91. มานุษยวิทยาเป็นศาสตร์ประเภทใด
(1) ศาสตร์บริสุทธิ์
(2) ศาสตร์ประยุกต์
(3) สังคมศาสตร์
(4) ข้อ 1 และ 3
ตอบ 1 หน้า 271 มานุษยวิทยาเป็น “ศาสตร์บริสุทธิ์” ในสาขาสังคมศาสตร์ที่มุ่งเน้นให้ผู้ศึกษา แสวงหาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวมนุษย์ สังคม และวัฒนธรรมที่มนุษย์อาศัยอยู่ ตามภูมิภาคและแหล่งต่าง ๆ ทั้วทุกมุมโลก
92. มานุษยวิทยาปฏิบัติการ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าอะไร
(1) มานุษยวิทยาประยุกต์
(2) มานุษยวิทยาประวัติศาสตร์
(3) มานุษยวิทยาภาษาศาสตร์
(4) มานุษยวิทยาโบราณคดี
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ
93. นักมานุษยวิทยาปฏิบัติการได้เปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ให้คำปรึกษามาเป็นอะไร
(1) ตัวแทนทางวัฒนธรรม
(2) ผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจและเข้าร่วมกิจกรรม
(3) ผู้กระทำจริง
(4) ข้อ 2 และ 3
ตอบ 2 หน้า 273 ปัจจุบันนักมานุษยวิทยาปฏิบัติการได้เปลี่ยนบทบาทจาก “ผู้ให้คำปรึกษา”มาเป็น “ผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจ” (Decision-makers) ด้วยตัวเอง หรือเข้าร่วม (Participate) ในกิจกรรมการตัดสินใจ ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนบทบาทครั้งสำคัญที่สุดเพื่อให้นักมานุษย่วิทยา แสดงบทบาทใหม่จากการเป็นเพียงตัวแทนทางวัฒนธรรม (Cultural Broker) มาเป็นผู้บริหาร (Administrator) และผู้กระทำจริง (Advocative-Actor)
94. ตัวอย่างใดเป็นการประยุกต์ใช้สาขามานุษยวิทยากายภาพในเรื่องการวัดสัดส่วนมนุษย์
(1) การตัดเย็บเสื้อผ้า (2) ที่นั่งขับเครื่องบิน
(3) ขนาดและสีของเม็ดยา (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 274 การประยุกต์ใช้สาขามานุษยวิทยากายภาพในเรื่องการวัดสัดส่วนมนุษย์นั้นเพื่อหาขนาดเฉลี่ยในการตัดเย็บเสื้อผ้า รองเท้า ม้านั่ง โต๊ะ จักรยานยนต์ ที่นั่งขับเครื่องบิน ตลอดจนเครื่องใช้ในบ้านและโรงงาน ให้เหมาะสมกับขนาดร่างกายของคนในแต่ละสังคม รวมทั้งเพี่อนำไปใช้ในการสร้างขนาดและสีของเม็ดยา
95. พฤติกรรมความเป็นผู้นำเป็นการศึกษาเปรียบเทียบกับพฤติกรรมของสัตว์ในตระกูลใด
(1) ลิงกอริลลา (2) ลิงอุรังอุตัง (3) ลิงบาบูน (4) ไพรเมต
ตอบ 1 หน้า 274 การศึกษาสาขาวิชามานุษยวิทยากายภาพในแง่ของพฤติกรรมนั้น ได้มีการนำความรู้ จากการศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ในตระกูลไพรเมตไปใช้นการอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น บุคลิกของการเป็นผู้นำ พฤติกรรมทางการเมือง และพฤติกรรมทางเพศ โดยศึกษาเปรียบเทียบ พฤติกรรมจ่าฝูงของลิงกอริลลากับบุคลิกของผู้นำในสังคมมนุษย์
96. มหาวิทยาลัยใดในประเทศไทยที่เปิดสอนระดับปริญญาโทและเอกในสาขาวิชามานุษยวิทยาการแพทย์
