111. การวิจัยในสนามของนักมานุษยวิทยาเรียกว่าอะไร
(1) Fieldnote
(2) Fieldwork
(3) Fieldtrip
(4) Field
ตอบ 2 หน้า 299 การวิจัยในสนาม (Fieldwork) เป็นการวิจัยจากสิ่งที่พบเห็นในสถานที่จริงซึ่งนักมานุษยวิทยาจะพยายามสืบหาประวัติ ความหมาย และสัญลักษณ์ที่สิ่งนั้นแทนค่า รวมทั้ง พยายามดูว่าสิ่งนั้น ๆ มีหน้าที่ หรือประโยชน์ (Function) อย่างไรต่อการอยู่ร่วมกันในสังคม
112. คำว่า Cultural Revitalization หมายถึงอะไร
(1) การฟื้นฟูสังคมสมัยเก่า
(2) การฟื้นฟูวัฒนธรรมดั้งเดิม
(3) การพัฒนาสังคมสมัยใหม่
(4) การพัฒนาวัฒนธรรมสมัยใหม่
ตอบ 2 หน้า 302 ปัจจุบันนักมานุษยวิทยาได้แสดงบทบาทเด่นในการฟื้นฟูวัฒนธรรม (Cultural Revitalization) ดั้งเดิมของเผ่าพันธุ์ของตน และพยายามหาทางร่วมมือกับชาติพันธุ์อื่น เพื่อสร้างสันติสุขให้กับโลกในยุคโลกาภิวัตน์
113. การสังเกตแบบมีส่วนร่วม นักมานุษยวิทยามักจะใช้เวลานานเท่าใด
(1) 3 – 6 เดือน
(2) 1 – 2 ปี
(3) 3 – 4 ปี
(4) 4 – 6 ปี
ตอบ 2 หน้า 116, 303, (ดูคำอธิบายข้อ 104. ประกอบ) การลังเกตแบบมีส่วนร่วม เป็นวิธีที่ใช้เวลานาน ราว 1 – 2 ปี ในการเก็บข้อมูล และใช้เวลาอีกพอสมควรในการวิเคราะห์และเขียนรายงาน ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรในการทำวิจัยจำนวนมหาศาล
114. Holistic Approach หมายถึงอะไร
(1) การมองแบบแยกส่วน (2) การมองเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง
(3) การมองแบบองค์มวลรวม (4) ผิดทั้งหมด
ตอบ 3 หน้า 273, 304, 348 การมองภาพรวม (Holistic Approach) คือ การศึกษาสังคมทั้งสังคม หรือที่เรียกว่า “วิธีการมองทั้งตัว” หรือการมองแบบองค์มวลรวม ซึ่งจะพิจารณาว่า ในการ มองสถานการณ์หรือปัจจัยหนึ่ง จำเป็นต้องมองสังคมทั้งสังคมเป็นส่วนรวม โดยวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมดอย่างละเอียด เพื่อให้เข้าใจอย่างถ่องแท้รอบด้าน
115. Robert Gurevich ได้ทำการศึกษาเรื่องครู การพัฒนาชนบทและระบบราชการในภาคใดของประเทศไทย
(1) ภาคเหนือ (2) ภาคกลาง (3) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (4) ภาคใต้
ตอบ 3 หน้า 311 Robert Gurevich ได้ทำการศึกษาเรื่องครู การพัฒนาชนบทและระบบราชการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งเขาได้ออกไปทำการวิจัยในสนามเป็นเวลา 1 ปี (ค.ศ. 1969 – 1970) โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงมานุษยวิทยาด้วยการศึกษาวิเคราะห์ตัวละครทุกคน ที่มีบทบาทในกิจกรรมของชุมชนแห่งนั้น
116. Nancy J. Smith-Hefner ใช้วิธีการศึกษาใดในการศึกษาเรื่องเพศและความขัดแย้งระหว่างวัยของชาวเขมรอพยพ
(1) วิธีการมีส่วนร่วม
(2) วิธีสังเกตการณ์ (3) วิธีการสัมภาษณ์ (4) วิธีการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณา
ตอบ 4 หน้า 312 Nancy J. Smith-Hefner ได้ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณาในการศึกษาเรื่องเพศและความขัดแย้งระหว่างวัยของชาวเขมรอพยพ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ค่านิยมของ สังคมชาวเขมรเดิมต่อลูกสาว คือ การรักษาความบริสุทธิ์จนกระทั่งแต่งงานและการเตรียมตัวเป็น เจ้าสาวที่ดี ทั้งนี้เมื่อเด็กสาวชาวเขมรมีประจำเดือนเป็นครั้งแรกจะต้องเข้าสู่พิธี “การเข้าสู่ความมืด”
117. Nancy J. Smith-Hefner กล่าวว่า ค่านิยมของสังคมชาวเขมรเดิมต่อลูกสาวคืออะไร
(1) การเคารพกตัญญต่อพ่อ-แม่ (2) การรักษาความบริสุทธิ์จนกระทั่งแต่งงาน
(3) การขยันหมั่นเพียร (4) การให้ความเคารพนับถือสามี
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 116. ประกอบ
118. เมื่อเด็กสาวชาวเขมรมีประจำเดือนครั้งแรกจะต้องเข้าสู่พิธีอะไร
(1) พิธีการเข้าสู่การเป็นสาว
(2) พิธีการชำระล้างรางกาย (3) พิธีการเข้าสู่ความมืด (4) พิธีบูชาเจ้าแม่
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 116. ประกอบ
119. นักมานุษยวิทยาต้องทำอะไรในการศึกษาชุมชน
(1) แผนที่ชุมชน
(2) ข้อมูลเกี่ยวกับประชากร (3) ข้อมูลเชิงเศรษฐกิจการเมือง (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 300 เทคนิคของการเก็บข้อมูลในการศึกษาชุมชนนั้น นักมานุษยวิทยาควรทำแผนที่ของชุมชนที่ไปศึกษา และต้องเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับประชากร ข้อมูลเชิงเศรษฐกิจการเมือง ขนาดที่ดินถือครอง ความเป็นเจ้าของ ฯลฯ
120. ข้อใดเป็นคำกล่าวที่ผิดในวิชามานุษยวิทยา
(1) ไม่ควรใช้ค่านิยมของตนไปวัดพฤติกรรมของคนในสังคมที่กำลังศึกษา
(2) มนุษย์มีความสัมพันธ์ต่อกันภายใต้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและระบบสังคมของเขา
(3) ใช้ค่านิยมของตนไปกำหนดว่า ดีหรือเลว ผิดหรือถูก มีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผล
(4) การมองภาพรวมเพื่อค้นหาแบบแผนของวัฒนธรรม
ตอบ 3 หน้า 289, 301 – 302, 304 เอกลักษณ์สำคัญของวิชามานุษยวิทยา คือ การมองภาพรวมเพื่อค้นหา แบบแผนของวัฒนธรรม กล่าวคือ ไม่ควรใช้ค่านิยมของตนไปวัดพฤติกรรมของคนในสังคมที่ กำลังศึกษา หรือไม่ใช้ค่านิยมของคนไปกำหนดว่า ดี/เลว ถูกต้อง/ไม่ถูกต้อง มีเหตุผล/ไม่มีเหตุผล เพราะถือว่ามนุษย์มีความสัมพันธ์ต่อกันภายใต้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและระบบสังคมของเขา