเพาะปลูก การรู้ว่าพืชสัตว์อะไรกินได้ อะไรนำมาใช้สอยได้ ฯลฯ

2.         ระดับการจัดการระบบการผลิตและทรัพยากร เช่น การรู้จักคัดเลือกพันธุ์พืชและพื้นที่ เพาะปลูก การดูคุณสมบัติของดิน การสร้างเหมืองฝาย ระบบการจัดการนํ้า ฯลฯ

3.         ระดับการควบคุมโดยใข้ความเชื่อและพิธีกรรม เช่น ความเชื่อเรื่องรุกขเทวดา พิธีแห่นางแมวขอฝน รวมทั้งจารีตประเพณีต่าง ๆ

4.         ระดับวิธีคิดหรือค่านิยม ซึ่งมีลักษณะเป็นนามธรรมและเป็นระดับสงสุดของสังคม เช่น อยากเป็นหนี้ให้เป็นนายหน้า อยากเป็นขี้ข้าให้เป็นนายประกัน ป่าอยู่คนอยู่ ฯลฯ

58. ข้อใดเป็นภูมิปัญญาเด่นของภาคเหนือ

(1) การออกแบบชลประทาน   (2) การถนอมอาหาร

(3) ปลูกบ้านที่ดินดำนํ้าชุ่ม      (4) ปลูกข้าว

ตอบ1 หน้า 54 – 65 ภูมิปัญญาไทยที่โดดเด่นของแต่ละภาคมีดังนี้

1.         ภาคเหนือ ได้แก่ ระบบเหมืองฝาย ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาด้านการออกแบบชลประทาน เพื่อการจัดการนํ้าที่เด่นเฉพาะของชาวเหนือ ความรู้เรื่องสมุนไพร การสืบชะตาขุนนํ้า บวชต้นไม้ บวชป่า ฯลฯ

2.         ภาคอีสาน ได้แก่ การทำนาปลูกข้าวในที่ดินดำนํ้าชุ่ม ความเชื่อเรื่องดาวผีดาน การตั้งศาลปู่ตา ในถิ่นฐานใหม่ ความสามารถในการจับและกินแมลง ระบบพ่อแก้ว-ลูกแก้ว การผูกเสี่ยว ฯลฯ

3.         ภาคกลาง ได้แก่ การปลูกข้าว ภูมิปัญญาเกี่ยวกับวัฒนธรรมข้าว และพิธีกรรมที่สืบเนื่องจาก ตำนานข้าว เช่น พิธีแรกนา พิธีทำขวัญข้าว ฯลฯ

4.         ภาคใต้ ได้แก่ การปลูกบ้านมีตีน การถนอมอาหาร การผูกดอง ผูกเกลอ ความเชื่อเรื่อง ธาตุสี่ ฯลฯ

59.       ผูกเกลอ” เป็นภูมิปัญญาภาคใด

(1)       ภาคเหนือ        (2) ภาคกลาง  (3) ภาคอีสาน  (4) ภาคใต้

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 58. ประกอบ

60.       ข้อใดเป็นภูมิปัญญาไทย

(1)       องค์ความรู้ในการใช้ Internet      (2) องค์ความรู้ในการรักษาโรคตามแพทย์ปัจจุบัน

(3) องค์ความรู้ในการทำนาปลูกข้าว   (4) องค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการที่ดี

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 56. ประกอบ

61.       วัฒนธรรมหลวงเป็นวัฒนธรรมที่มีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร

