71.       ใครคือผู้ที่ค้นพบซากกระดูกมนุษย์ชวาเป็นคนแรก

Advertisement

(1) เดวิดสัน แบล็ค      

(2) ฟรานซ์ ไวเดนริช

(3) ยูยีน ดูบัว   

(4) กันนาร์ แอนเดอร์สัน

ตอบ 3 หน้า 84 ตลอดเวลาที่อยู่ในอินโดนีเซีย ยูยีน ดูบัว (Eugene Dubois) ชาวฮอลันดาได้ค้นพบหัวกะโหลกและกระดูกโคนขาในชวาเมื่อเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 1891 โดยเขาได้ตั้งชื่อว่า พิธิแคนโธรบัส อีเรคตัส” (Pethecanthropus Erectus) หรือเรียกง่าย ๆ ว่า มนุษยชวา

72.       มนุษย์ชวา มีความสัมพันธ์กับข้อใดต่อไปนี้

(1) นีแอนเดอร์ธอลส์    

(2) ซิแนนโธรบัส

(3) โฮโม ไฮเดลเมอร์เจนซิส     

(4) พิธิแคนโธรบัส อีเรคตัส

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 71. ประกอบ

73.       วัฒนธรรมของโฮมินิดยุคโฮโม อีเรคตัส เรียกว่าวัฒนธรรมอะไร

(1) มุสเตอเรียน           

(2) แม็กเดลิเนียน        

(3) คาแดน       

(4) อาชูเลี่ยน

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 70. ประกอบ

74.       มนุษย์ใดที่ไม่ใช่ โฮโม เซเปียนส์

(1) ไฮเดลเบอร์ก          (2) สไตน์เฮม   (3) สวอนสโคมบ์         (4) นีแอนเดอร์ธอลส์

ตอบ 1 หน้า 87 โฮโม เซเปียนส์ (Homo Sapiens) ในยุคแรกประกอบไปด้วย

1.         มนุษย์สไตน์เฮม (Stemheim) พบในประเทศเยอรมนี มีอายุราว 300,000 – 200,000 ปีมาแเล้ว

2.         มนุษย์สวอนสโคมบ์ (Swanscombe) พบในประเทศอังกฤษ ใกล้กรุงลอนดอน โดยมีชีวิตอยู่นช่วงเดียวกับมนุษยสไตน์เฮม

3.         มนุษย์นีแอนเดอร์ธอลส์ (Neanderthals) พบในประเทศอิรัก โซเวียต และจีน มีอายุราว 125,000 – 40,000 ปีมาแล้ว

75.       มนุษย์ปักกิ่ง อยู่ในกลุ่มใด

(1) นีแอนเดอร์ธอลส์    (2) ซิแนนโธรปัส

(3) โฮโม ไฮเดลเมอร์เจนซิส     (4) พิธีแคนโธรบัส อีเรคตัส

ตอบ 2 หน้า 85 ในปี ค.ศ. 1921 กันนาร์ แอนเดอร์สัน (J. Gunnar Andersson) นักธรณีวิทยาชาวสวีเดน ได้พบซากกระดูกและฟันกรามของมนุษย์ที่หมู่บ้านโจวโข่วเตี้ยนประเทศจีน ทำให้ต่อมาได้มีการรวบรวมนักวิชาการมาทำการค้นหาและวิเคราะห์ซากกระดูกนี้อย่างจริงจัง โดยได้ตั้งชื่อ ซากโฮมินิดนี้ว่า ซิแนนโธรบัส” (Sinanthropus) หรือเรียกง่าย ๆ ว่า มนุษย์บักกิ่ง

76. มนุษย์สวอนสโคมบ์ ถูกค้นพบในประเทศใด

(1) อังกฤษ      (2) อียิปต์        (3) จีน (4) จอร์แดน

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 74. ประกอบ

77.       ในยุคต้นโฮโม เซเปียนส์ เซเปียนส์ เรียกว่ามนุษย์อะไร

(1) มนุษย์ปักกิ่ง          (2) มนุษย์ชวา

(3) มนุษย์โครมันยอง   (4) มนุษย์สวอนสโคมบ์

ตอบ 3 หน้า 90 โฮโม เซเปียนส์ เซเปียนส์ ในยุคต้น เรียกว่า มนุษย์โครมันยอง (Cro-magnon) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในระหว่างครึ่งหลังของยุคนํ้าแข็งรุ่นสุดท้ายที่มีอากาศอบอุ่นและหนาวสลับกันไป

78.       มนุษย์กลุ่มใดที่มีรูปร่างเกือบเท่ากับมนุษย์สมัยใหม่

(1)       มนุษย์นีแอนเดอร์ธอลส์           (2) มนุษย์สไตน์เฮม

(3).มนุษย์สวอนสโคมบ์           (4) มนุษย์มุสเตอเรียน

ตอบ 1 หน้า 87 ลักษณะทั่วไปของมนุษย์นีแอนเดอร์ธอลส์ คือ มีรูปร่างทางร่างกายเกือบเท่ามนุษย์ สมัยใหม่ มีขนาดมันสมองใหญ่ราว 1,200 – 1,800 ลบ.ซม. เดินตัวตั้งตรง มีความสูงเฉลี่ย 5 ฟุต แต่หนักและหนา หน้าอกกว้างและกลม มีกล้ามเนื้อเป็นมัด ๆ กระดูกขาใหญ่และโค้ง นิ้วมือใหญ่ และสั้น เท้าอูม กะโหลกศีรษะลาดต่ำและแบน กะโหลกท้ายทอยและด้านข้างโป่ง กระดูกคิ้ว โปนหนาเหนือขอบตาและโค้งลงมาเชื่อมกับสันจมูก

79.       เมืองใดคือเมืองที่เกาแก่ที่สุดในโลก

(1)       โจวโขว่ เตี้ยน   (2)       เจอริโช (3)       โรมาเนียน        (4)       อาชูเลี่ยน

ตอบ 2 หน้า 91 เมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก คือ เมืองเจอริโช อยู่ในประเทศจอร์แดน ปัจจุบันอยู่ใน เขตยึดครองของอิสราเอล ซึ่งเมืองนี้สร้างขึ้นเมื่อ 10,500 ปีมาแล้ว

80.       ข้อใดที่ไมจัดอยู่ในกลุ่ม Phenotype

(1)       กลุ่มเลือด        (2)       สีผิว     (3)       ความสูง           (4)       สีตา

ตอบ 1 หน้า 1999 ความแตกต่างระหว่างมนุษย์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.         ความแตกต่างที่มองเห็นได้ด้วยตา (Phenotype) ได้แก่ สีผิว สีของนัยน์ตา เส้นผม รูปทรงของใบหน้า ขนาดของร่างกาย กระดูกขากรรไกร ฯลฯ

2.         ความแตกต่างภายในยีนที่ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตา (Genotype) ได้แก่ กลุ่มเลือด คุณลักษณะด้อย (Recessive Trait) ที่มีอยูในยีน ฯลฯ

Advertisement