91. ใครคือผู้ที่ให้ความสนใจศึกษาเกี่ยวกับเรื่องไสยศาสตร์ของชาวอินเดียนแดง และเขียนหนังสือชื่อ Golden Bough
(1) มอร์แกน
(2) โบแอส
(3) เฟรเซอร์
(4) เดอร์ไคม์
ตอบ 3 หน้า 123, 138 – 139, (คำบรรยาย) เจมส์ เฟรเซอร์ (james Frazer) ศาสตราจารย์สาขา มานุษยวิทยาสังคมคนแรกของประเทศอังกฤษ เป็นผู้ที่ให้ความสนใจศึกษาเกี่ยวกับเรื่องไสยศาสตร์ ของชาวอินเดียนแดง และเขียนหนังสือชื่อ Golden Bough
92. ประชาชนในเมืองแอชตัน มีอาชีพใดเป็นอาชีพหลัก
(1) กรรมกรเหมืองแร่
(2) ทำนา
(3) ขุดถ่านหิน
(4) เกษตรกร
ตอบ 3 หน้า 154 เมืองแอชตัน มีที่ตั้งอยู่บริเวณเวสต์ไรดิง ในมณฑลยอร์คเชีย ประเทศอังกฤษ ถือเป็น แหล่งอุตสาหกรรมที่มีการผลิตถ่านหินเป็นจำนวนมาก อาชีพการขุดถ่านหินจึงถือเป็นอาชีพหลัก ของประชาชนในเมืองแอชตัน โดยเหมืองถ่านหินที่ทำการขุดเป็นครั้งแรก (ในปี ค.ศ. 1868)มีชื่อว่า “แมนตัส”
93. ที่อยู่อาศัยของชาวเอสกิโม เรียกว่าอะไร
(1) แอสโร
(2) อิกลู
(3) กิโนเร
(4) แอสริน
ตอบ 2 หน้า 163 ที่อยู่อาศัยของซาวไซบีเรียและเอสกิโมนั้น มักจะสร้างด้วยนํ้าแข็งที่เรียกกันในหมู่ เอสกิโมว่า “อิกลู” ซึ่งลักษณะการสร้างที่พักอาศัยแบบนี้เหมาะกับสภาพอากาศที่หนาวจัดเท่านั้น
94. ไมเคิล คาราแวน คือนักมานุษยวิทยาที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการปลูกพืชหมุนเวียนที่ไหน
(1) อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ (2) ตำบลสระมะเขือ จังหวัดปราจีนบุรี
(3) อำเภอนาดี จังหวัดกาฬสินธุ์ (4) ผิดทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 147 ไมเคิล คาราแวน (Michael M. Calavan) นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกันได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการปลูกพืชหมุนเวียนที่หมู่บ้านสันทราย อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งพบว่า ในหน้าฝนชาวบ้านจะปลูกข้าวตามกรรมวิธีที่เริยกว่า นาดำ ซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ก็จะปลูกกระเทียม แตงโม ยาสูบ หรือถั่วลิสงในนาผืนเดียวกัน โดยมิได้ปล่อยที่ดินให้ว่าง เพื่อการฟื้นตัวเลย
95. ชนชาวอีบาน อาศัยอยู่บริเวณใด
(1) เกาะบอร์เนียว (2) เกาะสุมาตรา (3) เกาะมาเลนีเซีย (4) เกาะซาราวัค
ตอบ 4 หน้า 160 ดีเรก ฟรีแมน ได้ทำการศึกษาความเป็นอยู่ของชนชาวอีบานที่อาศัยอยู่บนหมู่เกาะ ซาราวัค ซึ่งเป็นสังคมที่มีการปลูกพืชไร่ด้วยการทำไร่เลื่อนลอยหรือการถางป่าแล้วเผาให้ที่ดิน แถบไหลเขาโล่งเตียน เพื่อใช้ในการเพาะปลูก
96. สิ่งใดที่จัดว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับชนเผ่าบุชแมน
(1) สัตว์นํ้า (2) สัตว์ป่า (3) อาหาร (4) นํ้า
ตอบ 4 หน้า 150 ชนเผ่าบุชแมน ซึ่งอาศัยอยู่ตามบริเวณทะเลทรายกาลาฮีรี ถือว่า “น้ำ” คือสิ่งที่สำคัญที่สุดในการดำเนินชีวิต จึงเก็บนํ้าไว้ในเปลือกไข่ของนกกระจอกเทศและนำไปฝังเพื่อ นำใปใช้ในยามขาดแคลน