(1) เชียงใหม่ (2) จุฬาลงกรณ์ (3) มหิดล (4) ธรรมศาสตร์
ตอบ 3 หน้า 274 – 275, 338 ปัจจุบันสาขามานุษยวิทยาทางการแพทย์ (Medical Anthropology) ได้รับความสนใจมากที่สุด ซึ่งมหาวิทยาลัยหลายแห่งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา รวมถึงมหาวิทยาลัยมหิดลของไทยได้มีการเปิดสอนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก อีกทั้งวิชานี้ มีขอบเขตการศึกษาที่กว้างขวาง โดยนำความรู้จากสาขามานุษยวิทยากายภาพ สาขาแพทยศาสตร์ และสาขามานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรมมาประยุกต์ใช้
97. ประเด็นใดที่นักมานุษยวิทยาการแพทย์ให้ความสนใจศึกษา
(1) การรักษาโรคพื้นบ้าน (2) ความเชื่อเรื่องคนทรงเกี่ยวกับการรักษาโรค
(3) ความเชื่อเรื่องการกินและข้ออ้างในการบริโภค (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 274 – 275, 338 ประเด็นที่นักมานุษยวิทยาการแพทย์ (Medical Anthropology)ให้ความสนใจศึกษา ได้แก่ วิธีการรักษาโรคพื้นบ้าน การฝังเข็ม วิธีป้องกันโรคพื้นบ้าน การทำคลอดแบบพื้นบ้าน ความเชื่อด้านการสาธารณสุขและการรักษาพยาบาล ความเชื่อเรื่อง คนทรง ผีปอบ และผีกะที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรค ตลอดจนความเชื่อเรื่องการกินอาหาร และข้อห้ามในการบริโภคอาหารบางประเภท นอกจากนี้ยังให้ความสนใจในเรื่องยาสมุนไพร และยาพื้นบ้านด้วย
98. กรณีบ่อนํ้าซึ่งล้มเหลวที่หมู่บ้านวีรูเป็นตัวอย่างของความล้มเหลวในประเทศใด
(1) อาร์เจนตินา (2) โคลัมเบีย (3) เปรู (4) โมร็อกโก
ตอบ 3 หน้า 277 – 278 ตัวอย่างกรณี “บ่อนํ้าซึ่งล้มเหลว” ของรัฐบาลประเทศเปรูที่ได้ลงทุนขุดบ่อน้ำ จำนวน 6 บ่อ ที่หมู่บ้านวีรู เพื่อใช้ในการเพาะปลูกทางการเกษตร แต่โครงการล้มเหลวนั้น เป็นตัวอย่างขั้นตอนการประเมินผล (Policy Evaluation) ของกระบวนการพัฒนา ซึ่งมีนักมานุษยวิทยา ชื่ออัลแลน โอล์มเบอร์ก เข้าไปประเมินผลโครงการและวิเคราะห์ถึงสาเหตุของความล้มเหลว
99. นักมานุษยวิทยาชื่ออะไรได้เข้าไปวิเคราะห์ถึงสาเหตุกรณีบ่อนํ้าที่ล้มเหลวที่หมู่บ้านวีรู
(1) มาร์กาเรต มีด (2) รูธ เบนเนดิกท์ (3) อัลแลน โฮล์มเบอร์ก (4) ผิดทั้งหมด
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 98. ประกอบ
100. นักมานุษยวิทยาท่านใดสนใจสาขามานุษยวิทยาท่องเที่ยว
(1) M.M. Horowitz (2) M. Salem-Murdock
(3) P.D. Little (4) E. Chambers
ตอบ 4 หน้า 281, 288 ศาสตราจารย์เอิร์บ แซมเบอร์ (Erve Chambers) แห่งภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประธานสมาคมมานุษยวิทยาประยุกต์ ให้ความสนใจสาขามานุษยวิทยาท่องเที่ยว โดยเขาได้รับเชิญให้มาแนะนำการสร้างหลักสูตร วิชาการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแก่คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในระหว่าง เดือนมกราคม – พฤษภาคม พ.ศ. 2534