11.       ชาวเขาเผ่าเย้าเคารพนับถือเทพเจ้าองค์ใด

(1) ปุงโกเฮียน 

Advertisement

(2) เปี้ยนโกฮูง 

(3) เฮงปุนฮง  

(4) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 1 – 2 นิยายปรัมปราของชาวเขาเผ่าเย้าได้เล่าถึงประวัติความเป็นมาของบรรพบุรุษ ของพวกเขาว่า ในวันที่แปดเดือนสี่ของปีหนึ่ง ได้เกิดนํ้าท่วมโลกเจ็ดวันเจ็ดคืน ผู้คนล้มตาย จนเหลือเพียงหญิงชายคู่หนึ่งซึ่งเป็นพี่น้องกัน เทวดาองศ์หนึ่งชื่อ เปี้ยนโกฮูง’’ ซึ่งเป็นผู้สร้าง โลกและสวรรค์ และเป็นที่เคารพนับถือของชาวเขาเผ่าเย้าได้แปลงตนเป็นชายชราและบอกสองพี่น้องให้แต่งงานกันเพื่อสร้างมนุษย์ ต่อมาเมื่อน้องสาวคลอดลูกเป็นฟัก จึงมีเทวดาองค์หนึ่ง เสด็จลงมาผ่าลูกฟักพร้อมกับรับสั่งว่าให้โยนเมล็ดฟักลงบนพื้นราบ ส่วนเนื้อฟักให้โยนขึ้นบนดอย แต่พี่ชายเกิดจำคำสั่งไขว้เขว คือได้โยนเนื้อฟักลงบนพื้นราบ ต่อมาได้กลายเป็นผู้คน ทำมาหากินในที่ราบ ส่วนเมล็ดฟักได้โยนขึ้นไปบนดอยและกลายเป็นชาวเขาเผ่าเย้าที่ทำมาหากิน อยู่บนดอย

12.       ตำนานพระยาเจือง” อยู่ในช่วงปี พ.ศ. ใด

(1)       1122 – 1434   

(2) 1212 – 1578         

(3) 1258 – 1664         

(4)1625 – 1705

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 9. ประกอบ

13.       ใครคือนักปราชญ์ชาวโรมัน

(1)       ฮีโรโดตัส          

(2) ทาซิตัส       

(3) คาร์ปินี       

(4) รูโบรค

ตอบ 2 หน้า 4-5 ทาซิตัส (Tacitus) นักประวัติศาสตร์ชาวโรมัน ได้เขียนเรื่องราวของคนเถื่อน (ชนเผ่าเยอรมัน) ซึ่งอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของยุโรป โดยกล่าวถึงลักษณะโครงสร้างทาง ร่างกาย แบบบ้าน สภาพแวดล้อมทางสังคม และขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างละเอียด

14.       ใครคือนักมานุษยวิทยาคนแรกของโลก

(1) ฮีโรโดตัส    (2)       ทาซิตัส            (3)       คาร์ปินี (4)       รูโบรค

ตอบ 1 หน้า 4 ในช่วงปี 484 – 426 ก่อนคริสตกาล ฮีโรโดตัส (Herodotus) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก ได้ออกเดินทางไปยังประเทศอียิปต์ ปาเลสไตน์ บาบิโลน แม็คคาโดเนีย และตราซ แล้วทำการ จดบันทึกเรื่องราวของผู้คนที่ได้พบเห็น เซ่น “…ในประเทศอียิปต์ ผู้หญิงจะเป็นผู้ทำการค้าขายในตลาด ในขณะที่ผู้ชายจะทอผ้าอยู่ที่บ้าน ผู้หญิงใช้หัวไหล่เพื่อแบกสิ่งของ ส่วนผู้ชายใช้ศีรษะ ลูกผู้ชายจะไม่ช่วยพ่อแม่ทำงานนอกจากลูกผู้หญิง…” ซึ่งจากผลงานเหล่านี้เองที่ทำให้ นักมานุษยวิทยาสังคมชาวอังกฤษได้ยกย่องเขาว่าเป็น นักมานุษยวิทยาคนแรกของโลก

