51.       คาโรลัส ลินเน่ มีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. ใด

(1) 902 – 958  

Advertisement

(2) 1020 – 1085         

(3) 1547 – 1621         

(4) 1707 – 1773

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 41. ประกอบ

52.       อีรามัส ดาร์วิน มีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. ใด

(1)911 – 989   

(2)1112 – 1185          

(3)       1523   – 1584 

(4)1731 – 1802

ตอบ 4 หน้า 32 – 33 อีรามัส ดาร์วิน (Eramus Darwin) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1731 – 1802 เป็นปู่ของชาร์ลส์ ดารวิน ได้เสนอหลักการสำคัญหลายข้อ ได้แก่

1.         หลักวิวัฒนาการว่าเป็นผลมาจากการเลือกสรรตามธรรมชาติและการเลือกสรรทางเพศ

2.         หลักการปรับตัวเพื่อให้มีชีวิตรอด       3. หลักการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

4.         หลักการวิวัฒนาการซองมนุษยชาติ

53.       ใครคือผู้ที่คัดค้านทฤษฎีภัยพิบัติของคูเวียร์

(1) ลามาร์ค     

(2) ชาร์ลส์ ดาร์วิน        

(3)       ยอร์จ   คูเวียร์  

(4) ชาร์ลส์ ลีลส์

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 44. ประกอบ

54.       ชาร์ลส์ ดาร์วิน มีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. ใด

(1) 1256 – 1331         (2) 1542 – 1620         (3)       1809   – 1882 (4) 1914 – 1984

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 45. ประกอบ

55.       ชาร์ลส์ ดาร์วิน กลับจากการเดินทางรอบโลกมายังประเทศอังกฤษเมื่อใด

(1) 8 ตุลาคม ค.ศ. 1310         (2) 6 ตุลาคม ค.ศ. 1618

(3) 2 ตุลาคม ค.ศ. 1836         (4) 5 ตุลาคม ค.ศ. 1952

ตอบ 3 หน้า 35 ชาร์ลส์ ดาร์วิน ได้รับเชิญให้เดินทางรอบโลกไปกับเรือชื่อ H.M.S. Beagle โดยเริ่มออกเดินทางจากเมืองท่าของประเทศอังกฤษในวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1831 และกลับถึงประเทศอังกฤษในวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1836 รวมเวลาเดินทางรอบโลกราว 5 ปี

56.       หน้าที่หลักของเซลล์สืบพันธุ์คือการนำรหัสใดจากพ่อ-แม่ถ่ายทอดไปยังลูกหลาน

(1) รหัสเพศ     (2) รหัสสมอง

(3) รหัสของคุณลักษณะ         (4) รหัสของโซมาติกเซลล์

ตอบ 3 หน้า 47 เซลล์ในร่างกายของมนุษย์ จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.         โซมาติกเซลล์ (Somatic Cells) โดยในร่างกายของคนเรานั้นจะประกอบด้วยเนื้อเยื่อ (Tissues) หลายประเภทที่ประกอบกันขึ้นเป็นร่างกาย เช่น ผิวหนัง กล้ามเนื้อ และตับ เป็นต้น ซึ่งเนื้อเยื่อเหล่านี้เป็นที่รวมของโซมาติกเซลล์นับเป็นจำนวนหลายพันล้านเซลล์ โดยจะมีการสร้างเซลล์ใหมขึ้นมาทดแทนเซลล์เก่าที่ตายไปในทุก ๆ 7 ปี

2.         เซลล์สืบพันธุ์ (Sex Cells) จะทำหน้าที่นำรหัสที่เป็นคุณลักษณะของพ่อแม่ถ่ายทอดไปยัง ลูกหลานทางพันธุกรรม

57.       นิวเคลียสแยกออกจากไซโตพลาสฃึมอย่างไร

(1)ผนังเซลล์    (2)เยื่อบางๆนั้น           (3)วุ้นห่อหุ้ม     (4)ไขมันกั้น

ตอบ 2 หน้า 49 โครงสร้างของเซลล์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

1.         นิวเคลียส จะทำหน้าที่หลักในการถ่ายทอดคุณลักษณะทางชีวภาพของพ่อแม่ไปสู่ลูกหลาน (ในกรณีของเซลล์สืบพันธุ์) โดยนิวเคลียสจะแยกออกจากไซโตพลาสซึมด้วยเยื่อ (Membrane) บาง ๆ นั้น

2.         ไซโตพลาสซึม จะประกอบด้วยสารหลายชนิดที่มีรูปร่างโครงสร้างเฉพาะแตกต่างกัน แต่จะ มีสารบางตัว เช่น Ribbosomes, RND, Animo Acids ที่มีความสำคัญในการทำหน้าที่ช่วยการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

58.       กรดนิวคลีอิกภายในนิวเคลียสทำหน้าที่อะไร

(1) ทำลายแบคทีเรีย   (2) ทำลายสิ่งแปลกปลอม

(3) ถ่ายทอดรหัสทางพันธุกรรม           (4) ถ่ายทอดลักษณะเด่นของยีน

ตอบ 3 หน้า 49 กรดนิวคลีอิกภายในนิวเคลียส จะทำหน้าที่ในการถ่ายทอดรหัสทางพันธุกรรม ซึ่งมี 2 ชนิด คือ 1. Deoxyribonucleic Acid (DNA) 2. Ribonucleic Acid (RNA)

59.       โซมาติกเซลล์ มีชื่อเรียกว่าอะไร

(1)โครโมโซม   (2) โปรโตโซม  (3) ออโตโซม    (4) โมโนโซม

ตอบ 3 หน้า 49 โครโมโซมของมนุษย์มีจำนวนทั้งสิ้น 46 ตัว หรือ 23 คู่ โดยในโซมาติกเซลล์จะมีโครโมโซม 2 ประเภท คือ โครโมโซมจำนวน 22 คู่ เรียกว่า ออโตโซม (Autosomes)ส่วนโครโมโซมคู่ที่ 23 เรียกว่า โครโมโซมทางเพศ (Sex Chromosomes) เป็นโครโมโซมที่ แตกต่างจากโครโมโซมตัวอื่น ๆ ทั้งหมด ซึ่งในเพศหญิงจะใช้อักษรแทนว่า XX ส่วนในเพศขาย จะใช้อักษรแทนว่า XY

60.       ขั้นตอนใดที่ไม่จัดอยู่ในขั้นตอนการแบ่งเซลล์ โซมาติก’’

(1) Metaphase  (2) Meiosis         (3) Prophase     (4) Interphase

ตอบ 2 หน้า 49 – 50 การแบ่งแยกเซลล์ (Cell Division) จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. กระบวบการแบ่งเซลล์โซมาติก เรียกว่า ไมโตซิส (Mitosis) เป็นกระบวบการแบ่งเซลล์ที่ ไม่สลับซับซ้อน โดยจะก่อให้เกิดความเจริญเติบโตของร่างกายและทำให้ร่างกายสามารถ ธำรงอยู่ได้ต่อไป ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ Interphase, Prophase, Metaphase, Anaphase และ Telophase

2.         กระบวนการแบ่งเซลล์ทางเพศ เรียกว่า ไมโอซิส (Meiosis) เป็นกระบวนการแบ่งเซลล์ที่ก่อให้เกิดการสร้างลูกหลาน หรือที่เรียกว่าการสืบพันธุ์ (Reproduction) โดยผ่านกระบวนการ พิเศษที่มีลักษณะฉพาะ

Advertisement