(1) การบูรณาการ        

(2) ความเป็นเอกภาพของสังคมไทย

(3) ความเจริญก้าวหน้าของบระเทศ   

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ

62.       สถาบันทางสังคมสถาบันใดมีหน้าที่ตอบสนองความต้องการทางด้านจิตใจของสมาชิก

(1)       การศึกษา       

(2) ศาสนา       

(3) การเมืองการปกครอง        

(4) เศรษฐกิจ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 48. ประกอบ

63.       ศิลปกรรมไทยตามวัดและวัง เป็นเอกลักษณ์ที่แสดงให้เห็นอะไร      

(1) ประเพณีไทย

(2)       ลักษณะนิสัยประจำชาติ        

(3) ลักษณะชาติ          

(4) ระบบอำนาจของไทย

ตอบ 3 หน้า 65 – 66, (คำบรรยาย) เอกลักษณ์พื้นฐานของสังคมไทย ได้แก่

1.         ชาติ หมายถึง ลักษณะหรือเอกลักษณ์ความเป็นชาติไทย โดยเฉพาะที่แสดงให้เห็นถึง ความเป็นคนไทย ความภาคภูมิใจและความสำนึกในความเป็นไทย รวมทั้งการมีวัฒนธรรมไทย เช่น ศิลปกรรมไทย พฤติกรรมความเป็นอยู่แบบอ่อนน้อมถ่อมตนของคนไทย อาหารไทย ภาษาไทย ดนตรีไทย ธงชาติและการยืนตรงทำความเคารพเพลงชาติไทย ฯลฯ

2.         ศาสนา ได้แก่ ศาสนาพุทธซึ่งมีอิทธิพลต่อลักษณะอุปนิสัย ทัศนคติในการมองโลก และวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทย

3.         พระมหากษัตริย์ ซึ่งทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน และทรงมีภาระหน้าที่ ในการขจัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎรไทยตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

4.         การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

64.       ข้อใดคือเอกลักษณ์ไทย         

(1) การไหว้

(2)       สมุนไพร           (3) ความสัมพันธ์แบบระบบอุปถัมภ์   (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 65 เอกลักษณ์ไทยจะปรากฏทั้งในด้านรูปธรรมและนามธรรม ดังนี้

1.         ด้านรูปธรรม ได้แก่ สถาปัตยกรรมต่าง ๆ ดนตรี การไหว้ สมุนไพรรักษาโรค อาหาร เครื่องแต่งกาย วิถีชีวิตของคนไทย ฯลฯ

2.         ด้านนามธรรม ได้แก่ ลักษณะนิสัย ทัศนคติ คุณค่า ความสัมพันธ์แบบระบบอุปถัมภ์ ฯลฯ

65.       อะไรคือเอกลักษณ์พื้นฐานของไทย

(1) ชาติ            (2) ศาสนา       (3)       พระมหากษัตริย์          (4)       ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 63. ประกอบ

66.       พระมหากษัตริย์ยุคใดที่มีลักษณะเป็น เทวราชา

(1) สุโขทัย       (2) อยุธยา       (3)       กรุงรัตนโกสินทร์          (4)       ถูกทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 66, (คำบรรยาย) คุณลักษณะของพระมหากษัตริย์ไทยแต่ละยุคลมัยจะแตกต่างกันดังนี้

1.         สมัยสุโขทัย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นธรรมิกราชหรือธรรมราชาที่ทรงยึดหลักทศพิธราชธรรม

2.         สมัยอยุธยา พระมหากษัตริย์ส่วนใหญ่มลักษณะเป็นเทวราชาหรือสมมติเทพที่เชื่อว่าเป็น ปางอวตารของพระผู้เป็นเจ้าบนสวรรค์

3.         สมัยรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์มีลักษณะกึ่งกลางระหว่างธรรมราชาและเทวราชา

67.       ข้อใดแสดงให้เห็นถึง ความเป็นชาติไทย

(1) เพลงชาติไทย         (2) ดนตรีไทย   (3)       อาหารไทย       (4)       ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 63. ประกอบ

68.       ลักษณะนิสัยประจำชาติ” มีความหมายตรงกับข้อใด

(1)       เป็นภาพรวมทสะท้อนให้เห็นลักษณะบุคลิกภาพของคนในชาติ

(2)       การอบรมเลี้ยงดูของคนในชาติ

(3)       ความสัมพันธ์ของคนในชาติ

(4)       พฤติกรรมของคนในชาติ

ตอบ 1 หน้า 68, (คำบรรยาย) ลักษณะนิสัยประจำชาติ หมายถึง ลักษณะทางบุคลิกภาพที่เห็บเด่นชัดอันเป็นผลจากองค์ประกอบทางวัฒนธรรมและโครงสร้างสังคม ตลอดจนการกระทำโต้ตอบกัน ระหว่างวัฒนธรรมและบุคลิกภาพเดิม ดังนั้นลักษณะนิสัยประจำชาติจึงเป็นภาพรวมที่สะท้อน ให้เห็นลักษณะบุคลิกภาพของคนในชาตินั้น ๆ ในลักษณะของภาพแบบเดียวกัน (Stereotype) หรือภาพประทับใจ (Impression) เช่น คนอังกฤษเก็บตัว คนยิวตระหนี่ เป็นต้น

