31. สัตว์ในลำดับใดเป็นลำดับก่อนที่จะวิวัฒนาการเป็นมนุษย์โบราณ
(1) ลิงลม
(2) ค่าง
(3) วานร
(4) ชะนี
ตอบ 3 หน้า 17, 63, 69 ไพรเมต (Primate) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชั้นสูง มีเลือดอุ่น และมีกระดูกสันหลัง โดยไพรเมตรุ่นแรกเกิดขึ้นบนโลกในยุคซีโนโซอิกเมื่อราว 65 ล้านปีมาแล้ว ซึ่งนักมานุษยวิทยาถือว่าไพรเมตเป็นจุดเริ่มต้นของวิวัฒนาการการเป็นมนุษย์ โดยสัตว์ในลำดับนี้ แบ่งออกเป็น 1. ลำดับต่ำสุด ได้แก่ ลิงเลมูร์ ลิงทาร์เซีย 2. ลำดับสูง ได้แก่ ลิง ค่าง ชะนี และวานร (เซ่น ชิมแปนซี กอริลลา และอุรังอุตัง) ซึ่งต่อมาวานรได้วิวัฒนาการเป็นมนุษย์โบราณ และสุดท้ายพัฒนาเป็นโฮโม เซเปียนส์ (Homo Sapiens) หรือมนุษย์ยุคปัจจุบัน
32. การศึกษาพฤติกรรมของไพรเมตที่มิใช่มนุษย์เรียกว่าอะไร
(1) ไพรเมตวิทยา
(2) Primatology
(3) Human Paleotology
(4) ข้อ 1. และ 2
ตอบ 4 หนา 19 วิชาไพรเมตวิทยา (Primatolo§y) เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาพฤติกรรมของไพรเมต ที่ไม่ใช่มนุษย์ เพื่อทำให้เข้าใจถึงโครงสร้างทางร่างกายและพฤติกรรมของพวกไพรเมตอย่าง มีเหตุมีผลได้ดียิ่งขึ้น
33. อะไรที่นักมานุษยวิทยาถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของวิวัฒนาการการเป็นมนุษย์
(1) สัตว์เซลล์เดียว
(2) สัตว์นํ้าเซลล์เดียว
(3) ไพรเมต
(4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 31. ประกอบ
34. คาร์บอน-14 ใช้ทำอะไร
(1) สัตว์นํ้าเซลล์เดียวใช้หายใจ (2) ใช้ปรับสภาพแวดล้อมในธรรมชาติ
(3) ใช้บอกอายุของซากดึกดำบรรพ์ (4) ใช้วิเคราะห์โครโมโซมของสัตว์
ตอบ 3 หน้า 24 วิธีการทางวิทยาคาสตร์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในการคำนวณหาอายุหรือช่วงเวลา ที่มีชีวิตอยู่ของซากศึกคำบรรพ์ คือ การคำนวณด้วยวิธีคาร์บอน-14 และวิธีโปแตสเซียม อาร์กอน กับซากกระดูกของมนุษย์โบราณ ซึ่งทำให้คาดคะเนกาลเวลาได้ค่อนข้างแม่นยำ
35. ข้อใดต่อไปนี้ที่เป็นไพรเมต
(1) สาหร่ายเซลล์เดียว (2) พะยูน (3) อุรังอุตัง (4) จระเข้
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 31. ประกอบ
36. โฮโม เซเปียบส์ มีมันสมองกี่ ลบ.ซม.
(1) 500 (2) 850 (3) 1,100 (4) 1,400
ตอบ 4 หน้า 23, 83 โฮมินิดจะมีขนาดของมันสมองแตกต่างกัน ดังนี้ 1. รามาพิธิคัส (Ramapithecus) และออสตราโลพิธิคัส (Australopithecus) มีขนาดมันสมองราว 500 ลบ.ซม.
2. โฮโม อิเรคตัส (Homo Erectus) มีขนาดมันสมองราว 775 – 1,225 ลบ.ซม.
3. โฮโม เซเปียนส์ (Homo Sapiens) มีขนาดมันสมองราว 1,400 ลบ.ซม.
37. ข้อใดคือไพรเมตลำดับตํ่าสุด
(1) สาหร่ายเซลล์เดียว (2) ปลาวาฬ (3) อุรังอุตัง (4) ลิงเลมูร์
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 31. ประกอบ
38. ฟิลลิส ฮอลินาว ทำการศึกษาพฤติกรรมของลิงประเภทใด
(1) ลิงกอริลลา (2) ลิงเลมูร์ (3) ชิมแปนซี (4) ลิงแลงเกอร์
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 29. ประกอบ
39. นักมานุษยวิทยาท่านใดที่เป็นนักมานุษยวิทยากายภาพ
(1) ทาเลส (2) เจน กูดเดลล์ (3) ฮีโรโดตัส (4) ชาร์ลส์ ดาร์วิน
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 29. ประกอบ
40. “ไดแอน ฟอสซี่” ทำการศึกษาเกี่ยวกับอะไร
(1) ลิงอุรังอุตัง (2) ลิงกอริลลา (3) ลิงชิมแปนซี (4) ลิงบานูน
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 29. ประกอบ