21. ความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนามีขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่เท่าไร
(1) 10
(2) 13
(3) 15
(4) 16
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ
22. ใครคือผู้ที่ทำการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับ “ตำนานพระยาเจือง”
(1) ดร.ดำรงค์ ฐานดี
(2) ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์
(3) ดร.ประเสริฐ ณ นคร
(4) ดร.วิคเตอร์ ริคก์
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ
23. Human Evolution หมายถึงอะไร
(1) การเจริญเติบโตของมนุษย์
(2) การวิวัฒนาการของมนุษย์
(3) พฤติกรรมของมนุษย์
(4) สังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์
ตอบ 2 หน้า 6 Human Evolution หมายถึง การวิวัฒนาการของมนุษย์ ซึ่งเป็นจุดเน้นหรือขอบเขตที่วิชามานุษยวิทยานำมาใช้ในการศึกษา เพื่อตอบคำถามว่า “มนุษย์มาจากไหน” “ใครคือบรรพบุรุษของมนุษย์”, “มนุษย์กับสัตว์คล้ายคลึงหรือแตกต่างกันอย่างไร” และ “เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น”
24. ตามคำกล่าวของฮีโรโดตัส ผู้ชายอียิปต์ส่วนใหญ่ทำอะไร
(1) ค้าขาย (2) ออกล่าสัตว์ (3) ทำการเกษตร (4) ทอผ้า
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ
25. วัฒนธรรม หมายถึงอะไร
(1) สิ่งมีชีวิตในโลกแต่ละกลุ่มคิดค้นขึ้นมา (2) สิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นแล้วคนนำมาใช้
(3) สิ่งที่คนทำขึ้นเพื่อใช้สนองความต้องการ (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 20.ประกอบ
26. มานุษยวิทยาสังคม เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องใด
(1) ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในโลก
(2) ความสัมพันธ์ของคนในแต่ละสังคมที่ประพฤติร่วมกัน
(3) ความสัมพันธ์ของคนและสัตว์ที่สืบสายพันธุเดียวกัน (4) ผิดทั้งหมด
ตอบ 2 หน้า 8 มานุษยวิทยาสังคม (Social Anthropology) เป็นสาขาวิชาที่เน้นศึกษาเนื้อหาสาระ ด้านความสัมพันธ์ของคนในแต่ละสังคมที่ร่วมกันสร้างและประพฤติปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรม ต่อกันในกิจกรรมทางสังคมในแง่ครอบครัว เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนาและความเชื่อ การศึกษา และฝึกฝนอบรมการเรียนรู้ทางสังคม และนันทนาการ
27. มนุษย์ปัจจุบันมีวิวัฒนาการมาจากสัตว์เซลล์เดียว และกลายมาเป็นสกุลโฮโม เซเปียนส์ เมื่อราวกี่ปีมาแล้ว
(1) 2,000 ปี (2) 8,000 ปี (3) 15,000 ปี (4) 40,000 ปี
ตอบ4 หน้า 5 จากการศึกษาพบว่า มนุษย์ที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบันได้วิวัฒนาการมาจากสัตว์เซลล์เดียว และกลายมาเป็นสกุลโฮโม เซเปียนส์ เมื่อราว 40,000 ปีมาแล้ว
28. สิ่งใดที่ใช้เป็นหลักฐานในการวิเคราะห์สำหรับการศึกษาเรื่องราวของการวิวัฒนาการของมนุษย์
(1) บันทึกความจำ (2) ศิลาจารึก (3) ซากดึกดำบรรพ์ (4) นิทานพื้นบ้าน
ตอบ 3 หน้า 16 นักมานุษยวิทยากายภาพศึกษาเรื่องราวของการวิวัฒนาการของมนุษย์โดยอาศัย การวิเคราะห์ซากกระดูกและอวัยวะซึ่งเรียกว่า ซากดึกดำบรรพ์ ซากเน่าเปื่อย หรือฟอสซิล (Fossil) ของสิ่งมีชีวิตที่เคยมีชีวิตในอดีต แล้วนำมาเปรียบเทียบกับโครงสร้างกายวิภาคของสัตว์และมนุษย์ ในยุคปัจจุบัน เพื่อสืบสาวเรื่องราวเกี่ยวกับสายการวิวัฒนาการจนกลายเป็นโฮโม เซเปียนส์
29. นักมาบุษยวิทยากายภาพท่านใดที่ศึกษาพฤติกรรมของลิงในแถบแอฟริกาตะวันออก
(1) ไดแอน (2) บิรุท (3) เจน กูดเดลล์ (4) ฟิลลิส ฮอลินาว
ตอบ 3 หน้า 18, 72 – 73 นักมานุษยวิทยากายภาพที่ทำการศึกษาพฤติกรรมของไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์ ในสภาพธรรมชาติ ได้แก่
1. ไดแอน ฟอสซี่ ศึกษาพฤติกรรมของลิงกอริลลาในประเทศแองโกล่า
2. เจน กูดเดลล์ ศึกษาพฤติกรรมและชีวิตความเป็นอยู่ของลิงในแถบแอฟริกาตะวันออก และชิมแปนซีในประเทศยูกานดา
3. ฟิลลิส ฮอลินาว ศึกษาพฤติกรรมของลิงแลงเกอร์ในประเทศอินเดีย
4. บิรุท กอลดิกาส-บรินดามอร์ ศึกษาพฤติกรรมของลิงอุรังอุตังในหมู่เกาะบอร์เนียว ลิงแบมบูน ในแอฟริกา และลิงมาคัสในตอนกลางของประเทศญี่ปุ่น
30. นักมานุษยวิทยาใช้แนวการศึกษาแบบใดมาเป็นกรอบเพื่อค้นหาความรู้ความเข้าใจในเรื่องการวิวัฒนาการของมนุษย์
(1) ชีววิทยากายภาพ (2) ชีววิทยาสังคม (3) มานุษยวิทยา (4) ชีววัฒนธรรม
ตอบ 4 หน้า 6-7, 15 นักมานุษยวิทยากายภาพใช้แนวการศึกษาแบบ “ชีววัฒนธรรม” (Biocultural Approach) มาเป็นกรอบเพื่อค้นหาความรู้ความเข้าใจในเรื่องสรีรวิทยาของมนุษย์ ซึ่งเป็นจุดเน้น ของการศึกษาการวิวัฒนาการของมนุษย์ โดยนำเอาความรู้สาขาชีววิทยา สัตวศาศตร์ พันธุศาสตร์ สิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยา และวัฒนธรรมมาผสมผสานกันเพื่อสร้างกรอบการวิเคราะห์ใหม่