69.       สังคมไทยมีโครงสร้างแบบหลวม” หมายความว่าอย่างไร 

(1) คนไทยขาดวินัย

(2)       คนไทยมีลักษณะยืดหยุ่น        (3) คนไทยชอบอิสระ   (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 69, (คำบรรยาย) เอมบรี (Embree) กล่าวว่า สังคมไทยมีโครงสร้างแบบหลวม(Loosely Structured) นั่นคือ คนไทยขาดระเบียบวินัย มีลักษณะปัจเจกบุคคลนิยมสูง ชอบอยู่โดดเดี่ยว ไม่ชอบการรวมกลุ่ม และเป็นสังคมที่มีลักษณะยืดหยุ่นประนีประนอมสูง นอกจากนี้คนไทยยังรักอิสระ นิยมเลือกทำตามใจตนเอง ไม่ชอบอยู่ในกฎเกณฑ์ ไม่ชอบผูกมัด ต่อหน้าที่ และพยายามหลีกเลี่ยงพันธะทางสังคม จึงมักมีปัญหาในการทำงานรวมกลุ่มกับผู้อื่น

70.       ค่านิยม การเล็งผลปฏิบัติ” ทำให้คนไทยมีนิสัยอย่างไร

(1)       ชอบทำงานคนเดียว     (2) ตั้งเป้าหมายในการทำงานไว้สูง

(3)       ทำเฉพาะสิ่งที่เอิ้อประโยชน์ตนเท่านั้น (4) ชอบทำงานสาธารณประโยชน์

ตอบ 3 หน้า 70, (คำบรรยาย) ศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ กลาวว่า คนไทยเล็งผลการปฏิบัติ หมายถึง คนไทยจะชอบทำเฉพาะสิ่งที่เอื้อประโยชน์กับตนเท่านั้น โดยพิจารณาว่าถ้าสิ่งนั้น ขัดกับประโยชน์ส่วนตนหรือเกิดความเสียหายก็จะไมปฏิบัติ แต่ถ้าเสริมประโยชน์กับตนก็จะปฏิบัติ

71.       คนไทยรักสนุก ใจเย็น และวัฒนธรรมไทยถูกครอบงำโดยเพศชาย” เป็นคำกล่าวของผู้ใด

(1) สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ           

(2) ประเสริฐ แย้มกลิ่นฟุ้ง

(3)       อดุล วิเชียรเจริญ         

(4) รูธ เบเนดิกท์

ตอบ 4 หน้า 69, (คำบรรยาย) รูธ เบเนดิกท์ นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน กล่าวว่า คนไทยรักสนุก ใจเย็น และวัฒนธรรมไทยถูกครอบงำโดยเพศชาย ซึ่งลักษณะตั้ง 3 นี้เป็นผลมาจากความเชื่อ ทางศาสนา การอบรมขัดเกลาทางสังคม และแบบแผนการเลี้ยงดู นอกจากนี้เขายังให้ทัศนะ ต่อไปอีกว่าสาเหตุที่ทำให้คนไทยชอบสนุกนั้นเกิดจากการอบรมเลี้ยงดู การทำมาหากินแบบ เกษตรกรรม และการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบุรณ์

72.       พูดได้ตามใจคือไทยแท้” หมายถึงคนไทยมีนิสัยอย่างไร

(1) ปัจเจกบุคคล         

(2) รักอิสระและความเป็นไทย

(3)       หาความสุขจากชีวิต    

(4) นิยมความโอ่อ่า

ตอบ 2 หน้า 70, (คำบรรยาย) สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวถึงลักษณะนิสัยของคนไทย ไว้ประการหนึ่ง ได้แก่ คนไทยรักความเป็นไทย คือ การรักอิสรเสรี เนื่องจากคนไทยชอบ การคิดที่เสรี พูดที่เสรี และการกระทำที่เสรี (มโนกรรม วจีกรรม และกายกรรม) ดังคำกล่าว ที่ว่า พูดได้ตามใจคือไทยแท้

