11. ปี พ.ศ. 2449 – 2450 รัชกาลที่ 5 ทรงเขียนพระราชหัตถเลขาถึงผู้ใด
(1) สมเด็จพระราชินีนาถ
(2) สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
(3) เจ้าฟ้าหญิงนิภานภดล
(4) สมเด็จพระนางเจ้ากัลยานิวัฒนา
ตอบ 3 หน้า 3-4 งานเขียนเรื่องราวของชนต่างชาติที่ได้รับความสนใจแพร่หลายที่สุด คือ พระราชนิพนธ์ไกลบ้าน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)ซึ่งทรงนิพนธ์ขึ้นเมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรปในระหว่างปี พ.ศ. 2449 – 2450 โดยพระองศ์ ทรงเขียนเป็นพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงนิภานภดล (สมเด็จหญิงน้อย) จำนวน 43 ฉบับ ทั้งนี้ถือว่าเป็นผลงานที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง และเป็นการเปิดโฉมหน้าของการศึกษาสาขามานุษยวิทยาของไทยโดยแท้
12. เราเรียกเรื่องของชาวเขาเผ่าเย้า ที่กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของบรรพบุรุษของพวกเขาว่าอะไร
(1) พงศาวดาร
(2) นิทานชาวบ้าน
(3) นิยายปรัมปรา
(4) ตำนาน
ตอบ 3 หน้า 1 ตัวอย่างที่น่าสนใจเกี่ยวกับความเชื่อของการกำเนิดของมนุษย์คือ นิยายปรัมปราของชาวเขาเผ่าเย้า ซึ่งได้เล่าถึงประวัติความเป็นมาของบรรพบุรุษพวกเขาว่าแต่เดิมนั้นมีเทวดา องค์หนึ่งชื่อเปี้ยนโกฮูง เป็นผู้สร้างโลกและสวรรค์ ซึ่งในการสร้างโลกนี้ก็ได้สร้างภูเขา ทะเล แม่นํ้าลำคลอง หนองนํ้า ตลอดจนทำให้เกิดมีข้าวและไร่นา นอกจากนี้ก็ได้สร้างมนุษย์ผู้ชาย และผู้หญิง และอนุญาตให้เป็นสามีภรรยากันได้ ต่อมาในวันที่ 8 เดือน 4 ของปีหนึ่ง ได้เกิดนั้าท่วมโลกเจ็ดวันเจ็ดคืน ผู้คนล้มตายจนเหลือเพียงหญิงชายคู่หนึ่งซึ่งเป็นพี่น้องกัน เทวดาจึงแปลงตนเป็นชายชราและบอกสองพี่น้องให้แต่งงานกันเพี่อสร้างมนุษย์ต่อไป
13. อารยธรรมล้านนาตรงกับความรุ่งเรืองของอาณาจักรใด
(1) อาณาจักรมายา
(2) อาณาจักรโทลเทค
(3) อาณาจักรแอชแทค
(4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 2, 10 อารยธรรมล้านนาของไทยเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับเซนต์ ออกัสติน ในยุโรป และตรงกับความรุ่งเรืองของอาณาจักรมายา อาณาจักรโทลเทค และอาณาจักรแอชแทค ในแถบอเมริกากลางและอเมริกาใต้
14. แหล่งกำเนิดของอารยธรรมล้านนาอยู่ในแถบใด
(1) ลุ่มน้ำยม (2) ลุ่มนำกก (3) แม่นํ้าโขง (4) แม่นํ้าอิระวดี
ตอบ 2 หน้า 2 ประวัติศาสตร์ล้านนาโบราณ ในยุคเริ่มก่อตั้งชุมชนเจ้านครได้กล่าวถึงความสำคัญ ของลุ่มแม่น้ำกกว่า เป็นแหล่งกำเนิดแห่งแรกของอารยธรรมล้านนาที่ผู้คนสามารถควบคุมน้ำเพื่อการเกษตรแบบนาดำ จนสามารถผลิตอาหารได้มากเพียงพอที่จะส่งมอบให้ชนชั้นปกครอง ในรูปของการภาษีอากรได้ ซึ่งบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนาว่า มีขึ้นตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 13 มาแล้ว
15. ศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน รู้จักกันในนามว่าอะไร
(1) หลวงวิจิตรวาทการ (2) เสถียรโกเศศ
(3) พระยาประเสริฐสุนทราศัย (4) พระยาโกษาธิบดี
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 9. ประกอบ
16. การศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการวิวัฒนาการทางชีวภาพของมนุษย์-สิ่งแวดล้อม-วัฒนธรรม เรียกว่าการศึกษาตามแนวใด
(1) โบราณคดี
(2) ประวัติโบราณกาล (3) ชีววัฒนธรรม (4) วัฒนธรรมของมนุษย์
ตอบ 3 หน้า 13, 15 การศึกษาตามแนว “ชีววัฒนธรรม” (Biocultural Approach) ของนักมานุษยวิทยาจะศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการวิวัฒนาการทางชีวภาพของมนุษย์-สิ่งแวดล้อม-วัฒนธรรม ที่สร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องราวของมนุษย์อย่างสมบูรณ์
17. วิชามานุษยวิทยากายภาพอาศัยอะไรในการศึกษาวิเคราะห์
(1)ฟอสชิล (2)ซากดึกดำบรรพ์ (3) ซากเน่าเปื่อย (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 16 วิชามานุษยวิทยากายภาพสนใจศึกษาเรื่องราวของการวิวัฒนาการ โดยต้องอาศัย การวิเคราะห์ซากกระดูกและอวัยวะ (อาจเรียกว่า ซากดึกดำบรรพ์หรือซากเน่าเปื่อย หรือ ฟอสชิล (Fossil)) ของสิ่งมีชีวิตที่เคยมีชีวิตในอดีต
18. คำว่า โฮมินิด หมายถึงอะไร
(1) ผู้ชาย (2) ผู้หญิง (3) กระเทย (4) มนุษย์
ตอบ 4 หน้า 20 – 21, 73, 338 – 339 โฮมินิด (Hominid) เป็นคำนามที่เรียกสิ่งมีชีวิตในวงศ์โฮมินิเดีย (Hominidae) ซึ่งหมายถึง มนุษย์ (Man) โดยลักษณะเด่นทางชีวภาพและ การดำรงชีวิตของโฮมินิดคีอ ใช้ชีวิตอยู่บนพื้นดินแทนการห้อยโหนบนต้นไม้, ใช้ขาทั้งสองข้าง เวลาเดินและใช้มือหยิบสิ่งของ, เดินตัวตรงและตั้งฉากกับพื้นดินเมื่อพัฒนาถึงจุดสูงสุด และมีขนาดมันสมองใหญ่ขึ้นและสามารถสร้าง “วัฒนธรรม” ได้
19. โฮโม เซเปียนส์ มีขนาดมันสมองราวกี่ลูกบาศก์เซนติเมตร
(1) 500 (2) 800 (3) 1,400 (4) 1,900
ตอบ 3 หน้า 23 โฮมินิดจะมีขนาดของมันสมองแตกต่างกัน เช่น รามาพิธิคัสและ
ออสตราโลพิธิคัส มีขนาดมันสมองราว 500 ลบ.ซม., โฮโม อีเรคตัสมีขนาดมันสมองราว 775 – 1,225 ลบ.ซม. และโฮโม เซเปียนส์มีขนาดมันสมองราว 1,400 ลบ.ซม.
20. ตัวอย่างวิธีการขุดค้นหาซากดึกดำบรรพ์ สามารถดูได้จากห้องใดในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรุงเทพฯ
(1) ห้องก่อนประวัติศาสตร์ (2) ห้องปฏิบัติการเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์
(3) ห้องดึกดำบรรพ์ (4) ห้องแสดงการวิวัฒนาการ
ตอบ 1 หน้า 24 ตัวอย่างวิธีการขุดค้นหาซากดึกดำบรรพ์และการวิเคราะห์คำนวณช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่ สามารถดูได้จากห้องก่อนประวัติศาสตร์ในพิพิธกัณฑสถานแห่งชาติกรุงเทพมหานคร