21.       ชาวยุโรปท่านใดที่ถูกจับกุมและนำขึ้นศาลของมองโกล

(1) อีโรตัส        

Advertisement

(2) เมดิก          

(3) คาร์ปินี       

(4) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 3 หน้า 5 ในคริสต์ศตวรรษที่ 3 เมื่อพวกมองโกลขยายอาณาบริเวณมาทางภาคตะวันตกของทวีปเอเชีย มีชาวยุโรปสองคนชื่อ คาร์ปินีและรูโบรค ถูกจับและถูกนำขึ้นศาลของพวกมองโกล โดยชายทั้งสองได้เขียนเล่าถึงขนบธรรมเนียมประเพณีของชนเผ่านี้และนำไปเผยแพร่ในยุโรป

22.       นักมานฺษยวิทยากายภาพใช้แนวทางใดมาเป็นกรอบในการค้นคว้าเรื่องสรีรวิทยาของมนุษย์

(1)ชีววิทยา      

(2)กายภาพวิทยา        

(3)ชีววัฒนธรรม           

(4)สรีรวิทยา

ตอบ 3 หน้า 15 นักมานุษยวิทยากายภาพใช้แนวการศึกษาแบบ ชีววัฒนธรรม” (Biocultural Approach) มาเป็นกรอบในการค้นคว้าเรื่องสรีรวิทยาของมนุษย์ โดยนำเอาความรู้สาขาชีววิทยา สัตวศาสตร์ พันธุศาสตร์ สิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยา และวัฒนธรรมมาผสมผสานกันเพื่อสร้างกรอบการวิเคราะห์ใหม่

23.       นักมานุษยวิทยากายภาพสนใจเน้นศึกษาหมูสัตว์ในสายใดเป็นหลัก

(1)โฮโม            

(2)โฮโม เซเปียนส์        

(3) โฮโม เซเปียนส์ เซเปียนส์   

(4)ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 16 นักมานุษยวิทยากายภาพสนใจศึกษา 2 หัวข้อใหญ่ คือ

1.         การวิวัฒนาการของมนุษย์ โดยเน้นศึกษาหมู่สัตว์ในสายโฮโมเป็นหลัก เพื่อค้นหาต้นตอ และสายการวิวัฒนาการจนกลายมาเป็นมนุษย์ปัจจุบัน      2. ความแตกต่างในหมู่มนุษยชาติในยุคปัจจุบัน เช่น สีผิว ขนาดและโครงสร้างทางร่างกาย กลุ่มเลือด การปรับตัวของร่างกาย ต่อภูมิอากาศและสภาพแวดล้อม ทั้งนี้เพราะเป็นความแตกต่างที่ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด และสามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานโดยผ่านทางพันธุกรรมได้

24.       กลุ่มสัตว์ตระกูลไพรเมต ได้เกิดขึ้นครั้งแรกในโลกราวกี่ล้านปีมาแล้ว

(1)200ล้านปี   (2)175ล้านปี   (3)115ล้านปี   (4)65ล้านปี

ดอบ 4 หน้า 16 – 176369 ไพรเมต (Primate) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชั้นสูง มีเลือดอุ่น และ มีกระดูกสันหลัง โดยไพรเมตรุ่นแรกเกิดขึ้นบนโลกในยุคซีโนโซอิกเมื่อราว 65 ล้านปีมาแล้ว หรือเรียกเป็นยุคย่อยว่า พาลิโอซีน ซึ่งเป็นยุคที่มีสภาพอากาศอบอุ่น มีป่าไม้และอาหาร อุดมสมบูรณ์ โดยถือว่าไพรเมตเป็นจุดเริ่มต้นของวิวัฒนาการของมนุษย์

25.       นักมานุษยวิทยากายภาพท่านใดที่ทำการศึกษาพฤติกรรมของลิงในแถบแอฟริกาตะวันออก

(1) เจน กูดเดลล์          (2) ฟิลลิส ฮอลินาว

(3) ไดแอน ฟอสซี่         (4) บิรุท กอลดิกาส-บรินดามอร์

ตอบ 1 หน้า 1872 – 73 นักมานุษยวิทยากายภาพที่ทำการศึกษาพฤติกรรมของไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์ ในสภาพธรรมชาติ ได้แก่