73.       เพราะเหตุใดลักษณะนิสัยส่วนรวมของคนไทยจึงแตกต่างจากชนชาติอื่น     

(1) การอบรมเลี้ยงดู

(2)       ความเชื่อทางศาสนา   

(3) ประวัติศาสตร์ความเป็นมา            

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 68 ปัจจัยที่ทำให้ลักษณะนิสัยประจำชาติ หรือลักษณะนิสัยส่วนรวมของคนไทย แตกต่างจากชนชาติอื่น มีดังนี้     1. ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคม

2.         ความเชื่อทางศาสนา   3. การอบรมเลี้ยงดู

4.         สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ        5. สิ่งแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรม

74.       ข้อใดเป็นลักษณะนิสัยของเด็กไทยรุ่นใหม่    

(1) เคารพผู้อาวุโส

(2)       เลียนแบบวัฒนธรรมอื่น (3) อนุรักษ์บรรทัดฐานของสังคม      (4) เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม

ตอบ2 หน้า 70 – 71, (คำบรรยาย) จากวิกฤตทางวัฒนธรรมของไทยทำให้เด็กไทยรุ่นใหม่มีนิสัยดังนี้

1.         ขี้เหงา ติดเพื่อน           2. ไม่มีความอดทนในการรอคอย         3. เจ้าอารมณ์

4.         เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน 5. ขาดจิตสำนักสาธารณะ   6. ชอบทันสมัย ฟุ่มเฟือย

ฟุ้งเฟ้อ และตามแฟชั่น            7. ชอบเลียนแบบวัฒนธรรมอื่น (โดยเฉพาะวัฒนธรรมตะวันตก)

ที่แพร่เข้ามาเพื่อความเป็นสากล ฯล

75.       ข้อใดเป็นลักษณะของ ครอบครัวลูกระเบิด”        

(1) ครอบครัวหย่าร้าง

(2)       ครอบครัวแยกกันอยู่    (3) ครอบครัวทะเลาะเบาะแว้ง            (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 70, (คำบรรยาย) ครอบครัวลูกระเบิด เป็นลักษณะของครอบครัวที่มีแต่การทะเลาะเบาะแว้ง มีเรื่องระหองระแหงกันอยู่เสมอ ถึงขั้นลงมือลงไม้ตบตีกัน หาบรรยากาศร่มเย็นไม่ได้ จึงเป็น ครอบครัวที่มีแต่ความร้อนใจจนไม่น่าอยู่

76.       ข้อใดคือความหมาย วิกฤตวัฒนธรรม

(1)       วิถีชีวิตของคนในสังคมมีความขัดแย้งในระบบคุณค่าและมาตรฐานทางศีลธรรม

(2)       ความคิดเห็นของคนในสังคมแตกต่างกัน

(3)       ทัศนคติของคนในสังคมแตกต่างกัน

(4)       ความสัมพันธ์ของคนในชนบทและคนในเมืองแตกต่างกัน

ตอบ 1 หน้า 7276, (คำบรรยาย) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ให้ความหมายว่าวิกฤตวัฒนธรรม หมายถึง ปรากฏการณ์ที่เบี่ยงเบนไปจากวิถีชีวิตอันดีงาม หรือวิถีชีวิตของคน ในสังคมที่มีความขัดแย้งสวนกระแสในระบบคุณค่าและมาตรฐานทางศีลธรรม นั่นคือ พฤติกรรม ของคนที่เปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยยึดถือปฏิบัตินั่นเอง ซึ่งตัวอย่างของวิกฤตทางวัฒนธรรม ในสังคมไทย เช่น ความรุนแรงต่างๆ ทางสังคมการแล้ง-น้ำใจ ดูดายการทุจริตคอร์รัปชั่นในสังคมการให้ความสำคัญกับเงินหรือวัตถุมากกว่าสิ่งอื่นปัญหาสิ่งแวดล้อมความขัดแย้ง ด้านผลประโยชน์ และความเชื่อว่าสวรรค์กับการบริโภคเป็นสิ่งเดียวกับ ฯลฯ

77.       ข้อใดคือตัวอย่างของวิกฤตวัฒนธรรมไทย

(1) การทุจริตคอร์รัปชั่นในสังคม          (2) ปัญหาสิ่งแวดล้อม

(3)       คนในสังคมเน้นเรื่อง เงิน” มากกว่าสิ่งอื่น      (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 76. ประกอบ

78.       ข้อใดเป็นตัวอย่างของสังคมไทยที่มีการพัฒนาแบบ รูปแบบก้าวหน้า เนื้อหาล้าหลัง