15.       อารยธรรมล้านนามีแหล่งกำเนิดในแถบใด

(1)       ลุ่มน้ำโขง         (2)       ลุมน้ำกก          (3)       เทือกเขาผีปันนํ้า          (4)       เทือกเขาตะนาวศรี

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

16.       เรื่องราวที่กล่าวถึงประวัติความป็นมาของบรรพบุรุษของชาวเขาเผ่าเย้า เรียกว่าอะไร

(1)       ตำนาน (2)       นิยายปรัมปรา (3)       พงศาวดาร       (4)       ประวัติศาสตร์

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 11. ประกอบ

17.       ข้อใดต่อไปนี้ที่ถือเป็นผลงานหรือวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม

(1)       พัดลม  (2)       เก้าอี้    (3)       รถยนต์            (4)       ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 7 วัฒนธรรม (Culture) หมายถึง สิ่งที่เป็นผลงานที่มนุษย์สร้างและผลิตขึ้น ตลอดจน แต่งเติมเสริมต่อสิ่งที่เป็นธรรมชาติ เพื่อนำมาใช้ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น

1.         ผลงานที่เป็นรูปธรรมได้แก่ โต๊ะ เก้าอี้ พัตลม ตึก สวนสาธารณะ รถยนต์ ฯลฯ

2.         ผลงานที่เป็นนามธรรม ได้แก่ รูปแบบหรือระบบการอยู่รวมกันเป็นสังคม ศาสนา ค่านิยม ความเชื่อ การปกครองแบบประชาธิปไตย ความดี ความเลว ฯลฯ

18.       พระราชนิพนธ์ไกลบ้าน” เป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ใด

(1)       2315 – 2316   (2)       2411   – 2412 (3)       2432 – 2433   (4)       2449 – 2450

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ

19.       หลังยุคกลางของยุโรปได้มีการให้เสรีภาพทางด้านความคิดและการคันคว้าเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่เท่าใด

(1)       12        (2)       14        (3)       15        (4)       16

ตอบ 4 หน้า 5 ในยุคกลางของยุโรปได้ถูกครอบงำจากลัทธิคำสอนของศาสนาคริสต์ที่ให้ยอมรับว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกและมนุษย์คู่แรกของโลกขึ้นมา” ดังนั้นจึงไม่มีใครกล้าคิดผิดแผก แตกต่างไปจากคำสอนของศาสนาเพราะเกรงว่าจะถูกลงโทษอย่างรุนแรง ต่อมาในช่วงหลัง ยุคกลางของยุโรปเหตุการณ์ได้ผันแปรและอำนาจของศาสนจักรลดน้อยลง เสรีภาพทาง ด้านความคิดและการค้นคว้าจึงได้บังเกิดขึ้นอีกครั้งนับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา

20.       สัตว์ประเภทใดที่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการวิวัฒนาการของมนุษย์

(1) Homo Sapiens      (2) Homo Sapiens Sapiens

(3)       Primate    (4) ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 176369 ไพรเมต (Primate) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชั้นสูง มีเลือดอุ่น และมีกระดูกสันหลัง โดยไพรเมตรุ่นแรกเกิดขึ้นบนโลกในยุคซีโนโซอิกเมื่อราว 65 ล้านปีมาแล้ว ซึ่งนักมานุษยวิทยาถือว่าไพรเมตเป็นจุดเริ่มต้นของวิวัฒนาการการเป็นมนุษย์ โดยสัตว์ในลำดับนี้แบ่งออกเป็น         1. ลำดับตํ่าสุด ได้แก่ ลิงเลมูร์ ลิงทาร์เซีย

2.         ลำดับสูง ได้แก่ ลิง ค่าง ชะนี และวานร (เช่น ชิมแปนซี กอริลลา และอุรังอุตัง) ซึ่งต่อมา วานรได้วิวัฒนาการเป็นมนุษย์โบราณและสุดท้ายพัฒนาเป็นโฮโม เซเปียนส์ (Homo Sapiens) หรือมนุษย์ยุคปัจจุบัน

Advertisement