11. “เสถียรโกเศศ” รู้จักในนามใด
(1) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
(3) พระยาประเสริฐสุนทราศรัย
(4) พระยาอนุมานราชธน
ตอบ 4 หน้า 261 – 262, (คำบรรยาย) พระยาอนุมานราชธน เดิมมีชื่อว่า “หลีกวงหยง” ต่อมา เปลี่ยนเป็นชื่อไทยว่า “ยง” และได้รับนามสกุลพระราชทานว่า “เสถียรโกเศศ” เป็นผู้ที่มี คุณูปการต่อการศึกษาวิชามานุษยวิทยาของไทยเป็นอย่างมาก จึงทำให้ได้รับการยอมรับ ว่าเป็นปรมาจารย์สาขามานุษยวิทยารุ่นแรกของไทย
12. คำว่า “Anthropos” ของกรีก หมายถึงอะไร
(1) วัฒนธรรม
(2) สังคม
(3) สิ่งมีชีวิต
(4) คน
ตอบ 4 หน้า 6 มานุษยวิทยา (Anthropology) คือ วิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ใน ทุกแง่ทุกมุม โดยคำว่า Anthropologyเป็นคำผสมที่มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกสองคำ คือ
1. Anthropos แปลว่า มนุษย์หรือคน
2. Logos แปลว่า การศึกษาหรือศาสตร์หรือความรู้ที่ได้รับการจัดให้เป็นระบบ
13. ใครคือนักประวัติศาสตร์ชาวโรมัน
(1) ฮีโรโดตัส
(2) ทาซิตัส
(3) มาร์โคโปโล
(4) คาร์ปินี
ตอบ 2 หน้า 4-5 ทาซิตัส (Tacitus) นักประวัติศาสตร์ชาวโรมัน ได้เขียนเรื่องราวของคนเถื่อน(ชนเผ่าเยอรมัน) ซึ่งอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของยุโรป โดยกล่าวถึงลักษณะโครงสร้างทางร่างกาย แบบบ้าน สภาพแวดล้อมทางสังคม และขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างละเอียด
14. นิยายปรัมปราของชาวเขาเผ่าเย้าอ้างว่า “เทวดาองค์หนึ่งเสด็จลงมาผ่าลูกฟักพร้อมกับรับสั่งว่าให้ทำอย่างไร”
(1) โยนเมล็ดฟักขึ้นบนดอย (2) โยนเมล็ดฟักลงพื้นราบ
(3) โยนเนื้อฟักลงพื้นราบ (4) โยนฟักขึ้นบนดอย โยนนํ้าเต้าลงพื้นราบ
ตอบ 2 หน้า 1-2 นิยายปรัมปราของขาวเขาเผ่าเย้า เล่าว่า ในวันที่แปดเดือนสี่ของปีหนึ่ง ได้เกิด นํ้าท่วมโลกเจ็ดวันเจ็ดคืน ผู้คนล้มตายจนเหลือเพียงหญิงชายคู่หนึ่งซึ่งเป็นพี่น้องกัน เทวดาองค์หนึ่ง ชื่อ “เปี้ยนโกฮูง” ซึ่งเป็นผู้สร้างโลกและสวรรค์ และเป็นที่เคารพนับถือของชาวเขาเผ่าเย้าได้ แปลงตนเป็นชายชราและบอกสองพี่น้องให้แต่งงานกันเพื่อสร้างมนุษย์ ต่อมาเมื่อน้องสาวคลอดลูกเป็นฟัก จึงมีเทวดาองค์หนึ่งเสด็จลงมาผ่าลูกฟักพร้อมกับรับสั่งว่า ให้โยนเมล็ดฟักลงบนพื้นราบ ส่วนเนื้อฟักให้โยนขึ้นบนดอย แต่พี่ชายเกิดจำคำสั่งไขว้เขว คือได้โยนเนื้อฟักลงบน พื้นราบ ต่อมาได้กลายเป็นผู้คนทำมาหากินในที่ราบ ส่วนเมล็ดฟักได็โยนขึ้นไปบนดอยและกลายเป็นชาวเขาเผ่าเย้าที่ทำมาหากินอยู่บนดอย
15. “ฮีโรโดตัส” เดินทางไปที่ใด
(1) อียิปต์ (2) ปาเลสไตน์ (3) บาบิโลน (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ
16. “ศาสตร์” หมายถึงอะไร
(1) วิธีการศึกษาที่สามารถพิสูจน์ได้ (2) วิธีการศึกษาที่เป็นระบบ
(3) วิธีการศึกษาที่เป็นเหตุเป็นผล (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ2 หน้า 8 ในช่วงที่อิทธิพลของศิลปวิทยาการของชาติตะวันตกได้แผ่ขยายเข้ามาในประเทศไทยคนไทยได้นำเอา “ศาสตร์” หรือ “วิธีการศึกษาที่เป็นระบบ” เข้ามาใช้ในการปรับปรุงระบบ การศึกษาของไทย เพื่อให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่ศึกษาอย่างแท้จริง
17. เทวดาองค์ใดที่เป็นที่เคารพนับถือของชาวเขาเผ่าเย้า
(1) แต้จู้กวง (2) เปี้ยนโกฮูง (3) ฮวงแต้ (4) ผิดทั้งหมด
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 14. ประกอบ
18. “ตำนานพระยาเจือง” อยู่ในช่วงปี พ.ศ. ใด
(1) พ.ศ. 1215 – 1285 (2) พ.ศ. 1455 – 1525 (3) พ.ศ. 1625 – 1705 (4) พ.ศ. 1745 – 1815
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ
19. ตำนานเมืองเงินยางเชียงแสน เขียนไว้ในอะไร
(1) สมุดข่อย (2) คัมภีร์ใบลาน (3) ศิลาจารึก (4) ผิดทั้งหมด
ตอบ 1. 2 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ
20. “ชนเผ่าคนเถื่อน” (เยอรมัน) อาศัยอยู่ในแถบใด
(1) ตอนกลางของยุโรป (2) ตอนเหนือของยุโรป
(3) ตอนใต้ของยุโรป (4) ตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรป
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 13. ประกอบ