(1)       ปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพมหานคร   (2) ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในอนาคต

(3)       ปัญหานํ้ามันมีราคาแพง          (4) ปัญหาความยากจน

ตอบ 1 หน้า 73 – 74 สังคมไทยมีความทันสมัยแต่ไม่พัฒนา หรือมีลักษณะ รูปแบบก้าวหน้าเนื้อหาล้าหลัง” หมายถึง สังคมไทยรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาแต่วัตถุกับเปลือก แต่มิได้เรียนรู้ วิธีคิด ตลอดจนเนื้อหาที่แท้จริง จนทำให้เกิดความล่าทางวัฒนธรรม (Culture La§) เช่น คนไทยมีปัญญาซื้อรถยนต์ แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพมหานครได้ หรือการมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต แต่ไม่รู้วิธีใช้หรือใช้อย่างผิด ๆ ไม่ได้ประโยชน์ และไม่มีกฎหมายควบคุมที่ได้ผล เป็นต้น

79.       วิกฤตวัฒนธรรมของไทยเกิดจากปัจจัยใด    

(1) การพัฒนาประเทศให้ทันสมัย

(2)       เทคโนโลยีก้าวไกล     (3) การสื่อสารแบบไร้พรมแดน            (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า .72 – 74, (คำบรรยาย) ที่มาและปัจจัยที่ทำให้เกิดวิกฤตทางวัฒนธรรมไทย มีดังนี้

1.         เป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 18 และกระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้มีการ พัฒนาประเทศให้ทันสมัย เพื่อให้มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี เทคนิควิทยาด้าน ต่าง ๆ และระบบสื่อสารคมนาคมแบบไร้พรมแดน จนเกิดภาวะ ทันสมัย แต่ไม่พัฒนา

2.         การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมไปสู่ระบบทุนนิยมอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิด ความสับสนในมาตรฐานเกี่ยวกับความดี ความชั่ว ที่เคยยึดถือกันมา

80.       การที่มาตรฐานเกี่ยวกับความดี ความชั่วของคนไทยเกิดความสับสนนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับอะไร

(1) ระบบค่านิยม         (2) การปฎิรูปการเมือง (3) วิกฤตทางวัฒนธรรม (4) การขยายตัวของเมือง

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 79. ประกอบ

81.       เพราะเหตุใดระบบความเชื่อจึงเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับการรวมกลุ่มเป็นสังคมของมนุษย์

(1)       มนุษย์ศรัทธาในธรรมชาติ       

(2) มนุษย์ไม่แน่ใจในธรรมชาติ

(3)       มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ        

(4) มนุษย์พยายามที่จะเอาชนะธรรมชาติ

ตอบ 2 หน้า 79, (คำบรรยาย) ระบบความเชื่อเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับการรวมกลุ่มเป็นสังคมของมนุษย์เนื่องจากมนุษย์ไม่แน่ใจในธรรมชาติ เกิดความกลัวธรรมชาติ ดังนั้นมนุษย์จึงสร้างระบบความเชื่อขึ้นเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นการส่งเสริมอำนาจ เป็นการตอบสนองความกลัวในสิ่ง เหนือธรรมชาติ ตลอดจนเป็นเครื่องมือควบคุมมนุษย์ให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีระเบียบ

82.       ความเหมือนกันของศาสนากับความเชื่อคือข้อใด      

(1) มีศาสดาเป็นผู้ก่อตั้ง

(2)       มีหสักธรรมคำสอน 

(3) มีความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติ  

(4) การกำเนิดและสิ้นสุดของโลก

ตอบ 3 หน้า 79 ศาสนาและความเชื่อมีสิ่งที่ตรงกันหรือเหมือนกัน คือ มีที่มาจากความเชื่อว่ามีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ลึกลับบางอย่างหรือหลายอย่างที่อยู่นอกเหนือมนุษย์ธรรมดา และความเชื่อ ในอำนาจเหนือธรรมชาตินี้จะเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ทั้งในทางดีและทางร้าย ทั้งให้คุณและให้โทษได้ แต่ความเชื่อจะต่างจากศาสนาในแงที่ว่าความเชื่ออาจจะไม่แสดง กำเนิดและการสิ้นสุดของโลก หรืออาจไม่มีหลักธรรมคำสอนที่เกี่ยวกับบุญ-บาปเป็นศีลธรรม เหมือนกับศาสนา

