111. นักมานุษยวิทยาท่านใดที่ทำการศึกษาอุรังอุตังที่เกาะบอร์เนียว
(1) ยอร์จ ชาล์เลอร์
(2) เจน กูดเดลล์
(3) ไดแอน ฟอสซี่
(4) บิรุท
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 29. ประกอบ
112. มนุษย์ใดที่อยู่ในขั้นสุดท้ายก่อนการวิวัฒนาการเป็นโฮโม เซเปียนส์ เซเปียนส์
(1) โฮโม อีเรคตัส
(2) นีแอนเดอร์ธอลส์
(3) สวอนสโคมบ์
(4) ชวา
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 80. ประกอบ
113. มนุษย์ใดอยู่ในยุคต้นของโฮโม เซเปียนส์
(1) สไตน์เอม
(2) สวอนสโคมบ์
(3) นีแอนเดอร์ธอลส์
(4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 80. ประกอบ
114. ตามข้อเขียนในหนังสือ The Descent of Man ได้กล่าวว่า พบวานรที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์อยู่ในทวีปใด
(1) เอเชีย (2) ยุโรป (3) แอฟริกา (4) อเมริกาใต้
ตอบ 3 หน้า 35, 76 ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) ได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อ The Descent of Man เมื่อปี ค.ค. 1871 ว่า “ปัจจุบันเราพบวานรที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับมนุษย์มากที่สุด อาทิเช่น ชิมแปนซี และกอริลลานั้น มีถิ่นที่อยู่ในทวีปแอฟริกา จึงน่าจะเชื่อได้ว่าบรรพบุรุษ ของมนุษย์น่าจะมีถิ่นกำเนิดครั้งแรกในบริเวณกาฬทวีป (ทวีปแอฟริกา) แห่งนี้มากกว่าที่จะเกิดขึ้นในทวีปอื่น”
115. วงศ์ใดมีวิวัฒนาการมาเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์โบราณและปัจจุบัน
(1) Prosimii (2) Pongidae (3) hominidae (4) Taungidae
ตอบ 3 หน้า 72 – 73 วงศ์ใหญ่โฮมินอยดี (Hominoidae) จำแนกออกเป็น 3 วงศ์ คือ
1. Hylobatidae เป็นสัตว์จำพวกชะนีที่ว่องไวผาดโผน สามารถปีนป่ายห้อยโหนบนต้นไม้ ได้อย่างคล่องแคล่ว และมิความสูงไม่เกิน 3 ฟุต
2. Pongidae ซึ่งอาจเรียกว่า เอปหรีอวานร เป็นลิงชั้นสูงสุด ได้แก่ ชิมแปนซี กอริลลา และอุรังอุตัง
3. Hominidae ถือเป็นวงศ์ที่วิวัฒนาการเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์โบราณและจะกลายมาเป็นมนุษย์ปัจจุบัน
116. ชิมแปนซี อยู่ในวงศ์ใด
(1) Pongidae (2) Hylobatidae (3) Hominoidae (4) Taung
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 115. ประกอบ
117. ใครคือผู้ที่เขียนหนังสือ The Descent of Man
(1) เจน กูดเดลล์ (2) ไดแอน ฟอสซี่ (3) ชาร์ลส์ ดาร์วิน (4) ยอร์จ คูเวียร์
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 50. และ 114. ประกอบ
118. ใครคือผู้ที่มีแนวความคิดว่า “สภาพแวดล้อมทำให้โครงสร้างของสิ่งมีชีวิตดำรงคงอยู่ หากสภาพแวดล้อม เปลี่ยนแปลง โครงสร้างทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตก็จะเปลี่ยนไปด้วย’’
(1) ชาร์ลส์ ลีลล์ (2) ยอร์จ คูเวียร์ (3) ลามาร์ค (4) อีรามัส ดาร์วิน
ตอบ 3 หน้า 33 ลามาร์ค (Lamarch) นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส มีความเชื่อวา “โครงสร้างทางร่างกาย ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดที่ดำรงอยู่ในลักษณะเช่นนี้เป็นเพราะสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เกิด การคงสภาพของโครงสร้างดังที่เป็นอยู่ หากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป โครงสร้างทาง ชีวภาพของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ก็จะเปลี่ยนไปด้วย”
119. Genetic Drift คืออะไร
(1) การเปลี่ยนแปลงของยีน (2) โอกาสการจับคู่ของยีน
(3) การย้ายถิ่นของยีน (4) การจัดระเบียบใหม่ในโครงสร้างของยีน
ตอบ 2 หน้า 39 – 42 สาเหตุที่ทำให้เกิดการวิวัฒนาการ ได้แก่
1. การผ่าเหล่าหรือมิวเทชั่น (Mutation)
2. การเคลื่อนย้ายของยีนหรือไมเกรชั่น (Migration)
3. โอกาสในการจับคู่ของยีน (Genetic Drift)
4. การจัดระเบียบใหม่ภายในโครงสร้างของยีน (Recombination)
5. การเลือกสรรทางธรรมชาติ (Natural Selection)
120. ชาร์ลส์ ดาร์วิน สนใจศึกษาในสาขาใด
(1) มานุษยวิทยากายภาพ (2) มานุษยวิทยา
(3) วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (4) โบราณคดี
ตอบ 3 หน้า 34 ชาร์ลล้ ดาร์วิน (Charles Darwin) สนใจศึกษาในสาขา “วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ” เมื่อได้เป็นลูกศิษย์ของศาสตราจารย์ทางพฤกษศาสตร์ชื่อ จอห์น สตีเวนส์ เฮนสโลว์ ซึ่งเป็น อาจารย์ในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ โดยเขามักจะติดตามอาจารย์ออกไปค้นคว้าหาพันธุพืช ตามสถานที่ต่าง ๆ เสมอ