31. วิธีการคำนวณใดที่ใช้หาช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่ของสิ่งมีชีวิต
(1) คาร์บอน-5
(2) คาร์บอน-14
(3) โปเแตสเซียม-8
(4)โปแตสเซียม-12
ตอบ 2 หน้า 24 วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในการคำนวณหาอายุหรือ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่ของสิ่งมีชีวิตหรือซากดึกดำบรรพ์ คือ การคำนวณด้วยวิธีคาร์บอน-14 และวิธีโปแตสเซียม อาร์กอนกับซากกระดูกของมนุษย์โบราณ ซึ่งทำให้คาดคะเนกาลเวลาได้ ค่อนข้างแม่นยำ
32. “โฮมินิด” เป็นคำเรียกกลุ่มสัตว์ในวงศ์ใด
(1) โฮมินอยดิก
(2)โฮมินอยเซอิก
(3) โฮมินิเดีย
(4) โฮโม เซเปียนส์
ตอบ 3 หน้า 20 – 21, 73 – 74 โฮมินิด (Hominid) เป็นคำนามที่เรียกกลุ่มสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตใน วงศ์โฮมินิเดียในความหมายว่า มนุษย์ (Man) โดยลักษณะเด่นทางชีวภาพและการดำรงชีวิต ของโฮมินิด มีดังนี้ 1. ใช้ชีวิตอยู่บนพื้นดิบแทนการห้อยโหนบนต้นไม้
2. ใช้ขาทั้งสองข้างเวลาเดินและใช้มือหยิบสิ่งของ
3. เดินตัวตรงและตั้งฉากกับพื้นดินเมื่อพัฒนาถึงจุดสูงสุด
4. มีขนาดมันสมองใหญ่ขึ้น และสามารถสร้าง “วัฒนธรรม” ได้
33. “โฮมินิด” หมายถึงอะไร
(1) สัตว์เซลล์เดียว
(2) มนุษย์โบราณ
(3) มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์
(4) มนุษย์
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 32. ประกอบ
34. โฮโม เซเปียนล์ มีขนาดมันสมองราวกี่ ลบ.ซม.
(1) 500 (2) 1,400 (3) 1,800 (4) 2,100
ตอบ 2 หน้า 23, 83 โฮมินิดจะมีขนาดของมันสมองแตกต่างกัน ดังนี้
1. รามาพิธิคัส (Ramapithecus) และออสตราโลพิธิคัส (Australopithecus)
มีขนาดมันสมองราว 500 ลบ.ซม.
2. โฮโม อีเรคตัส (Homo Erectus) มีขนาดมันสมองราว 775 – 1,225 ลบ.ซม.
3. โฮโม เซเปียนส์ (Homo Sapiens) มีขนาดมันสมองราว 1,400 ลบ.ซม.
35. มนุษย์โบราณออสตราโลพิธิคัส แอฟริกานัส (Australopithecus Africanus) มีอายุราวกี่ล้านปีมาแล้ว
(1) 6 แสนปี (2) 1.5 ล้านปี (3) 4.2 ล้านปี (4) 6.7 ล้านปี
ตอบ 2 หน้า 23, 80 มนุษย์โบราณออสตราโลพิธิคัส แอฟริกานัส มีอายุราว 1.5 ล้านปีมาแล้ว โดยมีลักษณะรูปร่างดังนี้ 1. รูปร่างเล็ก โปร่งบาง 2. ความสูงเฉลี่ยราว 4 – 41/2 ฟุต
3. น้ำหนักเฉลี่ย 60 ปอนด์ 4. ใบหน้ากลมแคบ 5. ฟันหน้าและฟันหลังมีขนาดใหญ่ 6. ขนาดของสมองราว 442 ลบ.ซม. ฯลฯ
36. โฮโม อีเรคตัสมีขนาดมันสมองราวกี่ ลบ.ซม.
(1) 775 – 1,225 (2) 925 – 1,135 (3) 1,500 – 1,725 (4) 1,725 – 1,830
ตอบ1 ดูคำอธิบายข้อ 34. ประกอบ
37. ออสตราโลพิธิคัสมีขนาดมันสมองราวกี่ ลบ.ซม.
(1) 300 (2) 500 (3) 700 (4) 900
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 34. ประกอบ
38. นักมานุษยวิทยากายภาพสนใจศึกษาในด้านใด
(1) วิวัฒนาการของมนุษย์โบราณ
(2) ซากดึกดำบรรพ์ (3) วิวัฒนาการของมนุษย์ (4) การพัฒนาการมาเป็นมนุษย์
ตอบ 3 หน้า 16 นักมานุษยวิทยากายภาพสนใจศึกษา 2 หัวข้อใหญ่ คือ
1. การวิวัฒนาการของมนุษย์ โดยเน้นศึกษาหมู่สัตว์ในสายโฮโมเป็นหลัก เพื่อค้นหาต้นตอ และสายการวิวัฒนาการจนกลายมาเป็นมนุษย์ปัจจุบัน
2. ความแตกต่างในหมู่มนุษยชาติในยุคปัจจุบัน เช่น สีผิว ขนาดและโครงสร้างทางร่างกาย กลุ่มเลือด การปรับตัวของร่างกายต่อภูมิอากาศและสภาพแวดล้อม ทั้งนี้เพราะเป็นความแตกต่างที่ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดและสามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานโดยผ่านทางพันธุกรรมได้
39. ใครคือผู้ที่มีแนวความคิดว่า “สิ่งมีชีวิตมีจุดเริ่มต้นมาจากน้ำ”
(1) ลูเครติอุส (2) อริสโตเติล (3) เฮราคลิตัส (4) ทาเลส
ตอบ 4 หน้า 27 – 28 ทาเลส (Tales) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในระหว่างปี 640 – 546 ก่อนคริสต์ศักราช กล่าวว่า“สิ่งมีชีวิตมีจุดเริ่มต้นมาจากนํ้า” ซึ่งจากทัศนะนี้เองทำให้ทาเลสเป็นคนแรกที่นำเสนอแนวคิด ตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์แทนการกล่าวตามนิยายปรัมปราดังเช่นคนร่วมสมัยอื่น ๆ ที่ชี้นำว่า สรรพสิ่งทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตในโลกล้วนได้รับการสร้างขึ้นจากอำนาจเหนือธรรมชาติแทบทั้งสิ้น
40. คาโรลัส ลินเน่ เป็นนักวิทยาศาสตร์สัญชาติใด
(1) อังกฤษ (2) ฝรั่งเศส (3) เยอรมนี (4) สวีเดน
ตอบ 4 หน้า 29 – 30 คาโรลัส ลินเน่ (Carolus Linnaeus) นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดน มีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1707 – 1773 ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับระบบการจำแนกพืชและสัตว์ชื่อ “Systema Naturae” โดยได้จัดพิมพ์ขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1758 ซึ่งนับว่าเป็นผลงานที่ทำให้ลินเน่มีชื่อเสียง อย่างมากเพราะเขาได้จำแนกพืชและสัตว์ออกเป็นกลุ่ม ๆ อย่างเป็นระบบ และตั้งชื่อเรียกพืช และสัตว์แต่ละประเภทตามสปีชี่ โดยพิจารณาถึงโครงสร้างและหน้าที่ทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิต แต่ละชนิด ความสำเร็จของลินเน่ก่อให้เกิดคำกล่าวที่ว่า “พระเจ้าเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งขึ้นบนโลก ส่วนลินเน่เป็นผู้จัดจำแนกอย่างเป็นระบบ”