83.       อะไรคือจุดมุ่งหมายของศาสนาต่าง ๆ

(1) ให้มนุษย์อยู่ร่วมกับโดยสันติสุข     

(2) ให้มนุษย์อยู่ร่วมกันโดยใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์

(3)       ให้มนุษย์พ้นทุกข์        

(4) ให้มนุษย์มืความสุขในทางโลก

ตอบ1 หน้า 79 คำสอนของศาสนาต่าง ๆ โดยรวมแล้วจะมีจุดมุ่งหมายเน้นให้มนุษย์อยู่ร่วมกัน อย่างสันติสุข ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน

84.       อะไรเป็นองค์ประกอบหลักของศาสนา

(1)       พิธีกรรม          (2) ตัวความเชื่อ           (3) ผู้ประกอบพิธีกรรม (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ4 หน้า 80 องค์ประกอบหลักของศาสนาและความเชื่อ ได้แก่ 1. ตัวความเชื่อเรื่องอำนาจเหนือ ธรรมชาติที่ให้คุณให้โทษแก่ชีวิตมนุษย์ได้ เช่น ผี เจ้า เทวดา อิทธิพลของดวงดาว ฤกษ์ยาม ฯลฯ 2. บุคคลผู้รู้ที่ติดต่อกับอำนาจลึกลับและสิ่งศักด์สิทธิ์นั้น ๆ เช่น คนทรง หมอผี นักบวช ผู้ประกอบพิธิกรรม ฯลฯ 3. พิธีกรรม 4. สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ 5. วัตถุศักดิ์สิทธิ์หรือวัตถุมงคล

85.       ความเชื่อเรื่องใดที่คนไทยใช้เป็นหลักยึดทางด้านจิตใจ         

(1) หลักธรรมคำสั่งสอนทางศาสนา

(2)       โหราศาสตร์    (3) ไสยศาสตร์ (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 81 – 83, (คำบรรยาย) ความเชื่อในสังคมไทยที่เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ แบ่งออก ได้ดังนี้ 1. ความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยวกับอำนาจเหนือธรรมชาติ ได้แก่ ความเชื่อเรื่องผีสางเทวดา ความเชื่อเรื่องขวัญ ความเชื่อเรื่องไสยคาสตร์ โหราศาสตร์ ฯลฯ 2. ความเชื่อด้านศาสนาพุทธ และศาสนาพราหมณ์ เช่น การเชื่อว่าชีวิตเป็นไปตามกรรม เมตตาธรรมคํ้าจุนโลก ลัทธิเทวราชา พรหมลิขิต คติไตรภูมิ ฯลฯ

86.       ประเภทความเชื่อของศาสนาพุทธคือข้อใด

(1) เทวนิยม     (2) อเทวนิยม   (3) เอกเทวนิยม           (4) พหุเทวนิยม

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ประเภทความเชื่อของศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม คือ เชื่อว่าไม่มีพระเจ้า แสะเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ด้วย ความเพียรของตน

87.       ข้อใดคือหลักคำสอนสำคัญของกาลามสูตร

(1) เชื่อผู้ที่เชื่อถือได้     (2) เชื่อเพราะเป็นตำรา

(3)       เชื่อเพราะเป็นผู้เชี่ยวชาญ       (4) เชื่อโดยใช้วิจารณญาณและเหตุผล

ตอบ 4 (คำบรรยาย) หลักคำสอนสำคัญของกาลามสูตรในศาสนาพุทธ เป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงาย โดยควรใช้ปัญญา ไตร่ตรอง หรือใช้วิจารณญาณและเหตุผลพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนที่จะเชื่อ

88.       อะไรคือที่มาของทุกสิ่งทุกอย่างในทัศนะของชาวพุทธ

(1) กรรม          (2) พระพรหม  (3) สิ่งเหนือธรรมชาติ  (4) ขวัญ

ตอบ 1 หน้า 83, (คำบรรยาย) ในทัศนะของชาวพุทธ กรรม” คือ การกระทำของเรา ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดสร้างโลกและสรรพสิ่งทั้งหลาย และเป็นที่มาของทุกสิ่งทุกอย่าง ดังนั้นเมื่อกระทำสิ่งใด ผลของกรรมที่เกิดจากการกระทำนั้นก็จะตามมา กรรมที่กระทำไว้ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือ กรรมชั่วจะยังผลให้มีการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร จึงกล่าวได้ว่าพื้นฐานชีวิตความเป็นอยู่ ปัจจุบันจะเป็นเช่นไรนั้นย่อมขึ้นอยู่กับ กรรม” หรือบาปบุญที่ได้กระทำไว้ในชาติหนึ่งนั่นเอง