1.         ไดแอน ฟอสซี่ ศึกษาพฤติกรรมของลิงกอริลลาในประเทศแองโกล่า

2.         เจน กูดเดลล์ ศึกษาพฤติกรรมและชีวิตความเป็นอยู่ของลิงในแถบแอฟริกาตะวันออก และชิมแปนซีในประเทศยูกานดา

3.         ฟิลลิล ฮอลินาว ศึกษาพฤติกรรมของลิงแลงเกอร์ในประเทศอินเดีย

4.         บิรุท กอลดิกาส-บรินดามอร์ ศึกษาพฤติกรรมของลิงอุรังอุตังในหมู่เกาะบอร์เนียว ลิงแบมบูน ในแอฟริกา และลิงมาคัสในตอนกลางของประเทศญี่ปุ่น

26.       โอโมนิด” เป็นคำเรียกกลุ่มสัตว์ในวงศ์ใด

(1)โฮโมเซอิก   (2) โฮมินิเดีย   (3)โฮโม เซเปียนส์        (4) โฮมินอยเซอิก

ตอบ 2 หน้า 20 – 2173 – 74 โฮมินิด (Hominid) เป็นคำนามที่เรียกสิ่งมีชีวิตในวงศ์โฮมินิเดีย(Hominidae) ในความหมายว่า มนุษย์ (Man) โดยลักษณะเด่นทางชีวภาพและการดำรงชีวิตของโฮมินิด คือ ใช้ชีวิตอยู่บนพื้นดินแทนการห้อยโหนบนต้นไม้ใช้ขาทั้งสองข้างเวลาเดินและ ใช้มือหยิบสิ่งของเดินตัวตรงและตั้งฉากกับพื้นดินเมื่อพัฒนาถึงจุดสูงสุด และมีขนาดมันสมอง ใหญ่ขึ้นและสามารถสร้าง วัฒนธรรม” ได้

27.       กระดูกส่วนใดของมนุษย์ที่นักมานุษยวิทยากายภาพนิยมใช้ในการศึกษามากที่สุด

(1)กะโหลก      (2)ซี่โครง         (3)สะโพก        (4)ฟัน

ตอบ 4 หน้า 22 – 23 กระดูกที่นักมานุษยวิทยากายภาพนิยมนำมาใช้ในการศึกษามากที่สุดก็คือ ฟัน ทั้งนี้เพราะฟันเป็นกระดูกที่มีความคงทนและคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ที่สุดที่ลงเหลืออยู่ใน ซากดึกดำบรรพ์ของไพรเมต ซึ่งเสียชีวิตมาแล้วนับหมื่นนับแสบปี (กระดูกส่วนอื่นที่พบมาก รองลงมาคือ ขากรรไกร แขน ขา หัวกะโหลก ฯลฯ)

28.       การคำนวณช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่ ใช้วิธีการคำนวณด้วยวิธีใด

(1) โปแตสเซียม 12     (2) โปแตสเซียม 14     (3)คาร์บอน 12            (4) คาร์บอน 14

ตอบ 4 หน้า 24 วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในการคำนวณหาอายุ

หรือช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่ของซากดึกดำบรรพ์ คือ การคำนวณด้วยวิธีคาร์บอน-14 และ วิธีโปแตสเซียม อาร์กอน กับซากกระดูกของมนุษย์โบราณ ซึ่งทำให้คาดคะเนกาลเวลาได้ ค่อนข้างแม่นยำ

29.       โฮโม เซเปียนล์ มีขนาดมันสมองราวกี่ ลบ.ซม.

(1) 500            (2) 800            (3)       1,400  (4)       1,500

ตอบ 3 หน้า 23. 83 โฮมินิดจะมิขนาดของมันสมองแตกต่างกัน ดังนี้

1.         รามาพิธิคัส และออสตราโลพิธิคัส มีขนาดมันสมองราว 500 ลบ.ซม.

2.         โฮโม อีเรคตัส มีขนาดมันสมองราว 775 – 1,225 ลบ.ซม.

3.         โฮโม เซเปียนส์ มีขนาดมันสมองราว 1,400 ลบ.ซม.

Advertisement