97. ประเทศไทยได้ทำการยกเลิกการใช้เบี้ยแทนเงินในปี พ.ศ. ใด
(1) พ.ศ. 1854 (2) พ.ค. 1914 (3) พ.ศ. 1957 (4) พ.ศ. 2345
ตอบ 4 หน้า 181 – 182 “เบี้ย” คือ หอยชนิดหนึ่งที่ใช้แทนเงินตราของไทยในสมัยโบราณ กล่าวกันว่า แต่เดิมนั้นเอามาจากแม่นํ้าโขง ต่อมาภายหลังพวกพ่อค้าเอามาจากทะเลแถวเกาะมัลติเวสและ เกาะพิลิปปินส์ ซึ่งประเภทของเบี้ยนั้นมี 8 ประเภท ได้แก่ เบี้ยโพล้ง เบี้ยแก้ เบี้ยจัน เบี้ยนาง เบี้ยหมู เบี้ยพองลม เบี้ยบัว และเบี้ยตุ้ม โดยเบี้ยทั้ง 8 ประเภทนี้มีค่าเท่ากันหมด สำหรับประเทศไทยนั้นได้ทำการยกเลิกการใช้เบี้ยเป็นเครื่องแลกเปลี่ยนแทนเงินตราเมื่อปี พ.ศ. 2345
98. ชาวเกาะโทรเบียน อาศัยอยูที่ใด
(1) เกาะบอร์เนียว (2) เกาะสุมาตรา (3) เกาะมาเลนีเซีย (4) เกาะซาราวัค
ตอบ 3 หน้า 172,351 ชาวเกาะโทรเบียน ซึ่งอาศัยอยู่ในหมูเกาะมาเลนีเชีย แถบทะเลใต้ของ
มหาสมุทรแปซิฟิก มีประเพณีการแลกเปลี่ยนระหว่างสังคมที่เรียกว่า “กุลา” (Kula) เป็นประเพณี การแลกเปลี่ยนสิ่งของระหว่างเผ่าที่มีส่วนสัมพันธ์โดยตรงกับสถานภาพทางสังคมของผู้ให้และ ผู้รับ และคุณค่าทางเวทมนต์คาถาของทั้งสองฝ่าย ซึ่งจะทำให้เกิดบูรณาการระหว่างสังคมขึ้น โดยคนในเผ่าต่าง ๆ จะมีความสัมพันธ์ต่อกันและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เนื่องจากมีภาระผูกพัน ที่จะต้องชดใช้ของคืนหมุนเวียนกันไปอย่างไม่มีวันจบสิ้น
99. ใครคือผู้ที่ทำการศึกษาสังคมของชาวเฟอร์
(1) มาว์เซล มอสส์ (2) เฟรดริค บาร์ธ (3) มาร์แชล ซาลินส์ (4) จอร์จ โฮแมน
ตอบ 2 หน้า 173, 185 ศาสตราจารย่เฟรดริค บาร์ธ (Fredrik Barth) ได้ทำการศึกษาสังคมของชาวเฟอร์ ซึ่งในสังคมนี้สามีและภรรยาไม่ได้อาศัยอยู่รวมกันเป็น “หน่วยทางเศรษฐกิจ” แบบครอบครัว แต่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงต่างผลิตและต่างก็บริโภคสิ่งที่ตนทำขึ้น โดยไม่เกียวข้องซึ่งกันและกัน
100. การกระทำใดของชาวอินเดียนแดงเผ่าควาคิตอลที่สื่อให้เห็นว่าเป็นคนมีเกียรติยศ มีชื่อเสียงในสังคม
(1) การจัดอาหารเลี้ยงอย่างดี (2) การให้ของที่ระลึกต่อแขกที่มาเยือน
(3) การทำลายภาชนะหลังการจัดเลี้ยง (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 3 หน้า 173, 351 ประเพณีหรือวัฒนธรรม “พอทแลทช” ของอินเดียนแดงเผ่าควาคิตอล จะมี การแลกเปลี่ยนด้วยการเชิญไปกินเลี้ยงและให้ของขวัญในงานวันพิเศษโดยเฉพาะในวันที่มี การเปลี่ยนแปลงสถานภาพของชีวิตหรือที่เรียกว่า พิธีผ่านภาวะ (Rites De Passage) เช่น วันเกิด วันเริ่มเข้าสู่วัยสาว วันแต่งงาน และวันตาย โดยหลังงานเลี้ยงจะมีการทำลายข้าวของ ภาชนะที่ใส่อาหาร หรือเครื่องครัวเพื่อแสดงให้เห็นถึงความมีเกียรติยศและชื่อเสียงทางสังคม ของเจ้าภาพ ขณะเดียวกันแขกที่ได้รับเชิญไปในงานเลี้ยงก็ต้องเป็นเจ้าภาพจัดงานเลี้ยงเพื่อ ตอบแทนเจ้าภาพเดิม และทำลายข้าวของให้เท่ากับหรือมากกว่างานที่เคยได้รับเชิญไป