89.       อะไรคือหลักคำสอนในศาสนาพุทธ

(1) จงทำดี จงทำดี       (2) จงทำดี ละเว้นความชั่ว

(3)       ทำใจให้บริสุทธิ์            (4) จงทำดี ละเว้นความชั่ว และทำใจให้บริสุทธิ์

ตอบ 4 หน้า 83, (คำบรรยาย) หลักคำสอนสำคัญที่เป็นหัวใจหรือแก่นของศาสนาพุทธ ได้แก่ จงทำดี ละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส โดยมีจุดมุ่งหมาย คือ การดับทุกข์

90.       ศาสนาพุทธได้รับการปรับปรุงให้มีเหตุผลเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นในยุคสมัยใด

(1) พ่อขุนรามคำแหงมหาราช  (2) พระบรมไตรโลกนาถ

(3) รัชกาลที่ 4  (4) รัชกาลที่ 6

ตอบ 3 หน้า 82 เมื่อไทยยอมรับวัฒนธรรมตะวันตกและเข้าสู่สมัยใหม่ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ชนชั้นปกครองของไทยเริ่มให้ความสำคัญกับความรู้ ที่อธิบายได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล ดังนั้นความรู้ความเชื่อทางด้านศาสนาพุทธจึงได้รับ การปรับปรุงให้ดูมีเหตุผลและเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น

91.       ข้อใดหมายถึงประเพณีไทย

(1) การขึ้นบ้านใหม่     

(2) การบวช     

(3) สงกรานต์   

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 85 – 87, (คำบรรยาย) ประเพณีไทยแบ่งตามลักษณะทั่วไปออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวาระต่าง ๆ ของชีวิตคนไทยแต่ละคน ได้แก่ ประเพณีเกี่ยวกับ การเกิด การตาย การบวช การสมรส การขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น

2. ประเพณีที่เกียวข้องกับสังคมไทย ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ และความเป็นอยู่ ของคน ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ ลอยกระทง จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ บุญบั้งไฟ แห่นางแมว บูชาพระแม่ธรณี ปั้นเมฆ ตลอดจนงานบุญ และการละเล่นอื่น ๆ เช่น แข่งเรือ การเข้าทรงแม่ศรี ผีครก ผีสาก เป็นต้น

92.       ข้อใดคือความหมาย ประเพณี

(1)       เป็นแบบแผนของพฤติกรรมที่สมาชิกในสังคมได้มีการสร้างและปฏิบัติสิบทอดกันมา

(2)       เป็นค่านิยมในสังคม

(3)       เป็นความสัมพันธ์ของคนในสังคม

(4)       เป็นความเชื่อของคนในสังคม

ตอบ 1 หน้า 85 ประเพณี คือ แบบแผนของพฤติกรรมเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตที่สมาชิกในสังคมได้มี การสร้างและปฏิบัติสืบทอดกันมา ซึ่งมีหลายประเภท ได้แก่

1.         จารีตประเพณี คือ แบบแผนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมและศีลธรรม ผู้ที่ละเมิด หรือไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกลงโทษจากสังคม

2.         ธรรมเนียม คือ แบบแผนพฤติกรรมที่สังคมกำหนดไว้และปฏิบัติสืบทอดกันมา

3.         ประเพณีปรัมปรา คือ แบบแผนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบความคิด คุณค่า ทัศนคติ ซึ่งมีการสั่งสมสืบทอดมาตั้งแต่อดีตและปฏิบัติต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน

4.         ขนบธรรมเนียม คือ ประเพณีที่มีระเบียบแบบแผนและถูกกำหนดขั้นตอนไว้ชัดเจน ในการปฏิบัติ เช่น ประเพณีการสมรส การบวช การตาย ฯลฯ

5.         ธรรมเนียมประเพณีหรือวิถีประชา คือ ประเพณีที่เป็นข้อปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

