21. ในการศึกษาเรื่องราวของวิวัฒนาการ นักมานุษยวิทยาต้องอาศัยการวิเคราะห์จากสิ่งใด
(1) ซากเน่าเปื่อย
(2) ซากดึกดำบรรพ์
(3) ฟอสซิล
(4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 16 นักมาบุษยวิทยากายภาพศึกษาเรื่องราวของการวิวัฒนาการของมนุษย์ โดยอาศัย การวิเคราะห์ซากกระดูกและอวัยวะซึ่งเรียกว่า ซากดึกดำบรรพ์ ซากเน่าเปื่อย หรือฟอสซิล (Fossil) ของสิ่งมีชีวิตที่เคยมีชีวิตในอดีต แล้วนำมาเปรียบเทียบกับโครงสร้างกายวิภาคของสัตว์และมนุษย์ ในยุคปัจจุบัน เพื่อสืบสาวเรื่องราวเกี่ยวกับสายการวิวัฒนาการจนกลายเป็นโฮโม เซเปียนส์
22. เจน กูดเดลล์ ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมของลิงในแถบใด
(1) เกาะบอร์เนียว
(2) เกาะกาสาปาโกส
(3) แอฟริกาตะวันตก
(4) แอฟริกาตะวันออก
ตอบ 4 หน้า 18, 72 – 73 นักมานุษยวิทยากายภาพที่ทำการศึกษาพฤติกรรมของไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์ในสภาพธรรมชาติ ได้แก่
1. ไดแอน ฟอสซี่ ศึกษาพฤติกรรมของลิงกอริลลาในประเทศแองโกล่า
2. เจน กูดเดลล์ ศึกษาพฤติกรรมและชีวิตความเป็นอยู่ของลิงในแถบแอฟริกาตะวันออกและ ชิมแปนซีในประเทศยูกานดา
3. ฟิลลิส ฮอลินาว ศึกษาพฤติกรรมของลิงแลงเกอร์ในประเทศอินเดีย
4. บิรุท กอลดิกาส-บรินดามอร์ ศึกษาพฤติกรรมซองลิงอุรังอุตังในหมู่เกาะบอร์เนียว ลิงแบมบูนในแอฟริกา และลิงมาคัสในตอนกลางของประเทศญี่ปุ่น
23. บิรุท กอลดิกาส-บรินดามอร์ ได้ทำการศึกษาลิงประเภทใด
(1) กอริลลา
(2) แลงเกอร์
(3) อุรังอุตัง
(4) ชิมแปนซี
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 22. ประกอบ
24. สาขาวิขาใดที่ทำการศึกษากลุ่มไพรเมตโบราณในสกุลโฮโม
(1) มนุษย์วิทยาโบราณ
(2) มนุษย์วิทยากายภาพ (3)มนุษย์โบราณวิทยา (4) โบราณคดี
ตอบ 3 หน้า 19 วิฃามนุษย์โบราณวิทยา (Human Paleotology) เป็นวิชาที่ทำการศึกษากลุ่มไพรเมตโบราณในสกุลโฮโม โดยศึกษาวิเคราะห์ซากโครงกระดูกและชิ้นส่วนกระดูกที่ค้นพบ (Fossil Remains)
25. สกุลใดที่จัดอยู่ในกลุ่มสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตในวงศ์โฮมินิเดีย
(1)รามาพิธิคัส (2) ออสตราโลพิธิคัส (3) โฮโม (4)ถูกทั้งหมด
ตอบ 2. 3 หน้า 21, 70, 73 – 74, 77, 83 กลุ่มสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตในวงศ์โฮมินิเดีย (Hominidae)ประกอบด้วย 2 สกุล คือ
1. สกุลออสตราโลพิธิคัส (Australopithecus) แยกออกเป็น 2 สปีชี่ ได้แก่ ออสตราโลพิธิคัส แอฟริกานัส (Australopithecus Africanus) และออสตราโลพิธิคัส โรบัสตัส (Australopithecus Robustus)
2. สกุลโฮโม (Homo) แยกออกเป็น 2 สปีชี่ ได้แก่ โฮโม อีเรคตัส (Homo Erectus) และ โฮโม เซเปียนส์ (Homo Sapiens)