93.       ประเพณีไทยมีความสำคัญอย่างไร

(1) ส่งเสริมความสามัคคี         

(2) แสดงความกตัญญู

(3) แสดงความเป็นอารยะ       

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 85 – 86, (คำบรรยาย) ความสำคัญของประเพณีไทย มีดังนี้ 1. แสดงความเป็นอารยะ 2. ส่งเสริมความสามัคคี

3.         แสดงถึงความกดัญญูรู้คุณ     4. ช่วยสืบต่อพระพุทธศาสนา

5.         แสดงถึงประวัติความเป็นมาของชาติ 6. เป็นมรดกทางสังคม

7. แสดงโลกทัศน์ของคนไทย   8. แสดงให้เห็นระบบความสัมพันธ์ในสังคม ฯลฯ

94.       ลอยกระทง” เป็นประเพณีประเภทใด

(1) ประเพณีสังคม      (2) ประเพณีชีวิตบุคคล (3) ประเพณีท้องถิ่น  (4) จารีตประเพณี

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 91. ประกอบ

95.       ข้อใดเป็นประเพณีที่คนไทยต้องประพฤติปฏิบัติ ถ้าไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกลงโทษ

(1) ขนบธรรมเนียม      (2) ประเพณีปรัมปรา  (3) จารีตประเพณี       (4) ธรรมเนียมประเพณี

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 92. ประกอบ

96.       บุญบั้งไฟ” เป็นประเพณีของท้องถิ่นใด

(1) ภาคกลาง  (2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

(3) ภาคเหนือ   (4) ภาคใต้

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือ

ภาคอีสานของไทยรวมไปถึงลาว โดยมีตำนานมาจากนิทานพื้นบ้านเรื่องพระยาคันคาก และ เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทานได้กล่าวถึงชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อการบูชาพญาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร โดยชาวบ้านมีความเชื่อว่าพญาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตก ตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกตามฤดูกาล จนอาจก่อให้เกิดภัยพิบ้ติกับหมู่บ้านได้

97.       ข้อใดคือลักษณะของ ธรรมเนียมประเพณี

(1) เป็นแบบแผนพฤติกรรมที่ผู้ใดจะละเมิดมิได้         (2) เป็นแบบแผนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรม

(3) เป็นแบบแผนพฤติกรรมที่เกี่ยวกับระบบความคิด (4) เป็นข้อปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 92. ประกอบ

98.       สถาบันทางสังคมหมายถึงข้อใด

(1) ประเพณี    (2) กฎเกณฑ์สังคม     (3) ค่านิยม      (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 15. ประกอบ

99.       “สุวรรณภูมิ” หมายถึงประเทศใด

(1)ไทย (2)จีน (3)อินเดีย          (4)ประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ตอบ 4 หน้า 1826 – 27 สุวรรณภูมิ หมายถึง ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด หรืออุษาคเนย์ ซึ่งประกอบด้วย ไทย พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา (เขมร) มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน และพิลิปปินส์ โดยคำว่า สุวรรณภูมิ มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต 2 คำ คือ สุวรรณ + ภูมิ แปลว่า แผ่นดินทอง หรือแหลมทอง ซึ่งเป็นคำที่ชาวอินเดียโบราณที่เข้ามาติดต่อ แลกเปลี่ยนสิ่งของเป็นผู้ใช้เรียก เพราะดินแดนแถบนี้มีความมั่งคั่งในด้านทรัพยากรธรรมชาติ

100.    ระบบความสัมพันธ์ในสังคมไทยที่สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้คืออะไร

(1) ระบบขุนนาง          (2) ระบบอุปถัมภ์        (3) ระบบญาติพี่น้อง   (4) ระบบประชาธิปไตย

ตอบ 2 หน้า 34 – 35, (คำบรรยาย) ระบบความสัมพันธ์ในสังคมไทยปัจจุบันที่ถือเป็นมรดกสืบทอด มาจากระบบความสัมพันธ์ในอดีต คือ ระบบอุปถัมภ์หรือระบบเครือญาติ (Patron-client Relationship) ในลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างคนที่มีฐานะต่างกัน เช่น ผู้ใหญ่กับผู้น้อย หรือนายกับบ่าวที่ต่างยอมรับต่อกัน มีหน้าที่ช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยต่อกัน และจะขาดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไปไม่ได้

Advertisement