26. อวัยะวะใดของมนุษย์ที่นิยมนำมาใช้ศึกษาค้นคว้าและมีความคงทนมากที่สุด
(1)กระดูก (2)กะโหลก (3)ฟัน (4)ถูกทั้งหมด
ตอบ 3 หน้า 22 – 23 กระดูกที่นักมานุษยวิทยากายภาพนิยมนำมาใช้ในการศึกษามากที่สุดก็คือ ฟัน ทั้งนี้เพราะฟันเป็นกระดูกที่มีความคงทนและคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ที่สุดที่หลงเหลืออยู่ในซากดึกดำบรรพ์ของไพรเมตที่เสียชีวิตมาแล้วนับหมื่นนับแสนปี (กระดูกส่วนอื่นที่พบมาก รองลงมาคือ ขากรรไกร แขน ขา หัวกะโหลก ฯลฯ)
27. กลุ่มตระกูลไพรเมตเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรกราวกี่ล้านปีมาแล้ว
(1) 20 (2) 50 (3) 65 (4) 85
ตอบ 3 หน้า 63, 69 ยุคซีโนโซอิก (ระหว่าง 65 ล้านปี – 10,000 ปีมาแล้ว) มีสภาพทั่วไปเหมาะสำหรับ การดำรงชีวิตของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทำให้กล่าวกันว่า “ยุคนี้เป็นยุคของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม’’ และมีสัตว์ในตระกูลไพรเมตเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ได้แก่ ลิงลมและค่าง หรือที่เรียกว่า พรอสิเมียน (Prosimian) เมื่อราว 65 – 58 ล้านปีมาแล้ว และในช่วงสุดท้ายของยุค ระหว่าง 1.6 ล้านปี – 10,000 ปี ได้เกิดมนุษย์สายพันธุ์โฮโม เซเปียนส์ หรือมนุษย์สายพันธุ์เดียวกับมนุษย์ปัจจุบัน (ดูคำอธิบายข้อ 20. ประกอบ)
28. เหตุใดกะโหลกของเด็กจะมีรอยต่อที่ห่างกันมากกว่าผู้ใหญ่
(1) เพราะกะโหลกเด็กยังเล็ก (2) รองรับการเติบโตของกะโหลกในอนาคต
(3) มันสมองของเด็กโตอุดรอยต่อของกะโหลก (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 2 หน้า 24 หัวกะโหลกของมนุษย์มิได้เป็นกระดูกชิ้นเดียว แต่จะมีกระดูกหลายชิ้นเชื่อมต่อกัน ทำให้หัวกะโหลกของทารกและเด็กมีรอยต่อที่ห่างกันเพื่อรอให้มีการเจริญเติบโตและขยายตัว ของกะโหลกในอนาคต ส่วนผู้ใหญ่จะไม่มีช่วงของรอยต่อที่ห่างกัน เพราะหัวกะโหลกเจริญ สมบูรณ์เต็มที่แล้ว ซึ่งเราเรียกรอยต่อของกะโหลกนี้ว่า “Sutures”
29. รอยต่อของกะโหลก เรียกว่าอะไร
(1) Sutares (2) Satures (3) Stores (4) Sutures
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 28. ประกอบ
30. กระดูกสะโพกของเพศหญิงมีลักษณะโครงสร้างอย่างไร
(1) หนา แคบ (2) แบน กว้าง (3) หนา กว้าง (4) แบน แคบ
ตอบ 2 หน้า 24 เกณฑ์ที่จะชี้ว่าซากดึกดำบรรพ์ของมนุษย์โบราณเป็นเพศใดนั้น สามารถดูได้จาก กระดูกสะโพก โดยกระดูกสะโพกของเพศหญิงจะมีโครงสร้างแบน กว้าง และอยู่ในตำแหน่งต่ำ เพื่อจะสามารถผายออกได้เมื่อตั้งครรภ์ ส่วนกระดูกสะโพกของเพศชายจะอยู่ในระดับสูงและ แคบกว่ามาก